ข่าวสาร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี โดยเพจมูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ, 19 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  2. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    อานิสงส์อุปสมบทบรรพชา

    ผู้ถาม : ”ดิฉันขอเรียนถามว่า การอุปสมบทบรรพชา มีอานิสงส์อย่างไรบ้างคะ…?”
    หลวงพ่อ : การอุปสมบทบรรพชานี้ มีอานิสงส์พิเศษ ผิดกับอานิสงส์อย่างอื่น เช่นการสร้างวิหารทานก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี การทอดผ้าป่า ทอดกฐินก็ดี อานิสงส์อย่างนี้บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน
    ผู้ถาม : “หลวงพ่อช่วยกรุณาอธิบายเพิ่มเติมอีกหน่อยเถิดค่ะ”
    หลวงพ่อ : หมายความว่า ถ้าบุตรธิดาของตนบำเพ็ญกุศลให้แก่บิดามารดา แต่บิดามารดาไม่ได้โมทนาในกุศลนั้นย่อมไม่ได้ แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาทรงแสดงไว้ว่า

    สมมติว่า บุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดา วันนั้นบิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อ ลูกกับแม่ ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่บุตรชายอุปสมบทบรรพชา บิดามารดาก็ไม่ทราบ แต่ว่าบิดามารดาย่อมได้อานิสงส์โดยสมบูรณ์

    คำว่า อุปสมบท หมายความว่า บวชเป็นพระ
    คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็รเณร

    ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเองจะมีอานิสงส์อยู่เป็น เทวดา หรือ พรหม 60 กัป
    สำหรับบิดามารดาจะได้อานิสงส์ คนละ 30 กัป
    สำหรับคนที่ไม่ใช่พ่อแม่ เป็นเจ้าภาพให้บวช จะได้อานิสงส์คนละ 12 กัป ต่อ 1 องค์
    สำหรับท่านที่ทำบุญอุปสมบท ช่วยเขาคนละบาทสองบาท หรือช่วยกำลังแรงอย่างนี้ มีอานิสงส์องค์ละ 8 กัป
    สำหรับท่านผู้บวชเป็นเณร บวชแล้วมีความประพฤติดีปฏิบัติชอบตามระบอบพระธรรมวินัย เมื่อตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนเป็นกุศล แต่ว่าไม่สามารถทรงจิตเป็นฌาณ ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบน สวรรค์ ได้ถึง 30 กัป ถ้าหากว่าทำจิตของตนได้ฌานสมาบัติ ก่อนตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็น พรหม มีอายุถึง 30 กัป เช่นเดียวกันสำหรับบิดามารดาได้คนละ 15 กัป
    ผู้ถาม : “เวลา กัปหนึ่ง เขานับกันอย่างไรค่ะ”
    หลวงพ่อ : คำว่ากัปหนึ่งนั้น มีปริมาณนับเป็นปีไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบว่า
    สมมติว่ามีภูเขาหนึ่งลูกเป็นหินล้วน ไม่มีดินเจือปน ถึงเวลา 100 ปี เทวดาเอาผ้าเนื้ออ่อนเหมือนสำลี มาปัดยอดเขานั้นครั้งหนึ่ง ทำอย่างนี้ 100 ปี ปัด 1 ครั้ง จนกระทั่งหินนั้นหมดไป เหลือแต่ดินล้วน นั่นจึงจะมีอายุครบ 1 กัป
    ผู้ถาม : “ถ้าลูกชายมีภรรยาแล้ว จะได้อานิสงส์ลดลงไหมคะ…?”
    หลวงพ่อ : ที่เขาลือกันว่า ถ้าลูกไปมีเมียเสียก่อนแล้วไปบวช พ่อแม่ได้อานิสงส์น้อยลงนั้นไม่จริงหรอกโยม บุญของพ่อแม่ลดกันไม่ได้
    ผู้ถาม : “ถ้าหากบวชไม่ครบพรรษา จะบวช 1 เดือน หรือ 2 เดือนได้ไหมคะ…?”
    หลวงพ่อ : จะบวช 1 เดือน 2 เดือน หรือ 7 วันก็ได้ ถ้าหากปฏิบัติดี บวช 2 -3 วันมันก็ดี ถ้าบวชเลวนานเท่าไหร่ก็ยิ่งลงอเวจีลึกเท่านั้น ก็ไม่มีความหมาย

    การบวชพระพุทธเจ้าทรงวางแบบไว้ แต่พระที่เขาถือว่ามีศักดิ์ศรีกลับปฏิบัติเลว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงมอบอำนาจให้แก่สงฆ์ ทรงมีกฏไว้ว่า คนที่จะบวชต้องอยู่ ตติถิยปริวาส 3 เดือนก่อน ในฐานะที่เป็นคนภายนอกจะต้องมาศึกษาพระธรรมวินัยและข้อวัตรปฏิบัติ 3 เดือน ถ้ายังไม่ดี ยังไม่ให้บวช ถ้าอยู่ต่อไปอีก 3 เดือน ถ้า 3 เดือน 3 วาระยังไม่ดี ห้ามบวชตลอดชีวิต
    ผู้ถาม : “เดี๋ยวนี้ไม่เห็นเขาเข้าวัดกันเลยค่ะ เวลาขานนาคพระคู่สวดก็สอนเสียทั้งหมด”
    หลวงพ่อ : “ถ้าเป็นที่วัดฉัน ไม่ให้บวชเลย”
    ผู้ถาม : “คนเดี๋ยวนี้ต้องทำมาหากิน ถึงเวลาจะบวช ก็บวชไปตามประเพณี ไม่ได้มีเวลาศึกษาระเบียบข้อวัตรปฏิบัติเสียก่อนบวช อย่างนี้จะได้ไหมคะ…?”
    หลวงพ่อ : ได้…โยม ได้อเวจี บวชวันแรกก็หมดจากความเป็นพระแล้ว พระไม่ได้อยู่ที่ผ้าเหลือง และพระก็ไม่ได้อยู่ที่การโกนผม

    คำว่าพระจริงๆ อันดับแรก เป็นพระปลอมก่อน ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า สมมติสงฆ์ นั่นก็คือพระที่ปฏิบัติตามพระวินัยครบถ้วนทุกสิกขาบท พระพุทธเจ้ายังไม่เรียกพระนะ ทรงเรียกว่า สมมติสงฆ์ พลาดนิดเดียวก็ไปนรก และการที่จะบวชเข้าไป ถ้าในคณะสงฆ์ที่นั้งอยู่ในวงการอุปสมบท ถ้าเป็น อาบัติปาราชิก หรือ สังฆาทิเสส องค์หนึ่ง สังฆกรรมนั้นเสีย คนที่บวชนั้นไม่เป็นพระหรอก เป็นเณร เสร็จอีก ถ้าไปนั่งรวม ฉันร่วมกับพระก็บาปกินตลอด
    แล้วก็มาอีกระดับหนึ่ง ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมวินัย เขาเรียกว่า สาธุภิกขุ คือนักบวชชั้นดี ถ้าได้ฌานสมาบัติเป็นฌานโลกีย์ ก็ยังเรียกว่าสมมติสงฆ์ ถือว่าเป็นกัลยาณชน จะเป็นพระจริงๆ ได้ก็ต่อเมื่อท่านผู้นั้นเป็น พระโสดาบัน
    ผู้ถาม : “การให้อยู่วัดก่อนบวช คือการท่องบทสวดมนต์แล้วก็ปฏิบัติพระ ใช่ไหมคะ…?”
    หลวงพ่อ : การอยู่วัดก่อนบวช เขาไม่ได้สวดมนต์เฉยๆ เขาจะต้อง เจริญพระกรรมฐาน และต้องปฏิบัติให้อารมณ์จิตดีด้วย คือเข้าถึงธรรมพอไหม ถ้าไม่พอไม่ให้บวช พระพุทธเจ้าทรงสั่งไว้แบบนี้นะ

    ถ้ารู้สึกว่ายาก ก็ตัดสินใจไม่ให้บวชเลยก็หมดเรื่อง ถ้าพิจารณาแล้วว่าควรจึงให้บวช ขึ้นชื่อว่าบวชนี้มีความหมายมากเหลือเกิน ใครมีลูกชายก็อยากจะให้บวช แต่ถ้าบวชแล้วไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัยก็น่าหนักใจเหมือนกัน แทนที่จะได้บุญกุศลมหาศาลก็จะพาลให้ลงนรก มันไม่คุ้มกันเลย
    และอีกประการหนึ่ง การจะบวชลูกหลานเข้าไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจะเอาบุญ คือทำกันตามประเพณีเป็นสำคัญ พอเริ่มจัดงานก็มีการฆ่าไก่บ้าง ฆ่าปลาบ้าง ฆ่าหมูบ้าง ฆ่าวัว ฆ่าควายบ้าง เอาสุราเมรัยมาเลี้ยงกันบ้าง ถ้าท่านทั้งหลายจัดการอุปสมบทบรรพชา หรือว่า บำเพ็ญกุศลส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดีทำกันตามประเพณี ก็จะได้ชื่อว่าไม่มีอานิสงส์อะไรเลย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะมีเจตนาชั่ว คือเริ่มต้นทำบาปก่อนแล้ว พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า

    “ถ้าจิตเป็นอกุศล กุศลใดๆ ที่ตนคิดว่าจะทำ มันก็ไม่ปรากฏ”
    “ในกาลใด ถ้าเราจะบำเพ็ญกุศลบุญราศี ให้ปรากฏเป็นผลดี ก็ขอให้กาลนั้นเป็นการบำเพ็ญกุศลจริง ๆ ”

    ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง จงเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียให้หมด งดสิ่งที่เป็นกรรมชั่วทุกประการ อย่าให้ปรากฏมีเวลาเริ่มงานขึ้นมาสักที กรรมใดที่เป็นอกุศล เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ดี การเลี้ยงสุราก็ดี อย่างนี้จงงดไว้ ตั้งใจไว้เฉพาะบำเพ็ญกุศลอย่างนี้ จึงเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง

    ทีนี้สมมุติว่าลูกหลานที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนายินดีในการปฏิบัติความดีในด้านพระธรรมวินัย ยินดีในการเจริญกรรมฐาน เกิดความชุ่มชื่นในการปฏิบัตินั้น อานิสงส์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบไว้ว่า
    “ท่านผู้ใดก็ดี อุปสมบทบรรพชาเข้ามาแล้วในพระพุทธศาสนา วันหนึ่งทำจิตใจให้ว่างจากกิเลส เพียงวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว” นี่หมายความว่า วันหนึ่งมีเวลา 24 ชั่วโมง เวลานอกนั้นจิตก็ฟุ้งซ้านไปตามอารมณ์ต่างๆ แต่ว่า เวลาปฏิบัติพยายามควบคุมกำลังใจ ไม่พลาดพลั้งจากพระธรรมวินัยหรือเวลาใดเวลาหนึ่งก็ตาม ในวันนั้นทำสมาธิจิตให้เกิดขึ้น จะเป็นทรงอารมณ์สมาธิก็ตาม หรือจิตผ่องใสในทางวิปัสนาญาณก็ตาม วันหนึ่งเพียงชั่วขณะจิตเดียว จิตโปร่งจริงๆ ขณะนิดเดียว นาทีหนึ่งหรือสองนาทีก็ตาม แต่ว่าทำได้ทุกวัน ไม่จำกัดเวลา อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “ท่านผู้นั้น บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา แม้แต่เพียง 1 วัน ก็ย่อมมีอานิสงส์ดีกว่าพระที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาตั้ง 100 ปีมีศีลบริสุทธ์ไม่บกพร่อง แต่ก็ไม่เคยเจริญสมาธิจิตเลย”
    ท่านบอกว่า “อานิสงส์อันนี้จะคูณด้วยกำลังของแสน”
    เพราะอาศัยอารมณ์ที่มีความชื่นบาน มีความผ่องใส มีความพอใจ มีธรรมปีติ อาศัยลูกชายของตนประพฤติดี ประพฤติชอบ ในระบอบพระธรรมวินัย ทุกคนจะมีอานิสงส์มากขึ้นหมายความว่า ถ้าเป็นเทวดาหรือพรหม ก็มีรัศมีกายผ่องใสขึ้น จะเพิ่มความสุขยิ่งขึ้น
    ผู้ถาม : “ดิฉันมีลูกชายคนหนึ่ง ก็อยากจะให้บวช แต่เมื่อฟังหลวงพ่อพูดถึงพระไปนรกกันเยอะ เลยคิดว่าไม่ต้องบวชก็ได้ เอาแค่เจริญพระกรรมฐานดีกว่า แต่อีกใจหนึ่งก็เสียดายที่ไม่ได้เป็นญาติกับพระพุทธศาสนา ”
    หลวงพ่อ : โอ้ย…อย่า อย่า ถ้าไม่ได้เป็นญาติกับพระพุทธศาสนาง่ายกว่า ถ้าบวชเป็นญาติกับนรกง่าย

    คำว่า บวช นี่มันหนัก พระพุทธเจ้าบอกว่า “บรรพชาเป็นของหนัก” พระโผล่ปุ๊ปเข้ามาแล้ว อันดับแรก ศีล สมาธิ ปัญญา เริ่มต้นเลย จะรอไปอีก 3 วันน่ะ มันไม่ได้ เขาเรียก ปูชนียบุคคล เป็นบุคคลที่ชาวบ้านต้องบูชากราบไหว้ ไอ้ลูกเวลาไม่ได้บวช ก็ไหว้พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ใช่ไหม… พอบวชนั้น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย มาไหว้ทันที นี่มันจะตกนรกก็ตรงนี้แหละ ที่หนักกว่าก็ตรงนี้แหละ เห็นชัดๆ พระพุทธเจ้าเรียก “สามัญผล” ฉะนั้นนักบวชสมัยนี้ลงนรกง่ายกว่านักบวชสมัยก่อน
    และอีกประการหนึ่ง พระนี่กินข้าวง่ายเมื่อไหร่ล่ะ ต้องพิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา ก่อน ไม่กินเพื่อติดในรส ติดในสี จะไม่กินเพื่อความอ้วนพี จะไม่กินเพื่อความผ่องใส จะกินเพื่อทรงชีวิตอยู่เท่านั้นเอง ต้องปฏิบัติตามนี้นะ
    ผู้ถาม : “ถ้าพระทำแบบนี้กันมากๆ ก็ตกนรกเยอะซิคะ…?”
    หลวงพ่อ : พระนี่นรก 99 เปอร์เซ็น ท่านมีบุญมากกว่าฆราวาสโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหาเรปฏิกูลสัญญา สมภารก็ไม่รู้ อุปัชฌาย์ก็ไม่รู้ ลูกศิษย์ก็มากก็ซวย ก็ลงด้วยกันทั้งนั้น

    พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า “ภิกษุผู้บริโภคอาหารอันมีผู้ถวายด้วยความเลื่อมใสแล้วไม่พิจารณาเสียก่อน เมาในรสอาหารนั้น สู้กินก้อนเหล็กที่เขาเผาแดงจนลุกโชนเสียดีกว่าเพราะกินถึงปากปากพัง ถึงคอคอก็พัง ถึงท้องก็ท้องพัง มันร้อนก็ตาย พอตายแล้วก็เลิกร้อน ส่วนภิกษุที่ฉันอาหารโดยไม่พิจารณาเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญาตายแล้วลงนรก มันร้อนนานแสนนากว่า ”

    การบวชนี่มันไม่แน่นักว่าจะไปสวรรค์ ส่วนใหญ่ลงนรกหมด ดีไม่ดีชวนพ่อแม่ลงไปด้วย ถ้าปฏิบัติไม่ดีตามพระวินัย ครูบาอาจาร์ตักเตือนเขาก็โกรธ ไปบอกพ่อแม่พี่น้อง ไม่ได้เอาเรื่องที่ถูกทำโทษไปบอก เอาแต่ดีไปบอก พ่อแม่พี่น้องก็พากันโกรธพระ ด่าพระ

    อย่าง พระกปิละ บวชมาแล้วท่านทรงพระไตรปิฏกแต่ยังไม่ได้ มันเสือกระดาษ ก็มีลูกศิษย์ลูกหามาก ลาภสักการะก็เกิดมาก ความทะนงตนก็เกิดขึ้น ต่อไปสอนไปสอนมาก็สอนคัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น ตายแล้วสูญ นรกสวรรค์ไม่มี เป็นต้น พระตักเตือนเข้าก็โกรธ ทีนี้แม่กับน้องสาวก็พลอยโกรธไปด้วย ตายแล้วต่างคนต่างลงอเวจีมหานรก เห็นไหม…

    การบวชนี่กรรมหนักมากถ้าพลาดนิดเดียวอาบัติปาราชิก อาบัติปาราชิกมี 4 สิกขาบท คือ
    1. เสพเมถุนกับสตรี
    2. ฆ่ามนุษย์ให้ตาย
    3. ลักทรัพย์ตั้งแต่ราคา 1 บาท ขึ้นไป
    4. อวดอุตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน

    สิกขาบทที่ขาดง่ายที่สุดคือ ลักของตั้งแต่ราคา 1 บาท ขึ้นไป ขาดจากความเป็นพระทันที ข้อนี้ระวังให้มาก คนเข้าทำบุญเรื่องนี้ แต่เอาไปให้อีกเรื่องหนึง เสร็จ…
    และอีกประการหนึ่ง การแสดงอาบัติ เขาต้องบอกเหตุว่าเราไปทำอะไรมา ไม่ใช่ว่ากันตามภาษาบาลีเลอะไป จริงๆแล้วในพุทธกาล เขาต้องบอกจุดที่เป็น คือเราไปละเมิดอะไรมาบ้าง บอกพระด้วยกัน ถ้าอยู่ในคณะสงฆ์ ต้องบอกในคณะสงฆ์ ที่ทำกันทั่วไปเป็นภาษาบาลีนี่มันไม่ถูก ถ้าไม่ถูกการเปลื้องอาบัติก็ไม่สมประสงค์ และก็ลงท้ายว่า
    “นะ ปุเนวัง กะริสสามิ” ผมจะไม่ทำอย่างนี้อีก
    “นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ” ผมจะไม่พูดอย่างนี้อีก
    “นะ ปุเนวัง จินตะยิสสสามิ” ผมจะไม่คิดอย่างนี้อีก

    ทีนี้ เวลาที่เราแสดงอาบัติ ต้องตั้งใจจริงว่า ไอ้ความชั่วประเภทนี้ เราจะไม่ทำอีก เราจะไม่พูดอีก เราจะไม่คิดอีก อย่างนี้อาบัติที่เป็นมัน จึงจะยับยั้ง
    การแสดงอาบัติ อย่าคิดว่าเป็นอาบัติหมดนะ แผลที่เป็นมันก็เป็นแผลตามเดิม ความชั่วแก้ไขไม่ได้ แต่ว่าถ้าเราไม่ทำ มันก็เป็นการยับยั้งความชั่ว ไม่กำเริบหรือมากกว่านั้น เราตั้งใจคิดว่า “เราจะไม่เป็นอาบัติดีกว่า”

    จากหนังสือ “หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑ หน้า ๖๐-๖๙
    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  3. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันนี้วันพระ ตรงกับวันพุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีมะโรง
    และเป็นวันตรุษไทย
    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม

    พระธรรมเทศนาเรื่อง โมกขธรรมของพระอัครสาวก
    แสดงเมื่อวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2521

    ณ โอกาสบัดนี้ อาตมภาพจะแสดงพระธรรมเทศนา ในอานิสงส์ของปุญญาภิกถาเพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมี ที่บรรดาท่านนริศราทานบดีทั้งหลาย ได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์คือ วันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้า วันตรุษวันนี้ถือว่าเป็นการสิ้นปีเก่าแล้วก็ขึ้นปีใหม่ของโบราณ โบราณถือว่าวันตรุษเป็นวันสิ้นเดือนสี่ เป็นการสิ้นปีเก่า ขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ว่าเวลานี้เขาเปลี่ยนแปลงเป็นเดือนมกราคม เป็นเรื่องของ จอมพลแปลก และอาตมาเป็นคนเก่า ขอเทศน์เรื่องเก่าๆ คือการมาบำเพ็ญกุศลบุญราศีของบรรดาท่านพุทธบริษัท? ประการแรกคือ หนึ่งการเข้ามาวัด จิตใจน้อมนึกถึงพระพุทธเจ้าก็ดี นึกถึงพระสงฆ์ก็ดีอย่างนี้เป็น พุทธานุสสติ สังฆานุสสติ ตั้งใจสดับรับรสพุทธพจน์เทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงเป็น ธัมมานุสสติ ตั้งใจถวายทานแก่บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลาย ตั้งแต่สี่องค์ขึ้นไป เป็น มหาสังฆทาน รวมความบุญใหม่ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำแล้วในวันนี้มีอานิสงส์ใหญ่มาก ถ้าจะกล่าวโดยเฉพาะโดยย่อ ถ้าตายจากความเป็นคนก็ไปเกิดเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้โดยง่ายยิ่งไปกว่านั้นแล้ว จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทท่านใดต้องการโมกขธรรมก็สามารถจะเป็นเครื่องพ้นจากโมกขธรรม คือ ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตาย สำหรับเรื่องกุศลนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายต่างคนต่างก็รู้กันอยู่แล้ว บัดนี้จะนำเอาเรื่องราวของ อัครสาวก ขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วสองท่านคือ พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร มาเล่าสู่กันฟัง เพราะว่าท่านทั้งสองนี่เป็นผู้แสวงหา โมกขธรรม ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตาย ความมีว่า

    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสาดสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกเวลานั้นทรงประกาศพระพุทธศาสนาไม่นานนัก ก็ไปพักอยู่ที่ กรุงราชคฤห์มหานคร ในระหว่างนั้นปรากฏว่าในเมืองนั้นก็มีมหาเศรษฐีสองท่าน คือพ่อแม่ของ ท่านพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ต่างคนต่างมีลูกชายกันคนละคนให้คนใช้คนละห้าร้อยคนเป็นเพื่อนติดตาม พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร สองคนเป็นคนใจดี มีจิตเมตตา เวลามีงานนักขัตฤกษ์ขึ้นมาก็ไปดูงานนักขัตฤกษ์ ถึงเวลาควรจะให้รางวัลก็ให้ ควรจะหัวเราะก็หัวเราะ ต่างคนต่างรื่นเริงในการดูมหรสพแต่ว่ามาวันสุดท้ายของชีวิตที่ต้องกลับจากความเป็นคนกลายเป็นพระ นั่นก็หมายความวันนั้นเป็นวันมหรสพ ทั้งสองท่านไปดูมหรสพพร้อมด้วยบริวารพันคนคือมีกันคนละห้าร้อย บริวารพันคนบรรดาลูกน้องต่างสนุกสนานไปกับมหรสพแต่สองท่านนิ่งเฉย ต่างคนต่างคิดโดยไม่ได้ปรึกษากัน มีความรู้สึกว่าชีวิตของเรานี้นั้น คนผู้แสดงก็ดี คนดูการแสดงก็ดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเราทั้งสองคนก็ดีต่างคนต่างมีอายุไม่เกินร้อยปีก็ตายเหมือนกันหมด ในเมื่อเกิดมาเพื่อตายอย่างนี้เราจะเกิดมาเพื่ออะไรกันต่อไป ฉะนั้นของในโลกนี้เป็นของมีคู่กัน คืนหนึ่งมีมืดแล้วก็มีสว่าง มีความสุขแล้วก็มีความทุกข์ มีความเกิดแล้วก็มีความตาย แต่ในเมื่อมีความตายเกิดขึ้น ทางที่ทำให้บุคคลไม่ตายต้องมีเช่นเดียวกัน ฉะนั้นในเมื่อมหรสพแสดงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านโมคคัลลาน์ จึงได้ถาม พระสารีบุตร ว่า อุปติสสะ ถามว่าวันนี้ทำไมถึงเงียบ ท่านสารีบุตรชื่ออุปติสสะ ท่านโมคลัลลาน์ชื่อ โกลิตะ ท่านสารีบุตร ก็ถามว่า โกลิตะ เธอทำไมจึงเงียบไม่แสดงการรื่นเริง ท่านก็เลยบอกว่า ฉันนั่งคิดดูว่า เราทั้งสองคนนี้มีชีวิตไม่ถึงร้อยปีก็ตาย และคนที่แสดงมหรสพก็ตาย คนที่ดูทั้งหมดนี่ก็ตาย ในเมื่อโลกนี้มันมีของคู่กัน มีสุขก็มีทุกข์ มีสว่างก็มีมืด มีตายแล้วก็มีเกิด แต่ในเมื่อมีการตายได้ทางที่ทำให้บุคคลให้ไม่ตายต้องมีเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเราสองคนไม่กลับบ้านดีกว่าไปแสวงหาธรรมที่ทำให้คนไม่ตายดีกว่าดีไหม พระสารีบุตร ก็เห็นชอบด้วย ฉะนั้นจึงแบ่งทาสกันคนละครึ่ง คนละสองร้อยห้าสิบคนให้นำยานพาหนะกับม้ากลับบ้านเหลืออีกคนละสองร้อยห้าสิบคนรวมเป็นห้าร้อยคน นำเดินทางต่อไปไม่เข้าบ้าน ก็ไปถึงสำนักของสัญชัยปริพาชก
    เขาเล่าลือกันว่าสำนักของ สัญชัยปริพาชก นั่นเป็นสำนักอรหันต์ มีโมกขธรรม คือ ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตาย ในเมื่อใครไปเรียนในที่ที่เขาปฏิบัติแล้ว เขาจะไม่ตาย ในเมื่อท่านเข้าไปเรียนได้ไม่กี่วันก็จบหลักสูตรของ สัญชัยปริพาชก ท่านสัญชัยปริพาชก ก็บอกว่าหลักสูตรของเรามีแค่นี้ แค่นี้ถือว่าจบหลักสูตร แต่ทั้งสองท่านมีปัญญามากเป็นคนบำเพ็ญบารมีมาก่อน (ในสมัยที่องค์ศมเด็จพระชินวร คือพระพุทธเจ้าของเราเป็น สุเมธดาบส เดี๋ยวค่อยเล่าสู่กันฟัง) ก็นึกในใจว่า ธรรมที่เราศึกษาและทำได้แล้วนี้ไม่ใช่ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตาย แต่ในเมื่ออาจารย์บอกว่าจบ ก็จบตามอาจารย์เพราะอาจารย์ไม่มีเรื่องจะสอนให้ต่อไป ก็มาปรึกษากันสองคนว่าถ้าใครได้โมกขธรรม ก่อนกัน ก็ขอให้มาบอกกันก่อนมีวันหนึ่งปรากฏว่า พระสารีบุตร คือ อุปติสสะ ออกไปจากสำนักจะเข้าไปในเมืองได้พบพระอัสสชิ เวลานั้นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ เวฬุวันมหาวิหาร พบ พระอัสสชิ อัครสาวกรุ่นแรก พวก ปัญจวัคคีย์ ฤาษีทั้งห้ากำลังเดินมาบิณฑบาตเห็นลีลาการเดินมีความสงบเสงี่ยมมากสำรวม สายตาก็ทอดต่ำ เดินก็สงบเรียบร้อย พระสารีบุตร จึงมีความรู้สึกในใจว่าสมณะรูปนี้เป็นผู้ทรงคุณธรรมดีมีจริยาเรียบร้อยมีความงามมาก คงจะเป็นลูกศิษย์ของศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งถึงได้ โมกขธรรมแล้ว แต่ทว่าถ้าเราจะเข้าไปถามเวลาที่เข้าไปบิณฑบาตแบบนี้เป็นการไม่สมควร นี่คนที่มีปัญญาเขาคิดอย่างนี้นะ เขาคิดกันรอบคอบ ก็นั่งรออยู่ปากทางในเมือง พระอัสสชิ เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วก็กลับออกมา ท่านก็เข้าไปนั่งยกมือไหว้ถามว่า ท่านผู้เจริญ โภ ปุริสะ ดูกร ท่านผู้เจริญ กระผมอยากจะทราบว่าท่านเป็นสาวกของใคร สาวกพระศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร และท่านปฏิบัติได้แบบไหน พระอัสสชิ ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านมองแป๊บเดียวท่านก็ทราบว่าปริพาชกคนนี้มีความฉลาดมาก ถ้าเราจะพูดยาวไปจะไม่เป็นการสมควรจึงคิดในใจว่า ควรจะตอบสั้นๆ ท่านจึงตอบว่า อาตมาเป็นสาวกของ พระสมณโคดม เวลานี้ พระสมณโคดม อยู่ที่ เวฬุวันมหาวิหาร และธรรมะที่ พระสมณโคดม สอนตามนี้ ท่านว่าเป็นภาษาบาลีว่า เย ธัมมา เหตุปัพพ วาเตสัง เหตุง ตถาคโต เต สัญจะ โย นิโรโธจะ เอวังวาทีมหาสมโณ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธเจ้าตรัสเหตุของธรรมนั้น และความดับของธรรมนั้น
    สมเด็จพระมหาสมณะตรัสดังนี้ นี่เป็นอริยสัจอย่างย่อ พระสารีบุตร เมื่อฟังอริยสัจอย่างย่อ เพียงเท่านี้ก็ปรากฏเป็นพระโสดาบันทันที ท่านก็ถามว่าเวลานี้พระศาสดาอยู่ที่ไหน พระอัสสชิ ก็บอกว่าอยู่ที่ เวฬุวัน ไม่ห่างจากที่นี่นัก พระสารีบุตร ก็ตอบว่า ถ้าอย่างนั้นท่านไปก่อน ผมยังมีเพื่อนอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีสัญญากันว่าบุคคลใดได้ โมกขธรรมบุคคลนั้นจะต้องบอกเพื่อนกันก่อนแล้วก็ชวนกันไป พระอัสสชิ ก็หลีกไป พระสารีบุตร ก็กลับเข้าสำนักในเมื่อได้ธรรมะถึงพระโสดาบัน อารมณ์ใจมันก็แช่มชื่น ดีใจเพราะสิ่งที่ต้องการไม่เคยคิดว่าจะได้มันได้แล้ว เมื่อเข้าไป พระโมคคัลลาน์ ก็ถามว่า สารีบุตร ขอเรียกสั้นๆ ตามที่เคยรู้จักกันนะ ท่านได้พบโมกขธรรมแล้วหรืออย่างไร วันนี้ถึงได้หน้าตาแช่มชื่นมาก พระสารีบุตร ก็บอกว่าได้แล้ว ก็ถามว่าได้อย่างไร แล้วเล่าความเป็นมาให้ฟัง ถามว่าพระบอกว่าอย่างไรท่านก็บอกว่า เย ธัมมา เหตุปัพพวา เตสัง หตุง ตถาคโต เต สัญจะ โย นิโรโธจะ เอวังวาที มหาสมโณ ว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธเจ้าตรัสเหตุของธรรมนั้น และความดับของธรรมนั้น สมเด็จพระมหาสมณะตรัสอย่างนี้ เมื่อฟังเพียงแค่นี้อาศัยที่บุญบารมีบำเพ็ญมาก่อนเต็มแล้ว พระโมคคัลลาน์ก็ได้โสดาบันทันที
    ในเมื่อทั้งสองท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็เข้าไปหา สัญชัยปริพาชก ว่าเวลานี้พระศาสดาคือ พระพุทธเจ้าจริงๆที่ได้โมกขธรรมจริงๆมีขึ้นแล้ว ธรรมะที่ท่านสอนพวกเรา พวกกระผมทำแล้วทุกอย่างไม่ใช่ทางบรรลุมรรคผล ไม่ใช่พ้นแห่งความทุกข์ ไม่พ้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่เวลานี้ปรากฏมีองค์สมเด็จพระจอมไตรอุบัติขึ้นแล้วในโลก ขอท่านจงไปกับผม พร้อมทั้งคณะไปฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าด้วยกัน ท่านสัญชัยปริพาชก ท่านตั้งสำนักมาก่อนพระพุทธเจ้านาน มีลูกศิษย์ลูกหามากก็บอกว่าถ้าเธออยากจะไปเธอก็ไปเถอะ แต่สำหรับฉันน่ะไม่ไปแน่ ฉันก็เป็นหนึ่งในตองอูเช่นเดียวกัน คือเป็นหนึ่งเหมือนกัน เป็นอาจารย์เหมือนกันและในที่สุด พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ก็ชวนท่านอีก ท่านก็ไม่ยอมไปในที่สุด สัญชัยปริพาชก ก็ถามว่าคนในโลกนี้มีคนฉลาดมากหรือมีคนโง่มาก พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ก็ตอบว่า คนในโลกนี้มีคนโง่มากกว่าคนฉลาด ท่านสัญชัย ก็คิดว่า คนฉลาดมีน้อยคนโง่มีมากเพราะฉะนั้นคนโง่จงอยู่ในสำนักของเรา คนฉลาดต้องไปหาพระสมณโคดม แกคิดว่าลาภสักการะที่เกิดจากคนโง่มาก แต่ความจริงไม่ใช่ในเมื่อท่านสัญชัยปริพาชกไม่ยอมไป พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ก็ชวนบริษัทไปคือลูกน้องทั้งหมดไป
    ในเมื่อ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ออกจากสำนักไม่ทันถึงพระเวฬุวันมหาวิหาร เพียงแค่ออกไป เวลานั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารกำลังเทศน์สอนพระสอนฆราวาสอยู่ สมเด็จพระบรมครูก็ตรัสว่าเวลานี้อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของเรามาแล้ว ประเดี๋ยวก็มาถึง ในที่สุดทั้งสองท่านก็เข้าไปถึงจริงๆ เมื่อเขาไปถึงแล้วฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วจบ ปรากฏว่าศิษย์ของ พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ครึ่งหนึ่งเป็นพระอรหันต์หมด ฟังเทศน์จบเดียว อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้อะไรเลย กลับไปอยู่กับ สัญชัยปริพาชก แต่สำหรับ พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ได้พระโสดาบันแล้ว ฟังเทศน์จบแล้วก็ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ต่อมา พระโมคคัลลาน์ ปฏิบัติอีกแปดวันจึงได้ อรหัตผล พระสารีบุตร ปฏิบัติอีกสิบห้าวันได้อรหัตผล ต่อมาองค์ศมเด็จพระทศพลก็ตรัสกับพระว่าภิกขเว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระถามว่าพระโมคคัลลาน์ กับ พระสารีบุตร เป็นผู้มีปัญญามาก มีบารมีเป็นอัครสาวก ทำไมจึงได้บรรลุมรรคผลช้ากว่าบริษัทคือลูกน้องพระพุทธเจ้าก็ทรงเปรียบเทียบให้ฟังว่า ธรรมดาพระราชาไปไหนต้องมีบริวารไปก่อน ไปถึงก่อน พระราชาไปถึงทีหลัง คนที่มีปัญญามากก็เช่นเดียวกันย่อมคิดมากใคร่ครวญมาก ไตร่ตรองมาก ในเมื่อเห็นเหตุเห็นผลจริงๆ แล้ว จึงตัดสินใจตาม พระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตร ก็เช่นเดียวกัน อาศัยบารมีมากกว่ามีปัญญามากกว่า จึงบรรลุมรรคผลได้ช้ากว่าบรรดาบริวารทั้งหลาย เขามีบารมีเพียงเล็กน้อยได้แค่เพียงเล็กน้อย สาวกธรรมดาฟังเทศน์เพียงแค่ครึ่งจบความจริงไม่เต็มจบหรอกเพราะท่านเทศน์อยู่ก่อน ก็ปรากฏว่าได้บรรลุมรรคผล ต่อมาบรรดาท่านพุทธบริษัทเรื่องจริงๆ ของโลกมีว่า คนทุกคนในโลกที่เกิดมาแล้ว ต้องถูกนินทาตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า นัตถิ โลเก อนินทิโต คนไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลกในเมื่อ พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร เป็นพระอรหันต์แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็ทรงตั้งพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลาน์เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย แต่ความจริงพระอรหันต์ก่อนๆ เขามีอยู่แล้วอย่าง ท่านโกณฑัญญะ ปัญจวัคคีย์ฤาษี ทั้งห้าเป็นต้นต่อมาบรรดาพระอริยะทั้งหลายไม่มีความหมาย หมายความว่าท่านไม่สนใจจะตั้งอะไรหรือไม่ตั้งไม่มีความหมายกับพระอริยเจ้า คือไม่มีสนใจในเรื่องยศถาบรรดาศักดิ์ ถ้าตั้งมาก็รับถ้าไม่ตั้งก็แล้วไป ไม่ได้มีความเดือดร้อนใจอะไรในที่สุดก็มีบรรดาพระแก่ทั้งหลายที่ยังไม่ได้อะไรเลยเป็นพระบวชใหม่ ก็นินทาพระพุทธเจ้าว่า ดูกร พวกเราทั้งหลายพระพุทธเจ้าเห็นมุขโขโลกนะ เห็นแก่หน้าบุคคล เป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าการที่ตั้งอัครสาวก ก็เพราะว่า พระโมคคัลลาน์ กับ พระสารีบุตร นี่เป็นลูกขอท่านมหาเศรษฐี จึงได้ตั้งเป็นอัครสาวก ทางที่ดีแล้วควรจะตั้ง พระโกณฑัญญะ อัญญาโกณฑัญญะ ที่บรรลุมรรคผลก่อนเพื่อน เป็นอรหันต์องค์แรกของโลกโดยไม่ตั้งคณะของท่านอัญญาโกณฑัญญะ ก็ตั้งคณะของภัททวัคคีย์ของบรรดาท่านทั้งหลายที่มีความเจริญแล้ว สามสิบคนที่บรรลุมรรคผลต่อมา หรือไม่เช่นนั้นก็ตั้งคณะของพระยศ หรือตั้งคณะของ พระชฏิล ก็ได้ทั้งนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาไม่ตั้งพระเหล่านั้นทั้งหมด ปรากฏว่ามาตั้งคนสองคนที่เป็นลูกของมหาเศรษฐีอย่างนี้ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้าอคติไม่ยุติธรรม
    พระองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาพักอยู่ในมหาวิหาร ได้ยินเสียงด้วยหูอันเป็นทิพย์ขององค์สมเด็จพระพิชิตมารจึงได้เสด็จมาถามว่า พวกเธอคุยเรื่องอะไรความจริงท่านรู้เรื่องหมดแล้ว พระก็กราบทูลกับองค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า พระสององค์นี่พูดเรื่องนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ภิกขเว ดูกร ภิกษุทั้งหลายตถาคตตั้งให้ตามคำอธิษฐานของเขาอย่าง ท่านโกณฑัญญะ นี่เวลาทำบุญในตอนต้นในสมัยชาติก่อนๆ มีการทำบุญของท่าน มีความต้องการอย่างเดียวคือ เราเป็นอรหันต์ก่อนใครทั้งหมดในโลก ในเมื่อพบพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแล้ว เราเป็นอรหันต์ก่อนคนทุกคนในโลก และเราก็สามารถทำให้สอนให้ พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นอรหันต์ก่อนทุกคนในโลกอยู่แล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างพวกชฏิลทั้งสามเขาก็มีความต้องการอย่างเดียว คือความเป็นพระอรหันต์แต่ว่าสองคนนั้นคือ พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร เขาต้องการอัครสาวกมาท่านก็นำเรื่องราวมาว่าในสมัยนั้นมีพระพุทธองค์คือ พระพุทธเจ้าของเรา กำลังบำเพ็ญบารมีอยู่เป็นฤาษีชื่อว่าสุเมธดาบส ปรากฏว่าอยู่ในป่า เวลานั้นปรากฏว่าได้ทราบว่าเวลานี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ก็ต่างคนต่างพาลูกศิษย์ไปนมัสการพระพุทธเจ้าท่านก็แล้วก็ฟังเทศน์ เมื่อฟังเทศน์จบก็มีความพอใจในพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็นิมนต์พระพุทธเจ้าว่าวันรุ่งขึ้นจากวันนี้ไปประมาณสามวัน ขอนิมนต์องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาพร้อมด้วยสาวกทั้งหมด ประมาณสองหมื่นรูป ไปฉันภัตตาหารที่สำนักของข้าพระพุทธเจ้าที่ตั้งอยู่ในป่า พระพุทธเจ้าก็ทรงรับโดยอาการดุษณีภาพ คำว่ารับโดยอาการดุษณีภาพ หมายความว่าท่านนิ่งเฉยๆ ถ้านิ่งเฉยแสดงว่า รับในเมื่อ ท่านสุเมธดาบส กลับมากับบริษัทก็จัดแจงอาสนะให้ครบถ้วน จัดผลไม้ไม่มีแกง ไม่มีกับไม่มีข้าว จัดผลไม้ที่คนบริโภคให้แก่บรรดาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายทั้งหมด และที่ไหนเป็นที่ดอนเป็นที่ลุ่มก็ทำที่ให้เสมอกันที่ไหนเป็นลำรางยาวๆ ก็ทำสะพานแต่ว่าที่ไหนเป็นลำรางสั้นๆ ทอดตัวถึงก็ไม่ทำสะพาน ในเมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเดินมากับบรรดาพระสาวกทั้งหลาย เมื่อถึงที่สะพานท่านก็ข้ามสะพาน ถึงที่ลำรางสั้นๆ ท่านสุเมธดาบส ทอดตัวลงไปเป็นสะพานเอง ให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเดินบนตัวท่านข้ามไปทำอย่างนี้ตลอดมา จนกระทั่งถึงสำนักของท่านเมื่อถึงสำนักแล้ว ก็ปรากฏว่า ท่านสุเมธดาบส กับบรรดาบริษัททั้งหลายทำธรรมาสน์ครบถ้วนบริบูรณ์ที่นั่งที่พิงอย่างนี้ที่อาตมานั่งนี่ มีแต่ผลไม้เพราะอยู่ในป่าก่อนที่พระพุทธเจ้าจะฉันพระพุทธเจ้าไม่ได้ฉันก่อน พระพุทธเจ้าเข้านิโรธสมาบัติ พระอรหันต์ทั้งหมดเข้าผลสมาบัติ ตอนนี้งงไหมญาติโยม สนอง เข้าใจไหม นิโรธสมาบัติหมายความว่า เข้าสมาบัติสูงสุดในพระพุทธศาสนาระงับทุกขเวทนา บรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายเข้าสมาบัติตามผล คือผลของใครแค่ไหนเข้าตามนั้นจิตสงบ เมื่อจิตสงบแล้วจึงฉันภัตตาหาร ถ้าญาติโยมพุทธบริษัทจะถามว่าทำไมจึงต้องทำอย่างนั้น ก็ขอตอบให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ก็ดี ยามปกติถ้าเราถวายภัตตาหารท่านก็ดี หรือถวายของเคี้ยวของฉันของใช้ก็ตามเป็นเงินเป็นทองก็ตาม ปกติมีอานิสงส์มากอยู่แล้ว
    การถวายทานแก่พระอรหันต์น่ะมีอานิสงส์มากเป็นกรณีพิเศษ ถวายทานแก่พระธรรมดาปกติธรรมดา ยังไม่ได้ฌานสมาบัติก็ได้บุญเล็กน้อย ถวายทานแก่พระที่ได้ฌานสมาบัติก็มีอานิสงส์มากขึ้น ถึงได้บอกว่าถวายทานแก่พระที่ไมได้ฌานสมาบัติร้อยครั้ง มีผลไม่เท่ากับพระที่ได้ฌานสมาบัติแล้วหนึ่งครั้งถวายทานแก่พระที่ได้ฌานสมาบัติร้อยครั้งมีผลไม่เท่ากับถวายทานแก่พระโสดาบันหนึ่งครั้งอย่างนี้เป็นต้น จนกระทั่งถึงพระอรหันต์ถือว่ามีบุญมากขึ้น ทีนี้การถวายทานพระอรหันต์ร้อยครั้งมีผลไม่เท่ากับถวายทานพระปัจเจกพุทธเจ้าหนึ่งครั้ง การถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยครั้งผลไม่เท่ากับถวายกับพระพุทธเจ้าเองหนึ่งครั้ง การถวายทานพระพุทธเจ้าเองร้อยครั้ง ผลไม่เท่ากับถวายสังฆทานหนึ่งครั้ง อย่างที่บรรดาญาติโยมเอาแกงถวายพระวันนี้ นี่เขาเรียกว่าสังฆทาน กล่าวว่าการถวายสังฆทานร้อยครั้งมีผลไม่เท่าถวายวิหารทานหนึ่งครั้งเรื่องมันก็มีอยู่ว่า ถ้าปกติเป็นอย่างนี้ทีนี้เพื่อต้องการให้บรรดาฤาษีทั้งหลายนี้มีอานิสงส์มากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงเข้านิโรธสมาบัติ พระอรหันต์เข้าผลสมาบัติ เมื่อถวายทานกับพระออกจากสมาบัตินี่มีอานิสงส์คูณกว่าเดิมเป็นแสนเท่า สมมุติว่ายามปกติพระพุทธเจ้าก็มีอานิสงส์มากอยู่แล้วถ้าถวายทานกับท่าน ถ้าเพิ่งออกจากสมาบัติแล้ว เอาแสนคูณยังไม่พอ เลยอานิสงส์เพิ่มมากขึ้น

    เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จก็ปรากฏว่า สุเมธดาบส เข้าไปกราบพระพุทธเจ้า บอกข้าพระพุทธเจ้าขอปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเบื้องหน้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์นั้นก็ทรงพยากรณ์ว่า จากนี้ไปอีกประมาณ 91 กัป เธอจะได้เป็นพระพุทธเจ้ามีนามว่า พระสมณโคดม ต่อจากนั้นไปก็มีบริษัทอีกสองคน ฤาษีอีกสองท่านเข้ามากราบกระผมขอเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าองค์นี้ อีกคนหนึ่งบอกว่าผมขอเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าก็ทราบด้วยว่าเธอจะได้สมความปรารถนา ต่อไปจะเกิดมีนามว่า สารีปุตตะ และ โมคคัลลาน์ ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์มาถึงตอนนี้จึงกล่าวว่า ภิขเว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตตั้ง พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ไม่ได้เห็นแก่หน้าบุคคล ไม่ใช่ถือว่า พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นลูกของมหาเศรษฐีจึงตั้งเป็นอัครสาวก ความจริง พระยส ก็เป็นลูกของมหาเศรษฐีเหมือนกันและเป็นพระอรหันต์ก่อนทำไมอาตมาจึงไม่ตั้ง อย่าง พระยสะ หรือพระยส นั่นก็มีความต้องการแค่ความเป็นอรหันต์เท่านั้น เวลานี้ตถาคตก็ทำให้เป็นอรหันต์แล้ว แล้วเวลานี้อัครสาวกทั้งสองเขาปรารถนามาตั้งสมัยก่อนโน้นจึงได้ตั้งเป็นอัครสาวก

    นี่ละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้ความจริงไม่นึกว่าจะลงไหว เมื่อคืนไม่สบายมาก เสียงก็ไม่ค่อยออก ก็เป็นอันว่า วันนี้เรามาทำบุญกันวันปีใหม่ ปีใหม่ของโบราณนะ สนองพวกเราเป็นคนแก่ทันสมัยนั้น ใช่ไหม เราก็ทิ้งของเก่า ของเก่ามีอะไรบ้าง มีความเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นปกติ พวกเราที่นั่งทุกคนนี่เกิด แก่ เจ็บ ตาย กันมานับไม่ถ้วนอย่านับเป็นชาติเลย นับเป็นอสงไขยกัปก็นับไม่ถ้วนแล้ว อสงไขยแปลว่านับไม่ได้ ทีนี้คิดเป็นอสงไขยก็ยังนับกันไม่ได้ทีนี้บุคคลใดก็ตามที่มีความรู้สึกว่า ชาตินี้เราตายแล้วเราต้องการไปสวรรค์ชาตินี้เราตายแล้วเราต้องการไปพรหมโลก ชาตินี้เราตายแล้วเราต้องการไปนิพพานอย่างนี้ถือว่าเป็นคนที่มีบารมีดีแล้ว ถ้าคนที่มีบารมีไม่เข้มข้น เขาจะไม่มีความรู้สึกอย่างนี้ จะถือว่าการทำบุญการกินเหล้าไม่ได้ กินเหล้าสบายกว่า สนุกกว่านี่แสดงว่าอีกนานนักพวกนั้นบารมีจึงจะปรากฏเวลานี้บรรดาญาติโยมทั้งหมดที่มานั่งอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่จริงๆ ก็มาจากต่างจังหวัด เห็นคนที่ตำบลนี้แล้วสองสามคนแล้ววันนี้ที่ได้มาไกลๆ อย่างนี้ก็เพราะว่าอาศัยบารมีดี อันนี้ไม่ใช่ยอนะ พูดให้ฟังตามความเป็นจริง ถ้าบารมีไม่ดีจริงๆ ไม่มาแบบนี้กันได้ เพราะวัดข้างบ้านก็มีทำไมจึงต้องมาที่นี่ ที่มาที่นี่มีอะไรบ้าง แต่ความจริงวัดนี้กับวัดอื่นก็ดีเหมือนกันๆ เพราะเป็นวัดเหมือนกัน พระก็เป็นพระเหมือนกันก็มีความสำคัญอยู่ว่า พระที่วัดนี้กับเด็กนักเรียนของที่วัดนี้ทั้งหมด ทั้งหมดเวลาจะบวชเข้ามา ต้องได้สมาบัติก่อนคำว่า มโนมยิทธิ ก็คือ สมาบัติ สมาบัติ ก็แปลว่า ความเข้าถึง ถึงความเป็นฌานสมาบัติ ฌานสมาบัตินี่มีสี่แบบถ้าแบบธรรมดาๆ ก็หมายความว่า ได้ฌานเฉยๆ ไม่เห็นอะไรทั้งหมดแบบขั้นที่สองที่เรียกว่า วิชชาสาม แบบนี้ได้ฌานก็ต้องมีความเป็นทิพย์ของจิตเห็นโน่นเห็นนี่ได้แบบที่สามก็เรียกว่าได้ อภิญญา เห็นแล้วไปโน่นไปนี่ได้เป็นต้นเป็นอันว่าทุกคนได้สมาบัติ พระทุกองค์เคยผ่านสมาบัติแล้ว แต่พระองค์ไหนจะขี้เกียจเข้าสมาบัติบ้างอาตมาก็ไม่ทราบเหมือนกัน ถ้าสมมติว่าพระองค์ไหนขี้เกียจเข้าสมาบัติ องค์นั้นก็ลงนรกไปเลยก็แล้วกันนะ สมาบัตินี่ได้แล้วต้องทำให้เป็นปกติ และบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทที่นั่งอยู่นี่ก็ได้สมาบัติได้หรือไม่ได้ คุณสนอง ได้ไหม ฉันเทศน์ให้ฟังได้ยินไหม ได้ยินนะ รู้เรื่องไหน รู้เรื่องไม่ใช่การเทศน์ ฟังได้ยินแปลว่าตั้งใจฟังเทศน์ด้วยความจริงใจ ได้ยินเสียงนี้ก็รู้เรื่องในการที่พระเทศน์ว่าพระเทศน์ว่าอย่างไรบ้างเวลานี้ จิตเป็นสมาธิเป็นสมาธิเข้าถึงอุปจารสมาธิ ก็ถือว่าเข้าถึงอุปจารสมาบัติ แปลว่าเข้าถึงใกล้ฌาน เพราะการฟังเสียงนี่เข้าถึงเป็นปฐมฌานไม่ได้ ต้องเข้าถึงอุปจารฌาน ก็ถือว่าทุกคน ต่างคนต่างก็มีสมาบัติ คือเข้าถึงพร้อมในความดีทีนี้หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ต้องการอย่างพระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ต้องการความพ้นจากความตาย ก็มีการแนะนำอีกนิดเดียวให้ทุกคนคิดไว้เสมอว่า ก่อนจะหลับไหว้พระตั้ง นโม สามจบว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง แล้วว่า พุทโธ สักสองสามครั้งด้วยความตั้งใจจริง ตัดในใจอธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าตายจากชาตินี้แล้วขอไปนิพพานจุดเดียว หลังจากนั้นก็นึก พุทโธ ไปจนกว่าจะหลับหรือไม่หลับก็ตามใจ พอตื่นใหม่ๆ ยังไม่ทันลุกขึ้นก็นึกในใจอีกนึกถึงพระพุทธเจ้าท่านว่า ข้าพเจ้าตายวันนี้หรือเมื่อไหร่ก็ตาม ขอไปนิพพานจุดเดียว แล้วก็ตั้งใจทำบุญอย่างนี้ทำได้บ้าง รักษาศีลได้บ้าง พลาดไปบ้าง อะไรบ้าง เป็นของธรรมดาในเวลาใกล้จะตายจริงๆ บุญทั้งหมดจะเข้ามารวมตัวกันและในที่สุดท่านก็เข้านิพพาน การจะเข้านิพพานได้เป็นของไม่ยากบรรดาท่านพุทธบริษัท การจะเข้านิพพานได้ก็มีสองอย่างคือ หนึ่ง ก่อนจะตายเห็นพระพุทธเจ้าชัดและอยู่เบื้องหน้า คนนั้นไปนิพพานแน่ และประการที่สองก่อนจะตายทุกคนมีความเบื่อหน่ายในร่างกาย เพราะมีทุกขเวทนามาก คิดว่าร่างกายนี้เป็นของไม่ดี เราไม่ต้องการ มันอีกเพียงแค่นี้เราจะไปนิพพานทันทีเอาละ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายการเทศน์เรื่อง โมกขธรรม ของ พระโมคคัลลาน์พระสารีบุตร ก็หมดเวลาพอดี ขอให้จบพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐานอ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทั้งสามประการจงดลบันดาลให้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน จงมีแต่ความสุขสวัสดิพิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผลให้จงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้งสี่ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาจงทุกประการรับประทานวิสัชนามาในธัมมิกถา ก็ขอยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

    ภาพจาก คุณสุพัฒน์
    โพสต์โดย achaya

    1504628768_464_วันนี้วันพระ-ตรงกับวันพ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  4. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  5. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  6. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    เตรียมทำบุญวันสงกรานต์
    อานิสงส์ขนทรายเข้าวัด อานิสงส์สร้างเจดีย์บรรจุกระดูกพ่อแม่ และการบังสุกุล

    ผู้ถาม “กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกอยากจะทราบว่า การขนทรายเข้าวัด กับการสรงน้ำพระ นั้นจะมีอานิสงส์เป็นประการใดเจ้าค่ะ”
    หลวงพ่อ “ต่างกันเยอะ”
    ผู้ถาม “มีอีกนิดนะครับ ถ้าลูกขนปูนขนเหล็กเข้าวัดบ้าง จะมีอานิสงส์เหมือนขนทรายหรือเปล่าเจ้าคะ”
    หลวงพ่อ “ไม่เหมือนๆ. อ้าว … ขนปูนขนเหล็กเข้าวัดท่าซุงมีอานิสงส์มาก”
    ผู้ถาม “งั้นทำบุญเรื่องอื่นก็ไม่ได้เรื่องสินี่”
    หลวงพ่อ “ฮ้า. ได้เรื่อง….ทำไมล่ะ”
    ผู้ถาม “เมื่อก่อนเห็นขนทรายดีอย่างนั้นได้ผลอย่างงี้. เอ้า. คราวนี้มา เกิดขนเหล็กดีกว่า ขนปูนดีกว่า”
    หลวงพ่อ “ฉันไม่ได้บอกว่าดี. ฉันบอกเฉพาะเข้าวัดท่าซุง. เข้าวัดอื่นฉันไม่ได้. ก็มี อานิสงส์ทุกอย่างเหมือนกัน”
    เป็นวิหารทานเหมือนกันนะ. ทรายก็วิหารทาน เหล็กก็วิหารทาน. ปูนก็วิหารทาน. แต่ว่าเขาขาดอย่างไหน เราให้อย่างนั้นจะดีมาก
    ผู้ถาม “ตกลงว่าอานิสงส์ได้ทั้งนั้นนะครับ”
    หลวงพ่อ “ใช่ๆ”


    ผู้ถาม “สร้างเจดีย์ไว้ในพระพุทธศาสนา แล้วเอากระดูกพ่อกระดูกแม่บรรจุไว้ ถามว่าพ่อแม่จะมีอานิสงส์หรือไม่ และผู้สร้างจะมีอานิสงส์อย่างไรครับ”
    หลวงพ่อ “พ่อแม่มีอานิสงส์หรือไม่ ผู้สร้างมีอานิสงส์หรือไม่…ยังไม่ตอบ แต่ขอตอบว่าพระมีอานิสงส์”
    ผู้ถาม “พระได้ยังไงครับ”
    หลวงพ่อ “บังสกุลทุกปี อนิจจา วะตะ สังขารา..”
    ผู้ถาม “อ๋อ..” (หัวเราะ)
    หลวงพ่อ “ทำไมล่ะ พ่อแม่จะมีอานิสงส์หรือไม่..อยู่ที่ลูกว่าอุทิศส่วนกุศลให้หรือเปล่า แล้วก็ท่านมีโอกาสโมทนาหรือเปล่า เราก็ทราบอยู่แล้ว ถ้าให้แล้วไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้ ลูกได้แน่ ได้สองชั้น สร้างเจดีย์ไว้ในเขตวัดก็เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เอากระดูกพ่อแม่ไปตั้งในนั้นเป็นกตัญญูกตเวที พระพุทธเจ้าว่ายังไง

    “นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา”

    ผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณแก่ท่านผู้มีอุปการะแล้ว และตอบสนองคุณท่าน เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นคนดี

    นี่ว่าภาษาไทยนะ เขามีอานิสงส์ 2-3 ชั้น พอถึงปีถึงเวลาสงกรานต์ เขานิมนต์พระมาบังสกุล ไอ้ตัวบังสกุลนี่ความจริงเป็นวิปัสสนาญาณ แต่คนคิดไม่ถึง พระบังสกุลตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปเป็นคณะสงฆ์ใช่ไหม ถวายสตางค์องค์ละสลึงหรือสองสลึงก็ตามเป็นสังฆทาน อานิสงส์ใหญ่ แล้วก็เป็นการน้อมใจด้านความกตัญญูรู้คุณ ทำทุกปีเขาได้ทุกปี

    การฟังบังสุกุลนี้ก่อนนั้น เมื่อวานเราก็พูดไปทีแล้ว ก็บอกว่าพระทุกองค์ เวลาบังสุกุลก็ให้คิดว่าบังสุกุลตัวเอง ไม่ใช่บังสุกุลผี ญาติโยมเหมือนกัน ก็ฟังแล้วก็ตั้งใจไปด้วยว่า “ศัพท์บังสุกุลนี่เป็นศัพท์ถึงนิพพาน” เป็นตัวตรงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสที่พระบอกว่า

    อนิจจา วะตะ สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เราก็คิดว่าเกิดมาแล้วมันไม่ทรงตัวเห็นชัด
    อุปปาทะวะยะธัมมิโน เกิดแล้วมันก็เสื่อมไปทุกวัน
    อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ ในที่สุดมันก็ตาย
    แต่ข้อสุดท้ายนี่ พระอินทร์ ตรัส เวลาที่พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ท่านมาถึงท่านก็ตรัสพระก็เลยเอามารวมกันไว้ว่า

    เตสัง วูปะสะโม สุโข การเข้าไปสงบกายนั่นชื่อว่าเป็นสุข

    คำว่า “การสงบกาย” หมายความว่าเราไม่มีในขันธ์ ๕ ไม่ใช่หมายถึงตาย ไอ้ตายจริงๆ ถ้ากิเลสมันยังมีอยู่ มันไม่สุขหรอก..มันลงนรก! มันทุกข์กว่านี้

    คำว่า “การสงบกาย” เพราะว่าพระพุทธเจ้านี่ก่อนที่นิพพาน ท่านสงบกายมาแล้ว สงบกายมาตั้งแต่วันบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา การเห็นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา ไม่มีในพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าถือว่าร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุนํ้า ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ประชุมกันเท่านั้น เป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว เราจริงคือจิตที่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์หรือว่าเต็มไปด้วยความสกปรก ถ้าจิตบริสุทธิ์ที่สุดก็ไป…”นิพพาน” สกปรกก็ไป…”อบายภูมิ”

    ฉะนั้น การที่ทำให้จิตบริสุทธิ์จริงๆ มีตัวอยู่ตัวเดียวคือ “ตัดกาย” ถ้าจิตสงบในกายเสียตัวเดียว เราก็ถึงนิพพาน

    พยายามคิดให้ดีว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อย่าไปว่าแบบนกแก้วนกขุนทองนะ ให้นึกให้เห็นจริงๆ ตัดได้จริงๆ ความยุ่งจิตมันไม่มี เห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันจะพังไม่ห่วง ร่างกายเราก็ไม่ห่วง ร่างกายคนอื่นก็ไม่ห่วง ในด้านการเมตตาปรานีเป็นของธรรมดา เราทำเพื่อเราเป็นสุข เขาจะสุขหรือไม่สุข เราให้เขา เรามีกิน เราให้เขา เขามีใช้ แต่ว่าใจเราเป็นสุข ด้วยจิตของเราหมดกิเลส จึงหมดโลภะ มีเมตตา นี่เป็นปัจจัยให้เราถึงนิพพาน
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารจึงได้ตรัสว่า

    อนิจจา วะตะ สังขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
    อุปปาทะวะยะธัมมิโน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป
    อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

    นี่เวลาพระเณรแต่ละคนน่ะให้คิดอย่างนี้ มองดูศพกับมองเรา เขาให้มองตัวเอง แล้วก็มองศพเทียบกัน ไม่ใช่บังสุกุล ตั้งราคาศพกัน…สวัสดี*

    จากหนังสือ “หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม”
    ภาพจาก www.watthasung.com
    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  7. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  8. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    ตำนานสงกรานต์
    แสดงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๒๑

    สำหรับวันนี้จะได้นำเรื่องราวที่โบราณาจารย์ประพันธ์ไว้ หรือที่เรียกกันว่า “ตำนานสงกรานต์” มาเล่าสู่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย
    ตามที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย มาบำเพ็ญกุศลประจำเขต ประจำปักษ์ ประจำเหตุตามฤดูกาล ที่เราเรียกกันว่า วันสงกรานต์ วันนี้ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๒๑ เป็นวันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ คํ่า เดือน ๕ จัดว่าการบำเพ็ญกุศลในจรรยาสัมมาปฏิบัติ นับตั้งแต่วันตรุษเป็นต้นมาเป็นวันที่เจ็ด
    แต่ทว่าวันนี้ปรากฏว่าบรรดาพุทธบริษัทมากท่าน มากหน้าหลายตาด้วยกันมาบำเพ็ญกุศล เป็นอันว่าแสดงว่า บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมีจิตเคารพนับถือในธรรมที่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าตรัส
    ตามที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์กล่าวว่า
    “ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง”
    ธรรมแลย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรม
    หมายความว่า บุคคลใดมีอารมณ์จิตทรงศีลก็ดี มีจิตให้ทานการบริจาค คิดว่าจะให้ทานเป็นปกติก็ดี ตั้งใจสดับรับรสพระพุทธพจน์เทศนาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็ดี หรือเจริญสมถกรรมฐานหรือวิปัสสนากรรมฐานก็ดี อย่างนี้เรียกว่าเป็น “ผู้ทรงธรรม” หรือว่าเราเรียกกันว่าเป็น “ผู้ใคร่ธรรม” การพอใจในทาน องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
    “ทานัง สัคคโส ปาณัง”
    ทานเป็นบันไดให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์

    เวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านพากันถวายทาน จัดว่าเป็น “สังฆทาน” เพราะว่าไม่เฉพาะเจาะจงภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งรูปใดว่าในเรื่องภัตตาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่บรรดาพุทธบริษัทตั้งไว้ข้างพระสงฆ์ข้างหน้านี้ บางส่วนจัดเป็น “สังฆทาน” ก็มี บางส่วนจัดว่าเป็น “ธรรมทาน” ก็มี ทานประเภทนี้จัดว่าอยู่ในประเภทสังฆทานเช่นเดียวกัน แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อกล่าวถึงธรรมทานกับสังฆทานแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วตรัสว่า
    “การให้ธรรมเป็นทานย่อมชนะการให้ทานทั้งปวง”
    อันนี้เพราะว่าผลแห่งการถวายสังฆทาน ให้แล้วชื่อว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นสลายตัวไป ก็ชื่อว่าหมดไป แต่อานิสงส์ไม่หมด องค์สมเด็จพระบรมสุคตตรัสว่า
    “ผลแห่งการถวายสังฆทานครั้งหนึ่ง บุคคลผู้ถวายสังฆทานแล้ว เกิดไปกี่ชาติก็ตาม ขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจจะไม่มีแก่ผู้นั้น จนกว่าจะเข้าพระนิพพาน”
    สำหรับ “ธรรมทาน” นั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า “เป็นปัจจัยให้เกิดปัญญา”
    ฉะนั้น ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าธรรมทานเลิศกว่า ก็เพราะว่า ธรรมทานย่อมสามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานโดยฉับพลันได้ อาจจะเข้านิพพานก่อนวัตถุทานก็ได้
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารจึงตรัสว่า ธรรมทานเลิศกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ดี ทานทั้ง ๒ ประการนี้ องค์สมเด็จพระชินศรีก็ตรัสว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมคือเคารพธรรม ถ้าคนไม่มีความใคร่ในธรรมคือความดี ก็ให้ทานทั้ง ๒ ประการนี้ไม่ได้

    และสำหรับวันนี้ อาตมภาพก็จะขอนำพระธรรมเทศนาเรื่องเกี่ยวกับ “สงกรานต์” มาแสดงแก่ท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า ใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาทีเศษ เพราะว่าถ้าจะไม่เทศน์เรื่อง “วันสงกรานต์” ก็รู้สึกว่ามันจะขาดไป เมื่อคืนนี้ตอน ๕ ทุ่มเศษ นอนฟังวิทยุเขาพูดเรื่องสงกรานต์ รู้สึกว่าคนพูดเรื่องสงกรานต์จะขาดอะไรไปนิดหนึ่ง เวลาของเขาน้อยก็จะนำมาขยายความในตอนนี้ คนเมื่อคืนนี้ คนที่นั่งนี่ฟังวิทยุอยู่หรือเปล่าไม่ทราบ อาตมาก็เลือกฟังแต่เฉพาะเกี่ยวกับธรรมะ เป็นอันว่าเรื่องของสงกรานต์นี่ตามตำนาน จะว่าบาลีก็ไม่ถูก จะว่ากล่าวว่าพระพุทธเจ้าตรัสก็ไม่แน่ใจนัก หรือว่าพราหมณ์เป็นคนพูดก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะว่าในตำนานนั้นไม่ได้อ้างว่าใครกล่าว กล่าวไว้แต่เพียงลอยๆ แต่เพียงว่ามันตรงกับเหตุการณ์ของพระพุทธศาสนา จึงถือว่าการกล่าวตำนานนั้นไม่ผิด

    เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระธรรมสามิสรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ทรงอุบัติขึ้นในเวลานั้น มีเด็กชายคนหนึ่งมีนามว่า “ธรรมบาล” เป็นลูกชายของพ่อบ้าน สมัยนั้นยังไม่มีเจ้าเมืองใหญ่ปกครองในเขตประเทศ ได้เกิดกลุ่มบุคคลหนึ่ง เป็นบุคคลน้อยๆ มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๑ เขตอำเภอของสมัยนี้
    ฉะนั้น บุคคลผู้ปกครองเขตเขาจะเรียกกันว่า “พ่อบ้าน” ถ้าเวลานี้เราจะต้องเรียกกันว่าประเทศใดประเทศหนึ่ง ลูกชายของพ่อบ้านเกิดขึ้นมาแล้วปรากฏว่าเป็นคนฉลาด แล้วในตระกูลของพ่อบ้านนั้นก็ดี และในเขตประเทศนั้นก็ดีทั้งหมด ปรากฏว่าเป็นคนปฏิบัติในกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ ไม่บกพร่อง ตั้งแต่หัวหน้าประเทศจนถึงลูกน้องปลายเขตเป็นคนหางแถว ทุกคนตั้งตนอยู่ในกรรมบถ ๑๐ ประการด้วยกันทุกคน
    เมื่อธรรมบาลลูกชายของหัวหน้าชาวบ้านเกิดขึ้นมา ก็ต้องปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ เช่นเดียวกัน ต่อมาเมื่อธรรมบาลโตขึ้นแล้ว ประเดี๋ยวขอย้อนนิดหนึ่ง
    สำหรับ “กรรมบถ ๑๐” ที่จะใช้มีศีล ๕ แต่ว่าเป็นทั้งศีลและทั้งธรรม คือ:-
    (๑) ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    (๒) ไม่ลักไม่ขโมยของของบุคคลอื่น
    (๓) ไม่ทำกาเมสุมิจฉาจาร
    (๔) ไม่พูดโกหกมดเท็จ
    (๕) ไม่พูดคำหยาบ
    (๖) ไม่พูดส่อเสียดยุยงตะแคงแสะให้เขาแตกร้าวกัน แล้วก็
    (๗) ไม่พูดจาเพ้อเจ้อเหลวไหล
    (๘) ไม่โลภอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาเป็นของตน ไม่ขโมย ความโลภที่คิดอยากจะได้ไม่มี
    (๙) ไม่มีความโกรธ ความพยาบาท คือมีความเมตตาปรานีเป็นต้น
    (๑๐) ไม่มีความเห็นผิด คือไม่ให้อารมณ์ที่เป็นอกุศลให้เกิดขึ้นในใจ
    ทั้ง ๑๐ ประการนี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงเรียกว่า “กรรมบถ ๑๐” คือมีทั้งศีลและธรรมร่วมกัน
    ฉะนั้น ธรรมบาลก็ดี คนในเขตบ้านทั้งหมดจึงปรากฏว่า ถ้าหากยังไม่เต็มอายุขัยกันเพียงใด เขาไม่ตายกัน เป็นประเทศที่ขี้เกียจตาย ตายตั้งแต่เด็ก ตายตั้งแต่วัยหนุ่มวัยสาวอย่างนี้ไม่มี ทุกคนจะต้องตายเมื่อถึงอายุขัยหมดทุกคนเพราะ “กรรมบถ ๑๐” ประการเป็นมหากุศลดลใจให้คนทั้งหลายมีความสุข แล้วก็มีอายุยืน มีรูปร่างหน้าตาสะสวย พูดจาจะรู้เรื่องได้ง่าย
    เมื่อธรรมบาลกับเพื่อนทั้งหลายไปเรียนวิทยาการที่ เมืองตักสิลา วันหนึ่งปรากฏว่ามีคนตายเกิดขึ้น และคนตายนั้นก็เป็นคนที่มีอายุน้อย ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ เขานำไปเผากัน ธรรมบาลเห็นเข้าก็แปลกใจ จึงเข้าไปถามท่านอาจารย์ว่า “ทำไมคนที่ยังหนุ่มอยู่ อายุยังน้อย ทำไมจึงตาย?”
    อาจารย์ก็บอกว่า “ขึ้นชื่อว่าชีวิตมันไม่มีนิมิตเป็นเครื่องหมาย จะตายเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วแต่กรรมของบุคคล”
    ธรรมบาลก็แสดงอาการแปลกใจ เขาบอกบ้านเขาคนไม่แก่ไม่เคยตาย เมื่ออาจารย์ซักไซร้ไล่เรียงได้ความว่า เขตเมืองของธรรมบาลนั้น จะตายเฉพาะคนแก่เท่านั้น คนหนุ่มคนสาวไม่มีการตาย อาจารย์ก็จำไว้
    วันหนึ่งท่านอาจารย์จึงได้นำกระดูกคนที่ตายแล้ว และกระดูกร่อนแล้ว เอามาล้างเสียให้ดี แล้วก็ห่อผ้าขาวใส่โกศมีเครื่องประดับเรียบร้อยแล้ว ก็เชิญไปเขตบ้านหมู่บ้านของธรรมบาล แต่ไม่ได้แจ้งให้ธรรมบาลทราบ ไปบอกกับพ่อของธรรมบาลว่า บัดนี้ลูกชายเธอตายเสียแล้ว เพราะเป็นโรคปัจจุบัน ท่านอาจารย์ให้คณะศิษย์แห่แหนกันไป เจ้าของบ้านเจ้าของเมืองเขาก็แปลกใจ ท่านเจ้าบ้านไม่เชื่อหรอกว่าลูกชายเขาจะตาย เพราะคนในเมืองนี้ที่จะตายเมื่อยังไม่ถึงอายุขัยมันไม่มี ทุกคนเข้ามาประชุมกันแล้วยืนยันแบบนี้
    คณะศิษย์ที่ไปก็กลับมาบอกอาจารย์เป็นความลับ ท่านอาจารย์ก็ไปสอบถามอีกทีหนึ่ง
    เป็นอันว่าคนทั้งประเทศเขายืนยันเหมือนกัน จึงได้ถามว่า “คนเมืองนี้นั้น ทำไมไม่ตายก่อนอายุขัย?” พ่อเมืองจึงได้บอกว่า “เพราะทุกคนเขาปฏิบัติในกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ”
    หลังจากนั้น เมื่อธรรมบาลศึกษาวิทยาการสำเร็จ เป็นคนมีปัญญามากคล้าย พระพุทธโฆษาจารย์ กลับมาบ้านพ่อก็ให้เป็นครูสอนคนทั้งหลายในประเทศสอนธรรมะ แต่ปรากฏว่ามีอยู่วันหนึ่ง ข่าวความดีของบุคคลในเขตนี้ และก็ความมีปัญญาของท่านธรรมบาลทั่วประเทศทั่วโลก ทั้งเทวดาและพรหมก็พากันสรรเสริญธรรมบาล เพราะนอกจากปฏิบัติอยู่ในธรรม คือทรงกรรมบถ ๑๐ ประการแล้ว ก็ยังเป็นคนฉลาดในการสอนคนให้เข้าใจในการประพฤติในธรรม

    มีพรหมองค์หนึ่งมีนามว่า “กบิลพรหม” อยากจะพิสูจน์ความฉลาดของท่านธรรมบาล จึงได้ลงมาหาท่านธรรมบาล และประกาศให้ประชาชนทั้งหลาย มาประชุมกันที่พระลานหลวง แล้วก็ตั้งปัญหาถามท่านธรรมบาล ๓ ข้อด้วยกัน ให้เวลา ๗ วัน ถ้าหากว่าท่านธรรมบาลแก้ได้ ท่านท้าวมหาพรหมชื่อว่า “กบิลพรหม” จะยอมให้ท่านธรรมบาลตัดหัวท่านเสีย ถ้าหากว่าท่านธรรมบาลแก้ไม่ได้ ท่านท้าวมหาพรหมก็จะตัดคอตัดหัวของธรรมบาลเช่นเดียวกัน เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เมื่อถามปัญหา
    ปัญหาที่ถามมีว่า ถามว่า “ราศีมันมีเท่าไหร่? เวลาเช้าอยู่ที่ไหน? เวลากลางวันและเวลาเย็นอยู่ที่ไหน?”
    ท่านท้าวมหาพรหมถามปัญหาแล้ว ท่านธรรมบาลแก้ไม่ได้ ให้เวลา ๗ วัน ท่านท้าวมหาพรหมก็กลับ ท่านธรรมบาลไปถามใครต่อใครในประเทศนั้น หรือแม้แต่ครูบาอาจารย์ที่เคยศึกษามาก่อน บรรดาท่านทั้งหลายนั้นก็ไม่ทราบว่า “ราศีมันมีเท่าไหร่ และตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนเย็นมันอยู่ที่ไหน” ไม่มีใครทราบ

    เป็นอันว่าเป็นเวลาล่วงไปแล้วถึงวันที่ ๖ ท่านธรรมบาลก็คิดว่า คราวนี้เราต้องตายแน่ แต่การที่ตายต่อหน้าประชาชนมันไม่เป็นการสมควร ถ้ากระไรก็ดีเราจะเข้าป่า ไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า หนีหน้าท้าวมหาพรหม เป็นอันว่าในกาลนั้น ได้นอนอยู่ใต้ต้นไม้สูงต้นหนึ่ง แต่เมื่อคืนนี้วิทยุบอกว่าไปนอนอยู่บนปราสาท ๗ ชั้น ไม่ใช่ต้นไม้ต้นสูงต้นหนึ่ง ต้นไม้ต้นนั้นก็มีนกอินทรี คำว่า “อินทรี” แปลว่า นกใหญ่ ๒ ตัวผัวเมีย และก็มีลูกเล็กอีก ๑ ตัว
    ตัวเมียจึงได้ถามตัวผัวบอกว่า “วันนี้ไม่ไปหาอาหารมาเลี้ยงลูกหรือ อาหารคือเนื้อสัตว์ที่สำรองไว้มันเหลือน้อยเต็มที” นกอินทรีผู้เป็นสามีก็ตอบว่า “ฉันไม่ไป เพราะวันพรุ่งนี้ เราก็จะได้เนื้อของธรรมบาลมากินแล้ว อร่อยกว่า เพราะว่าเป็นเนื้อคน” นกอินทรีตัวผู้พูดเป็นนัย
    ตัวเมียจึงได้ถามว่า “เพราะอะไร?” นกอินทรีตัวผู้ก็บอกว่า “เมื่อก่อนหน้านี้ประมาณ ๖ วัน ท่านกบิลพรหมมาถามปัญหากับธรรมบาล แต่ธรรมบาลตอบไม่ได้ เวลานี้ก็ยังคิดไม่ได้ เมื่อคิดไม่ได้แล้ว ท่านท้าวมหาพรหมจะต้องตัดเศียรของท่านธรรมบาลทิ้งไป เพราะว่าแก้ปัญหาไม่ได้ตามสัญญา”
    นกอินทรีผู้เป็นเมียจึงได้ถามสามีว่า “ปัญหาที่ท้าวมหาพรหมถามว่าอย่างไร?” นกอินทรีตัวผู้จึงได้ตอบว่า “ปัญหาไม่ง่าย เออ..ถามว่า ราศีมันมีเท่าไหร่ เวลาเช้าอยู่ที่ไหน เวลากลางวันอยู่ที่ไหน เวลาเย็นมันอยู่ที่ไหน เพียงเท่านี้ ธรรมบาลก็ตอบไม่ได้ จะต้องตายในวันพรุ่งนี้”
    นกอินทรีผู้เป็นเมียจึงได้ถามว่า “แล้วท่านล่ะรู้หรือเปล่า?” นกอินทรีตัวผู้บอกว่า “ฉันรู้!” สงสัยนกอินทรีคู่นี้น่ากลัวเป็นนกอินทรีเทวดา เสือกรู้! รู้ไปทุกอย่าง อย่างว่านะ เพราะว่าคนที่รักษากรรมบถ ๑๐
    ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
    “ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง”
    ธรรมแลย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรม

    ใช่ไหม..ฟังแล้วจำ! ไม่ต้องไปมองหน้าใคร ถวายทานไม่ยอมประเคนพระสักที ให้ชาวบ้านเขาประเคนคนเดียว เป็นอันว่านกอินทรีผัวจึงได้ตอบว่า ราศีมันมี ๓ ความจริงคำว่ามี ๓ มันหนึ่งเดียวพูดไปมันมีราศีเดียวเอง
    คำว่า “ราศี” หมายถึง มิ่งขวัญ มิ่งขวัญมีในที่ ๓ สถาน แต่ความจริงเรียกว่าหนึ่งก็ได้ จะเรียกว่า ๓ ก็ได้ ทำไมจะเรียกว่า ๓ ก็ต้องว่าอย่างนี้
    เวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า คนที่ตื่นนอนขึ้นมาจึงต้องชำระล้างหน้าให้สะอาด
    เวลากลางวันราศีอยู่ที่อก มันร้อนจัด บุคคลต้องเอานํ้าราดอก ชุ่มอกให้มันเย็น
    เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า ก่อนจะเข้านอนจะต้องล้างเท้าก่อน
    เมื่อฟังกันมา สงสัยนกอินทรีตัวนี้ต้องเป็นเทวดา ไม่ใช่นกอินทรีแท้ ธรรมบาลนอนอยู่โคนต้นก็คิดว่า โอ้หนอ..นกอินทรีหน้ามน มานั่งนินทาอยู่ตรงนี้พอดี เรามานอนพอดี แต่ว่าการนินทาของนกอินทรีนี้ เราถือว่าเป็นผู้ให้ศีลและเป็นผู้ให้ธรรม ตั้งใจเคารพในนกอินทรีแล้วก็กลับ
    พอวันรุ่งขึ้น ท่านกบิลพรหมก็มา ประชาชนที่ลานหลวงเต็มอัตรา และจึงถามปัญหากับท่านธรรมบาล ท่านธรรมบาลก็ตอบปัญหาได้ถูกต้อง ท่านกบิลพรหมจึงได้บอกว่า “เมื่อเราแพ้ เราก็ยอมให้ท่านตัดศีรษะ”
    เมื่อคืนนี้ทางวิทยุเขาบอกว่า ธรรมบาลตัดศีรษะท้าวมหาพรหมชื่อว่า “กบิลพรหม” อันนี้ตำนานไม่ได้เขียนไว้อย่างนั้น
    เมื่อคนรักษากรรมบถ ๑๐ ประการตัดศีรษะใครไม่ได้ เป็นอันว่าตามตำนานท่านบอกว่า ท่านธรรมบาลจึงได้บอกว่า
    “เราไม่ได้มีปัญญาแก้เอง ความรู้นั้นมาจากคู่นกอินทรีคู่ผัวตัวเมียคู่นั้น ฉะนั้นเมื่อเราแก้เพราะโดยอาศัยปัญญาของบุคคลอื่น เราจะลงโทษท่านไม่ได้”
    ท่านกบิลพรหมก็บอกว่า “การตอบปัญหาจะตอบด้วยปัญญาของตนเอง หรือถามใครก็ตาม ถ้าตอบถูกก็ต้องถือว่าเป็นผู้ตอบถูกแล้ว และก็เป็นผู้ตอบ ฉะนั้นท่านต้องตัดศีรษะเรา” ท่านธรรมบาลก็ไม่ยอมตัด เพราะเกรงว่าจะขาดธรรม
    ฉะนั้น ท่านกบิลพรหมจึงได้เรียกเอาลูกสาวทั้ง ๗ คน เอ๊ะ! พรหมมีลูกสาวด้วย ความจริงนั้นไม่มี พรหมเขามีคนเดียว พรหมเสือกมีลูกสาวได้ก็ยุ่งนะ นี่ตกลงว่าเป็นตำนานนะ คำว่าลูกสาวนี่อาจจะเป็นเทพธิดา ๗ คน ที่ในอดีตเคยเป็นลูกของท้าวมหาพรหมองค์นี้มา
    เมื่อเรียกมาจึงได้บอกว่า “เจ้าจงเอาพานทองมารองรับ เพราะว่าศีรษะของพ่อนี่ เวลานี้พ่อแพ้ธรรมบาล ถ้าหากว่าพ่อจะต้องตัดหัวของพ่อ ถ้าหัวของพ่อหล่นลงไปในพื้นแผ่นดินมันจะเป็นไฟลุกไปทั้งแผ่นดิน คนจะลำบาก อาจจะตายหมด ถ้าตกไปในมหาสมุทรก็จะเป็นไฟลุก นํ้าในมหาสมุทรจะแห้ง ถ้าจะค้างในอากาศ ไฟก็จะลุกในอากาศ เป็นอันว่าเป็นโทษถึง ๓ สถาน ถ้ากระไรก็ดี พ่อจะตัดคอของพ่อ เจ้าจงรีบเอาพานทองมารองรับ อย่าให้เลือดและศีรษะตกลงบนพื้นปฐพี”
    พรหมดันมีเลือดเสียอีก ยุ่งเหมือนกัน ฮือ..ที่ว่าพรหมมีเลือดนี่มันตำนานนะ! ตำนานนานเข้าก็ชักแปรธาตุไป เป็นอันว่าลูกสาวธิดาทั้ง ๗ คนของท่าน ก็เอาพานทองมารองรับ แล้วท้าวกบิลพรหมก็ตัดศีรษะของท่าน อธิษฐานไว้ว่า ตัดแล้วศีรษะจงกระเด็นไปอยู่ในพานทอง
    เป็นอันว่าวันตัดศีรษะวันนั้น เป็นวันสงกรานต์พอดี เวลานี้เขาถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันสำคัญ ความจริงไม่ถูก ปีนี้สงกรานต์จริงๆ เป็นวันที่ ๑๖ แต่เขาถือเป็นประเพณีว่า วันที่ ๑๓ เป็นวันสงกรานต์ ตามจักรราศีปีนี้เป็นวันที่ ๑๖ เวลาใกล้ๆ ๑๘.๐๐ น. บรรดาธิดาผู้เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม จะนำศีรษะของพ่อแห่รอบเขาพระสุเมรุ เอ..นี่ใครเคยเห็นหัวพรหมขาดไหมนี่ ความจริงหัวพรหมขาดจริงๆ มันก็ไม่มี และจะเอาหัวใครมาขาดกัน ถ้าเราจะกล่าวตามบาลี จะค้นไปจริงๆ ค้นหนังสือมันก็ไม่พบ เมื่อค้นในหนังสือไม่พบก็ต้องค้นในอากาศ เป็นอันว่าถ้าค้นในอากาศ ถ้าจะมีการตัดศีรษะกันจริงๆ ก็แสดงว่าพรหมองค์นั้นเป็นพรหมอนาคามี และก็จะกำลังเข้าพระนิพพาน เพราะเริ่มได้ก้าวพระอรหันต์แล้ว ศีรษะของท้าวมหาพรหมนี่จะทรงอยู่ได้เพราะการอธิษฐาน
    ขณะที่พรหมองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ คำว่าตัดศีรษะหรือฆ่าให้ตายสำหรับชีวิตเทวดาไม่มี เขาฆ่ากันไม่ได้ แต่เป็นเรื่องกล่าวกันมา มีพระฎีกาคณาจารย์ทั้งหลายบอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของฎีกาจารย์ สำหรับพรหมองค์นั้นเป็นอนาคามีแล้วก็เป็นอรหันต์ เมื่อเป็นอรหันต์แล้วใกล้จะนิพพานก็อยากจะทำประโยชน์ให้กับหมู่คน จึงได้หาเหตุมาหาเรื่องกับธรรมบาล เพื่อจะแสดงว่าธรรมบาลนี้เป็นคนมีปัญญามาก ควรที่คนทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติในด้านกรรมบถ ๑๐ ประการ และธรรมส่วนอื่น
    ฉะนั้น จึงได้มาหาธรรมบาลและอธิษฐานไว้ว่า ขอให้ศีรษะเรานี้จงทรงอยู่ หมายความว่าไม่ให้สลายตัวไป เมื่อตรงเวลาวันเวลาใดที่เราตัดหัวนี่ ขอบุตรธิดานี้ของเราทั้งหมด จงทำการแห่แหน ๓ รอบ เขาพระสุเมรุ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีของธรรมบาล คือตัดหัวบูชาธรรมของธรรมบาลนั่นเอง ก็เป็นอันว่าถ้าพรหมต้องบูชาแล้ว คนดีต้องบูชา

    ตามตำนานได้กล่าวต่อมาว่า เมื่อถึงวันสงกรานต์เทพธิดาทั้ง ๗ องค์ ก็ผลัดเปลี่ยนเวรกันไป แต่ละปีไปคนละปีๆ ถึงวันที่มีการตัดศีรษะวันใด ปีแรกเทพธิดาองค์ที่เป็นพี่สาวคนโต ก็นำศีรษะนำแห่รอบ เขาพระสุเมรุ สำหรับปีนี้ไม่ทราบว่าเป็นลูกสาวองค์ที่เท่าไหร่ ถ้าไม่ผิดยินเสียงแว่วๆ ว่าองค์ที่ ๔ นำศีรษะของบิดาของตนนี้เวียนรอบ เขาพระสุเมรุ วันที่ ๑๖ เวลาใกล้ ๑๘ นาฬิกา ตามโหราธิบดี สมัยก่อนก็ถือว่าปีนี้เวลาที่นางเทพธิดานำศีรษะแห่เวียนรอบ บอกว่ามีพญานาคให้นํ้าตัวเดียว ตามโบราณนั้นบอกว่า ถ้าพญานาคให้นํ้าตัวเดียวหรือน้อยตัวนี้นํ้ามาก ทว่าให้นํ้ากันหลายตัวนี่เกี่ยงกันให้นํ้า นํ้าน้อย ตัวเดียวนาคนั้นก็พ่นทีเดียว แต่อาจารย์หง่าเพราะตาบอดก็เลยพ่นนํ้าใหญ่ ไม่รู้มากน้อยก็ตาม เลยพ่นไป นี่ยังไม่ดูปฏิทิน เขาว่าอย่างนั้น เขาว่าปีนี้นํ้าจะมาก แต่มันจะไปมากที่ไหนก็ไม่รู้
    เป็นอันว่าเวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัท มาบำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระบรมครู ฟังเทศน์แล้วก็ต้องคิด คิดบอกว่า ใครเขาบอกว่าพรหมตัดหัวตัวเองขาด อย่าไปเชื่อใครเขา ธรรมบาลตัดหัวพรหมไม่ได้ เพราะมีธรรม พรหมตัดหัวแล้ว หัวจะค้างไว้ก็ตายไม่ได้ จะตายเพราะอำนาจอธิษฐานอย่างเดียว คือคำว่าตายของพระพรหมองค์นี้คือท่านจะนิพพาน และหัวที่ขาดไปนั้น ไม่มีทางที่จะตัดได้ อาวุธไม่สามารถจะทำลายร่างกายชีวิตของพรหมและเทวดาได้ นอกจากพรหมท่านเป็นอรหันต์แล้ว ท่านอธิษฐานศีรษะไว้ให้บรรดามนุษย์ทั้งหลายก็ดี เทวดาก็ดี พรหมทั้งหลายมีความรู้สึกว่า บุคคลใดผู้ใคร่ในธรรม
    “ธัมโม หเว รักขติ ธัมมจาริง”
    ท่านกล่าวว่า “บุคคลใดผู้ใคร่ในธรรม บุคคลนั้นเป็นผู้เจริญ”
    เมื่อเราพบบุคคลใดเขามีความเจริญอย่างนี้ ควรจะบูชาบุคคลนั้นด้วยการปฏิบัติตามนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างคือควรที่จะบูชาด้วย อามิส คือให้ข้าวให้ของนี่อย่างหนึ่ง
    และประการที่สุด ก็ควรบูชาบุคคลผู้ทรงธรรมด้วยชีวิต ที่ท่านทำไว้เป็นนิมิต เพื่อบรรดามนุษย์อยู่ข้างหลัง จะได้ปฏิบัติตาม หรือมีความรู้สึก ฉะนั้นจึงได้ทรงอธิษฐานศีรษะไว้ให้นางธิดาทั้งหลายแห่เวียนรอบ เขาพระสุเมรุ ปีหนึ่งแห่ครั้งหนึ่ง หนึ่งปีแห่ครั้งหนึ่ง เขาพระสุเมรุ นี่เป็นที่อยู่ของเทวดา ๖ ชั้น มี พระอินทร์ เป็นต้น ๑ ปีของเราแห่ครั้งหนึ่ง
    สำหรับเทวดา อายุ ๑๐๐ ปี ของเราเป็น ๑ วันของเขา เป็นอันว่า ๑ วันของเทวดา นางเทพธิดาต้องแห่กันถึง ๑๐๐ ครั้ง เป็นการกระตุ้นเตือนใจบรรดาเทวดาทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายจงทำความดี” และความดีสำหรับศีรษะท่านนี้ เวลานี้ท่านเข้านิพพานไปแล้ว ทว่ามีความเคารพในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว แล้วประพฤติปฏิบัติตาม
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัทมองดูเวลา อาจจะหมดเหลืออีกนิดหนึ่ง…สวัสดี*

    ภาพจาก MK
    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  9. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  10. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  11. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  12. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    สะเดาะเคราะห์

    “ดิฉันเป็นคนมีเคราะห์มากเจ้าค่ะ อยากจะให้หลวงพ่อสะเดาะเคราะห์ให้หน่อยได้ไหมเจ้าคะ…?”
    “ได้ เอาสตางค์มาก่อนซิ”
    “ให้แล้วจะหมดเคราะห์ไหมเจ้าคะ?”
    “ฉันก็หมดเคราะห์ไป”
    “???”

    “ให้ฉันมา ๑,๐๐๐ ฉันหมดเคราะห์ไป ๑,๐๐๐ ให้ฉัน ๑๐,๐๐๐ ฉันหมดเคราะห์ไป ๑๐,๐๐๐ นี่ไง…สะเดาะเคราะห์”
    สะเดาะเคราะห์อย่างที่ชาวบ้านเขานิมนต์พระไปบังสุกุลเป็น แล้วก็บังสุกุลตาย พอบังสุกุลตายเสร็จก็เลยตายไปเลย
    ต่อไปเขาก็นิมนต์พระไปสวดอภิธรรม แล้วก็บังสุกุล แล้วก็สวดมาติกา พอตอนเผา พระก็สวดหน้าไฟ บรรจุกระดูก พระได้สตางค์ตลอด ๗ วัน พระได้อีก ๕๐ วัน พระได้อีก ๑๐๐ วันพระได้อีก ต่อไปเขาทำบุญวันตายเมื่อไร พระได้อีกดีไหมล่ะ…

    การทำบุญสะเดาะเคราะห์ เขาต้องใช้กำลังของ อตีตังสญาณ ถอยหลังดูเคราะห์ว่า ไอ้เคราะห์มันมาจากไหน และทำยังไงมันถึงจะมีผล ถ้าทำกันส่งเดช เสร็จ ดีไม่ดี ไปเชิญเอาแขกมาเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูกัน (บางทีแขกก็กินหมูเหมือนกันนะ)

    การทำบุญสะเดาะเคราะห์ เขาถือว่าเป็นการทำให้เป็นบุญขึ้นมา ถ้าทำเรื่องการชดใช้หนี้ต้องถามเขา ไอ้เคราะห์จริงๆ มันหนีไม่พ้นหรอก อย่างมากที่สุดได้แค่หนักเป็นเบาไปนิดเดียว เพราะคำว่าเคราะห์มันเกิดมาจากกรรมที่เป็นอกุศลและกรรมที่เป็นอกุศลเราหนีได้ที่ไหน หนีไม่ได้
    สิ่งที่จะบรรเทาได้ก็สร้างกรรมที่เป็นกุศลให้มันหนัก และให้มีกำลังใจสูงกว่า เหมือนหมาไล่กัดเรา เราก็ซ้อมวิ่งไว้ ถ้าเรามีกำลังมาก เราวิ่งเร็วกว่า หมาตามกัดไม่ทัน

    อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ให้คนมีศีลบริสุทธ์ และก็มีไตรสรณคมน์ครบ จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ อันนี้เป็นพระโสดาบัน ตอนนี้กฎของกรรมจะให้ผล แค่เรามีขันธ์ ๕ แต่ไม่สามารถจะดึงเราไปสู่อบายภูมิ คือเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน อันนี้ลงไม่ได้ ถ้าเรามีขันธ์ ๕ เพียงไร มันรุกรานเราได้เว้นไว้แต่กรรมเล็กน้อย กรรมที่มันรุกรานเรา ก็เช่น
    ป่วยไข้ไม่สบาย มีเรื่องเดือดร้อน หมายความว่า มีอุบัติเหตุอันนี้มันมาจากโทษ ปาณาติบาต
    ของหาย ไฟไหม้บ้าน ลมพัดบ้าน อะไรพวกนี้ โจรปล้นบ้าน น้ำท่วม ทรัพย์สินพัง นี่เป็นกรรมมาจากโทษของอทินนาทาน
    และคนในบังคับบัญชาว่าไม่ได้ เราบังคับบัญชาไม่อยู่ อันนี้ก็มาจากโทษ กาเมสุมิจฉาจาร
    ถ้าเรายังพูดอะไรไม่มีใครรับฟัง พูดจริงๆใครเขาก็ไม่อยากเชื่อ อันนี้โทษมาจาก มุสาวาท
    ถ้าเราปวดหัวปวดประสาท อันนี้มาจากโทษ การดื่มสุราเมรัย ก็ทำมาก่อนแล้ว จะหนีไปไหนล่ะ ใช่ไหม กินเหล้าแล้วบอกว่า กูไม่เมา ใช้ได้ไหม ไอ้บอกไม่เมาน่ะ บอกได้ แต่ลุกไม่ขึ้น… ใช่ไหม
    นี่…ไอ้กฎทั้งหลายเหล่านี้ ก็คือเป็นเคราะห์ เป็นกรรมที่เป็นอกุศลเดิมที่เราสร้างมันไว้ แล้วมันก็ติดตามมา ไอ้กรรมเหล่านี้ไม่ใช่ว่าจะตามเรามาทุกๆจุด กรรมบางอย่างมันตามเรามาตั้ง ๑,๐๐๐ ชาติ มันยังไม่มีโอกาสให้ผลก็มี มันก็คอยจังหวะอยู่นั่นแหละ ถ้าจังหวะของเราเผลอเมื่อไร มันก็หวดเมื่อนั้น
    กรรมบางอย่างให้ผลในปัจจุบัน
    กรรมบางอย่างให้ผลในชาติต่อไป
    กรรมบางอย่างมันให้ผล ๑๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐ ชาติ จึงจะให้ผลได้ เพราะอะไร
    สมมติว่าคนนั้นทำกรรมชั่วประเภทนี้ไว้แล้ว ไปเกิดใหม่ก็ทำความชั่วใหม่ แต่ว่าตอนปลายมือกลับไปทำความดี พอจะตายจิตกลับไปนึกถึงกรรมที่เป็นกุศล ก็ไปสวรรค์ก่อน ไอ้กรรมพวกนั้นก็ให้ผลไม่ได้ ในที่สุดมาให้ผลตอนที่เป็นอรหันต์ ถูกโจรทุบ แม้แต่พระอรหันต์ยังพ้นไม่ได้แล้ว คุณจะพ้นได้อย่างไรล่ะ…ใช่ไหม
    ไม่ใช่พระอรหันต์อย่างเดียว พระพุทธเจ้าก็ยังหนีไม่ได้ แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย คือ ในสมัยที่ท่านเดินจากปาวาลเจดีย์ พอไปถึงระหว่างทางระยะทาง ๖๐ โยชน์ ท่านบอก
    “อานนท์ ตถาคต เหนื่อยเหลือเกิน ปูผ้าสังฆาฎิ ตถาคตจะพัก” ตอนนั้น พระอานนท์ร้องไห้ เพราะว่า … พระพุทธเจ้าเดิน ๑๐๐ โยชน์ ไม่เคยบ่นเหนื่อย แต่ท่านป่วยเต็มที่นะ ป่วยมานาน ป่วยก่อนปลงอายุสังขารหลายเดือน แล้วก็กลางเดือนจึงตัดสินใจว่า นับแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน เราจะปรินิพพานที่ระหว่างนางรังทั้งคู่ เมืองกุสินารา ตอนนั้นไม่รับยาท่านชีวกโกมารภัจถวายยา ท่านไม่ยอมรับ
    พอเดินไปถึงตรงนั้น ท่านจึงบอกว่า
    “อานนท์ ตถาคตกระหายน้ำเหลือเกิน ไปตักน้ำมาหน่อย”
    ก็พอดีไปถึงแม่น้ำ แม่น้ำมันตื้นเกวียน ๕๐๐ เล่มข้ามไปพอดีน้ำมันก็ขุ่น พระอานนท์ก็ถือบาตรกลับมา บอกว่า น้ำขุ่นเพราะเกวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งข้ามไป ท่านบอกพระอานนท์ให้กลับไปใหม่ พอกลับไปน้ำใสแจ๋ว แล้วท่านก็ตักน้ำมาถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงฉัน
    กฎของกรรมเดิมที่เกวียนทำให้น้ำขุ่นและน้ำใสนี่ สมัยหนึ่งท่านเป็นลูกชาวนา เวลาเขาปลดไถแล้ว พ่อแม่ก็ให้เอาควายไปกินน้ำใกล้ๆ มีบ่อเล็กๆ ๒ บ่อ เมื่อควายไปถึงปุบ มันก็จุ่มปากในบ่อที่ขุ่น
    ท่านก็คิดในใจว่า ควายมันเหนื่อยกินน้ำขุ่นมันไม่สมควร จึงดึงควายย้ายไปกินบ่อน้ำใส กรรมเพียงแค่นี้มันมาเล่นงานก่อนนิพพาน นี่เจตนาดีนะ ไม่ใช่เจตนาชั่ว เห็นไหม
    แต่อย่าลืมว่าเวลานั้นควายมันกระหายนะ น้ำขุ่นมันอาจจะอร่อยก็ได้นะใช่ไหม เพราะบ่อน้ำมันอยู่คู่กัน แต่ว่านิสัยคนมีเมตตาสัตว์ มันเหน็ดเหนื่อย ถ้ากินน้ำขุ่นไม่สมควร ควรจะกินน้ำใส
    เห็นไหม แค่นี้มันยังเอา แล้วคุณจะให้มันหมดเคราะห์
    “ทำดี หนีเคราะห์ ดีกว่านะ”

    จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์ ฉบับรวมเล่ม ปีที่ ๑ * ๒๕๒๓ * ๑ – ๘ (ฉบับที่ ๕) หน้า ๓๘๙ – ๓๙๒
    ภาพจาก คุณสุพัฒน์
    โพสต์โดย achaya

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  13. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    วันที่ 6 เม.ย.56
    เวลา 13:00 น. นักเรียน ชาย -หญิง พสธ. ทยอยรายงานตัว
    ต่อจากนั้น นักเรียนพสธ.ช่วยกันทำความสะอาดศาลา 2ไร่
    เวลา 16:30 น.นักเรียน พสธ ได้รับฟังการอบรมจากพระไพบูลย์

    วันที่ 7 เม.ย 2556
    ช่วงเช้า นักเรียน พสธ.ร่วมกันทำความสะอาดล้างศาลา 12 ไร่
    เวลา 13.00 น. นักเรียนชายปลงผมที่ศาลา 4 ไร่

    วันที่ 8 เม.ย 2556
    เวลา 9.00 น. นักเรียน พสธ. ได้มากราบพระครูสังฆรักษ์สุรจิต สุรจิตโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ที่ตึกอำนวยการ
    เวลา 10.00 น. นักเรียนร่วมกันซ้อมขานนาคเณรและซ้อมบวชพราหมณ์หญิงเวลา 14.00 น. นักเรียน ร.ร.พสธ.พร้อมกันที่วิหารร้อยเมตรเพื่อทำการบวชเณรและบวชชีพราหมณ์
    เวลา 14:20 น. พระอุทัยธรรมานุวัตร รองเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

    ภาพโดย tong
    โพสโดย Mk

    ดูเพิ่มเติมที่ http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=1700

    -6-เม-ย-56.jpg
    1504968559_515_วันที่-6-เม-ย-56.jpg
    1504968560_29_วันที่-6-เม-ย-56.jpg
    1504968560_814_วันที่-6-เม-ย-56.jpg
    1504968560_0_วันที่-6-เม-ย-56.jpg
    1504968561_578_วันที่-6-เม-ย-56.jpg
    1504968561_642_วันที่-6-เม-ย-56.jpg
    1504968561_295_วันที่-6-เม-ย-56.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  14. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  15. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  16. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    พระครูสมุห์พิชิต ฐิตวีโร, หลวงพี่ชัยวัฒน์, พระอาจารย์ย่งศรี, หลวงพี่วารีสมบูรณ์ คณะทั้งหมดนั่งเครื่องบินจาก สนามบินสุวรรณภูมิ – มิวนิค มาถึงวัดพุทธไทยเนิร์นแบร์กเรียบร้อยแล้ว และได้ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ที่ประเทศเยอรมันนี ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=1707ภาพโดย ร่มไทร, www.watthasung.com, ชูชัย โพสต์โดย MK

    -ฐิตวีโ.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  17. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    พิธีสะเดาะเคราะห์รอบสอง เริ่มเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ.ศาลา ๑๒ ไร่
    กำหนดการวันนี้
    วันจันทร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๖ (วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕)
    เวลา ๐๗.๐๐ น. ทำบุญใส่บาตร
    เวลา ๐๗.๔๕ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์ ขณะที่พระภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารเปิด วี.ดี.โอ.เทปพระธรรมเทศนา โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่พระราชพรหมยาน
    เวลา ๐๙.๕๐ น. ท่านเจ้าคุณพระภาวนากิจวิมล เจ้าอาวาส ทำพิธีบวงสรวง
    เวลา ๑๐.๐๐ น. ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ รอบที่ ๑ (ใช้ผ้าขาว)
    เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่ศาลา ๑๒ ไร่
    เวลา ๑๔.๐๐ น. ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ รอบที่ ๒ รอบสุดท้าย (ใช้ผ้าขาว)
    เวลา ๑๕.๐๐ น. สรงน้ำพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ที่ศาลา ๑๒ ไร่ (งดทำวัตรเย็น)

    ….งดฝึกมโนมยิทธิที่วิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ตั้งแต่วันที่ ๑๓-๑๕ เม.ย….

    ขอเชิญญาติโยมร่วมก่อพระเจดีย์ทรายที่หน้าปราสาททองคำ ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ ถึง ๑๘.๐๐ น.

    ภาพโดย Not
    โพสต์โดย MK

    .jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  18. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    บรรยากาศงานทำบุญวันสงกรานต์ , พิธีบวงสรวงบูรณะวิหารหลวงพ่อใหญ่ และ พิธีสะเดาะเคราะห์คลุมผ้าขาว ๑๓-๑๕ เม.ย ๒๕๕๖ งานนี้หน่วยกาชาด ได้รับบริจาคโลหิตจากผู้ศรัทธาที่มาในงานสะเดาะเคราะห์ จำนวน ๑๒๗ คนๆ ละ ๓๕๐ cc. ขอโมทนาเป็นอย่างสูง ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=1705#%CA%A7%A1%C3%D2%B9%B5%EC_2ภาพโดย ต้อง,จเร๕,จริยา,เกรียง,สุพัฒน์โพสต์โดย Mk

    .jpg
    1504968071_180_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968072_400_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968072_555_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968072_466_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968073_591_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968073_234_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968074_350_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968074_853_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968074_802_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968075_960_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg
    1504968075_738_บรรยากาศงานทำบุญวันสงก.jpg

    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
  19. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
  20. ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2017
    โพสต์:
    6,570
    กระทู้เรื่องเด่น:
    9
    ค่าพลัง:
    +395
    -๑๕-เม-ย.jpg

    เทศน์วันสงกรานต์ ๑๕ เม.ย ๒๕๕๖ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง)
    …เทศน์เรื่อง อานิสงส์สังฆทาน อานิสงส์รักษาศีล อานิสงส์บวชเณร งูเหลือม-ค้างคาวฟังธรรม และการสะเดาะเคราะห์
    โพสต์โดย MK


    ที่มา มูลนิธิหลวงพ่อปาน-พระมหาวีระ ถาวโร
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...