ความกลัว...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย นพณัฐ, 23 ตุลาคม 2012.

  1. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    [​IMG]



    ความกลัว...
    เห็นตามที่เป็น…ไม่สู้และไม่หนี…
    กลัวสิ่งไหน…เข้าใกล้สิ่งนั้น…จนความกลัวจางคลายไป..
    ความกลัวมักอยู่กับความกล้า…แต่คนละฝั่งของใจ…
    ความกลัวทำให้เราไม่กล้าลงมือทำสิ่งใด…
    เหตุแห่งความกลัวก็คือความไม่รู้ (เท่าทัน )..
    ความกลัวเป็นต้นของความคิดปรุงแต่ง
    เป็นมนุษย์ปกป้องตนเองเพราะความกลัว..ของอัตตา….
    เมื่อมีความดับสูญของอัตตา…
    ความเปิดกว้างของจิตย่อมไม่มีขอบเขต ความกลัวจึงดับสูญ…
    ความกลัว…อัตตา…ความหลง…หลงในตัวตน…
    เพราะนั่นเรามองไม่เห็นตัวอัตตา…ความเนียนของอัตตา
    จึงยึดมั่นในความคิดปรุงแต่ง…ยึดมั่นในตัวตน…ยึดมั่นในความกลัว…
    เมื่อตกอยู่ในขอบของอัตตา…กรอบของความกลัวย่อมปรากฏ
    กลัว…การสูญเสีย
    กลัว….การพลัดพราก
    กลัว…ความตาย
    กลัว….ความเจ็บปวด
    กลัว…ความแก่ ความเสื่อม
    เมื่อความกลัวปรากฏ…
    ความเกลียดจะคลานตามเข้ามาแอบซ่อนในเบื้องหลังความกลัว….
    กลัวการสูญเสีย…ก็จะเกลียดการสูญเสีย…เกลียดสิ่งที่ทำให้สูญเสีย…
    อัตตาก็จะทำงานคือปกป้องการสูญเสีย…สร้างกระบวนการสร้างเหตุแห่งทุกข์
    กลัวการพลัดพราก….ก็จะเกิดความเศร้า ความไม่อยากพลัดพราก…
    ความอยากได้สิ่งนั้นมาเป็นของตน…เป็นกระบวนการสร้างเหตุแห่งทุกข์…
    กลัวความตาย…ก็จะเกิดการหดหู่ ความซึมเศร้า…
    เพราะคิดว่าความตายเป็นทั้งการสูญเสีย..การพลัดพราก…
    เป็นกระบวนการสร้างเหตุแห่งทุกข์…
    เพราะความยึดมั่นนั่นเองที่เป็นต้นเหตุของความกลัว….
    การปฏิบัติภาวนา…ทำให้รู้เห็นตามจริง เมื่อเห็นตามเป็นจริง
    ความกลัวจะค่อยจางคลายไป เมื่อมีความกลัวมาปรากฏ
    จิตจะเริ่มค้นหาเหตุโดยอัตโนมัติ…
    การทำความเพียรบ่อยๆ…คือการทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นเบื้องต้น…
    พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม…อยู่เรื่อยๆ…สม่ำเสมอ
    ให้จิตได้รับรู้ตามความเป็นจริง…
    จิตละจากความยึดมั่น…จิตจะมีความกล้าเป็นพลัง…ไม่ใช่เพื่อการปกป้อง
    แต่เพื่อเป็นการรู้เท่าทันปรากฏการณ์…รู้กระบวนการทำงานของจิตต่อปรากฏการณ์นั้น…

    ความกลัวทำให้จิตอ่อนกำลัง…ขาดความกล้า…สำรวจใจตัวเอง..
    ว่าเรากลัวต่อสิ่งไหนบ้าง…สิ่งนั้นแหละที่ทำให้เกิดกระบวนการของทุกขลักษณะ

    ขอขอบพระคุณ www.wordpress.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...