"ของเก่าเล่าเรื่อง" ของ...หลวงพ่อสิงห์โตวัดสาลี

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 1 พฤษภาคม 2008.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    วัดสาลีหมู่ ๒ ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เดิมชื่อ วัดศาลารีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคลองลำสาลีตามประวัติก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ แต่ไม่มีประวัติที่แน่ชัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้างวัดนี้ขึ้น ปัจจุบันมี พระครูโสภณคุณาธารหรือหลวงพ่อสิงห์โตอายุ๕๓ ปี พรรษา ๓๐เจ้าคณะตำบลสาลี เป็นเจ้าอาวาส


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ด้วยเหตุที่เป็นพระนักพัฒนา ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมุ่งมั่นทะนุบำรุง และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามหน้าที่แล้วหลวงพ่อสิงห์โตยังมีงานอดิเรกที่ได้สนใจมานานคือ การศึกษา เรือโบราณ กว่า ๒๐๐ ลำ ตะเกียงโบราณกว่า ๑,๐๐๐ ใบ โทรศัพท์มือถือ ตั้งแต่รุ่นแรกๆ ที่มีใช้ในเมืองไทย กว่า ๘๐๐ เครื่อง และของเก่าของโบราณต่างๆ อีกจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเรียกว่า มีตั้งแต่ สากกระเบือยันเรือรบ กันเลยทีเดียว
    ของใช้ทุกอย่างล้วนมีเรื่องเล่าล้วนมีที่มา บางชิ้นมีประวัติมานานนับร้อยปี วันนี้เราอาจจะเห็นเป็นเพียงของใช้อย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ในวันข้างนั้นมันคือประวัติศาสตร์ จริงอยู่ แม้ว่าการสะสมของเก่าจะมีความสุขทางใจแต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในของเก่าที่เราสะสม สิ่งที่คนยุคโบราณใช้อยู่ทุกวัน ของที่มีค่า และหายากในสมัยโบราณวันนี้อาจจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย นี่คือเหตุผลในการเก็บสะสมของหลวงพ่อสิงโต

    ทั้งนี้หลวงพ่อสิงห์โตอธิบายให้ฟังว่า ตะเกียงที่สะสมไว้ส่วนใหญ่เป็นตะเกียงเจ้าพายุ น่าจะเป็นตะเกียงที่ผลิตในช่วงรัชกาลที่ ๔-๕ ตะเกียงลาน ตะเกียงอะลาดิน ซึ่งรวมแล้วน่าจะไม่ต่ำกว่าหลักพันใบ ตะเกียงบางอันนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนที่มาของตะเกียงนั้น มีทั้งชาวบ้านที่รู้ว่าจะสร้างพิพิธภัณฑ์ ก็เอามาถวายให้ ชาวบ้านย่านสาลี และที่อื่นๆ ในขณะที่ร้านขายของเก่าบางแห่ง ที่รู้ว่าสะสมตะเกียง ก็ขายให้ในราคาทุน <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    สำหรับประวัติศาสตร์ของตะเกียงนั้นตะเกียงบางชนิดสามารถบอกได้ว่า เจ้าของนั้นมีฐานะระดับไหน มีทาสบริวารมากเท่าใด ในขณะที่ตะเกียงบางชนิดเป็นงานศิลปะ ที่ไม่มีการผลิตขึ้นมาอีกแล้ว ซึ่งหากไม่รักษาไว้ สิ่งเหล่านี้จะถูกกาลเวลากลืนกิน
    ตะเกียงที่มีอยู่กว่า๑,๐๐๐ ใบนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นตะเกียงที่ใช้งานได้จริงกว่า ๙๐% ส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันก๊าด และใช้น้ำมันมะพร้าวก็มี

    ส่วนเรือที่มีอยู่นับร้อยลำบางลำมีอายุนับร้อยปี บางลำผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชน เรือบางลำช่วยสร้างฐานะให้คนร่ำรวย ในขณะที่เรืออีกหลายลำได้เคยเป็นที่อยู่ เป็นที่กิน รวมทั้งช่วยชีวิตคน ส่วนใหญ่เป็นเรือที่ญาติโยมนำมาถวาย <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ส่วนเรือที่ซื้อมาเองนั้นก็ซื้อในราคาถวาย เช่น ราคา ๕,๐๐๐ บาท เจ้าของขอแค่ ๑,๐๐๐ บาทเท่านั้น โดยเรือที่มีอยู่กว่า ๑๐๐ ลำ เป็นเรือที่มีแบบไม่ซ้ำกันเลย ซึ่งรวมแล้วมีเรือหลายสิบประเภท เช่น เรือมาด เรือบด เรือพายม้า เรืออีแป๊ะ เรือตังเก เรือยนต์ เรือตรวจการณ์ เรือเข็ม เรือสำปั้น เรือกระแชง เรือหมู เรือโป่ง รวมทั้งเรือต่อ
    ทั้งนี้หากไม่รวบรวมเก็บไว้ เรืออาจจะกลายเป็นฟืน เพียงแค่ให้ความร้อน แล้วก็กลายเป็นเถ้าถ่าน หาค่าอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าเก็บไว้ คนรุ่นหลังจะได้ศึกษา ได้เรียนรู้ โดยมีความตั้งใจว่า จะซ่อมให้สามารถใช้งานได้จริง

    นอกจากนี้แล้ว ยังมีโทรศัพท์รุ่นแรกๆของประเทศ ที่มีการซื้อขายในราคาหลักแสนบาท มีอยู่หลายสิบเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นของโนเกีย <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    นอกจากนี้แล้ว ยังมีรุ่นต่างๆไล่มาจนถึงปัจจุบัน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ เครื่อง บางเครื่องยังใช้ได้อยู่เครื่องที่ใช้ไม่ได้ส่วนใหญ่แบตเตอรี่จะเสื่อม
    ในขณะที่บัตรโทรศัพท์ที่ใช้แล้วมีกว่า๒ หมื่นใบ เมื่อนำมาจัดเรียงกันเราจะเห็นพัฒนาการของเทคโนโลยีการใช้โทรศัพท์อย่างชัดเจนซึ่งนับวันก็จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
    หลวงพ่อสิงห์โตยังบอกด้วยว่าของสะสมอื่นๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ เครื่องครัวครก กระต่าย กระชอน โม่ ปิ่นโต กิโล เตา สิ่งเหล่านี้เมื่อมีเครื่องใช้ไฟฟ้ามาแทนที่คนก็จะทิ้งไปอย่างไร้คุณค่า
    ในส่วนของกระต่ายขูดมะพร้าวนั้นมีอะไรให้ศึกษามากมายซึ่งใครเลยจะรู้ว่า ในอดีตมีการทำกระต่ายมือถือ
    ส่วนที่สุดยอดในหมวดนี้ต้องยกให้ กิโลชั่งฝิ่นช่างทองซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกิโลดิจิทัลในอดีต เพราะมีความละเอียดเป็นกรัมเลยทีเดียว

    "อาตมาตั้งใจว่า จะสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยจัดเป็นหมวดหมู่ เช่น ร้านขายตะเกียง ร้านขายโทรศัพท์ ร้านขายเครื่องครัว ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า งานหนึ่งที่อาตมากำลังดำเนินการสร้าง คือ ศาลาการเปรียญ ที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง ซึ่งสร้างตามแบบที่หลวงพ่อปาน โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ ๒๐ ล้านบาท สร้างตามแบบที่หลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เคยสร้างไว้ เหตุที่ไม่สร้างศาลาปูน คือ ด้วยเหตุที่วัดมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด หากวันใดวันหนึ่งข้างหน้ามีการปรับปรุงย้ายก็สามารถรื้อแล้วไปสร้างใหม่ได้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่ศาลาปูนต้องทุบทิ้งเพียงสถานเดียวเท่านั้น หากชีวิตต้องจากโลกไป และจะมีใครสืบทอดต่อหรือไม่นั้น อาตมาไม่ได้ยึดติดอะไร เป็นธรรมดาของโลกสรรพสิ่งย่องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา อาตมาสร้างไว้เจ้าอาวาสรูปต่อไปจะสืบสานต่อหรือไม่ เป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของชาวบ้าน เพราะเวลานั้นอาตมาไม่ได้รับรู้อะไรแล้ว" หลวงพ่อสิงห์โต กล่าว
    อย่างไรก็ตามขณะนี้หลวงพ่อสิงห์โตมีโครงการก่อสร้าง ศาลาการเปรียญหลังใหม่แทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากสร้างมานาน มีอายุกว่า ๙๐ ปี ตั้งแต่สมัย หลวงพ่อปานวัดบางนมโค ทั้ง ๒ รายการนี้ได้ตั้งงบประมาณไว้ที่ ๕๐ ล้านบาท และปัจจัยอีกส่วนหนึ่งจะจัดตั้งเป็นกองทุนการศึกษาของ พระภิกษุ สามเณร อีกด้วย ผู้ที่สนใจจะชมเรือโบราณตะเกียงโบราณ และโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งของโบราณอื่นๆ ที่ วัดสาลีสอบถามเส้นทางได้ที่วัดหมู่ ๒ ต.สาลี อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โทร.๐-๓๕๖๗-๑๒๒๖, ๐-๓๕๖๗-๑๒๒๗



    0 เรื่อง ไตรเทพไกรงู
    ภาพ ประเสริฐ เทพศรี 0



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...