การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ความปรองดอง (ตอนที่ 1)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย telwada, 3 มกราคม 2013.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,862
    ค่าพลัง:
    +1,818
    เรียน ผู้ดูแลทุกท่าน
    บทความที่ข้าพเจ้านำมาเผยแพร่นี้ แม้จะดูเป็นเรื่องของการเมือง แต่ก็เกี่ยวข้องกับศาสนาอยู่บ้าง อีกทั้งยังเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนทั้งหลายจะได้มีความรู้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับ ประชาธิปไตย และ รัฐธรรมนูญ ได้ดีขึ้น ดังนั้น ข้าพเจ้า จึงขออนุญาต เผยแพร่ บทความจำนวน ๒ ตอน เพื่อประเทศชาติ และประชาชน แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะอนุเคราะห์ว่า ควรเผยแพร่หรือลงในบอร์ดได้กี่วัน
    ขอบคุณขอรับ
    การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ความปรองดอง (ตอนที่ ๑)
    ประเทศไทย มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมา ก็ล้มลุกคลุกคลานกันมาโดยตลอด เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มีการสูญเสียในด้านต่างๆหลายครั้งหลายหน มีการปฏิวัติรัฐประหารหลายครั้งหลายหน เปลี่ยนรัฐธรรมนูญหรือจะเรียกว่า ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งกันเป็นธรรมเนียมของการปฏิวัติ อยู่บ่อยครั้งหรือทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร
    รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแบบแผนในการปกครองประเทศ ฉบับหลังสุด ก็คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ อันได้ผ่านการรับรองและเห็นชอบจากประชาชนโดยการทำประชามติมาแล้ว แต่หลายๆฝ่ายที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน ก็มักจะกล่าวอ้างว่า รัฐธรรมนูญ ฉบับดังกล่าว ไม่เป็นประชาธิปไตยบ้าง เขียนหรือร่างขึ้นมาโดยพวกเผด็จการบ้าง ตามแต่ความคิด ตามแต่ความรู้ที่ไม่จริง หรืออาจจะกล่าวอ้างออกมาเพื่อเป็นการหลอกประชาชนที่ไม่รู้ให้เกิดความหลงเชื่อ ซึ่งในทางที่เป็นจริงนั้น รัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่ว่าจะเขียนโดยกลุ่มบุคคลใดใดก็ตาม ก็ล้วนเป็น กฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแบบแผนในการปกครองประเทศเหมือนกันทุกฉบับ และรัฐธรรมนูญทุกฉบับก็ล้วนเป็นกฎหมายที่ตราไว้ บัญญัติไว้เพื่อ“สิทธิและเสรีภาพ ภายใต้กฎหมาย”ของประชาชนคล้ายคลึงกัน จะต่างกันก็ตรงข้อความในรัฐธรรมนูญ ที่จะมีครอบคลุม หรือให้ “สิทธิเสรีภาพ ฯ”กับประชาชนได้มากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น
    รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดที่บัญญัติให้ประชาชนทุกคน มีสิทธิและเสรีภาพภายใต้กฎหมาย อย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ประชาชนสามารถแสดงออกในสิทธิและเสรีภาพฯในด้านต่างๆโดยไม่ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพฯของผู้อื่น เพราะทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพฯ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน สิทธิและเสรีภาพฯ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันของประชาชนย่อมประกอบไปด้วย สิทธิและเสรีภาพอันเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์, สิทธิและเสรีภาพในด้านการศาสนา ,สิทธิเสรีภาพในด้านการศึกษา, สิทธิเสรีภาพในด้านการเกษตรและสหกรณ์, สิทธิเสรีภาพในด้านการอุตสาหกรรม, สิทธิเสรีภาพในด้านคมนาคม, สิทธิเสรีภาพในด้านสิทธิมนุษยชนและวัฒนธรรม, สิทธิเสรีภาพในด้านความยุติธรรมและตุลาการ, สิทธิเสรีภาพในด้านการพาณิชย์, สิทธิเสรีภาพด้านแรงงาน, สิทธิเสรีภาพในด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ, สิทธิเสรีภาพในด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม, สิทธิเสรีภาพในด้านการเมือง, สิทธิเสรีภาพในด้านการท่องเที่ยวและกีฬา, สิทธิเสรีภาพในด้านเศรษฐกิจ, สิทธิเสรีภาพในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม, สิทธิเสรีภาพในด้านการต่างประเทศ, สิทธิเสรีภาพของบุคคลและครอบครัว, สิทธิเสรีภาพของเหล่านักการเมือง และหรือผู้บริหารประเทศ, สิทธิเสรีภาพด้านองค์กรอิสระ, สิทธิเสรีภาพในด้านการเงินและการคลัง, สิทธิเสรีภาพในระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ, สิทธิเสรีภาพด้านการทหาร ความมั่นคง และ ป้องกันราชอาณาจักร
    การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ก็มีบัญญัติไว้ ถ้าหากเหล่าบรรดาผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ยึดถือและทำตามบทบัญญัติ ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐ ก็ย่อมจะกระทำได้ โดยไม่ต้องทำให้เกิดความวุ่นวายขัดแย้ง หรือสูญเสียในทุกด้านได้อย่างราบรื่นอยู่แล้ว และสามารถกระทำได้ โดยไม่ต้องไปหลอกประชาชนที่ไม่รู้ให้หลงเชื่อด้วยข้ออ้างต่างๆ เพียงเพื่อหวังจะใช้ระบอบประชาธิปไตยบังหน้า ในการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ทุกท่านก็รู้อยู่ว่ามีความขัดแย้งกันอย่างมากเพราะความโลภความโกรธความหลง ในลาภ ยศ สรรเสริญ จนเกินความพอดี ก็ยังจะดันทุรังพยายามจะสร้างความขัดแย้ง เพื่อให้เกิดความสูญเสียในทุกด้าน แล้วความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ประเทศชาติกำลังเจริญก้าวหน้า กำลังจะเป็นหนึ่งในประชาคมอาเชี่ยน พวกผู้มีอำนาจหน้าที่ กลับไม่คิดถึงประชาชน พยายามจะใช้ประชาชนมาเป็นเครื่องมืออ้างว่าเป็นประชาธิปไตยเสียงข้างมาก จงหยุดกันเถิด จงสนใจประเทศชาติ จงสนใจความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีเถิด ประชาชนอีกจำนวนมากที่ยังรอรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมาช่วยแก้ไขให้พวกเขาได้อยู่ดีกินดีมีสุข มีงานทำ มีเงินใช้จ่ายอย่างพอเพียงพอดี ฯลฯ ดังนั้นจะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็อย่าทำให้เกิดความสูญเสียในด้านต่างๆ ความขัดแย้งต่างๆก็ย่อมไม่เกิดขึ้น

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
    ๒๘ ธ.ค.๒๕๕๕
     

แชร์หน้านี้

Loading...