คติธรรมคำสอน คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 17 สิงหาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    [​IMG]


    * ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากันเพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัย ต่ออันตรายทั้งภายนอกภายใน เครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้านมีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบท
    จะคิด-พูด-ทำอะไรไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย

    * การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย
    ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
    การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง

    * ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

    * เมื่อเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก
    ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย

    * คนชั่ว ทำชั่วได้ง่าย และติดใจไม่ยอมลดละแก้ไขให้ดี
    คนดี ทำดีได้ง่าย และติดใจกลายเป็นคนรักธรรมตลอดไป


    * เราต้องการของดี คนดี ก็จำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน

    * ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ
    กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์ จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล
    ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
    ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย

    * คุณธรรม ยังมีผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องระบือ มีความฉลาด กว้างขวางในอุบายวิธี ไม่มีคับแค้นจนมุม

    * การปฏิบัติธรรม เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่องกาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง
    การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

    • ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน
    • ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน
    • ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู
    • ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น


      * วาสนา นั้นเป็นไปตามอัธยาศัย
      คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต วาสนาก็เลื่อนขึ้นเป็นบัณฑิต
      ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น
    • ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
    • ผู้มีปัญญา ได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย
    • ผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน



    * จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิต อันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะก็คือภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร ตรวจดูจิตว่า มีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต
    นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่า คิดอะไรบ้าง มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษ ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิด-ถูกของตัวบ้างไหม
    พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการให้ท่องในใจอยู่เสมอว่า เรามีความแก่-เจ็บ-ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน

    * ทาน-ศีล- ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่ในนิสัย ของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์อย่างแท้จริง


    -------------------------------------------------------------------

    คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้
    จึงวิ่งหาโน่นหานี่
    เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก
    ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ

    คนที่หลงจึงต้องแสวงหา
    ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา
    จะหาไปให้ลำบากทำไม
    อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
    จะตื่นเงา ตะครุบเงาไปทำไม
    เพราะรู้แล้วว่า เงาไม่ใช่ตัวจริง

    ตัวจริง คือ สัจจะทั้งสี่ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว

    -------------------------------------------------------------------


    อานิสงส์ของศีล 5 เมื่อรักษาได้
    1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
    2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
    3. ระหว่าง ลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำ กล่ำกราย ต่างครองกันอยู่ด้วยความผาสุข
    4. พูดะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ ด้วยศีล
    5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่ เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลก ให้มีแต่ความอบอุ่นใจ ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

    -------------------------------------------------------------------

    เราเกิดมาเป็นมนุษย์
    มีความสูงศักดิ์มาก

    อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ
    มนุษย์เราจะต่ำลงกว่าสัตว์
    และจะเลวกว่าสัตว์อีกมากมาย
    อย่าพากันทำ

    ให้พากันละบาป บำเพ็ญบุญ
    ทำแต่คุณความดี

    อย่าให้เสียชีวิตเปล่าที่มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์

    -------------------------------------------------------------------


    กรรม จำแนกสัตว์ให้ทราม และประณีตต่างกัน

    ผู้สงสัยกรรม หรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล
    คือ ลืมตนจนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยไม่ได้

    แม้เขาจะเกิดและได้รับการเลี้ยงดู
    จากพ่อ-แม่มาเป็นอย่างดีเหมือนโลกทั้งหลายก็ตาม
    เขาก็มองไม่เห็นคุณของพ่อ-แม่
    ว่าได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง

    แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขา
    ที่เป็นคนหนึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น

    -------------------------------------------------------------------

    คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย
    ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย
    หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆ มาเป็นเครื่องบำรุง
    จึงมีความสุข

    ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ
    มีความสุขมากกว่าผู้ใดมาในทางมิชอบเสียอีก
    เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง
    ทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์

    แต่กฏความจริง คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย
    และให้ผลเป็นทุกข์ไม่ส้นสุด
    นักปราชญ์ ท่านจึงกลัวกันหนักหนา

    แต่คนโง่อย่างพวกเรา
    ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว
    ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ ความสุขดังใจหมาย

    -------------------------------------------------------------------

    อะไรๆ ที่เป็นสมบัติของโลก
    มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา
    ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล

    สมบัติในโลกเราแสวงหามา
    หามาทุจริตก็เป็นไฟเผา
    เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริงๆ

    -------------------------------------------------------------------


    หาคนดีมีศีลธรรมในใจ
    หายากยิ่งกว่าเพรชนิลจินดา

    ได้คนเป็นคนดีเพียงคนเดียว
    ย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้านๆ

    เพราะเงินเป็นล้านๆ
    ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ
    เหมือนได้คนดีทำประโยชน์

    -------------------------------------------------------------------


    ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ
    ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว
    ความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์
    ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ

    ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว
    จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลก
    เศษเดนและกองสมบัติเดนเท่านั้น
    ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด

    ความทุกข์ทรมาน ความอดทน
    ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ
    ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ
    ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง

    ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ
    ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

    -------------------------------------------------------------------


     
  2. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ขอบใจเวปสโนว์ ที่ช่วยรวบรวม ข้อธรรมดีๆมาฝากให้ได้พิจารณา เพื่อเตือนตัว เตือนใจ
    เตือนความคิด และการกระทำ ให้ยิ่งๆขึ้น
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ลายมือต้นฉบับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    [font=AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC]ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ

    ลายมือต้นฉบับ
    ของ
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    [/font]

    [​IMG]

    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits2.gits.net.th/data/d0005425.js"></SCRIPT><!--END WEB STAT CODE---->



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ccccff>
    [​IMG]


    [font=AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC]ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ

    นมัตถุ สุคตัสสะ ปัญจะธรรมะขันธานิ
    ************
    [/font]

    [font=AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC]ข้าพเจ้าขอน้อมน้อมซึ่งพระสุคตบรมศาสดาสักยมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ แลอริยสงฆ์สาวก

    บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมะขันธ์โดยสังเขป ตามสติปัญญา ฯ
    ยังมีท่านคนหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ ๆ เรื่องแก่ตาย วันหนึ่งท่านรู้จริงทิ้งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หาย เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ฯ
    ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์ทลาย แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ทำเมินไปเมินมาอยู่หน้าเขา จะกลับไปเป่าร้องซึ่งพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้าบอ สู้อยู่ผู้เดียวหาเรื่องเครื่องสงบ เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ เดี๋ยวถูกยอถูกติเป็นเรื่องเครื่องรำคาญ ฯ
    ยังมีบุรุษคนหนึ่งอีก กลัวตายน้ำใจฝ่อ
    [/font]





    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffccff>
    [​IMG]




    [font=AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC]มาหาแล้วพูดครง ๆ น่าสงสาร ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน เห็นธรรมที่แท้จริงแล้วหรือยังที่ใจหวัง เอ๊ะทำไมจึงรู้ใจฉัน บุรุษนั้นก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดี ๆ ฉันอนุโมทนา จะพาดูเขาใหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มี คือ กายะคะตาสติภาวนา ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน หนทางจรอริยวงศ์ จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ใช่หลอกเล่นบอกความให้ตามจริง
    แล้วกล่าวปฤษณาท้าให้ตอบ
    ปฤษณานั้นว่า ระวึง คือ อะไร ?
    ตอยว่า วิ่งเร็ว คือวิญญาณอาการไว เดินเป็นแถวตามแนวกัน สัญญาตรงไม่สงสัย ใจอยู่ในวิ่งไปมา สัญญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิต ทำให้คิดวุ่นวายเที่ยวส่ายหา หลอกเป็นธรรมต่าง ๆ อย่างมายา
    ถามว่า ห้าขันธ์ ใครพ้นจนทั้งปวง ?
    แก้ว่า ใจซิพ้นอยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติดสิ้นพิษหวง หมดที่หลงอยู่เดียวดวง สัญญาลวงไม่ได้หมายหลงตามไป
    ถามว่า ที่ว่าตาย ใครเขาตาย ที่ไหนกัน ?
    แก้ว่า สังขารเขาตาย ทำลายผล
    ถามว่า สิ่งใดก่อให้ต่อวน ?
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc>
    [​IMG]




    [font=AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC]แก้ว่า กลสัญญาพาให้เวียน เชื่อสัญญาจึงผิดคิดยินดี ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียน เลยลืมจิตจำปิดสนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น
    ถามว่า ใครกำหนดใครหมายเป็นธรรม ?
    แก้ว่า ใจกำหนดใจหมายเรื่องหาเจ้าสัญญานั้นเอง คือว่าดี คว้าชั่ว ผลัก ติด รัก ชัง
    ถามว่า กินหนเดียวไม่เที่ยวกิน ?
    แก้ว่า สิ้นอยากดูรู้ไม่หวัง ในเรื่องเห็นต่อไปหายรุ่งรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่งทิ้งอาลัย
    ถามว่า สระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ ?
    แก้ว่า ธรรมสิ้นอยากจากสงสัย สะอาดหมดราคีไม่มีภัย สัญญาในนั้นพราก สังขารนั้นไม่กวน ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ ไม่มีพร่อง เงียบระงับดวงจิตไม่คิดครวญ เป็นของควรชมชื่นทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน ก็ไม่เหมือนรู้จริงทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำคัญ จำอยู่ส่วนจำ ไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้น หายดิ้นรน
    เหมือนดังเอากระจกส่องเงาหน้า แล้วอย่าคิดติดสัญญา เพราะสัญญานั้นเหมือนดังเงา อย่าได้เมาไปตามเรื่องเครื่องสังขาร ใจขยับจับใจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป ใจไม่เที่ยงของใจใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตไหว แต่ก่อนนั้น
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffff99>
    [​IMG]


    [​IMG]



    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]หลงสัญญาว่าเป็นใจ สำคัญว่าในว่านอกจึงหลอกลวง คราวนี้ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาใดมิได้หวง เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา เปรียบเหมือนขึ้นยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน แลเห็นสิ้นทุกตัวสัตว์....สูงยิ่งนักแลเห็นเรื่องของตนแต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้นเช่นบันใด
    ถามว่า น้ำขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือ ?
    ตอบว่า สังขารแปรแก้ไม่ได้ ธรรมดากรรมแต่งไม่แกล้งใคร ขืนผลักไสจับต้องก็หมองมัวชั่วในจิต ไม่ต้องคิดขัดธรรมดา สภาวะสิ่งเป็นจริง ดีชั่วตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเป็นการเย็น รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารที่ผันแปรเมื่อแลเห็น เบื่อแล้วปล่อยได้คล่องไม่ต้องเกณฑ์ ธรรมก็เย็นใจระงับรับอาการ
    ถามว่า ห้าหน้าที่ มีครบกัน ?
    ตอบว่า ขันธ์แบ่งแจกแยกห้าฐานเรื่องสังขาร ต่างกองรับหน้าที่มีกิจการ จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มในตัว แม้ลาภ ยศ สรรเสริญ เจริญสุข นินทา ทุกข์ เสื่อมยศ หมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเป็นจริง ทั้งแปดอย่างใจไม่หันไปพัวพัน เพราะว่ารูปขันธ์ก็ทำแก่ไข้มิได้เว้น นามก็มิได้พักเหมือน
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffccff>
    [​IMG]




    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]จักรยนต์ เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา เรื่องดีพาเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุด เหมือนไฟจุดจิตหมองไม่ผ่องใส นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไปโทษใคร
    อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชย เช่นไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่งหวังพึ่งเฉย จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นครั้งคราว ถ้ารู้เท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์ ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราว ถ้ารู้ได้อย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิถี ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมาย ใจไม่เที่ยงของใจไหววิบวิบ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่ง เล็กบังใหญ่รู้ไม่ทัน ขันธ์บังธรรมมิดผิดที่นี่ มัวดูขันธ์ธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล
    ถามว่า มีไม่มี ไม่มีมี นี้คืออะไร ?
    ทีนี้ติดหมด คิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปล โปรดแก้เถิด ที่ว่าเกิดมีต่าง ๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน นี้ข้อต้นไม่มีอย่างนี้ตรง
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ccccff>
    [​IMG]




    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ข้อปลายไม่มี นี้เป็นธรรมที่ลึกล้ำไตรภพจบประสงค์ ไม่มีสังขาร มีธรรมที่มั่นคง
    นั้นแล องค์ธรรมเอก วิเวกจริง ธรรมเป็น ๑ ไม่แปรผัน เลิศภพสงบยิ่ง เป็นอารมณืของใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย เรื่องพัวพันขันธ์ห้าซาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง ความอยากใหญ่ยิ่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิษหวง ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจง
    เชิญโปรดชี้อีกอย่างหนทางใจ สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม ?
    แก้ว่า สมุทัยกว้างใหญ่นัก ย่อลงก็คือความรักบีบใจอาลัยขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์ เป็นเลิกกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิตย์ติดยินดี ใจตกที่สมุทัยอาลัยตัว
    ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต เอาจนคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว สร่างจาก
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc>
    [​IMG]




    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]เครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็คลายหายร้อน พอพักผ่อนเสาะแสวงหาทางหนี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข ขันธ์ทุกข์แท้แน่ประจำ ธรรมคงธรรม ขันธ์คงขันธ์เท่านั้น และคำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแท้ แต่ส่วนสังขารขันธ์ปราศจากสุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ตายไม่วายวัน จิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศ จิตก็ถอนจากผิดเครื่องเศร้าหมองของแสลง ผิดเป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้ง ถอนผิดหมดพิษใจ จิตเห็นธรรมดีล้นที่ผิด พบปะธรรมเปลื้องเครื่องกระสัน มีสติอยู่ในตัวไม่พัวพัน เรื่องรักขันธ์ขาดสิ้นหายยินดี สิ้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงใย ถึงจะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสัย เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งพ้นยุ่งไป พึงรู้ได้บาปมีขึ้นเพราะขืนจริง ตอบว่า บาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยิ่ง ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่งย่อมทุกข์ไม่สุขเลย
    แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉย ยึดตวามจำว่าเป็นใจหมายจนเคย
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ccccff>
    [​IMG]


    [​IMG]



    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]เลยเพลินเชยชม "จำ" ทำมานาน ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่นขันธ์ห้าน่าสงสาร ให้ยกตัวอวดตนพ้นประมาณ เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไปไม่เป็นผล เที่ยวดูโทษคนอื่นนั้นขื่นใจ เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม
    ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา ใจของเราเพียรระวังตั้งถนอม อย่าให้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบาย เห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ที่มั่นหมาย ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย เลยซ้ำร้ายกิเลสกลุ้มเข้ารุมกวน เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งกลัวนักหนักจิตคิดโหยหวน ซ้ำอารมณ์กามห้าก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่าง ๆ ไป
    เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ภัยไปได้นา ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่าชาเฉย ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย คงได้เชยชมธรรมะอันเอกวิเวกจิต ไม่เที่ยงนั้นหมายใจไหวจากจำ เห็นแล้วซ้ำดู ๆ อยู่ที่ไหว พออารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffccff>



    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][​IMG][/font]



    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]วิถีใจ รู้เท่าที่ไม่เที่ยง จิตต้นพ้นริเริ่ม คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้ รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที
    คำว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี จิตหวงนี้ปลายจิตคิดออกไป จิตต้นดีเมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย เห็นธรรมะอันเลิศล้ำโลกา เรื่องคิดค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถอนเปลื้องปลดได้หมดสิ้น ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ใจเชื่องชิดต้นจิตคิดไม่ครวญ ธรรมดาของจิตก็ต้องคิดนึก พอรู้สึกจิตต้นพ้นโหยหวน เงียบสงัดจากเรื่องเครื่องรบกวน ธรรมดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้นคงที่ไม่มีเลย
    ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด มักจะเบียดให้จิตไปติดเฉย ใจไม่เที่ยงของซ้ำให้เคย เมื่อถึงเอยหากรู้เองเพลงของใจ เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูปกิเลส จำแลงเพศเหมือนดังจริงที่แท้ไม่จริง รู้ขึ้นเองหมายนามว่าความเห็น ไม่ใช่เช่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม ทั้งตรึกตรองแยกแยะแกะรูปนาม ก็ใช่ความเห็นเองจงเล็งดู รู้ขึ้นเองใช่เพลงคิด
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc>
    [​IMG]




    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]รู้ต้นจิต จิตต้น พ้นโหยหวน ต้นจิตรู้ตัวแน่ว่าสังขารเรื่องแปรปรวน ใช่กระบวนไปดูหรือรู้อะไร
    รู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่ จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว จิตรู้ไหว ๆ ก็จิตติดกันไป แยกไม่ได้ตามจริงสื่งเดียวกัน จิตเป็นสองอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน ำม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมของตัวก็พ้นมัวมืด ใจก็จืดสิ้นรสหมดสงสัย ขาดค้นคว้าหาเรื่องเครื่องนอกใน ความอาลัยทั้งปวงก็ร่วงโรย ทั้งโกรธรักเครื่องหนักใจก็ไปจาก เรื่องใจอยากก็หยุดได้หายหวนโหย พ้นหนักใจทั้งหลายโอดโอย เหมือนฝนโปรยใจ ใจเย็นเห็นด้วยใจ ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตต้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย ต้องดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง อยู่เงียบ ๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง ไม่ต้องวุ่นต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต
    ท่านชี้มรรคฟังหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดี
    ตอบว่า สมุทัย
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ccccff>
    [​IMG]




    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]คือ อาลัยรัก เพลินยิ่งนักทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี ว่าอย่างต่ำกามคุณห้าเป็นราคี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน ถ้าจับตามวิถี มีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร เพลินทั้งปวงเคยมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิตไปในส่วนที่ผิด ก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน สิ่งใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย
    เพลินดูโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรกเลย โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก ส่งวิบากไปตกนรกแสนสาหัส หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้น คงได้เชยชมสุขพ้นทุกข์ภัย
    เมื่อเห็นโทษตนชัดรีบตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้ เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย เป็นโทษใหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง ดีแลไม่ดีนี้เป็นพิษผิดสำแลง ธรรมไม่แจงเพราะอยากดีนี้เป็นเดิม ความอยากดีมี
    [/font]


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffccff>
    [​IMG]




    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]มากมักลากจิต ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิม สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม ที่จริงชี้สมุทัยนี้ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างนุงทางยุ่งยิ่ง เมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งใจสงบจบกันที ฯ
    อันนี้ชื่อว่า ขันธวิมุติสะมังคีธรรมะ ประจำอยู่กับที่ ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา สภาวธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านี้ และไม่มีเรื่องจะแวะเวียน สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ ฯ
    ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิด ฯ
    [/font]

    [font=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]พระภูริทัตโต ฯ (หมั่น)

    วัดสระประทุมวัน เป็นผู้แต่ง ฯ
    [/font]

    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


     
  4. นายอดิศักดิ์

    นายอดิศักดิ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...