ขออนุญาตสอบถามพี่ๆและเพื่อนๆนักปฏิบัติทุกท่านครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rattanasak, 26 ธันวาคม 2017.

  1. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    คือว่าแต่ก่อนผมเคยนั่งสมาธิได้ชั่วโมงครึ่งไม่ง่วงไม่วูป แต่พอมาพักหลังนั่งไปได้ไม่ถึงชั่วโมงชักเริ่มวูปเหมือนคนง่วงนอนจัดๆ ซึ่งพอเกิดอาการนี้ผมจะออกจากสมาธิแล้วแผ่เมตตาทันที แต่พอออกมาจากสมาธิ อ้าวมันไม่ได้ง่วงนอนนี่ แล้วตะกี้มันวูปเหมือนง่วงนอนหว่า เป็นแบบนี้ช่วงหลังมานี้เลยทำให้นั่งไม่ได้นาน คือพอเป็นปุ๊บก้อจะออกจากสมาธิแล้วแผ่เมตตา จากนั้นก้อนอนเลย จึงจะสอบถามพี่ๆเพื่อนๆว่า อาการแบบนี้ปกติหรือไม่ แล้วจะแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ
     
  2. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    นิวรณ์ 5
    นิวรณ์ 5 หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ
    1.กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)
    2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
    3. ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ
    ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป
    ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

    4. อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ
    อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที
    ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้
    5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น
    นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ
    นิวรณ์ทั้ง 5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน

    เพราะเกิดนิวรณ์ครับ สมาธิจึงขาดตอน นิวรณ์ อาจเกิดก่อนเข้าสู่ณาน จิตยังไม่สงบไม่พร้อมใช้งาน และอาจเกิด ในขณะอยู่ในณาน หรือตกณาน คือประคองสติไว้ต่อเนื่องไม่ได้เพราะด้วยกำลังสมาธิไม่สมบูรณ์ เรื่องของณานสมาธิ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรทำให้ได้เพื่อน้อมนำไปใช้พิจารณาทั้งสมถะกรรมฐาน และวิปัสนากรรมฐานครับ ทำได้หรือไม่ได้อยู่ที่ใจมีขันติ มีวิริยะ มีสติ มีพรหมวิหาร มีอิทธิบาทหรือไม่
     
  3. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616

    ขอบพระคุณมากครับ คุณงูๆปลาๆ
     
  4. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ตกภวังค์ครับ
    เมื่อมีความคล่องตัวมากขึ้น จะเข้าสมาธิได้ลึกกว่าเดิม แต่ไม่ได้ฝึกสติเพิ่ม ฝึกแต่สมาธิอย่างเดียว
    ทำให้กำลังสติหมด

    ควรฝึกสติ สัมปชัญญะ เพิ่ม โดยเดินจงกลม หรือ ฝึกแบบหลวงพ่อเทียน วัดสนามใน ด้วย
    จะทำให้เข้าสมาธิได้ลึกขึ้น นานขึ้น ไปตามลำดับครับ
     
  5. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ขอบพระคุณมากครับผม เพราะรู้สึกว่ามันนิ่งจิตนิ่ง พอนิ่งได้เท่านั้นแหล่ะวูปเลย พอวูปก้อพยายามดึงขึ้นมาให้นิ่งอีก พอนิ่งก้อวูป เป็นแบบนี้สี่ห้าเที่ยวเลิกเลยนอนดีกว่า
     
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เวลาจิตเริ่มมีสมาธิ "ลมหายใจย่อม ละเอียดมากขึ้น" ความง่วงเนื่องจาก ร่างกายเกิดความล้า เพราะไม่ได้หายใจแบบปกติ
    +++ พอออกจากสมาธิ ร่างกายก็ "หายใจตามปกติ" ร่างกายก็ ปรับสภาพเข้าสู่ปกติ
    +++ เป็นอาการ "ปกติ" ของ อิทธิพล ที่มาจากร่างกายที่ "เซื่องซึม เนื่องจาก ปริมาณของอากาศลดลง เนื่องด้วยการหายใจที่ลดลง" (สัจจธรรมของกาย)
    +++ หากปรารถนาจะฝึก "สติแบบ อานาปานสติ" ก็ให้ "รู้คร่าว ๆ ในเวลาเดียวกัน ตลอดเส้นทางเดินของ ลมหายใจ" (ภาคสติ)

    +++ หากปรารถนาจะฝึก "สัมปชัญญะ" ก็ให้ "รู้สึกคร่าว ๆ ในเวลาเดียวกัน ตลอดทั้งร่างกาย" (ภาคสมาธิ)

    +++ หากปรารถนาจะฝึก "สติ+สัมปชัญญะ" ก็ให้ "รู้คร่าว ๆ ในเวลาเดียวกัน ตลอดทั้งร่างกาย รวม เส้นทางเดินของ ลมหายใจ" (ภาคปัญญา)

    +++ ให้ "รู้+รู้สึก" อาการทั้งหมด แบบ "อยู่ในที่เดียว" แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" "อิทธิพล VS ความสัมพันธ์" รวมทั้งปฏิกิริยาต่าง ๆ ระหว่าง "ร่างกาย VS ลมหายใจ"

    +++ ให้ "รู้+รู้สึก" อาการทั้งหมด แบบ "อยู่ในที่เดียว" แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" ความแปรเปลี่ยน ระหว่าง "ร่างกาย VS ลมหายใจ" ในขณะที่ "ไร้นิวรณ์ 5"

    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" "อิทธิพล VS ความสัมพันธ์" รวมทั้งปฏิกิริยาต่าง ๆ ระหว่าง "ภายในร่างกาย VS โลกภายนอก"

    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" "อิทธิพล VS ความสัมพันธ์" รวมทั้งปฏิกิริยาต่าง ๆ ระหว่าง "จิตใจ VS โลกภายนอก"

    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" "แหล่งกำเนิด" ของ "จิตใจ VS โลกภายนอก"


    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" "แหล่งกำเนิด" ของ "จิตใจ ว่ามาจาก ทุกข์และความกดดัน" หรือไม่ (ทุกข์)

    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" "ทุกข์และความกดดัน" ทำให้จิตใจ "ส่งออกไปยังโลกภายนอก" หรือไม่
    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" จิตใจ ที่ส่งออกไปนั้น "ยิ่งทำให้ทุกข์เพิ่มอิทธิพลขึ้น" หรือไม่ (สมุทัย)

    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" ว่า "ทุกข์และความกดดัน" นั้นแล... ที่มีความเป็น "ตน ตัวเราเอง ตัวกูเอง" นั่นแล...
    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" ว่า หากไม่ทำลายความเป็น "ตน ตัวเราเอง ตัวกูเอง" แล้ว ย่อมไม่สามารถพ้นทุกข์ได้แน่นอน
    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" ว่า การทำให้ "ตน" หยุดนิ่งเฉย ก็สามารถเป็น "นิโรธ" เป็น "สมาบัติ" ได้ประการหนึ่ง (อนาคานิโรธ)
    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" ว่า การทำให้ "ตน" แตกดับสลายไป ก็เป็น "นิโรธ" โดยสมบูรณ์ (นิโรธ)

    +++ ให้ "อยู่กับรู้" ไปเรื่อย ๆ แล้วจะ "ค่อย ๆ เห็น" วิธีการทำให้ "ตน" สลายไปนั้น มีอยู่ได้ "หลายวิถีทาง" ไม่จำกัด
    +++ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ "วิบาก VS วาสนา VS นิสัย" ของผู้ที่ทำการฝึกฝน และ แล้วแต่ "จังหวะของใครของมัน" (มรรค)

    +++ หากผู้อ่าน "เกิความละโมบในการอ่าน ในโพสท์นี้" ย่อมเกิดอาการ "มึนงงสับสน" เป็นธรรมดา

    +++ โพสท์นี้ มาจากประสพการณ์ "การทำ ไม่ใช่ การท่องจำ" ดังนั้นคำถามที่ว่า "แก้ไขอย่างไรได้บ้าง" นั้น
    +++ ผู้ที่ฝึกอยู่ ควรรู้ว่า "ตน อยู่ในขั้นตอน ในประโยคไหน" ก็ให้ฝึกจาก ประโยคนั้น ลงมาเป็นขั้นตอนไป

    +++ ขอให้ "เจริญในธรรม" ยิ่ง ๆ ขึ้นไป นะครับ
     
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,430
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถามท่านธรรมชาติค่ะว่า ไม่เคยฝึกในลักษณะแบบนี้ แต่สามาถเข้าใจได้หมด และ มันก็เป็นการรู้ลักษณะสภาวะธรรมโดยอัตโนมัติเอง การทำสมาธิไม่ก้าวหน้าได้แต่ปัญญา ควรจะทำอย่างไร แนะนำหน่อย อยากได้ปาฏิหาริย์ 3 นะค่ะ
     
  8. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ฝึกสติให้มากขึ้นคุณจะสามารถรับรู้การเข้าสู่รูปณานที่4ได้ครับไม่อย่างนั้นคุณจะตกณาน ท่าวูปแล้วจิตแตกฟุ้งซ่านเกิดนิวรแทรกอุทธัจจกุกกุจจะ ท่าวูบแล้วจิตเกิดท้อถอยอยากเลิกทำ ถึนะมิททะแทรก แต่ท่าวูปเกิดในณานกลับมาอยู่ในณานเช่นเดิมแปลว่าจิตไม่มีกำลังเข้าสู่อัปปานาสมาธิที่มีเอคตาจิตอย่างเดียว ท่ารับรู้สภาวะนั้นไม่ได้ก้ทรงอยู่ไม่ได้ครับ ท่าไม่วูปแล้วทรงได้แล้วเราค่อยมาคุยกันต่อครับนับว่ายังไม่เคยได้คุยกับใครในระดับหลังจากนี้ไปเลยครับหลังจากนี้ไปสิครับสนุกเลย
     
  9. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ความรู้ ความเข้าใจ ในสภาวะที่ "ไร้ประสพการณ์จริง" ภาษาของพระป่า ท่านเรียกว่า "ความรู้แบบทางโลกียะ (แบบทางโลก)"

    +++ ถึงแม้จะจัดได้ว่า เป็น "สัมมาทิฐิ + สัมมาสังกัปโป" ก็ตาม แต่ก็ยังไปไม่ถึง "สัมมาสติ + สัมมาสมาธิ"
    +++ ตรงนี้ ภาษาของพระป่า ท่านเรียกว่า "ปัญญาทางโลก"

    +++ สายการปฏิบัติจริง ๆ ของสายพระป่าหลวงปู่มั่น ท่านนับแต่ "ปัญญาอันมาจาก ประสพการณ์" เท่านั้น

    +++ ปัญญา แบบทางโลก ยังไม่สามารถ "ปิดอบาย" อย่างถาวรได้ เพราะยังไม่รู้จัก "อบาย ที่จิตตนเอง เป็นโรงงานผลิต"
    +++ ทุกอย่าง "ตัดสิน" ที่ การปฏิบัติ VS ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง "เท่านั้น"
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=94

    ปาฏิหาริย์ 3 (การกระทำที่กำจัดหรือทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้, การกระทำที่ให้เป็นอัศจรรย์, การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ — marvel; wonder; miracle)
    1. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ — marvel of psychic power)
    2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนของจิตจนสามารถกำหนดอาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพของจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์ — marvel of mind-reading)
    3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี, คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์ — marvel of teaching)

    ใน 3 อย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์ และสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าเป็นเยี่ยม

    +++ 1. อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องของ "การแสดงออกทาง กาย" เช่น ไปยังพรหมโลกโดยกาย ฯลฯ เป็นต้น
    +++ ดังนั้น คำว่า "กาย VS ใช้กาย" จึงเป็นเรื่องของผู้ที่รู้จักว่า อะไรคือ "กาย (สักกายะทิฐิ)" เรียบร้อยแล้ว
    +++ ตรงนี้เป็นเรื่องของ "การใช้กาย การเดินจิตในกาย" แต่ไม่ใช่การ "ละกาย"
    +++ เมื่อฝึกจนถึงขั้น "รู้แจ้งชัด" ว่า "จิตยึดอะไรเป็น ตน สิ่ง ๆ นั้นเป็น กาย" ดังนั้นจึง "ไม่ใช่ กายเนื้อ แต่เพียงอย่างเดียว"
    +++ ให้ศึกษาในเรื่อง "วินัยแดนกันดาร" ที่พระพุทธองค์ อนุญาติให้ตุนอาหารได้ 7 วัน หรือ ทำไมต้องนิมนต์ "พระสิวลี" ให้ร่วมเดินทางด้วย ก็จะพอรู้ได้เอง

    +++ 2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องของ "วิชชา 3" เหตุ มาจาก "การรู้จัก วาระจิตของ ตนเอง อย่างสมบูรณ์"
    +++ สามารถทำ มหาปัฏฐาน โดยเฉพาะในขั้นตอนของ "อธิปะติปัจจะโย" ภายใน "วาระจิตของ ตนเอง ได้"
    +++ จนกว่าจะ "รู้แจ้งชัดเจน" ว่า วาระจิตของตน และ วาระจิตของผู้อื่น ก็ไม่ได้มีอะไร ต่างกัน "ขันธ์" มีสภาวะธรรมชาติเช่นเดียวกัน

    +++ 3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องเฉพาะของ "จตุปฏิสัมภิทาญาณ" มีเหตุมาจากการ "ใช้ภาษาได้ ถูกต้อง ตรงตามอาการ (สัจจะ)"
    +++ จตุปฏิสัมภิทาญาณ นั้นเป็นเรื่องของ "การใช้ภาษา ในระดับ เจโตปริยะญาณ" ผลลัพธ์ จึงปรากฏออกมาตาม ตำรา ดังต่อไปนี้

    +++ 1. ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ คือ สามารถกำหนดหัวข้อธรรม หรือหลักธรรม หรือ รู้เหตุและปัจจัย ของผู้ถามได้อย่าง ตรงประเด็น
    +++ ตรงนี้มีเหตุมาจาก เจโตปริยะญาณ ใน "อาเทศนาปาฏิหาริย์" จึง สามารถปรากฏผลได้

    +++ 2. อัตถปฏิสัมภิทาญาณ คือ กำหนดเนื้อความ หรือลักษณะอธิบายคำพูด ให้เกิดประโยชน์ ตรงกับความ จำเป็น ของผู้ถาม
    +++ ตรงนี้มาจาก การทำ "อธิปะติปัจจะโย" ภายใน "หัวข้อธรรม" ที่กำลังแสดงได้

    +++ 3. นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ คือ กำหนดใช้ภาษา ได้ถูกต้องตรงกับอาการของจิต โดยใช้ภาษาให้เหมาะสมกับ กาละ เทศะ ปุคคละ
    +++ ตรงนี้ มีเหตุมาจากการ "ใช้ภาษาได้ ถูกต้อง ตรงตามอาการ (สัจจะ)"

    +++ 4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ คือ แตกฉานในการกล่าวถึงสภาวะธรรม สามารถ สรุป หรือ ขยาย เพื่อให้ผู้ฟัง เข้าใจได้ตรงประเด็น (ไม่ใช่เรื่องของ การเถียงเก่ง) รวมถึง การใช้สภาวะแวดล้อม ณ ปัจจุบัณขณะ เพื่อเอามาแสดงธรรม ได้
    +++ ตรงนี้ มาจาก "สติ+สัมปชัญญะ" ที่แผ่ปกคลุม ภายในและภายนอก อาณาบริเวณที่กำลังแสดงธรรม ณ ขณะนั้น ๆ อยู่ (คุมจิตในบริเวณนั้น ๆ)
    +++ จึงสามารถ หยิบยก ปรากฏการณ์ทุกชนิดในบริเวณนั้น ๆ ขึ้นมาแสดงธรรมได้ ณ ปัจจุบัณขณะ

    +++ ขั้นต่ำคุณ jityim ควร "ทำ อธิปะติปัจจะโย" ให้เป็นเสียก่อน ทำให้รู้จัก "อาการของ ปัฏฐาน" ตามความเป็นจริงให้ได้ก่อน
    +++ อย่าเพิ่ง "ด่วน ใช้คำว่า เข้าใจ" บนรากฐานของ "การปฏิบัติ" ให้เร็วจนเกินไป
    +++ เพราะท้ายที่สุดแล้ว "ความเข้าใจนั่นแล... คือ ปริยัติงูพิษ" ตรงตามอาการที่ "หลวงปู่มั่น เคยกล่าวเตือน เอาไว้"

    +++ หากคุณ jityim "อยากได้ปาฏิหาริย์ 3" จริง ๆ ก็ต้อง "เดิน สติ+สัมปชัญญะ จนผ่านอาการของ ฌานทั้ง 8 ให้ได้ก่อน"
    +++ จนกว่าจะ "รู้จัก และ ได้ประสพการณ์" อย่างชัดเจนในเรื่องของ "สติครองฌาน" ทั้ง รูป/อรูป ทั้งหมด
    +++ จากนั้น "ฝึกการใช้ภาษา ให้ถูกต้อง ตรงกับ ความเป็นจริง แห่ง ภาษา ณ ปัจจุบัณขณะ" ที่สังคมเข้าใจได้ "โดยไม่ต้องแปล"
    +++ รู้จัก และ ชำนาญ ในเรื่องของ "กิริยาจิต" ของตนเอง รวมทั้งทำ "ปัฏฐาน อธิปะติปัจจะโย" ใน กิริยาจิตแห่งตน ได้คล่องแคล่ว

    +++ แล้วจะ พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป และขอให้ "เจริญในธรรม" ไปอย่าง "ไม่หยุดยั้งขาดตอน" นะครับ
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กินให้น้อยๆ อย่าให้ธาตุขันธ์ ทับ จิต

    โดน ขันธมาร หลอกให้เลิกปฏิบัติกรรมฐาน ทำบ่อยๆ ระวังจะติดหลงไปเรื่อยๆ

    ถ้าไม่ปฏิบัติ จะไม่ง่วง พอ ทำ เท่านั้นละ อาการมาเลย หึๆ แก้ให้ได้ไวๆ

    เวลาเป็นอีก ก็ ด่าใจตัวเองเลย จะอ่อนแอไปไหน แค่รู้สึกง่วงแค่นี้ ทนไม่ได้ บลาๆๆ แล้วก็ ตั้งสติภาวนาในกรรมฐานต่อไป อย่าให้ขาดสติ หรือ ฟุ้งซ่าน อย่ากลัวตาย กลัวง่วง ครับ

    ถ้าผ่านตรงนี้ไปได้ จิตจะเข้าสมาธิ ไม่โดนตัด ง่วง ไปก่อน ถ้า สติ มีกำลังทัน

    จิตรับรู้ว่าง่วง ก็ให้ รู้ แล้ว ปล่อยวาง มีสติ จดจ่ออยู่กับคำภาวนา ต่อไป ครับ ไม่ต้องไปกลัว ไม่ต้องออกจากการปฏิบัติ แนะนำตามนี้ครับ

    ส่วนอีกประเภทนึง คือ องค์กำลังจะลง 555+ โดนกด... จะโดนกดให้แทบจะสลบหลับติดพื้นได้ เอาว่าไม่พูดมากเรื่องนี้ พอทำสมาธิ จิตเรื่องติดต่อได้ เริ่มจะรับได้ ก็อาจจะโดนได้ ถ้ามีสิ่งอื่น จะมาติดต่อ ก็จะโดนกดได้ เพื่อให้เรารับได้ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2017
  11. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
     
  12. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ง่วงเหงาหาวนอน คือ นิวรณ์ตัวขวางกั้น

    ง่วงๆ วูบๆ คือ อาการของ สมาธิหลอก
    ที่พระสมัยก่อน ชอบทำกัน แล้วก็ไปแนะนำต่อกันว่า
    ถ้าเข้าสมาธิ แล้ววูบหลับได้ แสดงว่า เข้าสมาธิได้ลึกมากๆ

    แต่ความจริง การทำสมาธิ จะต้องไม่มีอาการวูบหาย
    ผู้ที่ทำวูบหายได้ จะต้องเป็น พระอริยะเจ้า ชั้น พระอรหันต์ เท่านั้น
    เมื่อท่านเข้าญานสูงสุด แม้จะโดนไฟเผา
    ท่านก็จะไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะทุกสิ่งของท่าน ดับ หมด

    ส่วนนอกนั้น ถ้าทำแล้ววูบหาย แสดงว่า หลับ
    ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิ่ง กับของ พระอรหันต์ คือ นิโรธ
    แนะนำให้ว่า นอนให้เพียงพอเสียก่อน ก่อนที่จะมาทำสมาธิ
    เพราะเราไม่ได้ฝึกแบบอุกฤษฏ์ แบบพระป่า
    เราทำแบบ ชาวบ้านบรรลุธรรม ต้องง่ายกว่า
    แต่ก็เห็นผลน้อยกว่า ด้วยเช่นกัน
    เปรียบการฝึกของ พระป่า เป็น แสงจากหลอดไฟ
    ส่วนของเรา เป็น แสงจากตะเกียง

    พระป่าจะฝึกแบบ หลับในสมาธิ
    คือ นั่งหลับ หัวตก คาบาตร แต่ก็ยัง เข้าญานต่ำๆอยู่
    สรรพสิ่งเสียงรอบข้าง จะรับรู้ได้หมด
    รับรู้ได้ แม้แต่ เสียงแมลงยังได้ยิน
    เสียงคน หรือ สัตว์ เดินเข้ามา ย่อมไม่รอด
    และพอท่าน ตื่นขึ้นมา มีกำลังวังชาแล้ว
    ท่านก็จะ เข้าสมาธิให้ลึกที่สุดก่อน
    ต่อจากนั้น ก็จะถอนมา อยู่ที่ญานต่ำๆ เตรียมเอาไว้ใช้งาน
    ต่อจากนั้น ก็จะฝึกวิปัสสนา โดยการ
    พิจารณา
    อวัยวะน้อยใหญ่ ในกายตนเอง
    หรือ พิจารณา ความสุข - ความทุกข์ ในกายตนเอง
    หรือ พิจารณา จิตดี - จิตเลว ในใจตนเอง
    หรือ พิจารณา กุศลธรรม - อกุศลธรรม ในใจของตนเอง

    ส่วนการฝึกแบบ ฆราวาสบรรลุธรรม
    ง่วงก็ต้องนอน อย่าไปกดข่ม
    พอมีกำลังเต็มที่ ก็ฝึกเข้าญานทำสมาธิ
    พอสมาธิ อิ่มตัวดีแล้ว ก็ฝึกเจริญสติ ทำวิปัสสนาต่อ
    คือ พิจารณาไตรลักษณ์ควบเข้าญาน
    สลับไปสลับมา อย่าทำอยู่อย่างเดียว
    เดี๊ยว น่าเบื่อ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2017
  13. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ขอบพระคุณมากครับผม คุณ nilakarn
     
  14. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ขอบพระคุณมากคัรบ พี่ ธรรม-ชาติ ขอสอบถามอีกนิดนะครับ เวลาผมนั่งสมาธิไปแล้วจิตนิ่ง ดีแล้วแต่ไม่มีอาการอิ่มเอิบน้ำตาไหล แต่พอแผ่เมตตาเท่านั้นแหล่ะ ขนลุกสู้ขึ้นหัวเลย นี่คือ ปิติ อย่างนึงหรือไม่ครับ
     
  15. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ตอบพี่ งูๆปลาๆ ครับ อาการวูปของผม พอวูปปุ๊บดึงขึ้นมาได้ก้อสงบต่อไม่ฟุ้งซ่าน สักพักเดียววูปเหมือนคนหลับใน แล้วก้อดึงมาอีก แต่ในความรู้สึกจิตมันยังนิ่งอยู่ แต่ในใจนึกว่ากายมันคงง่วงจริงๆก้อเลยถอนออก แล้วก้อแผ่เมตตาล่ะครับ ตอนนี้มันตันตรงนี้ล่ะครับ
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=226

    ปีติ 5 (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture)
    1. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill)
    2. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy)
    3. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy)
    4. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy)
    5. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture)

    +++ ขณะที่ "จิตนิ่งดีแล้ว" นั้น มันเลย ฌาน 2 ไประยะหนี่งแล้ว ดังนั้น จึงเลย ปิติ 5 ไปด้วย

    +++ ดังนั้นอาการ "อิ่มเอิบน้ำตาไหล" จึงไม่สามารถเกิขึ้นได้ เพราะ "มันเลย ฌาน 2 ไปแล้ว"
    +++ การ "กลับมาแผ่เมตตา" นับว่าเป็นการ "ถอยฌาน (ในกรณีของคุณ)" กลับลงมาใน ฌาน 2

    +++ เป็น ฌาน 2 ขั้นแรก คือ "ขุททกาปีติ"

    +++ คำตอบในคำถามของคุณ คือ "ใช่ เป็น ขุททกาปีติ" นะครับ


    +++ การฝึกในกลุ่มพวกผม "ความรู้สึก ทั้งตัวทั่วถึง" จะเริ่มต้นโดยตรงที่ "5. ผรณาปีติ" "เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์" และเป็น "สัมปชัญญะ" โดยสมบูรณ์
    +++ ดังนั้น "ประสพการณ์ ในการ แก้ง่วง" ของกลุ่มพวกเรา อาจมีไม่มาก
    +++ เพราะพวกเรา "เริ่มต้นกันที่ สัมปชัญญะ เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ตรงกันกับ ผรณาปีติ"
    +++ ดังนั้น อุปสรรคในเรื่อง "ความง่วง" ของกลุ่มฝึกของผม จึง "ไม่ปรากฏ"
    +++ การแก้ปัญหาในเรื่อง "ความง่วง" พวกเรา ไม่ชำนาญ เพราะ "ไม่ค่อยเจอ" นะครับ

    +++ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ขอให้คุณ rattanasak "เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในธรรม" และ "ให้มีความ สุขสวัสดิ์ ตลอดปี 2561" นะครับ
     
  17. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ทำลายตัวเราได้ด้วยเห็นการเกิดดับของรูปนามเท่านั้นครับ. ความรู้แรกเกิดตรงนี้. จนไปถึงความเป็นอนัตตา. นั้นไม่ใช่เราไม่ใช่ตัวตนของเราบังคับบัญชาไม่ได้. เป็นเพียงขันธ์. ธาตุ อายตนะ. พิจารณาแบบนี้
     
  18. rattanasak

    rattanasak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    414
    ค่าพลัง:
    +616
    ขอขอบพระคุณ และ อนุโมธนาสาธุด้วยนะครับ บุญใดที่ผมได้รับขอให้พี่ๆทุกท่านได้รับเหมือนผมด้วยครับ
     
  19. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    กำลังไปต่อไม่พอเรื่องปกติครับ
    เดินจงกลมสลับนั่ง อาการนี้จะหายไปครับ
    แต่ต้องข้ามความคิดผุดที่ขึ้นมาเอง
    ให้ได้ด้วยนะครับ
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ สำหรับพวกที่ชอบ ท่องคาถา เกิด/ดับ เคยมี "ปัญญา" รู้หรือไม่ว่า เกิด/ดับ มีกี่ระดับ

    +++ จะบอกให้ว่า พวกที่ชอบพูดว่า "เกิด/ดับ" แบบตาม ๆ กันมานั้น ควรจะรู้เอาไว้ด้วยว่า

    +++ คำพูดว่า "เกิด/ดับ" นั้น เป็นการ "ตัด/ต่อ" ธรรมะของพระพุทธเจ้า "ที่เป็นท่อนที่สำคัญ" ออกไป ท่อนหนึ่ง

    +++ ท่อนนั้นคือ "ตั้งอยู่" ท่อนนี้เป็น "หัวใจของการ เรียนรู้การเดินจิต ใน ปฏิจจสมุปบาท" และ "มหาปัฏฐานสูตร (เหตุปัจจโย)"

    +++ ท่อนที่เรียกว่า "ตั้งอยู่" นี้ ผู้ที่จะรู้ได้ "ต้องอยู่ใน องค์ที่ สติเป็นสมาธิ เท่านั้น" เรียกว่า "สติครองฌาน"


    +++ ดังนั้น พวกที่ "มโน เกิด/ดับ" เท่านั้น จึงแบกป้ายยี่ห้อฟ้องตัวเองไปในตัวว่า "ตัดสวรรค์-นิพพาน" เรียบร้อยแล้ว


    +++ มันเป็น "ความไม่รู้ หรือ ความจงใจ" กันแน่ ที่ตัดธรรมะของ "พระพุทธเจ้า" ออกไปทั้งท่อน

    +++ พระพุทธองค์ กล่าวไว้ "ชัดเจนว่า เกิดขึ้น/ตั้งอยู่/ดับไป" ทั้ง 3 ระดับ ไม่ใช่มีแค่ "เกิด/ดับ ตัด/ต่อ" เอาเองแบบนั้น

    +++ bigtoo มาจากสำนัก "เกิด/ดับ ตัด/ต่อ" และสำนักนี้

    +++ นอกจากจะ ตัด/ต่อ ธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว ยัง ตัด/ต่อ ปาฏิโมกข์ เหลือแค่ 150 ข้อ อีกด้วย

    +++ เอาเป็นว่า ผมขี้เกียจพูดว่ามันเป็น "สังฆเภท" ที่เป็น "อนันตริยกรรม ห้ามสวรรค์นิพพาน" หรือไม่ก็แล้วกัน

    +++ และที่สำคัญ คือ ไอ้เรื่อง "เกิด/ดับ" นั้น ผมรู้ใน ทุกระดับ

    +++ การที่จะรู้ เกิด/ดับ ตามความเป็นจริง ได้ทั้งหมดนั้น ต้องมาจาก "การตั้งสติมั่นในภาค ตั้งอยู่" เท่านั้น

    +++ นอกนั้นเป็น "รายการมโนเอาเอง รายการมโนหลอน" ที่เรียกง่าย ๆ ว่า "ฟุ้งซ่านจนจิตหลอน" นั่นเอง


    +++ เกิด/ดับ มีหลายระดับ

    +++ 1. ระดับของ "ความคิด" เกิด/ดับ เปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย ๆ ตรงนี้ เป็นของพวก "ไม่ต้องฝึกสมาธิ ก็เห็นได้" และมักจะใช้ภาษา "เท่ ๆ" ว่า พิจารณา (คลอง 10)

    +++ 2. ระดับของ "กิริยาจิต" เกิด/ดับ เป็นเรื่องของ "สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่ง ๆ นั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา" จากตรงนี้เป็นต้นไป "การพิจารณา จะ ไม่สามารถทำได้ เพราะอยู่ในระดับ อัปปนาสมาธิ ความปรุงแต่งพิจารณาฟุ้งซ่าน เข้าไม่ถึง"
    +++ ตรงนี้ ต้องมี สติ "ตั้งอยู่" ใน อากาสานัญจายตนะ จึงจะ "เริ่มเห็นได้" เป็นเบื้องต้น
    +++ หากจะเห็น "ชัดเจนที่สุด สติ จะต้อง "ตั้งอยู่" ใน วิญญาณัญจายตนะ" ตรงนี้ ชัดเจนไม่คลุมเคลือที่สุด และสามารถฟันธงได้เลยว่า "มันเป็นสัญญา"
    +++ ในระดับของ "อากิญจัญญายตนะ" ที่มี สติ "ตั้งอยู่" จะเริ่ม ไม่ให้ความสำคัญกับพวก "สัญญา เกิด/ดับ" อีกต่อไป
    +++ ในระดับของ "เนวสัญญานา สัญญายตนะ" ที่มี สติ "ตั้งอยู่" อาการของกิริยาจิต สัญญา เริ่มไม่สามารถ ต่อ/ติด ได้ จึงไม่อาจ "ฟันธง" ได้ว่ามันใช่ สัญญา หรือไม่

    +++ 3. ระดับของ "ผู้สร้าง เกิด/ดับ (จุติจิต ในชั้นก่อกำเนิด เป็นของชั้น วิชชา 3)" ชั้นนี้ "รู้ชัด" แล้วว่า "ตน นั่นแลคือผู้สร้าง เกิด/ดับ"
    +++ ชั้นนี้จะมีความพยายามในการ "หยุดการ เกิด/ดับ" จนกว่าจะถึงขั้น "หยุดตน" ได้
    +++ ตรงนี้จะ ตรงกับคำพูดของหลวงตามหาบัวว่า "มันจ่อ/ไม่จ่อ" ก่อนที่มันจะ "ผาง" ของหลวงตา
    +++ หลังจาก "หยุดตน" ได้แล้ว จึง "รู้" ได้อย่างชัดเจนว่า "สัญญาเวทยิตนิโรธ" คืออะไร และ ตรงนี้ "เริ่มพ้นจากอาการ เกิด/ดับ" ทั้งปวงได้
    +++ ตรงนี้เป็นการ "หยุด" อาการ เกิด/ดับ ได้ชั่วคราว ยังไม่ถาวรอะไรนัก (อนาคานิโรธ)

    +++ 4. ระดับของ "การทำลาย ผู้สร้างอาการ เกิด/ดับ" ตรงนี้คือ การทำลาย "อัตตาจิต" ทิ้งไป และตรงนี้แหละคือคำว่า "ผาง" ของหลวงตามหาบัว


    +++ ดังนั้น จะสามารถ เห็น ได้อย่างชัดเจนว่า การเข้าถึง "การทำลายเหตุ เกิด/ดับ" นั้น ต้อง "มีสติตั้งอยู่ ในภาค ตั้งอยู่" แต่เพียงอย่างเดียว เท่านั้น

    +++ สำนักใดก็ตาม ที่ "ตัดภาค ตั้งอยู่" ทิ้งไป จึงเป็นการ "ฟ้องตัวเอง" ว่า ได้ตัดภาค "มรรค" ทิ้งไปแล้ว "ทั้งยวง" นั่นเอง

    +++ สำหรับผู้ที่พูดว่า "ทุกอย่าง เกิด/ดับ" นั้น เป็นการ "ฟ้องตัวเองชัดเจน" ว่า ยังไม่พ้น "เหตุ เกิด/ดับ"

    +++ การตัด "มรรค" ทิ้งไปนั้น เป็นการ "ยืนยันคำพูดที่ว่า ปิดสวรรค์นิพพาน" ไปแล้ว นั่นเอง
    +++ เห็นได้แค่นั้นเองเหรอ
    +++ เห็นเหตุเกิดแล้วเหรอ รู้จักอนัตตาจริงป่าว หา.....
    +++ มโนเอาเอง ได้แค่นี้เหรอ
    +++ พิจารณาแบบ "มโนเอาเอง" ทั้งนั้น


    +++ อีกประการหนึ่งสำหรับ bigtoo ที่ควรรู้ไว้ก็คือ "ผมไม่ปรารถนา ที่จะ คุยอะไรกับกับคุณ รวมทั้งบุคคลที่มาจากสำนักคุณ ที่ทำการ ปิดมรรค ทั้งหมด"

    +++ หวังว่า "คงมี สติ เพียงพอต่อความเข้าใจ" นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...