การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NUI, 22 มิถุนายน 2009.

  1. NUI

    NUI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    389
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +983
    การเรียนรู้เกี่ยวกับจิต


    การเรียนรู้เกี่ยวกับจิตเรียกว่าฝึก “อธิจิตตสิกขา” เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(จิต) หนึ่งในการฝึกสติปัฏฐาน๔ ซึ่งสติปัฏฐาน๔ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน(กาย) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(เวทนา) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(จิต) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ธรรม)

    คำว่าอธิจิตหมายถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับจิตให้ละเอียด ให้รู้ทุกอาการของจิตที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ให้รู้ว่าจิตไหนเป็นกุศล จิตไหนเป็นอกุศล จิตแบบไหนเป็นสมถะจิตแบบไหนเป็นวิปัสสนา จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตมีเมตตา จิตดี จิตไม่ดี จิตที่ใช้การได้ดี จิตที่ใช้การไม่ได้ ให้รู้เท่าทันเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นและส่งผลกระทบอย่างไร ก่อทุกข์อย่างไร ศึกษาเรียนรู้อาการทางใจ นี้เรียกว่าฝึกอธิจิต เรียนรู้จิตให้ละเอียด

    โดยส่วนใหญ่เราไม่ค่อยเรียนรู้เรื่องจิต พอจะฝึกสมาธิหรือทำกรรมฐานที ก็มาฝึกให้จิตมันนิ่งๆ ซึมๆ ทื่อๆอยู่ แต่ความจริงเราไม่ได้ฝึกจิตให้นิ่ง เราฝึกเพื่อเรียนรู้จิตให้ละเอียด ให้รู้จักจิตทุกชนิด เช่นนี่จิตโลภ นี่จิตโกรธ นี่จิตหลง นี่จิตเป็นกุศล นี่จิตเป็นอกุศล จิตมันหลงเป็นแบบนี้ จิตรู้เป็นแบบนี้ เป็นต้น

    เมื่อรู้เท่าทันก็ไม่หลงไปตามอาการชั่วคราวของจิต จะได้จิตประเภทหนึ่งขึ้นมาคือจิตที่มีสมาธิ หมายถึงจิตที่มีความตั้งมั่น ตั้งมั่นในการรับรู้อารมณ์ที่ผ่านมาผ่านไป ไม่หลงยินดียินร้ายไปตามปรากฏการณ์ต่างๆ จิตเกิดความตั้งมั่นเพราะรู้ทันหมดแล้ว ไม่หลงไปตามอาการของจิตที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว

    ที่จิตไม่ตั้งมั่นเพราะหลงอาการชั่วคราวของจิต เช่นความเบื่อเกิดขึ้นใจกระเพื่อมไปตามเหมือนตกวูบ มันคือการหลงอาการของจิต พอจิตเบาสบายเกิดขึ้นจิตก็กระเพื่อมไปอีกทาง จิตกระเพื่อมบ่อยๆคือจิตไม่มีสมาธิ

    สมาธิจิตแนวทางวิปัสสนา (สมาธิที่มีอยู่ในจิต ไม่ใช่สมาธิที่นั่งทำกันชั่วครั้งชั่วคราว ๓๐นาทีหรือหนึ่งชั่วโมง แล้วหยุดพัก พอเลิกนั่งสมาธิ จิตก็ไม่มีสมาธิต่อแล้ว ) สมาธิจิตนั้นทำขึ้นมาไม่ได้ มันเกิดขึ้นมาจากการฝึกจิตตนเอง ที่เรียกว่าฝึกสติสัมปชัญญะ

    ในตอนต้นควรฝึกจิตให้มีศีลก่อน ศีลแปลว่าปกติ ให้จิตเป็นปกติก่อน รู้เท่าทันความยินดียินร้าย พอใจไม่พอใจ ชอบใจไม่ชอบใจ เมื่อรู้แล้วจิตก็ไม่หลงไปทำตาม ไม่หลงไปยินดียินร้าย ไม่หลงไปพอใจไม่พอใจ ไม่หลงไปชอบไม่ชอบ ต่อมาก็มาเรียนรู้จิตใจตนเอง นี่เป็นลักษณะการฝึกตนทางพระพุทธศาสนา เป็นการฝึกแบบวิปัสสนา ต้องรู้เท่าทันจิตใจตนเองและต้องรักษาศีลเอาไว้ ทำไมต้องรักษาศีลเอาไว้เพราะเราไม่ได้กดข่มกิเลสไว้ จึงต้องมีศีลเป็นเครื่องป้องกันเป็นเกราะกำบังเอาไว้

    จะต่างจากพวกทำสมถะอย่างเดียว พวกนั้นเขาใช้วิธีปฏิเสธกิเลส หนีไปอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพื่อไม่ให้กิเลสมันเกิดขึ้น เช่นกำหนดจิตไปอยู่กับลมหายใจ ไปอยู่กับท้อง ไปอยู่กับคำบริกรรม เป็นต้น

    แต่วิปัสสนาใช้วิธีการรับรู้อารมณ์ตามปกติ แล้วดูปฎิกริยาตอบสนอง ไม่ได้ห้ามกิเลสแต่ให้รู้กิเลส รู้ความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ รู้ความรู้สึกไม่เป็นกลางจนกระทั่งจิตเป็นกลาง ฉะนั้นจึงต้องตั้งเจตนาเอาไว้ก่อนที่จะฝึกฝนจนเห็นตัวตนแท้ๆ ว่ามีกิเลสเยอะขนาดไหน สมกับที่เรียกเราว่าปุถุชนคือคนที่หนาแน่นด้วยกิเลส

    ถ้าฝึกฝนปฏิบัติธรรมแล้วยังไม่เห็นตัวตนที่แท้จริงได้ ( คือบุคคลที่มีความหนาแน่นไปด้วยกิเลส ) แสดงว่าไม่ใช่ตัวจริงยังปลอมอยู่ ยังรักษาหน้า ยังทำตัวเป็นคนดี เป็นการรักษาภาพฝ่ายดีอยู่ ตามปกติคนเรานี้จะทำดีและทำไม่ดีตามเหตุปัจจัย เช่นเหตุให้ทำดีมาจากความเมตตา กรุณา เป็นต้น เหตุที่ทำไม่ดีมาจากกิเลส โลภ โกรธ หลง เป็นต้น

    ความจริงคนเรามีกิเลสทุกคน การฝึกวิปัสสนาจะทำให้เราเห็นกิเลสในตนเอง แต่การฝึกสมถะจะเป็นการหนีกิเลสในตัวเองทำให้มองไม่เห็นกิเลสเพราะจิตที่สงบมาบังกิเลสไว้ แต่ถ้าเห็นว่าตัวเรานั้นหนาไปด้วยกิเลส เห็นว่าเราทำ พูด คิดไปตามกิเลส กิเลสมันสั่งให้เรา ทำ พูด คิด

    ถ้า เห็นอย่างนี้ได้เรียกว่าได้รู้จักตัวเองแล้ว เช่นเราทานส้มตำเราจำเป็นต้องทานหรือทานเพราะความอยาก เราไปเที่ยวทะเลเราจำเป็นต้องเที่ยวทะเลหรือเราอยากไปเที่ยวดูทะเล เพื่อนทำอะไรให้เราไม่พอใจมาก เราว่าเพื่อนแรงๆ เราว่าเพื่อนเพราะอารมณ์โกรธ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กิเลสสั่งให้ทำตามทั้งนั้น

    เราต้องยอมรับความจริงว่าเราคือปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส จะพูดคำหนึ่งก็กิเลสสั่งพูด จะทำอะไรนิดหน่อยแม้แต่งานบุญบางครั้งก็กิเลสสั่งให้ทำ ไม่ใช่บางครั้งด้วยนะหลายๆครั้ง ให้รู้ทันจิตใจตนเอง พอเรารู้แล้วจะไม่หลงอาการของจิต เมื่อไม่หลงอาการของจิตจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา

    เป็นคนรู้ คนดู แค่รู้ แค่ดู ดูจิตอย่างเป็นกลางๆ เมื่อจิตตั้งมั่น มาฝึกเรียนรู้จิตซึ่งเป็นการฝึกอธิปัญญาสิกขา จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของกายของใจ

    อาจารย์สุภีร์ ทุมทอง​
     
  2. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    อนุโมทนาครับ
    ผมเคยฟังอาจารย์สุภีร์ท่านอธิบายสติปัฏฐาน 4 ได้ละเอียดเข้าใจได้ดีมากครับ
     
  3. แกะดำ2

    แกะดำ2 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอขอบคุณสำหรับข้อความดีๆและเป็นทางตรงแบบนี้ผมก็กำลังฝึกรู้ฝึกดูอยู่ครับผมหลับมาตลอดเลยตั้งแต่เกิดจนถึงเดี่ยวนี้ครับและผมก็เหมือนคนที่หลับมานานเมื่อได้ฟังธรรมและอ่านธรรมที่ลัดตรงและไม่ยากจนเกินไปในการปฏิบัติก็เลยรู้ว่านี้คือวิธีปลุกเราให้ตื่นแม้มันยังไม่ตื่นแต่ถ้าเราพยายามบ่อยๆเพราะการปฏิบัติธรรมที่ท่านกล่าวถึงนี้ทำได้ตลอดเวลายกเว้นหลงไปกับขาดสติเท่านั้นครับก่นหน้านี้งงอยู่ตั้งนานกับคำว่าเห็นความตายอยู่ทุกลมหายใจมันเป็นยังไงแต่พอดูจิตดูใจแล้วถึงบางอ้อเลยครับสำหรับผมหากท่านพอมีเวลาก็ส่งข้อความดีๆและแนวทางแบบนี้ไห้ผมอ่านบ้างนะครับจิตจะได้ไม่แห้งแล้งครับขอบคุณมากครับ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    แกะขาว
     

แชร์หน้านี้

Loading...