การศึกที่เมืองเซียงหยาง(1267-1273)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 10 ธันวาคม 2010.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    ตอนที่ 1 <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="middle"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> เรื่องราวของมังกรหยกนั้น ถ้าเราเอามาอ่านใหม่มันมีหลายเรื่องที่อ่านแล้วรู้สึกเกิดแรงบันดาลใจให้ค้น หา หนึ่งในชื่อที่ผมสะดุดตามากที่สุดสำหรับจักรวาลในมังกรหยกนั้นก็คือ "เมืองเซียงหยาง" ( Xiangyang ) ซึ่งในฉบับเป็นไทยบางครั้งก็เป็น "ซางเอี๋ยง" บางฉบับก็เป็นเมืองเซียงเอี๋ยง แต่ทั้งหมดก็คือเมืองเดียวกันนี่แหล่ะครับ

    ชื่อเซียงหยางเป็นชื่อที่คุ้นคยสำหรับคอมังกรหยกทุกคน เพราะชื่อของเมืองๆ นี้ไปอยู่ในนวนิยายเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็น มังกรหยกภาค 1 มังกรหยกภาค 2 และ ดาบมังกรหยก โดยในท้ายของภาคหนึ่งก้วยเจ๋งแกล้งปลอมราชองการปลดขุนนางข้าหลวงลู่บุนเต๊ก แล้วใช้กลยุทธจากตำราของงักฮุย(หรือเย่เฟยในภาษาจีนกลาง)ช่วยปกป้องชาวเมือง ได้สำเร็จ...ขณะเดียวกัน เจงกิสข่าน เกิดอาการเลือดลมตีกลับกระอักโลหิตเสียชีวิตส่งผลให้กองทัพมองโกลชะลอการบุก ซ่งชั่วคราว

    ในมังกรหยกภาค 2 นั้น เป็นเอี้ยก้วยที่ช่วยหยุดกองทัพมองโกลไม่ให้ตีเมืองเซียงหยางได้สำเร็จ ด้วยการใช้ฝีมือสังหารข่านมองโกลในสนามรบ ทำให้ทัพมองโกลต้องถอยไป เพราะต้องกลับไปขจัดความขัดแย้งในกลุ่มมองโกลกันเองหลังสูญเสียผู้นำ และเอี้ยก้วยกับเซี่ยวเล้งนึ้งได้ถอนตัวจากยุทธจักรกลับสู่สำนักสุสานโบราณ และครองรักกันตลอดชีวิต แถมยังมีทายาทรุ่นหลัง(น่าจะเป็นหลาน)ที่เป็นยอดฝีมือสตรีชุดเหลืองที่มา ผลุบๆ โผล่ๆ ในดาบมังกรหยกด้วย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ภูมิทัศน์ของเมืองเซียงหยางในปัจจุบัน</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในดาบมังกรหยกในต้นเรื่อง กิมย้งบรรยายถึงวีรกรรมของ ก้วยเจ๋ง อึ้งย้ง ว่า เขาใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตของเขาปกป้องเมืองเซียงหยางจนกระทั่งเมืองแตก ตัวก้วยเจ๋ง อึ้งย้ง ก้วยพั่วลู่ และก้วยพู้ เสียชีวิตไปพร้อมการล่มสลายของเมืองนี้ กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร ก็เกิดขึ้นก่อนเมืองเซียงหยางแตกไม่นาน ขณะที่กุบไลข่านซึ่งเป็นท่านข่านที่เอี้ยก้วยเคยทำงานอยู่ด้วยพักหนึ่งก็บุก ตลุยจนกระทั่งตีซ่งแตกและสถาปนาราชวงศ์หยวนขึ้นมาปกครองแผ่นดินจีน

    ต้องมีคำถามขึ้นแน่ว่า เซียงหยาง นั้นสำคัญอย่างไรที่ทำให้หนึ่งในสุดยอดมหาเทพยุทธในมังกรหยกอย่างก๋วยเจ๋ง ต้องพลีร่างและพลีสุดยอดวิทยายุทธของเขาเพื่อรักษาเมืองนี้ให้ได้จนชีวิตหา ไม่? กิมย้งนั้นใช้เมืองๆ นี้เป็นที่แสดงวีรกรรมของผู้รักชาติได้อย่างซาบซึ้งใจมาก

    เมื่อตรวจค้นลงไปปรากฏว่านี่คือ เมืองนี้ถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์ของมองโกลที่จดบันทึกไว้ด้วยความภาคภูมิใจ เพราะการแตกของเมืองเซียงหยางนี้ทำให้กุบไลข่านสามารถประกาศว่าพวกเขาจะชนะ ราชวงศ์ซ่งได้ในอีกไม่นาน ประโยคดังกล่าวมีอยู่ในหนังสือ 100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present ในบทที่ว่า The Battle of Hsiang-yang เขียนโดย พอล เค.เดวิส

    ปัจจุบันนั้นเมืองเซียงหยางอยู่ในตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูเป่ย ท่านผู้อ่านที่อยากดูวีรกรรมของก๋วยเจ๋งสามารถนั่งเครื่องไปลงได้ที่สนามบิน ในเมือง เซียงฟาน (Xiangfan) ซึ่งเป็นเมืองที่เกิดมาจากการรวมกันระหว่างเมืองเซียงหยางและเมืองฟ่านเจิง ซึ่งในอดีตสองเมืองนี้เป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้ราชวงศ์ซ่งอยู่ หรือไป

    ย้อนกลับไปทำความเข้าใจกับดินแดนซ่งใต้ในตอนนั้นว่าพวกเขาอยู่ทางด้านตะวัน ตกของจีนในปัจจุบัน และมีพื้นที่แค่ราวๆ 1 ใน 4 ของจีนในสมัยนี้ โดยรูปการณ์นั้นซ่งใต้เหมาะอย่างยิ่งกับการตั้งรับ เนื่องจากพวกเขามีกำแพงทางธรรมชาติที่อุดมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูงที่เหมาะ แก่การตั้งรับอย่างยิ่ง เพราะกองทัพม้าอันเกรียงไกรของมองโกลที่รุกไปทั้งตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก รัสเซียจนราบคาบมาแล้วไม่สามารถควบผ่านแนวรับธรรมชาติที่ว่าได้

    เมืองเซียงหยางนั่นคือเมืองที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของราชวงศ์นี้เนื่องจาก เมืองนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฮั่นสุ่ยที่หล่อเลี้ยงซ่งใต้เป็นเมืองหน้าด่านทาง น้ำของซ่งใต้ เพราะแม่น้ำฮั่นเป็นเส้นทางเข้าสู่งแม่น้ำแยงซี หากตีได้เมืองเซี่ยงหยางแล้ว มองโกลสามารถรุกคืบเข้ายึดเมืองสำคัญอื่นๆ ของซ่งใต้ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้กองทัพม้า เพียงแต่ส่งกองทัพเรือแล่นไปตามแม่น้ำแยงซีเกียงเพื่อยึดเมืองต่างๆ ได้ด้วยเพราะฉะนั้น ถ้าเซียงหยางไม่แตกโอกาสที่ซ่งใต้จะไม่แตกก็มีสูง กองทัพมองโกลเองก็ทราบดีในเรื่องนี้พวกเขาจึงถือว่าเมืองนี้เป็นจุดที่จะ ต้องเอาชนะให้ได้

    ความเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญของเซียงหยางนั้นไม่เฉพาะในสมัยราชวงศ์ซ่ง เท่านั้น ในยุค 3 ก๊ก เมืองนี้ก็เป็นเมืองสำคัญที่ซุนเกี๋ยน ( Sun Jian )พ่อของซุนกวนถูกฆ่าตายในการศึกระหว่างกองทัพของเขากับเล่าเปียว( Liu Biao) แห่งจิงโจว หรือที่นักอ่านสามก๊กรู้จักกันในนามเกงจิ๋วในปี คศ 191 หลังจากที่ได้รับคำสั่งจากอ้วนสุด( Yuan Shu )ให้จัดการต่อเล่าเปียว เพราะในช่วงเวลานั้นเล่าเปียวเป็นพันธมิตรกับอ้วนเสี้ยว (Yuan Shao ) และอ้วนสุดต้องการยึดจุดยุทธศาสตร์คือ แดนจิงโจวให้ได้ ขณะที่ซุนเกี๋ยนล้อมเมืองเซียงหยางอยู่นั้น วันหนึ่งขณะควบม้าตรวจแนวข้าศึกบริเวณภูเขาเซี่ยซาน เขาถูกทหารของหองจอแม่ทัพของเล่าเปียวลอบโจมตีและถล่มด้วยธนูจนกระทั่งเสีย ชีวิตที่นี่เอง

    จะเห็นได้ว่าถ้าใครจะยึดแผ่นดินจีนตอนใต้ให้ได้ ก็ต้องยึดเซียงหยางให้ได้เช่นกัน

    และเหตุจริงๆ ที่ทำให้การศึกที่เมืองเซียงหยางนี้ (The Battle of Xiangyang) ถือเป็นการศึกที่ต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของการสงครามในโลกนี้ด้วย ไม่ใช่เพราะฝีมือของก๋วยเจ๋ง อึ้งย้ง อึ้งเอิ๊ยะซือ หรือ แม้กระทั่งเอี้ยก้วย แต่ในเรื่องจริงและประวัติศาสตร์จริง การศึกที่นี่เป็นตัวอย่างของศาสตร์แห่งการตั้งรับ กับการใช้เทคโนโลยีมาช่วยรุกฆาตต่อเมืองที่ไม่มีวันตีแตกนั่นเอง

    เหตุที่ต้องบอกแบบนี้ เพราะเมื่อราชวงศ์ซ่งใต้ย้ายมาอยู่บริเวณนี้ พวกเขาเองก็ทราบดีว่าเซียงหยางมีความสำคัญขนาดไหน การก่อกำแพงให้สูงและแข็งแรงกว่ากำแพงเมืองเกือบทุกเมืองจึงเกิดขึ้น ที่ชวนให้หนักใจสำหรับฝ่ายที่จะบุกตีก็คือ การขุดแม่น้ำบริเวณหน้าเมืองให้มีความกว้างมากถึงขนาด 150 เมตรนั้นก็เพื่อจะป้องกันการโจมตีด้วยเครื่องยิงหินหรือจากปืนใหญ่โดย เทคโนโลยีเดิมๆ ที่แผ่นดินจีนเคยมี

    ความกว้างระดับที่มากกว่า 150 เมตรนี้ทำให้ระยะยิงปืนใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดนั้นมาได้ไม่ถึง เช่นเดียวกับเครื่องยิงหินที่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะ ทางเมืองได้ถักตาข่ายเอาไว้ป้องกันและรองรับแรงกระแทกอีกชั้นหนึ่งรอบกำแพง เมืองอีกด้วย…อีกทั้งพวกเขายังมีเมืองพี่น้องที่คอยระวังให้กันและกันในชื่อ เมืองฟ่านเจิง(Fancheng) อีกด้วย เหตุนี้เซียงหยางจึงกลายเป็นเมืองที่ไม่มีวันจะตีแตกขึ้นมา

    เรื่องจริงก็คือ ก่อนหน้านี้ในปี 1257 มองโกลเคยโจมตีเซียงหยางมาแล้ว แต่ทว่ากลับถูกกลศึกของผู้รักษาเมืองหลอกให้บุกเข้ามาสู่เมืองที่มีกำแพงถึง 4 ชั้นก่อนจะถล่มด้วยหินมากมายให้กองทัพมองโกลที่ติดอยู่ระหว่างกำแพงแต่ละ ชั้นเสียชีวิตไปทั้งหมด นั่นทำให้พวกเขาถึงกับถอนกำลังกลับ อีกทั้งการตายของข่านมองเคอก็ทำให้มองโกลต้องจัดแผนมารับกันใหม่…ซึ่งตรงนี้ เองที่กิมย้งเขียนให้เอี้ยก้วยเป็นตัวสำคัญในการลงมือสังหารข่านมองเคอโดย การเอาหินซัดจนตาย ทั้งๆ ที่จริงๆ ข่านมองเคอนั้นเป็นอหิวาตกโรค หรือไม่ก็เป็นโรคบิด และไปเสียชีวิตกันที่เมืองจุงกิงหรือฉงชิ่ง ไม่ได้เสียกันที่เซียงหยางแต่อย่างไร

    มองโกลนั้นใช้เวลาช่วงค.ศ.1267-1273 ในการโจมตีเซียงหยางให้แตก 4 ปีแรกที่พวกเขายกทัพลงมาถึงมองโกลทำได้เพียงแค่ล้อมเมืองนี้เอาไว้ แต่การสอดประสานที่ดีเยี่ยมระหว่างเมืองเซียงหยางกับฟานเจิง ทำให้การปิดล้อมตลอด 4 ปีนั้นไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าไหร่


    </td></tr></tbody></table>
     
  2. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    การศึกที่เมืองเซียงหยาง (1267-1273) ตอนที่ 2/ต่อพงษ์ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="middle"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">26 พฤศจิกายน 2553 11:52 น.</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> ครั้งที่แล้วพูดถึงเรื่องเมืองเซียงหยางหรือเซียงเอี๊ยง หรือ ซางเอี้ยง ในการเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของแดนจิงโจว และบอกเอาไว้ด้วยว่า กำแพงเมืองเซียงหยางจึงเป็นสิ่งที่มองโกลกลัวที่สุด

    ถามว่าถ้าจะหาตัวอย่างของการใช้กำแพงเมืองเพื่อฆ่าได้อย่างเห็นภาพมากที่สุด ผมแนะนำให้ดูเรื่อง Curse of Golden Flower ของจางอี้โหมว

    ปัญหาคือถ้าเป็นแบบนี้แล้ว ทำไมเซียงหยางถึงโดนตีแตก...เพราะก๋วยเจ๋งแก่ หรือเพราะ เอี้ยก้วยกลับไปสุสานโบราณ หรือ ฝ่ายมองโกลจ้างอาจารย์ของอาวเอี้ยงฮง หรือ เอาลูกศิษย์ของเจ้าธรรมจักรทองที่ฝึกสุดยอดวิทยายุทธมาจัดการกองทัพประชาชน กันแน่ ?

    มองโกลกลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1267 ด้วยการตัดสินใจที่จะล้อมเมืองและตัดเส้นทางเสบียงให้หมด พูดง่ายๆ กะให้ในเมืองตายไปเอง เพราะถูกปิดล้อม กองทัพมองโกลส่งเรือรบเข้ามาสู่แม่น้ำฮั่นสุ่ยจำนวน 5,000 ลำ ในจำนวนนี้มีทหารทั้งสิ้น 70,000 นายที่เชี่ยวชาญในการรบทางน้ำ แต่พอกองทัพที่ว่ามาถึงเมืองเซียงหยางก็ต้องผงะ เพราะทางเมืองเซียงหยางขยายเขตของแม่น้ำหน้าป้อมกำแพงออกไปมากกว่า 150 เมตร นั่นทำให้สิ่งที่กองทัพมองโกลขนมาด้วยมีปัญหานั่นคือ เครื่องยิงหินและปืนใหญ่จำนวนหลายร้อยเครื่อง แต่สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นสิ่งไร้ค่า เพราะระยะยิงของปืนใหญ่และเครื่องยิงหินมองโกลนั้นมีระยะยิงแค่ 100 เมตร และบรรทุกกระสุนที่มีน้ำหนักแค่ 50 กิโลกรัมเท่านั้น

    เช่นเดียวกับการปิดล้อมเมืองก็ไม่ได้ผล เมืองเซียงหยางยังคงได้รับเสบียงจากแผ่นดินซ่งอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งขณะที่ป้องค่ายยังไม่เรียบร้อยพวกเขาก็ถูกลอบโจมตีอยู่บ่อยครั้งจาก ทหารและประชาชนเมืองเซียงหยาง กว่าที่จะตัดเส้นทางเสบียงของซ่งได้สำเร็จนั้นมองโกลใช้เวลาถึง 4 ปีเต็ม

    ในปี ค.ศ.1271 เป็นครั้งแรกที่กองทัพที่ขนเสบียงของซ่งเพื่อไปเซียงหยางถูกมองโกลทำลายงาน นี้ทหารเซียงหยางตายไป 4,000 คน แต่ถึงขนาดนั้นเซียงหยางก็ยังไม่แตก ในปีค.ศ. 1272 ด้วยความกล้าหาญของกองกำลังภาคประชาชนจำนวน 3,000 นายได้ฝ่าวงล้อมของมองโกลที่ปิดกั้นแม่น้ำฮั่นสุ่ยออกไปเอาเสบียงกลับมาได้ สำเร็จให้แก่ชาวเมือง นั่นทำให้กำลังใจที่จะป้องกันเมืองขึ้นมาอีก

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="300"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> แต่การตัดสินใจของ ”คนในวังซ่ง” นั่นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความหายนะของเมืองเซียงหยาง เพราะพวกเขาไม่ช่วยบุกตีประสาน ไม่แม้กระทั่งส่งกองทัพมาช่วย โดยอ้างว่าเมืองนี้มี “เทวดาสถิตย์อยู่” และมองโกลจะต้องย้อนกลับไปบ้านเกิดเหมือนหลายครั้งที่ผ่านมาด้วยอิทธิฤทธิ์ ของสิ่งศักดิ์สิทธิ ตรงกันข้ามมองโกลกลับระดมกองทหารราบเข้ามาอีก 20,000 นาย

    นี่แหล่ะครับที่จอมยุทธฝ่ายมองโกลตัวจริงได้มาถึง!! เพราะ ทหาร 20,000 นายที่มานั้น ไม่ได้มาเปล่าๆ แต่แบกเอาเครื่องยิงหินรุ่นใหม่ที่เป็นผลงานการผลิตของพวกเคิร์ด โดยก่อนหน้านั้นกุบไลข่านได้ส่งสาส์นไปยัง อบากาข่าน (Abakha Khan) หลานของพระองค์ซึ่งครองเปอร์เซียอยู่ ข่านแห่งเปอร์เซียจึงส่งวิศวกรมุสลิมเชื้อสายเคิร์ดสองคนคือ อลาวดิน (Alaowadin) และ อิสมาอิล (Yisimayin) มายังจีน วิศวกรทั้งสองคนได้ประดิษฐ์เครื่องยิงก้อนหิน ที่เรียกว่า Counterweight Trebuchet หรือเครื่องยิงหินขนาดยักษ์ ในบันทึกของจีนเรียกเครื่องยิงก้อนหินที่ประดิษฐ์โดยวิศวกรมุสลิมทั้งสองคน นี้ว่า “หุยหุยเพา (Huihui Pao)” หรือ Muslim trebuchet หรือ เครื่องยิงหินของชาวมุสลิม

    ประสิทธิภาพของเครื่องยิงที่ออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิมสองท่านนี้ควร จะต้องถูกบันทึกไว้ด้วยว่าเจ๋งโคตรๆ เพราะระยะยิงหวังผลของเครื่องนี้อยู่ที่ 500 เมตร และสามารถใช้หินที่มีน้ำหนักถึง 300 กิโลกรัมเป็นกระสุนได้ด้วย และหิน 300 กิโลกรัมเมื่อถูกยิงมาจากระยะ 500 เมตร คงไม่ต้องนึกกันละครับว่า มันจะมีอานุภาพที่ร้ายแรงเพียงใด เครื่องยิงหินรุ่นใหม่นี้ถูกนำมาแค่ 20 เครื่องเท่านั้น...และ 20 เครื่องนี้เองที่ทำให้กำแพงเมืองฟ่านเจิง เมืองคู่แฝดของเซียงหยางต้องพังทลายภายในเวลาแค่ 3 วัน เพราะเมื่อกำแพงทลายไม่เหลือ กองทัพสุดเหี้ยมของมองโกลก็ตรงเข้าล้างเมืองอย่างที่มัจจุราชยังต้องสลด

    ตรงนี้เองที่ผมว่ากิมย้งอาจจะใส่การตายของบรรดาจอมยุทธในมังกรหยกลงไปในดาบ มังกรหยกเล่มแรก ในหนังสือนั้นอ้างว่าก๊วยเจ๋ง อึ้งย้ง ก๊วยพู้ ก๊วยพั่วลู่ ตระกูลจู หรือ พี่น้องบู๊ และพรรคกระยาจกหรืออีกหลายท่านพลีชีพเพื่อรักษาเมืองเซียงหยางไว้...เพียง แต่ในประวัติศาสตร์จริงที่โดนล้างเมืองนั้นมิใช่เซียงหยางแต่เป็นเมืองฟาน เจิงต่างหาก...และช่วงนี้เองที่กระบี่อิงฟ้า และดาบฆ่ามังกรได้ถือกำเนิดขึ้น เนื่องจากก้วยเจ๋งอึ้งย้งรู้ว่าเมืองแตกแน่ๆ จึงเอากระบี่เหล็กนิลกาฬยักษ์ของเอี้ยก้วยไปหลอม

    ภาพการพังทลายของกำแพงเมืองฟ่านเจิง ทำเอาบรรดาทหารประจำการในเมืองเซียงหยางถึงกับขนหัวลุก เพราะกำแพงที่มีตาข่ายรับน้ำหนักนั้นโดนความแรงระดับเมกกะตันถล่มเป็นจุลภาย ในพริบตา นายพลผู้พิทักษ์เมืองที่ชื่อ ลู่เหวินฮวน (Lu Wenhuan) เห็นดังนั้นจึงตัดสินใจส่งสารไปยังฮ่องเต้ตู้จงให้ส่งทหารมากระหนาบทัพมอง โกลโดยด่วน เพราะกองทัพ 20,000 นายนั้นตามบันทึกบอกว่า ส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่นที่แพ้สงครามและถูกจับเข้าเป็นกองทหารราบทั้งสิ้น การส่งกองทัพมาตีอาจจะทำให้เซียงหยางรอดพ้นจากหายนะได้ชั่วขณะหนึ่ง

    แต่คำตอบที่กลับมาจากฮ่องเต้ก็คือ เซียงหยางคงจะแตกแน่ๆ อยู่แล้ว และกองทัพมีหน้าที่อารักขาเมืองหลวงที่หลินอันมากกว่า เพราะฉะนั้นการส่งทหารมายังเมืองที่ต้องแพ้แน่ๆ จึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง

    ไอ้การเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์จนกระทั่งเสียดินแดนนั้นในราชวงศ์ซ่ง เหนือก็เกิดขึ้นนะครับ เพราะเมื่อครั้งที่กองทัพกิมมาประชิดเมืองไคฟง แทนที่ในวังจะส่งทหารเก่งๆ ไปตั้งกองทัพรอ แต่ฮ่องเต้ซ่งกลับเชื่อนักพรตข้างกายด้วยการทำพิธีบวงสรวง 7 วัน 7 คืน เรียกทหารเทพมาจากฟ้าให้มาไล่ทัพต่างชาติ...รอแล้วรอเล่ากองทัพเทวดาก็ไม่มา กว่าจะตัดสินใจส่งกองทัพไป...ฝ่ายกิมก็ยึดจุดยุทธศาสตร์ไว้หมดแล้วและหายนะ ก็มาเยือนจนต้องย้ายลงมาทางใต้ในที่สุด...ครั้งนี้ฝ่ายวังก็ตัดสินใจผิดพลาด อีกนั่นแหล่ะ ที่ไม่ส่งกองทัพมา

    ไม่กี่วันหลังจากนั้นกองทัพมองโกลก็เริ่มทดสอบพิสัยการยิงมายังเมืองเซียง หยาง การยิงทดสอบครั้งแรกนั้นลูกหินหนัก 500 กิโลกรัมปลิวหวือข้ามกำแพงเมืองมาตกที่สะพานหินในเมืองแทน ปรากฏว่ามันกลับสร้างความตื่นตกใจให้กับคนในเมืองมากกว่าเสียอีก เพราะเสียงของมันนั้นดังราวกับฟ้าผ่า และมันสร้างความเสียหายให้แก่สะพานและพื้นหินที่ปูถนนไว้แถบนั้นจมลงไปหลาย ฟุต ความวุ่นวายในเมืองก็เกิดขึ้น เพราะ ไม่มีใครกล้าที่จะหือต่อเทคโนโลยี่ใหม่นี้อีกแล้ว ทั้งทหารในกองทัพ และทหารประชาชนต่างก็พากันหลบหนีออกไปจากเมือง

    หลังจากนั้น “หุยหุยเพา” ก็เริ่มถล่มกำแพงเมืองเซียงหยางในลำดับถัดมา ประสิทธิภาพของ หุยหุย เพานั้นถือเป็นสุดยอด เพราะ เวลาไม่นานนักกำแพงเมืองชั้นนอกก็เริ่มพังทลายต่อหน้าต่อตาทหารที่อยู่บน กำแพง ตามมาด้วยกำแพงชั้นถัดมาก็โดนกวาดตามไปด้วย</td></tr></tbody></table>
     
  3. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    การศึกที่เซียงหยาง (3) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="middle"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td align="left" valign="bottom" height="12">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff" valign="top"> <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="160"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle" width="165" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> คราวที่แล้วเล่าคาไว้ว่าชะตากรรมของเมืองเซียงหยางนั้นจะเป็นอย่างไรและ บรรดาประชาชน จอมยุทธทั้งหลายจะพลีชีพทั้งเมืองตามที่นวนิยายของกิมย้งบอกหรือไม่?

    คำตอบอยู่ตรงนี้ครับ...ขณะที่กำแพงชั้นในที่กำลังจะโดนถล่มอยู่แล้ว อาจู (Aju) นายพลใหญ่ของกองทัพมองโกลยื่นคำขาดให้เซียงหยางเปิดประตูยอมแพ้แต่โดยดี มิฉะนั้นจะถูกฆ่าล้างเมืองอย่างเช่นที่ทำให้เห็นในเมืองฟ่านเจิง ลู่เหวินฮวนนายพลผู้พิทักษ์เมืองจึงตัดสินใจเปิดเมืองยอมให้ทหารมองโกลเข้า มาเพื่อรักษาชีวิตราษฏรส่วนใหญ่ไว้ ถือเป็นการปิดฉากสงครามตีเมือง 5 ปีเกือบๆ 6 ปีของชาวมองโกลต่อเมืองเซียงหยางในเดือนมีนาคม ปีค.ศ.1273 นั่นเอง

    มีอยู่นิดเดียวนะครับที่ต้องพูดก็คือ เรื่องของสุดยอดการทำลายล้างที่ชื่อ”หุย หุย เพา” ที่มีผู้อ่านทักท้วงว่าผมเขียนเองเรื่องว่ามันเป็นเครื่องยิงหินของมุสลิม แถมบอกว่าผมต่อเติมเอง อันนี้อ่านแล้วรู้สึกเซ็งจิตนิดๆ เพราะบันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามยิ่งใหญ่ของโลกหลายเล่มนั้นก็ เรียกมันว่า “Muslim trebuchet” คือถ้าไม่แปลว่าเครื่องยิงหินของมุสลิมแล้วจะเรียกว่าอะไร และเขายกย่องเสียด้วยว่าเป็นเครื่องมือแห่งการทำสงครามที่มีเทคโนโลยีสูงสุด ในศตวรรษที่ 13

    ในฐานะคนเขียนหนังสือ การเขียนเรื่องเกี่ยวกับมังกรหยกที่มีคนอ่านมากมายนั้นมันห้ามมั่วครับ เรื่องของเครื่องยิงหินมุสลิมนี้ก็เช่นกัน ถ้าสากลโลกหรือแม้กระทั่งในเว็บไซต์ชวนเที่ยวหูเป่ยของจีนเองยังอ้างชื่อว่า เป็นเช่นนี้ เรายังจะกล้าเปลี่ยนว่าเรียกชื่อว่ามันเป็นเครื่องยิงของชาวหุยเฉยๆ หรือเปล่า? หรือถ้ายังสงสัยว่าผมมั่วอีกก็ลองค้นดูเอานะครับ คอมพิวเตอร์นั้นตั้งอยู่ข้างหน้า เอาว่าถ้าใช้โพสต์วิจารณ์ผู้เขียนคอลัมน์มั่วได้ ก็ลองใช้กูเกิลค้นหาจากหลายๆ แหล่งก็ได้ รับประกันว่าเขาบอกแบบเดียวกับที่ผมบอกนี่แหล่ะ

    กลับมาเข้าเรื่องว่า หลังจากที่เซียงหยางแตกนั้น กุบไลข่านก็ส่งกองทัพไล่มาตามแม่น้ำแยงซีเกียงอย่างง่ายดายพร้อมกับไล่ตี เมืองเลียบแม่น้ำมาสนุกเลย ในปีค.ศ 1275 นายพลบายัน (Bayan) ก็ทำศึกครั้งสำคัญกับกองทัพของนายพลเจี่ยซี่เต๋า ซึ่งคุมกองทหารอยู่ 130,000 นาย ปรากฏว่านายพลเจี๋ยพ่ายแบบหมดสภาพ ชะตากรรมของกองทัพซ่งใต้ยิ่งอนาถต่อเนื่อง เพราะนายพลผู้รบแพ้ออกอาการอาละวาดต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผลก็คือในระหว่างที่ยกทัพอันสะบักสะบอมกลับ เขาก็ถูกคนในกองทัพลอบสังหาร และทหารทรยศเหล่านั้นหันหน้าไปสวามิภักดิ์มองโกลพร้อมเป็นทหารทัพหน้าให้ ด้วย

    ขณะที่แนวหน้าก็รบแพ้ทุกสมรภูมิ การแตกแยกอย่างแหลกละเอียดระหว่างเจ้าชีวิตและทหารใต้การบังคับบัญชาทำให้ เกิดปัญหาซ้ำซ้อนยิ่งกว่าเดิมสำหรับราชวงศ์นี้ เพราะแนวโน้มจากในวังนั้นส่งสัญญาณโดยพระมารดาหรือไทเฮาซึ่งขณะนั้นดูแลองค์ ฮ่องเต้อายุน้อยอยู่ว่าพร้อมจะ “จำนน” ต่อกองทัพมองโกลและยินยอมที่จะเป็นอ๋องอะไรซักอ๋องหนึ่งภายใต้การปกครองก็พอ แล้ว นั่นทำให้ขุนนางบางส่วนที่ยังมีจิตใจกู้ชาติก็ตัดสินใจยกทัพของตัวเองลงไป ทางใต้ยังเมืองฝูเจี้ยน กวางตุ้งและตั้งราชธานีชั่วคราวขึ้นโดยยกองค์ชายเจ้าซื่อ (Zhao Shi) ซึ่งขณะนั้นมีอายุแค่ 9 ปี ขึ้นเป็นฮ่องเต้นาม ‘ซ่งตวนจง’ ในวันที่ 14 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1276

    ในปี ค.ศ. 1277 ต้องเข้าใจสถานภาพของรัฐบาลพลัดถิ่นว่าตอนนี้พวกเขามีแต่ตำแหน่งในนาม แต่เอาเข้าจริงอำนาจการดูแลปกครองตกไปอยู่กับบรรดาพ่อค้าที่กุมเศรษฐกิจของ เมืองๆ นั้นไว้ การทำตัวเป็นพระยาเหยียบเมืองของรัฐบาลพลัดถิ่นก็เกิดความขัดแย้งกับพ่อค้า จนได้ เพราะกองทัพพลัดถิ่นนั้นก็ไถและปล้นชาวเมืองไปตลอดทางโดยอ้างราชโองการไป ตลอดทางจนกระทั่งถึงฟูโจวซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่บรรดาพ่อค้าอย่างยิ่ง

    การกระทำที่ว่านี้มาโดนยันเอาจนหงายเงิบ ก็เมื่อกองเรือพยายามจะเทียบท่าที่เมืองฉวนโจว (Quanzhou หรือ Chuan-chou) แล้วพยายามจะปล้นและยึดเรือพ่อค้าวาณิชอีกเช่นเคย ซึ่งนั่นยิ่งทำให้เกิดปัญหาใหญ่ เพราะการไปยึดเรือพ่อค้าขาใหญ่ที่ตามประวัติว่าเป็นชาวมุสลิมที่ชื่อว่า Fu Shougeng ทำให้แกโมโห แถมไม่โมโหเปล่าแกสั่งพรรคพวกไปจมเรือของกองทัพพลัดถิ่นเสียเยอะ ยังไม่นับว่าไปฆ่าบรรดาทหารจอมไถและข้าราชการไร้อำนาจพวกนี้อีกเยอะ...แต่ ที่หนักหนาที่สุดก็คือ แกส่งหนังสือให้มองโกลมายึดเมืองนี้เสียอย่างง่ายดาย นั่นทำให้กองทัพรัฐบาลพลัดถิ่นก็ยิ่งขาดทุนและไม่มีเค้าเหลือจะให้เล่นอีก ต่อไปแล้วกับมองโกล กองเรือที่เหลือหลังจากที่ส่วนหนึ่งโดนเผาไปเพราะความแค้นของพ่อค้าชายทะเล ต้องแล่นหนีออกจากชายฝั่งไปตั้งทัพกันอยู่ที่เกาะลันเตา ไอ้การที่ต้องอยู่ในเรือตลอดเวลาแบบนี้ของฮ่องเต้หุ่นเชิดทำให้พระวรกายไป ไม่ไหวสุดท้ายพระองค์ก็เสด็จสวรรค์คตไปในวันที่ 8 พฤษภาคม ปี คศ.1278

    ขณะที่กองทัพพลัดถิ่นถูกต่อต้านโดนบรรดาพ่อค้าแถบชายฝั่งทะเล ในปีนั้นเองกองทัพมองโกลยกทัพข้ามแม่น้ำแยงซีเกียงลงมาประชิดราชธานีหลินอัน ฮ่องเต้ซ่งกงตี้ (Emperor Gong) และพระมารดาซึ่งแต่งตัวคอยท่ามองโกลอยู่แล้วก็พาข้าราชบริพารที่เหลือเปิด ประตูเมืองยอมจำนนต่อกองทัพมองโกล กุบไลข่านจึงแต่งตั้งให้ซ่งกงตี้เป็นอ๋องเมืองอิ๋ง (Duke Of Ying) และต่อมาเมื่อซ่งใต้สิ้นสภาพ เชื้อพระวงศ์องค์นี้ก็ถูกมองโกลส่งไปบวชเป็นพระที่ธิเบตในปีค.ศ. 1296

    ขณะเดียวกันรัฐบาลซ่งพลัดถิ่นตัดสินใจยกให้ องชายเจ้าปิ่ง (Zhao Ping) ซึ่งมีอายุแค่ 7 ขวบขึ้นเป็นฮ่องเต้นามซ่งม่อจง (Emperor Huaizong of Song) ขึ้นมาเชิดต่อ แต่การมีฮ่องเต้องค์ใหม่ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ของฟากนี้ดีขึ้น เพราะในเดือนธันวาคมปี คศ.1278 กองทัพของนายพลเหวินเทียนเสียงก็ต้องพ่ายให้แก่กองทัพมองโกลอย่างหมดรูป นายพลเหวินเทียนเสียงผู้นี้ถูกจับเป็นเชลย ณ เมืองต้าตูและเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1282

    เดือนมีนาคมปีค.ศ. 1279 กองทัพซ่งโดนมองโกลถล่มรอบสุดท้ายในยุทธนาวีที่เย่เหมิน (The naval Battle of Yamen) โดยแม่ทัพที่นำกำลังมองโกลปิดฉากราชวงศ์ซ่งอย่างเป็นทางการก็เป็นคนเชื้อ ชาติฮั่นที่ชื่อ “จางหงฟาน” สมรภูมิของการรบที่ว่านี้ปัจจุบันอยู่ที่ซินฮุย (Xinhui) เจียงเหมิน เขตกวางตุ้งครับ
    ...</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  4. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    การศึกที่เมืองเซียงหยาง 4 : เหลียงเซียวคนบาปของแผ่นดิน/ต่อพงษ์ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="middle"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> มีท่านผู้อ่านท่านหนึ่งที่คุ้นเคยปรารภกับผมว่า อยากให้เข้ารายละเอียดของการแตกที่เมืองเซียงยางมากกว่านี้อีกหน่อย เพราะ ดูเหมือนที่สีสันที่ผมเขียนมาถึงการรบที่เซียงหยางนั้น คล้ายกับว่าจู่ๆ มันก็หายไป

    ก็ต้องขอบคุณท่านผู้อ่านที่คุ้นเคยท่านนั้น เพราะที่ท่านพูดเป็นเรื่องจริง เนื่องจากว่าในจักรวาลของกิมย้งนั้น ที่แท้จริงมันมีช่องว่างของเวลาอยู่ถึง 80 ปีที่ไม่ได้เขียนถึง นั่นคือ นับตั้งแต่ข่านมองเคอเสียชีวิตโดยการใช้หินขว้างของเอี้ยก้วยช่วงท้ายเล่ม ของจอมยุทธอินทรีคู่เทพยดา และเมื่อต่อด้วยตอนต้นของกระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร หรือ ที่รู้จักกันในนามของดาบมังกรหยก

    แม้จะยังมีตัวเชื่อมเดียวที่ยังมีและโผล่มามีบทบาทในดาบมังกรหยกก็คือท่าน ปรมาจารย์เตียซำฮงหรือจางซานฟง ผู้ให้กำเหนิดวิชามวยไท้เก๊กและสำนักบู๊ตึ้ง แต่เหตุการณ์ที่พูดถึงก็มิได้นำพาถึงเมืองเซียงหยางอีกเลย แต่กลับพูดไปถึงต้นกำเหนิดวิทยายุทธในสายบู๊ตึ๊งแทน

    ในช่วง 80 ปีที่หายไปนั้นนั้นเป็นช่วงที่เมืองเซียงหยางแตกและราชวงศ์ซ่งใต้ถึงแก่กาล อวสาน ผมเองต้องยอมรับในตอนนี้ว่า แม้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมเขียนในช่วงเหตุการณ์ที่เมืองเซียงหยางแตกและต่อ เนื่องกินความมายังช่วงที่มองโกลกรีฑาทัพไปตามแม่น้ำฮวงโหและประชิดราชธานี ที่หลินอันเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าน่าจะหาเรื่องมาพูดถึงเหตุการณ์ช่วงนี้อีก เพราะยังมีรายละเอียดที่เหลืออยู่ในประวัติศาสตร์จริงที่ค่อนข้างสนุก

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="300"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="top" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> แต่นั่นทำให้เราจะต้องก้าวล่วงเข้าไปยังจักรวาลของนวนิยายจีนเรื่อง อื่นๆ โดยผู้เขียนคนอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อปีที่แล้วได้มีนวนิยายจีนเรื่องได้นำเอาเหตุการณ์ในช่วง 80 ปีที่หายไปของกิมย้งมาเขียน “จักรวาลกำลังภายใน” ของเขาขึ้นมาใหม่ แล้วที่สำคัญผมว่ามันสนุกใช้ได้เลยครับ ผู้เขียนนวนิยายไตรภาคเรื่องนี้มีชื่อว่า เฟิ่งเกอ (Feng Ge) และนวนิยายที่เป็นช่วง 80 ปีที่หายไปนี้มีชื่อว่า “มหากาพย์ภูผามหานที ตอน วีรกรรมผู้กล้า” ชื่อภาษาจีนสั้นๆ ครับว่า คุนหลุน (Kun lun)

    ผู้เขียนนั้นได้รับรางวัลหวงอี้ อวอร์ด ซึ่งทำให้มีเครดิตขึ้นมามาก แต่ถ้าเผื่อใครที่เคยมีประสบการณ์ในการอ่านมังกรหยกทั้งสามภาค + แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ชนิดหลับตาก็นึกถึงตัวอักษรนั้น จะรู้สึกแอนตี้ผู้เขียนทีแรก เพราะเราจะเห็นว่า เฟิ่งเกอผู้นี้ เอาเรื่องราวของมังกรหยกนั่นแหล่ะครับมายำกันใหม่หมดเลย โดยโครงสร้างทั้งหมดอยู่ในตะเข็บรูปรอยของกิมย้งอย่างที่สุด

    โชคดีครับที่ตะเข็บดังกล่าวอยู่ในช่วง 80 ปีที่หายไปอรรถรสที่ได้รับจึงไม่ต้องมาพะวงเปรียบเทียบกับจักรวาลของกิมย้ง เท่าไหร่นัก แต่ในเรื่องบุคลิกของตัวละครนี่ต้องยอมรับว่า แกผสมกันไปจนนน่าหมั่นไส้

    พระเอกของเรื่องคือ “เหลียงเซียว” มีชะตากรรมตกยากคล้ายๆ ”เตียบ่อกี้” ในดาบมังกรหยก นั่นคือ พ่อตาย-แม่ถูกฉุดหายต่อหน้าต่อตา เรื่องราวความรักของเขาก็คล้ายๆเตียบ่อกี้คือมีสองสาวให้น่าเวียนหัว แต่นิสัยแข็งกร้าวทรนงองอาจกล้าที่จะแค้นกล้าที่จะรักแบบเอี้ยอ้วยและมีสิ่ง ที่เหมือนเอี้ยก้วยก็คือ เขาโดนคนทั้งยุทธจักรมองว่าเป็นคนชั่วร้าย เพียงแต่ดีกรีที่ถูกเกลียดนั้นมากระดับกว่าเอี้ยก้วยเยอะ จากการที่เขาเป็นขุนศึกของมองโกลแบบตกกระไดพลอยโจน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์และความแค้นต่อประเทศบ้านเกิดของตัวเองอย่างช่วยไม่ ได้

    ที่หนักที่สุดก็คือ แกถูกแต่งตั้งเป็นแม่ทัพหน้าและเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เมืองเซียงหยางแตก

    ข้อโดดเด่นอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องวิทยายุทธที่พระเอกเราได้แนวคิดทางคณิตศาสตร์มาสร้างสรรค์เป็นท่าเท้า และใช้คณิตศาสตร์นั้นไปผสมผสานต่อแนวทางการเดินกำลังภายใน ขณะที่ตัวละครอื่นๆ สำนักวิชาทั้งหลายก็คิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ไม่เคยมีอยู่ในแนวทางของกำลังภายในเล่มอื่นเลย

    แต่ ”ความสัมพันธ์” และ ”ความสำคัญ” ของสุดยอดจอมยุทธนั้นดันเดินตามแนวมังกรหยกชนิดน่าหมั่นไส้ ของกิมย้งมียาจกอุดรอั้งชิดกง ของเฟิ่งเกอมีหลวงจีนดื่มสุราจิ่วหยู่ทรงพลัง กิมย้งมีมารบูรพาอึ้งเอี๊ยะซือ ของเฟิ่งเกอมีบัณฑิตขนนกกงหยางหวี่ กิมย้งมีเฒ่าทารก ของเฟิ่งเกอมีเฒ่าเต่าประหลาดเกาะตะวันออก และกิมย้งมีอาวเอี้ยงฮง ของเฟิ่งเกอก็มีจ้าวอสรพิษฮัวทวอหลอ แถมยังมีลูกชายบ้ากามแบบเดียวกันเสียด้วย กิมย้งมีฮึงซู่ซู่ ฟากเฟิ่งเกอก็มี เซียวอี้หลิง

    ขนาดในแนววิชายิ่งเกทับกันหนัก เพราะ กิมย้งมี “พี่อินทรีย์” ของเอี้ยก้วยสอนวิชาให้กัน เฟิ่งเกอคงนึกไม่ออกแกเลยเอา “ป้าปลาวาฬ” มาสอนวิชาพลังลมหายใจปลาวาฬเสียเลย!!

    แต่แม้จะมีอะไรที่ชวนหมั่นไส้ในฐานะที่เป็นแฟนกิมย้ง แต่ผมต้องยอมรับว่าอ่านนวนิยายกำลังภายในเรื่องนี้ด้วยความสนุกมากๆ แต่ไม่ใช่เพราะการเกทับของเฟิ่งเกอต่อกิมย้งในเรื่องตัวละครหรือเชิงวิชา แต่ผมกลับชอบเรื่องที่เขาแทรกไว้ในประวัติศาสตร์ช่วงเวลานี้มากกว่าที่ เฟิ่งเกอทำได้เนียนมากคล้ายๆกับที่หวงอี้ทำในงานชิ้นเอกของเขา ไม่ว่าจะเป็น เจาะเวลาหาจิ๋นซี มังกรคู่สู้สิบทิศ และ จอมคนแผ่นดินเดือด ซึ่งมีทั้งประวัติศาสตร์จริงๆ และส่วนที่แกจัดลำดับของเวลาใหม่เพื่อให้มีความเป็นดราม่าตามที่ไลน์ของ เรื่องควรจะเป็น พูดง่ายๆโครงใหญ่ของเฟิ่งเกอถูก แต่โครงเล็กที่เป็นเรื่องลำดับเวลานั้นผิดเยอะ

    ความจริงหวงอี้เองก็เคยเขียนถึงเหตุการณ์ในราชวงศ์หมิงซึ่งต่อจากราชวงศ์มอง โกลในเรื่องเทพมารสะท้านภพ แต่พอเปรียบเทียบกับการใช้ประวัติศาสตร์มาสร้างงานแล้ว ต้องยอมรับว่า เรื่องราวใน “มหาภาพย์ภูผามหานทีตอน วีรกรรมผู้กล้า” นั้นเป็นเรื่องเป็นราวกว่าครับ

    โดยเฉพาะช่วงที่เหลียงเซียวพระเอกของเรื่องไปเข้าทัพมองโกลจนกลายเป็นผู้ บัญชาการทหารม้ารบพิเศษชินฉา เฟิ่งเกอได้ใส่ตัวละครที่มีจริงเข้ามามากมายโดยเฉพาะฝ่ายมองโกลและฝ่ายซ่ง ใต้

    ฝ่ายมองโกลนั้นมีหลายตัวครับ ใครที่อ่านบทความที่ผมเขียนไปจะเห็นว่ามีชื่อจอมพลบายัน (Bayan) ซึ่งถ้าอ่านแบบมองโกลตามที่ฝรั่งระบุก็อ่านตามนั้น แต่ถ้าอ่านเป็นตัวพินยินเสียงจีนก็จะกลายเป็น “ปาเยียน” ซึ่งถือเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกุบไลข่าน และเป็นคนคุมกองทัพมาตีเมืองเซียงหยางและฟานเจิง หรือฝานเฉิงด้วยตัวเอง ตามเรื่องนั้นเฟิ่งเกอให้ปาเยี่ยนเป็นศิษย์ของเฒ่าประหลาดวารีดำ “เซียวเซียนเจี๋ย” ซึ่งเป็นศัตรูฆ่าพ่อของพระเอก แต่ปาเยี่ยนเองก็เป็นศิษย์ผู้พี่ของแม่พระเอกซึ่งสืบเชื้อสายมาจากมองโกลสาย เลือดทองคำของ เจงกิสข่าน นายพลปาเยียนผู้นี้จึงมีศักดิ์เป็นอาของเหลียงเซียว เพียงแต่ไม่ค่อยรักที่จะลุยเดี่ยวเป็นจอมยุทธ แต่ยินดีที่จะเป็นแม่ทัพในสงครามมากกว่า

    จอมพลบายัน หรือ ปาเยี่ยน ผู้นี้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกในฐานะผู้บัญชาการทัพที่เก่งที่สุดใน ช่วงศตวรรษที่ 13 ในช่วงเวลาที่มองโกลนั้นครองไปครึ่งโลก เขามีฉายาว่า Bayan of the Baarin (ปี ค.ศ. 1236-1295 ส่วนคำว่า Baarin นั้นหมายถึงว่า แกเป็นชาวบายาริน ซึ่งเป็นมองโกลเผ่าหนึ่งที่อยู่ทางเหนือของมองโกลอีกที) ส่วนมาร์โคโปโลให้คำจำกัดความของจอมพลผู้นี้ว่าเป็นนายพลร้อยตา หรือ "Bayan Hundred Eyes" ที่ต้องพูดถึงชัดๆก็เพราะว่า เขาเป็นจอมพลคนเก่งที่ถูกบันทึกว่าไว้ทำให้ซ่งล่มสลายและเป็นคนต่างชาติคน แรกที่ตีประเทศสี่ทะเลหรือประเทศจีนในยุคนั้นได้สำเร็จหมดจด หลังจากที่ก่อนหน้านั้นมีชาวต่างชาติอยู่หลายเผ่าทำได้แค่....เกือบ!! ไม่ว่าจะเป็นพวกหนี่ว์เจินหรือเผ่ากิม ธิเบตหรือทูลูฟัน ซีเซี่ย ไปจนกระทั่งเผ่าเหลียวพวกชี่ตัน

    อีกตัวหนึ่งที่มีอยู่จริงในนวนิยายเรื่องนี้ก็คือ นายพลอาจู (Aju) หรือ อาซู่ ซึ่งเป็นขุนศึกแห่งกองทัพม้าอีกคนหนึ่งในสายของนายพลปาเยี่ยนและเป็นผู้ บัญชาการสายตรงของเหลียงเซียว เช่นเดียวกับแม่ทัพเรือ “จางหงฟ่าน” ซึ่งสุดท้ายแล้วตามประวัติศาสตร์จริงเป็นคนพิชิตทัพซ่งทัพสุดท้ายได้สำเร็จ โดยใช้กำลังทหารน้อยกว่าฝ่ายซ่งถึง 10 เท่า

    แต่เหตุการณ์ที่ตีเมืองเซียงหยางแตกนั้น เฟิ่งเกอให้รายละเอียดแบบที่ไม่มีอยู่ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ฉบับไหนๆ เลยเกี่ยวกับปืนยิงหินยักษ์ หุยหุยเพา โดยเปิดตัว จามาลู่ติง อ้างว่าเป็นลูกศิษย์ของนัสซูลาติน “เทพแห่งปราชญ์ผู้รอบรู้ของชาวอาหรับ” ว่าเป็นคนสร้างเครื่องยิงหินนี้

    ตัวของนัสซูลาตินนั้นตัวจริงมีชื่อว่า “นัสเซอร์ราดิน ตูซี่ (Nasir al-Din al-Tusi )” หรือที่รู้จักกันในสากลกว่านี้ว่า “นัสเซอร์ ตูซี่” ผมก็เลยไม่แน่ใจเหมือนกันว่าชื่อนัสซูลาตินที่ ท่าน.นพรัตน์แปลมานั้น คงจะแปลงมาจากตัวจีนอีกทีหรือเปล่า มันถึงได้ไปไกลจากชื่อเดิมอย่างมาก แต่ก็อย่างว่าแหล่ะครับไก่ทอดเคเอฟซี เวลาเราไปซื้อที่เมืองจีนยังต้องเรียก เค่อเต๋อจี หรือ โคล่า ก็กลายเป็นเขอเล่อ กันเลย

    ประวัติของ “นัสเซอร์ ตูซี่” ผู้นี้ถือว่าเป็นยอดนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญเกือบทุกสาขาวิชา ตัวของนาเซอร์ ตูซี่นั้น หลายแหล่งข้อมูลยืนยันตรงกันว่าเป็นคนอิหร่าน เฟิ่งเกอ บอกว่าเขาผู้นี้เป็นนักปราชญ์ชาว “อีซือล่าง” (น.นพรัตน์ ขยายความให้ว่าเป็น อิสลาม “มหากาพย์ภูผามหานที เล่ม 4 หน้า 170) คำว่าอีซือล่าง หรือ อิสลามนี้ ถ้าจะให้เรียกชัดลงไปว่าเป็นชาวมุสลิมก็คงไม่ผิดนัก และเมื่อเป็นเช่นนี้ที่ฝรั่งเรียก หุยหุยเพาว่าเป็น Muslim counterweight trebuchet หรือ “เครื่องยิงหินของชาวมุสลิม” ก็คงไม่ผิดอะไร</td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...