ความริษยา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย satan, 16 มิถุนายน 2008.

  1. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,055
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ความริษยา

    ผู้มีความริษยานั้น ทำอะไรรุนแรงได้ร้อยแปด แม้เป็นความไม่จริงก็พูดได้ ใส่ร้ายได้ มุ่งเพียงเพื่อความฉิบหายของผู้ถูกริษยาเท่านั้น


    อำนาจความมุ่งร้ายต่อผู้ที่ถูกริษยารุนแรงนักหนา
    คิดพูดทำอะไรได้ทุกอย่าง
    มุ่งพียงเพื่อทำลายชื่อเสียงเกียรติยศของผู้ถูกริษยา
    ผู้ถูกถือว่าเป็นศัตรูร้าย
    น่าจะลืมสนิทถึงบาปกรรมที่ตนกำลังทำว่า
    กำลังนำชีวิตไปนรกเพราะบาปกรรมนั้น

    บาปกรรมที่เจ้าตัวผู้กระทำรู้ดีว่า เป็นบาปกรรมที่ตนทำขึ้นจริง ๆ ผู้ตกเป็นเหยื่อไม่มีส่วนทำชั่วดังถูกยกขึ้นอ้างถึงเลย

    ควรสงสารบรรดาผู้ที่ไม่ได้มีความริษยาด้วยแม้แต่น้อยและก็มีจิตใจห่วงบ้านเมืองมากเกินไป ไม่อยากให้คนเลวเชิดหน้าชูตาอยู่ในบ้านเมืองอย่างคนดี อย่างที่ทำให้ใคร ๆ หลงเข้าใจว่าเป็นคนดี

    ผู้ห่วงบ้านห่วงเมือง ห่วงผู้คนในบ้านในเมืองไทยว่าจะมีคนชั่วอยู่ร่วมสังคมคนดี จึงตัดสินใจทำหน้าที่ช่วยสถาบัน ด้วยการคิดพูดเต็มความสามารถเพื่อให้ความไม่ดีของผู้นั้นปรากฏประจักษ์แก่คนทั่วไป

    โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ความจริง คือไม่ได้รู้ว่าผู้ตกเป็นเหยื่อความริษยานั้นตีหน้าหลอกหลวงว่า เป็นคนดีทั้งที่เป็นคนไม่ดีสารพัดจริงหรือไม่ หรือว่าเพียงถูกกล่าวหา

    อย่างไรก็ตาม ความรักความห่วงใยสถาบันก็ทำให้ตัดสินใจให้ความปกป้องคุ้งครองเต็มที่ ประกาศให้รู้กันว่า คนไม่ดีกำลังเข้ามามีบทบาททำลายบ้านเมืองไทยที่รัก ให้ทำลายเขาเสียก่อน

    แผนการทำลายเพื่อรักษาสถาบันที่รักของไทยจึงเริ่มกระทำกันอย่างจริงจัง กระเทือนไปทั่ว ผู้เป็นเหยื่อความริษยาที่ก็ยืนยันกับตัวเองและกับผู้ที่เชื่อในความดีของผู้ตกเป็นเหยื่อริษยาว่า คนเหล่านั้นกำลังทำบาปที่ร้ายแรงนักหนาจะพาความวุ่นวายเดือดร้อนรุนแรงมาสู่ประเทศชาติ

    การทำลายคนดีมีหรือจะไม่บาป
    แม้จะรู้สึกว่าทำเพื่อชาติก็ตาม
    แต่เมื่อผู้ต้องรับเคราะห์กรรมอย่างน่าเศร้าเสียใจที่สุดเป็นคนดี
    การทำร้ายคนดีให้เดือดร้อนนักหนา
    จะคิดอย่างไร จะอ้างอย่างไร
    ก็ไม่พ้นต้องรับบาปอันเกิดแต่กรรมของตนแน่
    เพียงแต่ว่าจะช้าหรือเร็วเพียงไรเท่านั้น



    : แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    http://variety.teenee.com/foodforbrain/8713.html
     
  2. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,055
    ค่าพลัง:
    +17,915
    พรหมวิหาร กับการวางใจไว้ให้ถูกที่ ให้สวยงาม

    การใช้พรหมวิหารธรรม เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในที่นี้ย่อมเหมาะสมยิ่ง ผู้ได้รับกรรมถึงเป็นถึงตาย หรือได้รับความทรมานบาดเจ็บมากน้อยหนักเบา สูญเสียต่างๆ ก็ตาม ในฐานะผู้ดูเราต้องปลงใจลงว่า นั่นเขาได้รับผลแห่งกรรมที่เขาเองต้องเคยทำมาแล้ว

    ส่วนผู้ทำกรรม ก่อความทุกข์ความทรมานเสียชีวิตเสียเลือดเนื้อ หรือทรัพย์สินเงินทองแก่ผู้อื่นนั้น ในฐานะผู้ดูเราต้องพยายามคิดให้พอเข้าใจว่า เขาตามกันมาเพื่อทวงหนี้กรรม จิตใจของทั้งสองฝ่ายทุกข์ร้อนด้วยกัน ไม่มีฝ่ายใดเป็นสุขได้เลย

    เราต้องไม่เข้าไปร่วมความร้อนรนนั้นด้วย ถ้าเราไปมองผู้ทำกรรมอย่างโกรธแค้นเกลียดชังในความร้ายกาจโหดเหี้ยมอำมหิตของเขา เราก็จะทำร้ายตนเอง ไม่ใช่ใครที่ไหนทำ พึงใช้เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เมตตาที่เขาต้องทุกข์ด้วยกัน

    เราทำบุญกุศลใดไว้ ก็ตั้งความกรุณาอุทิศให้ผู้เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเขาทั้งสองฝ่าย ให้ตัวของเขาด้วย เพื่อให้พอมีความสงบเย็นแม้เท่าที่กำลังจิตของเราสามารถช่วยได้ ขณะเดียวกันมีมุทิตายินดีกับตัวเองกับใครทั้งหลายอื่น ที่ไม่ตกอยู่ในสภาพเช่นคู่กรณี

    ไม่ต้องมีจิตใจที่เร่าร้อนทนทุกข์ทรมาน และมีอุเบกขาคือ พยายามวางใจเป็นกลาง ไม่เอียงไปเมตตากรุณาฝ่ายหนึ่งจนทำให้คิดไม่ดีในอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ใจตั้งอยู่ในเมตตาทั้งสองฝ่าย

    ที่สำคัญการวางใจนี้ต้องให้เป็นไปอย่างจริงใจ เมตตาอย่างจริงใจ กรุณาอย่างจริงใจอุเบกขาอย่างจริงใจ นั่นแหละจึงจะเป็นกรรมดีที่สมบูรณ์จริง อันจักให้ผลดีได้จริง


    : ธรรมเพื่อความสวัสดี
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    http://variety.teenee.com/foodforbrain/8714.html
     
  3. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,055
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ความผิดคนอื่น 90% ความผิดเรา 10%

    พระอาจารย์สอนคนชอบยุ่งกับเรื่องของคนอื่น
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก


    อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามากๆ ดูตัวเองมากๆ
    หลวงพ่อ ( พระโพธิญ ­ าณเถร) บอกว่า
    " ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %"
    คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

    กลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 %
    ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
    เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
    ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่

    ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง
    โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
    มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึง ต้อ งระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ

    เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
    เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
    จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
    เพราะเหตุนี้เราจะ ต้อ งพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ
    และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ
    แต่ถึงอย่างไรๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ

    พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
    ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมากๆ
    เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ
    แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ

    ยังไม่ ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก
    รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
    เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็นๆ ไว้ก่อน
    ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ ..... ไม่แน่
    อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
    เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
    สักแต่ว่า ..... สักแต่ว่า ..... ใจเย็นๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด

    ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
    เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว
    จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
    พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
    ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
    ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น
    ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
    ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
    มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน
    ก็สงบๆ ๆ ไม่ ต้อ งดูคนอื่นว่าเขาทำผิดๆ ๆ
    ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มากๆ
    พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา ..... นั่นแหละ

    เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน
    เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
    ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ
    หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
    มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
    อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวันๆ ก็หมดแรง

    ระวังนะ
    พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
    ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
    แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา..... ก็เรื่องของเขา
    อย่าเอามาเป็นอารมณ์
    อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา

    ดูใจเรานั่นแหละ
    พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
    ทำใจเราให้ปกติ สบายๆ มากๆ
    หัด - ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
    ไม่มีอะไรหรอก
    ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
    คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข

    แหล่งที่มาจาก : FW

    http://variety.teenee.com/foodforbrain/8651.html
     
  4. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,055
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ให้อภัย...ให้ที่ว่างกับใจตน

    การให้อภัย
    เป็นการให้ที่ว่างกับใจตนเอง
    เพื่อไม่ต้องแบกความรู้สึกไม่ดีไว้กับตนเอง
    เหนื่อยไหมกับการต้องแบกอะไรไว้ในใจมากมาย
    คนที่เคยทำให้คุณเจ็บช้ำ คนที่เคยทำผิดต่อคุณ

    ถึงแม้ว่าเวลาอาจรักษาแผลใจได้
    แต่ไม่อาจทำให้ความผิดของคนๆนั้นหายไปจากใจคุณได้

    แต่การให้อภัยจะเป็นการลบความผิดนั้นออกจากใจ
    ไม่ต้องให้คุณสร้างแผลใจให้กับตัวเอง
    เพราะคนที่ทำผิดกับคุณ เขาอาจไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับคุณหรอก....

    ...........................................

    ให้อภัยเป็นการให้ที่วิเศษ เพราะเป็นการให้สองทาง
    นอกจากจะเป็นการปลดปล่อยความผิดของใครบางคน
    ก็ยังเป็นการให้ที่ว่างกับใจตนเอง
    เพื่อไม่ต้องแบกความรู้สึกไม่ดีไว้กับตัวเอง

    การให้อภัย ไม่ใช่การยอมรับความผิดของใครบางคน
    แต่เป็นการให้อิสระแก่ใจตัวเอง...
    เพื่อหลุดพ้นจากความพยาบาท

    ................................................

    คนอื่นทำอะไรผิดๆ กับคุณมากมาย
    ถ้าคุณให้อภัยเขาเหล่านั้นได้

    บางทีคุณควรจะนึกย้อนถึงตัวคุณเองบ้าง
    ยังมีสิ่งใดที่ยังค้างคาอยู่ในใจคุณบ้าง
    สิ่งที่คุณรู้สึกผิด หรือคุณอาจจะแก้ไขไม่ได้

    หลายๆครั้งที่ความผิดของเราเอง
    เป็นตัวกีดกั้นเราจากความกล้าที่จะเดินไปข้างหน้า
    สิบเท้ายังรู้พลาด...
    เราเองก็คนธรรมดาคนหนึ่ง
    อาจถึงเวลาที่คุณจะให้อภัยตัวเองได้แล้ว

    "การให้อภัยตัวเอง
    อาจเป็นการให้อภัยที่ยากที่สุด"


    -----------------------------------------------------
    พล ตัณฑเสถียร. "ดูใจ". กรุงเทพฯ : ใยไหม, 2547. หน้า 133-135.

    http://variety.teenee.com/foodforbrain/8569.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...