ขอเชิญฟังธรรมะของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ วัดไตรสิกขา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย analyst, 8 กุมภาพันธ์ 2008.

  1. analyst

    analyst เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +105
    เป็นธรรมิกถาที่น่าฟังมากและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
    ฟังสนุกน่าติดตามได้สาระและได้ข้อคิดรวมทั้งวัตรปฏิบัติมากมาย
    ลิงค์เว็บ และด่าน์โหลด http://61.19.213.14/
    ประวัติโดยสังเขปของ
    พระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ [​IMG]
    ประธานสงฆ์วัดไตรสิกขาทลามลตาราม อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
    โดย พระมหาสุริยัน จนฺทนาโม
    (นิสิตบัณฑิตวิทยาลัย ห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น )
    พระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ เป็นพระนักปฏิบัติ พระนักเทศน์ พระนักปราชญ์ แห่งภาคอีสานรูปหนึ่ง ที่ควรศึกษาถึงชีวประวัติและผลงานของท่าน เพราะเป็นผู้เสียสละอุทิศตนทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอ จึงแบ่งการศึกษาชีวประวัติของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ ดังนี้
    พระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ มีนามเดิมว่า สมภพ นามสกุล ยอดหอ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) ณ บ้านแพด ตำบลบ้านแพด
    โยมบิดา ชื่อ จูม นามสกุล ยอดหอ โยมมารดาชื่อ สอน นามสกุล ยอดหอ
    มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน ทั้งหมด ๑๒ คน คือ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>๑. นายสุพจน์ ยอดหอ
    ๒. นางบังเรียง ยอดหอ
    ๓. นายวิจิตร ยอดหอ
    ๔. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    ๕. พระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ
    ๖. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    ๗.ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    ๘. นางประมวล พันธ์เสนา
    ๙. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    ๑๐. นายบุญโฮม ยอดหอ
    ๑๑. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
    ๑๒.ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก) </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ครอบครัวของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ มีต้นกำเนิดที่บ้านนาฝาง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อครอบครัวประสบกับภาวะการณ์หาเลี้ยงชีพที่ขัดสน โยมบิดาและโยมมารดาของท่านจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ บ้านวังชมพู ตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนครเป็นที่น่าสงสัยว่าการอพยพครอบครัวมาที่จังหวัดสกลนครนั้นก็เพื่อให้บุตรธิดามีชีวิตที่สดใส คล้ายๆ กับเป็นนัยยะว่า บุตรชายจะได้เป็นประทีปธรรมที่ส่องแสงสว่างแก่บุคคลผู้มืดมนในกาลข้างหน้าเมื่อพ่อจูมและแม่สอนได้เล็งเห็นพื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพแล้วจึงได้อพยพครอบครัวมาที่บ้านวังชมพูจนถึงปัจจุบันนี้
    โยมบิดาของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ท่านเป็นผู้มีจิตใจใฝ่ทางธรรม ปฏิบัติตนเองตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น การไปทำบุญตักบาตร รักษาศีล ๕ และอุโบสถศีล ในช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และอุดมการณ์ของพุทธศาสนิกชนที่พึงปฏิบัติเมื่อท่านเลี้ยงดูบุตรธิดาจนเติบโต สามารถเลี้ยงชีพ ด้วยตนเองได้แล้ว ท่านจึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้รับนามฉายาว่า "สุจิตฺโต" ซึ่งแปลว่าผู้มีจิตดี หรือ มีความคิดดี หลวงพ่อจูม สุจิตฺโต ได้ดำเนินชีวิตในเบื้องปลายที่พอเพียงกับสมณะวิสัยเป็นคนพูดน้อย สันโดษ ตั้งใจบำเพ็ญกรรมฐานอย่างมุ่งมั่นจนมรณภาพ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่วัดนิพเพธพลาราม ตำบลบ้านแพด อำเถอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร โดยอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ ซึ่งเป็นทั้งประธานสงฆ์และบุตรชาย ก่อนที่หลวงพ่อจูม สุจิตฺโต จะมรณภาพ ท่านได้ทิ้งมรดกธรรมไว้ให้แก่อนุชนได้คบคิดดังนี้
    ที่สิ้นสุดของกาย คือสิ้นลมหายใจ ที่สิ้นสุดของจิตคือ คือ ตัวเราไม่มี ของเราไม่มี
    "เมื่อใดพรมวิหารของเรายังไม่ครบสี่เมื่อนั้นเรายังวุ่นวายอยู่ เพราะยังวางมันไม่ลง ปลงมันไม่ได้"
    คนเราเป็นทุกข์ อยู่กับธาตุสี่เพราะยังไม่เห็นธาตุรู้ รู้อย่างเดียวไม่สุข ไม่ทุกข์
    จิตนั้นมันคือ (เหมือน) น้าม (น้ำ) น้ามมันชอบไหลลงทางต่ำ ถ้าคนสะหลาด (ฉลาด) กั้นมันไว้ มันก็จะไหลขึ้นสูง
    ส่วนโยมมารดา คือ แม่สอน ยอดหอ ก็ได้ดำเนินชีวิตเฉกเช่นสามีและบุตรชาย มีการทำบุญตักบาตร รักษาศีล ปฏิบัติธรรมตามสมควร แก่โอกาส จนเป็นที่รู้จักของเพื่อนบ้านในตำบลแพดจนถึงปัจจุบัน

    ชีวิตก่อนออกบวช
    พระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ เมื่อครั้งยังเยาว์วัยอายุได ๔ ปี ได้รบเร้าบิดามารดาให้พากลับไปยังบ้านเกิดเดิมที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไปถึงท่านก็ทักทายคนแก่เหมือนกับเป็นรุ่นเดียวกันโดยใช้คำพูดว่า "กู" "มึง" ทำให้เป็นที่แปลกใจของคนทั่วไป สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าท่านจำเรื่องราวในอดีตได้ คือ ท่านถามถึงเหล็กขอ ที่ใช้บังคับช้างที่ท่านเคยในอดีตและเก็บไว้บนหิ้งพระถามใครก็ไม่มีใครรู้ทุกคนจึงบอกให้ท่านค้นหาเองท่านก็เจออยู่ที่เดิมบนหิ้งพระ คนทั่วไปจึงเชื่อว่าท่านระลึกชาติได้เพราะชาติก่อนท่านเป็นคนเลี้ยงช้าง
    ครั้นเมื่อเติบโตถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียนท่านพระอาจารย์ก็ได้รับการศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ตามยุคของการศึกษาในขณะนั้น เมื่อจบการศึกษาแล้วท่านก็ได้ทำงานช่วยบิดามารดา แล้วท่านก็ได้ไปเป็นนักมวย เพื่อหาประสบการณ์ชีวิต เพราะการศึกษาในยุคนั้นยังลำบากไม่มีความเจริญด้านสื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษาเหมือนปัจจุบันนี้ ได้รับการศึกษาจบชั้นประถม ๔ ก็นับว่ามีการศึกษาสูงแล้วรัฐไม่ได้บังคับให้ศึกษาดังปัจจุบันนี้ แต่ถึงกระนั้นท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ ก็มิได้ย่อท้อได้พยายามพากเพียรจนสามารถนำความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาแค่ชั้นประถม ๔ และประสบการณ์ในชีวิตมาถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา

    การบรรพชา
    พระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาตั้งแต่รุ่นทวด เพราะต้นกำเนิดบรรพบุรุษของท่านยึดมั่นในการทำบุญ ปฏิบัตฺธรรม รักษาศีล เป็นประจำ จึงนับได้ว่าเป็นครอบครัวที่เป็นสัมมาทิฎฐิที่ใฝ่ในการปฏิบัติในครองแห่งสัมมาปฏิบัติ มีความใกล้ชิดและซาบซึ้งในหลักคำสอน ดังนั้นเมื่อท่านพระอาจารย์ จบการศึกษาในระดับประถม ๔ แล้วท่านก็ได้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าเข้าบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างจริงจัง
    เมื่อสามเณรสมภพ ยอดหอ ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้วก็ได้ศึกษาหลักคำสอนและฝึกหัดปฏิบัติธรรม ศึกษาเล่าเรียนตามโอวาท ของพระอุปัชฌาย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศึกษา
    ๑. ท่องบทสวดมนต์ หรือเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน
    ๒. ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม
    เมื่อท่านบรรพชาเป็นสามเณรได้ประมาณ ๓ ปี ท่านก็ได้ลาสิกขาบท เพื่อไปประกอบอาชีพ โดยได้ไปทำงานยังต่างประเทศ แถบอัฟริกา ยุโรป แถบตะวันออกกลาง ถึง ๑๓ ประเทศ รับผิดชอบเป็นหัวหน้ารับเหมาก่อสร้างถนน และสนามบินและได้ศึกษาถึงคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสด้วยถึงขั้นอยู่ในระดับแนวหน้าจนได้แต่งตั้งให้เป็นบาทหลวง เมื่อท่านจะเข้าพิธีล้างบาปเพื่อเป็นบาทหลวง ก็เกิดเหตุอัศจรรย์คือน้ำที่จะใช้ในการประกอบพิธีได้เหือดแห้งถึงสามครั้ง ทำให้ท่านได้พิจารณาโดยถ่องแท้ว่าเป็นหนทางที่ไม่ใช่และไม่เหมาะสมกับตนเองท่านจึงเริ่มหันชีวิตกลับเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาอีกครั้งซึ่งเป็นศาสนาแรกที่ท่านดำเนินรอยตาม จากนั้นท่านก็ได้ศึกษาพระไตรปิฎกควบคู่กับการทำงานไปด้วยโดยฝช้เวลาถึง ๑๑ ปี จนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หลังจากนั้นท่านก็ได้รวบรวมปัจจัยจากค่าจ้างการทำงานมาซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดบนเนื้อที่ ๕๐ ไร่ แล้วได้นิมนต์พระสงฆ์ให้มาจำพรรษา แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของท่านท่านเลยตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา เพื่อทำหน้าที่ศาสนทายาทดังปรากฏในปัจจุบันนี้

    การอุปสมบท
    เมื่อท่านมีอายุ ๓๘ ปี ก็เกิดความคิดขึ้นว่าการที่เราลงทุนไปสร้างวัดจะให้ได้ประโยชน์มากเราจะต้องบวช ท่านจึงเดินทางกลับสู่มาตุภูมิ โดยไปอุปสมบทที่วัดเนินพระเนาว์ จังหวัดหนองคายในปี พุทธศักราช ๒๕๑๘ โดยมี พระครูภาวนา ปัญญาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้นามฉายาว่า "โชติปัญฺโญ" ซึ่งแปลว่า ผู้มีปัญญาอันโชติช่วงประดุจดวงประทีป
    หลังจากอุปสมบท ก็ได้เข้าปฏิบัติกรรมฐานเป็นเวลา ๑ ปี (ไม่พูดคุยกับใคร นั่งสมาธิ ปฏิบัติกรรมฐานตลอดเวลา) แรกตั้งใจจะปฏิบัติอย่างน้อย ๓ ปี แต่ก็ไม่ได้ตามวัตถุประสงค์พอครบปี หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ก็ได้เรียกไปแปลธรรมะภาคภาษาอังกฤษ เป็นเล่มเทศให้ชาวต่างชาติฟัง ทีแรกท่านปฏิเสธ ท่านก็ว่า "เรากินข้าวเขาอยู่เด้" ก็เลยต้องปฏิบัติตามหลวงพ่ออย่างขัดไม่ได้ ในช่วงนั้นชาวฝรั่งได้ให้ความสนใจจะปฏิบัติธรรมเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นจำนวนมาก
    ต่อมาชาวไทยก็มีความประสงค์จะฟังธรรมมีจำนวนไม่น้อยเข้าไปหาหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จะนิมนต์ผมให้แสดงธรรมแก่ชาวบ้านไทยบ้าง มีชาวบ้านพูดว่า "พูดกับชาวฝรั่งก็ยังพูดได้ ทำไมไม่สั่งสอนคนไทบ้าง" ก็เลยขัดศรัทธาญาติโยมไม่ได้ หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์ สมภพ โชติปัญฺโญ ก็ได้รับภาระและธุระในพระพุทธศาสนา ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับพระอุปัชฌาย์ ในสถานที่ต่างๆ คือ วัดเนินพระเนาว์ วัดนิเพธพลาราม และวัดไตรสิกขาทลมตาราม
    การปฏิบัติธรรม
    พระอาจารย์ สมภพ โชติปัญฺโญ ได้เริ่มการประกาศตนเองในการเป็นผู้นำปฏิบัติและเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง ในปี ๒๕๑๙ โดยท่านได้ดำเนินตามรอยพระบาทพระศาสดาอย่างน่าอนุโมทนา ท่านยอมทิ้งความสุข ความสบาย ที่ได้รับอย่างพรั่งพร้อมในชีวิตฆราวาสโดยไม่มีความอาลัยในสิ่งเหล่านั้น หันหลังให้กับโลกที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา อย่างไม่ท้อถอย ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    สำนักแรกที่ท่านพระอาจารย์ สมภพ โชติปัญฺโญ ได้เริ่มเผยแผ่ คือ วัดนิเพธพลาราม บนเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ที่ท่านได้มาซื้อไว้ด้วยน้ำพักน้ำแรงจากค่าจ้างในการทำงาน
    ปัจจุบันท่านพระอาจารย์ได้ย้ายออกมาตั้งสถานที่ใหม่ เพื่อให้เหมาะกับการปฏิบัติ โดยห่างจากที่เดิม ๑๐ กิโลเมตร คือ วัดไตรสิกขาทลามลตาราม บนเนื้อที่ ๓๐๐ - ๔๐๐ ไร่ ด้วยอุดมการณืที่ว่า ​
    "เพียงแมกไม้ฉ่ำชื่นในผืนป่า เพียงธาราเจิ่งขังทั้งเย็นใส
    เพียงเสียงนก เริงร้องก้องพงไพร
    เพียงเพื่อให้ ผองมวลมิตร ใกล้ชิดธรรม " ​
    ด้วยเหตุนี้ เองพระอาจารย์จึงได้ตั้งสำนักไตรสิกขา ขึ้นโดยการปลูกป่าตามอุดมการณ์เนื้อที่ผืนป่าที่ปลูกแล้วกว่า ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ ไร่ ฉ่ำชื่นด้วยผืนป่า แต่ธาราที่เจิ่งขังยังไม่พร้อม ทางคณะสงฆ์จึงเห็นพ้องกันว่าต้องขุดแหล่งน้ำ นำดินที่ขุดขึ้นมากองเป็นภูเขาจำลองปลูกต้นไม้ให้เขียว เป็นภูเขาอันสดชื่น เป็นที่ดุดฟ้าดึงฝน ให้สมกับชื่อที่เป็นภาษาบาลีว่า ไตรสิกขาทลามลตาราม ซึ่งแปลว่าอารามอันทรงไว้ซึ่งความสดชื่น สำหรับผู้บำเบ็ญไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ภาพภูเขาลูกย่อมๆ อันเขียวสดชื่น ท่ามกลางความแห้งแล้งแห่งภาคอีสานประดับประดาไปด้วยภาพ สระโบกขรณีนทีธาร พร้อมทั้งอุทยานอันชื่นใจ แมกไม้และผืนน้ำ ที่แผ่ล้อมลูกภูเขาพรั่งพร้อมไปด้วยปทุมชาติ อันมายมากหลากสีบนผิวน้ำ ท่ามกลางสายลมแสงแดด ณ ภูมิภาคแห่งนี้จะเป็นเสมือนขุมทรัพย์กลางทะเลทราย จากพื้นดินที่แห้งแล้งลำเค็ญ อาจกลายเป็นแคว้นศักดิ์สิทธิ์แห่งจิตใจอาจจะเป็น (โอเอซิส) แห่งอีสานเป็นการสนับสนุนโครงการของรัฐบาลปัจจุบัน อันว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งช่วยได้ทั้ง ๒ ด้าน ขุดดินขึ้นได้สระน้ำทิ้งดินถมเป็นภูเขาปลูกต้นไม้ให้สดชื่น อุโภ อตฺเถ อธิคณฺหาหิ ปณฺฑิโต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตัดไว้แล้วว่าบัณฑิตผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ไม่ประมาทย่อมถือเอาประโยชน์ได้ทั้งสองทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ฟ้า ประโยชน์ดิน ประโยชน์ศีล ประโยชน์ธรรม ปลูกดง ปลูกป่า คือ ปลูกฟ้า ปลูกดิน ปลูกศีล ปลูกธรรม ช่วยค้ำจุนโลกให้ร่มเย็น ขุดสระน้ำได้ภูเขาด้วย หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางตรัสรู้ ประทับบนภูเขาแล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในองค์พระปฏิมากร ภูเขากลายเป็นเจดีย์ที่มีคุณค่ามาก ถึงจะมีมูลค่าน้อย แต่มากไปด้วยคุณค่า อย่างที่จะประมาณมิได้ พระพุทธรูปท่านเรียกว่าอุทเทสิกะเจดีย์ภูเขาจากดินที่ขุดกลายเป็นอุทเทสิกะเจดีย์ เช่นเดียวกัน เพราะเป็น ภูเขาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ยํ ฐานํ ชเนหิ อิฏฐ กาทีหิ เจตพฺพํ ตสฺมา ตํ ฐานํ เจติยํติ สิ่งที่ก่อสร้างขึ้น สำหรับบรรจุสิ่งที่เคารพนับถือสิ่งนั้นนับว่าเป็น (เจดีย์) ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการสร้างสรรค์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยังเป็นการพัฒนาแบบบูรณาการ ครบรอบคอบคลุมเกือบทุกด้าน เป็นการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้เกิดดุลยภาพ ทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านการศึกษา ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาให้ครบทั้งสามด้านพฤติกรรม ศีล จิตใจ สมาธิ ขบวนการรับรู้ด้านปัญญา ไตรสิกขาในภาพรวม การขุดสระเก็บกักน้ำบริเวณนี้ จะเป็นการพัฒนา ต้นน้ำห้วยก้านเหลือง ผืนป่าที่ปลูกในอารามเกือบ ๔๐๐ ไร่ได้รับน้ำ หล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอจะกลายเป็นเขื่อนสีเขียวช่วยดูดฟ้าดึงฝนให้เกิดความชุ่มชื้น สดชื่นอย่างยั่งยืนเป็นแหล่งอาหารของหมู่สัตว์หมู่มวลสรรพชีพทั้งมวลทั้งสัตว์ปีกสัตว์กีบ พวกเขาจะได้แอบอิงอาศัยให้ปลอดภัยจากการถูกล่าทำลายจากมนุษย์ผู้ไร้เมตตาธรรม เหล่าสัตว์น้ำจะได้แอบอิงอาศัย สืบเผ่าพันธุ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำโดยธรรมชาติน้ำห้วยก้านเหลืองจะทรงตัวไม่เหือดแห้งตลอดปี ชาวนาทั้งสองฝั่ง จะได้ทำการเกษตรอย่างไม่ฝืดเคือง แม้ไม่มีระบบชลประธานช่วยก็ยังพอทำไปได้สะดวก ตามฤดูกาล เพราะเหตุปัจจัยของต้นน้ำ ได้รับการฟูมฟักทนุถนอมอย่างสมดุลด้วยผืนป่าและผืนน้ำ แม้จะเล็กน้อยก็ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย ประโยชน์นี้บูรณาการ ไปถึงภาคเกษตรกรรม โยงใยไปถึงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อธรรมชาติถึงพร้อม จิตก็น้อมเข้าสู่ธรรม
    ระเบียบในการปฏิบัติธรรม
    ระเบียบในการปฏิบัติธรรมของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ ท่านได้ว่าหลักและขอบเขตดังนี้
    เวลา ๐๒.๐๐ น. สัญญาณระฆังนั่ปฏิบัตฺธรรม
    เวลา ๐๔.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
    เวลา ๐๙.๐๐ น. ฉันอาหารมื้อเดียว
    เวลา ๑๕.๐๐ น. ปฏิบัติธรรม
    เวลา ๑๗.๐๐ น. ทำวัตรเย็น
    เวลา ๒๑.๐๐ น. จำวัด
    หน้าที่รับผิดชอบในคณะสงฆ์
    หลังจากที่ท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ ได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้ทุ่มเทกำลังในการพัฒนาผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ตามปณิธานที่ตั้งไว้ทั้ง ๒ แห่ง จนปัจจุบันนี้เป็นอารามที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธ์ เหมาะแก่การปฏิบัตฺธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านพระอาจารย์ได้สละลาภ ยศ ทุกอย่าง ไม่ได้เป็นพระครู พระมหา หรือแม้แต่ตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านพระอาจารย์ก็ไม่รับ โดยท่านเป็นเพียงประธานสงฆ์ที่มีอายุพรรษามากตามหลักวินัยเท่านั้น ครั้งหนึ่งการเผยแผ่ธรรมของท่านแพร่หลาย เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปเจ้าคณะผู้ปกครองในระดับสูง จะขอพระราชทานสมณศักดิ์ถวายท่านก็ปฏิเสธโดยไม่ขอรับโดยกราบเรียนเจ้าคณะจังหวัดว่า "ผมไม่อยากได้ สิ่งที่ผมอยากได้ผมได้แล้ว"
    ผลงานการเผยแผ่
    ผลงานของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ ส่วนมากจะเป็นการเทศนาแล้วบันทึกเสียงไว้ในเทศกาล วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาติ และปาฐกถาในหน่วยงานราชการต่างๆ ที่รวบรวมได้จำนวน ๔๑๗ เรื่อง รายการเรื่องที่พระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ แสดงธรรมเทศนาและได้บันทึกเสียงรวบรวมได้เป็นเรื่องเป็นหัวข้อจำนวน ๔๑๗ เรื่อง ซึ่งผู้วิจัยยังไมาสามารถจะลงในรายละเอียดในทุกหัวข้อ เพราะจำกัดในเรื่องของเวลา จึงขอนำเสนอเรื่องที่เด่นๆ ที่จัดเป็นประเภทไว้พอเป็นตัวอย่างในรูปแบบสรุปสังเขปในหัวข้อถัดไปในส่วนของผลงานจึงเสนอผลงานพอประมวลได้ดังนี้
    ๑. เวสสันดรปริทัศน์ (บุญมหาชาติ)
    ๒. อบรมพระหนุ่ม
    ๓. พุทธทำนาย (ความฝันที่เป็นจริง)
    ๔. ชีวิตเจียระไน
    ๕. สถานการณ์พุทธศาสนาในโลกยุคปัจจุบัน
    ๖. วิศกรรมห่าก้อม
    ๗. ปลดชนวนระเบิด
    ๘. ธรรมิกถาหน้าเชิงตะกอน
    ๙. บุญแจกข้าว กองหด
    ๑๐. วิสาขะรำพึง (เสียงอีสาน)
    คุณสมบัติพิเศษของท่าน
    ๑. เป็นผู้ที่มีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง
    ๒. นอกจากจะเก่งภาษาอังกฤษแล้ว ยังเก่งภาษาแขกด้วย คือพอทราบพูดถึงประเทศอะไรท่านก็สามารถที่ยกตัวอย่างเป็นภาษานั้นๆ ได้อย่างน่าทึ่งมาก
    ๓. ช่ำชองพระไตรปิฎกทั้งบาลีและภาษาไทย เรียกว่าเป็นพระไตรปิฎกเคลื่อนที่
    ๔. ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานอยู่ที่ท่าน เรียกว่าเป็นขุมคลังแห่งปัญญาท้องถิ่นได้เลยเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ
    ๕. ท่านแตกฉานเรื่องนิรุกติภาษา คือ เวลาเทศน์นั้น ท่านจะใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จะใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วยเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับกาลสมัย
    ๖. จากเหตุผลข้อที่ ๕ จึงทำให้ท่านเทศน์ได้อย่างชนิดที่กินใจ เข้าถึงอารมณ์ทั้งไทยและเทศโดยเฉพาะไทยอีสานนั้น
    ๗. เรียกว่าพูดถึงพระที่เพียบพร้อมไปด้วยปริยัติและปฏิบัติที่สมบูรณ์นั้น ท่านพระอาจารย์สมภพก็อยู่ระดับ
    ๘. คุณธรรมของท่าน คือท่านมีเมตตา กรุณา มีความเที่ยงตรง อดทน ยอมตายเพื่อธรรมะ มีเป้าหมาย และหลักการที่ชัดเจนมีอุดมการณ์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างชนิดที่ตัวตายก็ยอม
    ๙. ไม่สนใจยศฐาบรรดาศักดิ์ไม่มีตำแหน่งอะไรทางการปกครอง ไม่ได้เป็นมหา หรือพระครูใด เป็นพระที่เป็นขวัญใจ เป็นเพชรเม็ดงามของชาวพุทธรูปหนึ่ง
    จากการศึกษาประวัติและผลงานของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปัญฺโญ จะเห็นว่าท่านเป็นพระนักเผยแผ่ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม ๗ ประการ คือ
    ปิโย เป็นที่รัก คือ เข้าใจถึงจิตใจของผู้ฟัง
    ครุ เป็นที่น่าเคารพ คือ มีปฏิปทา จริยาวัตร ที่งดงาม
    ภาวนีโย เป็นที่น่าเจริญใจ คือ มีภูมิปัญญาที่แท้จริง
    วัตตา รู้จักพูดชี้แจงเผยแผ่ให้ได้ผล คือ สามารถอธิบายธรรมให้ง่ายได้
    วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำติชม
    คัมภีรัญจ กถ กัตตา คือ ฉลาดในการเทศน์
    โน จัฏฐเน นิโยชเย คือ นำทางศิษยานุศิษย์ตามรอยบาทพระพุทธเจ้าทุกประการ​
     
  2. analyst

    analyst เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +105
  3. johndavy

    johndavy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +11
    รวมพระธรรมเทศนา พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ

    http://www.luangporsompob.com/

    รายการพระธรรมเทศนา (MP3)
    1 พระธรรมเทศนาแนวทางปฏิบัติ (1-6)
    2 ทำวัตรสวดมนต์-บทสวดพิเศษ
    3 พระธรรมเทศนา ปีพ.ศ.2536
    4 พระธรรมเทศนาวันนัดพบผู้ใฝ่ธรรม ปีพ.ศ.2537
    5 พระธรรมเทศนาวันนัดพบผู้ใฝ่ธรรม ปีพ.ศ.2538
    6 พระธรรมเทศนาวันวิสาขะ ปีพ.ศ.2538
    7 พระธรรมเทศนาอนุโมทนา ปีพ.ศ.2538
    8 พระธรรมเทศนาเสขะปฏิปทา ปีพ.ศ.2545
    9 พระธรรมเทศนาในพรรษา ปีพ.ศ.2546
    10 พระธรรมเทศนาวันวิสาขะ ปีพ.ศ.2546
    11 พระธรรมเทศนาในพรรษา ปีพ.ศ.2547
    12 พระธรรมเทศนาเสขะปฏิปทา ปีพ.ศ.2547
    13 พระธรรมเทศนาในพรรษา ปีพ.ศ.2548
    14 พระธรรมเทศนาเสขะปฏิปทา ปีพ.ศ.2548
    15 พระธรรมเทศนาในพรรษา ปีพ.ศ.2549
    16 พระธรรมเทศนาเสขะปฏิปทา ปีพ.ศ.2549
    17 ธรรมบรรยายเสียงอิสาณ
    18 ธรรมบรรยายภาษาอังกฤษ ปีพ.ศ.2551


    นตฺถิ จิตเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกานามทกฺขิณา
    เมื่อจิตมีความเลื่อมใสแล้วบุญนั้นจะชื่อว่าเล็กน้อยนั้นไม่มี
    สาธุๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...