คณะสงฆ์มอบตราตั้ง 355 พระอุปัชฌาย์ใหม่

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 16 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    คณะสงฆ์มอบตราตั้ง355พระอุปัชฌาย์ใหม่ – สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปัญโญ) วัดไตรมิตรวิทยาราม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นประธานในพิธีมอบตราตั้ง พระอุปัชฌาย์ที่ผ่านการฝึกอบรม หรือทดสอบความรู้ โดยมีเจ้าคณะใหญ่ในแต่ละหนเป็นประธานมอบตราตั้งให้กับพระอุปัชฌาย์ในเขตปกครองของตน ประกอบด้วย พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ, พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง เจ้าคณะใหญ่หนใต้ และพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาส รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนกลางเมื่อ เร็วๆ นี้ ที่ศาลาอบรมสงฆ์ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ

    886e0b98ce0b8a1e0b8ade0b89ae0b895e0b8a3e0b8b2e0b895e0b8b1e0b989e0b887355e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8ad.jpg
    ทั้งนี้ มีพระสังฆาธิการที่สอบผ่านเป็นพระอุปัชฌาย์จำนวน 351 รูป แบ่งเป็นพระอุปัชฌาย์สามัญ 335 รูป และพระอุปัชฌาย์วิสามัญ 16 รูป ซึ่งในจำนวนพระอุปัชฌาย์วิสามัญพบว่ามีสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) รวมอยู่ด้วย

    สำหรับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ตามที่ระบุไว้ในกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ระบุไว้ดังนี้

    พระอุปัชฌาย์ หมายความว่า พระภิกษุ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เป็นประธานและรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท

    พระอุปัชฌาย์มี 2 ประเภท คือ พระอุปัชฌาย์สามัญ ได้แก่ พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่ และพระอุปัชฌาย์วิสามัญ ได้แก่ พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช

    ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่มีกรณีพิเศษ

    พระภิกษุ ผู้จะดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

    6e0b98ce0b8a1e0b8ade0b89ae0b895e0b8a3e0b8b2e0b895e0b8b1e0b989e0b887355e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8ad-1.jpg
    (1) มีตำแหน่งในทางปกครองชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไป เว้นแต่พระอารามหลวง
    (2) มีพรรษาพ้น 10 พรรษา
    (3) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรืออาพาธเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตราย
    (4) มีประวัติความประพฤติดี
    (5) เป็นที่นับถือของประชาชน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
    (6) เป็นเปรียญหรือนักธรรมชั้นเอก เว้นแต่ในบางท้องถิ่น ซึ่งเจ้าคณะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผัน
    (7) มีความสามารถฝึกสอนผู้อยู่ในปกครองให้เป็นภิกษุสามเณรที่ดี ตามพระธรรมวินัยและสามารถบำเพ็ญกรณียกิจอันอยู่ในหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ได้
    (8) มีความรู้ความสามารถ ทำอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องตามพระวินัยและระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์

    ในการแต่งตั้งพระสังฆาธิการผู้ดำรงตำแหน่งต่ำกว่าเจ้าคณะจังหวัดเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้พิจารณาเลือกพระสังฆาธิการ ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น แล้วรายงานรับรองขอแต่งตั้งเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงเจ้าคณะภาค

    พระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรได้เฉพาะตนและเฉพาะภายในเขตอำนาจที่ปกครอง คือ ถ้าเป็นเจ้าอาวาส ภายในวัดของตน ถ้าเป็นเจ้าคณะตำบล ภายในเขตตำบลของตน เป็นต้น ทั้งนี้ พระอุปัชฌาย์ที่ดำรงตำแหน่งประธานหรือกรรมการมหาเถรสมาคม ไม่จำกัดเขต

    6e0b98ce0b8a1e0b8ade0b89ae0b895e0b8a3e0b8b2e0b895e0b8b1e0b989e0b887355e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8ad-2.jpg
    ก่อนเริ่มพิธีบรรพชาอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ต้องพบและสอบสวนกุลบุตรให้ได้คุณลักษณะก่อน จึงรับให้บรรพชาอุปสมบทได้ คุณลักษณะของกุลบุตรที่พระอุปัชฌาย์ต้องพิจารณา มีดังนี้

    1.เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลหรืออำเภอที่จะบวช และมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม หรือแม้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่น แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า เป็นคนมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ใช่คนจรจัด
    2.มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่น ติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น
    3.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
    4.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
    5.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
    6.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
    7.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทด้วยตนเองและถูกต้อง ไม่วิบัติ

    6e0b98ce0b8a1e0b8ade0b89ae0b895e0b8a3e0b8b2e0b895e0b8b1e0b989e0b887355e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8ad-3.jpg
    สมเด็จพระพุฒาจารย์กล่าวให้โอวาทว่า การฝึกอบรมหรือสอบความรู้พระอุปัชฌาย์ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 55 ซึ่งตำแหน่งพระอุปัชฌาย์มีความสำคัญมาก เพราะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบ คัดกรอง คัดเลือก ผู้เข้าบรรพชาอุปสมบท โดยมีหน้าที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 ทั้งยังเป็นกิจสำคัญที่จะสร้างความเจริญ หรือความเสื่อมมาสู่คณะสงฆ์ได้ เพราะหากพระอุปัชฌาย์ละเอียดรอบคอบก็จะได้คนดีเข้าสู่พระพุทธศาสนา หากย่อหย่อนก็จะได้คนไม่ดีเข้ามาสู่พระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนา และคณะสงฆ์เสื่อมเสียได้

    “ดังนั้น พระอุปัชฌาย์จึงถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมาก และอยากฝากไว้ว่าการเป็นพระอุปัชฌาย์อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง และอย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นมาจากการมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย” เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกกล่าว

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_3576451
     

แชร์หน้านี้

Loading...