ข้อแนะนำนาค,กรรมของพระนวกะ,ครองกฐิน,ผู้อาบัติสึกแล้วมาบวชอีก,ทำขวัญนาค

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พญายา, 16 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    ในโพสแรกนี้ ทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นการมาให้กำลังใจกัน มาเล่าสู่กันฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เผื่อว่าจะมีประโชน์เกิดขึ้นบ้างนั่นเอง ท่านสามารถอ่านข้อมูลกระทู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีแก้อาบัติสังฆาทิเสส ของคุณคนแก้กรรม เพิ่มเติมได้ที่ห้องกฏแห่งกรรม ในเรื่องนี้จะไม่ลงข้อมูลให้ซ้ำกัน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป ใครจะมาโพสเพิ่มเติมก็ยินดี ข้อมูลต่างๆเป็นการไปพบเห็นของผู้เขียนเองและคิดว่าน่าจะดีจึงนำมาถ่ายทอด ท่านผู้สนใจควรศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกหรือพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนเพิ่มเติม ขออภัยหากไม่เป็นที่ถูกใจบางท่านและขออนุโมทนากับคุณความดีที่เกิดขึ้น สาธุ สาธุ สาธุ
    ผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นนาค
    -บวชวัดไหนก็ปรึกษากับวัดนั้น เพื่อความเหมาะสม เพราะพระแต่ละวัดเขารู้ข่าวสารกันดี บางคนมีเบอร์โทรหรือรู้จักพระสงฆ์หลายวัด โทรปรึกษามั่วไปหมด ในแง่ความรู้สึก เคยมีคนเข้าไปปรึกษาแล้วเกิดเกรงใจเจ้าอาวาสจองวันงานไว้ คิดเอาว่าคงไม่เป็นไรแต่ถึงเวลาอาจจะไม่พร้อม หรือญาติๆไม่ชอบวัดนั้น พากันเบี้ยวหรือขืนงานพระเสียเลย ทำให้ทางวัดเสียหาย
    -เวลาว่างๆอ่านหนังสือนวโกวาทหรือคู่มือนักธรรมชั้นตรี

    -ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะบวชพระ โดยเฉพาะร่างกายต้องทำกิจของสงฆ์ได้ หากมีน้ำหนักตัวอ้วนมาก หรือเคยได้รับอุบัติติเหตุมาก่อน จะลุกจะนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบได้ไหมหรือวางตัวอย่างไร ฤกษ์ยามกำหนดวันบวช วันลาสิกขา กับเจ้าอาวาส ในวัดที่ท่านจะบวช

    -ผ้าจีวรทำจากด้ายโทเร ราคาถูก จะนุ่งห่มดองรัดอกได้ดีในวันที่บวชพระ แต่ก็มักจะลื่นหลุดได้ง่าย เมื่อไม่คุ้นเคยหรือคลี่ออกมาห่มแบบคลุม แต่ถ้าห่มบิดผ้าคลุมหลังจากวันบวชต้องใช้ผ้าฝ้ายที่มีราคาแพงหน่อย จะได้ไม่ลื่นแต่ถ้าพับมาห่มดองจะไม่สวย หากบวชที่ต่างจังหวัดพญายาขอแนะนำให้ใช้ผ้าฝ้ายที่เรียกกันว่าผ้าเพนนิชชิลิน จะมีโอกาสได้ใช้งานมากกว่ากัน และเวลาถวายไว้วัด ก็นิยม มีผู้ต้องการมากกว่าผ้าใยสังเคราะห์แบบโทเร ควรฝึกห่มผ้าเองถ้ามีเวลา
    -ควรหัดท่องศีล10 ให้ขึ้นใจ เอาหนังสือมนต์พิธีจากวัดหรือซื้อมาอ่าน(เมื่อลาสิกขาจะถวายไว้ที่วัดก็ได้) ถ้าเป็นฉบับที่จัดพิมพ์ใหม่จะมีคำแนะนำเกี่ยวกับการอ่านคำบาลีในหน้าแรกๆ และในส่วนท้ายๆก็มีงานพิธีกรรมแนะนำให้ท่านรู้จักขั้นตอนต่างๆ
    -ควรลางาน ขออนุญาติผู้ปกครองให้ถูกต้อง
    -ควรชำระหนี้ส่วนที่มีจำนวนมากให้หมดถ้าทำได้ หรือชี้แจงให้เจ้าหนี้ทราบ เพื่อความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น หรือ เพื่อความสะบายใจ ของท่านเอง
    -อาจต้องตรวจโรคติดต่อต่างๆล่วงหน้า เพื่อทำการรักษา หรือเพื่อความสะดวกในการใช้ชีวิตเป็นพระ อาจจะมีกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม หากมีโรคประจำตัว
    -หากบวชนาค ฝึกขานนาคอยู่ในที่เปลี่ยว ควรงดคล้องหรือใส่แหวนที่ีมีค่า ใส่ตอนก่อนจะเข้าโบสถ์แล้วรีบถอดก็เพียงพอแล้ว ควรงดใช้อุปกรณ์สื่อสาร แจ้งให้เพื่อนๆหรือแฟนทราบได้ก็จะเป็นการดี พิจารณาดูสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่เหมาะสมอื่นๆ
    -คนท้องควรรออยู่นอกโบสถ์ขณะที่มีการสวดยัตติฯ
    [​IMG]
    [​IMG] คำขานนาคแจกฟรีในโครงการบวชพระแห่งหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2013
  2. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    [​IMG]ห่มคลุม เมื่อออกนอกวัด
    [​IMG]ห่มเปิดไหล่ ประดับผ้าสังฆาฏิ ไตรครอง เมื่อเวลาอยู่ในวัด
    [​IMG]ห่มดองรัดอก เมื่อเวลาที่มีงานหรือในวันพระ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2013
  3. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    สำหรับผู้ที่เป็นพระนวกะ
    -ในวันที่บวชเสร็จควรรีบเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยและดูเหตุการณ์อย่าเพิ่งถอดผ้าจนเสียรูป ควรมีพระพี่เลี้ยงช่วยนุ่งห่มในระยะ 2-3 แรก อย่าลืมถอดรองเท้า หรือหาที่วางให้ดูดี
    -ถ้าในวันที่บวชเวลารุ่งเช้าเสร็จสิ้นนั้นเจ้าอาวาสระบุให้บิณฑบาตร ถ้ามีการถักหุ้มบาตรของตนเองอยู่ให้รีบแก้เชือกด้ายออก อย่าลืมเอาของที่อยู่ในบาตรออกด้วย ถ้ามี
    -ระวังอย่าให้บาตรหล่นควรใช้แบบมีสายร้อยบาตร ถ้าเจอคนแก่หรือเด็กให้ย่อตัวลงรับอาหารที่เขาถวาย
    -ควรสอบถามไว้ก่อนบ้าง ว่าบทให้พรวรรคที่สองต่อจากพระผู้นำต้นเสียง ไปพร้อมๆกัน ไม่ทำเสียงต่างจากคณะ ไม่สงสัย พูดคุยหรือสอบถาม พระพี่เลี้ยงหรือเพื่อนพระสงฆ์ไปตลอดทาง
    -ไม่แวะเก็บหรือแอบเอาผลไม้ที่อยู่ในสวนริมทาง หรือหล่นอยู่ริมทาง อาจต้องอาบัติปาราชิก
    -ควรรู้เวลาในการฉันอาหารเช้า-เพล ของทางวัดที่ท่านบวช
    -อย่าหยิบฉวยสิ่งของที่มีราคาเกินหนึ่งบาท อาจต้องอาบัติได้ ควรงดสิ่งที่เคยชินเมื่อตอนเป็นโยม เช่นการยืนอาบน้ำ การยืนปัสสาวะ
    -งดการติฉิน นินทาเพื่อนพระในวัดหรือผู้เป็นพระอาจารย์ อาจเข้าข่ายผิดวินัย ยุยงสงฆ์ให้แตกแยก
    -ศึกษาเรื่องการปลงอาบัติที่ถูกต้อง เช่นเวลาเข้าไปปลงอาบัติผู้ปลงควรอยู่ใกล้กันในระยะหนึ่งศอกเป็นต้น
    -อย่ายืนอาบน้ำให้นั่งลงหรือคุกเข่า
    -เวลาฉี่หรือขับถ่ายก็นั่งลงจะได้ถูกต้องกับพระวินัย คำกล่าวที่เขาว่าการบวชเหมือนฝึกผู้ชายให้เราอ่อนโยนแบบสตรีก็คงไม่ผิดนัก(บางท่านรีบยืนถ่ายหรือถ่ายเหลวหรือยืนฉี่เคยชินสมัยเป็นฆราวาส)
    -บางคนบวชเข้าพรรษาไม่สวมรองเท้า ยังไงก็ระมัดระวังเรื่องเศษแก้ว,พยาธิ,โรคน้ำกัดเท้าและส้นเท้าแตก ทายาแบบน้ำมันมะกอกช่วยบรรเทาส้นเท้าแตกได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  4. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    เอาประสปการณ์และความรู้ในเรื่องนี้มาลงไว้เยอะๆนะคะ ถ้าจะมีวิธีการการปฏิบัติของฆราวาสที่ใกล้ชิดเช่น โยมพ่อ โยมแม่ หรือเพื่อนฝูงพี่น้องที่ต้องปฎิบัติต่อพระที่บวชด้วยยิ่งดีค่ะ ... สมัยนี้งานบวชที่เป็นงานบุญ หรือแม้แต่ งานกุศล ยังมีการเปิดเหล้าและฆ่าสัตว์เลี้ยงคนที่มาร่วมงานกันอยู่ค่ะ
    เอามาเผยแพร่เยอะๆนะคะ คนรุ่นใหม่ที่หันหน้าเข้ามาปฎิบัติก็เยอะคะ ส่วนมากก็ยังขาดประสปการณ์ และไม่รู้พิธีก็มีมาก ... และสักวันหนึ่งมันจะมีประโยชน์กับตัวดิฉันและคนอ่านด้วยแน่นอน
    ขออนุโมทนาค่ะ สาธุ
     
  5. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    [​IMG][​IMG]
    รับทราบแล้วนะท่านสมาชิกที่น่ารัก ถ้ามีพระสงฆ์มาใส่บาตรหน้าบ้านนาคบ่อยๆก่อนบวช เมื่อเป็นพระบวชใหม่แล้วบางรูปสามารถว่าให้พรโยมได้
    เวลามารับบิณฑบาตรโดยที่ไม่ต้องท่องจำ เพราะความคุ้นเคย ด้วยบทนี้ คำว่า พะลัง ตอนลงท้ายดูจังหวะฟังเสียงในคณะด้วยให้พร้อมๆกันชะลอเสียงที่คำว่า.....สุขัง.... จากนั้นลากเสียงเล็กน้อยอย่าให้คำว่า พะลัง ห้วนนักจะน่าฟัง และดูมีพลังจริงๆถ้าเปล่งน้ำเสียงได้พร้อมเพรียงกัน

    [​IMG]
    -ผู้ที่คอยถ่ายรูปในโบสถ์ ควรเป็นผู้ชาย ควรดูว่าพระผู้ใหญ่ท่านไม่ชอบแสงแฟลชรึเปล่า ตรงไหนผ่านได้ หรือเดินผ่านได้ เหยียบได้
    -ญาติโยมที่จะใส่บาตร ล้างมือให้ดีเพราะบางท่านทาแป้งทาน้ำหอมมา กลิ่นติดข้าวเหนียว หรือช้อน แล้วตอนที่พระฉันอาหาร ท่านจะรู้สึกอยากอาเจียน
    -ไม้กลัดใบตอง ก้างปลา แม็กเย็บกระดาษ บางทีโยมทำหล่นลงในข้าว หลวงปู่หลวงตาไม่ทันสังเกตุก็อาจกลืนกินได้
    -เงินเหรียญบางทีใส่ลงในบาตร ติดปนไปกับข้าวเหนียว
    -บางคนจัดงานจะไม่ฆ่าสัตว์ใหญ่ซื้อเอาปลาเอาไก่ที่ตลาดสดและเชิญเฉพาะญาติๆที่สนิทกัน แต่คนไทยเราอดไม่ได้หรอกจะทำอะไรทีต้องดูหน้าตา ดูสังคม ความเอิกเกริกความสนุกเมามันส์มาก่อน
    -บางเจ้าภาพก็จองห้องประชุม จัดโต๊ะจีน จัดขบวนแห่นาค กลางคืนที่วัดจะไปบวชนั้นจะมีการฉายหนังหรือหาเช่าสถานที่โล่งๆแสดงดนตรีหรือแนวโคโยตี้ที่บ้านของเจ้าภาพเอง เพื่อความสะดวกในการกระจายเสียงของบุคคลสำคัญที่มาร่วมงานใช้ประโยชน์ร่วมกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  6. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    สิ่งที่ผู้เป็นเจ้าภาพการบวชพระมักจะเผลอลืม
    -เวลาเข้าโบสถ์ถอดสร้อยทอง ถอดแหวน ถอดกางเกงในของนาค ถอดเข็มขัด เก็บให้เรียบร้อย บางคนต้องให้พระสงฆ์มาบอก เคยมีนาคถอดแหวนทองไม่ได้ อุปัชฌาย์จะไม่บวชให้
    -เตรียมดอกไม้หรือของที่นาคจะมอบให้พระอุปัชฌาย์ ถ้ามี นาคและพ่อแม่บางคนตื่นเต้นลืม ถวายสิ่งของที่เตรียมมา
    -วันบวชเตรียม คนขับรถยนต์ถ้ามี นัดหมายกับญาติให้ถูกต้อง ชื่อเจ้าอาวาสหรือชื่อวัดอาจมีชื่อใกล้เคียงกัน เตรียมรถยนต์ ตรวจเส้นทางใกล้ไกล ตรวจดูนาฬิกา วันเวลาให้ถูกต้อง หากพระอุปัชฌาย์อยู่ไกลต้องไปรับตัวท่านมาก่อนเวลา และช่วยถือหรือตรวจสอบถุงย่ามหรือสิ่งที่ท่านจะลืม เช่นยาประจำตัว กระเป๋าเงิน กระเป๋าเอกสาร พระเครื่องของมงคล พานรอง ที่กรวดน้ำเป็นต้น
    -ควรหาโอกาสไปดูว่าขั้นตอนของวัดนั้นๆเป็นอย่างไร เช่น บางวัดพ่อแม่ญาติๆของนาค เมื่อไหว้พระรับศีล นาคบวชเณรแล้ว ต้องออกมาจากโบสถ์เวลานาคจะสวดยัติฯเป็นพระ แล้วพ่อแม่กลับเข้าไปในโบสถ์อีกครั้งเมื่อการบวชเสร็จ เพื่อหยาดน้ำและถวายซอง
    -ซองขาวในการใส่ปัจจัย บางคนไปถามยืมกับพระนั่งอันดับในโบสถ์ ควรแลกเงินใบย่อยมาให้พอดี เผื่อเงินไว้ด้วย ควรทราบจำนวนพระที่จะใส่ซองก่อนเข้าไปในโบสถ์
    -ระวังอย่าสลับซองควรทำเครื่องหมายว่าจะให้พระรูปใด ปรึกษากับทายกวัดที่ท่านไปบวชก่อนว่าควรใส่เท่าไหร่ดี
    -ควรจดจำวันเดือนปีเกิดให้ดีเพราะจะใช้ตั้งฉายาพระ นาคบางคนต้องซักถามวันที่ตนเกิดกับพ่อแม่ อยู่หน้าพระอุปัชฌาย์ก็มี จำฉายาพระของตนเองและพระอุปัชฌาย์ให้ได้ ปกติพระพี่เลี้ยงจะเขียนมาให้
    -มีสติในการเดินทางตลอด ตรวจดูว่ามีสัตว์ในวัดนอนอยู่ใต้ท้องรถยนต์ที่จอดไว้ในวัดไหม หรือมีลูกหลานแอบอยู่หลังรถยนต์ไหม อย่าตื่นเต้นจนเกิน บางครั้งนาคตื่นเต้นดื่มสุรามาก็มีทำให้ท่องคำบาลีผิดๆถูกๆ ยิ่งบวชนาคคู่บางคนขานนาคไม่ครบก็มี เพราะพระอาจารย์คู่สวดที่มาถามนาคได้ยินเสียง แต่ท่านไม่ได้ดูว่า นาคบางคนมัวแต่ก้มหน้าอยู่ก็มี เพราะอาย เพราะตื่นเต้น จนลืมคำขานนาค

    -สำคัญที่สุดควรมีแผนสำรอง เช่นอากาศหนาวจัดพระสงฆ์เดินทางมาลำบาก พระอุปัชฌาย์ป่วยหรือติดธุระด่วนยังไม่กลับมาที่วัดหรือลืมวันที่จะบวช รถยนต์เสีย คู่อริของนาคมาคอยแก้แค้น เป็นต้น
    -ถุงใส่เงิน ของมีค่าที่เขามาผูกแขนนาคที่บ้าน หรือตอนมาที่วัดก็เก็บรักษาให้ดีๆ อย่าเผลอนะท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2013
  7. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    ข้อสงสัยบางเรื่องของนาคและเจ้าภาพ
    -ปัจจุบันเจ้าอาวาสบางวัด ท่านมักจะสอบเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ ซึ่งก็จะสะดวกยิ่งขึ้น
    -บางคนก็ให้ลูกหลานบวชในสายธรรมยุติ (พระป่า) ก็จะมีบางอย่างที่ต่างกัน เช่น คำที่มีตัว ฑ จะออกเสียงเป็น ด .เด็ก เวลาให้ศีลคำว่า ....เวรมณี....ก็จะเปลี่ยนเป็น ...เวรมะนอย....เป็นต้น ผู้ที่เคยปฏิบัติมาก่อนจะช่วยแนะนำท่านอีกที
    -เมื่อแห่นาครอบโบสถ์ครบสามรอบแล้ว การวันทาเสมาก่อนเข้าไปในโบสถ์นั้น เป็นการ แสดงความเคารพสถานที่ ควรเตรียมดอกไม้ธูปเทียนไว้ด้วย ไฟแช็ค ถ้าลมแรงก็ไม่เป็นไรจุดธูปเทียนให้ติดไว้ก่อน บางคนเข้าใจผิดว่าเป็นการกราบไหว้ ใบเสมาของโบสถ์ เพราะคนผู้อาวุโสที่นำไหว้มักจะไปนั่งอยู่ตรงหน้าใบเสมาของโบสถ์ บางคนก็น้ำเสียงไม่ดัง นาคก็ว่าตามไม่ทัน บทวันทาเสมา นั้นว่าดังนี้ (กราบ 3 ครั้งก่อน นาคคู่ ก็ว่าไปพร้อมกันได้)
    วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต(กราบอีก 3 ครั้งที่พื้นนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องสกปรก ถ้าไม่มีอะไรปูไว้ ปกติพระมักจะกวาดรอบๆโบสถ์แล้ว ถ้าเราเตรียมผ้ามาก็รีบไปปูไว้ก่อนได้)
    -ก่อนเข้าโบสถ์นาคจะให้พ่อแม่ย่ายายเกาะที่ชายผ้าเข้าไปพร้อมกัน เมื่อบวชเสร็จเดินออกมาพ้นประตู ศีลบริสุทธิ์แล้วก็มักจะโปรยทาน (บางที่ก็โปรยก่อนเข้าโบสถ์) พ่อพระหรือตัวแทน จะนำร่มไปกางต้อนรับ ถือถุงย่ามให้ระหว่างพระใหม่โปรยทาน จากนั้นก็ถ่ายรูปหน้าโบสถ์ เป็นที่ระลึก ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย ร่มนั้นไม่มีแดดก็กางต้อนรับแล้วพับเก็บได้ โดยมากใช้ร่มสีดำ
    -ถ้าบวชช่วงเช้ามืด เตรียมตัวใส่บาตรพระบวชใหม่ด้วย ถ้าพระใหม่กลับจากบิณฑบาตรแล้วก็จะมีการใส่บาตรอาหารต่างๆบนศาลาอีก จากนั้นจะมีการเรียกขวัญ ผูกแขนพระใหม่กันบนศาลาอีก ตามประเพณี ท้องถิ่นนั้นๆปกติวัดจะเตรียมบายศรี ด้ายผูกแขน ไว้ให้แล้ว ถ้าบวชในงานประเพณีเช่นการบวชเพื่อแห่คานหามพระบวชใหม่
    -เผดียงสงฆ์คือรายการของที่จะนำถวายพระ ควรสอบถามว่าของที่จะให้พระจับต้องหรือรับสังฆทานได้มีอะไรบ้าง สังฆทานจะนิยมถวายก่อนพระฉันเพล เจาะจงให้ หรือนิมนต์พระสงฆ์รับร่วมกัน 4รูปเป็นอย่างต่ำ ถ้าเลยเวลาเพลแล้วจะฝากให้ทายกประเคนในวันถัดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2013
  8. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    สำหรับพระนวกะ(เพิ่มเติม1)
    หากท่านบวชไม่นาน พระพี่เลี้ยงก็ไม่ได้แนะนำทั้งหมด เพราะอธิบายกันยาว
    -เมื่อพระใหม่ฉันอาหารแล้ว ควรล้างบาตร เช็ดให้แห้ง วางไว้ที่เหมาะสม ไม่หล่นง่าย หรือเดินข้ามได้
    -ทำให้ผ้านุ่งเสียสี หรือพิณทุผ้า เอาปากกาวนเป็นวงกลม เท่าเม็ดถั่วเขียว ที่ชายผ้าด้านใน 3 จุด มีตัวอย่างดูใน YouTube
    -ถ้ามีผู้กล่าวนำได้ยินว่า...ปุพพะภาคะนะมะการัง....ก็คือบทนะโม สามจบนั่นแหละ
    [​IMG]
    -การใส่บาตรพระด้วยข้าวเหนียว กะเอาขนาดลูกปิงปองก็พอแล้วหรือไม่เกินผลหมากสุก
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    -ก่อนฉันอาหารเช้า-เพล ต้องเปิดบาตรทุกครั้ง เปิดฝาติบข้าว ฝาหม้อข้าว ตามธรรมเนียม บางทีทายกก็มาช่วยเปิด ท่องบทปฏิสังขาโยที่ว่าด้วยบิณฑบาตรเฉพาะบาลี ไม่ต้องแปล โยมบางคนจะเข้าใจว่าพระให้พร จะพนมมือรับฟังอย่างดี
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]
    -ตอนเช้าประธานสงฆ์อาจมีคำอวยพรเพิ่มอีกบทหนึ่งนั้นคือ ชยสิทธิ์ เป็นบทที่ย่อมาใช้ อยู่ช่วงท้ายของ บทมงคลจักรวาลน้อย นั่นเอง
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มีนาคม 2013
  9. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    พักยกจิบปานะ
    [​IMG]
    พระอนุสาวนาจารย์ ที่เป็นพระคู่สวดที่ดุที่สุด เท่าที่เคยได้ยินมา คือ ท่านหลวงพ่อพระสะอาด ปิยวัณโณ หรือหลวงปู่แอว วัดกระดังงา จ.ชัยภูมิ ท่านหูตาไวมากเพราะเป็นตำรวจพระด้วย ใครแข้งขาไม่ดีท่านทักท้วงนี่ ถึงขั้นได้อาย ใครขานนาคไม่ได้ท่านตวาดดังได้ยินทั่วถึงทุกคนที่มาร่วมงาน ตำหนิถึงผู้ปกครองว่าไม่บอกสอน นะโมก็ท่องไม่ได้ เป็นต้น(ก็น่าเห็นใจเพราะชาวบ้านสมัยนั้นไม่ได้เรียนหนังสือ) แต่ถ้าใครทำถูกท่านจะไม่บ่นสักคำ แม้แต่ฟันที่ท่านทิ้งไว้ในห้อง มีลูกศิษย์แอบเอาไปบูชาที่บ้าน ลูกหลานร้องไห้จ้าไม่ได้นอน จนต้องเอาออกมาขว้างทิ้ง พวกที่ถูกท่านจับศึกแอบมาลอบยิงท่านบ่อยๆเพราะอยู่รูปเดียว แต่ท่านไม่สน พวกลูกปืน หล่นอยู่บนหลังคาและหลังมุ้ง ชั้นสองของกุฏิท่าน พระเครื่องที่โยมจะมีกิเลส ก่อนมรณะภาพท่านจะฝังดินทิ้งหมด วันที่มรณะภาพเต่าทองตัวเล็กที่คลานมาหาท่านจากต้นโพธิ์ทุกวันพระหายไปในรัดประคตที่เอวของท่าน พระลูกวัดค้นหาทั่วห้องก็ไม่เจอ
    -พระอาจารย์บอกให้ผู้บวชท่องนะโม 3 จบ ผู้บวชจึงว่า นะโม นะโม นะโม จบแล้วครับ ท่านอาจารย์ว่าเอ้า...ไม่เคยว่าเหรอ นะโมตัสสะ...นะ ผู้บวชจึงว่า นะโมตัสสะ นะโมตัสสะ นะโมตัสสะ จบแล้วครับ พระอาจารย์จึงนำว่าทั้งบทด้วยความทุลักทุเล

    [​IMG]
    -มีผู้บวช คนหนึ่งสวมแหวนเฮมาไทต์สีเงินแบบวัยรุ่น พระอุปัชฌาย์ บอกให้ถอดออก ยังไปต่อรองท่านอีก ว่า ไม่ใช่ทองไม่ถอดได้ไหมครับ!!! เกือบจะไม่ได้บวชอีกราย
    -ผู้บวชเมาแอ่นมาบวชเพื่อนๆนาคชวนเกเรไปหน่อย พระคู่สวดสุดลำบากใจ ผ่านมาถึงตอนที่กำลังบวชเป็นพระขณะที่ท่านถามว่า มะนุสโสสิ๊(เป็นมนุษย์ใช่ไหม) นาคไม่ตอบ ท่านจึงกระซิบว่า อามะ ภันเต (ครับ) ผู้บวชร้องว่าอ๋อ ....มาม่า ภันเต.... (เขาคิดว่าเคยเห็นพระฉันบ่อยๆแต่คิดรสไม่ออก จะเอาพี่จาพนม หรือรสหมูสับ) ๕๕๕๕๕๕

    [​IMG]
    -สมัยก่อนพระอาจารย์บอกให้พระใหม่ พิณทุผ้า พระใหม่ไปถามเพื่อนพระ เพื่อนจึงแกล้งว่า เอาเข็มเย็บผ้าที่อยู่ในบาตร จิ้มที่ปลายองคชาติ ก็เสร็จ เล่นเอาพระใหม่เจ็บตัวไปหลายราย ขออโหสิกรรม ในการถ่ายทอด เรื่องราว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  10. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    สิ่งที่ควรระวังขณะแห่นาครอบโบสถ์
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    -เคยมีอยู่งานบวชหนึ่ง เป็นการบวชในช่วงบ่าย ขณะที่ทุกคนแห่นาคได้รอบที่สอง ผึ้งรังขนาดใหญ่พอสมควรบินลงมาเล่นงาน รุมต่อย คนที่ฟ้อนรำ แขกเหรื่อ คนตีกลองและฆ้องที่เดินนำหน้าคณะ โชคดีที่พระสงฆ์ที่นั่งอยู่ในโบสถ์ไม่โดนต่อย ผู้คนแตกตื่นวิ่งเข้ามาในโบสถ์ ปิดประตูโบสถ์ บางคนก็มีแมลงผึ้งจับมาตามเส้นผมบนหัว บางคนก็ร้องด้วยความเจ็บปวด บางคนก็ขอให้พระสวดคาถาขับไล่ ท่านเจ้าภาพต้องพิจารณาดูรอบๆสถานที่ก่อนว่าจะมีอันตรายหรือไม่จะงดตีกลองดีหรือไม่ หรืองดเว้นตรงจุดไหน เป็นต้น
    -บางวัดผึ้งไม่ดุ แต่บินมาตอมหลอดไฟ ถ้ามาบวช นาคและญาติอาจเผลอเหยียบตัวผึ้ง ที่หล่นอยู่บนพรมในโบสถ์ได้
    -วัดไหนที่นกพิลาปบนหลังคา ขับถ่ายลงมาบ่อยๆก็ต้องระวังอาจเข้าหน้าเข้าตา หรือเหยียบไปติดพรมที่สวยงามในโบสถ์ได้
    -คนเมาคนเร่ร่อนในบริเวณวัด เคยมีเด็กวัดไปขับไล่เขา เขาไม่เข้าใจ เขาจึงหวดสวนมาเต็มแรงด้วยไม้ไผ่หวิดโดนหัวแตก หรือบาดเจ็บ
    -คนมีใจศรัทธาขึ้นอยากเอานาคขึ้นคอ หรือขึ้นหลัง เสียหลักหัวเข่าทรุดลงกระแทกปูน หรือล้ม นาคอาจตีลังกาได้ คืออาจบาดเจ็บไปตามๆกัน
    -ห้องน้ำห้องท่าก็ต้องชี้แนะกันไว้ บางทีคนมาร่วมงาน คนแก่ คนเมา ยืนเยี่ยวอยู่ข้างใบเสมาก็มี เพราะไม่รู้หรือมืดมองไม่ถนัด หรือกลัวผี
    -งูพิษหรือสุนัขดุที่แอบหลบอยู่ตามพุ่มไม้ หรือซอกหลืบ แถวๆโบสถ์ ทางเดิน ก็ต้องพิจารณาดูระมัดระวัง
    -หลอดไฟแตก แก้วเหล้าแตก สายไฟขาดชำรุด รอบๆทางเดิน ขออโหสิกรรมตามที่ได้กล่าวมา ด้วยความเคารพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  11. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG]การนุ่งห่มของพระสงฆ์ต้องดูดีเสมอ
    หากบวชนานหน่อยหรือบวชไม่นานแต่อยู่ใกล้พุทธสถานที่ดีๆ ควรมีโอกาศกราบไหว้เจดีย์ที่สำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ๆ พระสงฆ์ผู้มีศีลแล้วเวลาสวดบูชาพระประธานหรือเจดีย์ จะยิ่งส่งผลดีกับชีวิตเมื่อลาสิกขาออกมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013
  12. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    [​IMG]หนังสือแจกเป็นธรรมทาน เล่มนี้สมัยก่อนเป็นที่หวงแหนกันมาก เพื่อนอุบาสิกามาขอยืมยังไม่ให้กันเลยเพราะกลัวเขาไม่คืน เพราะใช้ตัวหนังสือขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติและมีคำแปลด้วยถูกใจคนแก่ ขออนุโมทนากับคณะผู้จัดทำ น่าปลื้มปติยิ่งนัก
    [​IMG]การแห่กฐิน(รอโพสอธิบายเพิ่มเติม)
     
  13. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    การฉันขนมจีน อาหารเส้น อาหารที่มีกระดูกปะปน
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    -หากต้องฉันอาหารลักษณะเป็นเส้น พระบางรูปจะฉันฉพาะวัดที่ตนอยู่ เพราะเกรงจะดูไม่เหมาะสมหากฉันแล้วหกเลอะเทอะ เมื่อไปฉันวัดอื่นหรือมีกิจนิมนต์ เวลาฉันจะต้องใช้ช้อนตัดเส้นให้ได้ขนาดก่อน จะใส่น้ำยาในภายหลัง ขณะฉันระวังการสำลักน้ำยาหรือน้ำอัดลม อาจทำให้ขายหน้าได้ แม่ครัวบางทีก็จะตัดเส้นลงจากเดิมก่อนปรุงเมื่อรู้ว่าจะทำให้พระจะฉัน
    -แกงไก่ แกงปลา ต้มหมู อาหารที่มีกระดูกปะปน อย่าเอาเศษกระดูกทิ้งลงในถ้วยเดิมเด็ดขาด ควรเอาทิ้งลงกระโถนหรือวางไว้ข้างสำรับ อาจขายหน้าเพราะโยมเข้าใจผิดหรือพูดกันเสียหายได้ ถ้าโยมนำสำรับอาหารของพระสงฆ์มาทานต่อ แม่ครัวควรตรวจดูก่อนว่าอาหารถ้วยนั้น เนื้อหลุดร่อนออกจากกระดูกไหม หรือถ้าพระเห็นว่าอาหารถ้วยนั้นเนื้อหลดออกจากกระดูกก็ควรตักออกไว้ต่างหาก เพราะอาจไม่ได้แก้ตัว หรือแก้ตัวภายหลังแต่ก็ดูไม่ดีเสียแล้ว

    [​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  14. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    การใช้ฝาบาตรและเมื่อทำบาตรตกหล่น
    -ใช้ฝาบาตรรับซองปัจจัย ,ดอกไม้ ,เงินเหรียญ ไม่ควรเอาตัวบาตรไปใส่เงินเพราะบาตรจะเอาไว้ใส่อาหารเป็นหลัก โยมต่างจังหวัดเองก็ต้องพิจารณาในข้อนี้
    -ระวังฝาบาตรหล่นขณะเดินบิณฑบาตร หรือวางลงไม่สนิท ควรใช้มือปิดทับช่วยอีกที เมื่อกลัวฝาร่วงลงพื้น
    -หากทำฝาหรือบาตรหล่นหน้าบ้านโยม โยมอาจไม่สบายใจเพราะคิดว่าทั้งพระและโยมจะซวยในวันนั้น ถ้าทำหล่น ต้องรีบเก็บบาตรและฝาไม่ให้สะท้อนหรือกลิ้งหนี รีบสวดอิติปิโสถึงภะคะวาติ 3 จบหรือคาถายันทุนนิมิตตังฯ 1 จบ เคยมีการทำโทษเณรที่ทำบาตรหล่นในวัด ด้วยการสวดอิติปิโสฯ 108 จบทุกครั้งที่ทำหล่น

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  15. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    ลักษณะประเพณีแห่พระบวชใหม่แล้วสรงน้ำที่ว้ดแห่งหนึ่ง
    [​IMG]

    ลักษณะการแต่งตัวนาคของประเพณีมอญ และการปลงผมสรงน้ำให้นาคก่อนบวช
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2013
  16. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    การกราบที่ถูกต้องหน้าผากต้องแตะพื้นไม่ว่าพระหรือโยม นอกจากมีหมอนหรือแท่นวางไว้ให้กราบ
    [​IMG]
    -ขวดน้ำที่ความจุ480มิลลิลิตรเหมาะในการกรวดน้ำเวลาพระว่าบทยถาฯและบทอิมินาฯส่งท้ายจำง่ายๆว่ายถาฯกับอิมินาให้ผี(ต้องหยาดน้ำ) สัพพีฯให้คน เมื่อพระสวดบทสัพพีฯให้พรคนที่มาทำบุญ คนจึงพนมมือรับพร ไม่ใช่กรวดน้ำต่อเนื่องทุกบท บางคนยังมีงงอยู่
    [​IMG]
     
  17. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    [​IMG]
    เนื้อที่งดประเคน แต่มีโอกาสพลาดอยู่2 เนื้อก็คือเนื้องูและเนื้อสุนัข ต้องระวังทั้งผู้ให้และผู้รับโดยเฉพาะในต่างจังหวัด เคยมีข้าราชการกินเนื้อเสือแล้วเสียชีวิตมาแล้ว บางคนบอกว่าพิษในตัวมันแสลงโรคในตัวคนบางพื้นที่มีการชำแหละเนื้อช้างหรือม้าก็ต้องระวัง บางคนคิดว่าเอาถวายพระจะได้บุญแต่จริงๆได้บาปเพราะผิดพระวินัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  18. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    คนโบราณบอกว่า
    -บวชเพื่อกิน ก็ไม่ต่างจากสัตว์
    -บวชเพื่อเล่น ก็ไม่ต่างจากชาวบ้าน
    -บวชเพื่อหลง ยิ่งนานวันก็ยิ่งโง่
    -บวชหานิพพาน ก็ต้องบำเพ็ญเพียรทางธรรม

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]เชิงตะกอนของจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  19. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    -จะไม่เอามือข้ามสายโยงเพื่อให้เกียรติพระพุทธเจ้าหรือศพที่เขาโยงสายสิญน์มายังพระสงฆ์ พระบวชใหม่ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบ บางรูปไปงานศพญาติผู้ใหญ่ ยังจะเดินข้ามสายโยงมานั่งที่อาสนะพระเฉยเลย
    [​IMG][​IMG]
    -บังสุกุลตายคือบทที่ขึ้นต้นว่า อนิจจา วะตะ สังขารา.....
    -บังสุกุลเป็นคือบทที่ขึ้นต้นวา่ อจีรัง วะตะยัง กาโย.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2013
  20. พญายา

    พญายา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,265
    ค่าพลัง:
    +8,171
    การรับประเคนสิ่งของจากผู้หญิงต้องมีผ้ารับประเคน ที่ถูกต้องให้จับผ้าด้วยสองมือ ฉุกเฉินใช้กระดาษรองรับประเคน จะไม่รับกับมือโดยตรง
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...