การเห็นในสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย huayhik, 5 ตุลาคม 2010.

  1. huayhik

    huayhik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    181
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,131
    [​IMG]

    การเห็นในสมาธิ
    การเห็นในสมาธิมี ๓ อย่าง เจ้าพึงพิจารณา

    ๑. การเห็นด้วยความสึกคิดที่เจ้าตั้งใจหมายไว้อย่างหนึ่ง อันนี้ไม่ถือว่าเป็นสมาธิ หากเป็นอุปทาน เจ้าต้องลบภาพที่เจ้าเห็นเช่นนี้ ด้วยใจที่เจ้านึกต้องการเห็นให้สิ้นไป
    ๒. การเห็นอย่างที่ ๒ เป็นการเห็นเพื่อขอส่วนบุญหรือชักนำเจ้าไปสู่ความกำหนัด เกิดการราคะ เพราะเหตุแห่งมารนำจิตไป หรือมิฉะนั้นดวงวิญญาณทั้งหลายที่มีความทุกข์ต้องการมาให้เจ้าเป็นผู้ติดต่อหรอืขอส่วนกุศลผลบุญจากเจ้าไป เพื่อบรรเทาความทุกข์เดือดร้อนสอดอยากทั้งหลาย การเห็นเช่นนี้เห็นโดยจิตของเจ้ามิได้ปรารถนา มิได้ตั้งปณิธานหรืออุปาทานอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เมื่อเกิดภาพเช่นนี้ขึ้นจำเป็นที่เจ้าจะต้องรีบแฟ่ส่วนกุศลผลบุญส่งให้เขาไปโดยเร็วเพราะเจ้าคงจะรู้ ว่าภาพที่ปรากฎในนิมิตแก่เจ้านั้น อาจจะเป็นภาพของบรรพบุรุษหรือญาติพี่น้อง หรือเจ้ากรรมนายเวรของเจ้าที่จะมาให้ช่วยเหลือการที่เห็นเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อใดโดยที่ดวงจิตมิได้ประหวัดไปถึงแล้ว ให้รีบแผ่ส่วนกุศลผลบุญเสียโดยเร็ว เพื่อส่งเขาไปสู่สุคติ หรือให้บรรเทาความทุกข์ยากอดอยากลำบากลำบน<O:p></O:p>
    ๓. การเห็นชนิดที่ ๓ นั้น เป็นการเห็นโดยนิมิตอันประเสริฐ เช่นได้เห็นพุทธนิมิต เทพนิมิต พรหมนิมิตทั้งหลายเป็นต้น การเห็นแสงสว่างทั้งป่วงก็ดี การเห็นเช่นนี้เป็นเครื่องบอกแก่เจ้าว่า เจ้าได้เดินเข้าไปในทางที่จักสามารถติดต่อกับทิพยวิญญาณทั้งหลายได้ เป็นการแสดงใด้เจ้าเห็นว่าทางที่เจ้าดำเนินไปนั้นถูกต้องแล้ว จงหมั่นมีความเพียรพยายามต่อไป เจ้าจักได้ประสบผลสำเร็จสมความปรารถนา<O:p></O:p>
    สิ่งที่เจ้าได้เห็นมา เจ้าพึงพิจารณาแยกให้ออกว่าอันใดเป็นนิมิตอันใดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อขอส่วนบุญแก่เจ้าและอันใดเป็นอุปาทานที่เกิดจากดวงจิตตามปรารถนาของเจ้า เมื่อเจ้าสามารถพิจารณาคัดเลือกแยดออกจากกันแล้วเช่นนี้ เจ้าจงมีสติตั้งมั่นคุ้มครองดวงจิตของเจ้าไม่ต้องคิดหรือหวังจักให้เกิดนิมิตเช่นนั้นขึ้น ดังเช่นพุทธนิมิต เทพนิมิตพรหมนิมิต และมงคลนิมิต ตลอดจนนิมิตแห่งแสงสว่างหรือเสียงอันเป็นที่พีงปรารถนาในทางจะชักนำดวงจิตเข้าไปสู่ทางกุศลต่อไป<O:p></O:p>
    ถาม การที่สิ่งที่เห็นได้หายไป แล้วพยายามจะให้เห็นก้ไม่เห็นอีกนั้น เพราะเหตุใด<O:p></O:p>
    ตอบ เหตุเช่นนิย่อมเกิดแก่บุคคลที่ติดอยู่เสมอไป คนทั้งหลายเมื่อนั่งทำจิตเช้าสู่สมาธิแล้ว เมื่อไม่รู้ในแก่นที่แท้จริงของการทำสมาธิ ก็คิดในนิมิตที่ปรากฎในสมาธินั้น สิ่งนี้เป็นธรรม บางคนนั่งทำสมาธิแล้วแลเห็นแสงสว่างอันงดงาม บางคนนั่งทำสมาธิแล้วแลเห็นครูบาอาจารย์ แม้กระทั่งพุทธนิมิตแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาลดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อสติกลับคืนมานิมิตนั้นก็สูญไป คนทั้งหลายเหล่านั้นก็พยายามเรียกนิมิ่ตนี้นกลับคือมาอีก เช่นนี้เป็นอุปาทานหาใช่ดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดสามารถเรียกนิมิตทั้งหลายให้เหิดขึ้นตามทีตนปรารถนาแล้วไซร้ผู้นั้นย่อมเป็นผู้สำเร็จในโลกุตตรธรรมโดยแน่นอน เข้าใจหรือไม่<O:p></O:p>
    ถาม เข้าใจขอรับ คือการทำสมาธินั้นต้องตั้งใจหืนิมิตเกิดขึ้นเอง เมื่อเห็นแล้วก็พยายามทำสมาธิต่อไป เช่นนี้ไม่ใช่อุปาทาน ใช่ไหมขอรับหลวงพ่อ<O:p></O:p>
    ตอบ ถูก การติดอยู่เป็นสิ่งเดือดร้อน เจ้าติดอยู่ในสิ่งใดเจ้าก็เดอดร้อนในสิ่งนั้น เจ้าติดในกาม เจ้าติดในรสอาหาร เจ้าเดือดร้อนในรสอาหาร เจ้าติดในนิมิต เจ้าเดือดร้อนในนิมิต อย่างขั้นสูงที่สุด เจ้าติดในธรรมข้อหนึ่งข้อใด เจ้าเดือดร้อนในธรรมข้อนั้น องค์สมเจพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสสอนไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า อย่ากระทำตนเป็นผู้ติดเลยแม้ในธรรม จงเป็นผู้ปล่อยวางเถิด เมื่เจ้าสามารถเป็นผู้ผล่อยว่างอย่งแท้จริงเมื่อใด เมื่อนั้นเจ้าจะเป็นผู้สำเร็จดังปณิธานทุกประการ<O:p></O:p>
    ถาม ในขณะที่เกิดนิมิตและปรารถนาจะพิจารณาธรรมจากนิมิตที่เห็นนั้น จะประคองดวงจิตที่กำลังเห็นนิมิตนั้นอย่างไร เพื่อว่ากำลังพิจารณาธรรมอยู่ดวงจิตจะได้ไม่ตกไป ซึ่งจะทำให้นิมิตนั้นหายไปขณะกำลังพิจารณาธรรมค้างอยู่<O:p></O:p>
    ตอบ เออ เจ้าถามเป็นปัญหาที่ลึกซึ่งดีมาก การที่จะประคองดวงจิตให้อยู่กับนิมิตที่เจ้าได้เห็นเพื่อพิจารณาให้เป็นวิปัสสนากรรมฐานส เป็นปฏิเวรธธรรมนั้น เจ้าถึงมีสติอยู่ตลอดเวลาอย่าประมาทขาดสติ เจ้าพึงตั้งตัวอยู่เสทอว่า ตัวเจ้าคือใคร เจ้ากำลังทำอะไรอยู่ กระทำเมื่อใดที่ไหน กระทำทำไม และอย่างไร ถ้าเจ้าสามารถตั้งสติและควบคุมจิตของเจ้าได้อย่างนี้แล้ว จิตของเจ่าก็จะไม่ตก นิมิตน้นก็จะคงอยู่จนกว่าเจ้าจะสามารถพิจารณาแยกแยะออกให้เห็นเป็นปฏิเวธธรรมได้ดังนี้ เข้าใจไหม<O:p></O:p>
    การกระทำอันใดโดยประมาทขาดสติแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้เกิดผลร้ายในภายหลัง เช่นการเข้าสู่สมาธิย่อมมีการตกภวังค์เป็นต้น การตกภวังค์นี้เราได้เคยอธิบายมาครั้งหนึ่งแล้วว่า เปรียบประดุจดวงจิตที่ลอยจมดิ่งลงไปกระทบพื้นน้ำข้างใต้ เมื่อจิตกระทบน้ำเมื่อใดก็จะเกิดอาการแห่งความรู้สึกทันที อาการแห่งความรู้สึกนั้นจะปรากฎทางการประดุจคนโงกหรือคนสะดุ้งดังนี้เป็นต้นถ้าหากว่าจิตประกอบด้วยสติแล้วการตกภวงค์นั้นก็จะไม่เกิดโทษอันใด เพราะการตกภวังค์ในขณะที่จิตมีสติอยู่นั้น ย่อมสามารถจะบังคับจิตให้ดิ่งลงสู่ภวังค์นั้นได้ เปรียบประดุจคนที่กระโดดจากที่สูง เมื่อร่างกายกระทบน้ำแล้วก็จะเกิดความรู้สึกหลายประการ เช่น ความเย็นของน้ำ เช่นอาการกระทบที่เกิดจากแรงกระทบดังนี้เป็นต้น บางทีจะเกิดความเจ็บปวด เกิดความรู้สึกอื่นอีกหลายอย่างขึ้นในทางร่างกาย ถ้าหากว่าไม่ได้เตรียมตัวไว้ก่อนแล้ว การตกใจก็จะเกิดขึ้น อาจจะถึงกับเอาศีรษะไปชนพื้นห้องน้ำคอหักตายก็ได้ ดังนี้ เมื่อเจ้ามีสติควบคุมจิตอยู่ ครั้นกระโดดน้ำลงไปเมื่อกระทบพื้นน้ำและจมลงสู่พื้นน้ำแล้ว เจ้าก็อาจจะงอตัวกลับขึ้นมาได้โดยเร็ว ก็เปรียบประดุจกับที่เจ้าทำจิตเช้าสู่สมาธิแล้วจิตตกภวังศ์นั้น ถ้าจิตของเจ้ามีสติควบคุมอยู่แล้วการตกภวังค์ก็ย่อมจะเป็นประโยชน์อย่งยิ่งใหญ่คือไม่ทำให้เจ้ากระทบซึ่งความเสียหาย อาจจะทำให้จิตดิ่งลงสู่สมาธิอันแนบแน่นได้ด้วย คนที่ทำสมาธิโดยขาดสตินั้น โดยมากเมื่อถึงขั้นจิตตกภวังค์แล้ว ธรรมเป็นเหตุให้จิตตก หมายความว่ากำลังแห่งจิตตกแล้วความหวาดกลัวก็เกิดขึ้น ในที่สุดก็อาจจะถึงกับเสียสติไปได้ ซึ่งเป็นการผิดจากทางที่ปฏิบัติถูกต้องจากการที่เราได้เคยซักนำและชี้แจงมาให้แก่เจ้าแล้ว ใครมีอะไรอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...