การพระศาสนาในต่างประเทศ หน้า 2 จาก 2

ในห้อง 'ทวีป ออสเตรเลีย' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    พ.ศ. ๒๕๑๔ ในฐานะประธานสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย เสด็จไปดูการพระพุทธศาสนา และการศึกษาในประเทศปากีสถาน เนปาล และอินเดีย พร้อมด้วยพระเทพกวี (ประยูร สนฺตงฺกุโร) เลขาธิการสภาการศึกษา ฯ ขณะนั้นในโอกาสเดียวกัน ก็ได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้เป็นผู้แทนของพระสงฆ์ไทยไปเยี่ยมพระสงฆ์ และวัดพระพุทธศาสนาในประเทศปากีสถานตะวันออก และนำสาส์นของสมเด็จพระสังฆราช (อุฎฐายีมหาเถร) ถึงพุทธศาสนิกชนชาวปากีสถานตะวันออก พร้อมทั้งนำเอาวัสดุสิ่งของต่าง ๆ และกัปปิยภัณฑ์จำนวนหนึ่งซึ่งทางคณะสงฆ์ไทยได้จัดหามา ไปมอบแก่พระภิกษุและชาวพุทธในประเทศปากีสถานตะวันออก) ที่ประสบวาตภัยครั้งใหญ่ในคราวนั้นด้วย เมื่อกลับจากการเดินทางครั้งนั้นแล้วก็ได้ทำรายงานเสนอมหาเถรสมาคม ทำให้คณะสงฆ์ได้ทราบถึงความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น ๆ ซึ่งกำลังต้องการความช่วยเหลือในการฟื้นฟูและก็ทำให้คณะสงฆ์มีความเห็นชอบด้วยกับความดำริของคณะสงฆ์เนปาล ในขั้นแรกนี้สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยได้เสนอให้ทุนจำนวน ๒ ทุน สำหรับให้พระภิกษุสามเณรชาวเนปาลเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ต่อมาไม่นานคณะสงฆ์เนปาลก็ได้คัดเลือกสามเณร ๒ รูป ส่งเข้ามาศึกษาในประเทศไทยปัจจุบันพักอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารเข้าศึกษาที่สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยในหลักสูตรพิเศษ ๓ ปี สำหรับพระภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศ
    พุทธศักราช ๒๕๑๘ เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดพุทธรังสี ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม – ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๑
    พุทธศักราช ๒๕๒๐ เสด็จไปบรรพชากุลบุตรชาวอินโดนีเซีย จำนวน ๔๓ คน ณ เมืองษมารัง ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์ สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย และเมื่อทรงเสด็จเยี่ยมชมกิจการพระศาสนา ณ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ขากลับทรงแวะเยี่ยมชมการพระศาสนา ณ ประเทศสิงคโปร์ด้วย ระหว่างวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ ถึง ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๑
    พุทธศักราช ๒๕๒๓ เสด็จไปร่วมประชุมสหพันธ์คีตาอาศรมสากล ในฐานะเป็นพระอาคันตุกะพิเศษ ณ ประเทศอินเดีย เมื่อทรงเสร็จภารกิจที่ประเทศอินเดียแล้ว ได้เสร็จไปเยี่ยมชมการพระศาสนา ณ ประเทศเนปาลด้วย ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓
    ในศกเดียวกัน เสด็จไปดูกิจการพระศาสนา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปตามคำอาราธนาของบริษัท ศรีกรุงวัฒนา จำกัด พร้อมด้วยพระธรรมดิลก (ปุญฺญาราโม วิชมัย บุญมาก ป.ธ. ๖) ระหว่างวันที่ ๓ เมษายน ถึง ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓
    พุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นประธานคณะพร้อมด้วยพระสงฆ์อีก ๑๙ รูป จากประเทศไทยไปทรงประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถวะกจาการ์ตา ธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์สังฆเถรวาทอินโดนีเซีย เป็นการผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นครั้งแรกในประเทศนั้นระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘
    ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๘ เสด็จพร้อมด้วยคณะสงฆ์จากประเทศไทยไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากยะแห่งเนปาล จำนวน ๗๓ คน ณ กรุงกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์ เนปาล
    พุทธศักราช ๒๕๓๖ เสด็จเยี่ยมเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นทางการตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน โดยได้เสด็จเยือนเมืองต่าง ๆ คือ ปักกิ่ง ซีอาน คุณหมิง และสิบสองปันนา ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน ถึง ๒ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ นับเป็นการเจริญศาสนสัมพันธ์ระหว่างไทย – จีน เป็นทางการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์แห่งความสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนาระหว่างประเทศทั้งสอง
    เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ เวลา ๑๗.๒๒ น. สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จลง ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ประทานพระวโรกาสให้องค์ดะไลลามา ประมุขสงฆ์ทิเบต เข้าเฝ้าถวาย สักการะเนื่องในโอกาสที่ศูนย์พัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (International Centre for Human Rights and Democratic Development) ได้อาราธนาท่านมาร่วมรณรงค์สนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยสันติภาพ และการพิทักษ์รักษาสิทธิมนุษยชน ในภูมิภาคส่วนนี้ โดยเฉพาะในสหภาพพม่า ในฐานะที่องค์ดะไลลามา เป็นผู้หนึ่งในคณะที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize Laureates)
    ในโอกาสนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระดำรัสต้อนรับและทรงมีธรรมสากัจฉาด้วยกัน โดยทั้งสองพระองค์ทรงภาษาอังกฤษสำหรับพระดำรัสต้อนรับของเจ้าพระคุณสมเด็จสังฆราช ทรงถวายการต้อนรับด้วย โอม มณี ปัทเม หุม อันเป็นมนต์คาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ของธิเบต แต่ทรงได้ขยายมนต์คาถาดังกล่าวตามอรรถแห่งเถรวาท
     

แชร์หน้านี้

Loading...