กาแฟมีผลต่อความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย jchai4, 11 สิงหาคม 2012.

  1. jchai4

    jchai4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    212
    ค่าพลัง:
    +1,075
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=740><TBODY><TR><TD>วิธีป้องกันความดันเลือดสูงได้แก่
    .
    (1). ควบคุมน้ำหนัก-รอบเอว (ผู้ชายไม่เกิน 90 ซม., ผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม.) > น้ำหนักเกิน-อ้วนเพิ่มเสี่ยง 2-6 เท่า
    .
    (2). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ อย่างน้อย 10 นาที/ครั้ง, สะสมเวลาให้ได้อย่างน้อย 30-60 นาที/วัน > ลดเสี่ยง 20-50% และลดความดันได้ 4-9 หน่วย (มม.ปรอท)
    .
    (3). ลดเกลือ (ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา/วัน = 2,400 มก./วัน) ซึ่งพบมากในเนื้อสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารซื้อมักจะมีเกลือมากกว่าอาหารทำเอง ฝึกกินอาหารที่ปรุงแล้วโดยไม่เติมน้ำปลา-เกลือ > ลดความดันได้ 2-8 หน่วย (มม.ปรอท)
    .
    (4). ไม่ดื่มหนัก (แอลกอฮอล์)
    .
    (5). กินอาหารต้านความดันเลือดสูง (DASH) ไดแก่ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ฯลฯ ถั่่ว ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล นมไขมันต่ำ ปลาที่ไม่ผ่านการทอด นัท (nuts = เมล็ดพืชเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก), ลดไขมันอิ่มตัว (เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู ฯลฯ), ลดไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเบเกอรี คุกกี้ เค้ก ขนมใส่ถุง > ลดความดันได้มากจนถึง 14 หน่วย (มม.ปรอท)
    .
    (6). ไม่สูบบุหรี่-ไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบ (ควันบุหรี่มือสอง) เข้าไป > นิโคตินในบุหรี่เพิ่มความดันได้อย่างน้อย 10 หน่วย (มม.ปรอท) นาน 1 ชั่วโมง
    .
    (7). หลีกเลี่ยงกาเฟอีนขนาดสูง (เกิน 200 มก./วัน) > ผลของกาเฟอีนในคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน
    .
    แนะนำให้วัดความดันเลือดก่อนได้รับสารกาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม ฯลฯ แล้ววัดซ้ำก่อน 30 นาที (เช่น 25 นาที ฯลฯ), ถ้าความดันเลือดเพิ่ม 5-10 หน่วย (มม.ปรอท) ขึ้นไป นับเป็นคนที่ไวต่อกาเฟอีน ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการลดปริมาณกาเฟอีนให้น้อยลง
    .
    (8). ถ้าเป็นความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือโรคไตเสื่อม-ไตวาย > ควรรักษาให้ต่อเนื่อง เพราะจะช่วยลดเสี่ยงโรคแทรกซ้อนได้มาก, คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูงและต่อมาความดันเลือดลดลง ไม่ได้ใช้ยา ควรไปตรวจตามที่หมอนัด เนื่องจากจะได้ปรับยาใหม่ได้ทันทีที่ความดันเลือดกลับเพิ่มขึ้น

    ที่มา บ้านสุขภาพ บล็อกป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ+ภาษาอังกฤษ+ต่างประเทศครับ / นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

    **

    การดื่มกาแฟกับการงีบหลับกลางวัน อย่างไหนดีกว่ากัน

    คนทั่วโลกมักจะดื่มกาแฟ บางท่านดื่มจนเป็นนิสัย บางท่านดื่มแก้ง่วง บางท่านดื่มเพราะเชื่อจะทำให้ความจำดีขึ้น จึงได้มีการศึกษาโดย Sara Mednick, Ph.D., and colleagues at the University of California, San Diego. โดยศึกษาเรื่องการเรียนรู้ ความจำและทักษะของการทำงาน โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้ดื่มกาแฟ และกลุ่มที่ได้หลับกลางวัน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้หลับกลางวันจะมีการเรียนรู้ ความจำดีกว่ากลุ่มที่ดื่มกาแฟอย่างชัดเจน
    ข้อสรุป
    ผู้วิจัยเชื่อว่าการนอนหลับอย่างเพียงพอ(วันละ8 ชม)จะทำให้ประสิทธิภาพของร่างกายดีขึ้น การนอนไม่พอจะทำให้เกิดการขาดการนอนซึ่งจะทำให้ง่วง หากเราแก้ไขโดยการดื่มกาแฟก็จะทำให้ประสิทธิ์ภาพของร่างกายลดลง และหากดื่มมากจะกระทบกับการนอนกลางคืนทำให้หลับไม่เต็มที่ซึ่งจะส่งผลถึงเวลากลางวัน และหากเราดื่มกาแฟก็จะเกิดวงจรไม่สิ้นสุด ดังนั้นควรจะเริ่มต้นนอนอย่างเพียงพอ
    ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/environment/coffee/index.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...