ความรักในทางพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 23 เมษายน 2005.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    JR5235851.jpg

    ความรักในทางพระพุทธศาสนา

    ท่านได้จำแนกเรื่องความรักไว้เป็นสองประเภท คือ

    1. ความรักที่เกิดจาก กามฉันทะ คือ ความเร่าร้อน ความกระหาย ที่อยากจะได้ในสิ่งที่ตนพึงปรารถนา หากได้ตามใจปรารถนาแล้ว ผู้นั้นก็จะมีความชื่นชมยินดี มีความสุขทั้งกาย และใจ ถ้าต้องประสบกับความผิดหวัง จิตของผู้นั้นจะมีแต่ความโทมนัส เศร้าโศกเสียใจ บังเกิดเป็นความทุกข์กายติดตามมา กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายซูบซีดเศร้าหมอง เบื่อโลก เบื่อชีวิต เบื่องานเบื่อการ มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ขาดสติสัมปชัญญะ หาทางเบียดเบียนคู่ต่อสู้ด้วยวิธีการและรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการผิดศีล หากยังไม่สมปรารถนาอีก บางคนก็อาจจะคิดสั้นก่ออกุศลกรรม สร้างทุกข์โทษให้แก่ตัวเอง คือ การอัตวินิบาตกรรม และหรือ แก่ผู้อื่นด้วยวิธีการอื่นๆ เท่าที่อกุศลเจตนาจะพาไป

    2. ความรักที่เกิดจาก เมตตา ซึ่งมีอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์โดยทั่วถ้วนหน้า โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น วัย เวลา สถานที่ และสามารถแผ่กระจายไปได้ทุกหนทุกแห่งอย่างไม่มีขอบเขต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับจิตวิญญาณของมนุษย์ตั้งแต่ต้น ยกเว้นผู้ที่มีความพิการทางสมองซึ่งไม่สามารถกระตุ้นจิตวิญญาณให้เกิดอารมณ์ในลักษณะ นี้ขึ้นได้

    นิยามของความรัก ที่เทียบธรรมในทางพุทธที่ใกล้เคียงที่สุดคือ พรหมวิหาร 4 (พรหม = ที่พึ่ง, วิหาร = เครื่องอยู่) = ธรรมของความเป็นที่พึ่งพาได้คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    - เมตตา คือ ความรัก,ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า (ข้อ 1 ในพรหมวิหาร 4, ข้อ 2 ในอารักขกรรมฐาน 4)
    - กรุณา คือ ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์,ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา
    - มุทิตา คือ ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี,เห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ก็แช่มชื่นเบิกบานใจด้วย เห็นเขาประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจ พร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนไม่กีดกันริษยา
    - อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น (ข้อ 4 ในพรหมวิหาร4, ข้อ 7 ในโพชฌงค์ 7, ข้อ 10 ในบารมี 10, ข้อ 9 ในวิปัสสนูปกิเลส 10)

    เมื่อนิยามความรักแล้ว คำบรรยายความรักในทางโลกสำหรับผู้ยังมีกิเลส (กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์) ยังไม่ใช่ความรักที่บริสุทธิ์ตามพรหมวิหารธรรมล้วน ๆ ยังเจือปนไปด้วยอุปกิเลส (คือโทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก
    ความสุขจากการกระทำกรรมดีร่วมกันมาจะส่งผลก่อน ดึงคนสองคนเข้ามาหากัน และหลังจากนั้นกรรมไม่ดีจะเริ่มแสดงตัวที่ทำให้เกิดความทุกข์ระหว่างกัน ทะเลาะกัน

    ความรักทุกชนิดของปุถุชน จะเจือปนด้วยกิเลสได้เสมอแม้แต่การรักลูก ตราบที่ยังมีลูกของเรา (ต้องดี ต้องเก่ง ต้องเยี่ยม ต้องสวย ต้องหล่อกว่าคนอื่น) จนความรักกลายเป็นการผลักดันลูกให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้โดยอ้างความรัก
    ความ รักของปุถุชนหนุ่มสาวที่ยังมีกิเลส มีกามราคะ (ความพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) เริ่มจากตาเห็นรูป แล้วจิตที่ยังมีอวิชชา มีความหลงครอบงำ เริ่มปรุงแต่งว่า เมื่อรูปข้างนอกสวย จิตใจข้างในต้องดีด้วยเป็นแน่ (คิดเอา คาดเอาเอง) จึงพยายามสร้างปัจจัยทุกทางเพื่อให้ได้ครอบครองเพื่อเสพสิ่งที่ตน (คิดเอาเอง) ว่าดีนั้น เริ่มจากการเสพรูป (ผ่านทางตา) เสพรส (ผ่านทางปากหรือลิ้น) เสพกลิ่น (ผ่านทางจมูกโดยการดมกลิ่น) เสพเสียง (ผ่านทางหู) สัมผัส (ผ่านทางกายโดยการจับมือถือแขน ลูบไล้ กอดรัด รวมถึงการร่วมประเวณี) นี่เป็นการบรรยายในมุมของการเสพ คือมองจากภายนอก

    ถ้าจะบรรยายจากมุมมองของสติและสัมปชัญญะที่เห็นภาพรวมจากภายในจิตออกไปภายนอกนั้น ต้องเริ่มจาก
    จิตที่มีอวิชชา - ความไม่รู้บังไม่ให้เห็นว่าจิตกำลังหลง เริ่มจากมีสิ่งกระทบ (ผัสสะ) มากระทบกับอายตนะ (เครื่องดึงดูดให้จิตส่งออกนอก มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) ไม่ว่าจะเป็นรูปกระทบตา เสียงกระทบหู กลิ่นน้ำหอมหรือกลิ่นกายกระทบจมูก ได้ชิมรสต่าง ๆ (ในกรณีของอาหาร) ทางลิ้น ได้สัมผัสทางกาย (กายของเพศตรงข้าม หมอน เบาะหรือที่นอนนุ่มๆ ตลอดจนการปรุงแต่งของสังขารขันธ์หรือใจ ที่ทำการ amplify จนความยึดมั่นในคนหรือวัตถุที่จิตไปเกาะยึดอยู่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ) ส่งให้จิตปรุงแต่งหาวิธีครอบครองคนหรือจิตหรือวัตถุนั้น ๆ จนเกิดเป็นมโนกรรม วจีกรรม ตลอดจนกายกรรมต่อไป และถ้าบุคคลไม่มีศีลแล้ว ก็สามารถกระทำการที่ละเมิดบุคคลอื่นจนเกิดเป็นกรรมไม่ดีขึ้นมาได้ต่อไป
    ความรักจะเป็นพิษ เมื่อบุคคลยึดกับวัตถุสิ่งของหรือบุคคลอื่นมากจนขาดสติและสัมปชัญญะ ไม่ได้สำรวจตรวจสอบตนเองจนไปละเมิดบุคคลอื่น
    เริ่มจาก ปาณาติบาต (การตัดชีวิตสัตว์อื่นให้สิ้นไป) อทินนาทาน (ถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้มอบให้มาเป็นของตน) กาเมสุมิจฉาจาร (ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ผิดประเวณี คือไปแย่งของรัก ละเมิดคู่รักผู้อื่น) มุสาวาทา (พูดไม่จริงที่ทำให้เกิดความเคยชินกับการผิดศีล ทำให้ลดความรู้สึกผิดเวลาผิดศีลลงไปเรื่อย ๆ) หรือ สุราเมรัย (ดื่มสุราเกินพอดีจนทำให้ขาดสติ)

    โดย พญ.มณฑิรา พรศาลนุวัฒน์ จิตแพทย์
    Thaiclinic
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...