การหลงในจิต การออกจากจิต คืออย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Prasit5000, 25 มีนาคม 2017.

  1. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....ถ้าหลงอยู่ในป่า ชมสิ่งต่างๆที่น่ารื่นรมย์จนลืมไปว่าเป็นป่า เป็นที่มีทั้งอันตรายต่างๆ การออกจากป่าเพื่อกลับบ้าน เราก็ต้องรู้ก่อนว่าที่ที่เราอยู่นี้คือป่า และคิดจะออกจากป่า และก็หาวิธีทางออกจากป่า โดยอาจจะมีแผนที่ ถ้าสมัยใหม่ก็จะมี จีพีเอส นำทาง ประมาณนั้น

    .....การหลงในจิต คืออย่างไรเล่า หลงในลาภ ยศ สรรเสริญ หลงในการเสพสุขทางในกามคุณห้า

    ....การหลงในจิตของนักบวชเล่า หลงในอภินิหารที่ทำได้ด้วยจิตหรือที่เรียกว่าอภิญญา หลงในสิ่งที่เห็นด้วยจิตที่ปรุงแต่ง ที่เรียกว่า จิตสังขาร หรือเรียกว่าวิปัสนุปกิเลส

    ....การหลงในจิต เพราะอาจเข้าใจว่ามีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่เหนือกว่าคนธรรมดาสามัญ เหมือนหญิงงาม หลงในรูปตัวเอง ก็มัวแต่จะเสริมสวย ส่องกระจก ถ่ายรูปจนเต็มหน่วยความจำ

    .....การหลงในจิต เป็นเพราะอะไร อาจเพราะคิดว่า จิตเป็นตนหรือเปล่า ลองมาฟังพระสูตรครับ

    ...."
    [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
    คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
    ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
    จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
    เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
    ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
    กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

    .....การออกจากจิต ก็คืออะไร

    .....ผมจะแบ่งโลกเป็นสองซีก
    .....แล้วโลกคืออะไร โลกก็คือการรับรู้ โลกของมด ก็จะเห็นสิ่งต่างๆแบบมด โลกของวัยรุ่น ก็จะเป็นการรับรู้แบบวัยรุ่น เขาจะมองโลกไม่เหมือนกัน แล้วแต่ระบบการรับรู้ที่ไม่เหมือนกัน

    .....โลกที่ผมจะแบ่งนี้ก็เป็นสองซีก จากการรับรู้
    .....โลกที่หนึ่งคือโลกของจิต โลกที่สองคือโลกของสัมปชัญญะ

    .....ท่านเชื่อหรือไม่ การรับรู้ด้วยจิต กับการรับรู้ด้วยสัมปชัญญะ มันต่างกัน ถ้าเราอยู่ในการรับรู้ด้วยจิต สิ่งที่ท่านพบก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร ที่ปรุ่งแต่งจิต อยู่ตลอดเวลา จิตสังขาร จิตเวทนา จิตสัญญา
    .....โลกของสัมปชัญญะ จะไม่มีการปรุงแต่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นโลกที่ รู้ มีการรับรู้ อย่างเดียว เป็นสิ่งที่สงบสันติ
    ....โลกสัมปชัญญะ จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่สร้างสติขึ้นมาก่อน ตัวสติจะเป็นตัว เหนี่ยวให้เกิด สัมปชัญญะ

    .....การทำอานาปานสติ เป็นการสร้างสติ จากลมหายใจเข้าออก และตามด้วยสัมปชัญญะ จะเห็นได้ว่า มันเป็นการสลับกัน ระหว่าง สติ กับสัมปชัญญะ เป็นการสลับกันระหว่าง โลกสองโลก โลกของจิต กับโลกของสัมปชัญญะ สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง ก็จะเห็นสิ่งต่างๆต่อๆกัน เหมือนเราออกไปอยู่ในโลกสัมปชัญญะ นี้เรียกว่า ออกจากจิต ไปอยู่ในโลกของสัมปชัญญะ

    .....ทุกอย่างย่อมมีการฝึก ฝึกอย่างเข้าใจ สิ่งไดที่เกิดกับจิต ที่เป็นจิตสังขาร เราจะไม่ยินดี เราจะปัดทิ้ง อย่างที่พระอาจารย์โชดกกล่าวที่ท่านเทศว่า เมื่อเกิดวิปัสสนูปกิเลส ก็ต้อง บริกรรมว่า เห็นหนอ สิ่งที่เห็นก็หายไป ผมว่าก็คือไม่ควรอยุ่ในโลกของจิตสังขารนั้นแหละ

    .....สัปชัญญะ ญาณ เป็น กริยาของนิพพานธาตุ นั้นเอง การอยู่ในโลกสัมปชัญญะ ก็คือนิพพานน้อยๆนั้นเอง

    .....ขอยกพระสูตรมา เพื่อยกย่องพระศาสดาด้วยดังนี้

    ......."
    [๖๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนกมูลไถ โดยรวดเร็ว
    ครั้งนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวนำไป ได้รำพันอย่างนี้ว่า เราเป็นคนอับโชค มีบุญน้อย ที่
    เที่ยวไปในถิ่นของผู้อื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ถ้าวันนี้เราไปเที่ยวในถิ่นอันเป็นของบิดาตน ซึ่งควร
    เที่ยวไปไซร้ เหยี่ยวตัวนี้เราอาจต่อสู้ได้.
    เหยี่ยวจึงถามว่า แน่ะนกมูลไถ ก็ถิ่นซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นที่หากินของเจ้าเป็น
    เช่นไร?
    นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ๆ มีก้อนดิน ซึ่งเขาทำการไถไว้.
    ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างกำลังของตน ปล่อยนกมูลไถไป พร้อม
    ด้วยบอกว่า เจ้าจงไปเถิดนกมูลไถ เจ้าจะไปแม้ในที่นั้นก็ไม่พ้นเราได้ นกมูลไถจึงไปยังที่ๆ มี
    ก้อนดินซึ่งเขาทำการไถไว้ ขึ้นสู่ก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวอยู่ว่า แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่าน
    จงมาจับเราเถิด ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างในกำลังของตน จึงห่อปีกทั้ง ๒
    โฉบนกมูลไถโดยรวดเร็ว ครั้งใด นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้โฉบลงมาเร็วจะจับเรา ครั้งนั้น ก็หลบ
    เข้าซอกดินนั้นเอง เหยี่ยวยังอกให้กระแทกดิน (ตาย) ในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนก
    มูลไถเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ย่อมเป็นเช่นนี้แล.
    [๖๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น
    อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร มารจักได้ช่อง มารจักได้
    อารมณ์ ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ กามคุณ ๕ กามคุณ ๕ เป็นไฉน?
    คือ รูปอันพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
    เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ
    อารมณ์อื่น มิใช่โคจรของภิกษุ.
    [๗๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน
    อันเป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้
    ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นโคจร คืออะไร? คือสติ
    ปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
    มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่ง
    เป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.

    .....พระพุทธองค์ทรงเน้นให้อยู่ในอารมณ์ "
    ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นโคจร คืออะไร? คือสติ
    ปัฏฐาน ๔......

    .....นี้คือการออกจากจิต มิได้หลงในจิต
     
  2. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +1,938
    ขอท้วงติงตรงที่ท่านใช้สัมปฌัญญะสับสนหน้าที่กับจิตหรือวิญญาณ สัมปฌัญญะหมายเอารู้สึกตัวทั่วพร้อมเท่านั้น(แม้ในกรณีที่เข้าฌาณระงับกายสังขารอยู่ก็ตาม) ซึ่งต่างจากนัยยะของจิต ที่ทำหน้าที่รับรู้ ทุกกรณีั
     
  3. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,089
    ค่าพลัง:
    +3,394
    จิตคือธาตุรู้ พอไปรู้สวรรค์ นรก มากๆ เข้า ทำให้ปลง เป็นสิ่งที่เหนือความคิดของคนธรรมดาจะรู้ได้ ต้องฝึกฝนๆ
    https://th.m.wikipedia.org/wiki/จิต_(ศาสนาพุทธ)
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ดีดีละ ดูกรพ่อประสิทธิ

    ยกพระสูตรนกมูลไถมา ย่อมมีปัญญาอันยิ่งเอง
    ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก

    อันที่ควรโคจรของ ภิกษุ มุนี หรือพ่อพราหมณ์
    จะเหนว่าเปนเรื่องของ การฝึกฌาณ ผ่านอุบาย
    คำว่า สติปัฏฐานสี่

    ที่นี้ พ่อประสิทธิอย่าไปยึดว่า สัมปชัญญะ คือคำ
    ที่ควรยกเพียงคำเดียว สามารถใช้ ปัญญาบอก
    กล่าว แนะนำ เลือกเฝ้น อุบายในการใช้คำ
    เพื่อสื่อมาที่ สัมปขัญญะ

    จะสื่อกับ ภิกษุให้มีสัมปชัญญะ คุณประสิทธิก้
    พึงใช้คำว่า สติปัฏฐาน

    จะสื่อกับกลุ่มดูจิต ให้เหนสัมปชัญญะ คุณ
    ประสิทธิผู้มีปัญญาแพรวพราว ก้พูดเฉพาะ
    ที่เหตุ คือ สติ คำเดียวพอ

    จะพูดกับสมถะยานิก คุณประสิทธิผู้เลิสใน
    อุบาย ก้พูด ญานทัสนะ(ฝึกอภิญญา)เพื่อ
    ตามระลึกเจริญ แล้วเสื่อม

    การที่จะพูดชูแต่ สัมปชัญญะ สัมปชัญญะ
    ตะพึด ตะพือ เปรียบเหมือนเหยี่ยว ที่สำคัญ
    ใน กงเล็บตน แต่ไม่ฉลาดในโคจร
     
  5. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....ต่างคนต่างคิดไม่ว่ากัน

    ....ผมเคยเสนอว่า เรามีตัวผู้รู้อยู่ สองตัว คือจิต กับ ตัวนิพพานธาตุ โดยที่สติ ก็คือกลุ่มของจิต ส่วน สัมปชัญญะ กับ ญาณ คือกลุ่มของการรับรู้ของนิพพานธาตุ

    ....ถ้าเชื่อว่ามีแค่จิต อย่างเดียว แนวเข้าใจก็เลยต่างกันครับ ขอบคุณที่เสนอข้อคิดเห็น จะเก็บไปพิจารณาเพื่อจะ กลับไปคิดอย่างท่านที่ว่า มีแต่จิตเท่านั้นที่รู้
     
  6. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ...คุณนิวรณ์ คงเป็นบุคคลที่องค์กรอะไรสักอย่างจ้างมาโพส

    ....เมื่อเป็นหน้าที่ก็ต้องทำไปเถอะครับ
     
  7. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    เห็นด้วยกับ อจ.นิวรณ์ ..การหลงในจิต-การออกจากจิต ก็คือ การเห็น เกิด-ดับ ตามวงจรปฏิจจะสมุปบาทนั่นเองครับ คุณ ประสิทธิ์
     
  8. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    ....ปฏิจจะสมุปบาท พระพุทธองค์ นำมาอธิบาย ว่าเพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้ เริ่มที่ เพราะมีอวิชชา จึงมี สังขาร เพราะมีสังขาร จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณจึงมี นามรูป ....ไล่ไปจนวนรอบ

    .....การตรัสรู้เพื่อตัดวงจร ตรงที่ทำให้มีวิชชา เพราะถ้ามีวิชชา อวิชชาก็หมดไป แล้วก็จะดับไปเรื่อยๆ เพราะมีวิชชา จึงไม่มีสังขาร เพราะไม่มีสังขาร จึงไม่มี วิญญาณ......

    .....การที่ท่านว่า เห็นเกิดดับตามวงจรปฏิจจะสมุปบาท ผมยังไม่เคยเห็นตำราพวกนี้เลย สงสัยคงจะยังไปไม่ถึง มันไม่เป็นตรรกะเลย

    .....การตรัสรุ้ก็เพื่อ ให้เกิดวิชชานะผมว่า คำว่าวิชชา คืออะไร ไม่ใช่รุ้ด้วยจิตนะ รุ้ด้วยญาณต่างหาก รู้ว่า จิตมิใช่ตน ขันธ์ห้า (รวมจิตด้วย) ว่าไม่มีตนในนั้น ว่าขันธ์ห้า เป็นไตรลักษณ์ ถ้าบอกว่าการตรัสรุ้คือการรู้ได้ด้วยจิต นั้น เป็นคนอื่นพูด มิใช่ผมพูด

    ....คุณนิวรณ์ เขา เดินกันคนละทางกับผม สังเกตุดูคำพูดเขาสิ เหมือนกับว่ามีคนจ้างมาคุมปากซอย ถ้าใครผ่านมาต้อง เดินตามเขาแหละ ไม่ปล่อยให้ใครออกนอกเส้นทาง คนอะไรจะอ่านเสียทุกโพส ถ้าไม่มีคนจ้างมาอ่าน ไม่ทำมาหากินอะไรเลยหรือ เชื่อผม นิวรณ์เขาถูกคนจ้างมาคุมปากซอย ดังนั้นจะโพสในแนว ชวนทะเลาะทุกที่เลย

    .....ธรรมะคือ ธรรมชาติแห่งความจริง ถึงจะมีคนสอนให้เชื่ออย่างนี้ๆ ก็ไม่สามารถโน้มน้าวความจริงของธรรมชาติให้เปลี่ยนแปลงได้ มันก็จะเป็นของมันอย่างนั้น

    .....อุปมา นาย ก.ไก่ ซื้อหมูมาเลี้ยง ต่อมามีคนเดินผ่านมา ก็มาบอกนาย ก.ไก่ว่า นี้นาย เอาหมามาเลี้ยงทำไม นี้มันหมา นาย ก.ไก่ ก็เถียงว่าไม่ใช่ นี้หมู เมื่อหลายๆคนมาทัก จนกระทั้งนาย ก.ไก่ ชักเขว และสุดท้าย เขาก็เชื่อว่า สัตว์ที่เขาเอามาเลี้ยงคือ หมา ความจริงก็คือความจริง ทั้งๆที่สัตว์ที่นาย ก.ไก่เอามาเลี้ยงคือ หมู แท้ๆ เมื่อ มีคนมา โน้มน้าวให้เชื่อว่า หมา ไม่ว่า เขาจะเชื่ออย่างไร มันก็คือหมู

    ......พระไตรปิฏก อธิบายธรรมชาติ ทางด้านนามธรรม ได้อย่างถูกต้อง เพียงแต่ แต่ละคนใครจะตีความ และทดลองปฏิบัติ แล้วสอดคล้อง ตามที่เห็น นั้นแหละถูกต้อง

    .....พระสารีบุตร กล่าวว่า ถึงแม้ท่านจะอ่อนน้อมถอมตน แต่ก็ไม่ดูถูกตนเอง

    .....สิ่งที่ผมนำเสนอ มิได้เสนอให้ท่านเชื่อผม ผมเสนอให้ท่าน ลองอ่านแล้วลองไปทดสอบปฏิบัติดูว่า เหมือนที่ผมกล่าวหรือไม่
     
  9. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    .:p......การที่ท่านว่า เห็นเกิดดับตามวงจรปฏิจจะสมุปบาท ผมยังไม่เคยเห็นตำราพวกนี้เลย สงสัยคงจะยังไปไม่ถึง มันไม่เป็นตรรกะเลยo_O:rolleyes:

    ตำราอยู่ใน พุทธวจนครับ..เปิดยูทูป หรือ หนังสือ พระไตรฯล แล้วแต่จะหาได้นะครับมาฟังดู แต่ที่ผมสื่อนี่นะครับ คือ ภาคปฏิบัติ..ลองดูนะครับ(คิดตามความเป็นจริงให้ทัน)
    :pภาคกำลังปฏิบัติ ..ผม(เราโตมาฯล)สมมุติ- ยืนอยู่หน้าวัดป่าแห่งหนึ่ง ในใจผมเอาจิตไว้ที่กายเสมอ(รู้ตัวทั่วพร้อม-จิตจะทรงสมาธิในตัวนี่คือสติปัฏฐานสี่ครับ) ทำแม้ขณะเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เดินดูป่าไปเรื่อย-เห็นงูจงอางน่ากลัวเลื้อยอยู่ไกลๆ จิตมันดิ้นออกไปจับภาพงู "อารมณ์" หรือภาพต่างๆตามอายตนะ6-ที่ผมกำลังเคลื่อนไหวอยู่(นี่คือการไปของจิต-เกิด)..ทุกข์เกิดทันทีด้วยความกลัวที่เห็นภาพเข้ามาในจิต(เกิด-สมุห์ทัย-ส่งจิตออกนอก)
    ผมรีบ ดึงจิตกลับมาที่กาย..ภาพงูดับไป-หายไป ความกลัวหายไป จิตกลับฐานที่ตั้งเดิมคือ กาย (ดับ-เพราะนี่คือการกลับมาของจิต)
    :pการไป-การมา ของจิตก็คือ การเกิด-ดับ ของจิตนั่นเองในภาคปฏิบัติที่ผมยกให้ดู พอเห็นภาพไหมครับ แต่ต้องอยู่บนฐานของสมาธิขั้นใดก็ได้ครับ ปฐมฌาน-ฯลฯ (สรุปคุณก็ทรงสติปัฏฐานสี่ไปด้วยโดยปริยายครับในชีวิตประจำวัน)
     

แชร์หน้านี้

Loading...