กุศลธรรมทั้งปวง มีความรับผิดชอบเป็นมูล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 28 กันยายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    ปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗



    [๓๗๘] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
    ว่า

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า ฯ"


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    "ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้ามีอยู่ ฯ"



    พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่าง-*หนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้าคืออะไร ฯ


    [๓๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า คือ ความไม่ประมาท ฯ


    ดูกรมหาบพิตร รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง
    ย่อมกล่าวกันว่า เป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นของใหญ่ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ดูกรมหาบพิตรธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์
    ภพนี้ และประโยชน์ภพหน้า คือความไม่ประมาท
    ก็มีอุปไมยฉันนั้น ฯ


    [๓๘๐] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า


    บุคคลปรารถนาอยู่ซึ่งอายุ ความไม่มีโรค วรรณะ สวรรค์
    ความเกิดในตระกูลสูง และความยินดีอันโอฬารต่อๆ ไป
    พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    ความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาท
    ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และ
    ประโยชน์ภพหน้า เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ ผู้มีปัญญา
    จึงได้นามว่า "บัณฑิต" ฯ



    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2764&Z=2790&pagebreak=0

    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    อัปปมาทสูตร


    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้าก็ดี๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ดี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯ


    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=567&Z=614&pagebreak=0




    พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์

    [๘๖๓] ความประมาท เป็นไฉน

    ความปล่อยจิตไป ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไป ในกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความกระทำโดยไม่เคารพ ความกระทำโดยไม่ติดต่อ ความกระทำไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความ
    ไม่ตั้งใจจริง ความไม่ประกอบเนืองๆ
    ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลายความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้
    นี้เรียกว่า ความประมาท

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=11910&Z=12173&pagebreak=0
     

แชร์หน้านี้

Loading...