กู้วิกฤติทะเลกลืนแผ่นดิน

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 พฤษภาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    [​IMG]


    "บ้านขุนสมุทรจีน"อีกหนึ่งตัวอย่าง วอนรัฐช่วยเหลือจริงจัง...

    บ้านขุนสมุทรจีน ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่อายุกว่า 500 ปี ตั้งอยู่บนแหลมขนาดเล็กที่ยื่นออกไปในทะเล ในอดีตบริเวณนี้เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าจากเรือสำเภาจีนที่สำคัญ มีการขุดพบเงินพดด้วง ไห ถ้วย ชามกระเบื้องจำนวนมาก ซึ่งนักโบราณคดีสำรวจพบว่ามีอายุอยู่ในช่วงเดียวกับวัตถุโบราณที่ขุดพบได้ในชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม

    คือในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 หรือประมาณ 500 กว่าปีก่อน อันเป็นหลักฐานยืนยันว่าหมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ สันนิษฐานกันว่าเป็นชุมชนชาวจีนอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่และมาสร้างบ้านเรือนอยู่ริมทะเล แต่ปัจจุบันทะเลได้กลืนกินผืนแผ่นดินที่ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของบ้านขุนสมุทรจีนไปแล้ว ผู้คนในหมู่บ้านจึงต้องอพยพหนีไปอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือย้ายไปอยู่ที่อื่นแทน

    ในปัจจุบันพื้นที่หมู่ที่ 8, 9, 10 และ 11 ตำบลแหลมฟ้าผ่า (บ้านขุนสมุทรจีน) ต้องประสบปัญหาการพังทลายของชายฝั่งทะเลบริเวณด้านอ่าวไทยมาเป็นเวลาร่วม 20 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ 9 ตำบลแหลมฟ้าผ่า มีเนื้อที่เหลือไม่ถึง 10 ตารางกิโลเมตร หากภาครัฐไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ไม่นานก็คงไม่มีพื้นที่เหลือให้กับลูกหลานได้พักอาศัย และหากปล่อยให้มีการพังทลายของชายฝั่งไปเรื่อย ๆ เหมือนในปัจจุบัน จะทำให้พื้นที่ชั้นในต้องถูกกระแสคลื่นกลืนไปจนหมดอย่างแน่นอน

    รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลประมาณ 2,667 กิโลเมตร ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พบว่าเกิดขึ้นในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งด้านอ่าวไทย และอันดามัน ทั้ง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จากจังหวัดตราด จนถึงบริเวณชายฝั่งทะเลชายแดนภาคใต้จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้น 1,653 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยที่พบการกัดเซาะขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 180.9 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะประมาณ 56,531 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และการถูกกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น 304.1 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะประมาณ 38,012 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

    สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน พบการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ขั้นรุนแรงทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ 7,187 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และการกัดเซาะขั้นปานกลางทั้งสิ้น 90.5กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ถูกกัดเซาะประมาณ 11,312 ไร่ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาหากพิจารณาพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศถูกกัดเซาะไปทั้งสิ้น 113,042 ไร่ ครอบคลุมชายฝั่งทะเลยาวทั้งสิ้น599กิโลเมตรหรือคิดเป็น21%ของชายยฝั่งทะเลของประเทศทั้งหมดจะพบว่าในช่วง30ปีที่ผ่านมาเราประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลพบได้ทั่วไปทั้ง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล คิดเป็นพื้นที่ 113,042 ไร่

    หากคิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากกว่า1แสนล้านบาทพื้นที่ชายฝั่งทะเลช่วงอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จนถึงปากแม่น้ำแม่กลองเป็นพื้นที่อ่อนไหว และพบว่ามีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงที่สุดของประเทศประมาณ 35 เมตรต่อปีชายฝั่งทะเลบริเวณนี้ถูกกัดเซาะทั้งสิ้นเป็นระยะทาง 82 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำกัดเซาะไปแล้วทั้งสิ้น 18,594 ไร่ ในช่วง30ปีที่ผ่านมา โดยพื้นที่บางแห่งได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะไปแล้วประมาณ 1 กิโลเมตร จนชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านเรือนหนีเขยิบเข้ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้งผนวกกับปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคตอันจะทำให้อัตราการกัดเซาะชายฝั่งในบางพื้นที่อาจจะสูงถึง 65 เมตรต่อปีในอีก 20 ปีข้างหน้า

    รศ.ดร.ธนวัฒน์ เปิดเผยอีกว่า ดังนั้นหากเราไม่มีมาตรการณ์ใด ๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พื้นที่ชายฝั่งทะเลของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงจะถูกกัดเซาะหายเพิ่มขึ้นอีก 1.3 กิโลเมตรในอีก 20 ปี คิดเป็นพื้นที่ ประมาณ 47,875 ไร่ ซึ่งปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่นี้จะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ
     

แชร์หน้านี้

Loading...