การเริ่มต้นพิจารณากาย

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย paang, 30 มกราคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]


    การแนะนำให้ศิษย์ปฎิบัติภาวนานั้น หลวงปุ่มัี่น ท่านย้ำเสมอว่า " จะใช้บทพุทโธ เป็นบท บริกรรม สำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้ว ให้วางบท นริกรรมเสีย แล้วพิจารณา กาย ต่อไป ...."

    ในการพิจารณากายนั้น หลวงปู่มั่น ท่านสอนดังนี้

    ในการที่พิจารณากาย เริ่มแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถที่จะเพ่ง พิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ ๓๒

    เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไปกลับมา หรือที่เรีัยกว่า โดยอนุโลม ปฏิโลม จนหาย สงสัยในจุดที่พิจารณาแล้ว จึงค่อยเปลี่่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป

    อย่่าพิจารณา เป็นวงกว้าง ทั้งร่างกาย เพราะปัญญายังไม่แก่กล้า

    ถ้าพิจารณาพร้อมกันทีเดียวทั้งร่างกาย ความขัดเจนจะไม่ปรากฎ ต้องค่อยเป็นค่อยไป

    เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว ถ้าเราเพ่งปีัญญาลงไป จุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจาก จุดอื่นๆ ก็จะปรากฎเป็นนัยเดียวกัน

    เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ เมื่อพักอยู่ในความสงบพอ สมควรแล้ว ให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก

    ให้เจริญอยู่่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฎิบัติ

    เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว คำบริกรรม พุทโธ ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิต ก็จะสงบ เข้าสู่สมาธิได้ทันที

    อย่าส่งจิต
    ออกนอกกาย


    อุบายธรรมของหลวงปู่มั่น ในการปฏิบัติภาวนา มีต่อไป ดังนี้

    ผู้ปฎิบัติจิตภาวนา ถ้าส่งจิตออกไปตามภายนอกจากร่างกายแล้ว เป็นอันผิดมรรคภาวนา

    เพราะบรรดาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองคืได้ทรงสั่งสอนประกาศพระ ศาสนาอยู่ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นั้น แนวการปฎิบัติไม่พ้นจากกาย

    ดังนั้นกายจึงเป็นสนามรบ กายจึงเป็นยุทธภูมิที่ปัญญาจะต้องค้น เพื่อทำลายกิเลสและกองทุกข์ ซึ่งจิตจของเราทำเป็นธนาคารเ็ก็บสะสมไว้ภายใน หอบไว้ หาบไว้ หวงไว้ จนนับภพนับชาติไม่ได้

    สัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าชนิดใดในสังสารวัฎนี้ ล้วนแต่ติดอยุ่กับกายนี้ทั้งสิ้น
    ทำบุญทำบาปก็เพราะกายอันนี้ มีความรัก มีความชัง มีความหวง มีความแหน ก็เพราะกาย อันนี้ เราสร้างทรัพย์สมบัติขึ้นมาก็เพราะกายอันนี้ เราประพฤติผิดศีล ประพฤติผิดธรรม ก็เพราะ กายอันนี้

    ในการบวชพระ พระอุปัชฌาย์ ที่จะให้ผ้ากาสายะแก่กุลบุตร ผู้เข้ามาขอบรรพชาอุปสมบท ก็ สอนให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นส่วนหนึ่งที่เห็นได้โดยง่าย


    กายเป็นทั้งเหตุเป็นทั้งผล

    เหตุที่ต้องพิจารณากายในการปฎิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านสอนต่อไปว่า :-
    กายนี้จึงเป็นทั้งเหตุและเป็นผลทั้งหมด มรรคผลจะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดขึ้จากกายนี้แหละ กายนี้ เป็นเหตุ กายนี้เ็ป็นผล เอากายนี้แหละเป็นมรรค เครื่องดำเนินของจิต

    เหมือนกบแพทย์ทั้งหลาย จะรักษาเยียวยาคนป่วยได้ ต้องเรียนร่างกายนี้ให้เข้าใจถึงกลไก ทุกส่วน จึงจะสามารถรักษาคนไข้ได้ ไม่ว่าทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน วงการแพทย์จะทิ้งร่าง กายไม่ได้ ถ้าวิชาแพทย์ทิ้งการศึกษาระบบกลไกของร่างกายเสียแล้ว ก็เป็นอันศึกษาผิดวิชาการ แพทย์ ทางสรีรวิทยา

    นักปฎิบัติธรรม ถ้าจะทิ้งการพิจารณาร่างกายเสียแล้ว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องดำเนินมรรค ปัญญา

    ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนที่เป็นรูป และส่วนที่เป็นนาม ถ้าผู้ปฎิบัติไม่พิจารณาให้เห็นแจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบแล้ว คำว่า นิพพิทา วิราคะ นั้น จะเป็น เบื่อหน่าย คลายกำหนัด อะไร

    นิโรธ ซึ่งเป็นตัวปัญญา จะไปดับทุกข์ที่ไหน เพราะเราไม่เห็นทุกข์ที่ดับของทุกข์ก็ไม่รู้ ไม่เห็น

    พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ พระองค์ต้องพิจารณากายนี้เป็นเครื่องดำเนินมรรค ปัญญา เพราะในอุทานธรรม บทว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นนั้น พระองค์ได้ประจักษ์อย่างแน่นอน ว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป

    พระองค์หักกงกรรม คืออวิชชา เสีย ความเกิดของพระองค์จึงไม่มีต่อไป กงกรรมคืออวิชชา มันอยู่ที่ไหน ถ้ามันอยู่ในจิตของเรา จิตของเรามันอยู่ที่ไหน

    จิตมันก็คือหนึ่งในห้าของปัญจขันธ์ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของนามนั่นเอง

    ผู้ปฏิบัติต้องใคร่ครวญพิจารณาอย่างนี้ จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินตามมรรคภาวนา ไม่มีอารมณ์ อย่างอื่นนอกจากกายนี้ ที่จะดำเนินมรรคภาวนา ให้เกิดปัญญาขึ้นได้



    ที่มา http://www.geocities.com/thaimedicinecm/arjanwhan.htm
     
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,270
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,074
    พิจารณากายเพื่อความเห็นทุกข์ในชีวิตตัวเรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...