ขอรบกวนถามเรื่องคาถาเงินล้านครับ

ในห้อง 'ฝากคำถามถึงหลวงพ่อเล็ก' ตั้งกระทู้โดย itsun, 7 กรกฎาคม 2011.

  1. itsun

    itsun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2006
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +373
    ถ้าต้องการให้เกิดผลสำเร็จใน 3 วัน 7 วัน จะต้องทำอย่างไรครับ เพราะถ้าสวดอย่างหลวงพี่ท่านบอก 3000 กว่าผมก็คงไม่มีเวลาเพราะต้องทำงานและต้องคุยพูดกับคนอื่นคงลำบากในการท่องมีวิธีลักบ้างไหมครับ
     
  2. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    ท่องแบบไม่หวังผล ตอนกินข้าวเราไม่ควรพูด เพราะอาหารอาจจะกระเด็นออกมาขณะพูดได้ ก็ใช้เวลานั้นท่อง เอาเท่าไหรก็ได้

    ตอนอยู่บนรถเมล์ บนรถไฟฟ้า ข้ามเรือ นั่งบนเรือ ก็ท่องในใจได้
    ตอนอาบน้ำ เราไม่พูด ก็ท่องได้
    ตอนเดินกลับบ้าน เราก็ท่องได้
    ตอนทำกับข้าว เราก็ท่องได้

    เอาช่วงเวลาที่เราไม่พูดนั่นแหละท่อง ถ้าสมาธิยังไม่ได้ฌานล่ะก็ 3วัน 7วันยังน้อยไป ผมเข้าฌานท่อง ก็เล่นตั้งเป็นเดือนๆ ถ้าหวังผลเกินไป เป็นความอยากที่มีแก่จิต แล้วมันสัมฤทธิ์ผลน้อยนะครับ

    ตอนท่องน่ะ เคล็ดมีอยู่ว่า ท่องเอาสมาธิ ไม่ท่องเอาว่าให้ได้ แต่ผลสูงสุดที่ตามมาจริงๆคือ มันมาแบบไม่ขาดสายจริงๆ ทำทานบ่อยๆ วันละบาทก็ได้ สิ้นเดือนมาก็เอาเงินนั้นไปทำทานแก่สงฆ์

    จากประสบการณ์ส่วนตัวและการใช้งานจริง

    เจริญธรรม
     
  3. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    ผมขออนุญาติแนบไฟล์คาถาเงินล้าน และใบสมาทานพระกรรมฐานจากคนเมืองบัวไว้ ณ ที่นี้ให้เจ้าของกระทู้และบุคคลทั่วไปได้นำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ถูกต้องต่อไปครับผม.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    จากไฟล์คาถาเงินล้านด้านบน ซึ่งมีขนาดเล็ก ผมผิดพลาดเอง ขออนุญาติลงใหม่อีกครั้งครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1111.jpg
      1111.jpg
      ขนาดไฟล์:
      223.8 KB
      เปิดดู:
      1,845
  5. ซาตานคลั่ง

    ซาตานคลั่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    496
    ค่าพลัง:
    +1,449

    อย่าว่าแต่คุณเลย ผมเคยลองแล้ว ถ้าท่องแบบเน้นคุณภาพ หนึ่งจบต้องใช้เวลา 45 วินาที ถ้า 45 นาที จะได้ 60 จบ 1 นาทีก็จะประมาณ 45/60 = 1.2 จบ
    60 นาที = 72 จบ (นี่คือคำนวณในแบบหายใจไปพร้อมกับท่อง ไม่ใช่ท่องจบหนึ่งวรรคค่อยหายใจที)

    ถ้าวันหนึ่งๆคุณนอน 6 ชั่วโมง คุณจะมีเวลาท่อง 18 x 72 = 1296 จบ

    หรือถ้าคุณท่องทั้งวันทั้งคืน ไม่ต้องหลับต้องนอนกันล่ะ 24 x 72 = 1728 จบ

    บลาร์ ๆ ๆ ๆ ๆ

    เอาอย่างนี้ดีกว่า แต่ละคนมีคนกรรมที่ต่างกัน ดังนั้นแล้ว หลังจากสมาทานพระกรรมฐานเสร็จ คุณควรจะอธิษฐานต่อไปว่า"ขอบารมีพระและครูบาร์อาจารย์ช่วยดลใจให้ข้าพเจ้าใช้คาถาเงินล้านตามวิธีที่เหมาะสมแก่ข้าพเจ้าเพื่อให้ได้ผลภายใน3วัน7วัน"

    แต่แน่นอนว่าเมื่อต้องการผลที่เร็วขนาดนี้ คงไม่มีหลายครั้งนักเพราะขึ้นอยู่กับทานบารมีของคุณเองด้วยและคงจะไม่ใช่ก้อนใหญ่นัก แต่จะมาแบบฟลุ๊คๆที่คุณเองก็น่าจะรู้สึกได้เองว่านั่นคือผลจากการใช้คาถาเงินล้านของคุณตามวิธีที่พระท่านดลใจให้คุณทำ
     
  6. nattanan39

    nattanan39 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,190
    ค่าพลัง:
    +2,935
    เป็นข้อความที่ copy มาแต่จำไม่ได้ว่าจากท่านใด ขออานิสงค์จากการเผยแพร่ข้อความส่งถึงผู้ที่เขียนข้อความด้วยค่ะ

    ขอแทน ผู้ใดจะปฏิบัติพระคาถานี้เพื่อความสุขความเจริญต่อไปภายภาคหน้า ตลอดบุตร หลาน เหลน ให้วงศ์ตระกูลของท่านแล้ว โปรดทราบไว้เพื่อความสุขอันยืนยาวนานเทอญ<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_2 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1153"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อธิบายเพิ่มเติม
    คำว่า๓-๕-๗-๙ จบหมายความว่า ผู้ใดยินดีปฏิบัติพระคาถากี่จบก็ได้ เช่น จะว่า ๓ จบ ๕ จบ ๗ จบ ๙ จบ เป็นต้น แต่การว่าต้องว่าเสมอกันไป จะว่าน้อยๆ มากๆ สลับกันไปไม่ได้ จะไม่เกิดผลเลย แต่พยายามว่าจบที่น้อยไปหามากได้เป็นดี ทำให้เห็นผลเป็นระยะแล้ว จึงค่อยกระเถิบมากขึ้นเป็นลำดับ
    หลักการปฏิบัติ<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_8 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1147"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>

    <o:p></o:p>

    ในการที่ข้าพเจ้าพิมพ์หนังสือ คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าได้เรียนมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้แจกเป็นธรรมทานไปแล้วหลายครั้ง มีท่านที่รับหนังสือนั้นส่วนมากสงสัยในการปฏิบัติเพื่อผลเบื้องสูง คือถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์ อย่างนายห้างประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ท่าเตียน พระนคร มีหลายสิบท่านที่เขียนหนังสือมาถามบ้าง มาถามด้วยตนเองบ้าง เพื่อเปลื้องความสงสัยของท่านที่สงสัย และเพื่อประโยชน์แก่ท่านที่รับหนังสือรุ่นต่อไป ขอนำเอาปฏิปทาของท่านนายห้างประยงค์มาเล่าให้ฟัง ตามที่ได้สอบสวนมาจากปากคำของท่านนายห้างเอง เพื่อผลแก่ท่านที่ประสงค์ผลอย่างนั้น พร้อมทั้งแนะนำแบบแผนปฏิบัติเพื่อผลอย่างนั้น เพื่อผลในปรโลกด้วย
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ข้าพเจ้าได้พบท่านนายห้างที่วัดบางนมโค ได้เรียนถามถึงแนวปฏิบัติของท่าน ซึ่งท่านเป็นผู้ที่ได้รับผลจากคาถานี้เป็นคนแรก และหาคนที่ได้ผลเสมอเหมือนได้ยาก ถามท่านว่าปฏิบัติอย่างไร จึงได้ผลอย่างนั้น ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า ท่านปฏิบัติเป็นสองแนว คือ
    . ท่านสวดมนต์เป็นประจำแบบไม่เคยขาดทั้งตอนเช้าและก่อนนอน<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_14 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1141"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    .ท่านเจริญภาวนาเป็นสมาธิทุกวันคืนคือท่านยึดหลักตามแบบสมถภาวนาอย่างเคร่งครัด
    ทั้งนี้เนื่องจากท่านได้รับคำแนะนำจากหลวงพ่อปานไปอย่างนั้นท่านบอกว่า หลวงพ่อแนะนำท่านว่า ถ้าสวดมนต์และใส่บาตรประจำนั้น เป็นการปฏิบัติอย่างเพลา หรือมีผลเพียงไม่ขัดข้องเมื่อมีความจำเป็น จะเอาความร่ำรวยนั้นยังไม่ได้สมบูรณ์ เพราะการปฏิบัติอย่างนั้นเป็นการปฏิบัติที่จิตยังประกอบด้วยนิวรณ์ จิตยังเป็นทาสของอารมณ์อยู่มาก ฉะนั้นผลที่พึงจะได้รับในชาตินี้จึงมีผลยังไม่ไพบูลย์ และผลในชาติหน้าก็เป็นผลของทาน ที่ใส่บาตรและอาศัยการบริกรรมเล็กน้อย ยังเป็นผลที่มีกำลังอ่อนมาก เป็น อนิตยผล คือเป็นผลที่มีกำลังต่ำ เอาแน่นอนยังไม่ได้ ท่านว่าหลวงพ่อแนะนำท่านว่า หากหวังความไพบูลย์จริงๆ ควรเจริญตามแบบสมถภาวนา จนสามารถระงับนิวรณ์ได้แล้ว จัดเป็นฌานนั่นแหละ ผลจะไพบูลย์มากจนคิดไม่ถึง เพราะจิตที่จะมีสมาธิถึงฌานได้ ต้องเป็นจิตที่มีความเคารพในศีล คือระมัดระวังศีลมิให้บกพร่องอยู่เสมอ ประกอบด้วยการถวายทาน (ใส่บาตรเป็นนิจ) จัดว่าเป็นสังฆทานอยู่ทุกวันมิได้ขาด และจิตก็ผ่องใสปราศจากนิวรณ์ที่จะทำให้เศร้าหมอง
    เมื่อมีศีลบริสุทธิ์ มีการสร้างทานบารมีเป็นนิจมิได้ขาด มีจิตตั้งมั่นในสมาธิอย่างนี้แล้วผลที่จะพึงได้นั้นก็เป็นผลที่กำหนดนับไม่ได้ หากว่าเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ได้มีโอกาสพิจารณา ขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือมีอันที่จะต้องสลายไปในที่สุด จนจิตเป็นอุเบกขา คือไม่หวั่นไหวพรั่นพรึง เมื่อจะถึงกาลมรณะแล้วท่านว่าผลที่จะได้เพราะอาศัยความบริสุทธิ์ของจิต จะมีผลอย่างคาดคิดกำหนดไว้ไม่ได้เลยท่านบอกว่า เมื่อหลวงพ่อท่านว่าทำอย่างนั้นดีท่านก็ทำ เพราะการที่ทำอย่างนั้นไม่ต้องมีการลงทุน เพิ่มเติมจากเดิมเลย ทั้งนี้ท่านบอกว่าท่านใส่บาตรอยู่แล้วตามปกติ การเจริญสมาธิท่านว่าท่านไม่ได้หาเวลาพิเศษ ไปถ้ำไปเขา หรือไปเข้าสำนักวิปัสสนาที่ไหน ท่านยึดห้องพระของท่านเป็นที่สมาทานศีล เจริญสมถะและวิปัสสนาท่านว่าเมื่อท่านเลิกจากการค้าในตอนเย็นแล้ว รับประทานอาหารเสร็จ พักผ่อนเล็กน้อยพอให้อาหารย่อยแล้วท่านก็เข้าห้องพระบูชาตามแบบ เสร็จท่านก็สมาทานศีล เมื่อสมาทานศีลแล้วก็เริ่มภาวนา คือกำหนดลมหายใจเข้าออก ไปพร้อมๆ กันด้วยว่าคาถาช้าๆ ตามสบาย ท่านทำเป็นประจำไม่เคยขาดเมื่อตื่นนอนถ้าไม่สายเกินไป ก่อนไปร้านค้าท่านก็เจริญภาวนา เสียครู่หนึ่ง ท่านทำอย่างนี้ประจำ ไม่นานเลยท่านว่าประมาณเดือนเศษๆ พอนั่งเข้าที่ภาวนาก็เกิดมีความสว่างเกิดขึ้น เมื่อหลับตาภาวนานั้น คล้ายมีใครมา จุดตะเกียงไว้ข้างๆ มีแต่แสงแต่ไม่มีดวงโคม ในระยะแรกก็สว่างน้อยๆ และไม่นาน แต่เมื่อหลายวันเข้าก็ชักมีแสงสว่างมากขึ้นและอยู่นานเข้าทุกวัน อารมณ์ใจก็แนบสนิทมีอารมณ์คงที่ไม่ไหลไปสู่อารมณ์อื่น คงภาวนาเรื่อยไปลมหายใจดูเหมือนจะน้อยลงไปทุกที แต่ความรู้สึกนั้นเป็นสุขที่สุด บางครั้งก็ปรากฏเป็นรูปพระพุทธบ้าง พระสงฆ์บ้าง ให้เห็นเสมอ ท่านว่าระยะนี้แหละที่เป็นระยะที่ลาภเกิดขึ้นแปลกๆ และคาดไม่ถึง การค้าคิดว่าจะมีกำไรน้อยก็ได้มาก ยาที่ทำนับจำนวนไว้แน่นอน เมื่อเจ้าหน้าที่ขายครบจำนวน และเงินก็ได้ครบแล้ว แต่ยา กลับไม่หมด การค้าขาย รายได้รุดหน้าไปในทางดีอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_24 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1131"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    ท่านเล่าให้ฟังถึงเรื่อง เงินที่เบิกจากธนาคารว่า เมื่อเบิกจากธนาคารแล้วท่านยังไม่ยอมนับ ท่านเอาเข้าเซฟก่อน พอรุ่งเช้าจึงเอาออกมานับ ท่านว่ามีเรื่องอัศจรรย์อย่างคาดไม่ถึง เงินที่รับจากธนาคารปึกละหนึ่งหมื่นนั้น ทุกปึกเกินหมื่นบาททุกปึก บางปึกเกินถึงสามพันบาท เดิมคิดว่าทางธนาคารนับมาผิด แต่เมื่อสอบทางธนาคารก็ยืนยันว่านับไม่ผิด เป็นอย่างนี้ทุกครั้งจนเห็นเป็นปกติการค้าก็ไม่ได้โฆษณาอย่างเขา แต่การค้าก็หลั่งไหลไม่ขาดสาย จนมีโอกาสทำบุญได้ตามอารมณ์ เมื่อทำบุญหนักเข้าผลได้ก็เพิ่มหนักขึ้น
    ในที่สุดตามที่ท่านให้สัมภาษณ์กับคณะอนุศาสนาจารย์กองทัพบก ท่านว่าท่านทำบุญเฉพาะเงินที่ทำบุญไปแล้วประมาณ ๔๐ ล้าน (หากจำไม่ผิด) ได้ยินว่าอย่างนั้น คิดแต่เงินที่ทำบุญเท่านั้นพวกเราก็หน้ามืดแล้วตามที่พูดนี้พูดตามคำบอกเล่า ของท่านนายห้างเอง หากท่านที่รับหนังสือนี้แล้ว ท่านคิดว่าท่านประสงค์ผลอย่างนั้นบ้างแล้ว ก็จงทำอย่างนายห้างท่าน ผลในโลกนี้ก็จะบันดาลให้ท่านมีผลมีฐานะเป็นเศรษฐีอย่างท่านนายห้าง หากท่านคิดว่าเอาแต่พอได้ คือแก้ขัดพอมีกินไม่ขาดมือแล้ว ไม่หวังความร่ำรวยก็ปฏิบัติเพียงแต่สวดมนต์ใส่บาตร ขอให้ท่านเลือกเอาตามแต่ท่านจะเห็นสมควรแก่ตนท่านเอง มีหลายท่านที่บอกว่าอยากจะปฏิบัติแต่เกรงว่าจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ครบถ้วน ตลอดวันไม่ได้แล้ว ขอให้ทำอย่างนี้
    ขั้นแรกขอให้กำหนดเอาเวลานอนเป็นเวลารักษาศีล คือเมื่อเสร็จกิจอย่างอื่นแล้ว ก็ตั้งใจสมาทานศีลโดยตั้งใจว่า ตั้งแต่เวลานี้ไปจนกว่าจะตื่น เราจะรักษาศีลด้วยชีวิต จะไม่ยอมล่วงศีล ๕ แม้แต่ตัวใดตัวหนึ่งให้ขาดหรือเศร้าหมอง แล้วแผ่เมตตาไปในทิศทั้งปวง คิดในใจประกาศความเป็นมิตรแก่คน และสัตว์ทุกประเภท แล้วภาวนาพระคาถาไปตามที่จะภาวนาได้ เอาดีก่อนหลับ พร้อมด้วยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เอาสัก ๕ จบแล้วก็เลิกนอนให้หลับไปทำอย่างนี้เรื่อยๆ ไปต่อไปเมื่อตั้งใจรักษาศีลและแผ่เมตตาก่อนนอนพอเป็นที่สบายใจแล้ว ก็เลื่อนมาเป็นเวลาที่ไม่ได้นอน ก็เอาเวลาใดเวลาหนึ่งที่เป็นเวลาว่าง ตั้งเวลาไว้วันละหนึ่งชั่วโมงเป็นอย่างมาก รักษาศีลให้บริสุทธิ์ และเจริญสมาธิไปด้วย ค่อยๆ ขยับเลื่อนไปทีละน้อยๆ อาศัยความค่อยๆ ทำค่อยๆ ฝึกชนิดไม่หักโหมอย่างนี้ จิตท่านจะค่อยชินต่อการแผ่เมตตาจนไม่รู้สึกขัดต่ออารมณ์การคิดที่จะรักษาศีลก็จะเคยชิน ในที่สุดจะรักษาทั้งวันก็ไม่มีอะไรลำบากใจ เมื่อศีลเกิดความชินต่อไป จนไม่ต้องระวังแล้ว สมาธิก็จะแนบสนิทใจจนเป็นฌาน คืออารมณ์เยือกเย็น ภาวนาจนมีเวลานานๆ ได้ ไม่รำคาญในเสียงที่สอดแทรกเข้ามารบกวน คงภาวนาได้นานๆขนาด ๑๐ ถึง ๒๐ นาที โดยจิตไม่ทิ้งอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่าได้ฌานสมาบัติต้น ผลที่ท่านประสงค์ก็จะประสบพบกันถึงตรงนี้ ผลของการเจริญจนถึงฌานอย่างนี้ มีผลในปัจจุบันมากมาย คือ
    . ลาภจะเกิดมากมายอย่างท่านนายห้างประยงค์
    . ผลทานเป็นเหตุให้เกิดความรักแก่ผู้ที่ได้รับ และเป็นผลในการตัดโลภกิเลส
    . ผลของศีลทำให้เป็นคนน่ารัก และเป็นที่เคารพนับถือ
    .ฌานทำให้อารมณ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัว มีหน้าและใจแจ่มใสอยู่เสมอ และฌานนี้จะบันดาลให้ได้ทิพจักขุญาณ รู้เห็นภาพที่เป็นทิพย์ เช่น สวรรค์ นรก เป็นต้น สามารถเปลื้องความเคลือบแคลงสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียได้ ตัดความเป็นมิจฉาทิฏฐิได้อย่างเด็ดขาด และเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ เป็นเหตุให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ตามที่นักบุญทั้งหลายต้องการ <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_38 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1117"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    เป็นอันว่า พระคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ย่อมให้ผลสองประการ คือ <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_40 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1115"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    . ให้ผลร่ำรวยในโลกนี้ และเป็นที่รักที่เคารพของคนทั่วไป
    . ให้ผลในชาติต่อไปด้วยอำนาจทาน ทำให้ร่ำรวย ศีลทำให้รูปสวยและอายุยืน ฌานทำให้ได้เกิดในพรหมโลก และเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน จัดว่าเป็นพระคาถาที่ให้ผลเป็นพิเศษที่หาได้ยาก <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_44 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1111"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    <o:p></o:p>
    อาการและอานิสงส์ของสมาธิ
    ไหนๆ ก็ได้พูดกันมาถึงเรื่องของสมาธิแล้ว ก็จะขอพูดต่อไปเสีย เพื่อความเข้าใจโดยย่อๆ ของสมาธิเพราะเมื่อเรียนพระคาถานี้มา ท่านอาจารย์หลวงพ่อปานสอนในระดับสมาธิ ท่านบอกให้เข้าใจว่า คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า นี้ เป็นความรู้ในคิหิปฏิบัติในระดับฌานสมาบัติได้ดี คำว่า คิหิปฏิบัติ แปลว่า การปฏิบัติดีของชาวบ้านเพราะคาถานี้นอกจากจะให้ผลเป็นฌานสมาบัติแล้ว ยังให้ผลในความมั่งคั่งสมบูรณ์ได้อีกด้วย เป็นผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า คือ ชาตินี้เป็นคนรวย ชาติหน้าก็เป็นปัจจัยใกล้มรรคผล คือให้ผลในสุคติมีสวรรค์และพรหมโลกเป็นที่ไป หากท่านผู้ใดสนใจเอาสมาบัติที่ได้ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญานด้วยแล้ว ท่านอาจจะได้รับผลสูงอย่างคาดไม่ถึง
    นอกจากผลในสมาธิเป็นสมาบัติ อาจผดุงผลทางลาภให้เกิดกลายเป็นคนร่ำรวยแล้ว สมาธิยังให้ผลในทิพจักขุญานอีกด้วย เป็นการช่วยส่งเสริมศรัทธาในการสร้างความดีให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป แต่ทว่าหนังสือนี้ตั้งใจจะเขียนแต่เพียงโดยย่อ หากข้อความที่เขียนไว้นี้ย่อเกินไป ท่านเข้าใจไม่ละเอียดพอแล้ว ท่านประสงค์จะรู้ต่อไปให้ละเอียด ก็ขอให้รอหนังสือคู่มือสมณธรรม ซึ่งอาตมาจะพิมพ์ต่อจากเล่มนี้ หนังสือเล่มนี้ได้เขียนข้อความปฏิบัติ มีแบบปฏิบัติตั้งแต่ปฏิสัมภิทาญาณ อภิญญา ๖ วิชชา ๓ ไว้พอที่จะเข้าใจได้พอควร
    สมาธิ
    คำว่าสมาธิแปลว่า ตั้งใจมั่น คือมีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ท่านจัดไว้เป็น ๓ อย่าง คือ ๑. ขณิกสมาธิ ๒. อุปจารสมาธิ ๓. อัปณาสมาธิ
    ขณิกสมาธิ ได้แก่สมาธิเล็กน้อย คือเมื่อขณะที่กำลังภาวนาคาถาอยู่นั้น อารมณ์สนใจเฉพาะแต่ในคาถาภาวนา มีอารมณ์โลภหรือรักในเพศ ไม่มีอารมณ์โกรธคั่งแค้น ไม่มีความคิดอย่างอื่นนอกจากบทภาวนา ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เกิดความลังเลสงสัยในผลปฏิบัติ มีจิตสงัดจากอารมณ์ภายนอกตามที่กล่าวมาแล้วแต่ก็ทรงอารมณ์นั้นอยู่ไม่นาน ทรงได้สักประเดี๋ยวเดียว อารมณ์ตามที่กล่าวมาแล้วก็เข้ามารบกวน เมื่อรู้ตัวก็ตั้งต้นใหม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่าขณิกสมาธิเป็นสมาธิเล็กๆ น้อยๆ ไม่มาก ทรงอยู่ได้ไม่นานอานิสงส์ในปัจจุบัน ทำให้เป็นคนพอมีความยับยั้งความรู้สึกที่เป็นโทษ พออดใจไว้ได้บ้างในบางขณะ ส่วนในพระคาถาให้ผล พอมีทางได้แก้จนเมื่อถึงคราวจำเป็น เรียกว่า พอตะเกียกตะกายเอาตัวรอดได้เมื่อถึงคราวจำเป็น ในสัมปรายภพ ท่านว่า สมาธิขนาดนี้ให้เพียงเกิดในชั้นกามาวจรสอง ชั้น คือ ชั้นจาตุมหาราช กับ ชั้นดาวดึงส์ ชั้นใดชั้นหนึ่ง
    อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่ใกล้จะเข้าระดับฌาน มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ได้นานเกินกว่าสมาธิก่อน มีลมหายใจค่อยละเอียดลง คือมีอาการหายใจเบามาก มีความชุ่มชื่นในใจอย่างที่จะกล่าวได้ยาก มีความอิ่มเอิบชุ่มชื่นเบิกบานมีอารมณ์สมาธิตั้งอยู่ได้นานพอสมควร มีการเห็นภาพแปลกๆ มีแสงสว่างปรากฏ มีอารมณ์เยือกเย็นข้อที่ควรสนใจถึงระดับนี้ก็คือ อย่ามัวหลงใหลในภาพที่เห็น เมื่อเห็นแล้วปล่อยเลยไป ตั้งใจรักษาอารมณ์สมาธิไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะรักษาได้ หากไปหลงภาพและแสงสีแล้ว ต่อไปอารมณ์จะฟุ้งซ่าน สมาธิจะเสื่อมจะไม่ถึงดี สมาธิระดับนี้มีอานิสงส์ในปัจจุบัน คือมีจิตอิ่มเอิบเบิกบาน หน้าตาชุ่มชื่นตลอดวัน มีความอดกลั้นต่ออารมณ์ที่เข้ามายั่วเย้าได้ดีมาก มีเมตตาปราณีเกิดขึ้นแก่ใจอย่างคาดไม่ถึง รักศีลมากกว่าการห่วงใยอารมณ์ภายนอก เกิดลาภสักการะขนาดใหญ่เสมอๆ ผลงานจะเกิดแก่ผู้ปฏิบัติอย่างคาดไม่ถึงมาก่อน เมื่อละอัตภาพแล้ว ท่านว่าอานิสงส์สมาธินี้ส่งผลให้เกิดชั้นยามาอัปณาสมาธิ เป็นสมาธิแนบแน่นเป็นอารมณ์ฌาน คือเมื่อขณะบริกรรม คือภาวนาอยู่นั้น มีอารมณ์ ๕ ของฌานครบถ้วน คือ
    . นึกถึงบทภาวนา คือคาถาอยู่เสมอมิได้ขาด
    .ใคร่ครวญตรวจสอบว่าคาถาที่ว่านี้ขาดตกบกพร่องหรือไม่ ลมหายใจเข้าออกนั้นก็กำหนดรู้ว่า
    หายใจเข้าหรือออก สั้นหรือยาวเมื่อหายใจเข้าออกนั้น
    . มีความอิ่มเอิบปราโมทย์ ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
    . มีความสุขใจสุขกายอย่างปราณีต ซึ่งไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิต
    . รักษาอารมณ์ไว้ได้มีเวลานานๆ และสามารถตัดกังวลรำคาญจากเสียงภายนอกเสียได้ ไม่รำคาญในเสียงรบกวนนั้น อย่างนี้ท่านเรียก ปฐมสมาบัติ คือได้ปฐมฌานนั่นเองอารมณ์ฌานขนาดนี้ย่อมมีอานิสงส์ในปัจจุบัน คือมีผลเกิดจากเจริญภาวนาเป็นลาภใหญ่ และเยือกเย็นไม่มีโทษ ไม่มีความเดือดร้อน ท่านนายห้างประยงค์ตอนที่ท่านเริ่มรวยนั้น ท่านว่าท่านถึงตรงนี้ ท่านก็เริ่มรวยนอกจากรวยแล้วยังเป็นบุคคลที่สังคมคนดีปรารถนา เพราะเป็นฝ่ายประชาสงเคราะห์อยู่เสมอ ความสุขสดชื่นเกิดขึ้นอย่างบอกไม่ถูก เป็นที่เคารพบูชาของคนทุกชั้น ในปุเรชาติคือชาติต่อไป ท่านว่าฌานต้นนี้บันดาลให้ไปเกิดในพรหม ๓ ชั้น คือชั้นที่ ๑,, ตามระดับฌานที่ได้หยาบละเอียดกว่ากัน ฌานที่ ๒ อันนี้ถ้าเรียกเป็นสมาธิ ท่านเรียก อัปณาสมาธิเหมือนกัน แต่มีความละเอียดสุขุมกว่าระดับต้นคือพอถึงฌานที่ ๒ ท่านว่าความละเอียดของอารมณ์มากกว่าระดับก่อน จนมีอาการหยุดภาวนาไปเอง ไม่นึกไม่คิดอารมณ์ที่ภาวนาหรือลมหายใจอีก มีอาการเฉยต่ออารมณ์ที่เคยคิดนึกนั้น มีแต่ความปีติปราโมทย์อิ่มเอิบเข้าแทนที่มีความสุขสงัด เกิดแต่วิเวก เป็นความสุขทางกาย และใจที่หาอะไรเปรียบเทียบไม่ได้เลย มีอารมณ์แนบแน่นกว่าฌานที่หนึ่งมาก
    อานิสงส์ในฌานนี้ เรื่องลาภเกิดขึ้นแบบนับไม่ได้ คือ ไม่ต้องคิดว่าจะหา ลาภชอบมาหาเอง คืออยู่เฉยๆ ก็มีคนแนะนำบอกให้เป็นลาภใหญ่เสมอ มีขันติธรรมประเสริฐมาก มีอารมณ์ชุ่มชื่น หน้าตาเบิกบานตลอดวันคืน มีเมตตาปราณีเป็นที่รักของชนทุกชั้น และสมณชีพรามณ์ทั่วไป ตายไปแล้วท่านว่าคนที่ได้ฌานชั้นนี้ไปเกิดพรหม ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๔,,๖ ตามความหยาบละเอียดของฌาน
    ฌานที่ ๓ มีอาการแตกต่างจากฌานที่ ๒ คือ ตัดความปีติปราโมทย์เสียได้หมด คงมีแต่ความสุขปราณีตละเอียดอ่อน มีความเยือกเย็นเป็นสุข มีอารมณ์ตั้งมั่นมาก เพราะอารมณ์ไม่ซ่านออกทางกายอย่างฌานที่ ๒ มีแต่ความสุขปราณีต และอารมณ์เป็นหนึ่งแนบแน่นไม่เคลื่อนที่ มีสภาพคล้ายกับเสาเขาปักไว้อย่างมั่นคงนั่นเองอานิสงส์ปัจจุบัน เรื่องลาภไม่ต้องพูดกัน ดูท่านนายห้างประยงค์ก็แล้วกัน เมื่อก่อนเจริญคาถานี้ ท่านบอกว่าเดือนใดท่านมีกำไรถึง ๒๐๐ บาท ท่านว่าสองคนผัวเมียท่านดีใจจนนอนไม่หลับ พอถึงตรงนี้ วันนั้นหลวงพ่อปานเรียกไป ให้รับออกเงินสร้างเขื่อนหน้าวัด ท่านว่าเท่าไรผมรับหมดครับ ผมไม่ท้อถอยแล้ว สุดแต่หลวงพ่อจะบัญชามา กี่หมื่นกี่แสนผมไม่อั้น <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_76 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1079"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    ท่านว่าท่านยิ่งทำท่านยิ่งมีมาก และมีอารมณ์ผ่องใสเยือกเย็น หมดกังวลต่อเรื่องได้เรื่องเสีย ไม่สนใจในรสอาหาร ปฏิบัติการกินแบบจระเข้ คือถือกินอิ่มเป็นประมาณ เป็นพระที่น่าบูชาของคนทั่วไป ถึงแม้จะเป็นชาวบ้านก็มีอาการคล้ายพระ เมื่อละอัตภาพแล้วท่านว่า ฌานชั้นนี้ส่งผลให้ไปเกิดเป็นพรหม ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๗,,๙ ตามความหยาบและละเอียดของอารมณ์ฌาน ฌานที่ ๔ ฌานนี้เป็นอันดับสำคัญที่สุดของรูปฌาน คือเป็นฌานที่สร้างฤทธิ์กายและทางใจให้เกิดแก่ผู้ที่ได้ฌาน ฌานชั้นนี้ตัดความสุขปราณีตเสียได้ มีอารมณ์เป็นหนึ่งและความวางเฉย แยกกายกับจิตออกจากกันอย่างเด็ดขาด คือไม่รับรู้เวทนาทางกายเลย เรื่องปวดเมื่อยไม่ยอมรับรู้ อาการที่ถึงฌานนี้ที่จะกำหนดรู้ง่ายก็คือ ลมหายใจไม่มี เมื่อปรากฏว่าลมหายใจไม่ปรากฏ และมีอารมณ์เฉยต่อเวทนาใดๆ แล้ว จงรู้เถิดว่าตอนนี้ท่านชักจะเป็นคนเต็มโลก คือครบโลกียฌานแล้ว เรื่องนรกสวรรค์ หรือถ้าอยากรู้ไปเสียเดี๋ยวเดียว ด้วยอำนาจมโนมยิทธิและนอกจากนั้น ยังมีญาณเป็นเครื่องรู้ เช่น ทิพจักขุญาณ รู้อดีตรู้อนาคต รู้นรกสวรรค์ รู้การเกิดของสัตว์ รู้ผลกรรมของสัตว์ รู้สุขทุกข์ในใจของสัตว์ ระลึกชาติได้ด้วยอำนาจของฌาน ๔ นี้หากประสงค์มรรคผลนิพพานก็เอาฌานและญาณเป็นพี่เลี้ยงช่วยวิจัยตามสายของวิปัสสนา ก็จะมีญาณเป็นเครื่องรู้แจ้งเห็นจริงได้ชัดเจนแจ่มใส จัดเป็นอานิสงส์ในปัจจุบันที่แสวงหาได้ยากอย่างยิ่ง
    เรื่องลาภนั้นไม่ต้องคำนึง เพราะจะท่วมล้นความต้องการ เมื่อละสังขารท่านว่าด้วยอำนาจฌานที่ ๔ จะบันดาลให้ไปเกิดในพรหมชั้นที่ ๑๐ และ ๑๑ เป็นยอดของฌานโลกีย์ฝ่ายรูปฌานเป็นอันว่า การปฏิบัติคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า อันเป็นวิสัยที่จะช่วยชาวบ้านให้มั่งคั่งสมบูรณ์ในโภคทรัพย์นี้ หากท่านนักปฏิบัติมีความปรารถนาเพื่อความดีสูงสุดแล้ว และปฏิบัติตามแนวสมถภาวนา ก็จะมีผลตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ขอยุติคำอธิบายในการปฏิบัติพระคาถาพระปักเจกพุทธเจ้าไว้เพียงเท่านี้
    คัดลอกจากหนังสือคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าของพระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน สุทธาวงษ์) วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พิมพ์แจกในงานทอดกฐินและผ้าป่าสามัคคี พ.ศ. ๒๕๐๙ โดย..พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) สมัยหลวงพ่อท่านอยู่ ณ วัดสะพาน อ.เมือง จ.ชัยนาท
    เรื่อง..คาถาวิระทะโย
    ในปัจจุบันนี้ภาระทางด้านเศรษฐกิจย่ำแย่ ตามบริษัทห้างร้านต่างๆ ต่างคนต่างก็บ่นกัน พรึมพรำ ชาวบ้านหรือก็หนักใจ พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว พระไม่อยากให้ชาวบ้านเดือดร้อน ไม่อยากให้ชาวบ้านจน ถ้าชาวบ้านจนเมื่อไหร่พระอดอยากเมื่อนั้น แล้วควรจะทำอย่างไรดีล่ะ ในที่สุดพระจำเป็นจะต้องทำหน้าที่อย่างเดียวคือ นั่งแช่ง นอนแช่งให้ชาวบ้านรวย นอนไปก็ว่าไปเรื่อยไป เวลานี้มีคำสั่งให้ทำอยู่ ๒ อย่างคือ ถ้าว่างก็ให้ว่าคาถาบทนั้นบทนี้ไปด้วย เพื่อช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านให้เขามีกินมีใช้ ยุให้ชาวบ้านเขารวย พระเราก็จะพลอยมีกินมีใช้ไปด้วยถ้าพระองค์ไหนแช่งให้ชาวบ้านเขาจนละซวย อดกินแน่ๆเมื่อพูดถึงเรื่องจนก็ทำให้นึกถึง คาถาวิระทะโย คาถาบทนี้มีความสำคัญมาก พวกเราทุกคนควรจะทำให้ได้เป็นพื้นฐานไว้ก่อน คาถานี้ถ้าทำขึ้นน้อยๆ ถ้าเงินมันขาดมือมันจะชดใช้กันทัน ถ้าหากทำขึ้นเต็มอัตราเงินจะเหลือใช้ แต่ต้องทำเป็นสมาธินะ การทำสมาธินี้ไม่ต้องนั่งก็ได้ ถ้าว่างตอนไหนก็นึกว่ามันเรื่อยไป ขายของอยู่ทำงานอยู่ พอว่างนิดก็ว่าไป เดินไปนึกขึ้นได้ก็ว่าไป คาถาวิระทะโยนี้ ถ้าใครมีความจำเป็นมากจริงๆ ถ้าทำถึงอุปจารสมาธิ ตอนนี้เงินไม่ขาดตัวแน่ ถ้ามีความจำเป็นมากจริงๆ มักจะหาได้ทัน ถ้าเข้าถึงปฐมฌานตอนนี้ละขังตัวไม่ใช่พอใช้นะ เหลือใช้เลย แต่ต้องทำได้ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปนะคาถานี้มีคนใช้ได้ผลมาเยอะแล้ว คนที่ใช้ได้ผลคนแรกสุดก็ นายห้างขายยาตราใบโพธิ์ ที่ว่าเป็นคนแรกเพราะอะไร เพราะตอนนั้น หลวงพ่อปาน ท่านไปเรียนมาจากครูผึ้ง ซึ่งอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียนมาแล้วก็มีนายห้างขายยาตราใบโพธิ์สนใจ จึงขอเรียนจากหลวงพ่อปาน และทำได้ผลเป็นครั้งแรก สำหรับประวัติของครูผึ้งสมัยนั้นแปลกดีมาก ครูผึ้งคนนี้มีคติว่าร้อยบาท ใครเขาจะแต่งงานไปบอกแก แกให้หนึ่งร้อย งานโกนจุก หนึ่งร้อย บวชพระ หนึ่งร้อย แกมีคติแบบนี้ ใครไปบอกบุญแก แกขอทำบุญด้วยร้อยบาท อย่าลืมนะว่าสมัยนั้นเงินครึ่งสตางค์ หนึ่งสตางค์มีค่ามาก เงินร้อยบาทสมัยนั้นมันมากกว่าเงินเดือนของร้อยตรีอันดับหนึ่ง ถ้าใครมีเงินร้อยบาทละก็เริ่มรวยแล้ว แต่แกทำบุญครั้งละร้อยบาท ก็เป็นที่น่าแปลกใจเหมือนกันหลวงพ่อปาน ท่านไปพบเข้า คุยกันรู้เรื่อง แต่ว่าท่านพบของท่านอย่างไรก็ไม่ทราบนะ วันนั้นหลวงพ่อปานท่านจำวัดอยู่ ฉันนั่งข้างนอก ตอนเย็นมีคนใส่เสื้อราชปะแต็น นุ่งผ้าม่วง สวมถุงเท้า ใส่รองเท้าแบบชั้นดีเลยถือไม้เลี่ยม เดินเข้ามาหาหลวงพ่อปานมาถึงก็ถามว่าหลวงพ่อปานอยู่ไหมไอ้เราก็บอกว่าอยู่ แต่ว่ากำลังจำวัดแกก็บอกว่าฮึ จำวัดอย่างไร ก็สั่งให้ฉันมาพบ ไปตามฉันมาที่นี่แล้วกัน หลวงพ่อปานท่านนอนอยู่กับเรา หาว่าท่านไปตามมาได้ เราก็แปลกใจ แต่ก็บอกให้แกรออยู่ข้างนอกก่อน จะเข้าไปดูให้ พอเข้าไปก็เห็นหลวงพ่อท่านเตรียมตัวจะออกมาแล้ว เลยถามท่านหลวงพ่อครับ เขาบอกว่าหลวงพ่อไปตามเขามาหรือ?” หลวงพ่อปานบอก ฮื่อ แกไม่ต้องรู้หรอกเอาอีกแล้ว ท่านบอกแกไม่ต้องรู้หรอก เป็นความลับ เออ...แปลกดี พอออกมาเจอกันแล้ว ท่านก็คุยถึงเรื่องประวัติ คุยไปคุยมา ครูผึ้งก็บอกว่า คาถาบทนี้เป็นของพระธุดงค์ พระธุดงค์ท่านบอกว่าคาถาบทนี้เป็น คาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านมาปักกลดอยู่หลังบ้าน ๗ วัน ฉันก็เอาของไปถวายท่านทั้ง ๗ วัน ตามปกติครูผึ้งท่านรักษาศีลอยู่แล้ว ก่อนที่พระธุดงค์จะไปท่านได้ให้คาถาบทนี้และบอกว่า ตอนเช้าทุกวันควรใส่บาตรทุกวัน ก่อนจะใส่บาตรก็ให้ว่าคาถานี้ ๑ จบ <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_92 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1063"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    แล้ววิธีใส่บาตรมีอยู่ ๒ อย่าง ถ้าไม่มีพระจะมา ให้ใช้ข้าวสารตักแทนก็ได้ แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราใช้สตางค์ใส่บาตรแทนก็ได้ (หมายถึงบาตรวิระทะโย) เงินนั้นให้ใช้เป็นค่าอาหารมากน้อยตามกำลัง ไม่จำเป็นต้องไปรอพระมา ถ้าเห็นว่ามันมากพอสมควรก็เอาไปถวายพระ บอกท่านว่าเป็นค่าอาหาร แล้วท่านจะนำไปใช้เป็นค่าอาหาร หรือเอาไปใช้ก่อสร้างก็เป็นเรื่องของท่าน แต่เรามีเจตนาเป็นค่าอาหารก็แล้วกัน เท่านั้นก็พอแล้วท่านก็บอกอีกว่า ก่อนปลูกผัก ปลูกต้นไม้ หว่านข้าว ตำข้าว ก็ว่าคาถาบทนี้หนึ่งจบตามวิธีการของท่าน เวลาจะบูชาพระกลางคืนให้ว่า ๓ จบ หรือ ๕ จบ หรือ ๗ จบ หรือ ๙ จบก็ได้ นอกจากนั้นก็ควรจะเจริญเป็นสมาธิ แต่บูชาพระกับว่าตอนใส่บาตรท่านบอกว่ามีสภาพเป็นเบี้ยต่อไส้ หมายความว่า ถ้าจะหมดตัวจริงๆ ก็จะหาได้ทันฉันเคยโดนมาบ่อยๆ ในระยะต้นๆ โดนเองจึงรู้ แต่พอจวนตัวก็จะมีมาทุกครั้งไป ถ้าภาวนาให้จิตเป็นฌานจะมีผลมาก แล้วท่านก็เล่าความเป็นมาให้ฟังหลวงพ่อปานท่านถามว่าเดิมทีเดียวท่านมีฐานะเป็นอย่างไรครูผึ้งบอกว่าผมอันดับหนึ่งครับพอท่านพูดอย่างนั้น เราหูผึ่งเลย คิดว่าท่านเป็นมหาเศรษฐีท่านบอกว่าอันดับหนึ่งน่ะไม่ใช่เศรษฐี ฉันจนอันดับหนึ่งต่างหากคิดผิดถนัด ท่านบอกอีกว่ากางเกงไม่ขาดผมไม่เคยนุ่งกับเขาเลย มันหาไม่ได้จริงๆ ครับกางเกงที่ดีที่สุดมันมีอยู่ตัวเดียว เก็บไว้ใช้เวลาไปทำบุญที่วัด กลับมาก็ต้องรีบเก็บ นอกจากนั้นกลีบมันแย่งกันขึ้นเลย รอยขาดแย่งกันโผล่ ท่านเล่าให้ฟังอีกเยอะ สนุก
    ความจริงอายุของท่านตั้ง ๙๙ ปีแล้ว แต่ร่างกายยังแข็งแรงดีมาก ต่อมาเมื่อได้คาถาบทนี้มาแล้ว ด้วยความจนบีบบังคับ ท่านก็เริ่มทำสมาธิ ตอนเริ่มทำสมาธิ พอจิตเริ่มเข้าถึงอุปจารสมาธิ ซึ่งจะสังเกตได้ตามนี้ถ้าสภาพเดิมมันมืดอยู่ พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิก็จะมีสภาพเกิดแสงสว่างขึ้นบ้าง หรือไม่อย่างนั้นก็จะปรากฏแสงสีขึ้น เห็นเป็นภาพหรือภาพอะไรก็ตามแวบๆ อันนี้แหละคืออุปจารสมาธินับตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา เงินมันเริ่มขังตัว การหากินคล่องขึ้น บางทีถ้าต้องการอะไรที่มันเกินวิสัยที่จะหาได้ แต่ว่ามันอยากได้ เพียงไม่กี่วันหรอก อย่างดีก็ ๓-๔ วัน จะต้องมีสตางค์พอหาซื้อของอย่างนั้นได้ และต่อมาเมื่อทำเป็นฌาน เงินก็เริ่มมากขึ้นท่านเล่าว่า มีวิธีปฏิบัติเพื่อเจริญสมาธิอีกอย่างหนึ่ง แต่ว่าห้ามพูดนะถ้ารู้ว่าเงินเกิน เวลาที่เราจะบูชาพระด้วยคาถาบทนี้กี่จบ เวลาที่จะเก็บสตางค์ให้ถือสตางค์ไว้ แล้วยื่นลงไปในที่สำหรับเก็บ มือมันกำสตางค์อยู่แล้ว ว่าคาถาบทนั้นจบ ว่าเสร็จแล้วปล่อยมือออก เป็นอันว่าใช้ได้ทีนี้เวลาที่จะนำสตางค์ที่ใช้ ท่านให้หยิบสตางค์อันนั้น แต่ว่าห้ามนับเงิน แล้วว่าคาถาตามจำนวนที่เราบูชาพระ ดึงเอาเงินนั้นออกมา ถ้าเกินกว่าจำนวนที่เราต้องการ เวลาที่เราจะเก็บ เราก็ว่าคาถาแบบนี้เหมือนกัน ถ้าทำแบบนี้ท่านบอกว่าเงินจะขาดที่นั้นไม่ได้เลย ถ้าบางครั้งปริมาณเงินที่เราเก็บไว้ สมมุติว่าเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท มันเป็นปึก เราดึงมาทั้งปึก (๑,๐๐๐บาท) แต่ปรากฏว่าเงินมันมีอีก ห้ามนำไปพูดกับคนอื่น ถ้าพูดเงินจะหด ท่านห้ามอวด อันนี้ นายห้างประยงค์ เคยไปเล่าให้ฟังเหมือนกัน ท่านทำได้ผลตามนี้ ท่านบอกว่าท่านเบิกเงินมาจากธนาคารเดือนละหมื่น แต่รายนี้รับรองกลับถึงบ้านยังไม่ได้ใช้เงิน ต้องนำเข้าตู้เซฟก่อน ว่าคาถาบทนี้ตามแบบ เช้าตื่นขึ้นมาก็ว่าตามแบบอีก เงินทุกปึกจะต้องเกินเสมอ เกินทุกปึก หนึ่งร้อยบ้าง สองร้อยบ้าง เกินอยู่ตลอดเวลา ลองคิดดูซิว่ามีธนาคารที่ไหนบ้างเขานับเงินเกิน ท่านยืนยันว่าไม่มีธนาคารไหนเขานับเงินเกินหรอกแต่ทว่าตามปกติถ้าท่านทำแบบนี้จะต้องมีเงินเกิน นายห้างประยงค์คนนี้ก็ทำเป็นฌานเหมือนกัน เลยถามนายห้างประยงค์ว่าท่านทำอย่างไร ท่านบอกว่าหลังจากที่ได้คาถาบทนี้จากหลวงพ่อปาน ซึ่งตอนนั้นท่านเพิ่งกลับมาจากนครศรีธรรมราช หลวงพ่อปานไปแวะที่วัดสระเกศ คณะที่ ๑๑ ก็มีคนนำอาหารไปถวายท่าน เวลาท่านฉันข้าวท่านก็เล่าความเป็นมาของคาถาบทนี้ให้ฟัง คนทุกคนฟังแล้วไม่มีใครสนใจ มีแต่นายห้างประยงค์คนเดียวซึ่งตอนหลังมีความสนใจ พอหลวงพ่อปานท่านว่าคาถาบทนี้ไปแกก็จดตาม เมื่อฉันเสร็จ ให้พรเสร็จ ญาติโยมทั้งหลายก็ลากลับ แต่นายประยงค์สนใจคนเดียว ท่านก็เลยบอกว่าเออ ดีแล้ว ไอ้ลูกคนหัวปีคำว่า ลูกหัวปี ก็หมายความว่า คาถาบทนี้มีคนสนใจเป็นคนแรกและก็คนเดียว ท่านบอกว่าให้เอาไปลองทำ แล้วท่านก็บอกรายละเอียดในการทำให้ฟัง แล้วก็สั่งว่าถ้าเอ็งทำสองปีไม่มีผล หลวงพ่อจะไม่สอนใครเลยตอนนั้นท่านให้นายห้างประยงค์ทดลองทำก่อน ที่ไหนได้ ผลปรากฏว่าพอครบ ๒ ปี นายห้างประยงค์ก็ไปที่วัด ไปเล่าให้ฟังบอกว่าเมื่อก่อนนี้ครับ ก่อนที่ผมจะได้คาถาบทนี้ไป ถ้าเดือนไหนห้างผมขายของได้กำไรถึงสองร้อยบาท (สองร้อยบาทเป็นกำไรสุทธินะ) เดือนนั้นสองคนผัวเมียนอนไม่หลับ ดีใจก็เลยถามท่านว่าเวลานี้ล่ะ เป็นอย่างไรบ้างท่านบอกว่าแหม..หมื่นนึงยังเฉยๆ เลยครับต่อมาหลวงพ่อปานท่านก็ให้นายห้างประยงค์ออกสตางค์สร้างวัดเขาสะพานนาค นายห้างประยงค์ถามว่า จะเอาเงินเท่าไรจึงจะพอครับท่านบอกทำไปเรื่อยๆ มีเงินเป็นทุนสำรองไว้ประมาณ ๒ หมื่นบาทหลวงพ่อปานสั่งว่าถ้าเอ็งจะเอาเงินไหนไปเป็นทุนสำรอง เอ็งเอาเงินนั้นมาให้พ่อก่อนนะแล้วนายห้างประยงค์ก็เอาเงินมาให้หลวงพ่อปาน แทนที่หลวงพ่อปานจะเอาไว้ ท่านก็เอาเงินจำนวนนี้มาเสกด้วยคาถาวิระทะโยอีก ๗ คืน และท่านก็สั่งให้เอาเงินนั้นกลับไปท่านสั่งว่าถ้าเวลาที่พ่อสั่งก็เอามาให้ เอ็งเอาเงินกองนี้นะ ห้ามเอากองอื่นเวลาที่ท่านสั่งให้เอาเงินมา เขาก็เอาเงินกองนั้นแหละมาให้ หยิบเข้าหยิบออกอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งสร้างวัดเขาสะพานนาคเสร็จเงินยังเหลือ ๒ หมื่นแหม..คนแบบนี้ซวยจัด ที่ว่าซวยเพราะอะไรรู้ไหม ก็ซวยตรงที่ไม่รู้จักคำว่าจนไงล่ะ เงินหมดไม่เป็นต่อมาเราก็ย่องไปถามท่านว่ามันเป็นอย่างไร”<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_97 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1058"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_98 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1057"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    นายห้างประยงค์บอกว่าหลวงพ่อปานท่านสั่งไว้ว่า ก่อนจะหยิบก็ต้องว่าคาถาบทนี้เท่านั้นจบ เวลาเก็บก็ต้องว่าจำนวนเท่ากันท่านทำตามหลวงพ่อปานสั่งหมด ตอนเช้าตื่นขึ้นมา ท่านจะต้องทำเป็นสมาธิก่อน แล้วถึงใส่บาตร ก่อนไปก็สวดมนต์ด้วยคาถาบทนี้ ยามว่างตอนนั่งรถไปทำงานท่านก็ว่าคาถาบทนี้ไป เมื่อจิตมันว่างมันก็เป็นฌาน พอตอนเย็นกลับบ้านอาบน้ำเสร็จรับประทานอาหารเสร็จ ทำสมาธิพักหนึ่งก่อน และก่อนจะนอนถ้าไม่ปวดเมื่อยท่านก็นั่งทำสมาธิ ถ้าปวดเมื่อยก็นอนว่าจนหลับไป นายห้างประยงค์บอกว่า ตั้งแต่จิตเริ่มเข้าถึงอุปจารสมาธิจะเห็นพระพุทธเจ้าบ้าง พระสงฆ์บ้าง นับตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมาเงินค้างเรื่อยเลย ก็มีวาระแรกที่เงินค้างมากเกินไป สองคนผัวเมียเกือบทะเลาะกัน ต่างคนต่างหาว่าเอาเงินไปซุกไว้เมียบอกว่าทำไมคุณเอาเงินมาไว้แล้วไม่บอกฉันนายห้างประยงค์บอกฉันไม่เคยเก็บเงิน เธอเป็นคนเก็บ เธอเป็นคนเอามาไว้แล้วทำไมถึงไม่จำไล่ไปไล่มา นึกถึงผลของคาถาบทนี้ได้ คิดว่าน่ากลัวจะเป็นผลของการทำคาถาบทนี้แน่ๆ เพราะหลวงพ่อปานท่านสั่งว่า ถ้าผลเกิดขึ้นมาแล้วอย่าโวยวาย ต่างคนต่างนึกขึ้นมาได้ก็เลยเงียบ จำไว้นะ ทุกคนที่ได้คาถาบทนี้ไปแล้ว ควรท่องคาถานี้ให้ชิน แล้วก็ทำสมาธิเหมือนๆ กับที่เราทำนี่แหละผลมันเท่ากัน ผลที่เราจะพึงได้รับก็คือ จิตเป็นสมาธิ และก็สตางค์จะขังตัว คือไม่ขาดมือ
    คาถาเงินล้าน
    ตั้งนะโม ๓ จบ<o:p></o:p>
    สัมปจิตฉามิ <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_104 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1051"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    นาสังสิโม
    พรหมา จะ มะหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
    พรหมา จะ มะหาเทวา อะภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน) <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_110 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1045"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    มะหาปุญโญ มะหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย) <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_112 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1043"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
    พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_116 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1039"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า) สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
    เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤๅ ฤๅ
    (บูชา ๙ จบตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)
    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_124 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1031"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>

    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำอธิบาย
    หลวงพ่อได้คาถาบทเหล่านี้โดยตรงจากองค์สมเด็จฯ ตั้งแต่ ปี ๒๕๑๗ เป็นเวลา ๔ ปีจึงจะได้ครบถ้วน ท่านบอกว่าคาถาที่ได้จากกรรมฐานเขาจะไม่บอกใคร เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๗ เวลา ๒๓.๕๘ น. องค์สมเด็จฯ ได้อนุญาตให้ลูกหลาน และพุทธบริษัทใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อีกทั้งการก่อสร้างของวัดท่าซุงจะต้องเร่งรัดให้เสร็จทันฉลองวัดในปี ๒๕๓๒ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คาถาเหล่านี้ช่วย เพื่อพุทธบริษัทและลูกหลานของหลวงพ่อมีความคล่องตัวยิ่งขึ้นคาถา "นาสังสิโม" หลวงพ่อให้ท่องเพิ่มเติมเมื่อปี ๓๒ คาถา "เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤๅ ฤๅ" พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกหลวงพ่อ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๓ เป็นภาษาโบราณ แต่เทียบกับภาษาไทยอ่านได้อย่างนี้ เป็นคาถามหาลาภ มีผล ยิ่งใหญ่มาก <v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_128 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1027"> <v:imagedata o:title="tongue-smile" src="file:///F:\DOCUME~1\sss\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>
    *** คำว่า องค์สมเด็จฯ ที่กล่าวในเนื้อหา หมายถึง พระพุทธเจ้า
     
  7. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,666
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,210
    คาถานั้นเป็นการดึงจิตตัวเองให้สัมผัสกับความมั่งคั่ง ให้ซึมซับลงเข้าไปในจิตใต้สำนึกของตัวเอง และแปรมาเป็นสิ่งที่สัมผัสจับต้องได้ อาจจะเป็นเงิน หรือทรัพสินย์ต่าง ๆ

    ในของฝรั่งก็มีเหมือนกัน เค้าให้ท่องก่อนนอนว่า เรารวย ๆ ๆ ๆ ท่องไปเรื่อย ๆ เค้าก็ได้ผลเหมือนกัน

    ทุกอย่างอยู่ที่จิตครับ จิตคุณปรารถนาอะไร คุณก็จะได้อย่างนั้น
     
  8. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    คาถาเงินล้าน แท้จริง อาจคือ คาถาอริยทรัพย์ ก็เป็นได้นะ

    ลองนึกดูตอนที่เราทำบุญ ภพภูมิเขาก็มาอนุโมทนา ดูเหมือนคนที่ภาวนาคาถานี้จะมีกองเชียร์มาก กองเชียร์ในที่นี้ไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์เท่านั้น แม้ภพภูมิต่าง ๆ เอง เขาก็รอที่จะอนุโมทนากับความดีของเราอยู่

    เราทำบุญ ทำให้เป็นตัวอย่าง ให้กองเชียร์เห็น ให้เขาอนุโมทนาด้วย เขาก็ได้บุญ ได้ความสุขไป ใคร ๆ ก็อยากได้บุญ อยากมีความสุขกันทั้งนั้น ดังนั้น การภาวนาไปด้วยทำบุญใส่บาตรไปด้วยแบบนี้ เป็นมงคลกับชีวิตอย่างยิ่ง ก็เท่ากับว่า เราได้สงเคราะห์ตนเอง สงเคราะห์ญาติมิตร และภพภูมิต่าง ๆ ไปด้วยพร้อม ๆ กัน เปรียบได้กับเราเป็นต้นบุญให้เขาพากันอนุโมทนา เราก็ได้กระทำตนให้เป็นแบบอย่างแก่ทั้งมนุษย์และภพภูมิทั้งหลาย นี่เราก็รวยอยู่แล้ว รวยบุญรวยกุศล รวยน้ำใจไมตรี รวยด้วยจิตเมตตาเสียสละกระทำเพื่อยังประโยชน์แก่ชนอยู่มาก มันรวยไปตั้งแต่ข้างในแล้ว ข้างนอกจะเป็นอย่างไรก็ช่าง อย่าให้เสียผลข้างในเป็นอันใช้ได้แล้ว...

    โดยส่วนตัวพลังพระคาถานี้มีอานุภาพมากเทียบได้กับพระสมเด็จวัดระฆังเลยนะ...สาธุ
     
  9. kamsai24

    kamsai24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2011
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +223
    ขอบคุณค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...