<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
[FONT="][FONT="]สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวตารแห่งมหาเทพ (นเรศวรปกรณัม) 3[/FONT][FONT="][/FONT]
[/FONT]
[FONT="]10. เมื่อถึงวัยหนุ่มจะกลับไปบ้านเกิดเมืองนอน หรือไปสู่แคว้นที่จะครอบครอง[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] พระองค์เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา ที่เป็นราชอาณาจักรที่จะทรงสืบราชสมบัติต่อในอนาคต เมื่อพระชนม์ 18[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]11. หลังจากที่มีชัยชนะต่อพระราชา หรือยักษ์ หรือ มังกร หรือสัตว์ร้าย[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] ทรงมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชาในสงครามยุทธหัตถี[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]13. สถาปนาเป็นพระราชา[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] หลังจากพระราชบิดาสวรรคต ก็ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 18 แห่งกรุงศรีอยุธยาต่อจากพระราชบิดา[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]15. ออกกฎหมาย[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] ทรงออกกฎหมายเพื่อใช้เป็นกฎเหล็ก ในการควบคุมความเป็นระเบียบของสังคมเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วดังประกาศปณิธานชัดเจนว่า เราขอให้ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังเรา ปฏิบัติตามพระราชกำหนดกฎหมาย บทพระอัยการ และช่วยกันรักษาพระราชกำหนดกฏหมายมิให้ขาดตกบกพร่อง ผู้ใดทำผิดพระราชกำหนดกฏหมายแม้แต่เล็กน้อย จะต้องโทษ (มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 2544 หน้า 72) และก็ทรงยึดแนวทางตามที่ประกาศไว้ตลอดรัชสมัย[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]16. ต่อมาทำให้เทพเจ้าพิโรธและเสื่อมศรัทธาจากประชาชน[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] สมเด็จพระนเรศวร ไม่เคยทรงทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา แต่ในมุมมองของเทพปกรณัมจากข้อมูลในคำให้การขุนหลวงหาวัด และพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระองค์ได้ทรงทำให้เทพในศาลเทพารักษ์โกรธ โดยมีคำเล่าขานว่ามีรับสั่งเชิงดูหมิ่นในขณะเดินทัพ จึงทำให้ประสบเหตุร้ายถูกแมลงต่อยบริเวณพระพักตร์จนกลายเป็นพิษและประชวรหนักจนสวรรคต[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]18. ตายอย่างลึกลับ[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] การสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวร ทิ้งปริศนาให้ค้นคว้าหาคำตอบไม่ได้ว่าจะเป็นในประเด็นสาเหตุการสวรรคต หรือ สถานที่ที่สวรรคต[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]19. มักจะเสียชีวิต บนยอดเขา[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] พระนเรศวรฯ เสด็จสวรรคตในขณะที่กำลังยกทัพไปตีกรุงอังวะ ปี 2148 ณ เมืองหาง หรือห้างหลวง บ้างก็ว่าเมืองแหง ที่สันนิษฐานกันว่าปัจจุบันคือ อำเภอเวียงแหง เชียงใหม่ อย่างไรก็ตามกรุงอังวะ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง พระองค์จะไปตีเมืองอังวะ ทรงเดินทัพผ่านเชียงใหม่ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาเช่นเดียวกัน ทรงสวรรคตระหว่างทางที่จะยกไปตีกรุงอังวะ ดังนั้นจึง เสด็จสววรคตบนยอดเขา[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]20 ลูก ถ้ามี ไม่ได้สืบสันตติวงศ์[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] มีหลักฐานว่าทรงมีพระราชโอรส คือพระมหาธรรมราชา หรือพระฝ่ายหน้า แต่ไม่ได้สืบสันตติวงศ์ ผู้สืบทอดคือพระเอกาทศรถ พระราชอนุชา[/FONT]
[FONT="]22. มีอนุสาวรีย์สักการะหนึ่ง หรือ มากกว่าหนึ่ง[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] แค่พิษณุโลกจังหวัดเดียว ถึง 12 แห่งยังไม่รวมจังหวัดต่าง ๆ อีกมากมาย[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]จากการเทียบเคียงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรฯกับโครงสร้างชีวิตเชิงวีรบุรุษในเทพปกรณัม มีที่ควรหยิบยกมาพิจารณาดังนี้ ......[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]
[/FONT]
[FONT="]เหตุการณ์ในชีวิตวีรบุรุษ แบ่งได้เป็น 3 ตอน กำเนิด สถาปนาสู่บัลลังก์ และ มรณกรรม[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] โดยนัยตามนี้อาจกล่าวได้ว่า ชีวิตของสมเด็จพระนเรศวรเป็นปกรณัมที่ซับซ้อนที่สุด ต้องผ่านการประลองยุทธิ์ ต่อสู้เพื่อกอบกู้สังคมและเกียรติศักดิ์ แทบจะนับครั้งไม่ถ้วน เป็นการปฏิบัติการมิใช่เพื่ออหังการ แต่เป็นการกำจัดตัวตนของตน เป็นการมอบตัวให้แก่เป้าหมายบางอย่างที่เหนือกว่า นี่คือการทดลองอันสูงสุดที่พระองค์ทรงได้รับ [/FONT]
[FONT="]
[/FONT]
[FONT="]เมื่อคนเราเลิกคิดถึงตัวเอง ถึงการรักษาตัวของเราเอง ให้รอดเป็นอันดับแรก เราก็จะประสบการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่รูปแบบการรับรู้หรือกระแสจิตแบบวีรบุรุษอย่างแท้จริง ตามความหมายที่โจเซฟ แคมพ์เบลล์ ว่าไว้นี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงผ่านการทดสอบอันสูงสุดและบรรลุความเป็นวีรบุรุษอย่างแท้จริง[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]หลายคนคิดว่า วีรบุรุษ คิอผู้กล้าหาญแข็งแรง แต่คุณสมบัติเหล่านี้เป็นเรื่องรอง ความเสียสละต่างหากเป็นหลักสำคัญที่บอกถึงความเป็นวีรบุรุษที่แท้จริง ความเสียสละ คือความเต็มใจของวีรบุรุษในอันที่จะสละอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าเช่นชีวิต เพื่อประโยชน์ของอุดมคติ หรือของกลุ่ม ความเสียสละจึงหมายถึงการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ทำให้ความตายได้รับการเชิดชูว่าเป็นพฤติที่ศักดิ์สิทธิ์[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]
[/FONT]
[FONT="] จากการพัฒนาจิตวิญญาณให้แทงทะลุโลกียวิสัย ชีวิตวีรบุรุษจึงเป็นชีวิตที่กระทบใจและประทับใจคนทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณีใด เรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงเป็นที่จดจำของมหาชนและเป็นอมตะ โดยมีการถ่ายทอดต่อ ๆ มาในรูปแบบสื่อการรับรู้ในสังคม [/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="]
[/FONT]
[FONT="]พลังของพระองค์เป็นพลังที่ไม่หยุดนิ่ง เป็นพลังที่ยังคงส่งผลสืบเนื่องผ่านห้วงเวลาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน แม้ว่ารูปแบบของวิกฤตการณ์ในแต่ละห้วงเวลาจะแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตแบบใด ประชาชนก็ยังคงต้องการสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่พึ่ง ประชาราษฎร์ยังรู้สึกว่าได้รับความคุ้มครองรักษาและมีชีวิตอยู่ภายใต้การนำ ทางของพระองค์จวบจนทุกวันนี้[/FONT][FONT="][/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="] เก็บมาเล่า จาก [/FONT][FONT="]“สมเด็จพระนเรศวรมหาราช: พลังขับเคลื่อนเบื้องหลังประชาชาติ” [/FONT]
[FONT="] ( ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ)[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.
หน้า 131 ของ 234
-
-
ขออภัยที่โพสแทรกกลางระหว่างเรื่องที่พี่ดอกไม้กำลังเสนอเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรพระมหาวีรราชเจ้า
หนูรอฟังเรื่อง ลาวดวงเดือนค่ะพี่
หนูมีเบี้ยแบบเดียวกับที่คนโบราณนำมาทำหัวแหวน หัวแหวนแบบที่เห็นในตู้เครื่องทองในพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา สีเขียวๆ ตอนแรกก็นึกไม่ออกว่าคืออะไร ทางผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เขาบอกว่าเป็นเบี้ยแก้ที่คนโบราณนำมาทำเครื่องประดับ ทีนี้หนูก็ไปเดินพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วานชั้น 3 ก็ไม่เคยเห็นแบบที่เห็นในพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นตัวหอยทั้งตัวกันทุกแผง
เมื่อสองเดือนก่อนคุณรุ้งเธอไปซื้อหอยเบี้ยมาจากพ่อค้าชาวชุมพรคนหนึ่งที่มานั่งขายหน้าห้างพันธุ์ทิพย์นั่นแหละ พ่อค้าคนนี้เขาจะไปหาตามชายฝั่งทะเล มีไม่มากนัก หมดแล้วหมดเลย ปีไหนหาได้มากก็มีเป็นร้อยๆอัน ปีไหนหาได้น้อย 20-30 อันเขาก็จะไม่เข้ากรุงเทพฯเพราะไม่คุ้มค่ารถ ปีนี้เขาบอกว่าหาได้ 100 กว่าอันรวมกับของปีที่แล้วอีกพอจะคุ้มค่าเดินทางแล้ว ก็เลยเข้ากรุงเทพฯ เขานั่งถักหวายร้อยเบี้ยเองด้วย ขายฝีมือทักเอ็นรวมเบี้ย เขาขายอันละ 100 บาทเท่านั้น ที่ทางสายธาตุมียังไม่ได้ถักหวายราคาเม็ดละ 50 บาทเช่าต่อจากคุณรุ้ง (ของโบราณๆ คาถาโบราณๆ ต้องถามคุณรุ้งเธอเป็นลูกมหาละมัยบ้านอยู่วัดโบสถ์ดอนพรหม ซอยทางไปท่าน้ำนนท์ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานะคะ พระสงฆ์ย่านนนทบุรีแถบนี้ อาทิเช่น แถววัดเฉลิมพระเกียรติ วัดระโหง วัดบางกร่าง วัดโตนด จะรู้จักคุณพ่อของเธอเป็นอย่างดี แม้แต่ท่านพระครูเจ้าอาวาศวัดปราสาทที่เพิ่งไปสวดมนต์มาเมื่อวันศุกร์ยังรู้จักเลย ทางสายธาตุจึงได้ความรู้แปลกๆมาด้วยสาเหตุนี้)
ทีนี้เช้านี้นึกขึ้นได้ว่า เบี้ยแก้อย่างที่มีอยู่ในมือนี้เป็นสีเขียวๆเป็นอย่างเดียวกับหัวแหวนโบราณในตู้ที่เคยเห็น ก็เลยโป๊ะแชะว่า แหวนเบี้ยแก้โบราณทำด้วยเบี้ยชนิดนี้นี่เอง เขาเรียกว่า "หัวเบี้ย" ค่ะ (ถ่ายรูปมาแล้วค่ะ ขอเชิญทัศนาค่ะ)
หัวเบี้ยมีสีเขียวขาว แต่บางเม็ดมีสีทองแซมเข้ามาด้วย
ด้านหลังของหัวเบี้ยจะเป็นสัญญลักษณ์ของพลังจักรวาลไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระนเรศวรอวตารแห่งมหาเทพ
ณ..ดินแดนแสนไกลสุดปลายฟ้า
ข้ามเทือกเขา..เนาพนา..มหาศาล
หิมพานต์..สีทันดร..สุดโอฬาร
เกินแรงบิน...พญาสุบรรณ..กินรี..
ยะ...เยือก..เย็น..หยาดหิมะ..สะกาวขาว
คลี่คลุม..พราว..ยาวเหยียดทั้ง...คีรีศรี
ถิ่น...ไกรลาส....ที่สถิต..เทพบดี
พระนามก้อง..ตรีภพ..นี้....มหาศิวา..!
ปรเมศวร...ศิวะ ....พระใหญ่ยิ่ง
ทรงเป็นมิ่ง..สรวงสวรรค์..เทพหรรษา
พระ..ผู้ ประทานพลัง ..ลี้ลับ..มา
แก่ มนุษย์ ครุฑา เทวา ยักษ์
ทรงเรืองฤทธิ์.. อิทธิเดช ...เนตรที่สาม
บรรลัยกัลป์ ..ไฟลุกลาม.. โลกประจักษ์
บำเพ็ญพรต..เหนือขุนเขา .. เนานานนัก
ทั้ง..สามโลก...ล้วนตระหนัก....บารมี
ครา..นั้น ......พระสยามเทวาราช
เทพปกป้อง..สยามชาติ..ให้สุขศรี
เสด็จผ่าน.... สีทันดร ...มหานที
เพื่อกราบบาท..จอมมุนี...ศรีไกรลาส
โอม.!...นมัช ศิวายะ ... พระเป็นเจ้า
อันกรุงศรี..ให้ร้อนเร่า.. อเน็จอนาถ.
แม้นปล่อยไว้..ไพร่ ฤา พระ กระเซ็นซัด
ม่านพม่า..รุกเร่งรัด..หมายมาดครอง
จำมาเฝ้า แทบพระบาท..ไกรลาส ถิ่น
กราบทูลเชิญ...เทพบดินทร์...สิ้นเศร้าหมอง
ชลอ..องค์...ลง..อุบัติ...แผ่นดินทอง
ปราบ..ยุคเข็ญ....เศวตฉัตร..รองรับ..พระองค์
พระหริ..ทรง ตริ ตาม เทวาตรัส
ทรงเห็นชัด ปล่อยไว้..ไทยเป็นผง
อิศวร..เจ้า..จึ่ง อวตาร..มาสู่พงศ์-
-กษัตรา...พระนามคง...นเรศวร
อัศจรรย์ พันลึก...อภินิหาร
อวตาร..ศิวะเจ้า.... ราวลมหวน
พัดกระหน่ำ ทุกทิศไป ไม่เรรวน
สยามล้วน สราญไซร้ ใต้พระบารมี....
โอม.....นมัช ศิวายะ พระนเรศเจ้า
มาบัดนี้ ชาวไทยเศร้า สิ้นสุขศรี
ด้วย..พระ คืนสู่ ....ไกรลาส ..เทพคีรี
ปวงข้าบาท..อัญชลี....โอม...นมัช ศิวาย !
ขอบารมีแห่ง..พระอิศวรผู้เป็นเจ้าและ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า..
อวตารแห่งมหาทวะ ..โปรดประทานสรรพมิ่งมงคลและความสุข
ความปรารถนา ตามคัลลองคลองธรรม แก่ท่านทั้งปวงผู้มีจิตศรัทธาเคารพ
บูชาในพระองค์ด้วย เทอญ.......
โอม...นมัช ศิวายะ
โอม...ศานติ ศานติ ศานติ... -
ยอดเขาไกรลาส เทือกเขาหิมาลัย(เนปาล)
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระบารมีปกป้อง คุ้มแผ่ไพศาล แก่ผู้ที่ศรัทธา
พระกฤษดาอภินิหาร พิธีถวายพระแสงของ้าวจำลอง
ทุกดวงจิตจากล้านนาสู่อโยธยาถวายองค์ปรเมศวร
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ขออนุญาติ คั่นโฆษณา ค่ะ^_ู^
หากมีโอกาส ขอเชิญคุณพี่ดอกไม้เมืองบน มาแอ่วเชียงใหม่เน้อเจ้า -
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=bAGz2CbTwyY&feature=related]YouTube - การแสดงชุด ไกรลาศสำเริง.mpg[/ame]
-
วัดตักซัง แห่งภูฐาน วัดศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งที่อิงแอบอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย วัดนี้อยู่ริมหน้าผาสูง 900 เมตร
(จะมีสักแห่งในโลกนี้หรือไม่ ที่วัดแม่ชีที่ใส่ชุดสีเทาดำ โดยวัดตั้งอยู่สูงจากระดับทะเลสาบสัก 300 เมตร อยู่ริมหน้าผาแบบนี้แต่มองลงไปเห็นทะเลสาบในช่องเขาล้อมรอบ ทางสายธาตุหาๆไปเรื่อย ขอโหนเทือกเขาหิมาลัยของพี่ดอกไม้เมืองบนระลึกถึงสถานที่สักหน่อยค่ะ เจอก็ดีค่ะแต่ไม่เจอก็ช่าง)
-
ยินดีจ๊าดดดดนัก..เจ้า...
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [FONT="]เปิงใจ๋....มีคนกิ๊ดหา ก่อยไปวันหน้า ปะกั๋นแหมมื้อ[/FONT]ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
คล้ายทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ให้เลยค่ะ
ภาพนี้ทางสายธาตุเป็นคนถ่ายเอง (ภูมิใจที่ตัวเองถ่ายเก็บไว้ได้)
สังเกตให้ดีจะเห็นดวงธรรมของพระองค์ท่านเหนือคนโฑด้วยนะคะ
ขอกราบถวายสักการะสมเด็จพระมหาวีรราชเจ้าจอมราชันย์
-
เวียง....เก่าก่อน ย้อนรอย ในปางบรรพ์
เวียง....พันนาทะกาน...เวียนมาหา
เวียง....แห่งนี้ ตัวข้าเจ้า....เคยอยู่มา
เวียง....แรมรา ล่มแล้ว....แคล้วจากจร
เวียง....แห่งนี้ พาฉัน กลับมาสู่
เวียง....แห่งนี้ ตามหาดู..เศร้าใจถอน
เวียง....แห่งนี้ เวียงฉันแท้ แสนแน่นอน
ทุกคนจร..ทรากเวียงอยู่ คู่..ท่ากาน
จวบ..พันปี..ใครหนาพาฉันกลับ
ปาฏิหารย์...ยามตาจับ..เกินความฝัน
โน่นก็ใช่ นี่ก็ใช่ อะไรกัน
สุดร้าวราน...เหลือเพียงเรา...เศร้าเอกา
พระพุทธองค์ทรงตรัสโปรดสัตว์ไว้..
รูปังอนิจจัง เวทนาอนิจจา
สัญญาอนิจจา สังขาราอนิจจา
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข.....ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
นี่คิอ หนึ่ง ในอัศจรรย์
กลับมา..พลัน จะเล่าสู่
ตอนนี้..ลา.. ไม่อยู่
กลับมาสู่ จะเล่า ให้ฟัง -
ขอรำลึก ความรู้สึกอีกครั้ง
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
วัดปราสาท
วันนี้ผมได้ไปวัดปราสาทมาซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้ไป หลังจากที่ได้มีการโพสไว้เกิดสนใจขึ้นมากระทันหัน หลังจากเมื่อหลายปีก่อนเคยอยากมาครั้งหนึ่งแล้วแต่ไม่รู้อยู่ตรงไหน ครั้งนี้จึงสำเร็จผล ผมได้เดินชมในทุกๆด้าน มีจุดหนึ่งที่ผมสังเกตุเห็น คือช่องหน้าต่างเล็กด้านบนของโบสถ์ เมื่อเดินไปด้านหลังโบสถ์เงยหน้าขึ้นไป มีรูปๆนึงที่ลางมากๆ แต่พอดูออก ไม่แน่ใจว่าวาดในสมัยใด โดยศิลปะรูปแบบนี้ ดูคล้ายๆพระปางประทานพร แต่ไม่ใช่ รูปนั้นคือรูปพระร่วง เพราะถ้าเป็นพระพุทธเจ้าประทานพร ที่เอวจะไม่มีที่คาดลักษณะคล้ายเข็มขัด แต่พระร่วงจะมีลักษณะคล้ายเข็มขัดที่เอว ถ้ารูปที่ว่านี้วาดขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่สืบถึงสายสัมพันธ์ในราชวงศ์สุโขทัย แต่ถ้าไม่ใช่ก็เป็นแค่รูปไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ทางสายธาตุขอพูดเรื่องนี้แบบกลางๆไว้ก่อน โดยส่วนตัวเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่ พระเจ้าปราสาททอง และ เจ้าแม่วัดดุสิต จะทรงเป็นสายพระโลหิตในพระราชวงศ์พระร่วงท้้งสองพระองค์ค่ะ
ภายภาคหน้าคงมีนักโบราณคดีหรือนักประวัติศาสตร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมาสืบค้นเรื่องนี้ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการทางประวัติศาสตร์จริงๆ
มีอีกสองวัดในนนทบุรี คือวัดปรางค์หลวงและวัดอัมพวัน ที่กล่าวว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงอพยพเชื้อพระวงศ์และทหารหนีโรคห่าในพระนครศรีอยุธยามาตั้งทัพที่วัดอัมพวันหลายเดือน คนโบราณเรียกวันปรางค์หลวงอย่างชาวบ้านว่า วัดพี่ และเรียกวัดอัมพวันอย่างชาวบ้านว่าวัดน้อง สองวัดนี้อาณาเขตติดกันและเดินไปมาหาสู่กันได้ สถาปัตยกรรมเก่าๆก็ไม่ค่อยจะมีแล้ว
ที่วัดปรางค์หลวง เหลือพระปรางค์โบราณหนึ่งองค์ ที่วัดอัมพวัน เหลือหอพระไตรปิฏกหนึ่งหอ
หอพระไตรปิฏกที่วัดอัมพวันทาสีฟ้า-ชมพู ซึ่งกรมศิลปากรอนุรักษ์สีดั้งเดิมไว้ หน้าบันประตูหอไตรเขียนรูปจีนทั้งสามด้าน มีห้องเล็กๆอยู่หลังห้องเก็บพระไตรปิฏก -
วัดอัมพวัน
วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ริมคลองแม่น้ำอ้อม ในท้องที่ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ และอยู่ใกล้กับวัด ปรางค์หลวง มีถนนเข้าถึงวัดได้ คือ มีถนนแยกจากถนนวงแหวน ตลิ่งชัน – บางบัวทอง เป็นถนนแยกถัด จากแยกเข้าตัว อำเภอบางใหญ่วัดอัมพวันสร้าง ในสมัยพระเจ้า ปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากได้มี การอพยพไพร่พลหนีโรคระบาด มาพัก บริเวณตำบลบางม่วงนี้ และมีผู้ใจบุญได้สร้างวัดขึ้น มีชื่อว่า “วัดบางม่วง” สำหรับคำว่า “อัมพวัน” แปลว่า “สวนมะม่วง” ทางวัดได้ทำเป็น ผลมะม่วงทาสีเขียว ไว้บนหัวเสาประตู เข้าวัดด้วย โบราณสถานของวัดนี้ที่น่าศึกษา น่าชม คือ พระปรางค์เก่าแก่ซึ่งสร้างในสมัย กรุงศรีอยุธยา พระพุทธบาทจำลองอยู่ในมณฑป พระพุทธ รูปสมัยเชียงแสนในวิหาร หอพระไตรปิฎกสมัยกรุงศรีอยุธยา ศาลาการเปรียญ และหอสวดมนต์ เป็นต้น สำหรับหอไตรหิฎก เป็นอาคารไม้สักทองทรงไทย หลังคามุงกระเบื้องดินเผา หลังคาซ้อน ๒ ชั้น เป็นห้องสมุดประจำวัด ใช้เก็บ ใบลานสมุดข่อย คัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น
หอพระไตรปิฏกหลังนี้ เป็นไม้สัก ตอนที่ทางสายธาตุไปทัวร์ไหว้พระเก้าวัดกับวัดสวนแก้ว เห็นแล้วเสียดายไม้สักอยากให้ทาสีโชว์ลายไม้ พระท่านบอกว่า หอพระไตรปิฏกหลังนี้ เป็นโบราณสถานที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ทางวัดจะแตะต้องมิได้ อาตมาก็อยากทาสีอื่นแต่กรมศิลป์บอกว่าสีที่ทานี้เป็นสีที่อนุรักษ์ให้เป็นไปตามแบบดั้งเดิมที่เริ่มสร้างมาค่ะ
ป.ล. ตอนไปทัวร์๙วัด ที่วัดสวนแก้วจัดจะให้รถแบบรางวิ่งไปสองตู้รถ ตอนที่ไปทัวร์ ๙ วัดครั้งแรกนั้นเป็นเดือนสิงหาคมปี ๒๕๕๑ จำได้ว่าเดือนนั้นมีเรื่องทุกข์ใจด้านการงานจึงคิดจะทำบุญให้มาก ซึ่งตอนนั้นทางสายธาตุยังไม่ได้ติดตามเรื่องราวต่างๆในเชิงประวัติศาสตร์ มีเพียงจุดประสงค์จะไปทำบุญเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงเก็บอยู่ในความทรงจำ ภายหลังทางสายธาตุมาจับรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ข้อมูลนี้จึงเข้ามาอยู่ในความสนใจอีกครั้งค่ะ จึงกลับไปหารายละเอียดเพิ่มเติม ก็ไปสังเกตุได้ว่าเหนือบานประตูหอพระไตรปิฏกเขียนเป็นรูปแบบศิลปจีน เป็นลายทิวทัศน์ ลายกวาง ลายหงส์ แบบจีนค่ะไฟล์ที่แนบมา:
-
-
<TABLE id=post3822559 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid" class=thead> 22-09-2010, 05:47 PM </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=thead align=right>#http://palungjit.org/threads/ข<!-- google_ad_section_end -->
</TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt1 align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
<TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><THEAD><TR><TD class=tcat></TD></TR></THEAD><TBODY style="DISPLAY: none" id=collapseobj_post_thanks_3822559><TR><TD class=alt1>
</TD></TR></TBODY></TABLE>
<TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD class=thead></TD></TR><TR><TD class=alt1><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 728x90, created.24/08/09 */google_ad_slot = "7486718593";google_ad_width = 728;google_ad_height = 90;//--> </SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 728px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 90px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px"></INS>
</TD></TR></TBODY></TABLE>
<TABLE id=post3827033 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid" class=thead> 23-09-2010, 05:44 PM </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=thead align=right></TD></TR><TR vAlign=top><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2 width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ชนะ สิริไพโรจน์<!-- google_ad_section_end --> <SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3827033", true); </SCRIPT>
ทีมงานเว็บพลังจิต
วันที่สมัคร: Jul 2008
ข้อความ: 3,719
Groans: 124
Groaned at 35 Times in 31 Posts
ได้ให้อนุโมทนา: 32,859
ได้รับอนุโมทนา 35,051 ครั้ง ใน 2,489 โพส
พลังการให้คะแนน: 3990
</TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3827033 class=alt1><!-- google_ad_section_start -->
อ้างอิง:
<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>พระพุทธเจ้าท่านทรงเครื่องจักรพรรดิเต็มอัตรารออยู่
พระยาชมพูบดีไม่สามารถที่จะต่อต้านพุทธานุภาพได้
จึงยอมฟังธรรม เลยเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้
พระพุทธเจ้าปางที่โปรดพระยาชมพูบดีนั้น
จะทรงเครื่องพระเจ้าจักรพรรดิ
ถ้าจะดูตัวอย่างให้ไปดูที่วัดพระแก้ว
จะมีองค์ใหญ่ยืนทรงเครื่องอยู่สององค์
คือพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สององค์นั้นจะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ
เขาเรียกว่า ปางปราบพระยาชมพูบดี ทรงเครื่องสวยมาก
</TD></TR></TBODY></TABLE>
สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
</TD></TR></TBODY></TABLE>
สาธุ ขออนุโมทนากับทั้งสองท่าน
ขออนุญาตคัดลอกมาเผยแพรต่อครับ
<SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
<SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
<SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
<SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><IFRAME height=undefined marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?format=nanxnan&output=html&ea=0&flash=10.1.85.3&dt=1285579559750&shv=r20100909&jsv=r20100917&correlator=1285579559750&frm=1&adk=4200934904&ga_vid=1147066797.1284358688&ga_sid=1285578111&ga_hid=1903304013&ga_fc=1&u_tz=420&u_his=16&u_java=1&u_h=768&u_w=1024&u_ah=768&u_aw=1024&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=1003&bih=626&ifk=1716609719&fu=4&ifi=1&dtd=31" frameBorder=0 width=undefined allowTransparency name=google_ads_frame marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT> -
พระประธานวัดหน้าพระเมรุ ทรงเครื่องจักรพรรดิงามเฉิดฉาย อีกตัวอย่างหนึ่งของพระทรงเครื่องจักรพรรดิ
พี่จงรักภักดีเคยนำบทความเกี่ยวกับน้ำมันที่ประเทศไทยสำรองไว้ไม่มาก ถ้าใครมาปิดช่องแคบมะละกาเราจะมีน้ำมันใช้ต่อได้อีกเพียง 18 วัน เดี๋ยวอาทิตย์หน้าหนูจะไประเบิดช่องแคบให้เป็นช่องกว้างให้เพราะหนูจะไปใกล้ๆตรงนั้น อิอิ
น้องอ๊อฟ พระอาจารย์มหาฤทธิชัยคิดถึง ท่านบอกว่าต้องเร่งงานอื่นต่อ ไฟล์ที่ส่งให้น้องอ๊อฟคงจะพอใจแล้วยังไงให้ติดต่อท่านหน่อยนะคะ
พี่ดอกไม้เป็นแม่หญิงคนเหนือมาก่อนนี่เอง เวียงท่ากาน รอพี่ดอกไม้มาต่อเรื่องพระกฤษดาอภินิหารของสมเด็จฯ และเรื่องเล่าเกี่ยวกับกลอนที่วิญญานแต่งไว้เป็นเพลง ลาวดวงเดือน
คุณไก่เหลืองฯ มูลนิธิพิทักษ์ภูมิไทยกำลังจะสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรใหญ่กว่าพระองค์จริง 2.5 เท่า ทรงม้าถือทวน แต่งพระภูษาออกรบเต็มอัตรา ประดิษฐาน ณ อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย พวกเรามาร่่วมบุญในการสร้างองค์นี้ถวายท่านกันดีไหมคะ เพราะที่วัดตาลเอนนั้นทางสายธาตุไปถามแล้วไม่มีข่าวค่ะ แต่อาจจะเพราะไม่ได้เจอเจ้าอาวาสก็ได้ค่ะ ข่าวนี้ต้องรอพี่จงรักภักดีเป็นผู้นำสารมาบอกกล่าวค่ะ ว่าจะมีวิธีไหนได้บ้างที่จะร่วมบุญกัน
น้องโมเย ดังแว้วววววว อยู่หน้าคลิปวีดีโอพลังจิต ทางสายธาตุเอาวีดีโอ เทิดไท้พระสุพรรณกัลยา ไปวางไว้ ชาวไทยพุทธทั่วโลกคงมีโอกาสได้ฟังกัน ของไทยก้าวไกลระดับโลกกกกกกก...... -
เก็บมาเล่า รรายการสัมผัสหลอน...
เมื่อหลายเดือนก่อน ดู TV แล้วกดไปเจอรายการ สัมผัสหลอน เข้าพอดี ปกติไม่ค่อยชอบดูรายการประเภทนี้เพราะบางทีรู้สึกเหมือนโดนต้มเพราะสุดท้ายรายการก็ไม่เห็นพิสูจน์ได้สักที
สำหรับรายการตอนนี้มาเจอตอนขาเล่าถึงกลอนและเพลงลาวดวงเดือนเลยเกิดสนใจขึ้นเพราะส่วนตัวแล้วค่อนข้างจะอินกับเรื่องราวที่มาของเพลง
ลาวดวงเดือนมาก ด้วยความสงสาร หนุ่มสาวเชื้อสายเจ้าทั้งคู่เป็นที่สุด
เล่าย้อนลึกเข้าไปอีกนิดถึงที่มาเพลงลาวดวงเดือน
[SIZE="6"]( [COLOR="Magenta"][B][I]เมื่อ พ.ศ.2446 พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ๆ เสด็จไปเที่ยวนครเชียงใหม่
สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่มณฑลพายัพได้ทำการต้อนรับขับสู้อย่างสมพระเกียรติ
โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการต้อนรับด้วยการรับประทานอาหารในคุ้มและมีการแสดงละครให้ชมในงานนี้พ่อเจ้า
อินทวโรรสกับเจ้าแม่ทิพยเนตรได้เชิญชวนเจ้าพี่เจ้าน้องมารับเสด็จและทำการต้อนรับด้วย
เจ้าราชสัมพันธวงศ์(ธรรมลังกา) กับเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาคนโต มีนามว่า “เจ้าหญิงชมชื่น” อายุย่างเข้า 16 ปี
กล่าวกันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบ แก้มเป็นสีชมพู ผิวขาวดุจงาช้าง
พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เจ้าชายหนุ่มอายุ21ปีสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อยอายุ16ปีนี้มาก.....กล่าวกันว่าพระองค์ถึงกับทรงตะลึงแบบ
ชายหนุ่มพบรักครั้งแรก
งานคืนนั้นสิ้นสุดลงด้วยบรรยากาศละเมียดละไมไปด้วยความจงรัก
ในวันต่อมาพระยานริศราชกิจเป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศถึงคุ้มหน้าวังบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับหลายครั้งหลายหน
นานวันเข้าพระองค์ชายก็ให้พระยานริศราชกิจเป็นเถ้าแก่ไปเจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่นให้เป็นหม่อมของพระองค์ชาย
แต่เจ้าสัมพันธวงศ์บิดาฝ่ายหญิงผู้เชี่ยวชาญในด้านกฎหมายนั้นได้ทัดทาน (มิได้ปฏิเสธ) ไว้ สองเงื่อนไขคือ
๑ ขอให้รอจนเจ้าหญิงชมชื่นอายุ ๑๘ ปี เสียก่อน
๒ ต้องทำให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม คือ พระองค์จะอภิเษกสมรสต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นสะใภ้หลวงมิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงแค่นางบำเรอ
เหตุที่ทัดทานครั้งนี้เกิดจากเรื่องความรักเคยเกิดขึ้นใพ.ศ.๒๔๓๓มาแล้วระหว่างเจ้านายในราชวงศ์จักรีนี้ คือ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต(พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตพระราชโอรสในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
พระน้องยาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ )กับเจ้าหญิงข่ายแก้ว ธิดาเจ้าทักษิณนิเกตน์(มหายศ)
โดย พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ได้เสด็จมาปราบปรามพวกยางแดง แถวแม่น้ำสาละวิน(คง) และได้พบรักกับ เจ้าหญิงข่ายแก้ว ธิดา เจ้าทักษิณนิเกตต์(มหายศ)และทรงสู่ขอจากเจ้าทักษิณนิเกตน์(มหายศ)
แต่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตในการเสกสมรส และไม่มีพระโอรสและพระธิดาด้วยกัน
ครั้นพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตเสด็จกลับกรุงเทพก็ไม่ได้เอาชายาลงมาด้วยเพราะมีหม่อมเอมอยู่แล้ว ทำให้เจ้าหญิงข่ายแก้ว กลายเป็น “แม่ร้าง” ที่จะไปร้องเรียนกับใครก็ไม่ได้
เจ้าราชสัมพันธวงศ์(ธรรมลังกา)จึงไม่ปรารถนาให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยโดยได้ทัดทานไว้ขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ18ปีเสียก่อนและตามขนบธรรม
เนียมประเพณีนั้นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใดจะทำการเสกสมรสจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตเสียก่อนเพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงหากถวาย
เจ้าหญิงชมชื่นให้ตอนนี้เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะนางบำเรอเท่านั้นถ้าพระองค์ชายทรงเบื่อหน่ายทอดทิ้งแล้ว จะเอาอะไรเป็นหลักประกัน
เถ้าแก่ข้าหลวงใหญ่จำนนต่อเหตุผล พระองค์ชายเสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อถึงกรุงเทพฯ เรื่องการจะสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้รับการทัดทานอย่างหนักหน่วงหมดหวังโดยทุกประการ
เมื่อไม่สมหวังก็ทรงหันเข้าหาความเยือกเย็นแห่งดนตรีไทยดับความรุ่มร้อนในหัวอก คราใดสายลมเหนือพัดมาจากเชียงใหม่พระองค์ชายก็รันทดใจยิ่งขึ้นพระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง “ลาวดวงเดือน” เป็นอนุสรณ์เตือนให้รำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น
เมื่อใดที่ทรงระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น ก็จะทรงดนตรีเพลงลาวดำเนินเกวียน
(ลาวดวงเดือน) เพลงนี้ หรือให้มหาดเล็กเล่นให้ฟัง มาตลอดพระชนมชีพ
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิลัย
(กฤดากร) พระธิดาในกรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๔๔๖ มีพระธิดา ๑ พระองค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงพรรณเพ็ญแข
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชันษายังน้อย คือ เพียง 28 ปี ด้วยโรคปอด
เรื้อรัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ )[/I][/B][/COLOR]
[/SIZE]
เดิมเพลงนี้กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงตั้งชื่อว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน แต่เนื่องจากเนื้อร้องมีคำว่า ดวงเดือน อยู่หลายตอน ทำให้ผู้ฟังเรียกผิดเป็น
ลาวดวงเดือน
เนื้อร้อง
โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้าย คล้าย เจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ
โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=NwZZfbXdXN4]YouTube - ลาวดวงเดือน ขุนอิน ระนาดบางกอก[/ame]
เพลงไพเราะหวานจับสุดจิตสุดใจ ภาพประกอบสวยมาก
ลาวดวงเดือน ก๊อต จักรพรรณ์ KPS
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=Bb05n9vzEUo&feature=related]YouTube - เพลงลาวดวงเดือน (วงกอไผ่ feat. โก้ Mr.Saxman)[/ame]
สำหรับสัมผัสหลอน ตอนนี้ เป็นเรื่องราวของหนุ่มน้อยคนหนึ่งที่แม่ของเขาและตัวเขาได้เล่าสรุปโดยย่อ ว่า (ไปฟังเองจากลิงค์ที่แปะไว้ค่ะ)
-
มีวิญญาณของหญิงสาวผู้หนึ่งได้ติดตามมากับหนุ่มน้อยคนนี้ และแสดงความหึงหวงไม่ว่าเขาจะไปสนใจสาวที่ไหน มักถูกกันให้เลิกราไป และพยายามแสดงตัวตนในบ้านหนุ่มน้อยคนนี้ตลอด ด้วยการให้เห็นบ้าง ได้ยินเสียงดนตรีเพลง ลาวดวงเดือน บ้าง และแม่หนุ่มน้อยคนนี้ก็บอกว่า เล่นซอ
ได้บ้าง แต่ไม่รู้อะไรที่จะเล่นอยู่แค่ 2 เพลง คือ ลาวดวงเดือน และ ธรณีกรรแสง และลูกก็จะชอบฟัง ลาวดวงเดือนมาแต่เล็กๆ
จนคืนหนึ่ง วิญญาณสาวก็ผ่านเข้าแม่ฝ่ายชายเพื่อเขียนกลอน บรรยายความในใจ โดยแม่ไม่รู้สึกตัวว่าเขียนมาได้อย่างไร และนำมาให้ลูกชายวันรุ่งขึ้น โดยบอกว่าจะคอยอยุ่ที่ที่ให้เธอรอ จนกว่าฝ่ายชายจะไปพบ ณ ที่นั้น
ซึ่งเห็กหนุ่มคนนี้ และครอบครัวก็บอกไม่ทราบว่าเป็นที่ไหนไหน กลอน ความว่า...
มาลัยดอกแก้ว พี่เก็บให้
ข้านำมาร้อยมาลัยจนรุ่งสาง
ยามแสงอรุณจับยอดพระปรางค์
ท้าวไทนางส่งเสด็จรุ่งอรุณ
มาลัยนี้พี่ใส่ไว้ที่ศอ
งามลออดุจน้ำตา ยามพี่หนี
น้ำพระเนตรข้าไหลท่วมทวี
ตราบนานหลายปี พี่จากไป
คอยท่านเวียนคืนเข้าห้องหอ
ได้แต่รอ คนเดียวมันเปลี่ยวไหว
จวบจนสิ้นสู่สวรรคาลัย
มาลัยที่พี่ได้ไว้ ยังกลบลงกับตัว
แม้ชาตินี้บุญน้อยไม่สมรัก
ข้า ก็จักตามพี่ท่านทุกภพที่
มัสักวัน มาลัยน้อยลอยนที
มาถึงวันที่ท่านพรากจากดวง
ฟังเรื่องราวและเกี่ยวกับ ลาวดวงเดือน แรก ๆ ก็คิดว่า คงเป็นพระองค์เพ็ญฯกลับมาเกิดเป็นเด็กหนุ่มคนนี้กระมัง เพราะติดพันกับลาวดวงเดือน และคิดว่าวิญญาณสาวนั้นน่าจะเป็นเจ้าหญิงชวนชื่นถ้าเช่นนั้นที่ที่เขาควรไปหา น่าจะเป็นที่เชียงใหม่..ซึ่งอาจเป็นสถานที่สุดท้ายที่ได้พบกันก่อนพระองค์เพ็ญจะเสด็จมากรุงเทพฯ แต่พอมาฟังกลอน...ก็เลยชักไม่แน่ใจ..เพราะเนื้อหาในกลอนมีการระบุถึงห้องหอ ...ซึ่งในเรื่องราวของพระองค์เพ็ญมิได้ถึงขั้น จะเข้าหอกันเลยเพราะต้องเสด็จมากรุงเทพฯเพื่อทูลขอพระบรมราชานุญาติที่จะเสกสมรสก่อน แต่ในกลอนนี้ทั้งคู่กำลังเข้าหอกันแต่ฝ่ายชายต้องเสด็จจากมาก่อน ผู้หญิงจึงเฝ้าหอรอคอย และทั้งคู่มีฐานันดรเป็นเจ้าทั้งคู่ และอีกอย่างจากคำกลอน เอ่ยถึงพระปรางค์ ซึ่งไม่แน่ใจว่า ทางล้านนาจะเรียกพระปรางค์ว่าอะไร ส่วนคำว่า ดวง ในท่อนท้ายกลอน มาถึงวันที่ท่านพรากจากดวงนั้น ดูเผิน ๆ แสดงว่า วิญญาณนี้ ชื่อ ดวง ใช่หรือไม่ก็เป็นไปได้ แต่ในภาษากวีบางทีจะเอ่ยถึงดอกไม้ หรือผู้หญิงก็มักนำคำนี้มาใช้แทนด้วย เช่นเจ้าดวงดอกไม้..หรือที่ลาวเรียกดอกจำปาลาว ว่า ดวงจำปา
และปัจจุบันมีคณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก(โจหลุยส์)คณะละครหุ่นของไทยที่ดังมากได้คว้าแชมป์หุ่นโลก 2008 ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็กโดยใช้ชื่อตอนประกวดว่า ตำนานรักลาวดวงเดือน ซึ่งมีเพลงตอบลาวดวงเดือนที่ฝ่ายหญิงร้อง (ไม่รู้ว่ามีมานานหรือยัท่อนนี้) ฝ่ายหญิงจะร้องว่า...โอ้ละหนอ....ดวงเพ็ญเอย (ดวงเพ็ญน่าจะแทน พระองค์เพ็ญ)
(คลิ๊กดูได้ จากรายการไทยโชว์ ตอน หุ่นไทย..หุ่นโลก ตำนานรัก ลาวดวงเดือน ครั้งแรกบนเวทีไทยโชว์และในเมืองไทย วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2552 เวลา 18.00 น. ชมรายการย้อนหลังได้ทาง :: ʶҹ
หน้า 131 ของ 234