การเดินจงกรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ณฉัตร, 13 พฤษภาคม 2015.

  1. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ครูบาอาจารย์ผู้เป็นภิกษุ มักสอนศิษย์ที่เป็นทั้งพระภิกษุแลสามเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาให้นั่งสมาธิสลับกับเดินจงกรมเพื่อคลายอิริยาบถไม่ให้ความเพียรตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป โดยคนส่วนใหญ่นิยมนั่งสมาธิเสียมากกว่า การเดินจงกรมมักหาความสำเร็จยากในความรู้สึกของผู้ปฏิบัติ อาจเป็นเพราะจิตยกเข้าสู่สมาธิไม่ค่อยได้ เพราะตายังลืมอยู่หูยังได้ยินแถมต้องทรงตัว บางครั้งเคยได้ยินได้ฟังคนบ่นว่าเดินแล้วจะได้อะไร เพราะเค้าเหล่านั้นมุ่งหวังจะเอาความสงบเป็นความสำเร็จ คิดว่าความสุขจากความสงบไม่รับรู้นี่ดี จึงอยากนั่งหลับตามากกว่ามาก้าว ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ มันสงบลำบากและจะวิปัสสนายังไงกัน เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจัง การเดินจงกรมนั้นให้เดินช้าๆ ค่อยๆ ใช้สติกำกับคำบริกรรม สังเกตุความล่วงไปเคลื่อนไปแห่งกริยาก้าวย่าง ผู้ปฏิบัติคิดวิปัสสนึกว่าการล่วงไป คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ก็เป็นแต่วิปัสสนึกเอา ก็ต้องทำอย่างนั้น เหมือนจับตามการล่วงไปเป็นไปของลมหายใจดุจเดียวกัน เมื่อสะสมชั่วโมงบินมากขึ้น บางทีคำภาวนาหายคำบริกรรมหายก็ตกใจต้องถอยหลังกลับมาจับคำบริกรรมเพราะกลัวว่าคำบริกรรมหายก็เหมือนสติขาดหายไป กลับจะเป็นการเข้าใจผิด จนวันหนึ่งเมื่อถึงจุดที่จิตและสติแน่วแน่แล้ว ประคองบริกรรมแล้วคำบริกรรม ขวา ย่าง หนอ ซ้าย ย่าง หนอ มันหายไปก็ไม่ตกใจอย่างเคย ค่อยๆ ประคองอาการหนึ่งเดียวของจิตที่รับรู้อาการก้าวย่างให้ชัดเจนเป็นพอ จะก้าวย่างเร็วหรือช้าจนเหมือนภาพสโลก็ปล่อยไปตามกำลังของจิตที่กำลังพิจารณาตามอาการไหวก้าวย่างอยู่นั้น ทันใดนั้น จิตกลับรู้ว่ากายสั่นไหวอย่างยิ่ง แต่มิได้รับรู้ว่ากายสั่นไหวอย่างเดียวกลับรับรู้การสั่นไหวของโลก ประดุจว่ากายสั่นไหวอยู่บนโลกที่สั่นไหวที่ไม่มั่นคงเหมือนกับว่ากายนี้ตั้งอยู่บนเรือใหญ่อันฝ่าคลื่นทะเล ดูโคลงเคลงไม่มั่นคง กายนี้ประดุจจะร่วงหล่นแลจะแตกดับได้ตลอดเวลา เพราะการสั่นไหวของกายนี้รุนแรงเหมือนยืนอยู่บนแผ่นดินไหว (ทั้งที่ไม่เคยพบเหตุการแผ่นดินไหวในชีวิตมาก่อน) ลำดับนั้น จิตรับรู้เหมือนว่ากายสังขารนี้เหมือนจะแตกดับตลอดเวลา และเข้าใจว่าการมีชีวิตอยู่นั่นมีภัยอย่างยิ่ง เข้าใจถึงความน่ากลัวของชีวิตคนเรา น่าเสียดายที่กำลังจิตไม่พอที่จะประคองอารมณ์กรรมฐานนี้ไว้ได้ตลอด จิตค่อยๆ กลับมารับรู้แบบปกติ จึงได้ตะหนักว่าการเดินจงกรมนี้ หากตั้งใจทำจริงๆ จะไม่ใช่สักแต่ว่าเดินลอยไปลอยมา แต่เป็นกรรมฐานวิปัสสนาที่ควรต้องปฏิบัติโดยความเคารพ เพราะแม้พระอรหันต์หลายท่านที่เดินจงกรมก็บรรลุมรรคผลจากการเดินจงกรมก็มี
     
  2. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ขอท่านอื่นช่วยสรรเสริญอานิสงค์การเดินจงกรมได้เลยครับ
     
  3. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    อนุโมทนาสาธุครับ การเดิน. นั่ง ยืน นอน หากมีสมาธิ ล้วนดีทั้งหมดครับ ไม่ว่าหลับตา ลืมตา. ขอให้จิตนิ่งเป็นอันถูกต้องตรงธรรมครับ แล้วแต่จริตของแต่ละบุคคล สาธุ
     
  4. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    เวลาเราทำงานใดๆก็ตาม บางครั้งก็เกิดสมาธิขึ้นทำงานด้วยความจดจ่อไม่สนความเป็นไปรอบตัว พอรู้สึกตัวอีกทีก็ทราบว่าตนเองเกิดสมาธิขึ้น หลายๆคนเคยเป็นแบบนี้ นั่นก็เพราะขณะทำงานคุณคิดถึงแต่งานตรงหน้าไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่นๆเลย ความฟุ้งซ่านจึงไม่เกิด สมาธิก็เลยเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อผ่านไปสักพักจึงรู้ตัวและความคิดภายนอกก็เข้ามาแทรก สมาธิหายไป เป็นธรรมดาที่สมาธิจะหายไปเพราะเราไม่ได้ฝึกฝนอย่างจริงจัง การมีสมาธิขณะทำงานจะรู้สึกเป็นสุขลึกๆ ไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่เมื่อยล้า สมาธิคือยาโด๊ปชั้นดี

    ที่อธิบายมานี้ก็เพราะอยากจะบอกว่าการเดินจงกรมก็หลักการเดียวกับการทำงานนั่นแหละครับ แต่เป็นการเดินซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมที่เป็นกิจลักษณะสามารถหวังผลในระดับสูงได้

    เทคนิคการเดินจงกรมแต่ละแบบ
    1.บางคนเดินช้า สังเกตุการย่างเท้าโดยละเอียด เวลาเอาเท้าขึ้นส่วนใดของเท้ายกก่อน เวลาเอาเท้าลงส่วนใดของเท้าลงก่อน ขณะเท้าลงพื้นจนเต็มฝ่าเท้า ขณะเท้าลอยเท้าอยู่หลังหรืออยู่หน้า ด้วยเพราะฝึกสติและจิตให้มีความละเอียด แบบนี้จะไม่มีการท่องคำภาวนาใดๆเพราะใช้สติกำกับอยูที่เท้าและการเดิน

    2.บางคนจะใช้คำภาวนาด้วย ซ้าย-ขวา ย่างหนอ ซึ่งจะคอยสังเกตุที่ขาข้างไหนก้าวเดินเป็นหลัก จะเดินเร็วกว่าแบบที่ 1 หน่อยนึง เมื่อจิตเริ่มมีสมาธิแล้วสามารถพิจารณาธรรมแทนการก้าวเดิน และเมื่อสมาธิหลุดก็กลับมาคุมสติที่ขาใหม่

    3.การเดินจงกรมจะต้องหาสถานที่ปลีกวิเวก สมถะ ไม่มีผู้คนหรืออะไรมาทำให้ไขว้เขว เพราะเราลืมตาเดิน เวลาเดินให้ก้มมองพื้นไม่ใกล้หรือไกลเกินไป เอาที่ระยะโฟกัสกำลังดี แล้วเวลาเดินควรเดินแบบตามเข็มนาฬิกาหรือเวียนขวา เพราะการเดินเวียนขวาถือเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย ดังเช่นในพุทธกาลผู้ที่แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าก็จะเดินเวียนขวา และเวลาเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาเราก็จะเดินเวียนขวาตามเข็มนาฬิกาเสมอ

    4.การเดินเวียนซ้ายจะทำในงานอวมงคล เช่น งานศพ

    5.ถ้าสังเกตุให้ดีๆ การเดินจงกรมจะคล้ายๆการฝึกกสิณเลยนะครับ ถ้าคนที่หัวไวจะเข้าใจในหลักการและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติได้
     
  5. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ขอบคุณครับ
     
  6. DEEJAI243

    DEEJAI243 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2015
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,449
    ตอนเริ่มฝึกหัดเดินจงกรมในครั้งแรก
    หน้ามืด เหงื่อแตก เหมือนลมจะจับค่ะ
    ทั้งๆที่ก็ไม่ได้รู้สึกเหนื่อยอะไร
    แต่ทำไมถึงมีอาการแบบนี้ไม่ทราบ

    พอตอนหลังเริ่มฝึกบ่อยขึ้น
    อาการแบบนี้หายไปแล้วค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2015
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อานิสงส์การเดินจงกรม ๕ อย่าง คือ

    ๑. เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
    ๒. เป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร
    ๓. เป็นผู้มีอาพาธน้อย
    ๔. อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้ว ย่อยง่าย
    ๕. สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรม ตั้งอยู่ได้นาน

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๒๖
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2015
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาที่ที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่าแม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเราจะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ แบบนี้มันเกิดปัญญาใช่ไหม แต่มันแบบไม่ถึงที่สุด ปัญญาแค่เสี่ยว ต่อมาก็เลยหลงจนเพี้ยน

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "จงกรม" (สันสกฤต) แปลว่า เดินกลับไปกลับมา คือ เดินไปสุดทางแล้วหยุดยืน (กำหนดรู้อาการยืน) แล้วหมุนตัวกลับ (กำหนดรู้อาการหมุนตัว) แล้วเดินต่อไปจนสุดทาง ฯลฯ

    รูปบาลีเป็น "จงกม" (รูปกริยาเป็น จงกมติ)
     
  10. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    ยิ่งเดินจงกรมมากเท่าไร เราจะนั่งสมาธิได้นานมากขึ้น...
     
  11. DEEJAI243

    DEEJAI243 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2015
    โพสต์:
    427
    ค่าพลัง:
    +1,449
    ทำให้เรามีการฝึกสติสัมปะชัญญะได้ดีขึ้นด้วยค่ะ
    ช่วยในการฝึกสติปัฏฐานสี่ได้ดีค่ะ
     
  12. jikkiijang

    jikkiijang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    215
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +335
    ไม่เคยอ่านอาการที่ได้จากการเดินจงกรมเลยครับ สาธุ สาธุ
     
  13. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ขอบคุณทุกคนครับ ยามที่เดินจงกรม พอถึงจุดจิตสติสมาธิจะมีกำลัง คล้ายจะเกิดการรับรู้ที่อาจเข้าใจไปว่าเป็นการเห็นซ้อนกัน คือ ซึ่งน่าจะเรียกว่าจิตมันรู้กว้างขึ้นตามกำลัง แต่ผู้เดินจงกรมก็ยังประคองกายตามปกติ ตาเนื้อกายที่เห็นกายเดินเอง คือเห็นไปข้างหน้ากายเรา แต่จิตสัมผัสรู้ได้กว้างและสติแจ่มชัดจนจับทั้งร่างกายและอาณาบริเวณโดยรอบ แถมจิตยังให้เรารับรู้แบบเหมือนเห็นด้วยอีกตาหนึ่งจากอีกมุมหนึ่งหรือจุดใดๆ บางที่ผมยังจับไม่ทันว่ามุมมองที่จิตให้มาจากตรงไหนบ้างเพราะรู้ว่าแต่ละครั้งไม่ใคร่จะเหมือนกันครับ สำหรับคนอย่างเราๆ ก็จะเรียกว่า มองเห็น เหมือนจะเรียกว่าตาทิพย์บ้างตาใจบ้าง แต่พระภิกษุหลายท่านจะบอกกับเรากับลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติว่า เป็นนิมิตรอย่างหนึ่ง เพื่อให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของจิตและเรียกนิมิตรเพราะจะเข้าใจได้ง่ายว่ามันเป็นสิ่งชั่วคราว เหมือนภาพฝัน จะได้ไม่ยึดติดหรือตกใจไปกับมันครับ แม้วิปัสสนาญาณเอง อย่างเช่น บางท่านเห็นร่างกายเป็นดุจดวงไฟดับและติดตลอดเวลา ก็เคยได้ยินว่าบางพระภิกษุบางท่าน ก็จะเตือนว่าจัดเป็นนิมิตรแห่งกรรมฐาน ท่านหมายไม่ให้คิดยึดติด ให้ยึดตามคำพุทธเจ้า สักแต่ว่าได้เห็น คือมุ่งหมายให้เห็นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามธรรมดา สำหรับที่เห็นกายเดินของมันเอง เป็นเพราะจิตเจตนาของผู้เดินได้กระทำสิ่งที่ซ้ำๆ กัน จนจิตไม่ยึดการกระทำ แต่จิตไปจดจ่อที่การพิจารณาธรรม แต่การทำงานด้านอื่นของจิตและกายก็ดำเนินไปตามเจตนาเดิมที่กำหนดไว้ก่อน แถมจิตเจตนาที่คำบริกรรมหรือจิตเจตนาที่กำหนดก้าวเดิน ก็อย่างหนึ่งด้วยครับ จึงเห็นว่าได้ชัดว่า กลไกของรูปธาตุนามธาตุเป็นไปตามเหตุปัจจัย จิตในขณะทำหน้าที่ตัวรู้ก็มิใช่ผู้ทำอย่างที่คิด คล้ายเหมือนเรานั่งสมาธิแบบหลับตาสนิทตอนแรกเราฟุ้งซ่านมากก็รำคาญตนเองว่าเหตุใดฟุ้งซานมาก พอพยายามกำหนดที่คำบริกรรมจนจิตสติสมาธิมีกำลังและละเอียด กลายเป็นจิตตัวรู้ได้รู้ว่า ตัวคิดอ่านก็อย่างหนึ่ง ตัวกำหนดหมายรู้ก็อย่าง เจตนาก็อย่างอย่าง ตัวใคร่ครวญก็อย่าง เหมือนจะรับรู้ได้ว่า ที่เราโมโหตัวเองว่าฟุ้งซ่านนั้น เพราะไปคิดว่าความคิดฟุ้งซ่านนี้เราทำ จิตไม่แยกรูปนามออกจากกันจิตไม่แยกนามออกจากนาม (หมายถึงจิตขณะนั้นไปยึดทุกอย่างว่าเป็นตัวเราของเราไปหมด ไม่ได้รับรู้สภาพที่แท้จริงที่เป็นเพียงธาตุมาประกอบกัน เป็นปัจจัยต่อกัน) ทั้งนี้ เพราะเมื่อจิตไม่สงบ สติก็ไม่เกิดหรืออ่อนกำลัง สมาธิก็ไม่เกิด ปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงก็ไม่เกิดครับ เมื่อเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิเป็นอุบายให้จิตสงบ ธรรมคือ สติ สมาธิ ก็เกิดมาประกอบกับรูปธาตุนามธาตุนี้ด้วย จึงเห็นได้ชัดเจนครับ ขอขอบคุณกับทุกความเห็นและขอยินดีกับท่านที่เล่าประสบการณ์การปฏิบัติให้ฟังครับ ที่ผมเขียนนี้ผมอาจจะสับสนระหว่างจิตที่รับรู้ จิตที่เจตนา กับสติสัมปชัญญะนะครับ คือผมเองก็ยังไม่ละเอียดขนาดจะอธิบายได้อย่างดี ถ้าผิดพลาดยังไง เสริมหรือตัดทอน หรือติติงได้นะครับ ผมเองก็เป็นผู้ยังต้องศึกษาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2015
  14. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    สิ่งที่ได้มันมาพร้อมกันจึงยังแยกแยะไม่ออกว่าอะไรก่อนหลังแต่ก็ok ถือว่าได้ถึงจะยัง สื่อไม่ได้ตามที่อยากสื่อแต่เป็นปกติของธรรม รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ทุกคนทุกอาการย่อมไม่เหมือนกันตามแต่จริตของแต่ละคน แต่ว่าที่เหมือนกันคือต้องปล่อยให้เป็นไป เกิด-ดับ อย่ายึดมั่นถือมั่นแล้วจะเดินทางต่อไป ถ้ายึดเมื่อไรเมื่อนั้นคือหยุดไปต่อไม่ได้ ก็แค่นั้นเอง. สาธุ
     
  15. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ผมสงสัยตรงที่เน้นตัวแดง

    ความเข้าใจของผมคิดว่า เดินจงกลมเพื่อฝึก สติ สัมปชัญญะ ไม่ใช่หรอครับ
     
  16. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    - ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ ไม่ใช่ว่า แสดงความคิดเห็นที่ใหน วงแตกกระจาย ไม่ว่ากันนะครับ

    - กายคตาสติ มีหลักคิดเหมือนกันหมด ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจในหลักการก่อน ก็ให้มี สติ ตามด้วยสัมปชัญญะ แล้วเพียร ละความยินดียินร้ายในโลก

    - การเดินจงกรม ก็คือ การสร้างสติ ด้วยการเดิน ขณะย่างก้าวเดิน ก็เกิดผัสสะ เช่นเท้ากระทบพื้น สติเกิดจากการระลึกได้ว่านี้เท้ากระทบพื้น มีสติระลึกได้ว่าก้าวไปข้างหน้า ก้าวถอยหลัง เมื่อมีสติก็ตามด้วยสัมปชัญญะ

    - ผมทดลองดู เดินเร็วไป สติตามไม่ทัน ช้าไปก็ไม่ดี ต้องให้พอดี รู้ว่ามีการก้าวย่าง แล้วตามด้วย สัมปชัญญะ รู้ตัวว่ากำลังเดิน เพราะพระพุทธองค์ทรงให้รู้สึกทุกอิริยาบท จะก้าวไปข้างหน้า ก้าวถอยหลัง ให้มีสัมปชัญญะ อันนี้ต้องฝึกสัมปชัญญะ รู้สึกตัวตลอดเวลา ถ้าทำได้

    - คือทำอย่างไรก็ได้ให้มี สติ และสัมปชัญญะ ตลอดเวลา นั่ง ยืน เดิน นอน นั่ง การเดินจงกรมจึงเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องฝึกให้มีทั้งสติ และสัมปชัญญะ ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเลย เอาถนัดเราว่า ในพระไตรปิฏกก็ไม่ได้ระบุว่า จะบริกรรมหรือเปล่า

    - เป้าหมายก็คือมีสติ ตามด้วยสัมปชัญญะ ละความยินดียินร้ายในโลก ถ้าเรามีสติ เฉพาะตอนนั่งทำอานาปานสติ มันก็ร่างกายไม่ได้เคลือนใหวก็จะเสียสุขภาพ การเดินจงกรม ก็จึงเป็นการบริหารกายด้วยแหละ และก็ยังเป็นการทำให้การสร้าง สติ และสัมปชัญญะไม่ขาดตอน ต่อเนื่องจาก อิริยาบทอื่น ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2015
  17. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    สำหรับที่เห็นกายเดินของมันเอง

    ครับ เวลาเดินจงกรมต้องมีสติจับที่คำบริกรรมประกอบตามดูอาการแห่งกายครับ ห้ามหลุด แต่ในขีดขั้นของจิต สติ สมาธิ มันพัฒนาของมันเองครับจากไม่มี เป็นมี จากหยาบเกิดละเอียด จากช้าไปสู่คล่องแคล่วว่องไว จากคับแคบไปสู่กว้างขวางครับ กรณีจิต สติ สมาธิพัฒนาจากการสะสมชั่วโมงบินท่านผู้ปฏิบัติอื่นหรือพระภิกษุอื่นท่านมีพัฒนาการมากกว่านี้ก็เคยได้ยินได้ฟังมา ไม่ขอพุดล่ะกันครับ ยิ่งสติของพระอรหันต์นี้ได้ยินมาได้ฟังมามีกำลังมากจนอาจเป็นเรื่องพิศดาร บางท่านจะรับไม่ได้ครับ สำหรับการเดินจงกรมนี้ไม่ต่างจากการขับรถในบางตอนครับ ตอนเราเริ่มขับเราต้องฝึกเข้าเกียร์เปลี่ยนเกียร์อย่างละเอียดครับ ต้องท่องเลยว่ากดหรือปัดขึ้น ตบลงตรงไหน หรือขั้นตอนเหยียบคันเร่ง คลัช เบรค ก็เช่นกันต้องสัมพันธ์กับการเปลี่ยนเกียร์ด้วย ตอนแรกเราต้องกำหนดช้าๆ เวลาฝึกครับ ค่อยเป็นค่อยไป นี่คือการบริกรรมประกอบการสังเกตให้มือเท้าทำไปตามคำบริกรรม แต่ว่าพอฝึกถึงจุดหนึ่ง คนที่เป็นเซียนขับรถเวลาเค้าทำอะไรนี่เร็วมากครับ แต่ทุกขั้นตอนของมือเท้าไปหมดนะครับจิตตามรู้หมด แต่ไม่มีคำบริกรรมในใจแล้ว แถมสามารถใช้สมาธิจิตหรือสติไปทำอย่างอื่นได้อีก สามารถรู้ได้รอบคันรถออกไป ว่าอะไรมาอะไรไป สถานที่เป็นอย่างไร คือ จิต สติ สมาธิ มันรับสภาพได้แล้ว มันเป็นคล่องแคล่วว่องไวของจิต สติ สมาธิครับ การเดินจงกรมนั้น จิต สติ สมาธิมีพลังมากขึ้นจากความชำนาญด้วย จากการสะสมจิตที่นิ่งสงบ ประภัสสร จิตเกิดพลังขึ้นมาจึงเกิดการรับรู้ขึ้น แต่ถึงแม้มันจะเกิดคำบริกรรมก็ดี หรือแม้ต่อมาบริกรรมหายก็ดี จิตยังคงต้องประคองที่การก้าวย่าง ครับ แต่ว่าในคราวแรก ที่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น จิตเราจะยังรับอะไรมากมายไม่ค่อยได้ ถ้าไปโฟกัสที่จิตที่มันรอบรู้เกินไป สมดุลย์ก็เสีย ท่านอาจารย์ทั้งหลายจึงบอกว่า มันเป็นนิมิตรอย่างหนึ่งครับ อย่าไปใส่ใจ ให้เพ่งแต่อาการก้าวย่างต่อไป แม้จะเห็นอาการแตกดับแห่งธาตุก็ดี ก็จัดเป็นนิมิตรไป ให้คงที่การภาวนาหรือการมีสติจับที่ก้าวย่างเป็นหลักครับ เพื่อรักษาองค์จิต สติ สมาธิไว้ก่อน ส่วนกระบวนการจากนี้ ผมไม่ถึงครับแต่ทราบมาว่า เมื่อประคองจิตในภาวนาที่ตั้งต้นต่อไป ญาณปัญญาที่หยั่งเห็นธาตุก็ดี เห็นการแตกดับก็ดี เห็นรูปนามแยกจากกันก็ดี ก็พิจารณาไปตามเท่าที่เห็นครับ ถ้ามันเกิดตลอดก็ยกเข้าสู่วิปัสสนาครับ ผมจึงบอกว่าน่าเสียดายที่ผมไม่อาจคงสภาพได้นานที่จะเห็นอาการแตกดับหรืออนิจจะลักขณะของกายและโลกไว้นานกว่านี้ เพราะจิต สติ สมาธิยังไม่สามารถประคองที่ภาวนาได้ อาจเรียกว่าแพ้ต่อนิมิตรครับ แทนที่นิมิตรกรรมฐานจะยกเข้าสู่วิปัสสนา หนึ่ง ไม่นิ่งพอ สอง กำลังแห่งจิตยังไม่สามารถรองรับการรับรู้สรรพธรรมได้ครับ เหมือนว่ามันหนักไป กำลังจิตมันอ่อนลงจนถอยหลัง กลับมามีคำบริกรรมแล้วกำหนดออกจากการเดินจงกรมในที่สุด ผมใช้เวลาประมาณ ๙ เดือน รู้สึกจิตยังสะสมพลังไม่พอครับ เพราะตอนนั้นยังเป็นเณรอายุน้อยครับ ทุกวันนี้เป็นฆราวาสทำไปถึงแค่ตรงนั้น ได้ไม่เกินสองครั้ง ด่านวิปัสสนาสำหรับผมนี่คงยากจริงๆ ครับ แต่ก็พยายามต่อไปครับ สะสมเป็นอนุสัยในจิตไปจนกว่าเวลาจะพร้อมครับ ตอบคุณ hastin สั้นว่า จิต สติ สมาธิ เราฝึกเพื่อพิจารณาธรรมครับ แต่ในตอนที่ธรรมยังไม่เกิดแก่สายตาหรือการรับรู้ของเราก็ยังพิจารณาไม่ได้ การเดินจงกรมก็ดี การนั่งสมาธิก็ดี ก็เป็นการฝึกสติ สมาธิเพื่อให้เกิดปัญญาครับ ปัญญามันจะเกิดมาจากจิตที่ละเอียดเห็นสิ่งต่างตามเป็นจริงได้ หากจิตไม่ละเอียดไม่มีกำลังพอเราจะไม่เห็นสภาพตามความเป็นจริงครับ การเห็นซ้อนกันทั้งที่ตาเนื้อเราก็มองข้างหน้าเราแต่ยังรับรู้การเคลื่อนของกายเหมือนมองได้โดยรอบก็ดี การรับรุ้กายและโลกสั่นไหวไม่มั่นคงก็ดี เป็นกำลังของจิต สติ สมาธิ ที่รับรู้สภาพความจริงโดยรอบตัวเรา จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จิตที่ฝึกฝนถึงจะเห็นอย่างนั้น แต่สภาวะการหยั่งรู้นีก็ไม่แน่นอนครับ ดังนั้น การประคองกำลังจิต สติ สมาธิ เพื่อคงระดับเห็นสภาวะธรรมได้ชัดเจน คือขีดขั้นก้าวสู่วิปัสสนาครับ แต่การวิปัสสนาก็ทำได้หลายแบบนะครับ ไม่ต้องใช้จิต สติ สมาธิระดับสูงก็ได้ แต่ว่าการที่เราเห็นอะไรไม่ชัดเจน มันจะมีอุปสรรคในที่สุด พระพุทธองค์จึงให้มีทั้งศีล สมาธิ ปัญญา โดยสมาธิในพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก โดยส่วนมากให้ถึงแค่ ฌาณ ๔ ภาษาพระ แต่เอาภาษาคนคือ ถ้าจิตนิ่งสนใจแต่สิ่งเดียว นั้่นแหละ เอาจิตที่มีสมาธินี้ไปพิจารณาธรรมครับ ตัวธรรม ก็คือ ธรรมชาติของตัวเราและสิ่งรอบข้างเรานี่ละครับ กายและจิต แสงแดด เงา ฝน ลมหายใจที่กายและจิตรับรู้ สิ่งที่รู้สิ่งที่ถูกรู้ ผมเรียกเองว่า สรรพธรรมครับ (ดูหนังจีนเป็นพื้นครับ) ผมแปลว่า ธรรมโดยรอบจิต จะรูปจะนามจะจิตหรือสิ่งที่จะมาผัสสะกับจิต ก็เรียกว่า สรรพธรรม ธรรมที่เกิดเฉพาะหน้าก็อย่าง คือ จิตจับสภาวะธรรมได้เห็นสภาวะธรรมใดก็พิจารณาอันนั้นไป แล้วแต่จิตจะเห็นครับ เช่น พระปัจเจกพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ท่านนั่งสงบอยู่ที่ริมสระบัว ด้วยบารมีที่สะสมกำลังจิตมาครับ ท่านเห็นใบบัวร่วง ท่านตรัสรู้เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2015
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เสริมให้วิจารณ์อีก

     
  19. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    สติ คือการสังเกตุ เครื่องตรวจ เราพัฒนาตรงนี้ให้เกิดสติต่อเนื่องได้ ไม่ใช่ไประลึกตาม
    หลังอันนั้นช้าเกินไปครับ สติต้องเท่าทันสภาวะกระทบต่างๆ ความยินดี ยินร้ายจึงไม่ไหล
    ไปรวมกับอารมณ์ เรียกว่ากระทบรู้ สติเท่าทันสภาวะ...

    สติ ฝึก โดยการสังเกตุกาย หรือดูกาย ขณะลืมตาอยู่แล้วหลับตาลงเรายังเห็นตัวเองได้
    นี่เป็นการฝึกสติ คือใช้ตาในเห็น เห็นในที่นี้ไม่จำเป็นต้องชัดเจน เห็นผสมกับความรู้สึกตัว
    หรือฝึกลืมตาก่อนแล้วมองใช้สติตาในมองไปรอบๆ ได้ทั้งหน้าหลังบนล่างแล้วยังเห็นตัวเอง
    ได้ เหมือนเรานั่งอยู่ในอวกาศเรารู้ถึงสิ่งรอบตัวแต่ยังเห็นตัวเองได้ นี่เป็นการฝึกสติ ลืมตา
    ก็เห็นตัวเอง หลับตาก็เห็นตัวเอง สังเกตุกายตัวเองได้รอบ...

    สัมปชัญญะ หรือ ความรู้สึกตัว เป็นการฝึกให้เรารู้อารมณ์ปรมัตถ์ในฐานกาย หรือฝึกรู้
    เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เปรี้ยว หวาน ตรงนี้เป็นการรู้ตรงสภาวะ แต่การใช้กายเป็นฐานเพื่อ
    ความรุ้สึกตัวก่อน เอาความรู้สึกตัวให้ต่อเนื่องที่ฐานกายเป็นหลัก แล้วใช้สติตามเห็นกาย
    ให้ต่อเนื่อง หรือทำพร้อมกันไปเลยทีเดียวก็ได้...

    เมื่อเห็นกาย พร้อมความรู้สึกตัว เราเห็นกายได้รอบจะสังเกตุได้ว่า กายจะเบา กายสงบ
    ตรงนี้ก็ต้องทดลองฝึกเอา เมื่อกายสงบเราก็จะสังเกตุสิ่งที่ละเอียดขึ้น คือส่วนที่เกิดกับ
    ใจ พวก เวทนา สัญญา สังขาร หรือสิ่ิงปรุงแต่งต่างๆ

    ถ้าเข้าใจหลักการฝึกสติ สัมปชัญญะ นี้ก็ใช้หลักเหมือนกันหมด ทั้ง เดิน ยืน นั่ง นอน

    บางคนฝึกความรู้สึกตัว โดยรู้กระทบสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ก็ได้
     
  20. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ตอบคุณมาจากดินครับ

    สิ่งที่จะวิจารณ์ต่อไปนี้ เหมือนเราคุยกันธรรมดา เหมือนเราเล่าสู่กันฟัง เหมือนเล่าความฝันให้ฟัง อย่าจริงจังกับความฝันของผมนะครับ ตอนเป็นเด็กผมเคยฝันเห็นในหลวงเหมือนกันที่วัดพระแก้ว ตอนเป็นเด็กผมเคยนิมิตรขณะนั่งสมาธิว่าตัวเองลอยอยู่ในกลางองค์พุทธรูปและมีเสียงก้องกังวานให้หาธรรมจากพุทธธรรม ผมออกจากสมาธิก็สงสัยไปห้องสมุดแล้วก็พบคำว่า พุทธธรรม ชัดเจน ของท่าน ประยุทธ์ ปยุตฺโต เคยนิมิตรว่าพระแม่กวนอิมมาสอนว่า ราศีแห่งคนเรา อยากเกิดในจักรราศีใดก็หยิบเอามากำหนด ผมเองก็ไม่ทราบว่ามันเกิดเหตุการณ์ได้อย่างไร แต่ผมทราบว่า หนังสือพุทธธรรมก็ดี เป็นแนวทางในการศึกษาพุทธศาสนาที่ดี ผมทราบว่าราศีของคนเราอยู่ที่การกระทำของเรา เหมือนเราสวดพาหุง มหากา และชยันโต ผมรู้ว่าในหลวงนี้ท่านมีจิตเมตตากับพวกเรา เมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่านิมิตรนี้ดี ชี้ทางสว่างและศรัทธาแก่เรา บางท่านมาเล่าว่าฝันถึงพุทธองค์พุทธรูป แล้วมันเกิดได้อย่างไร บางท่านก็บอกว่าพุทธองค์มาสอนในนิมิตร ผมจะวิจารณ์ตามความรู้ครับ และเหตุที่วิจารณ์อย่างนี้ วันหนึ่ง ในขณะบวชเณร ผมนั่งสมาธิอยู่หน้าถ้ำ พลันในระหว่างสมาธิขณะที่จิตสถิตย์ที่กึ่งกลางกระโหลกปรากฎมีเงาดำทมึนมาบดบังแสงจากสมาธิลงเหมือนดังราหูมาบดบังดวงจันทร์ ผมค่อยออกจากสมาธิก็งงเป็นอย่างยิ่ง แต่ผมไม่ได้ถามครูบาอาจารย์ เห็นเป็นแค่นิมิตร แต่ว่าในเย็นวันนั้น มีสามเณรใหม่มาขอเข้ามาจำวัดที่นี้ และถัดจากนั้น ผมจึงทราบว่านี้คือเจ้ากรรมนายเวรของผม มีหลายครั้งในระหว่างทำวัตรเย็น เมื่อนั่งสมาธิปรากฏเป็นลมร้อนพุุ่งมาที่ข้าพเจ้าจากทิศที่เณรนั้นอยู่ จิตข้าพเจ้าไม่รับลมร้อนกลุ่มนั้นกลับวิ่งสู่เจ้าของ เณรนั้นร้องว่าร้อนๆ ข้าพเจ้าก็ยิ่งงง เพราะไม่ได้ตั้งจิตจะรู้จะถามอะไร ภายหลังจึงทราบว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรกัน จากเหตุการณ์ตรงนี้ เงาดำที่มาบดบังแสงจากการนั่งสมาธิของข้าพเจ้า ตอนนั้น ข้าพเจ้ากับเณรน้อยนั้นไม่รู้จักกันเลย และเณรก็เพิ่งรู้จักกับข้าพเจ้าในภายหลัง ในตอนอยู่ร่วมกันพอเข้าใจได้ว่าพลังจิตมันส่งถึง แต่ปัญหาคือ เณรยังไม่มาพลังจิตของเณรมาทำกับข้าพเจ้าก่อนได้อย่างไร แถมเณรก็ไม่รู้ตัวอีก เณรเป็นเด็กอ่อนกว่าข้าพเจ้า จิตยังไร้เดียงสาอยู่หลายส่วน จึงขอวิจารณ์นิมิตรทั้งหลาย แม้นิมิตรที่เห็นพุทธเจ้า ว่า พลังของจิตนั้น มันข้ามกรอบเวลาได้ครับ การจองเวรของจิตมันสามารถตามมาโดยเจ้าของผู้อาฆาตยังไม่รู้ตัวเลย จิตไม่ได้ตามมานะครับ พลังของจิตที่สาปแช่ง จองเวร นั้น มันมาตามได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อวาระมาถึงมันจึงมาเบียดกันได้ ฉันใด พุทธานุภาพของพุทธองค์ก็ดี จิตตานุภาพก็ดีของในหลวง ของพระโพธิสัตว์ก็ดี พลังนั้นสามารถคงอยู่ และมาให้ผลได้ครับ ขอกราบขมาลาโทษพุทธองค์หากผิดพลาดประการใดเป็นแค่การแสดงความเห็น พุทธองค์ทรงพระเมตตาแก่สรรพสัตว์ พลังเมตตาจิตนี้จึงแผ่ไพศาลแม้นานนับพันปี หากเราประพฤติธรรมของพระองค์ พลังจิตพลังเมตตาของพระองค์แม้ปรินิพพานไปนานแล้วก็อยู่โปรดเวไนยสัตว์ได้ครับ และสามารถมาเป็นนิมิตรได้ครับ เพราะพลังเมตตา หรือแรงอาฆาตจองเวรเป็นนามธรรม สามารถมีผลกับจิตได้และนามธรรมอาจสร้างภาพหรือรูปธรรมขึ้นได้ ประหนึ่ง ดังสัญญา เมื่อเรากำหนดสัญญาระลึกถึงดวงอาทิตย์ จิตเรามีกำลังจากแค่ระลึกกลายเป็นเหนี่ยวนำให้เกิดภาพนิมิตรดวงอาทิตยื และสามารถมาทำหรือฝึกอาโลกกสิณต่อได้ได้อีก หลวงพ่อจรัญ หรือภิกษุท่านอื่นจึงให้เราถอนคำสาบานหรือคำสาปแช่งในอดีตชาติของเราเพราะเจ้าของจึงจะหักล้างได้ หรือให้ใช้เมตตาจิตเราหักล้างไม่ให้พลังจิตนั้นมีผลครับ ผมไม่ได้กล่าวตู่ว่าพุทธเจ้ายังอยู่นะครับ ท่านไปนิพพานแล้ว แต่พลังจิตเมตตาหรือพระธรรมที่พระองค์ให้ไว้ยังสถิตย์ฉันใด พุทธานุภาพของพุทธองค์ และจิตตานุภาพของในหลวงย่อมแผ่ไปทั่ว เมื่อเราผู้ปฏิบัติดีมีจิตอ่อนโยน ย่อมสัมผัสพลังจิตเหล่านั้นได้ครับ และจิตหรือสมองแปลมาเป็นภาพนิมิตรครับ
    คุยกันเหมือนเล่าความฝันนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...