ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ(กายคตาสติภาวนา )

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 1 พฤศจิกายน 2010.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,209
    ค่าพลัง:
    +3,129
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1207055/[/MUSIC]

    ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ
    ยังมีท่านหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไปแต่เที่ยวหมั่น ไปมาอยู่ช้านาน นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ ๆ เรื่องแก่ตาย วันหนึ่งท่านรู้จริงทิ้งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หายเปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์กลาย แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ทำเมิน (เมิน = มอง) ไปเมินมาอยู่หน้าเขา จะกลับไปป่าวร้องซึ่งพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้าบอ สู้อยู่ผู้เดียวหาเรื่องเครื่องสงบ เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ เดี๋ยวถูกยอถูกติเป็นเรื่องเครื่องรำคาญฯ
    ยังมีบุรุษคนหนึ่งอีกกลัวตายน้ำใจฝ่อ มาหาแล้วพูดตรง ๆ น่าสงสาร ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน เห็นธรรมที่จริงแล้วหรือยังที่ใจหวัง เอ๊ะทำไมจึงรู้ใจฉัน บุรุษนั้นก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดี ๆ ฉันอนุโมทนา จะพาดูเขาใหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มี คือกายคตาสติภาวนา ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน หนทางจรอริยวงศ์ จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ใช่หลอกเล่นบอกความให้ตามจริง
    แล้วกล่าวปฤษณาท้าให้ตอบ ปฤษณานั้นว่า ระวึง คืออะไร ตอบว่าวิ่งเร็ว คือวิญญาณอาการไว เดินเป็นแถวตามแนวกัน สัญญาตรงไม่สงสัย ใจอยู่ในวิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิต ทำให้คิดวุ่นวายเที่ยวส่ายหา หลอกเป็นธรรมต่าง ๆ อย่างมายา
    ถามว่าห้าขันธ์ใครพ้นจนทั้งปวง แก้ว่าใจซิพ้นอยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติดสิ้นพิษหวง หมดที่หลงอยู่เดียวดวง สัญญาลวงไม่ได้หมายหลงตามไป ถามว่าที่ว่าตายใครเขาตายที่ไหนกัน แก้ว่าสังขารเขาตายทำลายผล ถามว่าสิ่งใดก่อให้ต่อวน แก้ว่ากลสัญญาพาให้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิดติดยินดี ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียน เลยลืมจิตจำปิดสนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น ถามว่าใครกำหนดใครหมายเป็นธรรม แก้ว่าใจกำหนดใจหมายเรื่องหาเจ้าสัญญานั้นเอง คือว่าดีคว้าชั่วผลักติดรักชัง ถามว่ากินหนเดียวไม่เที่ยวกิน แก้ว่าสิ้นอยากดูรู้ไม่หวัง ในเรื่องเห็นต่อไปหายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่งทิ้งอาลัย
    ถามว่าสระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ แก้ว่าธรรมสิ้นอยากจากสงสัย สะอาดหมดราคีไม่มีภัย สัญญาในนั้นพรากสังขารขันธ์นั้นไม่กวน ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ไม่มีพร่อง เงียบระงับดวงจิตไม่คิดครวญ เป็นของควรชมชื่นทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน ก็ไม่เหมือนรู้จริงทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำคัญ จำอยู่ส่วนจำไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้นหายดิ้นรน เหมือนดังว่ากระจกส่องเงาหน้าแล้วอย่าคิด ติดสัญญา เพราะว่าสัญญานั้นเหมือนดังเงา อย่าได้เมาไปตามเรื่องเครื่องสังขาร ใจขยับจับใจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยงของใจใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตไหว
    แต่ก่อนนั้นหลงสัญญาว่าเป็นใจ สำคัญว่าในว่านอกจึงหลอกลวง คราวนี้ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาใดมิได้หวง เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา เปรียบเหมือนขึ้นยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน แลเห็นสิ้นทุกตัวสัตว์ แก้ว่า สูงยิ่งนัก แลเห็นเรื่องของตนแต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้นเช่นบันได ถามว่าน้ำขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือ ตอบว่าสังขารแปรแก้ไม่ได้ ธรรมดากรรมแต่งไม่แกล้งใคร ขืนผลักไสจับต้องก็หมองมัวชั่วในจิต ไม่ต้องคิดขัดธรรมดาสภาวะสิ่งเป็นจริงฯ
    ดีชั่วตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเป็นการเย็น รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารที่ผันแปรเมื่อแลเห็น เบื่อแล้วปล่อยได้คล่องไม่ต้องเกณฑ์ ธรรมก็เย็นใจระงับรับอาการ ถามว่าห้าหน้าที่มีครบกัน ตอบว่าขันธ์แบ่งแจกแยกห้าฐานเรื่องสังขาร ต่างกองรับหน้าที่มีกิจการ จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญเจริญสุข นินทาทุกข์เสื่อมยศหมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเป็นจริง ทั้งแปดอย่างใจไม่หันไปพันพัว เพราะว่ารูปขันธ์ก็ทำแก่ไข้มิได้เว้น นามก็มิได้พักเหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา เรื่องดีพาเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุด เหมือนไฟจุดจิตหมองไม่ผ่องใส นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไปโทษใคร อยากไม่แก่
    ไม่ตายได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชย เช่นไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่งหวังพึ่งเฉย จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นครั้งคราว ถ้ารูเท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์ ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราว ถ้ารู้ได้อย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิถี ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมาย ใจไม่เที่ยงของใจไหววิบวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่ง เล็กบังใหญ่รู้ไม่ทันขันธ์บังธรรมมิดผิดที่นี่ มัวดูขันธ์ธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล
    ถามว่ามีไม่มี ไม่มีมีนี้คืออะไร ทีนี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปล โปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่าง ๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน นี้ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรงข้อปลายไม่มีมี นี้เป็นธรรม ที่ลึกล้ำใครพบจบประสงค์ ไม่มีสังขารมีธรรมที่มั่นคง นั้นแลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่งไม่แปรผัน เลิศภพสงบยิ่ง เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย เรื่องพัวพันธ์ขันธ์ 5 ซาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง ความอยากใหญ่ยิ่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิษหวง ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจงฯ
    เชิญโปรดชี้อีกอย่างหนทางใจ สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างใหญ่นัก ย่อลงก็คือความรักบีบใจอาลัยขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิกกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี ใจตกที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต เอาจนคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว สร้างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็คลายหายร้อน พอพักผ่อนเสาะแสวงหาทางหนี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี ใจรู้ธรรมที่เป็นสุขขันธ์ทุกข์แท้แน่ประจำ ธรรมคงธรรม ขันธ์คงขันธ์เท่านั้น และคำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแท้
    แต่ส่วนสังขาระขันธ์ปราศจากสุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ตายไม่วายวัน จิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศ จิตก็ถอนจากผิดเครื่องเศร้าหมองของแสลง ผิดเป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้งถอนผิดหมดพิษใจ จิตเห็นธรรมดีล้นที่พนผิด พบปะธรรมเปลื้องเครื่องกระสัน มีสติอยู่ในตัวไม่พัวพัน เรื่องรักขันธ์ขาดสิ้นหายยินดี สิ้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงใย ถึงจะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสัย เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งพ้นยุ่งไป พึงรู้ได้ว่าบาปมีขึ้นเพราะขืนจริง ตอบว่าบาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยิ่ง ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่งย่อมทุกข์ไม่สุขเลย แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉย ยึดความจำว่าเป็นใจหมายจนเคย เลยเพลินเชยชมจำทำมานาน ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่นขันธ์ห้าน่าสงสาร ให้ยกตัวอวดตนพ้นประมาณ เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไปไม่เป็นผล เที่ยวดูโทษคนอื่นนั้นขื่นใจ เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา ใจของเราเพียรระวังตั้งถนอม อย่าให้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบาย เห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ที่มั่นหมาย ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย เลยซ้ำร้ายกิเลสกลุ้มเข้ารุมกวน เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งกลัวนักหนักจิตคิดโหยหวน ซ้ำอารมณ์กามห้าก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่าง ๆ ไป เพราะยึดขันธ์ทั้ง 5 ว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ภัยไปได้นา
    ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่าชาเฉย ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย คงได้เชยชมธรรมะอันเอกวิเวกจิต ไม่เที่ยงนั้นหมายใจไหวจากจำ เห็นแล้วซ้ำดู ๆ อยู่ที่ไหว พออารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต ๆ นั้นไม่ติดคู่ จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้วิถีใจ รู้เท่าที่ไม่เที่ยง จิตต้นพ้นริเริ่ม คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้ รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที คำที่ว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี จิตหวงนี้ปลายจิตคิดออกไป จิตต้นดีเมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย เห็นธรรมะอันเลิศล้ำโลกา เรื่องคิดค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถอนเปลื้องปลดได้หมดสิ้น ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ใจเชื่องชิดต้นจิตคิดไม่ครวญ ธรรมดาของจิตก็ต้องคิดนึก
    พอรู้สึกจิตต้นพ้นโหยหวน เงียบสงัดจากเรื่องเครื่องรบกวน ธรรมดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้นคงที่ไม่มีเลย ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด มักจะเบียดให้จิตไปติดเฉย ใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย เมื่อถึงเอยหากรู้เองเพลงของใจ เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูปกิเลส จำแลงเพศเหมือนดังจริงที่แท้ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเองหมายนามว่าความเห็น ไม่ใช่เช่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม ทั้งตรึกตรองแยกแยะแกะรูปนาม ก็ใช่ความเห็นเองจงเล็งดู รู้ขึ้นเองใช่เพลงคิด รู้ต้นจิต ๆ จิตต้นพ้นโหยหวน ต้นจิตรู้ตัวแน่ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน ใช่กระบวนไปดูหรือรู้อะไร รู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่ จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว จิตรู้ไหว ๆ ก็จิตติดกันไป แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน จิตเป็นสองอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมของตัวก็พ้นมัวมืด ใจก็จืดสิ้นรสหมดสงสัย ขาดค้นคว้าหาเรื่องเครื่องนอก
    ในความอาลัยทั้งปวงก็ร่วงโรย ทั้งโกรธรักเครื่องหนักใจก็ไปจาก เรื่องใจอยากก็หยุดได้หายหวนโหย พ้นหนักใจทั้งหลายโอดโอย เหมือนฝนโปรยใจ ใจเย็นเห็นด้วยใจ ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตต้น – ปัจจุบันพ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย ต้องดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง อยู่เงียบ ๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง ไม่ต้องวุ่นต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต ท่านชี้มรรคฟังหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดี ตอบว่าสมุทัยคืออาลัยรัก เพลินยิ่งนักทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างต่ำกามะคุณห้าเป็นราคี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน ถ้าจะจับตามวิถีมีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร เพลินทั้งปวงเคยมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิตไปในส่วนที่ผิดก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน สิ่งได้ชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย เพลินดูโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรกเลย
    โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก ส่งวิบากไปตกนรกแสนสาหัส หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคยเว้นเสียซึ่งโทษนั้น คงได้เชยชมสุขพ้นทุกข์ภัย เมื่อเห็นโทษตนชัดรีบตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้ เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย เป็นโทษใหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง ดีแลไม่ดีนี้เป็นพิษของจิตนัก เหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง กำเริบโรคด้วยพิษผิดสำแลง ธรรมไม่แจ้งเพราะอยากดีนี้เป็นเดิม ความอยากดีมีมากมักลากจิต ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิม สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม ที่จริงชี้สมุทัยนี้ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างนุงทางยิ่งยิ่ง เมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งใจสงบจบกันที ฯ
    อันนี้ชื่อว่า ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะประจำอยู่กับที่ ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา สภาวธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่องจะแวะเวียน สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ ฯ
    (ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิด ฯ)​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,209
    ค่าพลัง:
    +3,129
    อนุโมทนา พระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    บทความนี้ลึกซึ้ง ฟังแล้ว เกิดปิติตลอด สาธุ ที่มีโอกาสได้ฟัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2010
  3. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,209
    ค่าพลัง:
    +3,129
    ผิดที่นี่ มัวดูขันธ์ธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล
    ถามว่ามีไม่มี ไม่มีมีนี้คืออะไร ทีนี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปล โปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่าง ๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน นี้ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรงข้อปลายไม่มีมี นี้เป็นธรรม ที่ลึกล้ำใครพบจบประสงค์ ไม่มีสังขารมีธรรมที่มั่นคง นั้นแลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่งไม่แปรผัน เลิศภพสงบยิ่ง เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย เรื่องพัวพันธ์ขันธ์ 5 ซาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง ความอยากใหญ่ยิ่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิษหวง ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจงฯ
    เชิญโปรดชี้อีกอย่างหนทางใจ สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างใหญ่นัก ย่อลงก็คือความรักบีบใจอาลัยขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิกกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี ใจตกที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต เอาจนคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว สร้างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็คลายหายร้อน พอพักผ่อนเสาะแสวงหาทางหนี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี ใจรู้ธรรมที่เป็นสุขขันธ์ทุกข์แท้แน่ประจำ ธรรมคงธรรม ขันธ์คงขันธ์เท่านั้น และคำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแท้
     
  4. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,209
    ค่าพลัง:
    +3,129
    เมื่อถึงเอยหากรู้เองเพลงของใจ เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูปกิเลส จำแลงเพศเหมือนดังจริงที่แท้ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเองหมายนามว่าความเห็น ไม่ใช่เช่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม ทั้งตรึกตรองแยกแยะแกะรูปนาม ก็ใช่ความเห็นเองจงเล็งดู รู้ขึ้นเองใช่เพลงคิด รู้ต้นจิต ๆ จิตต้นพ้นโหยหวน ต้นจิตรู้ตัวแน่ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน ใช่กระบวนไปดูหรือรู้อะไร รู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่ จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว จิตรู้ไหว ๆ ก็จิตติดกันไป แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน จิตเป็นสองอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมของตัวก็พ้นมัวมืด ใจก็จืดสิ้นรสหมดสงสัย ขาดค้นคว้าหาเรื่องเครื่องนอก
    ในความอาลัยทั้งปวงก็ร่วงโรย ทั้งโกรธรักเครื่องหนักใจก็ไปจาก เรื่องใจอยากก็หยุดได้หายหวนโหย พ้นหนักใจทั้งหลายโอดโอย เหมือนฝนโปรยใจ ใจเย็นเห็นด้วยใจ ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตต้น – ปัจจุบันพ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย ต้องดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง อยู่เงียบ ๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง ไม่ต้องวุ่นต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต ท่านชี้มรรคฟังหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดี ตอบว่าสมุทัยคืออาลัยรัก เพลินยิ่งนักทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างต่ำกามะคุณห้าเป็นราคี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน ถ้าจะจับตามวิถีมีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร เพลินทั้งปวงเคยมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิตไปในส่วนที่ผิดก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน สิ่งได้ชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย เพลินดูโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรก
     
  5. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,305
    อาม่าโหลดฟังแล้ว น้อมพิณา รู้บ้าง ไม่ค่อยรู้บ้างแต่จะฟังบ่อยๆ แลพพิณาตาม ขอบคุณค่ะ
    อาม่าต้องไปรอเคลียบ้านข้างๆก่อน เดียวค่อยกลับสำนักน่ะ โปรดเอื้อเฟื้อแก่ เด็ สตรี และคนชรา เห็นแล้วเจ็บตาปลา ฮาอีกหล่ะ
     
  6. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,305
    อาม่าลืม อนุโมทนากับธรรมดีๆ ที่ตั้งใจโพสมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน เยอะมาก ถือว่าให้ธรรมทาน อย่างจริงใจ เพราะอาม่าไม่สามารถขนาด จริงๆ สาธุในธรรมที่ท่านหลบภัยนำมาให้ด้วยความตั้งใจจริงงงงงงงงงง
     
  7. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ฟังแล้วเผลิดเพลินเจริญหัวใจยิ่งนัก

    หากพิจารณาจากประวัติพระอาจารย์มั่นที่ผมเคยอ่านมา

    บทกลอนนี้เขียนขึ้นในขณะที่พระอาจารย์พักอยู่ที่วัดปทุมวนารามซึ่งอยู่ใกล้กับวัดบรมนิวาสของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุนูปมาจารย์ ซึ่งก็มีบอกไว้ในตอนท้ายด้วย
    ซึ่งในขณะนั้น พระอาจารย์เพิ่งบรรลุโสดาปฏิผลญาณใหม่ๆ ในขณะที่เดินทางบริเวณแถวนั้น ไม่แน่ใจว่ากำลังเดินไปมาระหว่างวัดปทุม กับ วัดบรมนิวาส หรือเปล่า ในขณะที่เดินได้ก็พิจารณาขันธ์ไปด้วย มองเห็นผู้คนมีแต่กระดูกที่เดินได้เท่านั้น แล้วก็โผล่งแจ้งในอริยสัจขึ้นมา ดังนั้น ไม่แน่ว่า บทกลานนี้อาจเขียนขึ้นด้วยโสดาบันภูมิ

    เล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นข้อมูลเฉยๆ ผมอาจจะจำคลาดเคลื่อนก็ได้ ต้องขออภัยล่วงหน้า...
     
  8. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,209
    ค่าพลัง:
    +3,129
    [​IMG] ธรรมมะ ของพระพุทธเจ้าสอนให้เอาชนะตัวเอง เนอะ ไม่ได้เอาธรรมมาชนะผู้อื่น
    การสู้แบบเงียบๆ มันท้าทายมากๆ สงครามภายนอกชนะหรือแพ้ก็เท่านั้น
    แต่ถ้าเอาชนะใจตัวเอง ไม่ได้สักครั้ง เราก็แพ้อยู่ดี
    เราจะใช้ลูกศรพุ่งมาหาเรา หรือเราจะให้ลูกศร มันเลี้ยวออกไปข้างนอกดีล่ะ
    ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการมีสติหรอกเนอะ

     
  9. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,209
    ค่าพลัง:
    +3,129
    อานิสงส์ เจริญกายคตาสติ

    • ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
      ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย...
      เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตามนึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว
      ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหลมาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด...
      ฉันนั้นเหมือนกันแลภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
      ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย
    • ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์
      ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์
    • ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ
    • กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 10 ประการนี้ คือ
    1. อดกลั้นต่อความไม่ยินดีและความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย
    2. อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย
    3. อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้
    4. เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันเกิดมีในมหัคคตจิต เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก
    5. ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ
    6. ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์
    7. ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ
    8. ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
    9. ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
    10. ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่
    อ้างอิง

    เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนและครบถ้วน กรุณาอ่านเพิ่มเติมที่
    <!-- /catlinks -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...