การศึกษา???..สอนให้เรา..ก้าวร้าว..เห็นแก่ตัว???

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย yutkanlaya, 6 กรกฎาคม 2009.

  1. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,674
    ค่าพลัง:
    +51,948
    *** สัจจะทำของคนไทย ****

    ผู้นำ...ต้องทำให้เป็นตัวอย่างก่อน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  2. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752

    ..เห็นด้วยครับ...ถึงได้บอกว่า มันสายเกินไป ที่จะ แก้ไข...อย่้างไร มาร เขาก็ไม่ชอบ คนรู้ทัน อยู่ดี ระวังตัวหน่อย ก็ แล้วกัน...555
     
  3. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752
    ....นี่ ก็ เห็นด้วยครับ...แต่ ขอ แสดงความเห็น เพิ่มเติมว่า..ผู้นำนี่ หมายถึง ใคร ก็ ได้ ที่ เป็นหัวหน้า... ก็ เริ่มจาก หัวหน้าครอบครัวขึ้นไป นั่นแหล่ะ....สำหรับ ผู้นำ นอกเหนือ ไปจากนี้ เห็็นที จะ ขอให้ เขาทำตาม คำแนะนำของ คุณหนุมาน ลำบาก... ไม่เชื่อ ก็ ลอง ไปบอกให้เขาทำ ดูี......ไปล่ะ
     
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,674
    ค่าพลัง:
    +51,948
    เรื่องสัจจะทำ
    ถ้าผู้นำไม่ทำ ก็ไม่มีผู้ตาม
    ทุกอย่างก็เป็นไปตามกรรม คือบารมีไม่พอ ที่จะก้าวข้ามกรรม

    - " หมาน ผู้นำสาร "
     
  5. 1redstar

    1redstar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    622
    ค่าพลัง:
    +1,368
    ศีลธรรม ถูกบิดเบือน
    ประชาชน ชั้นล่าง ไม่ค่อยเชื่อเรื่องศีล๕
    พวกเขามีความเชื่อว่า
    "นักการเมืองโกงกินเป็นเรื่องปกติที่ยอมรับได้
    ตราบเท่าที่พวกเขาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนบ้าง"

    ควรจะสร้างวัฒนธรรมไทยใหม่ ให้เป็นชนชาติที่ปกป้องศีล๕
    เชื่อเถิดว่า ศีล๕ จะปกป้องชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาเอง
     
  6. Sopasiri

    Sopasiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    449
    ค่าพลัง:
    +912
    การศึกษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้น
    ในเมื่อเกิดมามีหน้าที่เรียนก็ต้องเรียน(ใครตั้งกฏนี้เนี่ย)
    ใครไม่เรียนถือว่าโง่(ปรุงแต่งกันอีกแล้ว)
    เรียนเสร็จแล้วก็นำความรู้ที่เรียนมาช่วยพัฒนาสิ่งต่างๆหลากหลายที่มนุษย์ปรุงแต่งกันขึ้น
    ความรู้ทางการแพทย์ก็ถือว่ามีประโยชน์ ช่วยชีวิตคนได้นับว่าดี แต่คนเราสุดท้ายก็หนีความตายไม่พ้น วนไปวนมาทุกชา่ติๆๆๆๆ แต่จะทำยังไงได้สังคมเค้ายอมรับแบบนี้ ก็ต้องทำไป
    ทั้งๆที่มนุษย์ควรจะเกิดมาเพื่อเรียนรู้ หาทางพ้นทุกข์ ไปสู่นิพพาน ตามแนวทางพุทธศาสนามากกว่า
     
  7. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    381
    ค่าพลัง:
    +898
    ทุกคนที่เกิดมามีสัญชาติญาณในการเรียนรู้อยู่แล้ว อย่างไรก็ต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับผู้อื่น

    สูงขึ้นอีกนิด ก็เพื่อพัฒนาศักย์ภาพตนเองในเรื่องที่ชอบจะเรียน

    สูงไปอีก ก็เพือใช้ประกอบอาชีพและเอาตัวรอด

    อย่างหลังนี่แหละ ที่เราถูกจูงถูกครอบมาตั้งแต่เด็ก

    จึงมีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นกับการศึกษา ซึ่งใช้หากิน กับเด็ก กับครูและคนที่เข้ามาข้องเกี่ยว


    สมัยนี้ถ้าเป็นนักธุรกิจที่ฉลาด ต้องหากินกับเด็กวัยรุ่น เพราะซื้อง่ายเมื่อถูกใจ มีคนคอยจ่ายอยู่แล้ว สร้างกระแส วัตถุนิยมให้กับคนวัยนี้ไม่ยาก แถมติดใจก็ได้ลูกค้าระยะยาว

    ทำอย่างไรจึงจะวางพื้นฐานที่ถูกต้องได้ ก็คงไม่พ้น พ่อแม่ และครูอาจารย์

    ถ้าพ่อแม่ครูอาจารย์ ไม่เคยวางแผนร่วมกันเลย ก็เป็นไปได้ยากที่จะสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีตุณภาพ
    น่าจะมีบุคคลอีกซักกลุ่มคอยมาช่วย เพื่อวางแผนสร้าง คน ด้วยกัน

    ท่านคิดว่าคนกลุ่มใหน ที่จะมาช่วย ดูแลคนตั่งแต่ยังไม่เกิด จนโตพอจะตัดสินใจอะไรได้ในพื้นฐานของความเหมาะสม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2010
  8. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    เรียนรู้ด้วยใจอย่างไร้คอก

    [​IMG]

    โดย วิจักขณ์ พานิช
    หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 9 มกราคม 2553

    กระบวนการเรียนรู้ใจตัวเองเป็นเรื่องแปลก แปลกที่ว่าหากเผลอเมื่อไร ใจเราก็มักจะสร้างคอกของ “ความรู้ (แล้ว)” ไว้เป็นหลักอ้างอิงให้กับตัวมันเองอยู่เสมอๆ ความรู้ที่ว่านี้อาจใช้การได้ดี และอาจขายได้อยู่พักใหญ่ แต่ไม่นานนักความรู้ก็จะกลายเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งยวดต่อกระบวนการเรียนรู้ของใจ

    ธรรมชาติของใจไม่มีคอก ไม่มีขอบเขตแม้กระทั่งเรื่องของความถูกผิด นั่นคือเหตุที่ว่าทำไมใจจึง (ง่าย) งาม ใจจึง (ปกติ) ดี และใจจึงกว้างขวางยิ่งนัก จนเราสามารถไว้วางธรรมชาติของใจได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ขอเน้นย้ำว่าเราไว้วาง “ใจ” ไม่ใช่เอาใจไปวางไว้ (ในคอก)

    คอกที่ว่านี้มีด้วยกันหลายรูปแบบ ความร่ำรวยมีชื่อเสียง เกียรติยศ ปริญญา สถานะ ความเด่น ความดัง และความสำเร็จ ถือเป็นคอกลักษณะหนึ่งที่เราชอบเอาใจไปวางไว้ ของรักของชอบ ความสุข ความสมหวังในชีวิต และเพื่อนฝูง ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่ง และอีกแบบหนึ่งที่ลึกซึ้งขึ้นไป ก็คือเรื่องของความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และความดี (ความงามและความจริง) ที่ยิ่งใจเดินทางไปไกลมากเท่าไร คอกเจ้ากรรมก็ดูจะมีความเจ้าเล่ห์ยิ่งขึ้น ดูดียิ่งขึ้น เชื้อชวนและชวนเชื่อยิ่งขึ้น จนเราอดไม่ได้ที่จะพักใจไปวางไว้ในคอก แต่หากเรายังรู้ใจตน นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาที่มืดมนอะไร

    ใจของแต่ละคนผ่านการเดินทางมาแสนยาวนาน พักบ้าง ตื่นบ้างไปตามเรื่องตามราว ทว่าความสุขสูงสุดทางจิตใจ คือการที่ใจได้เรียนรู้ที่จะปลดโซ่ตรวนที่ล่ามอิสรภาพของใจไปทีละน้อย ชั่วขณะของความสุขทางจิตวิญญาณ คือการที่เราได้เข้าไปสัมผัสสายลมแห่งอิสรภาพที่ผ่านพัด และการเดินทางก็ยังมีต่อไปด้วยความโหยหาของใจที่จะเข้าถึงอิสรภาพโดยสมบูรณ์ สู่ธรรมชาติเดิมแท้ของใจที่ไร้การปรุงแต่ง ดังนั้นแม้เราจะแอบเอาใจไปพักไว้ในคอกบ้างเป็นครั้งคราว แต่เมื่อใดที่เราได้กลับมารู้ใจตัวเองแล้ว เราก็ควร “ออกนอกคอก” เสีย แล้วเดินทางต่อ

    การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ คือการบ่มเพาะความเชื่อมั่นของ “ใจนอกคอก” ดวงนี้ ด้วยความรู้จิตรู้ใจของตัวเอง เคราะห์ดีที่เราๆ เกิดมาเป็นคนที่มีร่างกาย เราจึงไม่ต้องมัวดูดาย นิ่งดูใจไปอย่างแอบๆ และแอ็บสแตรค การรู้จิตรู้ใจจึงฝึกฝนกันได้แบบคนเดินดินธรรมดา ด้วยการบ่มเพาะความรู้เนื้อรู้ตัว ที่ทำให้ใจนอกคอกดวงนี้ปกติตั้งมั่น จนรู้ทันตัวเองได้ในทุกย่างก้าว

    และเมื่ออุตส่าห์ลงมาเดินดินกันแล้ว ไม่ว่าความเป็นคนมันจะดูห่วยขนาดไหน มันจะเจ็บขนาดไหน มันจะร้อนรุ่มขนาดไหน มันจะซาบซ่านขนาดไหน มันจะหลงไปไกลใครบ่นอะไรก็ไม่ได้ยิน สิ่งเร้าเข้ามากระทบ อารมณ์ผุด ความรู้สึกโผล่ หรือแม้แต่ความโหยหา ความปรารถนา ตัณหาราคะ ความโกรธ ความเกลียด อิจฉาริษยา อยากจะฆ่าใคร ก็ไหนๆ เหตุปัจจัยก็เอื้อให้สิ่งเหล่านี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในใจ ได้ขึ้นมาให้เราเห็นกันจะๆ แล้ว เราจะมัวหนีไปไย แล้วเราจะไปเอาคอกที่ไหนมากดเก็บและกีดกันภาวะเหล่านี้เพื่อจะได้เอาใจไปเก็บใส่ไว้อีก

    บางคนอาจจะกล้าๆ กลัวๆ แล้วแก้ตัวไปขุ่นๆ ว่า “ก็เข้าใจอ่ะนะ แต่เอาเป็นว่าฉันจะลองมองหาคอกดีๆ ก็แล้วกัน” คอกที่ดูดีจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อเอาไว้ผูกใจที่กล้าๆ กลัวๆ เป็นภาวะของความกึ่งดิบกึ่งดีทางปัญญาที่ดูเผินๆ ออกจะน่าหลงใหลอยู่ไม่น้อย ทว่ายิ่งคอกดีมากเท่าไร ใจก็ดูจะยิ่งถูกปิดกั้นจากการรู้ใจตนมากเท่านั้น

    การเรียนรู้ของใจจะเกิดขึ้นได้ ก็แต่ในคอกห่วยๆ เท่านั้น คอกที่มีขึ้นเพียงชั่วคราวบนรากฐานของความเข้าใจในความยิ่งใหญ่ของ “ใจนอกคอก” คอกที่คอยโอบอุ้มให้ใจที่กล้าๆ กลัวๆ ได้รู้จักความกล้าและความกลัวตามที่เป็น ไม่มีมาตรฐานผ่านเกณฑ์ ไม่มีกดดันบีบคั้น ไม่มีรางวัล พันธสัญญา หรือปริญญาบัตร (หรือหากจะมีก็มีไปขำๆ) เพราะจิตวิญญาณแห่งการแสวงหา คือการเข้าถึงใจตน ไม่ใช่ไปเอาใจใคร เป็นการเรียนรู้เพื่อเข้าใจ ไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อเอาใจ (หรือเอาแต่ใจ) คอกห่วยๆ จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งห่วยเท่าไรก็ยิ่งดี เป็นคอกห่วยดีที่หลวม สด ดิบ ง่าย ไม่ซับซ้อน พร้อมที่จะถูกแหกออกเพื่อหลีกทางให้กับใจนอกคอกได้ออกไปโลดโผนยามที่ใจพร้อม หากคอกเกิดพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยใจอะไรขึ้นมา ก็น่าจะอ่อนน้อมถ่อมตัวเป็น “ศูนย์นอกคอก” ที่รวมความหลากหลายของใจทั้งในคอกและนอกคอก ใจในคอกที่ยอมรับถึงข้อจำกัดของใจตน จนไม่ยกตัวตนไปข่มใคร และไม่พยายามเอาใครมาใส่คอก และใจนอกคอกที่เห็นใจเหตุปัจจัยภายในคอก สื่อสาร สัมพันธ์ บนรากฐานของความจริงใจ จนเส้นแบ่งระหว่างนอกและในหายไปจนศูนย์ไม่กลายเป็นคอก

    แล้วการเรียนรู้ของใจก็จะเดินทางต่อไป บนหนทางแห่งความไม่รู้ (แล้ว) ที่ยิ่งก้าวไป ใจก็ยิ่งอ่อนน้อม พร้อมที่จะเผชิญกับทุกภาวะ ทุกผู้คน ทุกเหตุการณ์ ทุกปัญหา ทุกความสับสน ทุกสุข ทุกทุกข์ ที่ผ่านเข้ามาอย่างรู้ใจตน เกิดเป็นความเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อไทย เพื่อใคร หรือเพื่ออะไร ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีอะไรทั้งนั้น มีก็แต่เพียงเส้นทางของ “การเรียนรู้ด้วยใจ” อย่างที่ไม่มีคอกใดจะเอาอยู่



    วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553 at ที่ 14:00 by knoom
    ป้ายกำกับ: บทความมติชน, วิจักขณ์ พานิช | :cool::cool::cool:
     
  9. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    อารยธรรมแห่งการอยู่ร่วม

    [​IMG]

    โดย ณัฐฬส วังวิญญู
    หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 16 มกราคม 2553

    การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทางปัญญาที่มองเห็นความเชื่อมโยงและการพึ่งพิงอาศัยของข่ายใยชีวิต สำหรับคนในยุคปัจจุบันที่วิถีชีวิตมีความสะดวกสบายผ่านการใช้เงินตราและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็น เรื่องที่ท้าทาย ยิ่งการที่จะตระหนักว่าสังคมมนุษย์ยังคงพึ่งพาอาศัย “ธรรมชาติ” นั้น ดูจะห่างไกลจากสำนึก ประจำวันไปเสียทุกที เป็นแต่เพียงคำลอยๆ สวยๆ ที่นิยมใช้เพื่อชื่นชม “ธรรมชาติ” ราวกับเป็นเพียง เครื่องประดับจำเป็นที่จะต้องมีไว้เพื่อความครบถ้วนทางวาทกรรมเท่านั้น ยิ่งคำๆ นี้ดำรงอยู่เพียงในความคิด หรือคำพูด อย่างขาดการสัมผัสตรงเท่าไร “ธรรมชาติ” ก็เป็นแค่เพียงมายาคติที่ถูกโหยหาและกล่าวถึง แอบอ้างอย่างผิวเผิน

    การตระหนักรู้ถึงธรรมชาติของชีวิตที่เชื่อมโยงพึ่งพิง จะเกิดขึ้นเมื่อเราได้สัมผัสตรงกับธรรมชาติ ในช่วงเวลาที่ยาวนานพอ และในภาวะการรับรู้ที่ละเอียดอ่อนมากพอแล้ว คำว่า “ธรรมชาติคือครูที่ยิ่งใหญ่” จะมีความหมายสำหรับเรามากกว่าหลักปรัชญางามหรู เพราะเราสามารถสัมผัสได้ถึงความมีชีวิตชีวาที่มี ลักษณะเป็นองค์กรจัดการตัวเองของธรรมชาติ เราสามารถรับรู้และให้ความหมายพลังของธรรมชาติได้อย่าง หลากหลาย มีทั้งความธรรมดาเรียบง่ายและยิ่งใหญ่อลังการ มีทั้งความบรรสานกลมกลืนและความแตกต่าง อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตน

    วิกฤติของสังคมที่เรากำลังเผชิญอยู่ ท้าทายความสามารถในการ “อยู่ร่วม” กันท่ามกลางความ แตกต่างหลากหลายทางความคิด คุณค่า และวิธีการอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะมองไปทางไหน เราจะพบ ความแตกแยก ความไม่ลงรอย ความรุนแรงทั้งแบบเปิดเผยและแบบหลบซ่อน ทั้งในองค์กรธุรกิจ องค์กรทาง วิชาการ และองค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ ที่ผู้คนมีความตั้งใจหรือเจตนาที่ดีในการสร้างสรรค์สังคมให้มีสุข เกิดอะไรขึ้นกับสังคมที่ก้าวหน้า มีการศึกษา และเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีที่ชาญฉลาด

    ผู้เขียนคิดว่า อารยธรรมมนุษย์ที่เดินทางมาสุดขั้วความเจริญทางวัตถุ กำลังเรียนรู้ที่จะเดินทางต่อด้วย การหวนคืนสู่การใช้เทคโนโลยีทางจิต ที่อาจดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ไม่มีมูลค่าหรือราคาค่างวดใดๆ แต่กลับอาจ ส่งผลให้เราสามารถ “อยู่ร่วมกัน” กับตัวเองและผู้อื่นได้อย่างกลมกลืนและอ่อนโยนยิ่งขึ้น การสัมผัสรับรู้ถึง “ธรรมชาติของชีวิต” จะทำให้เราเห็นว่า ชีวิตไม่ได้อยู่ในอำนาจควบคุมของเรา ธรรมชาติไม่ได้ถูกสร้างโดยมนุษย์ ในทางตรงกันข้าม ธรรมชาติคือแหล่งกำเนิดหรือที่มาของชีวิตทั้งมวลรวมทั้งมนุษย์ นอกจากนี้ ธรรมชาติยังเป็น “บ้าน” เป็น “ฐานทรัพยากร” ให้กับอารยธรรมแห่งการบริโภคที่มีแต่จะเสื่อมโทรม และร่อยหรอลงทุกทีๆ แม้จะมีความพยายามในการ “จัดการ” ทรัพยากรเหล่านี้อย่างยั่งยืนเพียงใด ก็ดูจะเล็กน้อยไม่ทันอัตราการล้างผลาญที่กำลังเกิดขึ้น นี่อาจจะถึงจุดที่การจัดการที่สำคัญคือการจัดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับ “บ้าน” หลังนี้ของเรา

    คุรุหรือผู้นำที่สามารถเป็นตัวอย่างแห่งการสำนึกรักและตระหนักรู้ในภาวะพึ่งพิงอาศัยของระบบชีวิตนี้ อาจไม่ได้อยู่ตามมหาวิทยาลัยหรือชุมชนวิชาการที่มีผลงานน่าเชื่อถือ แต่คือชุมชนที่ยังคงสืบทอดและดำรง วิถีชีวิตของเผ่าพันธุ์เรื่อยมาอย่างถ่อมตัว หนึ่งในนั้นคือชาวปกาเกอญอแห่งบ้านสบลาน ที่อยู่อาศัยกันเพียง ๒๐ ครัวเรือน แต่รับผิดชอบดูแลผืนป่านับหมื่นไร่ในเขตพื้นที่ของอำเภอสะเมิง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำปิง และแม่น้ำเจ้าพระยา หลายปีก่อนหญิงชาวปกาเกอญอคนหนึ่งเคยกล่าว กับผมว่า “แม้ว่าเราจะเป็นคนตัวเล็กๆ และดูแลลำห้วยเล็กๆ ที่นี่ แต่เราก็รู้ว่าเรากำลังทำหน้าที่ดูแลแม่น้ำให้กับ คนพื้นราบ คนเชียงใหม่ คนกรุงเทพฯ ไปด้วย เราคือคนตัวเล็กๆ ที่ดูแลคนกรุงเทพฯ และเราภูมิใจที่ได้ทำ อย่างนั้น”

    ในช่วงกลางเดือนธันวาคม ๒๕๕๒ ผมได้นำพากลุ่มผู้ฝึกกระบวนกรในโครงการจิตตปัญญาศึกษา ที่เสมสิกขาลัยร่วมกับศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางไปเรียนรู้กับชุมชนสบลาน ในหัวข้อ นิเวศภาวนา (Ecological Quest) เป็นเวลา ๗ วัน โดยผู้ร่วมเดินทางประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และนักการละคร เป็นการเรียนรู้ผ่าน การสัมผัสตรงกับเรื่องราวของการอยู่ร่วมอย่างเป็นชุมชน มิติของความศักดิ์สิทธิ์และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างอ่อนน้อม ทั้งสองมิตินี้เป็นลักษณะสำคัญของ “จิตวิญญาณชนเผ่า” ที่อาจจะดูไม่ฮิบหรือล้าหลังไปใน ยุคออนไลน์ แต่ผมกลับเห็นว่าเป็นทางออกทางหนึ่งของสังคม ด้วยความเป็นตัวอย่างของความรู้ที่ได้รับ การผลิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าในวิถีชีวิตจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงวาทกรรมที่หวานหูดูดีมีสำนึกทางนิเวศเท่านั้น

    พวกเราใช้เวลาในการเรียนรู้ชีวิตที่ธรรมชาติและเรียบง่ายธรรมดาที่หมู่บ้าน แล้วจึงเดินทางไป ภาวนาในป่าเพื่อทำความเข้าใจกับชีวิตตัวเอง เป้าหมายชีวิต การคลี่คลายความสัมพันธ์กับผู้คนในอดีต หรืออาจค้นหาแรงบันดาลใจ ความกระจ่างชัดจากธรรมชาติ เพื่อนำกลับมาสู่การดำเนินชีวิตในเมือง อีกครั้งหนึ่ง การที่ได้มีเวลาอยู่กับธรรมชาติเพียงลำพัง ทำให้หลายคนได้เผชิญหน้ากับความกลัว ความโดดเดี่ยว อ้างว้าง ความหิว และความเบื่อหน่าย แต่เมื่อพวกเราผ่านความยากลำบากทั้งทางกาย และใจไปได้ ผลที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นความผูกพันกับชีวิตที่แน่นแฟ้นและกลมกลืนยิ่งขึ้น รอยละอองของฝุ่น และคราบไคลบนผิวหน้าก็ไม่ใช่เป็นสิ่งแปลกปลอมของชีวิตอีกต่อไป พร้อมกับใจที่กลมกลืนน้อมรับชีวิต แวดล้อมอย่างอ่อนโยนและยืดหยุ่น ราวกับได้กลับมารู้สึกอีกครั้งว่าธรรมชาติคือบ้านที่แท้จริงของเรา ดังที่บรรพบุรุษของเราอาจเคยตระหนักเช่นนั้น

    ประสบการณ์นี้ช่วยย้ำเตือนให้พวกเราไม่หลงลืมธรรมชาติแห่งความเป็นปกติ และความเป็นเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยง อีกทั้งได้สัมผัสความอ่อนโยนและความกรุณาภายในตัวเอง ไม่เพียงแต่เท่านั้น ชาวปกาเกอญอเจ้าบ้าน ทั้งคนหนุ่มและผู้เฒ่าที่เป็นดังครูของพวกเรา ก็ยังได้ระลึกรู้ถึงความสำคัญและคุณค่าของพวกเขาเองที่มีต่อโลกและสังคมอีกด้วย ผู้เฒ่าคนหนึ่ง “พะตีแดง” เคยกล่าวกับผมเมื่อหลายปีก่อนว่า “อยากให้พวกเรามากันบ่อยๆ พวกเราที่อยู่ที่นี่ จะได้ไม่หลงลืมว่าเราคือใคร และมีความหมายอย่างไร” ตอนแรกๆ ผมไม่เข้าใจนักว่าการมาของพวกเรา จะช่วยไม่ให้ชาวบ้าน หลงลืมคุณค่าของตัวเองได้อย่างไร แต่มาตอนนี้ผมเข้าใจแล้วว่า การพึ่งพาอาศัยกัน และกันทางจิตใจนั้น ดำรงอยู่ในปฏิสัมพันธ์ บทสนทนาที่เป็นมิตร และการอยู่ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ช่วยทำให้เรารับรู้คุณค่าและความหมายของการดำรงอยู่ของตัวเองได้

    ชายหนุ่มปกาเกอญอคนหนึ่งได้กล่าวถ้อยคำจากใจกับพวกเราก่อนกลับว่า “ผมดีใจที่มีคนส่วนหนึ่ง เข้าใจปกาเกอญอ ผมภูมิใจกับความเป็นปกาเกอญอ ถึงแม้จะไม่รวย ความรวยไม่ทําให้คนสบายเสมอไป อาจจะสู้น้ำใจ รอยยิ้มไม่ได้ สิ่งเหล่านี้มีค่ามากกว่าเงิน อย่างพะตี (พวกผู้เฒ่า) อาจรวยอีกแบบ รวยธรรมชาติ แต่ถ้าในเมืองอาจมองอีกแบบ คิดว่าคนดอยไม่รู้อะไร อยากฝากทุกท่านว่า ชาวบ้านมีวิถีชีวิต จิตวิญญาณแบบนี้ วันใดถ้าผมไม่ได้อยู่ที่นี้ ผมก็ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ ผมจบ (การศึกษากับ) มีด จบมุย (ฆ้อน) จบหน้าแข้ง จบจากบรรพบุรุษ ผมจะทําอย่างนี้ตลอดไป การศึกษาไม่ใช่ไม่จำเป็น จําเป็น ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีเข้ามา ซึ่งเทคโนโลยีอาจพัฒนาอะไรบางอย่งผิดอยู่ ผมยังจับสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เป็นห่วง อาจกระทบทั้งบ้านเมือง ไปทั้งหมด อยากฝากว่า ชาวบ้นที่นี้จะรักษาผืนป่านี้ จะภูมิใจ แม้ว่าเขาจะว่าว่าเป็นคนดอย คนปกาเกอญอก็จะไม่น้อยใจ จะมีแรงบันดาลใจ ความรู้สึกดีๆ จะไม่ลืม จะจําไว้ตลอดชีวิต ถ้มีโอกาส ก็ชวนให้กลับมาอีก ทุกคนยินดีต้อนรับเสมอ”


    วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 at ที่ 14:00 by knoom
    ป้ายกำกับ: ณัฐฬส วังวิญญู, บทความมติชน |
     

แชร์หน้านี้

Loading...