การเผยแพร่พุทธศาสนาในยุโรป

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 22 มิถุนายน 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE height=70 width=350 align=center background=../../pics/banner350.gif border=0><TBODY><TR><TD>
    ประวัติพระพุทธศาสนาในเนเธอร์แลนด์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    holland
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์

    พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ปรเทศเนเธอร์แลนด์โดยผ่านทางพ่อค้าชาวดัตช์ และชาวพื้นเมืองจากประเทศศรีลังกา ที่เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ก็มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาไม่มากนัก

    หลังจากสงครามโ,กครั้งที่ ๒ แล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้มีชาวพุทธในกรุงเฮกได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยการจัดตั้งชมรมชาวพุทธดัตช์ขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพบปะสังสรรค์ของพุทธศาสนิกชนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ชมรมนี้จะมีการพบปะกันทุกวันอังคาร สัปดาห์ที่ ๓ ของทุกเดือน ซึ่งในการพบปะกันแต่ละครั้งนั้นจะมีการบรรยายหลักธรรมของพระพุทธศาสนา แล้วอ่านพระสูตรพร้อมกับอธิบายความ และก่อนที่จะเลิกชุมนุมจะมีการฝึกนั่งสมาธิพร้อมกันด้วย ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ชาวพุทธจำนวน ๑๕ คน ได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มพุทธศาสตร์ศึกษา ขึ้นที่กรุงเฮก เพื่อดำเนินการเผยแผ่และกระทำกิจกรรมต่างๆ ตามหลักของพระพุทธศาสนา
    ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ สถานทูตไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ให้ความอนุเคราะห์ให้มีการจัดตั้งพุทธสมาคมขึ้น เพื่อจะส่งเสริมให้มีการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสนับสนุนให้นำเอาหลักธรรมดังกล่าวไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์ในปัจจุบัน
    ปัจจุบันการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์ดำเนินงานโดยพระภิกษุสงฆ์จากประเทศไทย เพราะในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีการสร้างวัดไทยขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๖ โดยส่งพระสงฆ์จากเมืองไทยไปเป็นเจ้าอาวาสเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนามีผลทำให้จำนวนผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
    วัดในประเทศเนเธอร์แลด์ คือ ๑. วัดพุทธาราม
    ๒. วัดพุทธวิหาร อัมสเตอร์ดัม
    [​IMG] รายชื่อวัดไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์

    </TD></TR><TR><TD>ที่มา : http://www.geocities.com/sakyaputto/mbuddhism1.htm</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE height=70 width=350 align=center background=../../pics/banner350.gif border=0><TBODY><TR><TD>
    ประวัติพระพุทธศาสนาในเยอรมัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    berlin brandenburgertor - germany
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเยอรมัน

    ชาวเยอรมันความสนใจในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่มีจำนวนไม่มากนัก โดยชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมนี นำโดย ดร.คาร์ล ไซเดนสตือเกอร์ (Dr.Karl Seidenstuecker) ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี ขึ้นที่เมืองเลปซิก เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนีและส่งเสริมการศึกษาทางวิชาพระพุทธศาสนา

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมันตะวันตกดำเนินการโดยเอกชน มีการจัดพิมพ์วารสารและจุลสารออกเผยแพร่ นอกจากนี้ก็มีการจัดปาฐกถาธรรมและสนทนาธรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นประจำ หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้รับการตีพิมพ์เผยแผ่ถึง ๖ ชั่วอายุคน คือ หนังสือพุทธวจนะ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลและเรียบเรียงจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน โดยพระภิกษุชาวเยอรมันรูปแรก ฉายาว่า ท่านญาณดิลก หนังสือเล่มนี้ได้รับได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอย่างมากมาย และถ่ายทอดเป็นภาษาอื่นๆ กว่า ๑๐ ภาษารวมทั้งภาษาไทยด้วย

    ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระพุทธศาสนาในเยอรมันก็หยุดการเคลื่อนไหว การดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธซบเซามาก เพราะพรรคสังคมนิยมแห่งชาติ ไม่ต้องการให้มีการดำเนินการของศาสนาใดๆ ทั้งนั้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง โดยเยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สภาวการณ์อันเสื่อมทรามทางจิตใจทำให้ชาวเยอรมันหันมาพึ่งหลักธรรมทางศาสนา วัดวาอาราม ต่าง ๆ เริ่มบูรณะซ่อมแซม ชาวพุทธกลุ่มย่อยๆเริ่มกิจการทางศาสนา เริ่มมีการตีพิมพ์หนังสือชุดทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีผู้อ่านอย่างแพร่หลาย ความสนใจพระพุทธศาสนามีมากขึ้น เมื่อมีพระสงฆ์จากพม่าเดินทางเข้าไปในเยอรมนี ชาวเยอรมันตื่นเต้นสนใจมาฟังปาฐกถาของท่านเป็นอันมาก

    ใน พ.ศ.๒๔๙๑ สมาคมมหาโพธิในศรีลังกา ได้ประกาศเอาพุทธสมาคมในมิวนิกเป็นสาขาทำให้พุทธสมาคมอื่นๆ ในเยอรมนีมีการประสานงานกับศรีลังกามากขึ้น และต่างก็สมัครเข้าเป็นสาขาของสมาคมมหาโพธิ

    ใน พ.ศ.๒๔๙๒ เยอรมนีถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ เยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกมีท่าทีเป็นศัตรูต่อศาสนาต่างๆ เพราะลัทธิการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ พระพุทธศาสนาในเยอรมนีตะวันออกจึงต้องเสื่อมลง มีเพียงองค์การเดียวที่ให้ความสนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนาคือ มหาวิทยาลัยเฮล ในเยอรมนีตะวันตกนั้นกฎหมายก็ไม่ได้รับรองพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนาหนึ่งที่มีผู้นับถือในเยอรมนี แต่การติดต่อระหว่างกลุ่มชาวพุทธในเยอรมนีตะวันตกและสมาคมมหาโพธิในศรีลังกา ทำให้ชาวพุทธรวมตัวกันได้ มีสมาคมของชาวพุทธที่ดำเนินการเผยแพร่เอกสารต่างๆ และมีการบรรยายธรรมบันทึกเสียงออกเผยแพร่อีกด้วย
    พระพุทธศาสนาในเยอรมนีในปัจจุบัน

    [​IMG]ในปัจจุบันประเทศเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกได้รวมกันเป็นประเทศเดียวแล้ว เรียกว่า ประเทศเยอรมนี ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้อาศัยอยู่ในเมือง ฮัมบูร์ก เบอร์ลิน สตุตการ์ต มิวนิก โคโลญจ์ และ แฟรงเฟิร์ต เป็นต้น นอกจากนี้ พระไตรปิฎก ก็ได้รับการแปลและพิมพ์เป็นภาษษเยอรมันเรียบร้อยแล้ว ส่วนสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ จะกระทำกันที่ศาสนาสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน
    วัดในประเทศเยอรมนี ได้แก่ วัดพุทธวิหาร, วัดไทยมิวนิค,
    วัดพุทธาราม เบอร์ลิน
    [​IMG] รายชื่อวัดไทยในประเทศเยอมัน

    </TD></TR><TR><TD>ที่มา : http://www.geocities.com/sakyaputto/mbuddhism1.htm</TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.dhammathai.org/thailand/missionary/germany.php
     
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     

แชร์หน้านี้

Loading...