ขอความคิดเห็นครับ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พฤติจิต, 1 มกราคม 2005.

  1. พฤติจิต

    พฤติจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +230
    (evil2)(b-smile) (b-smile)
    การใช้ดนตรีบรรเลิง ในการกรรมฐาน มีข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดอย่างไรบ้างครับ ดีหรือไม่ดีอย่างไรช่วยกันออกความห็นนะครับ ..........เคารพทุกความคิดเห็นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มกราคม 2005
  2. Anonymous

    Anonymous Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +35
    ใช้ดนตรีบรรเลงประกอบการฝึกกรรมฐาน? แล้วจิตอยู่ที่ไหนล่ะครับ
    จับอยู่ที่ลมหายใจ ดวงแก้วกสิณหรือที่เสียงดนตรี?
    จริงๆแล้วมันก็คงจะไม่มีประโยชน์อะไรเพราะหากจิตดิ่งลงเข้าสู่ฌาน
    ผัสสะทางกายทั้งหมดก็ต้องถูกตัดออกไปโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
    หูจะดับ ลมหายใจไม่มี ร่างกายไม่มี แล้วอย่างนี้เสียงดนตรีจะมีประโยชน์อะไรล่ะ
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    1.ให้จิตผ่อนคลาย
    2.เกาะดนตรี เสียงเข้าถึงสามาธิ ได้ ระดับหนึ่ง

    นักวิทยาศาสตร์ วิจัยมาแล้ว คลื่นเสียง บางคลื่น ช่วยการเจริญสมาธิด้วย

    นักจิตวิทยา การเลือกชนิดของดนตรี เนื้อร้อง
    และจังหวะของดนตรี ให้เหมาะสมกับสภาพของร่างกายและจิตใจ เช่น คนที่มีอารมณ์โกรธ อารมณ์ฟุ้งซ่าน ก็ให้ฟังดนตรีเบาๆจะช่วยทำให้อารณ์เย็นและสงบลงได้นะ
    หรือในทางกลับกัน คนไข้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าไม่อยากทำอะไร ดนตรีที่มีจังหวะค่อนข้างกระตุ้น จะทำให้คนไข้อยากลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ได้
     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    การบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการ...ดนตรีบำบัด

    ดนตรีบำบัด คือ การใช้เสียงดนตรีและส่วนประกอบอื่นๆ ทางดนตรีมาใช้ในการบำบัดรักษาโรคซึ่งกระทำโดยนักดนตรีบำบัดที่ได้รับการรับรองเพื่อส่งเสริม รักษาและฟื้นฟูสุขภาพกายและจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วย ซึ่งนักดนตรีบำบัดจะนำวิธีการรักษาแบบใดมาใช้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการเลือกของตัวผู้ป่วยเอง

    การรักษาโดยวิธีการดนตรีบำบัดนี้เกิดขึ้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 20 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีการนำดนตรีไปแสดงให้กับเหล่าทหารที่ได้รับบาดเจ็บทั้งทางกายและจิตใจ ผลปรากฏว่า ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อเสียงดนตรีของผู้ป่วยเหล่านี้เป็นไปในทางที่ดี ต่อจากนั้นมาในปี พ.ศ.2490-2492 มหาวิทยาลัยมิชิแกนก็เปิดสอนสาขาวิชาดนตรีบำบัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2541 ก็เกิดสมาคมดนตรีบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา(AMTA) ขึ้น ซึ่งเป็นการรวมตัวกันระหว่างสมาคมนักดนตรีบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์ดนตรีบำบัดโลก

    เทคนิควิธีการสำหรับการบำบัดนั้น เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ที่ใช้ มักเป็น กีตาร์ ไวโอลีน เซลโล คีย์บอร์ด คิวคอร์ด ขลุ่ย และเสียงที่ใช้ในการร้องเพลง โดยวิธีการบำบัดนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับการแนะนำของนักดนตรีบำบัดและการตัดสินใจของผู้รับการบำบัดว่าจะเลือกใช้วิธีการใด ซึ่งสามารถแบ่งโดยทั่วไปได้เป็น

    1.การสร้างมโนภาพไปกับดนตรี (Guided Imagery and Music หรือ GIM) วิธีการนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก ซึ่งมีวิธีการบำบัดโดยการใช้ดนตรีเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างมโนภาพขึ้นในจิตใจของผู้ป่วย เป็นวิธีการบำบัดที่มีพื้นฐานความเชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรานั้นสามารถเข้าใจปัญหาและสามารถเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆได้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยนั้นค้นพบตนเองมากกว่าที่จะมุ่งรักษาอาการป่วย

    2.การบำบัดโดยการร่วมแต่งเพลง ซึ่งวิธีการนี้สามารถช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างนักดนตรีบำบัดกับผู้ป่วยได้โดยการใช้ถ้วยคำในดนตรีเป็นสื่อกลาง

    3.การบำบัดโดยการร้องเพลงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลักการของวิธีการนี้เป็นการใช้เสียงดนตรีในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยยอมเปิดเผยความคิดและความรู้สึกส่วนลึกออกมา เป็นวิธีการที่ใช้ได้ดีกับวัยรุ่นและผู้สูงอายุ

    4.COS หรือ คลินิกบำบัดออฟ ชัวเวิร์ก เป็นวิธีการที่ให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย การทำตามจังหวะ การเปล่งเสียง การเรียนภาษา การแสดงออกทางด้านดนตรีระหว่างกลุ่มผู้ร่วมเข้ารับการบำบัดด้วยกันเอง โดยมีรูปแบบการรักษาง่ายๆ คือ การให้ผู้ป่วยร้องเพลงง่ายๆ ร้องเพลงซ้ำทำนองวนไปวนมาหลายๆรอบ การอ่านบทกวี การกล่าวคำพูดที่ไม่มีความหมาย การเป็นลูกคู่ร้องรับสั้นๆ
     
  5. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ความเป็นมาของดนตรีบำบัด

    ดนตรีมีบทบาทในประวัติศาสตร์ทางการแพทย์มาตั้งแต่ยุคอริสโตเติลและเพลโต้ ในสมัยสงครามโลกทั้งสองครั้ง นักดนตรีทั้งอาชีพและอาสาสมัครมีส่วนช่วยเหลือทหารผ่านศึกอย่างมาก จนกระทั่งแพทย์ที่ให้การดูแลทหารผ่านศึกได้ร้องขอให้ว่าจ้างนักดนตรี มาช่วยในการรักษาฟื้นฟูสภาพกายและใจของเหล่าทหารผ่านศึก หลังจากนั้นดนตรีบำบัดได้มีความก้าวหน้าต่อมาจนพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษา ครั้งแรกที่ Michigan State University เมื่อปี ค.ศ. 1944 และได้มีการก่อตั้ง American Music Therapy Association ในปี 1998

    ดนตรีบำบัดคืออะไร
    ดนตรีบำบัด คือ การนำดนตรี และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีมาใช้ประกอบ เพื่อการสร้างแรงจูงใจให้เกิดผลในด้านต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับดนตรี ตัวอย่างเช่น นักดนตรีบำบัดอาจใช้ความชำนาญส่วนตัวในฐานะนักดนตรี แพทย์ นักวิจัย เพื่อสร้างสรรทักษะ และการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้ กายภาพ การสื่อสาร สังคม และอารมณ์ของผู้ที่เข้ารับการบำบัด

    ใครบ้างที่สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้
    นอกจากเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางกาย ใจ หรือ พัฒนาการและการเรียนรู้จะได้ประโยชน์แล้ว คนทั่วไปสามารถใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความเครียดได้ เช่น การตีกลอง หรือเครื่องเคาะจังหวะ การฝึกเทคนิคการผ่อนคลายระหว่างการทำดนตรีบำบัด การออกกำลังกายพร้อมกับดนตรีบำบัด หรือแม้แต่การคลอดบุตรโดยใช้ดนตรีบำบัดร่วมด้วย


    ดนตรี ช่วยกระตุ้นพัฒนาการในเด็กปกติได้โดยการผ่อนคลายความตึงเครียด เพิ่มความสุขและความมั่นใจ เตรียมเด็กให้พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ โดยการฝึกประสาทหูให้รับฟังเสียงที่สูงต่ำ เรียนรู้การสร้างจินตนาการตามเสียงและจังหวะเพลง เรียนรู้การฟัง และการฝึกการทำความเข้าใจจากการสื่อสารกับครู ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง การแสดงออกทางสีหน้าร่วมไปกับการเรียนรู้การเข้าสังคมและการทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมชั้น เรียนรู้การฝึกความอดทนและรอคอยคิวของตนเอง
    รู้จักการควบคุมอารมณ์ที่เหมาะสมและรู้จักการปลดปล่อย และระบายอารมณ์ เพื่อช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • music.jpeg
      music.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      9.2 KB
      เปิดดู:
      198
  6. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ดนตรีบำบัด ขจัดความเครียด


    พญ.กอบกาญจน์ ไพบูลย์ศิลป
    อ.ชญานิศา อินทรา


    " ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก" คำกล่าวนี้เห็นจะจริงในกลุ่มคนที่รักเสียงเพลงเป็นชีวิตจิตใจ และเชื่อมั่นว่าเสียงเพลงนั้นสามารถที่จะขัดเกลาอารมณ์ของผู้ที่ได้สัมผัสบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็มีเพียงบางส่วนที่รู้ว่าดนตรีนั้นสามารถบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งทางกายและทางจิตได้ สิ่งนั้นเราเรียกว่า ดนตรีบำบัด


    ดนตรีบำบัดอาจจะเป็นเรื่องใหม่ในสังคม ด้วยความที่ดนตรี เป็นศิลปะที่ง่ายต่อการเข้าถึง นอกจากดนตรีจะช่วยให้เรามีความสุข มีอารมณ์ดีแล้วในทางการแพทย์ยังพบว่าสามารถนำดนตรีมาใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ประการ

    1. ระดับเสียง
    2. ระดับความดัง
    3. ความเร็วของจังหวะ


    องค์ประกอบทั้ง 3 มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางกายและจิตใจของมนุษย์ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันโรค เกิดสารลดความเจ็บปวด เกิดพลังกาย และพลังใจในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้


    การแพทย์สมัยใหม่เชื่อว่ามนุษย์สามารถรับรู้เสียงดนตรีได้ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์มารดาได้ ดนตรีช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย และทำให้ทารกที่คลอดออกมาสามารถทานนมแม่ได้มากกว่าเด็กที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดนตรี หมายถึงพัฒนาการการเรียนรู้ย่อมมากกว่าด้วย


    ในเด็กวัย 4-7 ขวบ จะมีความสามารถตอบสนองต่อเสียงดนตรีได้ดี เพราะอยู่ในช่วงที่ประสาทหูกำลังพัฒนามากที่สุดคุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมดนตรีในเด็กวัยนี้บ้าง อย่างที่เราเห็นประเทศที่เจริญแล้วนิยมให้เด็กในช่วงอายุนี้ได้มีโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับดนตรี เพราะเชื่อว่าจะทำให้เด็กมีความฉลาดทั้งสติปัญญาและอารมณ์ทำให้เป็นคนที่มีสุขภาพจิตที่ดี

    ความเป็นมาของดนตรีบำบัด


    ดนตรีบำบัด คือการที่นำเอาดนตรีไปใช้ในการบำบัดทั้งทางกาย และจิตใจ เป็นการใช้เสียงดนตรีสื่อสารกันแทนภาษาพูด กับผู้ที่สูญเสียภาวะการรับรู้ ทางกาย ทางจิต เป็นการประยุกต์ดนตรีไปใช้ในการบำบัดและปรับพฤติกรรมของผู้ถูกบำบัดให้อยู่ในสภาวะปรกติ ผ่อนคลาย ซึ่งดนตรีบำบัดอยู่ร่วมกับมนุษย์มานานแล้ว เช่น ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆมักจะเห็นมีการนำดนตรีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมนั้นๆ และยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนที่รับรู้อยู่ในสภาวะของจิตที่มุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดสมาธิ เช่น การใช้ดนตรีในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น


    ดนตรีทุกชนิดเป็นดนตรีบำบัดทั้งนั้นอยู่ที่ว่าพื้นฐานและความชมชอบดนตรีในรูปแบบต่างกันไป เช่น ดนตรีคลาสสิก ดนตรีร็อก ดนตรีพื้นถิ่น เป็นต้น ซึงก็ล้วนแล้วแต่ที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความสุข


    ประเภทของดนตรีบำบัดสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทดังนี้


    1. ดนตรีบำบัดทางจิตใจ เสียงดนตรีมีพลัง มีอำนาจ หรือเสียงเพื่อกำจัดความกลัว ส่วนมากมนุษย์ใช้เสียงดังๆ ก็กลับไปสู่การสวดมนต์ ก็ถือว่าใช้เสียงนั้นในการบำบัดจิตใจ


    2.ดนตรีสำหรับการบำบัดทางกาย พลังงานของเสียงมีอานุภาพให้เกิดการเคลื่อนไหวจิตและกาย ในส่วนที่เป็นกายนั้น หัวใจจะเต้นแรง เลือดสูบฉีดแรงมีความรู้สึกอยากปลดปล่อย เช่น ดนตรีสำหรับการเต้นรำ ดนตรีสำหรับการออกกำลังกาย

    สาเหตุที่ทำให้ดนตรีเข้าถึงมนุษย์ได้ง่าย

    มนุษย์มีความผูกพันกับดนตรีมาตั้งแต่เกิดแล้ว นั้นก็คือจังหวะ จังหวะเกิดจากการที่หัวใจและชีพจรเต้น การสูบฉีดเลือด จังหวะและเสียงดนตรี มีผลต่อจิตใจ และสมองเป็นอย่างมากทั้งสามารถทำให้เกิดความสงบ ความมุ่งมั่น ความฮึกเหิม คลายเหงา อบอุ่น และ สามารถบันดาลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ต่างๆได้ดี คนตรีมาจากความรู้สึก เพลงแต่ละเพลงก็สื่ออารมณ์แตกต่างกันไป เพลงใดที่เราฟังแล้วให้ความรู้สึกถึงอารมณ์ นั้นแสดงว่าเพลงนั้นมีความเร็วในระดับความเร็วเท่ากับชีพจรของตัวผู้ฟัง ในขณะเดียวกันระดับของเสียงดนตรีนั้นเป็นตัวสร้างอารมณ์แก่ผู้ฟังด้วย


    นั่นก็คือการที่เราฟังเพลงที่เร็วก็จะทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเร็วจะทำให้รู้สึกเหนื่อยเช่น เพลงร็อก และในทางกลับกันการฟังเพลงช้า เช่น เพลงคลาสสิกที่มีจังหวะมาตรฐานก็จะทำให้การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอทำให้เกิดการผ่อนคลาย และความถี่ของเสียงดนตรีนั้นก็ยังทำให้ มีผลในการกระตุ้นคลื่นสมองอีกด้วย เมื่อความถี่ของเสียงตรงกันกับคลื่นสมองแล้วก็จะทำให้ดนตรีนั้นเข้าถึงอารมณ์ขณะนั้นได้ดีเพราะสามารถจูนคลื่นให้ตรงกัน


    นี่ก็คือเหตุ ผลที่ว่า ทำไมคนที่รู้สึกเศร้าจึงฟังเพลงที่ช้าๆ ซึ่งในการที่จูนคลื่นสมองของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป


    ในทางดนตรีเพลงที่มีจังหวะช้า เรียกว่า MINOR SCALE ส่วนเพลงที่มีจังหวะเร็วนั้นเรียกว่า MAJOR SCALE


    เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่เวลาร้องเพลงเสร็จแล้วทำไมยิ้มได้ ทั้งที่เพลงนั้นก็ไม่ใช่เพลงที่เพราะที่สุดสักหน่อย หรือได้ยินจังหวะนี้ ชอบมากเลยอดที่จะขยับเท้าและร้องตามไม่ได้


    นั่นเป็นเพราะดนตรีกำลังเข้าถึงคุณ และคุณก็กำลังได้รับการบำบัดอยู่โดยที่คุณไม่รู้ตัว แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่หรือ
     
  7. พฤติจิต

    พฤติจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +230
    ครับผมเป็นลักษณะการผ่อนคลายเสียมากกว่า จะเอาอารมณ์ไปเกาะที่ดนตรีคงไม่ได้ คงเป็นการฟังแบบผ่านๆ แต่เมื่อไรก็ตามบังเกิดสมาธิ แค่ขณิกสมาธิ เท่านั้นแหละ เราก็สักแต่ได้ยิน คือจิตรู้แต่ไม่ใส่ใจ เมื่อไรเข้าปฐมฌาณ ก็จะไม่รู้เลี้ยวว่ามันเสียงอะไร ไม่มีผลอะไรเลยแต่ในขั้นตน คงได้ช่วยรีแลกซ์ แต่บางครั้งอยากให้ระวังว่าจะหลงไปกับดนตรี คือ จิตไปเกาะ ที่ดนตรี คราวนี้เตลิดเลย ไปเลย รู้ตัวอีกทีก็ ไปโน่นแล้วกว่าจะเรยกกลับมาได้จะเสียเวลาไป เปล่าๆ แต่ไงก็ตามถ้า ฟังเพื่อรีแลกซิ่งให้ผ่อนคลาย แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆช่วงแรกจะดีมากเหมือนกันครับ
     
  8. NewSaRaN

    NewSaRaN สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +1
    ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ ครับ

    ว่าง ๆ ลองแวะไปที่บอร์ดเพลงสิครับ

    เพลงเพราะ ๆ เยอะเลย
     
  9. kiatkiat

    kiatkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +825
    คุน Kamen นี่มันวิทยานิพน การบำบัด ผู้ป่วยด้วย ดนตรี ใช่ไหมครับ
    แหม พอดีเลย เพื่อนผมกำลังจะหา เพื่อนำไป เขียนเป็นวิทยานิพน เล่มใหม่พอดี เลย
    ขอบคุนจริงๆครับ ไม่ทราบว่าไป ค้นมาจากไหนครับ จะได้ไปหาอ่านต่อเอาเองอีก ทีหนึ่ง
     
  10. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    1. ใช้ gogle หา ป้อน คำว่า ดนตรีบำบัด
    2. ไปถาม แถว สวนลุม หว้ากอ พันทิพย์ ก็เยอะ
     
  11. Temper45

    Temper45 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    272
    ค่าพลัง:
    +441
    อืม มีแต่คนเก่งๆอ่ะ แล้วเรา......ไม่ได้เรื่องเลย เห้ออออออ
     
  12. กุมารน้อย

    กุมารน้อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +13
    ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ดนตรีบำบัดสามารถเข้าถึงและมีประโยชน์เฉพาะสำหรับผู้ที่ชอบดนตรีเท่านั้นซึ่งสังเกตุได้จากการที่ฟังแล้วมีความสงบใจหรือมีความสุข ไม่ใช่ว่าได้ผลกับทุกคน จึงมีศาสตร์บำบัดมากมายที่เป็นทางเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละคนครับ ท่านที่สนใจลองหา Green Music มาฟังนะครับช่วยกระตุ้นจักระและผ่อนคลายสงบอย่างมากครับ
     
  13. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,053
    กรรมฐานเป็นคนละเรื่องกับดนตรีครับ

    ศึกษาศีล 8 ก็จะชัดเจน

    มีอยู่เพียงประการเดียว ที่จะใช้ในกรรมฐานได้ คือ
    เมื่อปฏิบัติพระกรรมฐานจนได้ผลแล้ว อาจนำมาเปิด
    ฟัง พร้อมกับการทำกรรมฐานเพื่อทดสอบว่า ชนะหรือยัง
     
  14. นายดอกบัว

    นายดอกบัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +5,676
    (b-smile) ผมก็ว่านะคับ ถ้าถือศีลแปด แล้วจะทำกรรมฐาน
    โดยใช้ดนตรีได้อย่างไร(b-smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...