ขอเชิญร่วมบุญปิดทองพระประธาน หลวงพ่ออินทร์แปลง จ.นครพนม

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย thepprasith, 17 กรกฎาคม 2018.

  1. thepprasith

    thepprasith เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +362
    35303858_1706145622787450_5912697875141230592_n.jpg 36244213_1706145759454103_8557767292702687232_n.jpg

    “ขอเชิญร่วมบุญบูรณะปิดทองคำเปลวแท้ทั้งองค์

    #พระประธานในโบสถ์ วัดพระอินทร์แปลง
    อ.เมือง จ.นครพนม
    (ประวิติพระประธานองค์นี้มีปาฎิหาริย์ยิ่งนัก)

    #บูรณะองค์พระครั้งแรก
    ท่านเจ้าอาว่าสองค์ก่อนนำสีทองมาทาองค์
    พระประมาณปี2520 *-
    และครั้งนี้
    เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 40 ปี
    เราจะบูรณะปิดทองคำแท้ทั้งองค์
    แต่ #จะไม่ปิดทองที่หน้าพระพักต์ครับ
    (เพราะท่านเจ้าอาวาสบอกไว้)

    เพื่อนๆกัลยาณมิตรท่านใดสนใจร่วมบุญได้ครับ
    แบงค์กรุงเทพ 628-0345-999
    นายสนธยา ห้วยใหญ่ ออมทรัพย์
    และในรูปลงหมายเลขบัญชีร่วมบุญไว้แล้ว
    ติดต่อ091-7959959
    สาธุตรับ
    ขอปิดรับร่วมบุญ วันที่ 25 ก.ค.2561 ครับ

    ประว้ติ
    วัดพระอินทร์แปลง” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร อ.เมือง จ.นครพนม ตั้งเมื่อ พ.ศ.2393 เดิมชื่อว่า “วัดอุโมงค์”
    ที่ตั้ง วัดพระอินทร์แปลง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
    ประวัติ พระอินทร์แปลงนั้นคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า พระอินทร์แปลงพระองค์ลงมาหล่อองค์พระจึงได้ชื่อว่า พระอินทร์แปลง หลวงพ่อพระอินทร์แปลงมีอายุประมาณ 1,000 ปี
    จากหลักฐานที่ค้นพบที่แท่นพระพุทธรูปเก่าแก่ ซึ่งสันนิษฐานว่า คงเป็นพระหล่อจากเศษของสิ่งเหลือจากการหล่อหลวงพ่อพระอินทร์แปลงแล้ว จากการขุดพบเมื่อราว พ.ศ. 2475 – 2476 ปรากฏว่าไดพบพระพุทธรูปทองคำ จำวน 12 องค์ ลูกธาตุจำนวน 150 อัน และอักษรที่เขียนเป็นตัวธรรมจารึกไว้ที่ฐานพระพุทธรูปมีใจความว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1373 ปีระกา วันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ พระหน่อหลักคำเป็นผู้เขียนจารึก

    พระหน่อหลักคำหรือหลวงพ่อหลักคำ เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้นเห็นว่า วัดของท่านยังไม่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่พอที่จะนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานจึงได้บอกบุญไปยังญาติโยมถึงการที่จะหล่อพระประธาน ชาวบ้านพากันดีใจ นำทองของตนเองไปบริจาคกันมากมายจนกระทั่งถึงวันที่จะหล่อพระมีหลวงพ่อหลักคำเป็นผู้เททองเป็นองค์แรก ต่อไปก็เป็นชาวบ้าน เมื่อทองเหลือก็นำไปหล่อเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กองค์น้อย พอได้เวลาแกะดินซึ่งเป็นแม่พิมพ์ออกหลวงพ่อหลักคำให้กะเทาะส่วนล่างออกก่อน คือส่วนที่นั่งขัดสมาธิขึ้นไปถึงพระอุระ (อก) พร้อม ๆ กับพระกร (แขน) ทั้งสองข้าง จนกระทั่งถึงพระอังสา (บ่า) แล้วยังเหลือหุ้มเฉพาะส่วนพระศอ (คอ) เท่านั้น อยู่ ๆ พระเศียร (หัว) ของพระพุทธรูปก็หล่นลงมา หาได้ติดต่อกับส่วนพระศอไม่ สร้างความตกใจ และผิดหวังแก่หลวงพ่อหลักคำและญาติโยมเป็นอย่างมากถึงอย่างไรก็ตามหลวงพ่อก็ยังคิดว่าที่ส่วนไม่ต่อกันนั้นเพราะทองไหลไม่สะดวกนั่นเองคงไม่เป็นไร ต่อเข้าทีหลังก็ได้ ท่านก็เลยสั่งให้กะเทาะกันออกดู ด้วยหวังว่าจะได้เห็นพระเศียรพระพุทธรูปที่งดงาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีเศียรพระพุทธรูปอยู่ในแบบพิมพ์นั้นเลย และที่น่าอัศจรรย์ใจกว่านั้นคือ ไม่มีทองอยู่ในนั้นแม้แต่นิดเดียว ทองในส่วนพระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้หายไปไหนหมด และหายไปได้อย่างไร

    หลังจากนั้นไม่นาน การเททองหล่อเฉพาะเศียรพระก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง ชาวบ้านต่างให้ความสนใจมากเพราะอยากรู้ว่าจะเหมือนครั้งแรกหรือไม่ และเมื่อแกะแม่พิมพ์ออกทุกคนก็ร้องออกมาด้วยความผิดหวัง เพราะปรากฏว่าทองที่หล่อลงไปนั้น ไม่ได้มีรูปร่างเป็นเศียรพระแต่มีลักษณะบิดเบี้ยวผุกร่อน

    ความล้มเหลวในครั้งนี้ หาได้ทำให้หลวงพ่อหลักคำเกิดความท้อใจไม่ ภายใต้จิตสำนึกของท่านยังคงมีมานะมุ่งมั่นที่จะพยายามหล่อเศียรพระประธานองค์นี้ให้สำเร็จให้จงได้
    สำหรับพระพุทธรูปเศียรขาดนี้ท่านได้สั่งให้นำไปตั้งไว้หลังพระอุโบสถ ก็อธิษฐานถือปูนโบกด้วยดินเหนียวทำเป็นรูปอุโมงค์ครอบองค์พระไว้ แล้วเอาผ้าขาวคลุมองค์พระอีกชั้นหนึ่ง
    จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 1394 คืนหนึ่งท่านหลวงพ่อหลักคำฝันเห็นพระอินทร์นำเอาเศียรพระพุทธรูปมาที่อุโมงค์นั้นแล้วนำมาต่อเข้ากับองค์พระเสร็จแล้ว เหาะหายขึ้นไปบนท้องฟ้า หลวงพ่อหลักคำตื่นขึ้นมาด้วยความประหลาดในว่าฝันไปหรืออย่างไร แต่ก็วิ่งไปดูที่องค์พระปรากฏว่าพระพุทธรูปนั้นมีเศียรแล้วจริง ๆ อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ พระอินทร์เป็นผู้ลงมาสร้างให้ก็ไม่ผิด เพราะพระพักตร์นั้นงามล้ำทุกอย่างประณีตงดงามเหมือนเนรมิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...