ครูบาบุญชุ่ม คราวเกิดเป็น โสณพราหณ์ อนาคตวงศ์ พระพุทธรังสีมุนีนาท (โสณพราหณ์)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 6 กรกฎาคม 2018.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ครูบาบุญชุ่ม คราวเกิดเป็น โสณพราหณ์
    อนาคตวงศ์ พระพุทธรังสีมุนีนาท (โสณพราหณ์)

    ( #แชร์ เป็นธรรมทาน)

    ลำดับนั้น โสณพราหมณ์จะได้บังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าสืบต่อไปในอนาคตกาล ทรงพระนามว่าพระรังสีมุนีนาถศาสดาจารย์เจ้านั้น

    - พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๖๐ ศอก
    - มีพระชนมายุยืนได้ ๕ พันปีเป็นกำหนด
    - คัมภีร์หนึ่งว่าไม้เลียบ คัมภีร์หนึ่งว่าไม้ดีปลี เป็นพระมหาโพธิ
    - ประกอบไปด้วยพระพุทธรัศมีดุจสีทองรุ่งเรืองสว่างทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นอันงาม
    - ในศาสนาพระพุทธรังสีมุนีนั้น มนุษย์ทั้งปวงกระทำการงานเลี้ยงชีวิตของอาตมาเหมือนมนุษย์ทุกวันนี้
    พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระนามว่า รังสีมุนี นั้น
    ได้สร้างพระบารมีทั้ง ๑๐ ประการมาเป็นอาทิ คือทานและศีล แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่ง เป็นปรมัตถบารมีปรากฏอัศจรรย์หวั่นไหวจึงได้พระพุทธสมบัติทั้งปวง พระองค์ตรัสดังนั้นแล้วจึงนำมาซึ่งอดีตนิทาน ของพระรังสีมุนีนาถว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้วช้านาน ในเมื่อพระศาสนาพระกุกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสในโลก

    ครั้งนั้นโสณพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นมาณพผู้หนึ่งมีนามว่า มาฆมานพ เป็นมหาวาณิชพ่อค้าสำเภา มีความปรารถนามักมาก ไปค้าสำเภาเป็นปฐมนั้น ราคาสินค้าอันหนึ่งขายได้กำไร ๑๐ เท่าแล้วประมวญทรัพย์กลับสำเภาแล่นมานาวาก็จมลงในน้ำแต่ตัวนั้นรอดมาได้
    ...มาฆมานพก็จัดแจงสำเภาไปใหม่เป็นคำรบ ๒ สินค้าอันเดียวขายได้กำไร ๑๐ เท่า ได้ทรัพย์แล้วกลับมาสู่บ้านเรือนได้ ๗ วันก็เกิดเพลิงไหม้เรือนสิ้นข้าวของทั้งหลายเป็นอันมาก
    ...จึงจัดแจงสำเภาไปค้าขายอีกเป็นคำรบ ๓ ก็ขายของสิ่งเดียวได้กำไรอีก ๑๐ เท่า ได้ทรัพย์แล้วกลับมายังบ้านเรือนก็มีโจรทั้งหลายเข้าสะกดหลับเก็บเอาทรัพย์สิ่งของทองเงินทั้งปวงไปสิ้น
    ...ในขณะนั้นมฆมานพจัดแจงแต่งสินค้าไปขายเป็นคำรบ ๔ ก็ได้ราคาขายของสิ่งเดียวบังเกิดผลถึง ๑๐ เท่า ได้ทรัพย์แล้วกลับถึงบ้านเรือน ในวันนั้นพระมหากษัตริย์ให้ราชบุรุษทั้งหลายไปเก็บเอาทรัพย์สิ่งของแห่งมาฆมาณพนั้น มาเข้าท้องพระคลังจนหมดจนสิ้น
    ...ตกลงว่ามาฆมาณพผู้เป็นมหาวาณิชนั้น ได้ซึ่งความพินาศฉิบหายถึง ๔ ครั้ง มาฆมาณพกับภรรยาสองคนผัวเมีย ก็เกิดความทุกข์ยากวิวาทกับภรรยาเมื่อคราวจนแล้ว ส่วนตัวได้ผ้าแดงผืนหนึ่งกับทองแสนหนึ่ง หย่ากันกับภรรยาเสียแล้วก็ลงจากเรือนไปเที่ยวค้าขาย คิดว่าครั้งนี้เราจะไปกระทำวาณิชกรรมในที่ดังฤา ก็เที่ยวไปในประเทศจนถึงเมืองโกสัมพี ในกาลนั้นเป็นวันปัณณรสีอุโบสถ มาณพนั้นก็รักษาศีลสำรวมจิตปรกติ ฝ่ายว่าชาวเมืองโกสัมพีและชาวนิคมชนบททั้งหลายก็ชวนกันเดินไปมาในท่ามกลางพระนครตามความปรารถนา

    ในกาลนั้น พระสาวกองค์หนึ่งแห่งพระกุกกุสันธสัพพัญญูพระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้นเข้าสู่ผลสมาบัติ ครั้นว่าออกจากษมาบัติแล้วพระผู้เป็นเจ้าจินตนาว่า ใครหนอมีความทุกข์เบียดเบียนเป็นอันมาก
    ...เล็งแลดูด้วยทิพยจักษุญาณก็เห็นแจ้งว่ามาฆมาณพผู้เป็นบรมโพธิสัตว์นั้นประกอบด้วยมหันตทุกข์มากนัก
    ...ควรอาตมาจะยังมาณพผู้นี้ให้บังเกิดผลเห็นเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์ ให้ได้เสวยผลในอัตภาพชาตินี้ พระผู้เป็นเจ้าคิดแล้วก็จับบาตรและจีวรประดับกายพร้อมแล้วเหาะมาโดยอากาศ ลงในท่ามกลางเมืองโกสัมพี ยืนอยู่ในที่ใกล้มรรคาหนทาง
    ...พอมาฆมาณพเดินมาตามมรรคาเห็นพระสาวกแล้วก็เข้าไปกราบไหว้ถามว่า
    "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งดังฤา "

    "ดูก่อนมาณพ อาตมาภาพมายืนอยู่เพื่อจะรับทานของท่าน "

    มาณพได้ฟังดังนั้นก็มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ประกอบไปด้วยความโสมนัส เปรียบเหมือนบุรุษยากไร้เข็ญใจ ได้ซึ่งถุงทรัพย์พันตำลึงอันท่านมาวางลงในมือแห่งตน
    จึงกล่าวว่า
    "ข้าแต่พระผู้เจริญศีลาธิคุณ ตัวของข้าพเจ้าเป็นปุถุชนวาณิช เที่ยวค้าขายได้กำไรถึง ๔ หน ก็บังเกิดมหันตทุกข์เป็นอันมาก บัดนี้ข้าพเจ้าขอกระทำพระนิพพานเป็นวาณิชกรรมแห่งข้าพเจ้าแล้ว จะยังจิตให้เที่ยวไปค้าขายในเมืองแก้ว ให้ได้สมบัติโลกุตระในเบื้องหน้า "

    ครั้นว่าแล้วก็เอาทองแสนหนึ่งกับผ้าแดงผืนหนึ่งถวายแก่พระสาวก ด้วยจิตโสมนัสศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันดี แล้วก็กระทำความปรารถนาว่า

    "เดชะผลทานในกาลบัดนี้จงเป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่พระสัพพัญญุตญาณเถิด "

    ...พระสาวกเจ้าก็รับเอาไทยทานแล้วก็อนุโมทนาว่า

    "ดูก่อนอุบาสกผู้รู้พระไตรสรณาคุณแก้วสามประการ อันว่าความปรารถนาของท่านมีประการใด ขิปฺปํ สมิจฺฉตุ จงสำเร็จเป็นอันเร็วแก่ท่านดังความปรารถนานั้นเถิด"

    ...พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอนุโมทนาแล้วก็เหาะไปในอากาศเวหา ในเมื่อพระสาวกนั้นหายไปลับจักษุมาณพแล้ว ในที่ถวายทานแห่งมาณพนั้นก็บังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ขึ้นมาต้นหนึ่ง ฝ่ายมาณพก็ขึ้นอาศัยไม้กัลปพฤกษ์นั้น เปรียบเหมือนเทพบุตรผู้มีฤทธิ์ไปนั่งอยู่บนยอดเขายุคนธรบรรพต

    ครั้งนั้นพระเจ้าโกสัมพีเสด็จแวดล้อมมาด้วยมหาชนเป็นบริวาร ออกมาถึงสถนที่นั้น ทอดพระเนตรเห็นมาณพนั่งอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์นั้น ประดุจดังทิพยพิมาน จึงเสด็จเข้าไปใกล้ต้นกัลปพฤกษ์
    ...ฝ่ายว่าเทพารักษ์ที่รักษาต้นกัลปพฤกษ์นั้น ก็จับเอาพระศอพระยาโกสัมพีเสือกไสออกมา
    ...จึงทรงพิโรธ สั่งให้ราชบุรุษทั้งหลายเอาไฟมาเผาทิพยพิมานนั้นเสีย ในที่นั้นก็บังเกิดเป็นดอกประทุมชาติผุดขึ้นมารองรับเอามาณพนั้นไว้ให้นั่งอยู่บนดอกบัวเป็นอันงาม
    ...ฝ่ายพระยาโกสัมพีทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงสั่งให้จับตัวมาณพบรมโพธิสัตว์ให้เอาไปถ่วงน้ำเสีย เมื่อมหาชนเอามาณพไปถ่วงน้ำครั้งนั้นดอกบัวใหญ่ก็ผุดขึ้นมารับเอามาณพไว้มิได้เป็นอันตราย
    ...ครั้นพระยาโกสัมพีเห็นอัศจรรย์ดังนั้น จึงถามมาณพว่า

    "ไม้กัลปพฤกษ์ต้นนี้บุคคลดังฤาให้แก่ท่าน"

    มาณพจึงทูลว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐไม้วิมานทิพย์นี้พระสาวกให้แก่ข้าพระบาท"

    จึงตรัสว่า
    "ท่านจงไปหาพระสาวกให้มายังสำนักแห่งเรา เราจึงจะเชื่อถ้อยฟังคำของท่าน"

    ครั้งนั้นมาฆมาณพจึงตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อจะให้พระผู้เป็นเจ้ามา ด้วยวาจาว่า
    "ข้าแต่พระผู้เจริญคุณเป็นอันมาก บัดนี้จงอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้ากลับมายังสำนักข้าพเจ้าก่อนเถิด "

    พอขาดคำอธิษฐานลง องค์พระสาวกผู้ประเสริฐก็เล็งแลด้วยทิพยจักษุญาณ รู้แจ้งแล้วก็เหาะลอยลงมายืนประดิษฐานอยู่ณที่ใกล้แห่งมาณพนั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงบอกแก่กษัตริย์กรุงโกสัมพีว่า
    "ดูก่อนพระองค์ผู้ทรงเป็นสมมติเทวราช ถ้าแลพระองค์ขืนกระทำประทุษร้ายแก่มาณพหน่อพุทธางกูรผู้นี้ ในพระนครของพระองค์ก็จะทรุดจมลงไปในแผ่นปฐพีหมดสิ้น"

    พระผู้เป็นเจ้ากล่าวดังนั้นแล้ว ก็กลับเหาะไปในอากาศเวหา ลงยังสำนักของพระผู้เป็นเจ้า พระยาโกสัมพีได้ฟังพระมหาเถระกล่าวดังนั้น ก็ตกใจสะดุ้งกลัวแต่ภัยยิ่งนัก จึงตรัสว่า
    "ดูก่อนมาณพผู้เจริญ เราขออภัยโทษแก่ท่านเสียเถิด ตั้งแต่วันนี้ไปท่านจงเป็นที่อนุชาธิราชของเรา พระยาโกสัมพีกตั้งมาฆมาณพบรมโพธิสัตว์ไว้ในที่เป็นอนุชาธิราชของพระองค์ฯ "

    ดูก่อนธรรมเสนาบดีสารีบุตร
    "อันว่ามาณพนั้นได้ซึ่งมหาสมบัติทั้งปวงเป็นอันมาก เมื่อได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูเจ้า ทรงพระนามว่าพระรังสีมุนี จึงมีพระพุทธรัศมี และได้ซึ่งสมบัติบริบูรณ์อันประเสริฐยิ่งนัก แสดงมาด้วยเรื่องราวโสณพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ คำรบ ๖ ก็ยุติแต่เพียงนี้"

    เรื่องราวโดย https://palungjit.org/threa…/พระอนาคตวงศ์-10-พระองค์.110586/

    เรียบเรียงใหม่ #AchitaPS

    เรื่องเสริม https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2138066713149508&id=100008385999353

    คลิปตอนท่านกล่าวว่า จะบรรลุเป็น
    พระพุทธรังสีมุนีนาท https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1899263556980655&id=1889436424630035


    • ********************************************
    ?temp_hash=dbd1ebe52d5b847deb34d9d310b73425.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    36609925_409281799586036_3375039907411001344_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    36797000_242061849728249_7095868881658445824_n.jpg
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    การมีช้างเผือกมากย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามต่อราชอาณาจักร

    แต่สิ่งที่เลิศกว่านั้นขึ้นไปอีกคือ อาณาจักรใดที่มีพระโพธิสัตว์มากหลายพระองค์ดำรงค์อยู่ มีอริยะสงฆ์อันเลิศหลายพระองค์อยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นมงคลอันเลิศ

    ฉะนั้น คณะรัฐผู้มีอำนาจ จึงควรรู้เข้าใจ วิธีการให้ได้มาซึ่งช้างเผือก การดูแลเอาใจใสให้ท่านสะดวกสบายเอื้อต่อท่าน ผูกจิตผูกใจท่านไว้ให้ได้ นั้นจึงเป็นสิ่งอันควรยิ่ง

    เหล่าพระโพธิสัตว์หรืออริยะสงฆ์สาวกก็เฉกเช่นกัน อันเลิศประเสริญยิ่งกว่าช้างเผือกใดๆเหล่านั้น รัฐจึงควรทะนุบำรุงดูแลเกื้อกูลท่านให้ดี เอื้ออำนวยท่านให้ดี

    อันเป็นสิ่งควร อันฉลาด
     

แชร์หน้านี้

Loading...