ข่าวสาร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี โดยเพจมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, 19 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    มาในวันนี้ก็เลยคิดว่าจะคุย เรื่องศีล เข้าใจว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทหลายท่านยังสงสัย จึงนำมาคุยให้ฟังคร่าวๆ การลงท้ายในการให้ศีล
    องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสไว้อย่างนี้
    สีเลนะ สุคติง ยันติ
    สีเลนะ โภคสัมปทา
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
    ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
    ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุขในชาตินี้ และมีความสุขในชาติหน้า
    และข้อที่ ๒ แปลว่า ศีลเป็นปัจจัยให้มีทรัพย์สมบัติเยือกเย็นในชาตินี้ และรํ่ารวยในชาติหน้า
    และข้อที่ ๓ แปลว่า ศีลเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพานได้โดยง่าย
    เหตุนั้นไซร้ขอพวกเราทั้งหลาย จงพากันรักษาศีลให้บริสุทธิ์
    สำหรับฆราวาสก็มีอยู่ ๓ ศีล ไม่ใช่ ๓ ข้อนะ ๓ ศีลที่เรียกว่า “ปกติศีล” คือศีล ๕ นี่เรียก “ปกติศีล”
    ศีล ๘ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ๘ สิกขาบทเหมือนกัน นัยหนึ่งเรียกว่า “ศีล ๘” เมื่อว่าไปแล้วก็ลงท้ายว่า “สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคสัมปทา” เฉยๆ
    อีกนัยหนึ่งเรียกว่า “ศีลอุโบสถ” ที่มีคำลงท้ายว่า
    “อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวสัง”
    รวมความว่า อุโบสถศีลก็ดี ศีล ๘ ก็ดี มีสิกขาบทเท่ากัน แต่ว่าเรียกต่างกัน
    สำหรับศีลอีกอันหนึ่งนั้นที่รักษากันเป็นปกติ คือ ศีล ๕ เป็นปกติ วันนี้ก็จะพูดเรื่องศีล ๕ เสียก่อน สำหรับศีล ๕ นี่ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นปกติศีล

    คำว่า “ศีล” จริงๆ เขาแปลว่า ปกติ
    ฉะนั้น คนที่รักษาศีล บางครั้งบอกว่ารักษาศีลไม่ได้ ไม่มีกำลังใจพอที่จะรักษาศีลได้ อันนี้ความจริงเข้าใจผิด เพราะอะไร
    ประการที่ ๑ บางท่านไม่รู้จักคำว่า “ศีล” อย่างหนึ่ง
    อีกนัยหนึ่ง ไม่รู้จักคำว่า ศีลคืออะไร เลยสิ้นกำลังใจที่จะรักษาศีล แต่ความจริง ศีลที่แปลว่าปกติ ที่บุคคลทั้งหลายต้องการจะเป็นคนก็ดี เป็นสัตว์ก็ดี ตามปกติต้องการเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีล ๕ ไม่ว่าคนที่เคยเกิดมาแล้ว จะเคยเข้าวัด จะนับถือพุทธศาสนาหรือศาสนาไหนก็ดี ก็มีความต้องการศีล ๕ เหมือนกัน ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า เป็นปกติ
    คำว่า “ศีล” นี่แปลว่า ปกติ

    ก็มีเรื่องอยู่ว่า ในสมัยองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ องค์สมเด็จพระประทีปแก้วไปทางไหน เวลานั้นศาสนามีมาก เขามีอยู่ก่อน สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาทรงอุบัติขึ้นมาทีหลัง จะไปไหนก็ดี ในเวลานั้นในเขตประเทศอินเดีย เขาต้องถือว่าเป็นสมัยที่คลั่งพระศาสนา และเวลานี้ก็ยังคลั่งกันอยู่ ศาสนาต่างศาสนากันก็เป็นคนชาวอินเดียเหมือนกัน รบกันเรื่องศาสนานี่ เมื่อปีที่แล้วก็ยังมี ในสมัยก่อนๆ ก็ยังมี ยกทัพตีกันก็เพราะเรื่องการนับถือพระศาสนา เป็นอันว่า คนสมัยนั้นเป็นคนคลั่งศาสนามาก ถ้าใครถือศาสนาของศาสดาจารย์ใดแล้ว ก็นับถือศาสดานั้นเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง ถือว่าของตนดีกว่า เมื่อเวลาที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก ทรงสอนบรรดาท่านพุทธบริษัทใหม่ๆ แล้วเขาก็ถามกันว่า
    “ทำอย่างไร? คนจึงจะมีความสุข”
    “ทำอย่างไร? คนเราจึงจะมีทรัพย์สมบูรณ์ใช้ไม่ขาด”
    “ทำอย่างไร? จิตใจคนจึงจะสงบ สงบสงัด”

    องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ก็ทรงแสดงเรื่องศีลว่า ถ้าปกติต้องการอย่างนั้นละก็ อย่างข้อต้นให้ปฏิบัติตามนี้ และตามปกติของคน องค์สมเด็จพระทศพลทรงตรัสว่า
    ตามธรรมดาของคนนี้น่ะ ต้องการความเป็นอยู่เป็นสุข คือ:-
    ๑. ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกายของตัวเรา
    ๒. ไม่มีใครต้องการให้ใครมาเข่นฆ่าตน
    แล้วอีกประการหนึ่ง องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่า ทรัพย์สินของเราที่มีอยู่ เราก็ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่งมาลักมาขโมย มาบังคับขู่เข็ญเอาทรัพย์สินไป
    ประการที่ ๓ คนที่มีคนรัก มีสามีภรรยา และคนที่รักบุตรธิดา ลูก หลาน เหลนก็ตาม มีอยู่แล้วไม่ต้องการให้ใครมาข่มเหงนํ้าใจเรื่องคนรัก
    ประการที่ ๔ องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัสว่า วาจาทุกอย่างเราฟัง ต้องการให้คนทุกคนที่มาพูดกับเรา พูดแต่ความเป็นจริง เพราะเราต้องการอย่างนั้น
    ประการที่ ๕ สมเด็จพระบรมศาสดากล่าวว่า ทั้งชายและหญิงเหมือนกันหมด คือไม่มีใครต้องการเป็นคนบ้า สมเด็จพระบรมศาสดาจึงกล่าวว่า
    โภ ปุริสะ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ถ้าทุกคนต้องการอย่าง ทุกคนต้องการมีความสุข ให้ปฏิบัติตามนี้ คือ:-

    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี ขอให้ทุกคนพึงงดเว้นเบียดเบียนทางร่างกายซึ่งกันและกัน อย่าประหัตประหารซึ่งกันและกัน และก็จงอย่าเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นให้เอาจิตตั้งอยู่ในความ เมตตา กรุณา ทั้ง ๒ ประการ ข้อนี้จึงจะส่งผล
    หมายความว่า องค์สมเด็จพระทศพลบอกว่า จงอย่าฆ่ากันนะ จงอย่าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน แต่ว่าการที่จะไม่ทำอย่างนั้นน่ะ อยู่ๆ แล้วจะไม่ทำเฉยๆ มันไม่ได้ ต้องเอาจิตใจประกอบไปด้วย เมตตา คือ ความรัก คิดเสียว่าเราเกิดมาเรารักตัวเราเพียงใด คนทั้งหลายก็มีความรักตัวของเขาเพียงนั้น เราไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกายเรา เขาก็ไม่ต้องการให้ใครไปทำร้ายร่างกายเขา ทั้งนี้องค์สมเด็จพระมหามุนีกล่าวว่า
    ทั้งคนและสัตว์ในโลกมีความปรารถนาเหมือนกัน เราต่างคนต่างเว้นการทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เว้นการเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างรักกัน ต่างคนต่างสงสารกัน ทุกคนก็มีความสุข เจอะหน้ากันเมื่อไร ต่างก็มีแต่ความยิ้นแย้มแจ่มใส มีกำลังใจเบิกบาน
    แล้วต่อไป องค์สมเด็จพระพิชิตมารก็ทรงตรัสว่า

    อันดับที่ ๒ ทรัพย์สินของเรา เราไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่งมาลักขโมย ทรัพย์สินของคนอื่นเขาก็เช่นเดียวกัน เขาหามาได้ เขาต้องการกิน ต้องการใช้ของเขาเอง ถ้าเราไปยื้อแย่งเขา เขาก็โกรธ เขาก็ไม่พอใจ
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงกล่าวว่า ถ้าเราระมัดระวังเรื่องการที่จะไม่มีการยื้อแย่ง อยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาเป็นสมบัติของตน จงเห็นใจชาวบ้านเขา ให้ทรงกำลังใจอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “สันโดษ” แปลว่า ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่เราหามาได้โดยชอบธรรม สันโดษไม่ใช่ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วนะ ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่เราหามาได้โดยชอบธรรม หามาได้โดยไม่คิดไปโกง ไปลักไปขโมยใคร และไม่เบียดเบียนร่างกายของคนอื่น ทรัพย์ส่วนนั้นเราพอใจ แต่ทว่าเราจะมีสันโดษโดยเฉยๆ ในข้อนี้ก็ไม่ไหว
    องค์สมเด็จพระจอมไตรบอกว่า ต้องแก้ความอยากได้ทรัพย์สมบัติของคนอื่นด้วยการให้ทาน เพราะการให้ทานกับการอยากได้ทรัพย์สมบัติของคนอื่น เป็นกำลังใจต่างกัน การอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น เป็นการอยากดึงเข้ามา การให้เป็นการผลักออก การให้ทานนี่ประกอบด้วย เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร เหมือนกัน แต่ทว่ามาถึงข้อนี้เราก็เพิ่มสันโดษเข้ามาด้วย เพิ่มทานบารมีเข้ามาด้วย
    รวมความว่า ถ้าจะรักษาศีลข้อนี้ให้เป็นปกติทุกวัน ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าแล้ว ต้องคิดไว้เสมอว่า ถ้าไม่เกินวิสัยที่เราจะให้ได้ หรือเราช่วยได้ ไม่ว่าใครทั้งหมด คนก็ดี สัตว์ก็ดี ถ้าหันหน้าเข้ามาพึ่งเราก็ดี แล้วมีความทุกข์ยากลำบากก็ดี เราจะสละทรัพย์ที่เรามีอยู่ตามสมควรให้ทันที ถ้าคิดไว้อย่างนี้ ถ้าทรัพย์ไม่มีก็ไม่ต้องให้ ถ้ามีแล้วให้ไปเราไม่มีเหลือกิน เราก็ไม่ต้องให้ แต่ใจมันคิดจะให้ แต่ให้ไม่เกินวิสัยที่เราจะพึงให้ได้
    ถ้ากำลังใจของพุทธบริษัททรงอยู่อย่างนี้ไซร้ ชื่อว่าเป็นผู้เจริญ จาคานุสสติกรรมฐาน ประจำใจ ศีลข้อนี้ก็บริสุทธิ์ ถ้าเราไม่ลักขโมยใคร ไม่ทำร้ายร่างกายใคร ไปไหนก็มีแต่คนรักเรา เขาไว้วางใจเรา ของเขาฝากไว้เราก็ไม่โกง ของเขาเผลอเราก็ไม่ลัก เป็นอันว่าไปที่ใดก็ตาม ไม่มีใครสะดุ้งหวาดหวั่นว่าจะต้องทำร้ายเขา เราจะลักขโมยเขา ไปที่ไหนก็มีความสุข

    ข้อที่ ๓ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า คนที่รัก ไม่ใช่เฉพาะสามีภรรยา คือบุตรก็ดี ธิดาก็ดี คนในปกครองก็ดี ทุกคนเขาก็หวงแหน ฉะนั้นถ้าเรามีความพอใจ ก็อย่าไปละเมิดสิทธิ์ ให้สู่ขอกันตามประเพณี ถ้าผู้ปกครองอนุญาตก็ใช้ได้ เป็นที่ผูกใจสร้างความรักซึ่งกันและกัน อย่างนี้องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงตรัสว่า เป็นปัจจัยของการมีความสุข ถ้าในระหว่างสามีภรรยาของบุคคลอื่น เราต้องถือสันโดษอีกตัวหนึ่งว่า สามีของเราก็ดี ภรรยาของเราก็ดี เป็นที่พอใจของเรา เราจะไม่ละเมิดสิทธิของสามีภรรยาบุคคลอื่น เพราะเป็นที่รักของเขา ถ้าทำได้อย่างนี้ก็มีความสุขในปัจจุบัน

    ข้อที่ ๔ องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงตรัสว่า วาจาที่รับฟัง เราต้องการความจริง คนไหนพูดจริงกับเรา เราก็รักคนนั้น เราก็นับถือคนนั้น ถ้าเราไปพูดไม่จริงกับคนอื่นเขา เขาก็เกลียด ถ้าเราพูดตามความเป็นจริงเขาชอบ ฉะนั้นในตอนนี้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ต้องมี สัจจะ คือ ความจริงใจ ด้วย และก็มี เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร ๒ ประการเข้ามาควบคุมใจ ตั้งใจว่า เราจะพูดแต่ความเป็นจริง ถ้าไปไหนเราพูดแต่ความจริงทุกอย่าง ก็เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป ทางเราก็มีแต่ความสุข เพราะเป็นที่รักของบุคคลอื่นทุกคน

    ข้อที่ ๕ องค์สมเด็จพระทศพลตรัสว่า คนที่ไม่ต้องการบ้า ไม่ต้องการเป็นโรคประสาท ไม่ต้องการเป็นโรคมึนเมา ประสาทฟั่นเฟือน ถ้าไม่ต้องการอย่างนี้ละก็ องค์สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า ขอจงพากันรักษาศีลข้อที่ ๕ คือ ปกติเราจงอย่าดื่มสุราและเมรัย เพราะสุราและเมรัยดื่มเข้าไปเมื่อไรก็บ้าเมื่อนั้น ดื่มมากก็บ้ามาก ดื่มน้อยก็บ้าน้อย ที่เขาบอก สุรา แปลว่า กล้า สุราของเมานี่มันแปลว่า กล้า คือกล้าทำทุกอย่างในด้านของความชั่ว บางอย่างเราไม่เมา เราไม่พูด บางกรณีเราไม่เมา เราไม่ทำ เพราะทำแล้วมันอายชาวบ้านเขา ไม่น่าจะพูด แต่พอดื่มสุราเข้าไปหน่อยเดียวมันพูดได้ ทำได้
    รวมความว่า สิ่งที่เรารังเกียจ เมื่อยังไม่เมา เราไม่ทำเพราะมันเลว พอดื่มสุราเข้าไปแล้วเรากล้าทำความเลว ความกล้านี่เป็นความกล้าชั้นตํ่า ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าต้องการให้ใจพ้นจากความเลวก็อย่าดื่มสุราเมรัย

    นี่เป็นเรื่องของศีล ๕ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ ถ้ามีศีลในใจเราก็เป็นสุข ชาวบ้านเขาก็เป็นสุข เราก็เป็นสุข ทุกคนที่ฟังอยู่นี้ถ้ามีศีล ๕ ทุกคน ก็ไม่มีความเดือดร้อน เรื่องการทะเลาะวิวาทซึ่งกันและกันไม่มี มีแต่คนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าหากัน มันก็มีความสุข ว่าแต่เพียงย่อๆ นะ

    ทีนี้อีกข้อหนึ่ง สีเลนะ โภคสัมปทา ถ้าเราไม่ไปรุกรานชาวบ้านเขา ไม่ลักไม่ขโมยเขา ไม่แย่งคนรักเขา ไม่โกหกมดเท็จเขา ไม่ดื่มสุราเมรัย เรื่องร้ายมันก็ไม่เกิด เพราะเรื่องร้ายมันเกิดขึ้นมาเมื่อไร มันต้องจ่ายทรัพย์พิเศษเมื่อนั้น ทีนี้เมื่อเรื่องร้ายไม่เกิด ทรัพย์ก็ไม่ต้องจ่ายเป็นกรณีพิเศษ ไม่ต้องสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุ ทรัพย์มีอยู่เท่าไรมันก็พอใช้ มีน้อยก็พอใช้ มีมากก็พอใช้ เพราะความทะยานอยากไม่มี
    ก็มาถึงข้อที่ ๓ อีกทีว่า กาเมสุมิจฉาจาร การไปรุกรานความรักของบุคคลอื่นเขา โทษมันมาก เขาตามฆ่า เข่นฆ่า เขาทำร้าย เขาเป็นศัตรู ถ้าเป็นอย่างนี้ละก็ เราเดือดร้อนต้องหนีหัวซุกหัวซุน หรือมิฉะนั้นก็ถูกจับลงโทษทัณฑ์ มันก็เสียสตางค์ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องหนีชาวบ้าน เราประกอบการงานปกติ ทรัพย์มันก็มีมาก หาได้ตามปกติ ถ้าต้องหลบต้องหนีเขา หาทรัพย์ไม่ได้ ก็ต้องกินของเก่าไป ถ้าไม่มีการถูกจับไปลงโทษพิพากษาใดๆ ทรัพย์สินทั้งหลายมันก็ไม่เปลือง รวมความว่าแค่นี้ ทรัพย์มันก็บริบูรณ์สมบูรณ์

    ข้อที่ ๔ ถ้าเราพูดจริงทำจริงเสียทุกอย่าง ไม่โกหกมดเท็จใคร จะไปพูดกับใคร ใครเขาก็เชื่อ ถ้าเป็นการบังเอิญอย่างยิ่ง ทรัพย์สินของเราไม่พอกินพอใช้ จะไปขอหยิบขอยืม เขาเชื่อนํ้าหน้าเราอยู่แล้ว เชื่อความสามารถ เชื่อความมั่นคงของเราอยู่แล้ว เราก็ขอยืมเขาได้ ไม่ต้องเดือดร้อนในการหาทรัพย์ไม่มี

    สำหรับศีลข้อที่ ๕ เหล้า มันกินไม่อิ่ม สุราเมรัย กัญชายาฝิ่น เฮโรอีนทั้งหลาย เรากินไม่อิ่ม ในเมื่อมันกินไม่อิ่ม แล้วก็เอาเงินที่ทำไปจ่ายในเรื่องนี้ มันก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย ไม่ทำให้เรา ครอบครัวรํ่ารวยขึ้นมา ถ้าบังเอิญเราจะงดกินเหล้ามันเสีย กินเหล้าวันละ ๑ บาท ปีหนึ่งก็ ๓๖๕ บาท กินเหล้าวันละ ๑๐ บาท ปีหนึ่งก็ ๓,๖๕๐ บาท เห็นง่ายๆ ไอ้เงินจำนวนนี้ เอามาทำกับข้าวกินได้สบายๆ จะซื้อเครื่องนุ่งห่มก็ได้

    เป็นอันว่า สมเด็จพระจอมไตรท่านกล่าวว่า สีเลนะ โภคสัมปทา โดยเนื้อความย่อก็เป็นอย่างนี้ แค่มีศีล ๕ ทรัพย์สินก็ไม่เดือดร้อน ตัวเรา ใจเราก็ไม่เดือดร้อน

    ข้อที่ ๓ สีเลนะ นิพพุติง ยันติ “นิพพะ” แปลว่า ดับ คือ มีอารมณ์สงบ ในเมื่อเรามีทรัพย์สินใช้สบายๆ ใจเราก็สงบ ความเดือดร้อนก็ไม่มี

    นี่กล่าวถึงอานิสงส์ของศีลในปัจจุบัน ชาติหน้าไม่ต้องพูดกัน ถ้าชาตินี้ดี ชาติหน้ามันก็ดี ถ้าชาตินี้เลว ชาติหน้ามันก็เลว ต่อไปขอพูดเรื่อง อุโบสถศีล กับ ศีล ๘
    สำหรับอุโบสถศีลก็ดี ศีล ๘ ก็ดี นี่มีธรรมะเสีย ๔ ข้อ เป็นตัวศีลจริงๆ เสีย ๔ ข้อ สำหรับศีล ๕ ละเมิดข้อไหนก็ตาม ชาตินี้เดือดร้อน ชาติหน้าลงนรก

    แต่สำหรับศีล ๘ นี่ ละเมิด ๔ ข้อลงนรก และละเมิดอีก ๔ ข้อไม่ลงนรก เป็นแต่เพียงว่า ศีลเศร้าหมองไปนิด
    สำหรับศีล ๘ ก็มี
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์
    ๒. ไม่ลักทรัพย์
    ๓. อพรัหมจริยาเวรมณี ไม่อยู่ร่วมคู่กับสามีภรรยา ในฐานะสามีภรรยา ถือเป็นพรหมจรรย์
    ๔. ไม่พูดเท็จ
    ๕. ไม่ดื่มสุราเมรัย
    ๖. ไม่กินข้าว ไม่กินอาหารในเวลาวิกาล
    ๗. ไม่ทัดทรงดอกไม้ และของหอม ลูบไล้เครื่องทา ดูขับประโคม
    ๘. ไม่นอนในที่นอนสูง ที่นอนใหญ่ ยัดด้วยนุ่นและสำลี อันนี้มันก็มีสิกขาบท ๘ เหมือนกัน ๘ ข้อ แต่ทำไมเรียก “ศีล ๘” อีกอันหนึ่งเรียก “อุโบสถศีล” ทำไมเรียกไม่เหมือนกัน

    แต่ความจริง คำว่า “ศีล ๘” นี่ เราจะรักษาสิกขาบท ๘ กี่วัน กี่เดือน กี่ปีก็ได้ รักษามากก็ได้มาก รักษาน้อยก็ได้น้อย รักษาครึ่งวันก็ได้ รักษา ๑ ชั่วโมงก็ได้ ถ้าตั้งใจรักษามันเอามากไม่ได้ วันนี้เอามันชั่วโมงเดียว ตั้งกำลังใจอยู่ในวงการของศีล ๘ ว่า
    เวลานี้สัตว์ที่ฆ่าได้ เราไม่ฆ่า
    ของนิดมีโอกาสขโมยได้ เราไม่ขโมย
    การอยู่ร่วมรักกับสามีภรรยา ชั่วโมงที่งดไม่ถูกต้องกายซึ่งกันและกัน แม้ตัวก็ไม่ถูก ไม่ร่วมรักกันปกติ
    คนที่เราจะโกหกได้ เราก็ไม่โกหก
    เหล้ายาปลาปิ้งเขาเชิญให้เรากิน เราก็ไม่กิน
    หลังเที่ยงวัน เวลาวิกาลไปแล้วเราจะไม่กินอาหาร จะกินแต่เภสัช อาหารอย่างไหนพระฉันได้ อย่างนั้นเรากินได้
    และการแต่งตัวด้วยเครื่องประดับ แต่งตัวสวยเกินปกติ ทาแป้งหอม แต่งตัวลูบไล้นํ้ามัน การฟ้อนรำ ขับประโคม เราไม่เอา งด..ทำตนเป็นพระเสียชั่วคราว
    และการนอนที่นอนสูง ที่นอนใหญ่ ยัดด้วยนุ่นและสำลี เราก็ไม่เอา

    รวมความว่า ๘ อย่าง รักษามันให้ครบ ถ้าเป็นศีล ๘ รักษาวันละ ๑ ชั่วโมงก็ได้ ตั้งใจไว้ ชั่วโมงนี้ข้าไม่เอาละ ข้าไม่ยอมขาดศีล ๘ รักษาครึ่งวันก็ได้ รักษาเต็มวันก็ได้ รักษาเป็นเดือน เป็นปี ไม่จำกัดเวลา

    พอมาถึงศีลอุโบสถมี ๘ ข้อ ท่านบอก อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวสัง ศีล ๘ ข้อนี้ ขอรับให้เต็มวันหนึ่งกับคืนหนึ่งให้เต็มเวลา อย่างนี้เรียกว่า ปกติอุโบสถศีล คำว่า “อุโบสถ” แปลว่า อยู่จำ เวลามันไม่มี ว่างๆ ก็ย่องมารักษากันสักวัน เอาให้เต็มวัน วันหนึ่ง คืนหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า ปกติอุโบสถ
    อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ปฏิชาครอุโบสถ ปฏิชาครอุโบสถขยายออกไปเป็น ๗ วัน คือตั้งใจรักษาก่อนวันพระ ๓ วัน แล้วก็หลังวันพระอีก ๓ วัน วันพระอีก ๑ วัน รวมเป็น ๗ วัน อย่างนี้เรียกว่า ปฏิชาครอุโบสถ
    ถ้าเป็น ปฏิหาริยอุโบสถ ก็รักษาไม่กำหนดเวลา กำหนดหรือไม่กำหนดก็ได้ ถ้าเกิน ๗ วัน จะเป็น ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ๕ เดือน หรือตลอดชีวิต เรียกว่า ปฏิหาริยอุโบสถ
    ทีนี้ ศีลที่เรียกว่าขาดแล้วไม่ลงนรก มีอยู่ ๔ ข้อ คือ
    อพรัหมจริยา เวรมณี ความอดกลั้น ความจะร่วมรักกับภรรยาสามีไม่ได้ ยอมขาดข้อนี้ แต่ว่าไม่ไปร่วมรักกับคนอื่น การไปร่วมรักกับคนอื่นน่ะมันขาด ตกนรก ผิดข้อกาเม ถ้าไปร่วมรักกับสามีภรรยาตนเอง ในระหว่างที่รักษาศีล ๘ ศีลข้อนี้ขาด แต่ขาด มันเป็นธรรมะนี่ จิตมัวหมองหน่อยเดียว ถ้าขาดไม่ลงอบายภูมิ
    ต่อมาข้อ วิกาลโภชนา กินข้าวเลยเวลา
    นัจจะคีตะวา ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ของหอม ฟ้อนรำ ขับประโคม
    นอนที่นอนสูง ที่นอนใหญ่ ยัดด้วยนุ่นและสำลี
    ๓ ข้อนี้ ถ้าขาดก็ไม่ลงนรกเหมือนกัน โทษที่เป็นเวรไม่มี แต่ขาดธรรมะ ทำให้ศีลเศร้าหมองนิดหน่อย
    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เรื่องของศีลนี่ เข้าใจว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทหลายท่านยังสงสัย จึงนำมาคุยให้ฟังคร่าวๆ ถ้าพูดกันจริงๆ นะ เรื่องศีลนี่ ศีล ๕ กับ ศีล ๘ ศีลอุโบสถ ถ้าพูดกันให้ละเอียดจริงๆ เดือนหนึ่งมันก็ไม่จบ เอาฟังกันไว้เพียงเท่านี้ เอาเป็นที่เข้าใจกัน วันหลังถ้ามีโอกาสหน้ามีใหม่มีอะไรสงสัยก็ทักกัน ถามกัน…
    ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแก่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี*

    โพสต์โดย achaya

    1521214084_301_วันนี้วันพระตรงกับวันศ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  2. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  3. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  4. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  5. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  6. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  7. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  8. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  9. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  10. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  11. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  12. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -ปฎิบัติ.jpg

    งานอุปสมบท(หมู่) ปฎิบัติธรรมและธุดงควัตร บวชพราหมณ์ถือกรรมบถ ๑๐ ใส่บาตร ฝึกมโนฯเต็มกำลัง วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี ระหว่างวันที่ ๖ – ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐
    คณะสีลม จัดทำถวายกุศลแด่หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ)
    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  13. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ

    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    วันนี้จิตใจของท่านเป็นอย่างไรบ้าง ท่านเคยตรวจดูตัวของท่านเองบ้างหรือเปล่า เวลาก่อนจะหลับคิดทบทวนจิตว่า ตั้งแต่เช้ามาจนกระทั่งถึงเวลาก่อนจะหลับเรามีความรู้สึกอะไรบ้าง มีจริตอะไรที่มารบกวนใจของเราบ้าง แล้วขณะที่มีจริตเข้ามาอย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามารบกวนใจ เราได้ใช้กรรมฐานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแนะนำไว้ให้ประหัตประหารจริตประเภทนั้น หรือว่าสนับสนุนอย่างนี้ท่านทำหรือเปล่า ถ้าหากว่าไม่ได้ทำก็จงใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นพุทธภาษิตบทหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
    “อัตตนา โจทยัตตานัง”
    ซึ่งแปลเป็นใจความว่า จงเตือนตนด้วยตนเอง หรือว่า กล่าวโทษโจทย์ความผิดของตัวเองว่าเรานี่เลวมากไปเสียแล้ว ทำไมหนอเราเกิดมาทันศาสนาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณถึงเพียงนี้ แล้วก็เราล่ะทำไมเราถึงกลายเป็นคนขาด “สติสัมปชัญญะ”
    เรื่อง “สติสัมปชัญญะ” นี่มีความสำคัญ ก็ทวนกันไว้ทุกวันดีไหม เรื่องจริต ถ้าบังเอิญอารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นอย่างนี้เขาเรียกว่า “ราคะจริต” ก็ให้ใช้พิจารณากายที่เรียกกันว่า “กายคตานุสสติกรรมฐาน” พิจารณาเห็นกายเป็นแต่เพียงอาการ ๓๒ มารวมตัวกันขึ้นเป็นกาย มันไม่ใช่แท่งทึบ ไม่ใช่เนื้อแท้ มันมาชนกันเข้ามีจักรกลภายใน และก็เต็มไปด้วยความสกปรก และมันมีความทรุดโทรมอยู่เป็นปกติ และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด
    ทีนี้ในเมื่อร่างกายของทุกคนเต็มไปด้วยความสกปรก และก็ทรุดโทรมลงไปทุกวัน และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด แล้วเราจะมานั่งรักมันว่าสวยงดงดงามเพื่อประโยชน์อะไร ถึงแม้ว่าวัตถุต่างๆ ก็มีสภาพเช่นเดียวกัน มันใหม่ได้มันก็เก่าได้ มันดีได้มันก็ก็พังได้
    ตัวอย่างที่พังให้เห็นมีถมไป หรือว่าเราจะใช้ “อสุภกรรมฐาน” พิจารณาคนตาย เมื่อคนตายแล้วมีสภาพเป็นยังไงก็ได้ เข้ามาลิดรอนจิตใจเรา ถ้าเราหลงในความรักในความสวยสดงดงามเป็นต้น
    นี่เป็นการตัด “ราคะจริต” ต้องจำให้ขึ้นใจแล้วก็ใช้เป็นปกติ เพราะอารมณ์แต่ละอย่าง ๖ อย่าง มันมีอยู่ในคนทุกคน แต่ทว่าอารมณ์นั้นๆ มันจะโผล่มาถึงเราเวลาไหน เราก็พร้อมที่จะใช้กรรมฐานเข้ามาต่อสู้ เช่นเดียวกับตำรวจทหารที่ระวังศัตรูของประเทศชาติ ต้องพร้อมรบอยู่เสมอถ้ารักสงบ
    นี่ถ้าหากว่าจิตใจของเรามีความโกรธ มีความไม่ชอบใจเกิดขึ้น เราก็ใช้ “พรหมวิหาร ๔” หรือ “กสิณ ๔” อย่าง คือ สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าปะทะทันที
    ถ้าอารมณ์ไม่คงที่ตัดสินใจไม่แน่นอน ไม่แน่ใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราก็ใช้ “อานาปานุสสติ” กำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ไม่ต้องภาวนา
    หากว่าเกิดมีศรัทธาความเชื่อในพระพุทธเจ้าขึ้นมาก็ใช้ “อนุสสติ ๖” คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ เข้ารับรอง อันนี้ไม่ประหัตประหารแต่ว่าเข้ารับรองเป็นการสนับสนุน
    ต่อมา “พุทธจริต” มีอารมณ์ว่างก็ได้พูดมาแล้วในตอนก่อนว่า “พุทธจริต” นี่ถ้าเกิดขึ้นเรามีอารมณ์ว่าง ว่างจากความรัก ว่างจากความโกรธ ว่างจากความหลง มีศรัทธาแต่ว่ามีอารมณ์ฉลาด เห็นว่าคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถเป็นความจริง
    แต่ทว่าท่านพระโยคาวจรทั้งหลายทั้งชายและหญิง ความฉลาดเพียงเท่านี้ยังดีไม่พอ เราก็ต้องหากรรมฐานมาสนับสนุนความฉลาด ในตอนก่อนได้พูดถึง “มรณานุสสติกรรมฐาน” ว่าอารมณ์แห่งความฉลาดเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าก็ทรงมีกรรมฐานเฉพาะคนฉลาด ให้มีไว้สำหรับปฏิบัติเพื่อตัว นั่นก็คือ มรณานุสสติกรรมฐาน อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน ๔ และก็ อุปสมานุสสติกรรมฐาน การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ และตอนก่อนนี้ได้พูดถึง “มรณานุสสติกรรมฐาน”

    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  14. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  15. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    กำหนดการพิธีบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๕๐ วัน แห่งการมรณภาพ
    ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทาราม(ท่าซุง)
    ณ มหาวิหาร ๑๐๐ ปี หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ศาลา ๑๒ ไร่) วัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัด อุทัยธานี

    วันที่ ๓๑ มีนาคม – ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑

    วันเสาร์ที่ ๓๑ มีนาคม
    เวลา ๑๗.๐๐ น. – พระเดชพระคุณพระราชสุวรรณเวที แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
    เวลา ๑๗.๓๐ น. – พิธีอัญเชิญผ้าไตรพระราชทาน ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    เวลา ๑๘.๐๐ น. – พิธีสวดพระอภิธรรมทำนองหลวง
    เวลา ๑๙.๐๐ น. – พระภิกษุสงฆ์วัดจันทาราม (ท่าซุง) สวดพระอภิธรรม

    วันอาทิตย์ที่ ๑ เมษายน
    เวลา ๐๙.๓๐ น. – พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์
    เวลา ๑๐.๐๐ น. – พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๗๗ รูป (สวดธัมมนิยาม)
    เวลา ๑๑.๐๐ น. – พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล
    เวลา ๑๓.๐๐ น. – พระภิกษุสงฆ์วัดจันทาราม (ท่าซุง) สวดพระอภิธรรม
    เวลา ๑๙.๐๐ น. – พระภิกษุสงฆ์วัดจันทาราม (ท่าซุง) สวดพระอภิธรรม

    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2516

    1522119723_573_วัดจันทาราม-ท่าซุง-กำหน.jpg

    วัดจันทาราม (ท่าซุง) – กำหนดการ…พิธีบำเพ็ญกุศลครบ 50 วัน แห่งการมรณภาพ วันที่ 31 มี.ค. 1 พ.ค. 2561

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    ภาพมุมสูง ขบวนเคลื่อนศพหลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล (อนันต์ พทฺธญาโณ) จากวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร มายังพระมหาวิหาร ๑๐๐ ปี หลวงพ่อพระราชพรหม เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

    คณะสีลม น้อมถวายภาพ ถวายกุศลแด่หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล

    -ขบวนเคลื่อนศพ.jpg
    1522119485_366_ภาพมุมสูง-ขบวนเคลื่อนศพ.jpg
    1522119485_745_ภาพมุมสูง-ขบวนเคลื่อนศพ.jpg
    1522119485_844_ภาพมุมสูง-ขบวนเคลื่อนศพ.jpg
    1522119485_367_ภาพมุมสูง-ขบวนเคลื่อนศพ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  17. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  18. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  19. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    ผู้ที่ประสงค์จะสมัครสมาชิกนิตยสารธัมมวิโมกข์ผ่านเฟสบุ๊กส์ นิตยสารธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง พระครูภาวนาธรรมนิเทศก์

    .jpg
    ผู้ที่ประสงค์จะสมัครสมาชิกนิตยสารธัมมวิโมกข์ผ่านเฟสบุ๊กส์ นิตยสารธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง พระครูภาวนาธรรมนิเทศก์
    และต้องการชำระเงินผ่านธนาคาร กรุณาส่งข้อความแจ้ง “รายละเอียด” ดังนี้ :
    1. ชื่อ-นามสกุล
    2. ที่อยู่จัดส่งนิตยสาร
    3. เบอร์โทรติดต่อ
    4. จำนวนเงิน วัน/เดือน/ปี และเวลาที่โอน
    5. ความประสงค์สมัครสมาชิกประเภทใด

    ………

    รายละเอียดประเภท และอัตราค่าสมาชิก
    1 สมาชิกใหม่ (รวมค่าจัดส่งแล้ว)
    1.1 ภายในประเทศ
    ครึ่งปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 180 บาท
    1 ปี (12 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 360 บาท
    2 ปี (24 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 720 บาท

    1.2 สมาชิกต่างประเทศ
    อเมริกา 1 ปี (12 ฉบับ) เป็นเงิน 2,550 บาท (หรือ 85 ดอลลาร์)
    ยุโรป 1 ปี (12 ฉบับ) เป็นเงิน 2,200 บาท (หรือ 55 ยูโร)
    เอเชีย 1 ปี (12 ฉบับ) เป็นเงิน 1,000 บาท

    2. สมาชิกเก่า (ต่อสมาชิก)
    สามารถแจ้งชื่อ-นามสกุล พร้อมหมายเลขสมาชิกเดิม และที่อยู่ (กรณีเปลี่ยนแปลงใหม่)
    จากนั้นส่งหลักฐานการชำระเงิน

    ………

    บัญชีโอนเงินผ่านธนาคาร
    1. ธนาคารกรุงไทย
    2. ธนาคารกสิกรไทย

    • ธนาคารกรุงไทย
    • บัญชีออมทรัพย์ สาขาอุทัยธานี
    • ชื่อบัญชี พระครู ภาวนาธรรมนิเทศก์
    • เลขที่บัญชี 619-0-40809-5

    • ธนาคารกสิกรไทย
    • บัญชีออมทรัพย์ สาขาอุทัยธานี
    • ชื่อบัญชี พระครูภาวนาธรรมนิเทศก์
    • เลขที่บัญชี 038-8-16089-6

    ………

    *** จากนั้นให้ส่งรายละเอียดการสมัครสมาชิก และสลิปหลักฐาน ตามที่กล่าวมาข้างต้น
    มาที่ช่อง Messenger (ส่งข้อความ) เฟสบุ๊ค นิตยสารธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง พระครูภาวนาธรรมนิเทศก์ @thammavimoke
    จากนั้น รอ Admin เพจ แจ้งยืนยันการชำระเงิน และรายละเอียดการสมัคร ***

    ………

    โทร. 056-502-507
    มือถือ 084-616-9164

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  20. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...