คนรักธรรมต้องมาคู่กับรู้ว่าอะไรเป็นธรรม จึงจะทำความจริงความถูกต้องให้สำเร็จได้ 2

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 13 กันยายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    จักกวัตติสูตร ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือ พึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้น ไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง, จักรพรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า

    ๑. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธ์ทั้งหลาย

    ๒. มิให้มีการอันอธรรม เกิดขึ้นในแผ่นดิน

    ๓. ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์

    ๔. ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบอยู่เสมอ


    จักรพรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑ เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับ จัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง

    นอกนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรพรรดิวัตร ๑๒

    พระสูตรนี้ ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรมกล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ กับ จริยธรรม เรื่อง พระศรีอารยเมตไตร ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อปริหานิยธรรม ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ ข้อที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหานิยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง
    ดังนี้
    ๑. หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์

    ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ

    ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์บัญญัติไว้

    ๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน

    ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น

    ๖.ยินดีในเสนาสนะป่า

    ๗. ตั้งใจอยู่ว่าเพื่อภิกษุ สามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข


    อปริหานิยธรรมที่ตรัสแก่กษัตริย์วัชชี (วัชชีอปริหานิยธรรม) สำหรับผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมือง มีอีกหมวดหนึ่ง
    คือ
    ๑. หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์

    ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ

    ๓. ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติบัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม

    ๔. ท่านผู้เหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง

    ๕. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลายมิให้อยู่อย่างถูกข่มเหงรังแก

    ๖. เคารพสักการบูชาเจดีย์ของวัชชี ทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยการทำธรรมิกพลี

    ๗.จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ (หมายถึงบรรพชิตที่เป็นหลักใจของประชาชน) ตั้งใจให้ท่านที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่โดยผาสุก
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ราชสังคหวัตถุ สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔
    คือ
    ๑. สัสสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า, ปรีชาในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์

    ๒. ปุริสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ

    ๓. สัมมาปาสะ “บ่วงคล้องไว้มั่น” ความรู้จักผูกประสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชยกรรม เป็นต้น

    ๔. วาชเปยะ, วาชไปยะ “วาจาดูดดื่มใจ” “น้ำคำควรดื่ม” ความรู้จักพูด คือ รู้จักทักทายปราศรัย ใช้วาจาสุภาพนุ่มนวลประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ เป็นทางสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...