ข่าวสาร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี โดยเพจมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, 19 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  2. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  3. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    ***แจ้งข่าว กำหนดการ ออกพรรษา ตักบาตรเทโวฯ ทอดกฐินวัดท่าซุง
    วันที่ ๕ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ ทำบุญวันออกพรรษา
    วันที่ ๖ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ ตักบาตรเทโวฯ
    วันที่ ๗ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ เริ่มงานกฐิน
    วันที่ ๘ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ วันถวายกฐิน เวลา ๑๓.๐๐ น.ทำพิธีถวายผ้ากฐิน

    -ท่าซุง-รายน.jpg

    วัดจันทาราม (ท่าซุง) – กำหนดการงานวันออกพรรษา ตักบาตรเทโว และงานทอดกฐินสามัคคี ณ วัดท่าซุง

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  4. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    รายงานข่าว..กำหนดการเดินทาง / งานวัดท่าซุง ประจำเดือน “ตุลาคม” ปี ๒๕๖๐

    บ้านดอนเมือง และ บ้านสายลม กรุงเทพฯ
    ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน – ๓ ตุลาคม ๒๕๖๐

    ทำบุญออกพรรษา ตักบาตรเทโวฯ ทอดกฐิน วัดท่าซุง
    วันที่ ๕ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ ทำบุญวันออกพรรษา
    วันที่ ๖ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ ตักบาตรเทโวฯ
    วันที่ ๗ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ เริ่มงานกฐิน
    วันที่ ๘ ต.ค พ.ศ. ๒๕๖๐ วันถวายกฐิน เวลา ๑๓.๐๐ น.ทำพิธีถวายผ้ากฐิน

    เวลา ๑๗.๐๐ น. พระสงฆ์วัดท่าซุงทำพิธีกรานกฐินในพระอุโบสถ

    งานทอดกฐินสามัคคี วัดสุขุมาราม
    วันจันทร์ที่ ๙ ตุลาคม

    สอนพระกรรมฐาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม
    ศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง (โคราช)
    ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๐

    เวลา ๑๑.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเพลเสร็จแล้ว เดินทางกลับวัดท่าซุง

    งานทอดกฐินสามัคคี วัดพรหมยานรังสรรค์ (ป่าละอู)
    วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม เริ่มงาน
    วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ตุลาคม เวลา ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้ากฐิน

    -ท่าซุง-แจ้ง.jpg

    วัดจันทาราม (ท่าซุง) – แจ้งข่าว..กำหนดการเดินทาง / งานวัดท่าซุง ประจำเดือน “ตุลาคม” ปี 2560

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  5. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันจันทร์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๐ บวงสรวงอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนแท่น และอัญเชิญรูปท่านปู่ ท่านย่า ติดบนผนังห้องในโอกาสเดียวกัน หลังจากที่ได้ปรับปรุงห้องอาคารชั้น ๒ บ้านซอยสายลมแล้ว.

    1506387425_895_วันจันทร์ที่-๒๕-กันยายน.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  6. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  7. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    การเจริญพระกรรมฐาน ๔๐ กอง แล้วก็ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” ทั้งหมด ทุกอย่างจะต้องขึ้นต้นด้วย “อานาปานุสสติ” เป็นพื้นฐานก่อน คือถ้าไม่ใช้ “อานาปานุสสติกรรมฐาน” เป็นพื้นฐานแล้ว กรรมฐานกองนั้นจะเป็นฌานสมาบัติไม่ได้
    ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านพยายามจำไว้ด้วยว่า การทำสมถะก็ดี วิปัสสนาญาณก็ดีทั้งหมด อันดับต้นจะต้องปรากฏว่าเอา “อานาปานุสสติกรรมฐาน” ขึ้นเป็นพื้นฐานเสียก่อนกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก แม้แต่ผู้ทรงฌานที่สามารถเข้าฌานได้โดยฉับพลัน ในเวลาที่เขาจะเข้าฌานเขาจับ “อานาปานุสสติกรรมฐาน” ก่อนเป็นพื้นฐาน แล้วก็นึกถึงกรรมฐานกองนั้นๆ แล้วเข้าฌานได้ทันที
    รวมความว่า “อานาปานุสสติกรรมฐาน” นี้เป็นกรรมฐานใหญ่มาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “มหาสติปัฏฐานสูตร” จึงได้ยก “อานาปานุสสติกรรมฐาน” ไว้เป็นเบื้องหน้าเป็นกองต้น
    ในกองต้นนี้องค์สมเด็จพระทศพลตรัสไว้อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าเวลาหายใจเข้าให้ทุกคนรู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกให้รู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ เพราะอาการที่เข้าไปรู้ลมหายใจเข้าออกนี่ จะต้องทราบว่าเอาแค่รู้อย่าบังคับลมหายใจ จงอย่าบังคับลมหายใจให้ยาวหรือให้สั้น ให้หนักหรือให้เบา ต้องปล่อยลมหายใจไปตามปกติ เอาจิตเข้าไปรับทราบอย่างเดียวว่า เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เอาจิตเข้าไปรู้ไว้เฉยๆ นะ
    ถ้าถามว่าเท่านี้จะเป็นสมาธิไหม ก็ต้องตอบว่าขึ้นชื่อว่าลมหายใจเป็นของละเอียดมาก ความจริงนี่เราหายใจกันตั้งแต่เกิดมายันตายนี่ ก็หายใจกันไม่หยุด ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืน ประสาทอย่างอื่นหลับได้พักผ่อน แต่ลมหายใจไม่ได้พัก อาการป่วยหนักๆ ถึงแม้ว่าร่างกายกับประสาทส่วนใดๆ จะไม่ทำงานหรือทำงานน้อย แต่ลมหายใจก็ทำงานกันตามปกติ แต่ทว่าคนที่จะรู้ว่าลมหายใจเข้า หายใจออกนี้มีน้อยเต็มที ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าสติเราน้อยไป สัมปชัญญะน้อยไป เวลาจะหายใจเข้าเราไม่ได้นึกว่านี่เราจะหายใจเข้า เวลาจะหายใจออกเราไม่ยอมรู้ตัวว่าจะหายใจออก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าลมหายใจเป็นอวัยวะทางร่างกายทำงานตามปกติ ในเมื่อเราสติน้อยลงไปเพียงใด การรู้ลมหายใจก็น้อยเต็มที ทั้งๆ ที่ลมหายใจทำงานตามหน้าที่
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้ทรงแสดงเทศน์แนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ว่าสิ่งที่ละเอียดที่สุดที่เราจะต้องจับเป็นอันดับแรก คือลมหายใจเข้าออก ตั้งใจรับทราบด้วยว่าเวลาใดรู้ว่าลมหายใจเข้าเรารู้อยู่ ลมหายใจออกรู้อยู่ ลมหายใจออกยาวหรือสั้นเราก็รู้อยู่ ลมหายใจเข้ายาวหรือสั้นเราก็รู้อยู่
    รวมความว่าขณะใดที่รู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เวลานั้นจิตของท่านเป็นสมาธิใน “อานาปานุสสติกรรมฐาน”
    ถ้าจะถามว่าเฉพาะ “อานาปานุสสติกรรมฐาน” นี้ถ้าทำได้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงรับรองไหมว่าจะเป็นพระอรหันต์หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าถ้าทรง “อานาปานุสสติกรรมฐาน” ได้ เราก็เอา “อานาปานุสสติกรรมฐาน” นี่เป็นวิปัสสนาญาณ ก็เป็นพระอรหันต์ได้เหมือนกัน ในตอนท้ายควรจะทราบ ทีนี้ให้มาพิจารณาลมหายใจเข้าออกว่า ถ้าเราใช้ “อานาปานุสสติกรรมฐาน” ใน”มหาสติปัฏฐานสูตร” โดยเฉพาะ ท่านบอกว่าไม่ต้องใช้คำภาวนาเลย แม้ว่าใน “กรรมฐาน ๔๐” ก็เหมือนกัน ถ้าเราใช้เฉพาะ”อานาปานุสสติกรรมฐาน” ที่ใช้ภาวนาด้วยนั้นเป็นการควบกับกรรมฐานกองอื่นๆ จะเห็นว่ากรรมฐานอีก ๓๙ กอง ถ้าเราจะใช้อะไรก็ตามต้องควบกับ “อานาปานุสสติกรรมฐาน” รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี่เป็นสมาธิตอนหนึ่ง
    วิธีสังเกตสมาธิใน “อานาปานุสสติกรรมฐาน”
    ถ้าจิตของเรายังหยาบอยู่ ยังไม่เป็นฌานสมาบัติ เวลานั้นลมหายใจเข้าออกที่เรารับทราบไม่ค่อยจะทรงตัว ถ้าหากว่าจะใช้พิจารณาลมหายใจเข้าออกตาม “กรรมฐาน ๔๐” ท่านให้สังเกตตามนี้คือ สังเกตฐาน ๓ ฐาน
    ฐานแรก คือ หายใจเข้ากระทบจมูก แล้วก็กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ หายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูก ถ้าคนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปาก ถ้าจิตรู้ลมสัมผัสแค่จมูกหรือว่าริมฝีปาก ท่านถือว่าสมาธิของบุคคลนั้นอยู่แค่ ขณิกสมาธิ คือเป็นสมาธิเล็กน้อย
    ถ้ารู้ลมสัมผัสถึงจมูกแล้วก็หน้าอก ท่านกล่าวว่าสมาธิของท่านผู้นั้นอยู่ในขั้น อุปจารสมาธิ
    ถ้ารู้ลมกระทบจมูกด้วย กระทบหน้าอกด้วย กระทบศูนย์เหนือสะดือด้วย สมาธิของท่านผู้นั้นเข้าถึง ฌานสมาบัติ
    อันนี้เป็นที่สังเกตใน “กรรมฐาน ๔๐”
    แต่สำหรับใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้วางหลักไว้ตามนั้น คือว่าหลักใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” นี้กรรมฐานที่เป็นฌานมีอันเดียวคือ “อานาปานุสสติกรรมฐาน” นอกจากนั้นเป็นอารมณ์คิดทั้งหมด ฉะนั้น องค์สมเด็จพระธรรมสามิสรจึงมุ่งใน “อานาปานุสสติกรรมฐาน” ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” อย่างสูงแค่ ปฐมฌาน หรือว่าอย่างรองลงมาก็แค่ อุปจารสมาธิ เพราะนอกจากนั้นอีกหลายสิบข้อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ใช้เป็นอารมณ์คิดทั้งหมด ถ้าเป็นฌานเสียจริงๆ ก็คิดไม่ได้เหมือนกัน
    รวมความว่าสมาธิใน “อานาปานุสสติกรรมฐาน” ให้สังเกตแค่รู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ถ้าขณะใดเรารู้ลมหายใจเข้ารู้ลมหายใจออกตามปกติ จิตไม่คลาดขณะนั้นชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ แล้วข้อสังเกตมีว่าถ้าจิตเป็น ปฐมฌาน และก็ให้พิจารณาดูว่าลมหายใจเข้าเรารู้ ลมหายใจออกเรารู้ ยาวก็รู้ สั้นก็รู้ หนักก็รู้ เบาก็รู้ รู้เป็นปกติ แล้วหูได้ยินเสียงภายนอกได้ชัดเจนแจ่มใสใครจะคุยกัน จะทำอะไรกันอยู่ ใครจะด่ากัน ใครจะพูดดี หรือร้องรำทำเพลง เราได้ยินชัดเจนเต็มเสียงทุกอย่าง แต่ทว่าเวลานั้นจิตของเราไม่รำคาญในเสียง สามารถจะเอาจิตเข้ามาสัมผัสกับลมหายใจเข้าออกได้ตามปกติ ไม่รำคาญเลย อย่างนี้ท่านเรียกว่าเวลานั้นเป็น ปฐมฌาน
    ถ้าจิตเข้าถึง ฌานที่ ๒ ให้สังเกตลมตามนี้ คือว่าถ้าจิตเข้าถึง ฌานที่ ๒ ตอนนั้นจิตมันจะไม่เข้าไปยึดอารมณ์ส่วนหนึ่ง คือจิตนึกว่าเวลานี้เราจะหายใจเข้าและจิตนึกว่าเราจะหายใจออก รู้ว่าลมหายใจเข้าหายใจออกหายไป ปรากฏว่าลมหายใจเบาลง จิตไม่จับอารมณ์ทั้ง ๒ ประการ เป็นจิตทรงอารมณ์เต็มที่มีปีติ คือความอิ่มใจเป็นปกติ มีความชุ่มชื่นมากอารมณ์มันเฉย ไม่ยอมเข้าไปรับทราบลมหายใจเข้าออก ตรงนี้เป็น ฌานที่ ๒
    และก็สำหรับ ฌานที่ ๓ ความเอิบอิ่มใจหายไป ลมหายใจเบาลงมาก อาการตัวตรึงเป๋งคล้ายๆ กับนั่งมีใครมัดติดกับเสา แต่ความจริงนั่งหรือนอนก็เหมือนกับใครเขามัดตราสังมัดไว้ แต่ใจทรงตัวดีมาก ทรงสติสัมปชัญญะดีมาก หูได้ยินเสียงภายนอกน้อยเต็มที ลมหายใจนี้เกือบจะไม่รู้สึกคือว่ามันเบามากเต็มที อย่างนี้เป็นอาการของ ฌานที่ ๓
    ถ้าหากว่าในขณะใดที่พิจารณาไป กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย อารมณ์ตัดความรู้สึกในลมหายใจเข้าออกทั้งหมด ไม่รู้ว่าเราหายใจ แต่จิตภายในมีความสว่างโพลงมาก หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก อันนี้เป็นอาการของ ฌานที่ ๔
    แต่ว่าอย่าลืมว่าใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” ท่านไม่สอนฌานสมาบัติ อันนี้ที่เอากรรมฐานใหญ่เข้ามาพูดไว้ เพื่อเป็นความเข้าใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท ตอนที่รู้ลมหายใจเข้าออกอยู่นี้ จัดเป็น “สมถภาวนา”
    ในตอนท้ายของ “มหาสติปัฏฐานสูตร” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อสติสัมปชัญญะทรงตัวดีแล้ว อย่าลืมนะว่าคนที่มีสติสัมปชัญญะใน “อานาปานุสสติ” ดีนั้นไม่ลืมตัว เธอไม่ลืมตัวคิดว่าถ้าลมปราณนี้มันหมดเมื่อไรมันก็ตายเมื่อนั้นเป็น “อานาปานุสสติ” ไปด้วย
    ในตอนท้ายองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ทรงแนะนำว่า คำว่าเรานี่เราถือว่าร่างกายนี้มันเป็นเราเป็นของเรา เราเป็นของมัน มันเป็นของเราอันนี้ไม่จริงเลย
    ร่างกายอันนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด และก็ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เราจะบังคับบัญชาได้ด้วย
    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าร่างกายจะแก่เราห้ามแก่ไม่ได้ ร่างกายจะป่วยเราห้ามป่วยไม่ได้ ร่างกายจะตายเราก็ห้ามตายไม่ได้ ถ้าร่างกายนี้มันเป็นเราจริง เป็นของเราจริง เราก็ต้องห้ามมันได้คือว่าเมื่อเราไม่ต้องการให้มันแก่ เรากินของดีๆ บำรุงมันเข้าไปมันก็ต้องไม่แก่ เราบำรุงสุขภาพให้เป็นปกติมันก็ต้องไม่ป่วย และเราไม่ต้องการให้มันตายมันก็ต้องไม่ตาย
    แต่เนื้อแท้จริงๆ ร่างกายนี้เกิดขึ้นด้วยกำลังของตัณหา
    คำว่า “ตัณหา” แปลว่า ความทะยานอยาก ไอ้ตัวอยากนี้มันทำให้เกิดเป็นคน ร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ เขาบอกเป็นเรือนร่างของตัณหา
    ฉะนั้น ในตอนท้ายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า
    “ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทรงสติสัมปชัญญะใน อานาปานุสสติกรรมฐาน ครบถ้วน จงทำให้มาก วันหนึ่งๆ รู้สึกให้มาก เมื่อรู้สึกใน อนุสสติ ใน อานาปานุสสติ นี้มาก มีการทรงตัว การพูดก็เป็นคนพูดดี การทำอะไรก็ทำแต่ความดี คิดก็คิดดี เรื่องของอกุศลมันไม่มี”
    ในเมื่ออกุศลมันไม่มีแล้ว ถ้าเราตายจากความเป็นคน ยังไม่ต้องตายก่อน เมื่ออกุศลจิตมันไม่มี
    คำว่า “อกุศล” นี้แปลว่า โง่
    “กุศล” แปลว่า ฉลาด
    เมื่อความโง่ไม่มีติดตัวคนที่ฉลาดเวลาเขาจะพูด เขาพูดแต่ความดี เวลาจะทำก็ทำดี ก่อนจะพูดจะทำก็คิดดีก่อน ถ้าอกุศลมันเต็มใจมันคับตัวมันคับใจ ก็คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว
    ดังนั้น เมื่ออารมณ์เป็นกุศลดีแล้ว เราเอาสติเข้าไปคุมอยู่ใน “อานาปานุสสติกรรมฐาน” มีอาการทรงตัวเป็นเหตุให้ไม่ลืม เมื่อพูดดี ทำดี คิดดีแล้วก็เป็นที่รักของบุคคลทั้งหมด เราก็มีความสุข ตายจากความเป็นคนถ้ามีอารมณ์ในกามาวจรสวรรค์ก็ไม่ทิ้งฌานสมาบัติ ก็เกิดเป็นเทวดา ถ้าได้ฌานสมาบัติก็เกิดเป็นพรหม นี่เฉพาะในด้าน “อานาปานุสสติ” ที่เป็น “สมถภาวนา”
    ตอนนี้มา “อานาปานุสสติ” ที่เป็น “วิปัสสนาภาวนา” เมื่อสติทรงอย่างนั้นแล้วก็เอาจิตมาคิดดูกาย ว่าร่างกายนี้ความจริงมันเป็นเราไหม เป็นของเราไหม เราก็จะมีความเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนว่า ร่างกายนี้ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ ธาตุนํ้า ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันเป็นที่อาศัยของใจชั่วคราว มันเหมือนกับเปลือกหรือเสื้อกางเกงเท่านั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่เนื้อแท้
    ฉะนั้น ไอ้ร่างกายมันไม่ใช่เรา เราจึงบังคับมันไม่ได้ เราไม่ต้องการให้มันแก่มันก็ต้องแก่ เราไม่ต้องการให้มันป่วยมันก็ต้องป่วย เราไม่ต้องการให้มันตายมันก็จะตาย
    ฉะนั้น สมเด็จพระจอมไตรจึงบอกว่าเอาสติสัมปชัญญะเข้าไปคุมใจ ให้มีความเข้าใจว่าร่างกายนี้ความจริงมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราคือจิตหรือที่เรียกว่า “อทิสสมานกาย” มาอาศัยกายชั่วคราว ในเมื่อหมดวาระเมื่อไร กายนี้มันก็พังเราก็ต้องไป
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงให้เปลื้องกิเลสตัวสุดท้าย คืออำนาจกำลังวิปัสสนาญาณที่พูดมานี้เป็นวิปัสสนาว่า
    “เธอจงอย่าสนใจกายภายในคือกายของเราด้วย จงอย่าสนใจกายภายนอกคือกายของบุคคลอื่นด้วยว่าจะเป็นที่พึ่งที่อาศัย จงอย่าสนใจในวัตถุธาตุใดๆ ทั้งหมด ให้มีความรู้สึกว่ากายที่เราอาศัยอยู่ก็ดี กายที่บุคคลอื่นอาศัยก็ดี วัตถุธาตุทั้งหมดก็ดี เป็นที่อาศัยเฉพาะที่ทรงชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าตายไปแล้วไม่มีใครจะพึ่งอาศัยกายได้ กายเราเราก็อาศัยไม่ได้ กายคนอื่นเราก็อาศัยไม่ได้ วัตถุธาตุทรัพย์สินทั้งหลายเราก็อาศัยไม่ได้ ผีไม่มีโอกาสจะมาอาศัย”
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงกล่าวว่า “ทุกข์ใดๆ ที่มันจะพึงเกิดขึ้นกับเราก็อาศัยกายเป็นเหตุ”
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงตรัสว่า
    “เมื่อเธอทั้งหลายไม่สนใจในกายคือรูปของเรา รูปของคนอื่น และวัตถุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทั้งหมดก็จะเป็นผู้บริสุทธิ์ เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน”
    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน การทรง “อานาปานุสสติกรรมฐาน” มีความสำคัญแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะว่าทุกคนเวลาบำเพ็ญกุศลก็ลงท้ายว่า
    “นิพพานะ ปัจจโย โหตุ”

    โพสต์โดย achaya

    1506567666_601_วันนี้วันพระตรงกับวันพ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  8. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล ได้เมตตาถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกกับพระนวกะ ๘๕ รูป และคณะญาติโยมบวชพราหมณ์ชายหญิง ถวายกุศลแด่ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล ภายในวิหาร ๑๐๐ ปี หลวงพ่อพระราชพรหมยาน และในวันเดียวกันหลังจากปล่อยปลาแล้ว พระนวกะถ่ายภาพหมู่ด้านหน้าปราสาททองคำ หน้าอาคารพิพิฑภัณฑ์สมบัติพ่อให้ฯ วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี

    *** คณะสีลม ถ่ายภาพถวาย
    ลิงค์ดาวโหลดไฟส์
    ภาพหมู่
    http://gofile.me/2UZ3v/Z3CEz9uyV

    ภาพคู่ฯ
    http://gofile.me/2UZ3v/fmQTv4ws6

    -๑๔-กันยายน-พ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  9. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๒๙-กันยายน.jpg

    วันศุกร์ที่ ๒๙ กันยายน
    พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๙.๐๐ น.ท่านพระครูสมุห์พิชิต (โอ) ลงรับสังฆทาน บ้านสายลม
    กำหนดการ
    บ้านดอนเมือง และ บ้านสายลม กรุงเทพฯ
    ระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน – ๓ ตุลาคม ๒๕๖๐

    ทำบุญที่ระลึกคล้ายวันเกิด
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    วันอาทิตย์ที่ ๑ ตุลาคม

    วันศุกร์ที่ ๒๙ กันยายน
    เวลา ๐๘.๐๐ น ท่านพระครูสังฆรักษ์สุรจิต พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๓ รูป ฉันภัตตาหารเช้าแล้ว เดินทางไปบ้าน
    พล.อ.อ.อาทร – สิริรัตน์ (ตุ๋ย) โรจนวิภาต ที่ดอนเมือง (กม.๘) เพื่อรับสังฆทานและฉันภัตตาหารเพล หลังจากฉันเพลเสร็จแล้ว เดินทางเข้าบ้านสายลม
    เวลา ๑๙.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น. ลงรับรับสังฆทาน

    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน – วันอาทิตย์ที่ ๑ ตุลาคม
    เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึง ๑๕.๓๐ น. ลงรับสังฆทาน
    เวลา ๑๒.๓๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ
    เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. เจริญพระกรรมฐาน โดยเปิดเทปคำสอนของพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน และนั่งสมาธิจบแล้วรับสังฆทานต่อ จนถึง
    เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึง ๒๑.๓๐ น. สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล และรับพร

    ทำบุญที่ระลึกคล้ายวันเกิด
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    วันอาทิตย์ที่ ๑ ตุลาคม
    เวลา ๐๘.๐๐ น. ทำพิธีบวงสรวง จากนั้นทำพิธีขอขมาพระรัตนตรัย เจริญสมาธิ และอุทิศส่วนกุศล (ในวันงานมีเจ้าภาพเปิดร้านเลี้ยงน้ำ และ อาหารฟรี)

    วันจันทร์ที่ ๒ ตุลาคม
    เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๕.๓๐ น. รับสังฆทาน (วันนี้ไม่มีฝึกมโนมยิทธิ)
    เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. เจริญพระกรรมฐาน โดยเปิดเทปคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน และนั่งสมาธิจบแล้ว รับสังฆทานต่อ จนถึง
    เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึง ๒๑.๓๐ น. สวดมนต์ อุทิศส่วนกุศล และรับพร (บางครั้งผู้รับสังฆทานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามสมควร เพราะช่วงนี้เป็นระยะพักฟื้นหลังจากการผ่าตัดของท่านเจ้าอาวาส – แจ้งข่าวโดย “ทีมงานเว็บวัดท่าซุง”)

    วันอังคารที่ ๓ ตุลาคม ฉันเช้าแล้วเดินทางกลับวัด

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  10. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๓๐-กันยายน-พ.jpg

    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าซุง ทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์ ๒๐ รูป ด้านนอกวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร
    เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๙ ปี
    ณ มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี

    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐

    เวลา ๐๖.๐๐ น.ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล ตักบาตรพระสงฆ์ ๒๐ รูป เสร็จแล้วปล่อยปลา

    เวลา ๐๘.๓๐ น.ทำวัตรเช้า ที่ศาลานวราช

    เวลา ๑๑.๐๐ น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพลที่ศาลามิตรศรัทธา

    เวลา ๑๗.๐๐ น.ทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐาน ที่มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร

    – คณะสงฆ์และคณะพุทธบริษัทชาย-หญิง ทำพิธีขอขมาต่อท่านเจ้าคุณ-พระราชภาวนาโกศล

    – นำกล่าวถวายกุศล – ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศลกล่าวสัมโมทนียกถา – พระภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัทชาย-หญิง เข้าถวายเครื่องสักการะ

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  11. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๑.jpg

    ปล่อยปลา (๑)
    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าซุง เดินทางไป ปล่อยปลา ท่าน้ำโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา
    เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๙ ปี
    ณ มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี

    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐

    เวลา ๐๖.๐๐ น.ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล ตักบาตรพระสงฆ์ ๒๐ รูป เสร็จแล้วปล่อยปลา

    เวลา ๐๘.๓๐ น.ทำวัตรเช้า ที่ศาลานวราช

    เวลา ๑๑.๐๐ น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพลที่ศาลามิตรศรัทธา

    เวลา ๑๗.๐๐ น.ทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐาน ที่มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร

    – คณะสงฆ์และคณะพุทธบริษัทชาย-หญิง ทำพิธีขอขมาต่อท่านเจ้าคุณ-พระราชภาวนาโกศล

    – นำกล่าวถวายกุศล – ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศลกล่าวสัมโมทนียกถา – พระภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัทชาย-หญิง เข้าถวายเครื่องสักการะ

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  12. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๒.jpg

    ปล่อยปลา (๒)
    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าซุง เดินทางไป ปล่อยปลา ท่าน้ำโรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา
    เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๙ ปี
    ณ มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี

    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐

    เวลา ๐๖.๐๐ น.ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล ตักบาตรพระสงฆ์ ๒๐ รูป เสร็จแล้วปล่อยปลา

    เวลา ๐๘.๓๐ น.ทำวัตรเช้า ที่ศาลานวราช

    เวลา ๑๑.๐๐ น.พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพลที่ศาลามิตรศรัทธา

    เวลา ๑๗.๐๐ น.ทำวัตรเย็นและเจริญพระกรรมฐาน ที่มหาวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร

    – คณะสงฆ์และคณะพุทธบริษัทชาย-หญิง ทำพิธีขอขมาต่อท่านเจ้าคุณ-พระราชภาวนาโกศล

    – นำกล่าวถวายกุศล – ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศลกล่าวสัมโมทนียกถา – พระภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัทชาย-หญิง เข้าถวายเครื่องสักการะ

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  13. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  14. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  15. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๑.jpg

    ฉันเพล (๑)
    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๐๐ น. ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล เดินทางมาฉันภัตตาหารเพลร่วมกับพระสงฆ์ และพระอาคันตุกะ มีคุณณชญาดา ชูชัยศรี ,คุณสุขาอ่อนจิต ,Mr.shake เป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพล แด่พระสงฆ์ เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๙ ปี พระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ) ณ.ศาลามิตรศรัทธา วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๒.jpg

    ฉันเพล (๒)
    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๐๐ น. ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล เดินทางมาฉันภัตตาหารเพลร่วมกับพระสงฆ์ และพระอาคันตุกะ มีคุณณชญาดา ชูชัยศรี ,คุณสุขาอ่อนจิต ,Mr.shake เป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพล แด่พระสงฆ์ เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๙ ปี พระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ) ณ.ศาลามิตรศรัทธา วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  17. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    .jpg

    สำรวจความคืบหน้าโครงการก่อสร้าง เขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำสะเเกกรัง หน้าวัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
    ผู้รับเหมานำเครื่องจักรหนัก มีปั่นจั่นตอกเสาเข็ม รถแม็คโค โดยเริ่มตอกเสาเข็มที่ด้านทิศเหนือด้านตึกรับแขกไปแล้วประมาณ ๒๐ ต้น
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  18. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    1506778683_341_วันเสาร์ที่-๓๐-กันยายน-พ.jpg

    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ น.สำรวจความคืบหน้าโครงการก่อสร้าง อาคารเก็บของ เน้ือที่ ๒ ไร่ ขนาดกว้าง ๔๐ ยาว ๘๐ เมตร ด้านหลังป่าธุดงค์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี การก่อสร้างแล้วเสร็จไปมากช่างเริ่มก่อผนังด้านข้างเสร็จเกินครึ่งของอาคาร ด้านหน้าทางเข้าเทปูนทางเข้า ใกล้เสร็จ ส่วนด้านข้างไหล่ดินที่เป็นสโลป ทำการตอกเข็มเพื่อเทดาดปูนกันน้ำฝนเซาะดิน
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  19. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -มุทิตา.jpg

    เจริญพระกรรมฐาน , มุทิตาสักการะท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล
    วันเสาร์ที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ ท่านคุณพระราชภาวนาโกศล พระสงฆ์วัดท่าซุง ญาติโยม ร่วมกันเจริญพระกรรมฐาน ภายในวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร หลังจากนั่งกรรมฐานเสร็จแล้ว พระสงฆ์จัดเตรียมสถานที่ บริเวณด้านหน้าห้องกระจกพระศพหลวงพ่อพระราชพรหมยาน จากนั้น
    พระบุญมา กล่าวนำขอขมา ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล พระครูปลัดสมนึก เป็นตัวแทนคณะสงฆ์ถวายพานขอขมา คุณเยาวลักษณ์ เป็นตัวแทนญาติโยม ถวายพานขอขมา จากนั้น ท่านเจ้าคุณพระราชภาวนาโกศล กล่าวสัมโมทนียกถา แก่ญาติโยม
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  20. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...