การอุทิศบุญได้บุญสองต่อ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย lc_kukko, 18 เมษายน 2013.

  1. lc_kukko

    lc_kukko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +982
    การอุทิศบุญ หมายถึง การแบ่งปันบุญอันเกิดแต่การทำความดี มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไหว้พระ สวดมนต์ หรือจากการทำความดีอื่นๆ ให้กับเทพเทวดา เจ้ากรรมนายเวร บิดามารดา และญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงผู้มีพระคุณ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย

    เมื่อท่านเหล่านั้นได้รับส่วนบุญที่เราอุทิศให้ ก็จะทำให้พ้นจากความทุกข์ มีความสุขเพิ่มขึ้น สัตว์หรือดวงวิญญาณใดที่อาฆาตพยาบาทต่อเรา ก็จะอนุโมทนาในส่วนบุญของเรา และอโหสิกรรมแก่เรา เป็นการตัดห่วงโซ่เวรกรรมระหว่างเจ้ากรรมนายเวรกับตัวเรา


    [​IMG]

    อนึ่ง การอุทิศบุญนั้นจัดเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เรียกว่า ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการให้ส่วนบุญ ผู้ที่ทำความดีแล้วอุทิศบุญ จึงชื่อว่าได้บุญ ๒ ต่อ คือ ได้บุญจากการทำดีอย่างหนึ่ง และได้บุญจากการอุทิศบุญอย่างหนึ่ง


    การอุทิศบุญนั้นแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. การอุทิศบุญด้วยการกรวดน้ำ
    ๒. การอุทิศบุญด้วยใจ


    ๑. การอุทิศบุญด้วยการกรวดน้ำ หมายถึง การอุทิศบุญด้วยการเทน้ำลงในภาชนะ ซึ่งอาจแยกเป็น ๒ ลักษณะ คือ

    - กรวดน้ำในพิธีที่มีพระสงฆ์อยู่ด้วย เช่น ทำบุญถวายสังฆทาน ทำบุญบ้าน การกรวดน้ำอุทิศบุญแบบนี้ ให้กรวดน้ำตอนพระสวดให้พรขณะขึ้นบท ยถา วาริวหา... เมื่อพระขึ้นบท สัพพี... ให้เทน้ำให้หมด จากนั้นนำน้ำไปรดต้นไม้ ขณะที่เทให้ตั้งจิตกล่าวคำอุทิศบุญซึ่งมีหลายแบบด้วยกัน ให้เลือกตามสะดวก
    - กรวดน้ำแบบไม่มีพระสงฆ์ เป็นการกรวดน้ำหลังจากที่ไหว้พระสวดมนต์ หรือทำบุญอย่างอื่นเสร็จ วิธีการให้เตรียมน้ำใส่ภาชนะ เสร็จแล้วให้กรวดใส่ภาชนะที่เตรียมไว้รองน้ำ พร้อมกับกล่าวคำอุทิศตามแต่สะดวก

    ๒. การอุทิศบุญด้วยใจ หมายถึง การอุทิศบุญด้วยการน้อมส่งบุญไปให้โดยไม่กรวดน้ำ ใช้ในกรณีที่ไม่มีน้ำกรวด นิยมเรียกกันว่า กรวดน้ำแห้ง ซึ่งการกรวดน้ำแห้งก็นิยมกล่าวคำอุทิศบุญเหมือนกับการกรวดน้ำทั่วไป เพียงแต่การกรวดน้ำด้วยใจจะไม่มีน้ำ ส่วนคำอุทิศบุญยังคงต้องกล่าวอยู่ ซึ่งมีหลายแบบจะเลือกแบบไหนก็ได้ เพราะคำอุทิศบุญนี้ไม่มีรูปแบบกำหนดตายตัว


     
  2. bteezi

    bteezi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +43
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    [89] บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)

    1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
    2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
    3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
    4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)
    5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)
    6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
    7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
    8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
    9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
    10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)

    ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=89

    เวลาที่ทำสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็คิดในใจว่าเราจะให้บุญนี้กับใคร
    ไม่ต้องไปรอเทน้ำหรอกครับ
     
  3. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257

    รู้มั้ยว่าคนที่เริ่มสอนให้แนวคิดแบบนี้คือใคร คนที่เอามาบอกคุณเขาก็บอกกันมาอีกเป็นทอดๆนั่นแหละ แม้แต่ผู้เขียนหนังสือบางคนก็เอาความรู้มาจากพระอาจารย์ท่านนี้ถ้าไม่รู้ว่าเขาคือใครผมจะบอกให้ละกัน ก็คือคนที่พึ่งจะมีข่าวเรื่องตุ๋ยลูกศิษย์ จนสึกตัวเองออกไปนุ่งขาวห่มขาวเมื่อไม่นานมานี้แหละ

    แม้แต่พระพุทธเจ้าตอนที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์กำลังสั่งสมบุญบารมีท่านยังต้องกรวดน้ำเลย แล้วคุณจะมาปฏิเสธการกรวดน้ำได้ยังไง
     

แชร์หน้านี้

Loading...