ขอความเมตตาจากท่านผู้รู้แนะนำบอกกล่าวเกี่ยวกับภาวะการข้ามพ้น ปุถุชน สู่ พระโสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รัตนมาลา, 25 พฤศจิกายน 2011.

  1. รัตนมาลา

    รัตนมาลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +18
    ขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ แนะนำบอกกล่าวเกี่ยวกับสภาวะการข้ามพ้น ปุถุชน สู่ พระโสดาบัน ค่ะ ....เพื่อเป็นวิทยาทานกับทุกๆท่านค่ะ
    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
     
  2. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    หลวงปู่มั่น กล่าวว่า....

    วิปัสสนาญานเกิดขึ้นหลังจากเข้าสู่ฐีติญาน ผู้ปฏิบัติยังไม่เข้าสู่ฐีติญานเป็นเพียงวิปัสสนากรรมฐาน

    วิปัสสนาญาน9 กิริยา จากญาณหนึ่งเดียว เป็นสัจจานุโลมิกญาณ
    ที่เห็นอริยสัจจ์4 ดับความยินดียินร้ายในโลก
    เห็นธรรมมในธรรม เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เกิดโพชฌงค์7 อริยสัจจ์4
    คือ กุศลธรรมเป็นมรรค คือ ศลี สมาธิ ปัญญาเป็นนิโรธดับอกุศลธรรม คือ สมุทัย ทุกข์

    ปัญญาความรู้รอบกองสังขารทั้งปวงเกิดขึ้นที่จิต เป็นจิตสังขาร เป็น อนิจจัง อนัตตา สังขารทั้งหลายดับ เกิดโครตภูญาณ น้อมจับอารมณ์พระนิพพาน
    เมื่อญาณอริยมรรคญาณสว่างแจ้งในขณะจิตนั้น พร้อมกับสังโยชน์สามดับ
    ดับสักกายะทิฏฐิ ดับพร้อมโครตภูญานในกระแสอริยมรรค

    จึงไม่มีคำว่า สังขาร ไม่มีคำว่า อนิจจัง อนัตตา ดับหมดในกระแสอริยมรรค
    ในกระแสอริยมรรคมีแต่ของเที่ยงของจริง ทุกขังไม่มีอนัตตาของสังขารก็ไม่มี มีแต่ธัมมาอนัตตา

    ดังนั้นสักกายะทิฏฐิเห็นมีกาย จึงไม่มีกระแสอริยมรรค แก่ ตาย ก็ไม่มี
    ไม่มีวิจิกิจฉา สิ้นสงสัยในทางโลกและทางพระนิพพาน
    สัลัพพตปรามาส ไม่ลูบคลำศลี เพราะเป็นอริยกันตศลี ไม่ต้องรักษา
    ไม่ต้องลูบคลำ
    สีเลนะ โภคะสัมปะทา ไม่ถือศลีเพื่อให้ได้โภคสมบัติมุ่งเป็นข้าศึกของใจ
    ทำให้ไม่พ้นโลก
    สีเลนะ สุคติง ยันติ ไม่ถือศลี เพื่อมุ่งปราถนาสวรรค์สมบัติ
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ รักษาศลี เพื่อดับกิเลสถึงพระนิพพาน
    เข้าสู่แดนอริยะ เป็นโสดาปัตติผล

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  3. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    การดับที่เป็นมรรคผลนั้น

    เท่าที่ความรู้สึกในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติ จึงจะแสดงความรู้สึกเฉพาะในด้านปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งจะบอกได้เพียงว่า เป็นความดับที่จะเกิดขึ้นให้รู้สึกอย่างหนักหน่วง ถ้าจะเปรียบการนั่งรถไปตามถนนที่ไม่เรียบ ความรู้สึกของภังคญาณ จะเหมือนกับรถที่แล่นไปตามถนนที่ขรุขระ กระดอนขึ้นกระดอนลงไปตามจังหวะ มีเวลาที่ยึดเหนี่ยวได้ทัน

    ความดับของมรรคผลนั้นเหมือนความรู้สึกตอนรถตกไปในหลุมลึก หรือเหมือนตกจากที่สูง ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะยึดเหนี่ยวสิ่งใดได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการกำหนดของโยคีจะรู้ก่อนดับ เพียงการกำหนดคำว่าพองหรือยุบเท่านั้น ไม่ทันจะลงหนอก็วูบหายไปเลย หรือลงหนอแล้วก็วูบหายไปอย่างหนักหน่วง

    อาการยังมีอีก แต่ครูอาจารย์ให้บอกได้แค่นี้ค่ะ

    * ไม่อนุญาติให้คัดลอก หรือส่งต่อ

    * คัดลอกมาจาก คู่มือวิปัสสนาจารย์ สภาวธรรมของผู้ปฏิบัติ โดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อจรัญ) วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
     
  4. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    452
    ค่าพลัง:
    +335
    พระโสดาบัน

    1.เคารพในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ด้วยปัญญา ไม่ใช่สักแต่ว่าเคารพ
    2.รักษาศีลด้วยชีวิต
    3.พิจารณา ความตายอยู่เสมอ จนชิน
    4.ถ้าบังเอิญตาย จะขอไปนิพพาน จิตรักพระนิพพานมาก
    5.ไม่ถือพวกถือพ้อง ถือสำนักนุ่นดีกว่าสำนักนี้ ไม่ถือสำนัก
    6.ไม่มองดูกิริยาคนอื่น คนจะดีจะชั่ว ไม่สนใจ สนใจแต่ตัวเอง
     
  5. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    สิเนรุสูตรที่ ๒

    ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ

    [๑๗๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาสิเนรุราชพึงถึงความสิ้นไป หมดไป เว้นก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ อย่างไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป นี้แหละมากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ตรัสรู้แล้ว ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่าที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
    จบ สูตรที่ ๑๐

    ภาวะข้ามจากปุถุชนเป็นพระอริยะก็คงเหมือนกับทำลายทุกข์ประมาณด้วยเขาสิเนรุราชให้เหลือเพียงหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว 7 ก้อน ภายในพริบตา
     
  6. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ลองอ่าน เกี่ยวกับ หลววงพ่อ ฤาษีลิงดําดูครับ ท่านสอนหมด

    ง่ายๆ ศีล5 อย่าให้ขาด ต่อให้ตาย ก็ไม่ให้ขาด ถ้าขาด ยังเป็นไม่ได้ เหมือนผม ศีลอย่าให้ขาด ขาดไปด้าน พูดตลกไร้สาระ เชื่อมั่นใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (พระอริยะสงฆ์จะดีกว่า เพราะ พระสงฆ์ บางรูป ศีลขาด)
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    จะพูดจากภาคปฏิบัติให้ฟัง ฟังแล้วก็ลองปฏิบัติตาม

    การที่จะก้าวเข้าสู่สภาวะโลกุตระ ต้องมีกำลังจิตดี กำลังสติดี มีศีลธรรมดีประจำใจ

    การก้าวเข้าสู่ญาณทัสนะแรก จะต้องปล่อยตัวรู้ให้เป็น

    โดยปกติจิตจะไปรู้สิ่งต่างๆตลอดเวลา แทนที่จะให้จิตมันรู้กว้างขวาง มันก็ไม่เห็นการเกิดดับ ปล่อยตัวรู้ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงต้องพาจิตให้มารู้ในวงแคบๆ เช่น คำบริกรรม หรือ อริยาบทของกาย หรือ ลมหายใจ เอาเท่านั้นกำกับให้รู้อยู่เท่าที่กำกับ ตัวสติจะเป็นกำลังให้เรารู้อยู่เฉพาะในวง

    ทีนี้เราก็จะรวมตัวรู้นั้นให้สัมประยุต ด้วยการปล่อยรู้ จะเป็นทางเป็นขั้นสุดท้ายก่อนจะเห็นธรรม

    สมมติว่าเรารู้อะไรอยู่ เราปล่อยเลย ธรรมชาติของจิตจะไปจับที่ใหม่ สติเราตามให้ทันแล้วปล่อย

    มันจะไปเกาะที่อื่นอีกเราก็ปล่อยอีก ทีนี้จี้ให้มันแคบลง รู้แคบลงปล่อย แล้วมันจะไปหยุด เพราะจิตเปิดพระนิพพานชั่วขณะเพราะไม่ไปเกาะกับสภาวะใด นั่นแหละ ญาณทัสนะจะเกิดตรงนั้น เราจะมีปัญญาในปรมัติธรรม แต่ทั้้งหมดขอให้ทำไปด้วยนิสัยสันดานของตน อย่าไปทำตามขั้นตอนที่ผมบอก ให้ทำจนเป็นนิสัยมันจะเป็นคุณสมบัติของตน แล้วธรรมที่ได้จะได้เป็นของตนเอง

    บางคนรู้ร้อยแปดแต่ไม่สำเร็จเพราะไปเอาธรรมผู้อื่นมาดองเป็นสัญญาที่หัว ไม่ใช่ไปสู่จิต มันก็ไม่เกิดธรรรมของตน
     
  8. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ขออธิบายเป็นภาษาชาวบ้านแล้วกัน(บางคนอ่านแล้วไม่เข้าใจ ใช้ศัพท์ยากไปหน่อย)
    การเจริญกรรมฐาน ขอแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆแล้วกันนะครับ

    เปรียบเหมือนตอนนี้ เรายืนอยู่หน้าภูเขา จุดหมายปลายทางอยู่หลังเขามีแม่น้ำกั้นขวางไว้ โดยมีสะพานที่เราเดินข้ามไปแล้วสะพานนั้นจะพังทลายลงมา ทำให้เราไม่สามารถกลับมาอีกได้นะครับ

    1.การเจริญกรรมฐานแบบหลวงปู่มั่น ใช้วิธีเดินขึ้นเขาไปแบบตรงๆ คือเดินให้ถึงยอดเขา โดยไม่เดินเลี่ยง ฝ่าฟันอุปสรรค ความสูงของภูเขา ให้ถึงยอดเขา
    วิธีการก็คือ ตั้งคำบริกรรมให้ได้ เมื่อตั้งได้แล้ว จิตจะตกลงสู่ภวังค์เอง แล้วภาวนาอย่างละเอียด โดยให้สติขีดวงรอบดวงจิตเอาไว้ ภาวะนั้นเรียกว่า ฌานสี่
    ก็คือยืนอยู่บนยอดเขา จะสามารถมองเห็นทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต่อจากนั้นคือการลงจากยอดเขาคือการเจริญอรูปฌานหนึ่งถึงสี่ เป็นการเจริญ นิมิตเพื่อตัดซึ่งสัญญา สังขาร อื่นๆ ก็จะไปถึงสะพานเพื่อที่จะข้ามไปยังฝั่งไปยังจุดหมายปลายทาง โดยการเจริญปหานปริญญาวิธี ดับซึ่งอาวักขยกิเลสทั้งปวง
    วิธีนี้ ผู้ที่เจริญกรรมฐานจะยากตอนที่ขึ้นไปบนยอดเขา เพราะส่วนใหญ่จะขึ้นมาได้นั้น ร่างกายมักจะบอบช้ำเรียกว่า ปฏิบัติตายเป็นตายนะครับ ใส่ วิริยะ เข้าไปมากๆเข้าไว้ เชื่อในศรัทธาในหนทางที่เดินเท่านั้นจึงจะขึ้นไปได้ครับ

    2.การเจริญกรรมฐาน แบบ พิจารณา กายกับจิต เช่น ยุบหนอพองหนอ
    เปรียบเหมือนการเดินขึ้นภูเขาสักเล็กน้อยแล้วใช้วิธี เดินเลี่ยงบนภูเขาไปข้างๆแทนก็จะไปเจอสะพานได้เหมือนกัน วิธีการก็คือ การพิจารณาให้มีสติ รู้ตัวตลอดเวลา เช่น ใช้วิธีการเดินจงกลมแบบรู้ตัวทุกขณะจิต จะมีการอาการแขนหายไปบ้าง ลมหายใจหายไปบ้างแล้วแต่ว่าจิตนั้นจะรวมตัวในส่วนใด ซึ่งอาการอย่างนี้เรียกว่า ได้ญาณที่5 คือ ภังคญาณ คือร่างกายจะหายเป็นท่อนๆ หายเป็นส่วนๆ นิ้วมือหายไปนิ้วหนึ่ง มือหายไปข้างหนึ่ง คอขาดหายกระเด็นไปก็มี
    เมื่อผู้เจริญกรรมฐานไม่กลัวปฎิบัติต่อไป เปรียบเหมือนเดินมาถึงจุดกึ่งกลางของภูเขา โดยไม่ขึ้นไปบนของภูเขา ซึ่งผู้ปฏิบัติจะไม่ได้ความสามารถพิเศษสักเท่าไร ถึงได้ก็จะได้ๆหายๆครับ คือสนใจแต่จะข้ามฝั่งเท่านั้น เมื่อผู้เจริญกรรมฐานสามารถ ทำต่อเนื่องไปถึง นิพพิทาญาณ คือข้ามเห็นทุกข์โทษของรูปนาม ไม่มีนิวรณ์เข้าไปแทรก มีแต่เพียรมาก ขยันมาก เพราะกำหนดเก่ง อิริยาบทปัจจุบัน ไม่มีนิมิต เมื่อมีนิมิตก็กำหนดเห็นหนอทัน เพ่งไม่เอา
    ก็จะไปได้ถึงญาณที่12 คืออนุโลมญาณ เปรียบเหมือนยืนอยู่ตรงริมสะพานเพื่อที่จะก้าวข้ามสะพานครับ
    วิธีนี้ข้อดีคือร่างกายไม่บอบช้ำ แต่จะยากตรงเล็กน้อยตรงนิพพิทาญาณ ว่าจะตัดนิวรณ์และนิมิตนั้นได้หรือไม่ ซึ่งถ้าทำได้ก็จะเดินข้ามฝั่งได้ครับ

    3.แบบใช้นิมิต เช่น นิมิตพระพุทธเจ้า ลูกแก้ว เปรียบเหมือนใช้วิธีเดินไปข้างๆภูเขา โดยไม่ขึ้นไปบนเขาคือเดินชมนกชมไม้ในป่า ด้วยความเพลินเพลิด สบายกายสบายใจ เมื่อเดินไปถึงแม่น้ำที่กั้นขวางอยู่ต้องเดินไปหาสะพาน ซึ่งผู้เจริญกรรมฐานส่วนใหญ่มักจะหลงทางบ้าง กลัวลำบากมาก เพราะเดินหาสะพานนั้นไม่มีร่มเงามีแต่แสงแดดแผดเผาไม่สุขกายสบายใจเหมือนอยู่ในป่า
    วิธีก็คือ การเจริญกรรมฐานด้วยนิมิต เจริญนิมิตให้มีกำลังสมถกรรมฐาน เช่น สามารถไปบนพระนิพพานที่กำหนดขึ้นเองอย่างนี้เป็นต้น เมื่อทำได้ก็ใช้กำลังที่แข็งแกร่งของสมถกรรมฐานนั้นเปลี่ยนมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานอีกทีคือเดินไปตามแม่น้ำเพื่อหาสะพาน ก็ถึงจุดหมายเหมือนกันครับ
    วิธีนี้บางส่วนผู้เจริญกรรมฐานบางท่านก็ไม่อยากลำบาก ชอบชมนกชมไม้ไปตามทางนะครับ คือไม่ยากในตอนแรกแต่จะยากตอนเดินหาสะพานให้เจอ บางคนก็หลงอยู่ในป่าไม่อยากเดินไปตามทางที่ควรจะเดิน

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  9. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
     
  10. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -เห็นในมุมกลับ ที่โลกเขาเห็น
     
  11. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,816
    ค่าพลัง:
    +15,099
    สภาวะที่ จิต.....ไม่ก้าวล่วงความผิด(อกุศล)ด้วยเจตนา
    สภาวะที่ จิต.....เป็น สัมมาทิฐิ โดยธรรมชาติ
    สภาวะที่ จิต.....ตามประกอบความเพียรอยู่เนืองๆ(กุศล) ด้วยความไม่ประมาท

    จิต มีปรกติอารมณ์อย่างนี้แล เป็น ลักษณะ ของปุถุชนผู้กำลังว่ายเข้าสู่ฝั่ง กำลังทำที่พึ่งอันเกษมให้กับตนเอง กำลังหาทางข้ามพ้นบ่วงแห่งพญามัจุราช

    "จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ จากที่มีน้ำ จงละกามเสีย จงเป็นผู้ไม่มีความกังวล จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพาน ธรรมเป็นเครื่องสงัด ซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก" (พระสูตร)

    "พรหมจรรย์นี้มิใช้น้ำ แต่เป็นเครื่องชำระล้าง" (พระสูตร)
     
  12. จิตนิพพาน

    จิตนิพพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +414
    เมื่อปฏิบัติไปแล้ว อยู่ในระดับใดให้ลองเทียบเคียงกับญาณ ๑๖ ดูนะครับ..


    ญาณหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับมีดังนี้ (ญาณ ๑๖)

    <O:p</O:p
    ๑.ญาณกำหนดรู้เรื่องของนามและรูป แยกแยะออกได้ว่าอะไรคือนามธรรม
    อะไรคือรูปธรรม (นามรูปปริจเฉทญาณ)

    ๒.ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
    ที่ทำให้เกิดรูปและนามอาศัยซึ่งกันและกัน (ปัจจยปริคคหญาณ)

    ๓.ญาณกำหนดรู้ด้วยการพิจารณาเห็นนามและรูปตามหลักไตรลักษณ์
    (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ยกรูปและนามมาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง (สัมมสนญาณ)

    ๔.ญาณที่เห็นว่าการเกิดมาและดับไปของเบญจขันธ์เป็นเรื่องธรรมดา (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ)

    ๕.ญาณที่เห็นการสลายไปของสังขารว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (ภังคานุปัสสนาญาณ)

    ๖.ญาณที่เห็นสังขารเป็นของน่ากลัวไม่ว่าภพใด เพราะว่าต้องสลายไปทั้งสิ้น (ภยตูปัฏฐานญาณ)

    ๗.ญาณที่เห็นเป็นโทษ เพราะว่าสังขารเป็นของน่ากลัวจึงต้องมีข้อบกพร่อง
    มีทุกข์ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ)

    ๘.ญาณที่เห็นความเบื่อหน่าย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษแล้วก็บังเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร
    ไม่ติดใจ (นิพพิทานุปัสสนาญาณ)

    ๙.ญาณที่ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น เพราะว่าเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว
    (มุญจิตุกัมยตาญาณ)

    ๑๐.ญาณที่พิจารณาหาทางเพื่อพ้นจากสังขาร ได้แก่การยกเอาสังขารทั้งหลาย
    มาพิจารณาเพื่อให้หลุดพ้นไป (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ)

    ๑๑.ญาณที่เห็นอย่างเป็นกลางในความเป็นไปของสังขาร ไม่ยินดียินร้าย
    ในสิ่งที่เห็น (สังขารุเปกขาญาณ)

    ๑๒.เมื่อเป็นกลางแล้ว ญาณก็คล้อยเข้าสู่การเห็นอริสัจจ์อันจะนำพาไปสู่ขั้นต่อไป
    จนกระทั่งจิตดิ่งลงเกิดมรรคญาณขึ้นจึงจะถึงที่สุดคือนิพพาน (สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ)

    ๑๓.ญาณหยั่งรู้ที่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการข้ามขั้นจากปุถุชนไปเป็นอริยบุคคล (โคตรภูญาณ)

    ๑๔.ญาณหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะระดับอริยบุคคลในแต่ละขั้น (มัคคญาณ)

    ๑๕.ญาณหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จในระดับอริยบุคคลในชั้นนั้นๆ จนได้อริยผล (ผลญาณ)

    ๑๖.ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน มรรคผล กิเลสที่ละแล้ว ที่ยังเหลืออยู่
    และนิพพาน ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มีการพิจารณากิเลสที่เหลืออยู่ (ปัจจเวกขณญาณ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...