การให้อามิสทานหรือวัตถุทานมีสองลักษณะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NUI, 13 พฤษภาคม 2008.

  1. NUI

    NUI เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    389
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +983
    ในสังคมไทยพุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญสุนทานกัน ตามวัดที่มีงานบุญต่างๆจะมีผู้คนไปทำบุญสุนทานกันมากมาย แต่ขณะเดียวกันผู้ที่ไปทำบุญนั้นก็มีจิตในการไปร่วมงานบุญต่างกันไป ตามความคิดตามเจตนาตามความรู้หรือทำตามๆกันไปก็ตาม เป็นไปด้วยความเข้าใจในการทำบุญให้ทานบ้างไม่เข้าใจในเรื่องการทำบุญให้ทานบ้าง ว่าทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องการทำบุญให้ทานนั้นเพื่ออะไร มีจุดประสงค์อย่างไรในการที่ให้ทำทาน

    หลายคนไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของการให้วัตถุทาน บางคนเอากิเลสตนไปรวมปะปนกับการให้ทาน ไม่เข้าใจว่าพระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์ให้ทานไปเพื่ออะไร ดังนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุท่านได้แจงอธิบายให้เข้าใจเรื่องการทำทาน การให้วัตถุทานนี้เป็นไปเพื่ออาสวะก็มี ,ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะก็มี

    การให้อามิสทานหรือวัตถุทานมีสองลักษณะ
    โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

    การให้ทานนั้นประกอบด้วยความพอใจยินดีในการให้ ทั้งสามเวลาคือก่อนให้ กำลังให้ และเมื่อให้แล้ว คือเมื่อคิดว่าจะให้ทานก็ต้องอิ่มอกอิ่มใจที่จะให้ เมื่อกำลังให้อยู่ก็มีความอิ่มอกอิ่มใจ และเมื่อให้ไปแล้วก็ยังอิ่มใจอยู่ นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าให้ทานดีแล้วเหมาะแล้ว

    การให้ทานที่ดีต้องมีการเลือกเฟ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของรวมทั้งเรื่องของกาลเวลาที่เหมาะสม ถ้าเราไม่เลือกเรื่องเวลาแล้วมันจะประดังกันเข้ามา คนรับจะเอาไปเททิ้งได้เมื่อของนั้นล้นเหลือเกินและเสียแล้วไม่เป็นประโยชน์ อย่างการทำบุญทำทานของเราบางโอกาสเหลือมากจนไม่รู้จะเอาไปไหน อย่างนี้มันผิดเวลา ควรทำให้ถูกเวลา

    มีคนเล่าให้ฟังว่าที่ไปฮัจยีกันที่เมืองเมกกะนั้น เขามีระเบียบธรรมเนียมให้ทานเหมือนกัน คือแต่ละคนที่ไปที่นั่นจะต้องบริจาคเงินค่าแพะหนึ่งตัวบ้างสองตัวบ้าง แล้วฆ่าแพะนั้นไว้เป็นทานเพื่อว่าคนไม่มีเงินได้อาศัยเป็นอาหาร แต่ก็มีคนบริจาคมากเกินควรแพะที่ถูกฆ่านี้กองเป็นภูเขาแล้วไม่มีใครกินหวาดไหว แพะเลยเน่าเหม็นคุ้งไปหมด

    นี่เป็นการให้ทานผิดเวลาผิดสถานที่มักจะมีด้วยกันทุกศาสนา เพราะว่าศรัทธามากเกินไป ฉะนั้นจึงต้องเลือกสิ่งของเลือกเวลา เลือกสถานการณ์ให้ดี เลือกอะไร เลือกให้ดี ไม่งั้นจะเป็นเหมือนตักน้ำใส่ตุ่มเมื่อน้ำเต็มตุ่มแล้วก็ยังพากันตักน้ำใส่ตุ่มนั้นอีก จนน้ำล้นแล้วล้นอีกไม่เป็นประโยชน์ สูญเสียน้ำไปโดยไม่มีประโยชน์ใดๆ ทั้งที่ตุ่มอื่นๆก็ยังว่างสามารถใส่น้ำได้ก็ไม่ตักใส่ตุ่มที่ว่างนั้น เพราะชอบตุ่มไหนก็ตักใส่อยู่ตุ่มเดียวจนน้ำล้นแล้วล้นอีก

    ทีนี้เราต้องเลือกให้เป็น เลือกให้ที่ที่มีประโยชน์กว้างขวาง ดังนั้นมันจึงเกิดมีการให้ที่เป็นสังฆทาน(คือการให้ส่วนรวม แก่คณะสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เป็นต้น) และ ปุคคลิกทาน(คือการให้แก่คนที่เรารัก เราชอบเป็นคนๆไป เป็นต้น) ส่วนการให้สังฆทานนั้นมีอานิสงส์มากกว่าปุคคลิกทาน

    ทีนี้ขอเตือนว่าให้ระวังให้ดีอีกอย่างหนึ่งคือการให้อามิสทานหรือวัตถุทานอย่างนี้มันเป็นไปเพื่ออาสวะก็มี ไม่เป็นไปเพื่ออาสาวะก็มี

    การให้อามิสทานหรือวัตถุทานมีสองลักษณะดังนี้

    ๑. คือการให้ทานที่เป็นไปเพื่ออาสวะ นั้นมันเพิ่มกิเลสเป็นเจตนาค้ากำไรเกินควร การทำบุญให้ทานแล้วจบแล้วจบเล่า ขอผลเป็นร้อยเป็นพันเท่าคล้ายกับว่าทำบุญหนึ่งบาทให้ได้วิมานหนึ่งหลัง นี่เป็นทานที่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือเพิ่มความเห็นแก่ตัวให้มีมากขึ้น

    เขาไม่ได้ตำหนิว่าผิดอะไรนัก แต่ระบุให้เห็นว่านี้เป็นอาสวัฏฐานียะ คือเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสแห่งอาสวะที่มากออกไป ทานชนิดนี้เขาเรียกว่าเป็นไปเพื่ออาสวะ

    ๒. ทานที่ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือให้มันหมดไปทำลายความยึดมั่นถือมั่น ทำลายความเห็นแก่ตัว ไม่บริจาคหรือทำบุญด้วยการหวังผลตอบแทนในทางที่เป็นไปซึ่งกิเลส แต่บริจาคหรือทำบุญไปโดยคิดว่าให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยเราไม่ต้องการอะไรตอบแทน ให้ทานไปเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัวของเรา ไม่ต้องการผลตอบแทนร้อยเท่าพันเท่า

    การทำบุญค้ากำไรเกินควรนั่นแหละคือการเวียนว่ายตายเกิดไปในวัฏสงสารอีก แล้วก็เป็นอุปธิคือของหนักจะต้องแบกเอาไป รวยกว่าเก่าต้องแบกเอาไปมากกว่าเก่า รวยมากกิเลสก็มากหวงห่วงทรัพย์มากแบกภาระมาก มันจึงเป็นของหนัก

    แต่ถ้าให้ทานโดยไม่เอาอะไรตอบแทนทำนองนี้มันเป็นของเบา เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นทานที่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน การให้ทานที่เป็นไปเพื่อละกิเลส เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ต้องเบา อยากให้ทานชนิดไหนก็เลือกเอาเองแล้วกัน​
     

แชร์หน้านี้

Loading...