ขอเชิญร่วมทำบุญโรงทานโครงการ2 ที่งานกฐินวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) จ.สระบุรี ในวันที่1 พ.ย.52

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 14 ตุลาคม 2009.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2009
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD>
    จึงขอเชิญเพื่อนสมาชิกเว็ปพลังจิตร่วมทำบุญเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมทำบุญทอดกฐินและทำบุญเลี้ยงพระ ณ วัดเขาวง ถ้ำนารายณ์ จ. สระบุรี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2552 หรือหากสนใจมาร่วมแจกอาหาร ก็มาร่วมกันได้ ซึ่งในงานจะมีการทอดกฐินและ และจะมีการทำบุญเลี้ยงอาหารฟรี....ซึ่งผมจะทำขนมปังสังขยาที่ทำเองไปเลี้ยงผู้มาร่วมงาน
    หากใครประสงค์จะรวมบุญค่าอาหารหรือช่วยงานหรือจะนำอาหารมารวมก็แจ้งความประสงค์ได้
    เป็นการตั้งโรงทานสำหรับแจกอาหารผู้ที่มาร่วมงานทอดกฐินประจำปี 2552

    สามารถร่วมทำบุญได้ที่

    ชื่อบัญชี นายชินนาอาชว์ พูลสวัสดิ์

    ธ.ไทยพาญิชย์ สาขาย่อย วิภาวดีรังสิต (จักรพงภูวนารถ)

    เลขที่บัญชี 163-219086-1 ออมทรัพย์



    ปิดรับบริจาควันที่31ตุลาคม.2552
    แจ้งผมด้วยนะครับ






    [​IMG]








    [​IMG]







    [​IMG]







    [​IMG]








    [​IMG]




    [​IMG]



    โรงทานวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)

    [​IMG]

    ตั้งอยู่ที่วัดเขาวง บ้านเขาวง หมู่ ๕ ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท ห่างจากตัาอำเภอพระพุทธบาท ประมาณ ๓ กิโลเมตร ที่ปากถ้ำมีอักษรมอญโบราณ (ปัลลวะ) ซึ่งเป็นแบบอักษรของชาวอินเดียฝ่ายใต้ ปรากฎมีในภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยก่อนสุโขทัย จนวิวัฒนาการมาเป็นอักษรขอมและ มอญโบราณ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง นำมาดัดแปลงประดิษฐ์เป็นต้นกำเนิดอักษรไทย จนถึงทุกวันนี้อักษรจารึกถ้ำนารายณ์ มีข้อความ ๓ บรรทัด ถูกจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (ยุคทวาราวดี) ในยุคนั้น ชนชาติมอญมีอำนาจรุ่งเรือง อักษรจารึก เขียนเป็นคำบอกร้อยแก้ว กรมศิลปากรแปลไว้ว่า

    “กัณทราชัย ผู้ตั้งแคว้นอนุราธปุระ ได้มอบให้พ่อลุงสินาธะ
    เป็นตัวแทนพร้อมกับชาวเมือง (อนุราธปุระ) จัดพิธีร้องรำ
    เพื่อเฉลิมฉลอง(สิ่ง)ซึ่งประดิษฐานไว้แล้วข้างในนี้”

    อ้างอิงจาก
    (เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ‘จารึกบนผนังปากถ้ำนารายณ์’ ในวารสารศิลปากร หน้า ๕๓-๕๗ ม.ป.ป.)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD><TD>จารึกนี้บอกให้ทราบว่า ท้องถิ่นแถบนี้มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลานาน และอาจจะเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง มาก่อน ซึ่งคำว่า ‘อนุราธปุระ’ เป็นชื่อเมืองโบราณในประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และอาจจะแสดงว่าชาวลังกากับคนท้องถิ่นนี้ (มอญโบราณ) มีการติดต่อสัมพันธ์กัน จึงมีการอ้างชื่อเมือง เพื่อกำหนดให้ระลึกถึงกัน พร้อมทั้งจารึกอักษรไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้เปรียบเทียบศึกษาจาก บันทึกในพงศาวดารหลายฉบับระบุว่า ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑) เคยมีปรากฏคณะสงฆ์ไทยเดินทางไปเมืองลังกาเพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ แต่พระภิกษุลังกาได้บอกว่ามีรอยพระพุทธบาท ในประเทศไทยที่เขาสุวรรณบรรพต และเกิดการค้นพบรอยพระพุทธบาทบริเวณเทือกเขานี้ในเวลาต่อมา หรืออาจจะหมายถึงการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์และสยามวงศ์ตามที่ปรากฏในพงศาวดารของชาติไทยเราด้วย ก็อาจจะเป็นได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    วัดเขาวง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดตามลำดับ จนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑ มีบริเวณกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๕๑ เมตร เนื้อที่ ๑,๕๐๐ ตารางเมตร ดำเนินการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖

    สถานที่แห่งนี้เป็นศาสนสถานมาเป็นเวลายาวนาน สืบความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเสด็จจากวังนารายณ์เมืองละโว้(ลพบุรี) ไปว่าราชการที่กรุงศรีอยุธยา ทรงผ่านประทับแรม ณ ถ้ำนารายณ์ ... และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทรงเสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท ก็ได้เสด็จประทับพักแรมในถ้านารายณ์ ซึ่งมีอากาศเย็นสบายตลอดปี และจากจารึกอักษรผนังปากถ้ำก็ปรากฏหลักฐานว่า ถ้ำนี้ได้เคยเป็น ที่บำเพ็ญกุศลมาตั้งแต่สมัยอนุราธปุระ เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว ผ่านความรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมและฟื้นฟูขึ้นเป็นวัดตามประเพณีการปกครองแผ่นดินและ การสืบพระพุทธศาสนา ดังกล่าวข้างต้น
    <!-- <rdf:RDF xmlns:rdf="http://www.w3.org/1999/02/22-rdf-syntax-ns#" xmlns:trackback="http://madskills.com/public/xml/rss/module/trackback/" xmlns:dc="http://purl.org/dc/elements/1.1/"> <rdf:Description rdf:about="http://phra.se/blog/history/" trackback:ping="http://siangjaagtaum.com/blog/siangjaagtaum/index/trackback/342/" dc:title="History" dc:identifier="http://phra.se/blog/history/" dc:subject="" dc:description="" dc:creator="ForWatTaum" dc:date="2006-08-06 07:24:00 PM GMT"> </rdf:RDF> -->


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG][​IMG][​IMG]




    </TD></TR><TR><TD>ปัจจุบันนี้ โดยการนำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และพระธรรมสิทธินายก (ธงชัย สุขญาโณ) แห่งวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร วัดเขาวง ได้พัฒนาขึ้นมาสู่สภาพวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้วเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง และยังเป็นแหล่งพันธุ์ไม้และสัตว์หาดูยาก คือโมกราชินี (Wrightia SIRIKITIAE D.J. Middleton&Santisuk) จันผา, นกหัวจุก, กระรอกเผือก ฯลฯ เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมศาสนาของชาติไทยสืบไป
    วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสระบุรี และปฏิบัติกรรมฐานตามสาย พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) มีหลักเจริญภาวนา มหาสติปัฏฐานสูตร รับผู้เข้าพัก ปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    <!-- END: CONTENT --><!-- END: CONTENT -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2009
  3. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=225>
    [​IMG]ภาพถ่ายจากที่สูง บริเวณวัดเขาวง,
    สิงหาคม ๒๕๔๘
    (คลิกเพื่อชมภาพขนาดขยาย) ​






    </TD><TD vAlign=top align=middle width=525>
    [​IMG]
    คลิกเพื่อชมภาพแผนที่วัดขนาดขยาย
    วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
    ๖๒/๑ หมู่ ๕ ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี
    โทร. ๐ ๓๖๒๓-๖๕๐๐-๕
    โทรสาร. ๐ ๓๖๒๓-๖๕๐๖ และ ๕๐๗
    มือถือ : ๐ ๑๗๐๒-๗๒๘๒

    Email :<SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript> <!-- var prefix = 'ma' + 'il' + 'to'; var path = 'hr' + 'ef' + '='; var addy60829 = 'info' + '@'; addy60829 = addy60829 + 'watkhaowong' + '.' + 'com'; var addy_text60829 = 'info' + '@' + 'watkhaowong' + '.' + 'com'; document.write( '<a ' + path + '\'' + prefix + ':' + addy60829 + '\'>' ); document.write( addy_text60829 ); document.write( '<\/a>' ); //-->\n </SCRIPT> info@watkhaowong.com<SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript> <!-- document.write( '<span style=\'display: none;\'>' ); //--> </SCRIPT> This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it<SCRIPT language=JavaScript type=text/javascript> <!-- document.write( '</' ); document.write( 'span>' ); //--> </SCRIPT>




    [​IMG]

    [​IMG]


    (๑๐) พระเวสสันดรชาดก.
    พระเจ้าสัญชัยทรงครองราชสมบัติเมืองสีวี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้า กรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็น พุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต
    ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระ ที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง
    ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนด ประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้าบังเอิญใน ขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์และประสูติพระโอรส ในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่า เวสสันดร หมายถึง ในท่ามกลางระหว่าง ย่านค้าขาย พร้อมกับที่พระโอรสประสูติ ช้างต้นของ พระเจ้าสญชัยก็ตกลูกเป็นช้างเผือกเพศผู้ ได้รับชื่อว่า ปัจจัยนาค เป็นช้างต้น คู่บุญพระเวสสันดร
    เมื่อพระกุมารเวสสันดรทรงเจริญวัยขึ้น ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบริจาคทาน มักขอพระราชทานทรัพย์ จากพระบิดามารดา เพื่อบริจาคแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงขอให้พระบิดาตั้งโรงทานสี่มุมเมือง เพื่อบริจาคข้าวปลาอาหารและสิ่งของจำเป็น แก่ประชาชน และหากมีผู้มาทูลขอสิ่งหนึ่ง สิ่งใด พระองค์ก็จะทรงบริจาคให้โดยมิได้ เสียดาย ด้วยทรงเห็นว่า การบริจาคนั้น เป็นกุศลเป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ทั้งแก่ ผู้รับและผู้ให้ ผู้รับก็จะพ้นความเดือดร้อน ผู้ให้ก็จะอิ่มเอิบเป็นสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และยังทำให้พ้นจากความโลภความตระหนี่ ถี่เหนียวในทรัพย์สมบัติของตนอีกด้วย พระเกียรติคุณของพระเวสสันดรเลื่องลือไป ทั่วทุกทิศว่าทรงมีจิตเมตตาแก่ผู้อื่นมิได้ ทรงเห็นแก่ความสุขสบายหรือเห็นแก่ทรัพย์ สมบัติส่วนพระองค์ มิได้ทรงหวงแหนสิ่งใด ไว้สำหรับพระองค์
    อยู่มาครั้งหนึ่ง ในเมืองกลิงคราษฏร์ เกิดข้าวยากหมายแพง เพราะฝนแล้ง ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ ราษฎรอดอยาก ได้รับความเดือนร้อนสาหัส ประชาชน ชาวกลิงคราษฏร์พากันไปเฝ้าพระราชา ทูลว่า ในเมืองสีวี นั้นมีช้างเผือกคู่บุญ พระเวสสันดร ชื่อว่า ช้างปัจจัยนาค เป็นช้างมีอำนาจพิเศษ ถ้าอยู่เมืองใด จะ ทำให้ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลพืชพันธุ์ จะบริบูรณ์ ขอให้พระเจ้ากลิงคราษฏร์ ส่งทูตเพื่อไปทูลขอช้างจาก พระเวสสันดร พระเวสสันดรก็จะทรงบริจาคให้เพราะ พระองค์ไม่เคยขัดเมื่อมีผู้ทูลขอสิ่งใด พระเจ้ากลิงคราษฏร์จึงส่งพราหมณ์แปดคน ไปเมืองสีวี
    ครั้นเมื่อพราหมณ์ได้พบ พระเวสสันดรขณะเสด็จ ประพาสพระนคร ประทับบนหลังช้างปัจจัยนาค พราหมณ์จึง ทูลขอช้างคู่บุญ เพื่อดับทุกข์ชาวกลิงคราษฏร์ พระเวสสันดรก็โปรดประทานให้ตามที่ขอ
    ชาวสีวีเห็นพระเวสสันดรทรงบริจาคช้าง ปัจจัยนาคคู่บ้านคู่เมืองไปดังนั้น ก็ไม่พอใจ พากันโกรธเคืองว่า ต่อไปบ้านเมืองจะลำบาก เมื่อไม่มีช้างปัจจัยนาคเสียแล้ว จึงพากันไป เข้าเฝ้าพระเจ้าสญชัย ทูลกล่าวโทษ พระเวสสันดรว่าบริจาคช้างคู่บ้านคู่เมือง แก่ชาวเมืองอื่นไป ขอให้ขับพระเวสสันดร ไปเสียจากเมืองสีวี พระเจ้าสญชัยไม่อาจขัดราษฏรได้ จึงจำ พระทัยมีพระราชโองการให้ขับพระเวสสันดร ออกจากเมืองไป พระเวสสันดรไม่ทรงขัดข้อง แต่ทูลขอพระราชทานโอกาสบริจาคทาน ครั้งใหญ่ก่อนเสด็จออกจากพระนคร พระบิดาก็ทรงอนุญาตให้ พระเวสสันดร ทรงบริจาค สัตสดกมหาทาน คือบริจาค ทานเจ็ดสิ่ง สิ่งละเจ็ดร้อย แก่ประชาชนชาวสีวี เมื่อพระนางมัทรี พระมเหสีของพระเวสสันดร ทรงทราบว่า ประชาชนขอให้ขับพระเวสสันดร ออกจาก เมือง ก็กราบทูลพระเวสสันดรว่า "พระองค์เป็นพระราชสวามีของหม่อมฉัน พระองค์เสด็จไปที่ใด หม่อมฉันจะขอติดตาม ไปด้วยทุกหนทุกแห่ง มิได้ย่อท้อต่อความ ลำบาก ขึ้นชื่อว่าเป็นสามีภรรยาแล้ว ย่อมต้อง อยู่เคียงข้างกันในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่ายามสุข หรือทุกข์ โปรดประทานอนุญาติให้หม่อมฉัน ติดตามไปด้วยเถิด"
    พระเวสสันดรไม่ทรงประสงค์ให้พระนางมัทรี ติดตามพระองค์ไป เพราะการเดินทางไปจาก พระนครย่อม มีแต่ความยากลำบาก ทั้งพระองค์ เองก็ทรงปรารถนาจะเสด็จไปประทับบำเพ็ญ ศีลภาวนาอยู่ในป่าพระนางมัทรีไม่คุ้นเคยต่อ สภาพเช่นนั้น ย่อมจะต้องลำบากยากเข็ญทั้ง อาหารการกินและความเป็นอยู่ แต่ไม่ว่า พระเวสสันดรจะตรัสห้ามปรามอย่างไร นาง ก็มิยอมฟัง บรรดาพระประยูรญาติ ก็พากัน อ้อนวอนขอร้อง พระนางก็ทรงยืนกรานว่า จะติดตามพระราชสวามีไปด้วย พระนางผุสดีจึงทรงไปทูลขอพระเจ้าสญชัย มิให้ขับพระเวสสันดรออกจากเมือง พระเจ้า สญชัยตรัสว่า "บ้านเมืองจะเป็นสุขได้ก็ต่อ เมื่อราษฏรเป็นสุข พระราชาจะเป็นสุขได้ก็ เมื่อราษฏรเป็นสุข ถ้าราษฏรมีความทุกข์ พระราชาจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร ราษฏรพากัน กล่าวโทษพระเวสสันดรว่าจะทำให้บ้านเมือง ยากเข็ญ เราจึงจำเป็นต้องลงโทษ แม้ว่า พระเวสสันดรจะเป็นลูกของเราก็ตาม" ไม่ว่าผู้ใดจะห้ามปรามอย่างไร พระนางมัทรี ก็จะตามเสด็จพระเวสสันดรไปให้จงได้ พระเจ้าสญชัยและ พระนางผุสดีจึงของเอา พระชาลี พระกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรไว้ แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม ทรงกล่าวว่า "เมื่อชาวเมืองสีวีรังเกียจพระเวสสันดร ให้ขับไล่ไปเสียดังนี้ พระโอรสธิดาจะอยู่ ต่อไปได้อย่างไร ชาวเมืองโกรธแค้นขึ้นมา พระชาลีกัณหาก็จะทรงได้รับความลำบาก จึงควรที่จะออกจากเมือง ไปเสียพร้อม พระบิดาพระมารดา"
    ในที่สุดพระเวสสันดร พร้อมด้วยพระมเหสี และโอรสธิดาก็ออกจากเมืองสีวีไป แม้ใน ขณะนั้นชาวเมือง ยังตามมาทูลขอรถพระที่นั่ง ทั้งสี่พระองค์จึงต้องทรงดำเนินด้วยพระบาทออก จากเมืองสีวีมุ่งไปสู่ป่า เพื่อบำเพ็ญพรตภาวนา ครั้นเสด็จมาถึงเมืองมาตุลนคร บรรดากษัตริย์ เจตราชทรงทราบข่าว จึงพากันมาต้อนรับ พระเวสสันดร ทรงถามถึงทางไปสู่เขาวงกต กษัตริย์เจตราชก็ทรงบอกทางให้และเล่าว่า เขาวงกตนั้นต้องเดินทางผ่าน ป่าใหญ่ที่เต็ม ไปด้วยอันตราย แต่เมื่อไปถึงสระโบกขรณีแล้ว ก็จะเป็นบริเวณร่มรื่นสะดวกสบาย มีต้นไม้ผล ที่จะใช้เป็นอาหารได้ นอกจากนี้กษัตริย์เจตราช ยังได้สั่งให้ พรานป่าเจตบุตร ซึ่งเป็นผู้ชำนาญ ป่าแถบนั้น ให้คอยเฝ้าระแวดระวังรักษาต้นทาง ที่จะไปสู่เขาวงกต เพื่อมิให้ผู้ใดไปรบกวน พระเวสสันตรในการบำเพ็ญพรต เว้นแต่ทูต จากเมืองสีวีที่จะมาทูลเชิญเสด็จกลับนครเท่านั้น ที่จะยอมให้ผ่านเข้าไปได้ เมื่อเสด็จไปถึงบริเวณสระโบกขรณีอันเป็นที่ ร่มรื่นสบาย
    พระเวสสันดร พระนางมัทรี ตลอดจน พระ โอรสธิดา ก็ผนวชเป็นฤาษี บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ ณ ที่นั้น โดยมีพรานป่า เจตบุตรคอยรักษาต้นทาง ณ ตำบลบ้านทุนนวิฐ เขตเมืองกลิงคราษฏร์มีพราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก หาเลี้ยงชีพด้วยการ ขอทาน ชูชก ขอทานจนได้เงินมามาก จะเก็บไว้ เองก็กลัวสูญหาย จึงเอาไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้ อยู่มาวันหนึ่ง ชูชกไปหาพราหมณ์ที่ตน ฝากเงินได้ จะขอเงินกลับไป ปรากฎว่า พราหมณ์นั้นนำเงินไปใช้หมดแล้ว จะหา มาใช้ให้ชูชกก็หาไม่ทัน จึงจูงเอาลูกสาวชื่อ อมิตตดา มายกให้แก่ชูชก พราหมณ์กล่าว แก่ชูชกว่า "ท่านจงรับเอาอมิตตดาลูกสาว เราไปเถิด จะเอาไปเลี้ยงเป็นลูกหรือภรรยา หรือจะเอาไปเป็น ทาสรับใช้ปรนนิบัติก็สุด แล้วแต่ท่านจะเมตตา" ชูชกเห็นนางอมิตตดาหน้าตาสะสวย งดงามก็หลงรัก จึงพานางไปบ้าน เลี้ยงดู นางในฐานะภรรยา นางอมิตตดาอายุ ยังน้อย หน้าตางดงาม และมีความกตัญญู ต่อพ่อแม่ นางจึงยอมเป็นภรรยาชูชกผู้แก่ เฒ่า รูปร่างหน้าตาน่ารังเกียจ อมิตตดา ปรนนิบัติชูชกอย่างภรรยาที่ดีจะพึงกระทำ ทุกประการ นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ชูชกไม่เคย ต้องบ่นว่าหรือตักเตือนสั่งสอนแต่ อย่างใดทั้งสิ้น ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนาง อมิตตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า
    บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิ ติเตียนภรรยาของตนที่มิได้ประพฤติตนเป็น แม่บ้านแม่เรือนอย่างอมิตตดา บางบ้านก็ถึง กับทุบตีภรรยาเพื่อให้รู้จักเอาอย่างนาง เหล่านางพราหมณีทั้งหลายได้รับความ เดือดร้อน ก็พากันโกรธแค้นนางอมิตตดา ว่าเป็นต้นเหตุ วันหนึ่ง ขณะที่นางไปตักน้ำ ในหมู่บ้าน บรรดานางพราหมณีก็รุมกัน เย้ยหยันที่นางมีสามีแก่ หน้าตาน่าเกลียด อย่างชูชก นางพราหมณีพากันกล่าวว่า "นางก็อายุน้อย หน้าตางดงาม ทำไมมา ยอมอยู่กับเฒ่าชรา น่ารังเกียจอย่างชูชก หรือว่ากลังจะหาสามีไม่ได้ มิหนำซ้ำยังทำ ตนเป็นกาลกิณี พอเข้ามาในหมู่บ้านก็ทำให้ ชาวบ้านสิ้นความสงบสุข เขาเคยอยู่กันมาดีๆ พอนางเข้ามาก็เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า หาความสงบ ไม่ได้ นางอย่าอยู่ในหมู่บ้านนี้เลย จะไปไหนก็ไปเสียเถิด" ไม่เพียงกล่าววาจาด่าทอ ยังพากันหยิก ทึ้งทำร้ายนางอมิตตดา จนนางทนไม่ได้ ต้องหนีกลับบ้านร้องไห้ มาเล่าให้ชูชกฟัง ชูชกจึงบอกว่า ต่อไปนี้นางไม่ต้องทำการ งานสิ่งใด ชูชกจะเป็นฝ่ายทำให้ทุกอย่าง นางอมิตตดาจึงว่า "ภรรยาที่ดีจะทำเช่นนั้น ได้อย่างไร จะปล่อยให้สามีมาปรนนิบัติรับใช้ เราทำไม่ได้หรอก ลูกหญิงที่พ่อแม่อบรมสั่งสอน มาดี ย่อมจะไม่นั่งนอนอยู่เฉยๆ ดีแต่ชี้นิ้วให้ผู้ อื่นปรนนิบัติตน นี่แน่ะ ชูชก ถ้าท่านรักเราจริง ท่านจงไปหาบริวารมาปรนนิบัติรับใช้เราดีกว่า"
    ชูชกได้ฟังดังนั้นก็อัดอั้นตันใจ ไม่รู้จะไปหา ข้าทาสหญิงชายมาจากไหน นางอมิตตดา จึงแนะว่า "ขณะนี้ พระเวสสันดรเสด็จออกมา จากเมืองสีวี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า เขาวงกต พระองค์เป็นผู้ใฝ่ในการบริจาคทาน ท่านจงเดินทางไปขอบริจาคพระชาลีกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นข้าทาส ของ เราเถิด"
    ชูชกไม่อยากเดินทางไปเลยเพราะกลัว อันตรายในป่า แต่ครั้นจะไม่ไปก็กลัวนาง อมิตตดาจะทอดทิ้ง ไม่ ยอมอยู่กับตน ในที่สุดชูชกจึงตัดสินใจเดินทางไปเขาวงกตเพื่อทูลขอพระชาลีกัณหา เมื่อไปถึงบริเวณปากทางเข้าสู่เขาวงกต ชูชกก็ได้พบพรานเจตบุตรผู้รักษาปากทาง หมาไล่เนื้อที่พราน เลี้ยงไว้พากันรุมไล่ต้อน ชูชกขึ้นไปจนมุมอยู่บนต้นไม้ เจตบุตรก็เข้า ไปตะคอกขู่ ชูชกนั้น เป็นคนมีไหวพริบ สังเกตดูเจตบุตรก็รู้ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ มีฝีมือเข้มแข็ง แต่ขาดไหวพริบ จึงคิด จะใช้วาาจาลวง เจตบุตรให้หลงเชื่อ พาตนเข้าไปพบพระเวสสันดรให้ได้ ชูชก จึงกล่าวแก่เจตบุตรว่า "นี่แนะ เจ้าพราน ป่าหน้าโง่ เจ้าหารู้ไม่ว่าเราเป็นใคร ผู้อื่นเขา จะเดินทางมาให้ยากลำบากทำไมจนถึงนี่ เรามาในฐานะทูต ของพระเจ้าสญชัย เจ้าเมืองสีวี จะมาทูลพระเวสสันดรว่า บัดนี้ชาวเมืองสีวีได้คิดแล้ว จะมาทูล เชิญเสด็จ กลับพระนคร เราเป็นผู้มาทูล พระองค์ไว้ก่อน เจ้ามัวมาขัดขวางเราอยู่ อย่างนี้ เมื่อไรพระเวสสันดรจะได้ เสด็จคืนเมือง" เจตบุตรได้ยินก็หลงเชื่อ เพราะมีความ จงรักภักดี อยากให้พระเวสสันดรเสด็จกลับ เมืองอยู่แล้ว จึงขอโทษชูชก จัดการหา อาหารมาเลี้ยงดูแล้วชี้ทางให้เข้าไปสู่อาศรม ที่พระเวสสันดรบำเพ็ญพรตภาวนาอยู่
    เมื่อชูชกมาถึงอาศรมก็คิดได้ว่า หากเข้าไปทูลขอ พระโอรสธิดาในขณะพระนางมัทรีอยู่ด้วย พระนางคงจะไม่ยินยอมยกให้เพราะความรัก อาลัยพระโอรสธิดา จึงควรจะรอจนพระนาง เสด็จไปหาผลไม้ในป่าเสียก่อน จึงค่อยเข้า ไปทูลขอต่อพระเวสสันดรเพียงลำพัง ในวันนั้น พระนางมัทรีทรงรู้สึกไม่สบาย พระทัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะในตอนกลางคืน พระนางทรงฝันร้าย ว่า มีบุรุษร่างกายกำยำ ถือดาบ มาตัดแขนซ้าวขวาของพระนางขาด ออกจากกาย บุรุษนั้นควักดวงเนตร ซ้ายขวา แล้วยังผ่าเอาดวงพระทัยพระนางไปด้วย พระนางมัทรีทรงสังหรณ์ว่าจะมีเหตุร้าย เกิดขึ้น จึงทรง ละล้าละลังไม่อยากไปไกลจาก อาศรม แต่ครั้นจะไม่เสด็จไปก็จะไม่มีผลไม้ มาให้พระเวสสันดรและโอรส ธิดาเสวย พระนางจึงจูงโอรสธิดาไปทรงฝากฝังกับ พระเวสสันดรขอให้ทรงดูแล ตรัสเรียกหา ให้เล่นอยู่ ใกล้ๆ บรรณศาลา พร้อมกับเล่า ความฝันให้พระเวสสันดรทรงทราบ พระเวสสันดรทรงหยั่งรู้ว่าจะมีผู้มาทูลขอ พระโอรสธิดา แต่ครั้นจะบอกความตามตรง พระนางมัทรีก็คงจะทนไม่ได้ พระองค์เองนั้น ตั้งพระทัยมั่นว่าจะบริจาคทรัพย์สมบัติทุกสิ่ง ทุกประการในกายนอกกาย แม้แต่ชีวิตและ เลือดเนื้อของพระองค์ หากมีผู้มาทูลขอ ก็จะ ทรงบริจาคให้โดยมิได้ทรงเสียดายหรือหวาดหวั่น พระเวสสันดรจึงตรัสกับพระนางมัทรีว่าจะดูแล พระโอรสธิดาให้ พระนางมัทรีจึงเสด็จไปหา ผลไม้ในป่าแต่ลำพัง
    ครั้นชูชกเห็นได้เวลาแล้ว จึงมุ่งมาที่อาศรม ได้พบพระชาลีพระกัณหาทรงเล่นอยู่หน้าอาศรม ก็แกล้งขู่ ให้สองพระองค์ตกพระทัยเพื่อข่มขวัญ ไว้ก่อน แล้วชูชกพราหมณ์เฒ่าก็เข้าไปเฝ้า พระเวสสันดร กล่าว วาจากราบทูลด้วยโวหาร อ้อมค้อมลดเลี้ยว ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อทูลขอ พระโอรสธิดาไปเป็นข้าช่วงใช้ ของตน พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรง กระทำบุตรทาน คือการบริจาคบุตรเป็นทาน อันหมายถึงว่า พระองค์เป็นผู้สละกิเลส ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติทั้งปวง แม้กระทั่งบุคคลอันเป็นที่รัก ก็สามารถสละ เป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่พระองค์ทรงผัดผ่อนต่อชูชกว่า ขอให้ พระนางมัทรีกลับมาจากป่า ได้ร่ำลาโอรสธิดา เสียก่อนชูชกก็ไม่ ยินยอม กลับทูลว่า "หากพระนางกลับมา สัญชาตญาณแห่งมารดา ย่อมจะทำให้พระนางหวงแหนห่วงใย พระโอรสธิดา ย่อมจะไม่ทรงให้พระโอรส ธิดาพรากจากไปได้ หากพระองค์ทรง ปรารถนาจะบำเพ็ญทานจริง ก็โปรดยก ให้หม่อมฉันเสียแต่บัดนี้เถิด"
    พระเวสสันดรจนพระทัยจึงตรัสเรียกหา พระโอรสธิดา แต่พระชาลีกัณหาซึ่งแอบฟัง ความอยู่ใกล้ๆ ได้ ทราบว่า พระบิดาจะยกตน ให้แก่ชูชก ก็ทรงหวาดกลัว จึงพากันไปหลบ ซ่อน โดยเดินถอยหลังลงสู่สระบัว เอาใบบัว บังเศียรไว้ ชูชกเห็นสองกุมารหายไป จึงทูล ประชดประชันพระเวสสันดรว่า ไม่เต็ม พระทัย บริจาคจริง ทรงให้สัญญาณสอง กุมารหนีไปซ่อนตัวเสียที่อื่น พระเวสสันดร จึงทรงต้องออกมาตามหาพระชาลีกัณหา ครั้นทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าเดินขึ้นมา จากสระ จึงตรัสเรียกพระโอรสธิดาว่า "ชาลีกัณหา เจ้าจงขึ้นมาหาพ่อเถิด หากเจ้า นิ่งเฉยอยู่ พราหมณ์เฒ่าก็จะเยาะเย้ยว่าพ่อนี้ ไร้วาจาสัตย์ พ่อตั้งใจจะบำเพ็ญทานบารมี เพื่อสละละกิเลสให้บรรลุพระโพธิญาณ จะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ในภาย ภาคหน้า ให้พ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่าย ตายเกิด เจ้าจงมาช่วยพ่อประกอบการบุญ เพื่อบรรลุ ผล คือ พระโพธิญาณนั้นเถิด" ทั้งสองกุมารทรงได้ยินพระบิดาตรัสเรียก ก็ทรงรำลึกได้ถึงหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่ถึง เชื่อฟังบิดามารดา รำลึกได้ถึงความ พากเพียรของพระบิดาที่จะประกอบ บารมีเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส ทั้งยังรำลึกถึง ขัตติยมานะว่าทรงเป็น โอรสธิดากษัตริย์ ไม่สมควรจะหวาดกลัว ต่อสิ่งใด จึงเสด็จขึ้นมาจากสระบัว พระบิดาก็จูงทั้งสองพระองค์มาทรงบริจาค เป็นทานแก่ชูชก
    ชูชกครั้นได้ตัวพระชาลีกัณหาเป็นสิทธิขาดแล้ว ก็แสดงอำนาจฉุดลากเอาสอง กุมารเข้าป่าไป เพื่อจะให้ เกิดความยำเกรง ตน พระเวสสันดรทรงสงสารพระโอรสธิดา แต่ก็ไม่อาจทำประการใดได้ เพราะทรง ถือว่า ได้บริจาคเป็นสิทธิแก่ชูชกไปแล้ว ครั้นพระนางมัทรีทรงกลับมาจากป่า ในเวลาพลบค่ำ เที่ยวตามหาโอรสธิดา ไม่พบ ก็มาเฝ้าทูลถามจาก พระเวสสันดร พระเวสสันดรจะทรงตอบความจริงก็เกรงว่า นางจะทนความเศร้าโศกมิได้ จึงทรงแกล้ง ตำหนิว่า นางไปป่าหาผลไม้ กลับมาจน เย็นค่ำ คงจะรื่นรมย์มากจนลืมนึกถึง โอรสธิดาและสวามีที่คอยอยู่ พระนางมัทรี ได้ทรงฟัง ก็เสียพระทัย ทูลตอบว่า "เมื่อหม่อมฉันจะกลับอาศรม มีสัตว์ ร้ายวนเวียนดักทางอยู่ หม่อมฉันจะมา ก็มามิได้จนเย็นค่ำ สัตว์ร้ายเหล่านั้น จึงจากไป หม่อมฉันมีแต่ความสัตย์ซื่อ มิได้เคยจึกถึงความสุขสบายส่วนตัวเลย แม้แต่น้อยนิด บัดนี้ลูกของหม่อมฉันหายไป จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็มิทราบ หม่อมฉัน จะเที่ยวติดตามหาจนกว่าจะ พบลูก" พระนางมัทรีทรงออกเที่ยวตามหาพระชาลี กัณหาตามรอบบริเวณศาลา เท่าไรๆ ก็มิได้ พบจนในที่สุด พระนางก็สิ้นแรง ถึงกับสลบไป พระเวสสันดรทรงเวทนา จึงทรงนำน้ำเย็นมา ประพรมจนนางฟื้นขึ้น ก็ ตรัสเล่าว่าได้บริจาค โอรสธิดาแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว ขอให้ พระนางอนุโมทนาในทานบารมีที่ทรงกระทำ ไปนั้นด้วยบุตรทานที่พระราชสวามีทรงบำเพ็ญ และมีพระทัยค่อยบรรเทาจากความโศกเศร้า
    ฝ่ายท้าวสักกะเทวราชทรงเล็งเห็นว่า หากมี ผู้มาทูลขอพระนางมัทรีไป พระเวสสันดร ก็จะทรงลำบาก ไม่อาจบำเพ็ญเพียรได้เต็ม ความปรารถนา เพราะต้องทรงแสวงหาอาหาร ประทังชีวิต ท้าวสักกะจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์ มาขอรับบริจาคพระนางมัทรี พระเวสสันดร ก็ทรงปิติยินดีที่จะได้ประกอบทารทานคือการ บริจาคภรรยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น พระนาง มัทรีก็ทรงเต็มพระทัยที่จะได้ทรงมีส่วน ในการ บำเพ็ญทานบารมีตามที่พระเวสสันดร ทรงตั้งพระทัยไว้ เมื่อได้รับบริจาคแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงกลับ คืนร่างดังเดิม และตรัสสรรเสริญอนุโมทนา ในกุศลแห่งทาน บารมีของพระเวสสันดร แล้วถวายพระนางมัทรีกลับคืนแด่พระเวสสันดร พระเวสสันดรจึงได้ทรงประกอบบุตรทารทาน อันยากที่ผู้ใดจะกระทำได้ สมดังที่ได้ตั้งพระทัย ว่าจะบริจาคทรัพย์ของพระองค์ เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น โดยปราศจากความหวงแหนเสียดาย ฝ่ายชูชกพาสองกุมารเดินทางมาในป่า ระหกระเหินได้รับความลำบากเป็นอันมาก และหลงทางไปจนถึง เมืองสีวี บังเอิญผ่าน ไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัย ทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหา ให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว บรรดาเสนาอำมาตย์และประชาชนทั้งหลาย ต่างก็พากันสงสารพระกุมารทั้งสอง และ ตำหนิพระเวสสันดรที่มิได้ทรงห่วงใย พระโอรสธิดา
    พระชาลีเห็นผู้อื่นพากัน ตำหนิติเตียนพระบิดา จึงทรงกล่าวว่า "เมื่อพระบิดาเสด็จไปผนวชอยู่ในป่า มิได้ทรงมีสมบัติใดติดพระองค์ไป แต่ทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะ สละกิเลส ไม่หลงใหลหวงแหนในสมบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้บุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมสละได้เพื่อประโยชน์ แก่ผู้อื่น เพราะทรงมีพระทัยมั่นในพระโพธิญาณ ในภายหน้า ความรัก ความหลง ความโลภ ความโกรธ เป็นกิเลสที่ขวางกั้นหนทางไปสู่ พระโพธิญาณ พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลส ได้ดังนี้จะมาตำหนิติเตียน พระองค์หาควรไม่" พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังดังนั้นก็ยินดี จึงตรัสเรียกพระชาลีให้เข้าไปหา แต่พระชาลี ยังคงประทับอยู่กับ ชูชก และทูลว่า พระองค์ ยังเป็นทาสของชูชกอยู่ พระเจ้าสญชัยจึงขอไถ่ สองกุมารจากชูชก พระชาลี ตรัสว่า พระบิดา ตีค่าพระองค์ไว้พันตำลึงทอง แต่พระกัณหานั้น เป็นหญิง พระบิดาจึงตีค่าตัวไว้สูง เพื่อมิให้ ผู้ใดมาไถ่ตัวหรือซื้อขายไปได้ง่ายๆ พระกัณหา นั้นมีค่าตัวเท่ากับทรัพย์เจ็ดชีวิตเจ็ดสิ่ง เช่น ข้าทาส หญิงชาย เป็นต้น สิ่งละเจ็ดร้อย กับทองคำอีกร้อยตำลึง พระเจ้าสญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลัง มาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัด ข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก เพื่อตอบแทนที่พาพระนัดดากลับมาถึงเมือง
    ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภค อาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ ความตายในที่สุด พระเจ้าสญชัยโปรด ให้จัดการศพแล้วประกาศหาผู้รับมรดกก็หา มีผู้ใดมาขอรับไม่ หลังจากนั้น พระเจ้าสญชัย จึงตรัส สั่งให้จัดกระบวนเสด็จเพื่อไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนสู่ เมืองสีวี เพราะบรรดาประชาชนก็พากันได้คิดว่า พระเวสสันดรได้ทรงประกอบทานบารมี อันยิ่งใหญ่ กว่าทั้งหลายทั้งปวง ก็เพื่อประโยชน์ แห่งผู้คนทั้งหลาย หาใช่เพื่อพระองค์เองไม่ เมื่อกระบวนไปถึงอาศรมริมสระโบกขรณี กษัตริย์ทั้งหกก็ทรงได้พบกันด้วยความโสมนัส ยินดี พระเจ้าสญชัยจึงตรัสบอกพระเวสสันดร ว่าประชาชนชาวสีวีได้เห็นสิ่งที่ถูกที่ควรแล้ว และพากันร่ำร้องได้ ทูล เชิญเสด็จกลับเมืองสีวี
    พระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระชาลี กัณหาจึงได้เสด็จกลับเมือง พระเจ้าสญชัย ทรงอภิเษก พระ เวสสันดรขึ้นครองเมืองสืบ ต่อไป ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีวี พระเวสสันดรก็ทรงยึดมั่นในการประกอบ ทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาคเป็นประจำ ทุกวัน ชาวเมืองสีวีตลอดจนบ้านเมืองใกล้เคียง ก็ได้รับพระ เมตตากรุณา มีความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเมืองต่างก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันมิได้โลภ กระหายในทรัพย์สมบัติ ต่างก็มีจิตใจผ่องใสเป็น สุข เหมือนดังที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระปณิธาน ว่า พระองค์จะทรงบริจาคทรัพย์สมบัติทั้งปวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยทรัพย์ทั้งหลาย ทำให้เกิดกิเลส คือความโลภ ความหลงหวงแหน เมื่อบริจาคทรัพย์แล้ว ผู้รับก็จะได้ประโยชน์ จากสิ่งนั้น และมีความชื่นชม ยินดี ผู้ให้ก็จะ อิ่มเอมใจว่าได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดความ ปิติยินดีเช่นกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมได้รับ ความสุขความพึงพอใจดังนี้
    คติธรรม : บำเพ็ญทานบารมี
    สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิตบาปหยาบร้ายก็ต้องได้ภัยเพราะตัวเองดั่งชูชกนั้นเอง


    ที่มา







    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2009
  4. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ขอเชิญร่วมโมทนาบุญผ้าห่มคริสตัลและร่วมทำบุญกฐินวัดป่าศริสมบูรณ์วันที่ 24-25 ต.ค52

    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสร้างตึกฝึกกรรมฐานและผ้ากฐินสีเงินประดับคริสตัลวันที่24-25-ตุลาคม-พ-ศ-2552-a.184095/page-10

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ผ้ากฐินประจำปีนี้ เหลืออีกนิดเดียวก็จะเสร็จแล้วครับ

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
    __________________

    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2009
  5. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
    __________________

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    จากอัลบั้ม:<!-- google_ad_section_end --> __________________

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. หญิงจัน

    หญิงจัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +2,655
    เพิ่มเติม วันเสาร์-อาทิตย์ ได้ข่าวว่า ที่วัด หลวงพ่อวัชรชัย ท่านจะสอนมโนยิทธิด้วย ล่ะ
     
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  8. มาริตา

    มาริตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +60
    วัดสวยมากๆ หลวงพ่อก็ใจดี
     
  9. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    [​IMG]

    ผลแห่งการชักชวนให้คนสร้างกุศล...(มาลาวชิโร)

    ในทางพุทธศาสนา การชักชวนผู้อื่นทำความดีนั้น
    ผู้ชักชวนก็ได้บุญ และทำให้เป็นผู้มีบริวารมาก
    หากทำด้วยตัวเองด้วยก็ยิ่งจะได้ทั้งทรัพย์สมบัติและบริวาร
    ดังเรื่องที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาลว่า

    กาลครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลได้รับสั่งให้สันตติมหาอำมาตย์
    ไปปราบปรามโจรที่กำลังฮึกเหิมอย่างหนัก
    เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงทราบว่า
    มหาอำมาตย์ปราบโจรได้อย่างราบคาบแล้ว
    ทรงพอพระราชหฤทัยมาก จึงพระราชทานทรัพย์สมบัติให้เป็นจำนวนมาก
    รวมทั้งหญิงสาวที่เก่งในการร้องเพลงและฟ้อนรำนางหนึ่ง
    อำมาตย์ได้ดื่มเหล้าฉลองชัยชนะจนเมามายถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน
    ในวันที่ เจ็ดเขาจัดแจงแต่งตัวด้วยอาภรณ์อย่างดี
    แล้วขี่ช้างตัวที่ดีที่สุดไปยังท่าอาบน้ำ
    เมื่อไปถึงก็เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง
    เขาจึงผงกศีรษะถวายบังคมด้วยความเคารพ
    ในขณะที่นั่งอยู่บนคอช้างนั่นเอง

    เมื่อพระศาสดาทรงเห็น จึงทรงแย้มพระโอษฐ์
    พระอานนท์จึงทูลถามถึงสาเหตุที่พระองค์ทรงแสดงกิริยาเช่นนั้น
    พระพุทธองค์ตรัสว่า “อานนท์ เธอจงดูสันตติมหาอำมาตย์
    วันนี้เขาประดับด้วยอาภรณ์อย่างดี มาสู่สำนักเรา
    เขาจะบรรลุพระอรหัตเพียงเพราะไดัฟังธรรมเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง
    และจะปรินิพพานในอากาศ”

    บรรดาชาวบ้านที่ได้ฟังคำของพระศาสดา
    บางพวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิคิดว่า “ท่านทั้งหลาย จงดูกิริยาของพระสมณโคดม
    พระองค์ย่อมพูดสักแต่ปากเท่านั้น ในวันนี้สันตติมหาอำมาตย์นั้นเมาสุราอย่างหนัก
    จะได้ไปฟังเทศน์ฟังธรรมที่ไหน พวกเราจักจับผิดพระสมณโคดมที่กล่าวมุสาวาท”

    ส่วนพวกที่เป็นสัมมาทิฏฐิคิดกันว่า
    “น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก
    ในวันนี้ เราทั้งหลาย จักได้ดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้า
    และการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์”

    ฝ่ายมหาอำมาตย์หลังลงเล่นน้ำตลอดทั้งวันที่ท่าอาบน้ำแล้ว
    จึงกลับไปสู่อุทยาน และไปนั่งในโรงดื่ม
    ขณะที่หญิงสาวที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานให้นั้น
    ก็ขึ้นไปยืนอยู่ที่กลางเวทีเตรียมจะฟ้อนรำให้มหาอำมาตย์ดู
    แต่พอเริ่มจะแสดง นางก็กลับมีลมพิษเกิดขึ้นในท้องอย่างหนัก
    ปากอ้า ตาเหลือก และในที่สุดก็ขาดใจตาย
    สาเหตุเพราะกินอาหารน้อยมาตลอด ๗ วัน
    เพื่อให้ร่างกายอ้อนแอ้นน่าชมนั่นเอง

    เมื่อมหาอำมาตย์รู้ว่านางตายแล้ว
    เขาก็เกิดความเศร้าโศกอย่างแรงกล้าขึ้นมา กระทั่งส่างเมาทันที
    พิษของสุราที่ดื่มมาตลอด ๗ วัน ได้เสื่อมหายไป
    เขาคิดว่าคงไม่มีใครที่จะสามารถระงับความโศกเศร้าของเขาได้
    เขาจึงไปขอเข้าเฝ้า พระศาสดาในตอนเย็นพร้อมกับบริวาร
    และกราบทูลถึงเหตุแห่งความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นกับตน
    และเหตุที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้า

    ครั้นพระศาสดาได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว จึงตรัสว่า
    “ท่านมาหาเราผู้สามารถที่จะดับความโศกได้แน่นอน
    อันที่จริงน้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้ในเวลาที่หญิงนี้ตายด้วยเหตุอย่างนี้
    มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง ๔ ซะอีก” แล้วจึงตรัสพระคาถา ว่า

    “กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น
    ให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวล จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง
    ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป”

    หลังจากพระองค์เทศน์จบ สันตติมหาอำมาตย์ก็บรรลุพระอรหัตผล
    แล้วพิจารณาดูอายุสังขารของตน ทราบว่าตัวเองจะหมดอายุขัยแล้ว
    จึงกราบทูลพระศาสดาว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด”

    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “สันตติมหาอำมาตย์ ถ้าอย่างนั้น
    เธอจงเล่ากรรมที่เธอเคยทำไว้ในอดีตแก่เรา
    แต่ก่อนจะเล่า จงอย่ายืนบนพื้นดิน จงยืนบนอากาศชั่ว ๗ ลำตาล”

    มหาอำมาตย์จึงถวายบังคมพระศาสดา
    จากนั้นก็ขึ้นไปสู่อากาศชั่วลำตาลหนึ่ง แล้วลงมาถวายบังคมพระศาสดาอีก
    และขึ้นไปนั่งโดยบังลังก์บนอากาศ ๗ ชั่วลำตาลแล้ว
    จึงเล่าบุรพกรรมของตนเองว่า

    ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
    ตนได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง ในพันธุมดีนคร คิดอยู่ว่า
    อะไรหนอเป็นกรรมที่ไม่ทำการตัดรอนหรือบีบคั้นชนเหล่าอื่น
    เมื่อใคร่ครวญอยู่อย่างนี้ จึงรู้ว่ากรรมคือ
    การป่าวร้องบอกบุญ ชักชวนคนทำบุญ เป็นสิ่งที่ดี
    จึงชักชวนชาวบ้านทำบุญ เที่ยวเชิญชวนชาวบ้านทำบุญสมาทาน
    อุโบสถศีลในวันอุโบสถ ถวายทาน
    และฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อให้เข้าถึงพระรัตนตรัย


    ผลของการชักชวนชาวบ้านบำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลนั้นมีมากมายยิ่งนัก
    ดังที่เกิดขึ้นกับตน คือ พระราชาผู้ใหญ่ทรง พระนามว่า ‘พันธุมะ’
    เป็นพระพุทธบิดา เมื่อได้ทรงสดับความดังนั้น
    จึงรับสั่งให้เรียกตนมาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า กำลังทำอะไร ตนจึงทูลไปว่า
    ได้เที่ยวประกาศคุณของพระรัตนะตรัย ชักชวนชาวบ้านทำบุญ ทำกุศล

    พระราชาได้ตรัสถามว่า นั่งอะไรไป ตนได้กราบทูลไปว่า เดินไป
    จึงตรัสขึ้นว่าไม่เหมาะที่จะเดินไปอย่างนั้นหรอก
    จงประดับพวงดอกไม้นี้แล้วขี่ม้าไปเถิด ตรัสแล้วก็พระราชทาน
    พวงดอกไม้ และม้าที่ฝึกแล้วให้ ต่อมาพระราชาเห็นว่าม้าก็ไม่สมควร
    จึงได้พระราชทานรถที่เทียมด้วยม้าพันธุ์ดี
    และไม่นานพระราชาก็คิดว่ารถเทียมม้าก็ไม่สมควรอีก
    จึงได้พระราชทานทรัพย์สินเงินทองพร้อมทั้งเครื่องประดับเป็นจำนวนมาก
    นอกจากนั้นยังได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งด้วย
    ตนจึงนั่งบนคอช้าง ออกเที่ยวชักชวนคนทำบุญทำกุศลอยู่อย่างนี้สิ้นแปดหมื่นปี
    กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบล ฟุ้งออกจากปากตลอดกาลมีประมาณเท่านี้”

    หลังจากสันตติอำมาตย์กราบทูลบุรพกรรมของตนแล้ว
    ท่านก็ปรินิพพานบนอากาศนั่นเอง

    ........

    วิธีการทำบุญที่สันตติอำมาตย์ได้ชวนผู้อื่นทำนั้น
    มีทั้งการให้ทาน รักษาศีล และฟังธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ
    ไม่มีทรัพย์สินเงินทองก็สามารถทำได้

    เพราะวิธีการทำบุญมีมากมายหลายวิธี เราสามารถทำบุญด้วยการรักษาศีล
    ฟังธรรม และเจริญภาวนา เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ
    เหล่านี้ล้วนแต่ให้อานิสงส์มากมายยิ่งนักแก่ผู้ปฏิบัติ
    ไม่ได้น้อยไปกว่าการทำบุญด้วยวัตถุสิ่งของเลย

    จะเห็นว่าสันตติอำมาตย์ได้ทำบุญอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
    แสดงให้เห็นถึงการมีจิตใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยวในการทำความดี

    ดังนั้น หากเราคิดอยากจะได้บุญที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้
    ก็จงแน่วแน่ในการสร้างความดีต่างๆ อย่าท้อแท้หมดกำลังใจเมื่อมีมารมาขัดขวาง
    นอกจากนั้นจงใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นปัจจัยในการเข้าถึงสัจธรรม
    เพราะทุกอย่างที่อยู่รอบตัว สามารถเป็นบทเรียนให้เราได้
    หากเรารู้จักใช้สติปัญญาพิจารณาอย่างจริงจัง
    และน้อมเข้ามาเปรียบเทียบกับตัวเอง และเมื่อเรามีปัญญาเห็นความจริงแล้ว
    ก็จงพยายามถ่ายทอดต่อไปยังคนอื่นๆ การชี้ทางให้แก่คนอื่น ก็เป็นบุญอันยิ่งใหญ่
    เป็นธรรมทาน มีอานิสงส์มากมาย

    ที่มา ::
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
    อยากไปจังเลย....ทำไงดีล่ะคะ...
    ต้องหาโอกาสแล้ว...
     
  11. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    ปีหน้าอยากไปท่าซุง อยากทำขนมปังสังขยาไปแจก วัดท่าซุงสักวัน ............. จะพาเพื่อนๆๆไปเยอะๆๆสนุกดี
     
  12. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,185
    ได้โอนเงินทำบุญด้วยค่ะ
    15/10/52 15:47 A01316 006
    1037 A จำนวนเงิน 300 บาท
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  13. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    เนื่องด้วยจากโครงการที่แล้วงานวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นครั้งแรกที่พ่อแม่และพี่สาวผม มาช่วยทำ ความจริงผมไม่ตั้งใจให้มาด้วยหรอก แต่ว่าบังเอิญ ว่านัดพ่อกับแม่ไปซื้อพระไตรปิฏกที่วัดบวรอาทิตย์ก่อนเพื่อไปถวายที่วัดป่าศิริสมบูรณ์ แต่ติดงาน จึงต้องมาอาทิตย์ที่มีงานวันเกิดหลวงพ่อพอดี ถึงทำให้พ่อกับแม่และก็พี่สาวและเพื่อนๆของพี่ ได้มาช่วยทำโรงทานแจกอาหารให้งานด้วยกัน ถือเป็นความโชคดีที่ทำให้พ่อกับแม่ ได้มาร่วมบุญด้วยกันและรู้สึกชอบในการทำโรงทาน จึงทำให้มียานพาหะนะ เป็นรถกระบะ ซึ่งพ่อเป็นคนขับ.....ถือแรงสนับสนุน พ่อกับแม่ ปกติก็ไม่ค่อยได้ร่วมกันเท่าไร
    ในวันงานก็จะแจกขนมปังสังขยา และถวายขนมปังทำบุญเลี้ยงพระในงานเป็นสังฆทาน หากคนร่วมบุญหรือมาร่วมทำโรงทานก็สามารถมาร่วมได้ มากันหลายๆคน
    งานวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อว่าเป็นจุดเปลี่ยนของพ่อกับแม่เลยก็ว่าได้....ผมรู้สึกได้ว่าพ่อกับมีจิตใจที่อยากทำบุญกุศลมากขึ้น และอิ่มใจที่ได้ทำโรงทาน ตอนนี้ท่านสนับสนุนแล้วคงมีงานต่อๆไปออกมาอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2009
  14. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  15. หนึ่ง1

    หนึ่ง1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,638
    วนที่ 1 พย. ขอทราบกำหนดการทอดกฐินคร่าวๆด้วยครับ
     
  16. cmhadtong

    cmhadtong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    429
    ค่าพลัง:
    +2,040
    โอนเงินร่วมบุญโรงทานงานกฐินวัดเขาวง ( ถ้ำนารายณ์ ) 200บาท
    อนุโมทนา สาธุ
    รายละเอียดแจ้งทาง PM
     

แชร์หน้านี้

Loading...