การสวดมนต์เป็นการสร้างบุญ หรือ กุศล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 6 มกราคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]


    <TABLE style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #dddddd; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#dddddd border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 547.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=730>ถามว่า วิธีบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน และไหว้พระสวดมนต์ เช่น ทำวัตรเช้าค่ำ และสวดมนต์แบบอื่น ๆ ที่เป็นพระสูตรพุทธสุภาษิต จะมิเป็นอามิสบูชาไปหมดหรือ เพราะไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา



    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 547.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=730>ตอบว่า อย่าเข้าใจให้ผิดว่าไม่ใช่สิกขา ๓ เช่น เวลาไหว้พระและกราบพระ นั่นเป็น สมฺมากมฺมนฺโต ที่พรรณาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ นั่นเป็น สมฺมาวาจา ควรสงเคราะห์เข้าไปในกองศีล ส่วนใจที่ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ควรสงเคราะห์เข้าในกองสมาธิ ส่วนทำวัตรเช้าที่พรรณนาด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ว่าเป็น อนิจจํ หรือ อนตฺตา และสวดมนต์พระสูตรอื่น ๆ ที่มีไตรลักษณ์อยู่ในสูตรนั้น เวลาที่สวดไปใจก็กำหนดตาม เกิดความเห็นชัดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา ในเวลาที่สวดอยู่นั้น ควรสงเคราะห์เข้าไปในกองปัญญา ก็พอครบสิกขา ๓ ตามแบบปฏิบัติบูชาส่วนดอกไม้ ธูปเทียน และภาชนะที่ใส่ดอกไม้วางอยู่หน้าพระพุทธรูป ก็เป็นอามิสบูชา ข้าพเจ้าแยกเป็น ๒ ส่วนให้ท่านฟังนี้ ขอท่านจงจำไว้ จะได้ไม่เห็นผิดว่า การไหว้พระสวดมนต์เป็นอามิสบูชา



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หมายเหตุ ตัดตอนมาจาก ปฏิปัตตินิเทศ โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร จากหนังสือ จิตตภาวนา มรดกล้ำค่าทางพุทธศาสนา


    [​IMG]

     

แชร์หน้านี้

Loading...