คลองเจดีย์บูชา นครปฐม คลองประวัติศาสตร์คู่บ้านคู่เมือง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 12 มกราคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG]คลองเจดีย์บูชา เป็นลำคลองประวัติศาสตร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงให้ขุดคลองนี้ขึ้น โดยขุดเชื่อมโยงจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำท่าจีน ตรงบริเวณตลาดต้นสน อำเภอนครชัยศรี ใกล้กับสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำท่าจีน ตัดตรงมุ่งสู่ตัวเมืองนครปฐม ผ่านด้านหน้าวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ ไปออกทัพหลวง มุ่งสู่แม่น้ำแม่กลอง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

    ลำคลองเจดีย์บูชา กว้าง 15-20 เมตร ยาว 12 กิโลเมตร ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เมืองนครปฐม ทั้งยังเสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ สร้างพระราชวัง

    เส้นทางน้ำคลองเจดีย์บูชา นับเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแต่อดีตเป็นต้นมา แต่ในปัจจุบันคุณภาพน้ำในคลองเจดีย์บูชาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากการขยายตัวของชุมชน และมีการปล่อยสิ่งปฏิกูลจากฟาร์มสุกร โรงงานอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยไม่ผ่านระบบการจัดการที่ถูกต้อง

    สิ่งหนึ่งที่พอเป็นการแก้ปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นในคลองเจดีย์บูชา คือจัดตั้ง "เยาวชนอาสารักษ์คลองเจดีย์บูชา" เพื่อติดตามพัฒนาและฟื้นฟูคลอง

    นางสาวจุฑามาศ แพงเวียง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนภัทรญาณวิทยา และนางสาวสุภาภรณ์ แก้วทินกร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย สองเยาวชนอาสารักษ์คลองเจดีย์บูชา เห็นความสำคัญของคลองแห่งนี้ และเข้าร่วมโครงการ

    หนึ่งในสองสาว จุฑามาศเล่าว่า จากการที่ได้เป็นตัวแทนเยาวชนติดตามผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมนายประสาท พงษ์ศิวาภัย และคณะล่องเรือ ตรวจน้ำในคลองเจดีย์บูชา และดูสภาพแวดล้อมของคลอง

    ตามโครงการพัฒนาเพื่อกระบวนการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมคลองเจดีย์บูชา

    จังหวัดนครปฐม พบว่าปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองมากในช่วงตอนกลางคลอง ส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสุกร

    บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ริมคลองเจดีย์บูชาก็มีส่วนทำให้น้ำเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น มีสีดำ เหมือนกัน เพราะว่าบ้านเรือนไม่มีบ่อบำบัด ของเสียจากครัวเรือนถูกทิ้งลงคลองอย่างต่อเนื่อง มีวัชพืชปกคลุมอยู่ตามสองฝั่งคลองช่วงตอนปลายของลำคลอง มีห้องสุขาและน้ำจากหมู่บ้านขนาดใหญ่ริมคลองเจดีย์บูชาที่ต่อท่อลงคลองอยู่หลายหลังคาเรือนและมีต้นไม้ใหญ่ที่ล้มลงในคลองกีดขวางการสัญจรอยู่หลายต้น

    สภาพที่เกิดขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมถึงกับบ่นว่า รู้สึกอึดอัดมากกับการที่เห็นคลองเจดีย์บูชา ซึ่งเป็นคลองประวัติศาสตร์ ต้องเสื่อมโทรม และสูญหายไปในที่สุด เพราะความเจริญของชุมชนเมือง และมนุษย์เป็นผู้ทำลาย

    "ในฐานะที่มานั่งเป็นผู้ว่าฯซีอีโอเมืองเจดีย์ใหญ่แห่งนี้ ต้องเริ่มปลุกจิตรสำนึกคนนครปฐมให้รู้จักรักและหวงแหนสายน้ำสายสำคัญนี้ ด้วยการรณรงค์ฟื้นฟูคลองเจดีย์บูชาด้วยความร่วมมือของ 3 องค์กร คือ บ้าน วัด และโรงเรียน หรือเรียกสั้นๆ ว่า "บวร" เพราะถ้าประชาชนที่อาศัย หรือประกอบธุรการอยู่ริมสองฝั่งคลองเจดีย์บูชาตลอดสาย ตระหนักถึงปัญหาและช่วยกันปิดท่อระบายน้ำ ไม่ทิ้งเศษขยะมูลฝอยลงสู่คลอง ไม่เกิน 365 วัน น้ำในคลองเจดีย์บูชาใสสะอาดดังเดิมแน่นอน"

    ส่วนสองสาวอาสาสมัครเห็นว่า ระหว่างล่องเรือไปตามคลองเจดีย์บูชา มีเศษขยะและถุงพลาสติคติดใบพัดเรือทำให้ต้องจอดเรือเพื่อดึงออกหลายครั้ง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในอดีตคลองเจดีย์บูชาเป็นคลองที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ บริเวณตลาดต้นสนเป็นคลองสายประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าสำหรับคนในจังหวัดนครปฐม

    "แต่ก่อนน้ำในคลองมีคุณภาพดีจนสามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ จึงน่าใจหายมากที่ระยะเวลาเพียงไม่กี่สิบปี สภาพของคลองเจดีย์บูชาทรุดโทรมและเน่าเสียมากขนาดนี้"

    สำหรับคลองเจดีย์บูชาแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือตอบน จากตำบลทัพหลวง ถึงตำบลวังตะกู สภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี

    ตอนกลางจากเขตเทศบาลนครนครปฐม ถึงตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี เป็นช่วงที่เสื่อมโทรม วัดค่าออกซิเจนในน้ำได้เพียง 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

    ส่วนตอนล่าง จากตำบลศีรษะทอง ลงไปถึงปากคลองเจดีย์บูชา เขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี สภาพน้ำเสื่อมโทรมหนัก วัดค่าได้เพียง 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร เนื่องจากเป็นตอนปลายของสายน้ำจะมีของเสียตกค้างมาก และหากน้ำในแม่น้ำท่าจีนขึ้นสูงหนุนเข้ามาก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำกักขังในช่วงชุมชนต้นมะขาม น้ำวิกฤตหนักถึงกับเน่าเหม็น

    "ปัญหาเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากขณะนี้น้ำในคลองเจดีย์บูชาวิกฤตมากแล้ว สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้" จารุภา อยู่พูล ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครปฐม กล่าว

    คลองเจดีย์บูชา เป็นคลองสายประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและทรงคุณค่ามาก หากต้องมาเสื่อมโทรมและเสียหายในยุคนี้

    ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คนนครปฐมจะลุกขึ้นมาช่วยกันบูรณะและรักษาคลองเจดีย์บูชาให้อยู่คู่กับเมืองปฐมนคร มิใช่รอดูเพียงภาพถ่ายในวรรณคดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...