การหาจิตให้เจอ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 19 พฤศจิกายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    โดย
    พระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี)
    + + + + + + + + + +

    วิปัสสนา คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง
    การเจริญสติ จึงต้องระลึกให้ตรงกับสภาวธรรมชาติ
    (จิต - เจตสิก - รูป = ปรมัตถธรรม) ที่เป็นจริง ให้บ่อยๆ เนืองๆ

    ถ้าไม่ระลึกตรงต่อปรมัตถ์ ก็จะไปสู่บัญญัติ ไปรู้ที่บัญญัติอารมณ์
    อันเป็นสมมุติ เป็นของปลอม ไม่มีสภาวะ ไม่มีสภาพความเป็นจริงโดยแท้
    ไม่มีเกิดดับ ไม่เป็นไตรลักษณ์

    เห็นของจริงตามความเป็นจริง ทิ้งสมมุติ เพิกบัญญัติ
    อยู่กับปรมัตถ์ล้วนๆ ให้มากๆ รู้จักปรับ รู้จักปล่อย รู้จักวาง
    ไม่ยึด ไม่ติด ไม่เอาอะไรทั้งหมด

    ต้องเข้าใจว่า ปรมัตถ์ ไม่ใช่รูปร่าง ท่าทาง ทรวดทรง สัณฐาน
    ความหมาย ชื่อ ภาษา - ชื่อหรือภาษาที่จิตคิด นึกถึง จดจำ
    เป็นภาษา-คำ-ประโยค เกิดเป็นอารมณ์ของจิต
    อันเป็นการอยู่กับ 'บัญญัติอารมณ์'

    วิตก-ตรึก / วิจาร-นึก / สัญญา-จำ เคล้าไปในอารมณ์ ปรุงแต่งจิต
    ให้แล่นไปสู่อารมณ์ที่เป็นสมมุติ ปรุงๆ จิตก็มีอารมณ์เป็นเรื่องเป็นราว
    เป็นสมมุติขึ้นมา (แต่ตัวความตรึก นึก ระลึกรู้ เองนั้น
    เป็นปรมัตถ์)

    ถ้ามาระลึกรู้ที่ปรมัตถ์ เรื่องก็จะขาดลง ภาษา หลุดจากเรื่อง ชื่อ
    ความหมาย เรื่องขาดลง คำพูดหาย ภาษา ชื่อภาษา รูปร่าง มโนภาพ
    หายไป ก็คือ เรื่องขาดลง เหมือนฉายหนัง เอาแสงผ่านฟิล์ม
    ภาพบนจอเปรียบเสมือนอารมณ์ เป็น สมมุติบัญญัติ
    ฟิล์มและแสงเป็นปรมัตถ์ เมื่อฟิล์มขาด ภาพบนจอก็หายไป

    ถ้าสติมารู้ความคิด ก็คือ กลับมาสู่ปัจจุบัน
    เรื่องอดีตและอนาคตก็จะหายไป
    การที่สติอยู่กับอารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
    จิตก็จะมีความสบาย เบา ผ่องใส เพราะกิเลสถูกขัดเกลาออกไป
    จิตใจจะปกติขึ้น แต่ถ้าเผลอไปสู่เรื่องอดีต อนาคต
    ก็จะเกิดความยินดียินร้าย โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน ทุกข์ ฯลฯ
    เพราะว่าขาด สติ ดูแลรักษา จิต

    ดังนี้ ปัญญาก็จะเกิด

    ทางกายก็เช่นกัน สติจะรู้อยู่แค่ที่กาย ไม่ขยายไปสู่รูปร่าง ทรวดทรง
    สัณฐาน มโนภาพ ของกาย - รู้แค่ความรู้สึก ความไหว ความสั่นสะเทือน
    ความสบาย ความไม่สบาย (ถ้านึกท่าทาง ก็จะไปนึกตีความหมาย
    ขยายออกเป็นสมมุติ) เพราะฉะนั้น รู้กาย ก็คือ รู้แค่ความรู้สึกเท่านั้น

    เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไหว ตึง กระเพื่อม ล้วนมากระทบ แล้วก็ดับไป
    เวทนาก็เกิดดับ จิต (ตัวรู้) ก็เกิดดับ

    จะต้องระลึกรู้สัมผัสสัมพันธ์ทั้งทางกายและใจ รู้ความไหวทางกาย
    รู้ความไหวทางจิต รู้สัมพันธ์กันไปทั้งส่วนที่เป็นรูปและนาม
    เข้าสู่ความเป็นปกติ ไร้จากการบังคับ
    แม้แต่จิตส่งออกนอกก็ไม่ต้องดึงกลับ (เพราะถ้าดึงกลับก็คือยังไม่ปกติ
    ยังบังคับบัญชาอยู่) สติรู้ความคิด เดี๋ยวก็กลับมาเอง

    สติเองก็ดับ ระลึกรู้แล้วก็จบ ดับ เพราะฉะนั้น สติต้องเกิดบ่อยๆ เนืองๆ
    เมื่อฝึกมากๆ ขึ้น จะไม่มีการจัดแจง ไม่มีกฎระเบียบว่าจะต้อง
    เอาอะไรไปตรงไหนก่อน แล้วแต่อะไรจะเกิดก็รู้ตรงนั้น เมื่อนั้น
    พร้อมที่จะรู้เสมอ

    จิต มีลักษณะอย่างไร
    จิต คือ สภาพรู้ รู้อารมณ์นั้น อารมณ์นี้ สภาพดู
    สภาพดู นี้เอง ที่จะต้องเข้าไปรู้ตัวของตัวเอง
    จิตที่ปรุงแต่ง คิดนึก ก็รู้ (จิตที่มีเจตสิกปรุงแต่ง)
    อีกระดับที่รู้ได้ยาก คือ จิตของผุ้ที่ปฏิบัติ มีสติ สัมปชัญญะ
    สงบสำรวม นิ่งอยู่ ไม่คิดอะไร แม้จิตเช่นนี้ ไม่ปรุงแต่ง
    แต่ก็เป็นกระแสของสภาพรู้อยู่ เป็นสภาพรู้อยู่
    ต้องเข้าไประลึกรู้จักจิตในสภาพนี้ ขณะที่ทรงตัวอยู่ นิ่ง หยุด
    ไม่คิดอะไร เฉยๆ นิ่งๆ แต่ก็เป็นสภาพที่เกิดดับ
    สภาพรู้เกิดดับอยู่เรื่อย ก็จะเห็นตัวเองดับ

    เมื่อจิตเข้าไปดูจิต เห็นจิตดับไปอย่างรวดเร็ว และก็ดับไปพร้อมๆ กัน
    จิตเช่นนี้ต้องทวนกระแส หัดดูใกล้ๆ กระชั้น กระชับเข้ามา
    อย่าขยายออกไปข้างนอก

    จิตจะรู้จิตได้ คือ ต้องทำให้มันหยุดอยู่ ไม่แล่นไป ไม่ค้นหา
    ไม่ขวนขวายใดๆ อยู่กับที่ นิ่งๆ เฉยๆ จิตจะทวนเข้ามารู้ตัวเอง
    ดูสภาพรู้ (ตัวดู = ตัวรู้ = สภาพรู้ = ผู้รู้ = รู้อารมณ์อยู่)
    ถึงจิตจะอยู่นิ่ง ก็ยังรู้อยู่ ยิ่งจะไม่ดูก็จะยิ่งรู้
    ยิ่งจะดูก็จะไม่เห็น ยิ่งทำ ยิ่งค้นหา ก็ยิ่งไม่เห็น
    แต่ถ้าหยุดดู ก็จะรู้ขึ้น

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติมากๆ ขึ้น คือ หยุดดู หยุดค้นหา
    จิตจะรู้ตัวเอง เห็นอาการในตัวเอง เห็นความจริงของตัวเอง
    ดูผู้รู้ ดูความรู้สึก

    ถ้าดูจิตไม่เป็น การปฏิบัติจะไม่ก้าวไปไหน
    อย่างดีก็มาติดที่ความว่าง กายนิ่ง เพราะเมื่อมีสมาธิ กายจะไม่ค่อยรู้สึก
    ก็จะว่าง ไม่มีอะไรให้ดู ก็จะว่าง เป็นสมถะ
    แต่ถ้าดูจิตเป็น ก็จะเห็นสภาพเกิดดับอยู่เรื่อยๆ
    วิปัสสนาจะไม่ว่างเปล่า มีรูปนามป้อนให้เห็นเกิดดับอยู่ตลอด
    สติต้องอยู่กับรูปนามตลอดไป
    หรือไม่เช่นนั้นก็จะตกไปสู่บัญญัติ

    + + + + + + + + + +

    พอดีกัลยาณมิตรคือคุณหนูนา :)
    ได้เคยส่งเทป 'การหาจิตให้เจอ' ของพระอาจารย์เกษมธรรมทัต
    วัดมเหยงคณ์ อยุธยา มาให้ฟังเมื่อปีที่แล้ว และสนใจเนื้อหาเรื่องนี้มาก
    ก็เลยถอดเทปเอาไว้ แต่ยังไม่ได้พิมพ์เป็นไฟล์

    ไปเห็นกระทู้หนึ่งในลานธรรมสนทนาเรื่องนี้
    ก็เลยได้โอกาสพิมพ์เป็นไฟล์และนำไปลงกระทู้นั้นตามที่เล่าไว้ข้างบน
    แต่ก็จำไม่ได้เหมือนกันว่าที่ถอดเทปเอาไว้นี้ เป็นการถอดคำต่อคำ
    ไว้ทั้งหมด หรือจดไว้เพียงบางส่วนที่สนใจ อย่างไรก็ตาม
    คำที่ถอดมาก็ล้วนเป็นคำและสำนวนของพระอาจารย์
    จะมีก็แต่คำในวงเล็บ ที่มักจะเขียนย่อๆ เอาไว้ ดังนั้นคำเชื่อม
    ต่างๆ อาจจะไม่ตรงกับคำที่พระอาจารย์แสดงไว้บ้าง
    หรืออาจใส่คำเพื่อขยายความให้อ่านเข้าใจ
    ได้ง่ายๆ เองบ้าง แต่ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะ
    รักษาเนื้อหาทั้งหมดของธรรม
    ที่พระอาจารย์แสดงไว้แล้วนี้)

    ดังนั้น หากมีเนื้อหาตกหล่นหรือผิดพลาดประการใด
    ก็ขอน้อมกราบขออภัย ขออโหสิกรรม ต่อพระธรรม
    ต่อพระอาจารย์ และ ต่อเพื่อนๆ ผู้อ่านทุกคน ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

    เจริญในธรรม
    http://board.dserver.org/e/easydharma/00000167.html
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    ดูจิตอย่างไร
    การดูจิตต้องอาศัย ขณิกสมาธิ ที่กำหนดพิจารณาจิตเหล่านี้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่า จิตที่กำลังเกิดอยู่นั้นเป็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน หรือเป็นจิตชนิดใด เมื่อรู้ประจักษ์ชัดเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดความรู้ต่อไปว่า ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลงนั้น เป็นอาการของจิต หาใช่ว่าเราโลภ เราโกรธ เราหลงไม่ เพราะจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา และ เราก็ไม่ใช่จิต จะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิด ให้เกิดแต่จิตอย่างนี้เถอะก็ไม่ได้เลย จิต ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่งจิตมีสภาพอย่าง ใด จิตก็มีอาการเป็นไปอย่างนั้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยจิตก็ดับไป

    จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปร่างตัวตน เห็นด้วยนัยน์ตาก็ไม่ได้ เป็น ธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป แต่เป็นธรรมชาติที่เรียกว่า นาม คือ นามจิต

    ความรู้ในจิตดังกล่าวนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอันเป็น อารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีความสามารถที่จะละสักกายทิฏฐิ คือ ความยึดถือ ว่าเป็นจิตเราจิตเขานั้นเสียได้


    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเนือง ๆ ซึ่ง จิต คือ วิญญาณ ขันธ์ อันมี ๑๖ บรรพ ได้แก่
    บรรพที่ ๑ สราค คือจิตที่ มีราคะ
    บรรพที่ ๒ วีตราค คือจิตที่ ไม่มีราคะ
    บรรพที่ ๓ สโทส คือจิตที่ มีโทสะ
    บรรพที่ ๔ วีตโทส คือจิตที่ ไม่มีโทสะ
    บรรพที่ ๕ สโมห คือจิตที่ มีโมหะ
    บรรพที่ ๖ วีตโมห คือจิตที่ ไม่มีโมหะ
    บรรพที่ ๗ สงฺขิตฺต คือจิตที่ มีถีนมิทธะ
    บรรพที่ ๘ วิกฺขิตฺต คือจิตที ฟุ้งซ่าน
    บรรพที่ ๙ มหคฺคต คือจิตที่ เป็นรูปาวจร อรูปาวจร
    บรรพที่ ๑๐ อมหคฺคต คือจิตที่ ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร
    (หมายถึง กามาวจร)
    บรรพที่ ๑๑ สอุตฺตร คือจิตที่ เป็นกามาวจร
    บรรพที่ ๑๒ อนุตฺตร คือจิตที่ ไม่ใช่โลกุตตร
    (หมายถึง รูปาวจร และ อรูปาวจร)
    บรรพที่ ๑๓ สมาหิต คือจิตที่ เป็นสมาธิ
    บรรพที่ ๑๔ อสมาหิต คือจิตที่ ไม่เป็นสมาธิ
    บรรพที่ ๑๕ วิมุตฺติ คือจิตที่ ประหารกิเลส พ้นกิเลส
    บรรพที่ ๑๖ อวิมุตฺติ คือจิตที่ ไม่ได้ประหารกิเลส ไม่พ้นกิเลส



    อ่านโดยละเอียดจากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่๗
    http://www.abhidhamonline.org/aphi/p7/029.htm
     
  3. weirchai

    weirchai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +1,410
    โมทนา สาธุ ครับ
    โลกมันหมุนตลอดเวลา ถ้าตัวเราหมุนตามโลกด้วยเราก้อจะได้แค่ตามโลกไม่รู้ว่าโลกเป็นไง มีลักษณะเช่นไร แต่ยามใดเราหยุด มองโลกขึ้นมา เราก้อจักรู้ว่าโลกนั้นมีลักษณะ กลม แบน สูง ต่ำ ...เปรียบดังจิตคนเรานั้นเองครับ อย่าไปตามมัน จงหยุดดูมัน แล้วเราจะรู้ว่าจิตเป็นเช่นรัย มีลักษณะแบบไหน
     
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ลองมาหลายวิธี เริ่มรู้สึกลาง ๆ ด้วยวิธีของพระอาจารย์เยื้อน กราบเท้าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทุกองค์ (ใกล้จะได้พูดว่าจ๊ะเอ๋อยู่นี่เองหามาตั้งนาน):)
     
  5. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
  6. D.(Username)

    D.(Username) ธรรมมะ จะกาโล มะโหติธรรม ผู้เจริญทำยํย้อมมีทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +27
    จิตก็เหมือนปอร่ะสิทธินี้ล่ะคับมันมีอยู่หลายแบบ
    มันเป็นเชื้อโรคอย่างหนึ่ง คือ... จิตที่เรียกว่าจิตนี้
    คือจิตชนิดใดคับจิตมันมีสีแร้วแต่จะสีอะไร
    มองเห็นหรือไม่อยู่ที่การพวานาหรือหลับตาและ
    เห็นเท่านั้นเองอย่างที่ผมเห็นมันน่ะ
     
  7. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    เหมือนเอากระทู้เก่าเพื่อมาเล่นใหม่..แต่ไม่ดีกว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...