ข้อสงสัยกสินสีขาว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย GoonS, 27 มิถุนายน 2014.

  1. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    คือผมฝึกกสินสีขาวนะคับ
    มีข้อสงสัยในการวิวัฒนาการช่วงที่ภาพตอนหลับตามันจะเหมือนกับลืมตา
    มันเปลี่ยนยังไง

    1.เราลืมตาเพ่งมอง เเละก็หลับตา ทำบ่อยๆ จนภาพขอบกสินชัดขึ้น
    เเละเราก็จำภาพที่ชัดนี้ได้นานมากช่วงหลับตา นานเเบบชัด
    เเละมันจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาว อาจเปลี่ยนตรงขอบหรือตรงกลางก่อนก็ได้
    ในช่วงที่เราหลับตา หรือเป็นเเบบที่
    2.เราลืมตาเพ่งมอง เเละก็หลับตา ทำซักพัก(ของผมประมาณครึ่งชม.)จนถึงจุดๆหนึ่ง
    พอเราลืมตาเพ่งมอง เเละก็หลับตาต่อไป จะเริ่มเห็นภาพกสินวงกลมเป็นสีอ่อนๆ
    เกือบขาวเเต่ก็ยังไม่ขาว(เเต่หลับตาซักพักก็เข้มขึ้นในช่วงเเรก ถ้าทำต่อสีขาวๆจะ
    ค่อยๆอยู่นานขึ้น) ส่วนด้านนอกวงกลมจะเป็นสีเข้ม ประมาณสีวงกลมกับพื้นหลัง
    สลับกับช่วงเเรกที่เพ่ง(ช่วงเเรกคือตอนหลับตาเห็นขาวเป็นดำ ดำเป็นขาว)

    หรือต้องยังไม่ถูกซักอย่าง
    คือในกรณี1เคยเห็นครั้งเดียวเมื่อตอนที่เคยฝึกหลายปีมาเเล้ว ตอนนี้กลับมาฝึกใหม่ซึ่ง ตอนนี้เป็นกรณีที่2อยู่ ไม่รู้ถูกหรือผิด รบกวนผู้ที่รู้หรือพอรู้ตอบปัญหาให้
    หน่อยนะครับ ไม่เอาประมาณถามว่าฝึกกสินทำไมเเล้วเชียร์นิพพานนะ(กลัวจะเจอคำตอบเเบบนั้น ดักไว้ก่อน)
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เบื้องต้นที่คุณเห็นก็เห็นอย่างนั้นละครับ
    ที่ทำมาก็ถูกต้องแล้ว
    ผมขอเพิ่มอีกอย่างที่คุณยังไม่ได้ทำก็คือให้ลืมตาเพ่งให้นานที่สุด เพ่งจนล้าและตามันจะค่อยๆหลับลงเอง ลองดูครับจะได้เห็นนิมิตรที่หลากหลายมากขึ้น
    ทุกสิ่งอย่างตั้งบนกฏไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยง ดังนั้นนิมิตรมันก็ไม่เที่ยงครับ คุณจะอยากให้นิมิตรมันเป็นอย่างไรก็ไม่ได้หรอกครับ มันก็เป็นของเขาอย่างที่คุณเห็นนั้นละครับ
    การฝึกกสินผลก็คือสมาธิ หากทำจริงทำจังผลนั้นก็ไม่ใช่ย่อยๆนะ เอาตามหลักการเลยว่าสุขติมีสวรรค์เป็นเบี้องต้น ขั้นสูงก็พรหมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2014
  3. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ขอบคูณครับสำหรับคำเเนะนำ ตอนนี้ผมนับถึง5หลับตา เดวจะลองเพ่งลืมตานานๆดูบ้าง


    ลืมพิมพ์คำถามว่าเป็นเเบบไหนระหว่างเเบบที่1กับเเบบที่2
    สรุปภาพนิมิตจะเป็นไปตามข้อ2ใช่เปล่าครับ.....
     
  4. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ควรใช้แบบที่ 1 นะครับ แต่ปรับเล็กน้อย คือให้มองวัตถุต้นแบบ หลับตาลง แล้วพยายามสร้างภาพของวัตถุนั้น ขึ้นมาในความคิดจากความจำ ที่ได้มาจากการมองวัตถุต้นแบบ จนได้ภาพของวัตถุต้นแบบเกิดขึ้นในใจอย่างชัดเจน

    ตอบไปแล้ว ผมขอร่วมเสวนาด้วยคนล่ะกัน ขอคุยแบบคนไม่มีความรู้ การปฏิบัติก็ยังไม่ได้เรื่องได้ราวนะครับ การเสวนาขอเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงปฏิบัติล้วนๆ ครับ เพราะเรื่องที่อยู่ในตำรา ก็มีการพูดถึงหลายครั้งแล้ว ผมคงไม่ขอกล่าวซ้ำอีก

    เรื่องภาพนิมิตกสิณ ผมจะพิจารณาแค่ภาพ 2 ชนิด คือควรจะใช้ภาพติดตาหรือติดใจ?

    ภาพติดตาคือ ภาพที่เกิดขึ้นหลังเปลือกตา ภายหลังจากที่มองวัตถุต้นแบบ แล้วหลับตาลง สีสันจะตรงข้ามกับวัตถุที่มองอยู่ก่อนหน้า

    ภาพติดใจคือ ภาพที่เกิดขึ้นในใจ ไม่ได้เห็นที่ลูกตา แต่เห็นเป็นภาพเกิดขึ้นในใจ

    ภาพติดตา ผมมองว่าเป็นส่วนที่ตกค้างของระบบประสาทตา เป็นปรากฏการณ์ของร่างกายที่จะต้องเป็นแบบนั้น เห็นมีบางสำนัก ท่านก็สอนให้เพ่งภาพอันนี้เหมือนกัน ผมคงจะไม่ไปก้าวก่ายในวิธีการของท่าน แต่ถ้าเป็นผม ผมไม่ได้ใช้วิธีแบบนี้ เพราะดูท่าแล้ว จะไม่ตรงแนวทางของกสิณเท่าไหร่

    ภาพติดใจ ตรงนี้ต้องยอมรับว่าการอธิบายให้ผู้เริ่มฝึกเข้าใจเรื่องนี้ ค่อนข้างยาก เพราะส่วนมาก เราจะคุ้นเคยกับการใช้ลูกตามองสิ่งต่างๆ แต่ไม่คุ้นเคยกับการสร้างภาพให้เกิด ให้เห็นขึ้นในใจ เวลาเรามองวัตถุต้นแบบแล้วหลับตาลง ภาพที่เห็นก็จะดำมืดทันที ก็ถูกต้อง เพราะลูกตาไม่มีหน่วยความจำภายใน หลับตาแล้วภาพก็หายไปเป็นธรรมดา ทีนี้ก็ต้องมาควานหากันว่า แล้วภาพในใจที่ว่านั่น อยู่ที่ตรงไหน ตรงนี้ เป็นความลำบากอย่างหนึ่งของผู้ฝึกในระยะเริ่มแรก

    สำหรับผม ผมจะใช้ภาพติดใจมาฝึกในด้านกสิณมากกว่า

    ทีนี้มาคุยเรื่องภาพติดใจกันสักเล็กน้อย

    ภาพติดใจ จะฝึกหัดให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

    เรื่องของกสิณ ในระยะเริ่มแรก จะต้องอาศัย "สัญญา" เป็นตัวนำก่อน คือการมองวัตถุต้นแบบ แล้วพยายามจำลักษณะ สีสัน วรรณะของวัตถุนั้นให้ได้ แล้วหลับตาลง พยายามนึกถึงภาพที่ได้มองเมื่อสักครู่ พยายามสร้างภาพของสิ่งนั้นขึ้นมาในใจ (ตอนนี้ที่ลูกตามืดไปหมดแล้ว) ใหม่ๆ การสร้างภาพมักจะไม่มีภาพอะไรเกิดขึ้นในใจหรอกครับ แต่การฝึกแบบนี้ เขาไม่ได้ทำกันเพียงครั้ง สองครั้ง แต่เขาทำกันในจำนวนนับไม่ถ้วน เป็นพัน เป็นหมื่นครั้ง

    การทำซ้ำๆ ซากๆ ไปนานๆ จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าความเคยชินของจิตเกิดขึ้น ความเคยชินของจิตที่ทำซ้ำๆ ไปมา จะก่อให้เกิดเห็นเป็นภาพของวัตถุนั้นๆ เกิดขึ้นมาในใจได้ (ในตอนนี้ที่ลูกตาก็ยังมืดอยู่นะครับ แต่ภาพจะเกิดขึ้นลางๆ แล้วที่ในใจ ซึ่งเป็นคนละส่วน คนละที่กัน ผู้ฝึกจะเริ่มรับรู้ได้แล้ว)

    ทีนี้เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น ภาพที่กำหนดได้ในใจ ก็จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนกับภาพของวัตถุต้นแบบ ตอนนี้คือสิ่งที่ในตำราท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต" ได้เกิดขึ้นแล้ว ต้องหมั่นประคองรักษาสิ่งนี้กันต่อไป

    ในขั้นอุคคหนิมิตนี้นะครับ คุณเจ้าของกระทู้ ผมนี้เหมือนคนเป็นโรคจิตเลยทีเดียว เพราะจะย้ำคิด ย้ำทำบ่อยมาก จริงๆคือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องรักษาของสิ่งนี้ให้อยู่ตลอดเวลามากกว่า ในระหว่างวัน ไม่ว่าจะทำกิจการงานอะไรอยู่ก็ตาม จะต้องคอยแบ่งใจส่วนหนึ่งมาจับอุคคหนิมิตนี้ (เอาใจทำงานสักร้อยละ 80 อีกร้อยละ 20 แบ่งมาเฝ้าจับ เฝ้าประคองอุคคหนิมิต ที่ว่านี้) ที่ว่าโรคจิต ย้ำคิดย้ำทำคือ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ จะทำอะไร อุคคหนิมิตนี้ จะต้องปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับตาหรือลืมตา จะปล่อยให้คลาดสายตาไปสักเสี้ยววินาทีนั้น ไม่ได้เลย

    บ้าดีไหมครับ? แต่ถึงจะบ้า ก็บ้าในทางที่ดี บ้าอยู่กับศีล บ้าอยู่กับสมาธิ บ้ากับสิ่งที่ดี คิดได้อย่างนี้ก็สบายใจ

    ที่ผมยกตัวอย่างความบ้าของผมขึ้นมา เพื่อจะบอกว่าการฝึกกสิณ ต้องมีอิทธิบาทสี่ อยู่ในใจ เพราะถ้าท่านใดมีอิทธิบาทสี่แล้ว การกระทำการสิ่งใดๆ ก็จะไม่เป็นเรื่องน่าเบื่อ น่าเหนื่อย การฝึกอย่างนี้ ต้องอาศัยใจรักจริงๆ เพราะดูแล้วน่าเหนื่อยมาก แต่ถ้าท่านที่มีอิทธิบาทสี่แล้ว ท่านจะไม่เหนื่อย ท่านจะสนุก

    การย้ำคิด ย้ำทำแบบนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็ว (ก็เรากิน อยู่ หลับ นอน ร่วมกับอุคคหนิมิตอยู่ตลอด จะไม่มีการพัฒนาเลยก็ให้รู้ไป)

    เมื่อมาถึงขั้นนี้ การรักษาอุคคหนิมิตก็ไม่ใช่ของยาก และจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามกำลังของสมาธิ จนกลายเป็นปฏิภาคนิมิต ถ้าทำไปจนกระทั่งนิมิตนั้นเริ่มจะเป็นประกายพรึก มีความสว่างเป็นพิเศษ ก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะนั่นแสดงว่ากำลังเข้าสู่อาณาเขตของฌานสี่ ในกสิณกองนั้นๆ แล้ว

    ที่พยายามกล่าวมาทั้งหมดเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ บางสิ่ง บางอย่าง ตำราท่านเขียนมาในหลักกว้างๆ ให้เป็นสิ่งเทียบเคียง แต่ตามธรรมชาติของคนเราแต่ละคน ก็จะแตกต่างกัน ดังนั้น ปรากฏการณ์ทางจิตของแต่ละคนก็จะมีบางส่วนปลีกย่อย ที่แตกต่างจากที่กล่าวไว้ในตำราก็มีเหมือนกัน คือการปฏิบัติ จริงๆ แล้ว ก็จะไม่เป๊ะๆ ตามตำราเท่าไหร่ (อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ)

    ก็ขอจบการเสวนาเพียงเท่านี้ก่อน สรุปคือให้ความเห็นว่าถ้าเป็นผมจะใช้ภาพติดใจในการฝึกกสิณ ไม่ใช้ภาพติดตา แล้วก็เล่าประสบการณ์การฝึกในช่วงอุคคหนิมิต เล็กน้อยเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    ช่วยตอบอะไรเจ้าของกระทู้ไม่ได้เลย เพราะความรู้น้อย ประสบการณ์น้อย ได้แต่มาคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ก็ต้องขออภัยต่อเจ้าของกระทู้มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
     
  5. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ^_^ ยังไงก็ขอบคุณนะครับ ดูจากคำเเนะนำเเล้วก็น่าจะมีความรู้อย่าไม่น้อยเหมือนกัน
    ติดใจเเบบคล้ายๆวิชาเปิดโลกสายหลวงปู่ดู่ใช่รึเปล่าครับ??
    ผมก็สับสนไม่ค่อยมั่นใจว่าใช้เเบบติดตาหรือติดใจดี เห็นมีคนพูดทั้ง2เเบบ
    เเต่เห็นในเวปมักจะสอนเเบบติดตาเลย ทำเเบบติดตา
    เอาจริงๆนี่ก็มีวิจิกิจฉา สงสัยเหมือนกันว่าเเบบไหนดีกว่ากัน
    เลยต้องตัดปัญหาทำตามข้อมูลในเวปไปเลย

    ถ้าใครมีอะไรเเนะนำลงได้เต็มที่เลย
    จะ(พยายาม)เก็บไปใช้จริงเท่าที่ทำไหวไม่ได้ถามอ่านเล่น งงปะ งงเหมือนกัน สรุป...งงตัวเอง555
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    รบกวนไปอ่านกระทู้นี้นะครับ. หน้าที่ ๖ #rep ที่ ๑๐๑
    ส่วนตัวเขียนไว้แล้ว ลองอ่านดูครับ ถ้าเข้าใจมีโอกาส
    ถึงระดับที่ใช้งานได้ อาการคุณตอนนี้เกือบถึงระดับฌาน
    แต่มันยังใช้งานไม่ได้ในเรื่องพลังงานและไม่มีผลต่อการสร้างกำลังจิตและ
    การพัฒนาความสามารถพิเศษทางจิตบางอย่าง. ผมว่าพอมีพื้นฐานแล้ว
    และอารมย์ที่คุณทำได้ตอนนี้เป็นระดับอารมย์ใกล้เคียงใช้งานจริง
    แต่เราจะต้องยกระดับไปสร้างกำลังจิตให้ได้ก่อน ถึงจะมีความสามารถ
    ในการใช้งาน และช่วงนี้ไม่มีคำว่าฝลุ๊ก. อีกนิดเดียวเองครับ ถ้าอ่าน
    แล้วจับใจความได้นะครับ


    http://palungjit.org/threads/อาการแบบนี้คืออะไร-อันตรายหรือเปล่าคะ.531240/page-6
     
  7. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    รูปวัตถุกสินนั้น มีไว้ใช้เพียงช่วงแรกเท่านั้นครับ
    เป็นอุบายสร้างทรงนิมิตในจิตเท่านั้นเอง
    จ้องในช่วงแรกให้ติดตา ติดตาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องจ้องอีก
    และวงกลมนิมิตในจิต แม้วัตถุต้นแบบเป็นสีขาว
    แต่ก็จะมีการสร้างรูปแบบสีของนิมิตไม่แตกต่างจากกสินสีอื่นๆ
    คือ เป็นวงกลมสีเขียวเข้ม หากโฟกัสที่วงกลม ในวงจะมีสีเข้มเด่นกว่า
    หากไม่โฟกัส สีโดยรอบจะเข้มกว่าวงกลมตรงกลาง

    ในสมาธิขั้นปรกติสำหรับผู้ทำนิมิตให้ติดใจได้แล้ว
    จะไม่ปรากฏเป็นนิมิตติดตา หากเราไม่ได้เพ่งวัตถุ
    วงกลมนิมิตจะปรากฏเด่นชัดขึ้นเองเมื่อเข้าสู่อุปจารสมาธิ
    และหากทรงอารมณ์จดจ่อที่นิมิตวงกลมนั้นไว้ได้จนเข้าสมาธิระดับสูง
    หากนิมิตไม่ถูกเพิกไป จนหายไปก่อน
    รูปนิมิตนั้นจะสามารถย่อขยายเปลี่ยนรูปทรงได้ แต่จะควบคุมได้หรือไม่ได้แล้วแต่บุคคล
    ก็สนุกไปกับการดูความเป็นไปของนิมินกสินนั้นๆ
    แต่สมาธิจะไม่พัฒนาหากเรายังสนุกกับนิมิตอยู่
    เรียกว่า ติดกับองค์ฌาน วิตก วิจาร
    เมื่อจิตนิ่งละทิ้ง วิตก วิจาร นิมิตอาจจะหาย หรือกลับมาสู่ทรงกลมเหมือนเดิม
    ระยะนี้เราอาจเห็นนิมิตอยู่ รู้ว่าเห็น แต่ไม่ได้จดจ่ออีกต่อไปแล้ว
     
  8. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    คือสรุปเราไม่ได้ใช้ภาพติดตาจนถึงฌาน4ใช่ปะคับ อันนี้เพิ่งรู้

    คือยังไงก็ต้องทำเป็นนิมิตติดใจใช่ปะ ทำติดตาเรื่อยๆจนมันติดใจ
    พอสมาธิตก หายเป็นเเบบติดตา ก็ทำเเบบติดตาต่อไปเรื่อยๆ จนเป็นติดใจจนชิน

    เเบบนี้เข้าใจถูกเปล่าคับ เเต่ก็ยังงงๆ เเต่ก็ทำต่อไป +_+
     
  9. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    โอทาตัง ๆ ๆๆ กสิณสีขาวเพ่งจนจำได้แล้วเมื่อหลับตาลงจะเป็นสีดำ
    ฝึกต่อไปต่อไปจนนิมิตติดตา สีดำจะเป็นสีขาว กสิณทุกชนิดฝึกสำเร็จจะกลับเป็นสีขาว
    ทั้งหมด ขาวเป็นประกายวาว จนว่าเป็นรูปฌาน หากจะต่ออรูปฌานต้องดับรูปนิมิต
    ให้หมด แล้วระลึกอากาศไม่สิ้นสุด แล้วก็ฝึกไปตามลำดับ
    จงจำไว้ว่า ฌานที่สูงขึ้นไปแล้วสะดุดหยุดลง ต้องกลับไปเริ่มที่อากาศไม่สิ้นสุดทุกครั้งไป
    เว้นไว้แต่ฌานไม่ถอยไม่เสื่อม ก็จะไปสิ้นสุดที่ มีสัญญาก็ใช่ไม่มีสัญญาก็ใช่
    นอกจากพระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นจะเข้าสัญญาธนิโรธสมาบัติ ดับหมด
     
  10. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    แนวทางที่นำมาคุยกันนี้ ยึดถือตามคำสอนของหลวงพ่อ พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ที่ท่านสอนโดยเน้นให้ใช้ภาพติดใจในการฝึกกสิณ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับแนวทางของวิชาเปิดโลกของสายหลวงปู่ดู่ หรือไม่ อย่างไร ตรงนี้ก็ไม่แน่ใจ

    โดยเหตุที่กสิณสีขาว จัดว่าเป็นกรรมฐานกลางๆ ฝึกกันได้ทั่วไปในผู้ฝึกหลากหลายจริต อีกทั้งการสร้างนิมิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการฝึก ก็ไม่ยุ่งยาก เนื่องจากเรารู้จักคุ้นเคยกับ "สีขาว" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว สามารถหาวัตถุต้นแบบได้ง่าย หรือไม่จำเป็นต้องมองวัตถุต้นแบบเลยก็ได้ เพราะสามารถนึกถึงสีขาวขึ้นในใจ และสร้างเป็นนิมิตในการฝึกกสิณสีขาวได้ทันที ถือว่าเป็นการฝึกกรรมฐานที่สะดวกสบายมาก

    ไม่ทราบว่าเจ้าของกระทู้เคยฝึกอานาปนสติกรรมฐานมาก่อนหรือไม่? หากเคยมีพื้นทางอานาปนสติกรรมฐานมาก่อน ยิ่งฝึกกสิณสีขาวได้ง่ายยิ่งขึ้น

    วิธีการคือ ไล่ไปให้สุดอารมณ์ของอานาปนสติกรรมฐาน (ต้องไปให้สุดอารมณ์จริงๆ หากไปไม่สุด ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ) จากนั้น ให้ทำการหลบอารมณ์สักเล็กน้อย หันไปจับนิมิตของกสิณสีขาวแทนข้อกรรมฐานเดิม ทีนี้ จิตที่มีกำลังสะสมมามากแล้วจากอานาปนสติกรรมฐาน เมื่อทำการหลบอารมณ์ มาจับนิมิตของกสิณสีขาวแทน จะพบว่าการกำหนดนิมิต และการทรงนิมิต สามารถทำได้ง่ายมาก จากนั้น ให้ทำการฝึกไล่อารมณ์ในกสิณสีขาว ไปให้สุดได้ต่อไป

    อันนี้เป็นเทคนิคในเบื้องต้น ที่นำมามาเล่าสู่กันฟัง เนื่องจากเห็นว่ายังไม่มีสมาชิกท่านใด ได้กล่าวในประเด็นนี้ จึงขอนำมากล่าวไว้ เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา และเพื่อความสะดวกในการเริ่มต้นฝึกกสิณสีขาว ของเจ้าของกระทู้นะครับ
     
  11. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ขอบคุณคับ ปกติผมจะฝึกกสินให้เสร็จเเล้ว เเล้วปิดไฟฝึกอานา(ต่อสำหรับบางวันไม่ก็หลับเลย)
    จะลองดูเเต่สุดอานาผมก็ไม่รู้ได้เเค่ไหนเหมือนกันนะ+_+

    คือหลังจากผมฝึกอานาเเล้ว อันนี้ก็นึกภาพกสินสีขาวต่อใช่ปะคับ ไม่ต้องไปมองอีกที

    คือเป็นอะไรที่เห็นถกเถียงกันมาเยอะว่ามองเเล้วหลับตาสลับไปเรื่อยจนภาพชัด
    หรือว่ามองเเล้วเอามานึก เเต่ก็เห็นก็มีคนสำเร็จด้วยทั้ง2วิธีเลย
    (จริงเปล่าไม่รู้พูดเหมือนสำเร็จกัน) เลยทำผมสับสนว่าทำเเบบไหนดีมานานล่ะ
     
  12. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    แสดงว่าที่ตอบไป ทำให้เจ้าของกระทู้สับสนเสียแล้ว ต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้

    ผมขอสรุปให้ใหม่ก็แล้วกัน เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น

    1.เรื่องการฝึกกสิณ เห็นว่ามีการสอนกันทั้งสองแบบ คือแบบมองเเล้วหลับตาสลับไปเรื่อยจนภาพชัด และอีกแบบหนึ่ง คือมองเเล้วเอามานึก ซึ่งทั้งสองวิธี ก็มีสำนักที่ทำการสอน และมีผู้ (ที่เขาบอกว่า) สำเร็จกสิณด้วยวิธีดังกล่าวอยู่ด้วยกันทั้งคู่

    แต่หากจะให้บอกว่า วิธีใดจะดีกว่ากัน คงจะบอกไม่ได้ เอาเป็นว่าใครชอบแบบไหน ก็ให้เลือกทำการฝึกในรูปแบบนั้น ก็แล้วกัน

    สำหรับผม เลือกใช้วิธีการ มองเเล้วเอามานึก ซึ่งรู้สึกว่าได้ผลดี และนำเอาวิธีการฝึกแบบนี้มาคุยกันในกระทู้นี้

    2.การฝึกกสิณแบบ "มองเเล้วเอามานึก" หรือที่เรียกว่า "ใช้ภาพติดใจ" เอาฝึกกัน ผมเสนอแนะวิธีการ ดังนี้

    2.1 หากมีพื้นฐานทางอานาปนสติกรรมฐานที่แน่นมาแล้ว ทำได้สุดอารมณ์ของอานาปนสติกรรมฐานมาแล้ว (สุดอารมณ์ของอานาปนสติกรรมฐาน คือทำได้ถึง ฌาน 4 ในอานาปนสติกรรมฐานแล้ว)ให้ฝึกดังนี้

    วิธีการคือ ไล่ไปให้สุดอารมณ์ของอานาปนสติกรรมฐาน (ต้องไปให้สุดอารมณ์จริงๆ หากไปไม่สุด ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ) จากนั้น ให้ทำการหลบอารมณ์สักเล็กน้อย หันไปจับนิมิตของกสิณสีขาวแทนข้อกรรมฐานเดิม (จะใช้วิธีมองวัตถุต้นแบบสีขาว หรือใช้การสร้างภาพของวัตถุสีขาวขึ้นในใจเลย โดยไม่ต้องไปมองวัตถุต้นแบบสีขาวก็ได้) ทีนี้ จิตที่มีกำลังสะสมมามากแล้วจากอานาปนสติกรรมฐาน เมื่อทำการหลบอารมณ์ มาจับนิมิตของกสิณสีขาวแทน จะพบว่าการกำหนดนิมิต และการทรงนิมิต สามารถทำได้ง่ายมาก จากนั้น ให้ทำการฝึกไล่อารมณ์ในกสิณสีขาว ไปให้สุด (เป็นฌาน 4 ในกสิณกองนั้นๆ) ได้ต่อไป

    2.2 หากพอจะมีพื้นทางอานาปนสติกรรมฐานมาบ้าง แต่ไปไม่สุด ได้แค่ใจสงบนิดหน่อยหรือแค่ขณิกสมาธิหรืออุปจารสมาธิ ยังไปไม่ถึงฌาน ให้ฝึก ดังนี้

    การฝึกในระยะเริ่มแรก ของผู้เริ่มฝึกกสิณ ที่ยังไม่มีความชำนาญในสมาธิมากนัก จะต้องอาศัย "สัญญา" เป็นตัวนำก่อน คือการมองวัตถุต้นแบบ แล้วพยายามจำลักษณะ สีสัน วรรณะของวัตถุนั้นให้ได้ แล้วหลับตาลง พยายามนึกถึงภาพที่ได้มองเมื่อสักครู่ พยายามสร้างภาพของสิ่งนั้นขึ้นมาในใจ (ตอนนี้ที่ลูกตามืดไปหมดแล้ว) ใหม่ๆ การสร้างภาพมักจะไม่มีภาพอะไรเกิดขึ้นในใจหรอกครับ แต่การฝึกแบบนี้ เขาไม่ได้ทำกันเพียงครั้ง สองครั้ง แต่เขาทำกันในจำนวนนับไม่ถ้วน เป็นพัน เป็นหมื่นครั้ง

    การทำซ้ำๆ ซากๆ ไปนานๆ จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าความเคยชินของจิตเกิดขึ้น ความเคยชินของจิตที่ทำซ้ำๆ ไปมา จะก่อให้เกิดเห็นเป็นภาพของวัตถุนั้นๆ เกิดขึ้นมาในใจได้ (ในตอนนี้ที่ลูกตาก็ยังมืดอยู่นะครับ แต่ภาพจะเกิดขึ้นลางๆ แล้วที่ในใจ ซึ่งเป็นคนละส่วน คนละที่กัน ผู้ฝึกจะเริ่มรับรู้ได้แล้ว)

    ทีนี้เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น ภาพที่กำหนดได้ในใจ ก็จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนกับภาพของวัตถุต้นแบบ ตอนนี้คือสิ่งที่ในตำราท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต" ได้เกิดขึ้นแล้ว ต้องหมั่นประคองรักษาสิ่งนี้ไว้ เพื่อพัฒนาไปสู่ "ปฏิภาคนิมิต" จนจบในอารมณ์ของกสิณนั้นๆ (คือ ฌาน 4 ในกสิณนั้น) ได้ต่อไป

    อาจจะยืดยาวไปบ้าง แต่คงจะอธิบายได้ชัดเจนมากขึ้น หากเจ้าของกระทู้พอจะมีเวลา ขอให้ค่อยๆอ่านไปเรื่อยๆ น่าจะทำความเข้าใจได้มากขึ้นครับ
     
  13. GoonS

    GoonS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ขอบคุณมากครับ นี่ล่ะคำตอบที่ต้องการ
    พอเข้าใจล่ะ ใช้วิธีมองเเล้วนึกสัญญาน่าจะดีกว่าสำหรับผม ^_^
    ผมก็ฝึกอานามานานล่ะ(ไม่ไปถึงไหนเหมือนกัน) อยู่อุปจารสมาธิมาเกือบจะสิบปีล่ะ
    เเต่ก็น่าจะพอช่วยได้บ้าง เนอะ...
     
  14. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ไม่เป็นไรครับ ยังไงคุณ GoonS ลองฝึกดูตามที่ได้อ่าน ระหว่างการฝึก หากมีข้อขัดข้องใดๆ ขอเชิญสอบถามได้อีกครั้ง

    หากฝึกแล้ว คุณ GoonS น่าจะมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง ดังนี้

    1.ฝึกไปจนสุดอารมณ์ของกสิณสีขาว จากนั้นตัดเข้าสู่การเจริญด้านสติต่อไป

    2.ฝึกไปจนสุดอารมณ์ของกสิณสีขาว จากนั้นไปฝึกทิพยจักขุญาณต่อไป

    3.ฝึกไปจนสุดอารมณ์ของกสิณสีขาว จากนั้น ไปไล่กสิณที่เหลือ คือกสิณสีเหลือง กสิณสีเขียว กสิณสีแดง กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ กสิณอากาศ และกสิณแสงสว่าง ให้ครบถ้วน ต่อไป

    ทั้ง 3 แบบ มีข้อดีแตกต่างกันไปคนละอย่าง แต่หากคุณเลือกในแบบที่ 3 เมื่อฝึกจนคล่องแล้ว ในขั้นต่อไป ถ้าต้องการฝึกวิชชาที่เรียกว่า อิทธิวิธี เพิ่มเติม ขอเชิญมาคุยกันต่อได้นะครับ
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <center>
    [​IMG]

    ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๖)
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)</center>
    หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?
    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะเกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป
     
  16. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    กสิณสีขาว ก็ต้องเริ่มต้นจำสีขาว เป็นสีขาวที่เห็นจากความทรงจำ

    จากนั้น สีขาวที่จำ จะเปลี่ยนเป็นสีขาวที่เห็นจากใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...