ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 16 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๘๔. ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
    ในธรรมเหล่านั้น ศีลวิบัติเป็นไฉน ? ความก้าวล่วง<sup></sup> (วิติกกมะ) ทางกาย ความก้าวล่วงทางวาจา ความก้าวล่วงทั้งทางกาย และทางวาจา. นี้เรียกว่าศีลวิบัติ. แม้ความเป็นผู้ทุศีล ทุกอย่าง ก็ชื่อว่า ศีลวิบัติ
    ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน ? ความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มี, การบริจาคไม่มี, การบูชาไม่มี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ไม่มี, โลกหน้าไม่มี, มารดาไม่มี, สัตว์โอปปาติกะ<sup></sup>ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า ไม่มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิวิบัติ. แม้มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ทุกอย่าง ก็ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ.
    <center>

    ๘๕. ศีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา<sup></sup>
    </center> ในธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทาเป็นไฉน ? ความไม่ก้าวล่วงทางกาย ความไม่ก้าวล่วงทางวาจา ความไม่ก้าวล่วงทั้งกายและวาจา. นี้เรียกว่าศีลสัมปทา. แม้ความสำรวมในศีลทุกอย่าง ก็ชื่อว่าศีลสัมปทา.
    ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิสัมปทาเป็นไฉน ? ปัญญาอย่างนี้ว่า ทานมี, การบริจาคมี, การบูชามี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วมี, โลกนี้มี, มารดามี, บิดามี, สัตว์โอปปาติกะมี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา แม้สัมมาทิฏฐิทุกอย่าง ก็เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา.
    อภิธัมมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๓๖ ​
    <center>

    ๘๖. ธรรมที่มีอารมณ์และไม่มีอารมณ์
    </center> ธรรมที่มีอารมณ์เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ <sup></sup>, วิบาก<sup></sup> ในภูมิ, กิริยาอัพยากฤต<sup></sup> ในภูมิ ๓. ธรรมเหล่านี้มีอารมณ์.
    ธรรมที่ไม่มีอารมณ์เป็นไฉน ? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่มีอารมณ์.
    ๓๔/๓๓๖ ​
    <center>

    ๘๗. ธรรมที่เป็นจิตและไม่ใช่จิต
    </center> ธรรมที่เป็นจิตเป็นไฉน? จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) โสตวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู) ฆานวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ชิวหาวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ). ธรรมเหล่านี้ เป็นจิต.
    ธรรมที่ไม่ใช่จิตเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ (กองเวทนา<sup></sup>) สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) สังขารขันธ์ (กองสังขาร) รูป และ นิพพาน ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่จิต.
    ๓๔/๓๖๗ ​
    <center>

    ๘๘. ธรรมที่เป็นเจตสิกและไม่ใช่เจตสิก
    </center> ธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ . ธรรมเหล่านี้ เป็นเจตสิก.
    ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิกเป็นไฉน ? จิต, รูป, นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่เจตสิก.
    <center>

    ๘๙. ธรรมที่ประกอบและไม่ประกอบกับจิต
    </center> ธรรมที่ประกอบจิต (จิตตสัมปยุต) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ประกอบกับจิต.
    ธรรมที่ประกอบกับจิต (จิตตวิปปยุต) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ประกอบกับจิต. จิตไม่ควรกล่าว ทั้งว่าประกอบกับจิต ทั้งว่าไม่ประกอบกับจิต.
    ๓๔/๓๖๗ ​
    <center>

    ๙๐. ธรรมที่ระคนและไม่ระคนกับจิต
    </center> ธรรมที่ระคนกับจิต (จิตตสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ ระคนกับจิต.
    ธรรที่ไม่ระคนกับจิต (จตตวิสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ระคนกับจิต. จิตไม่ควรกล่าว ทั้งว่าระคนกับจิต ทั้งว่าไม่ระคนกับจิต.
    ๓๔/๓๖๗ ​
    <center>

    ๙๑. ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
    </center> ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นไฉน? เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์. กายวิญญัติ (ความไหวกาย) วจีวิญญัติ (ความไหวหรือการเปล่งวาจา). รูปอย่างอื่น ซึ่งเกิดจากจิต ซึ่งมีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน, อายตนะ<sup></sup> คือรูป. อายตนะคือเสียง. อายตนะคือกลิ่น. อายตนะคือรส. อายตนะคือโผฏฐัพพะ<sup></sup>, ธาตุอากาศ, ธาตุน้ำ, ความเบาแห่งรูป, ความอ่อนสลวยแห่งรูป, ความควรแก่การงานแห่งรูป, ความเติบโตแห่งรูป, ความสืบต่อแห่งรูป, อาหารที่เป็นคำ ๆ<sup>๑๐</sup> (อาหารธรรมดาของกาย) ธรรมเหล่านี้ มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
    ธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน (โน จิตตสมุฏฐาน)เป็นไฉน? จิต, รูปที่เหลือ (จากที่กล่าวไว้ข้างต้น คือรูปที่มิได้เกิดจากจิต), นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
    ๓๔/๓๖๗ ​
    <center>

    ๙๒. ธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและไม่เกิดพร้อมกับจิต
    </center> ธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต (จิตตสหภู) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ. ธรรมเหล่านี้ เกิดพร้อมกับจิต.
    ธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต (โน จิตตสหภู) เป็นไฉน? จิต (หมายถึงจิตดวงอื่น), รูปที่เหลือ (คือที่มิใช่เกิดจากจิต), นิพพาน, ธรรมเหล่านี้ ไม่เกิดพร้อมกับจิต.
    ๓๔/๓๖๘ ​
    <center>

    ๙๓. ธรรมที่หมุนเวียนไปตามจิตและไม่หมุนเวียนไปตามจิต
    </center> ธรรมที่หมุนเวียนไปตามจิต(จิตตานุปริวัตตี) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, กายวิญญัติ, วจีวิญญัติ. ธรรมเหล่านี้ หมุนเวียนไปตามจิต.
    ธรรมที่ไม่หมุนเวียนไปตามจิต (โน จิตตานุปริวัตตี) เป็นไฉน? จิต, รูปที่เหลือ (คือที่มิใช่เกิดจากจิต), นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่หมุนเวียนไปตามจิต.
    ๓๔/๓๖๘ ​
    <center>

    ๙๔. ธรรมที่เป็นไปในภายในและภายนอก<sup>๑๑</sup>
    </center> ธรรมที่เป็นไปในภายในเป็นไฉน? จักขายตนะ (ที่ต่อคือตา), โสตายนตะ (ที่ต่อคือหู), ฆานาจนนะ (ที่ต่อคือจมูก), ชิวหายตนะ(ที่ต่อคือลิ้น), กายายตนะ (ที่ต่อคือกาย), มนายตนะ (ที่ต่อคือใจ), ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในภายใน.
    ธรรมที่เป็นไปในภายนอกเป็นไฉน? รูปายตนะ (อายตนะ หรือที่ต่อคือรูป), สัททายตนะ (ที่ต่อคือเสียง), คันธายตนะ (ที่ต่อคือกลิ่น) รสายตนะ (ที่ต่อคือรส). โผฏฐัพพายตนะ (ที่ต่อคือโผฏฐัพพะ), ธัมมาจนะ (ที่ต่อคือธรรม). ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในภายนอก.
    ๓๔/๓๖๙ ​
    <center>

    ๙๕. ธรรมที่เป็นกุศล
    </center> ธรรมที่เป็นกุศลเป็นไฉน? รากเหง้าของกุศล ๓ อย่าง คือความไม่โลภ ความไม่โกรธ<sup>๑๒</sup> ความไม่หลง, กองแห่งเวทนา กองแห่งสัญญา กองแห่งสังขาร กองแห่งวิญญาณ ที่ประกอบด้วยรากเหง้าของกุศล.
    <center>

    ๙๖. ธรรมที่เป็นอกุศล
    </center> ธรรมที่เป็นอกุศลเป็นไฉน? รากเหง้าของอกุศล ๓ อย่าง คือความโลภ ความโกรธ<sup>๑๓</sup> ความหลงและกิเลส ที่มีเนื้อความเป็นอันเดียวกับรากเหง้าของอกุศลนั้น, กองเวทนา, กองสัญญา, กองสังขาร, กองวิญญาณ ที่ประกอบด้วยรากเหง้าของอกุศลนั้น, การกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่เกิดขึ้นจากรากเหง้าของอกุศลนั้น. ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล.
    <center>

    ๙๗. ธรรมที่เป็นอัพยากฤต<sup>๑๔</sup>
    </center> ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นไฉน? วิบาก(ผล) ของธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, และธรรมเหล่าใดที่เป็ฯกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากของกรรม, รูปทุกชนิด และธาตุที่เป็นอสังขตะ(ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง). ธรรมเหล่านี้ เป็นอัพยากฤต.
    ๓๔/๒๕๙ ​
    <center>

    ๙๘. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
    </center> "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความทุกข์ย่อมติดตามไป เพราะเหตุนั้น เหมือนล้อเกวียนตามรอยเท้าโคฉะนั้น."
    "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าใจผ่องใสแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความสุขย่อมติดตามไป เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาตามตัวฉะนั้น."
    ๒๕/๑๕ ​
    <center>

    ๙๙. เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
    </center> "ผู้ผูกเวรว่า เขาด่าเรา เขาทำร้ายเรา เขาชนะเรา เขาลักของของเราไป เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ."
    "ผู้ไม่ผูกเวรว่า เขาด่าเรา เขาทำร้ายเรา เขาชนะเรา เขาลักของของเราไป เวรของผู้นั้นย่อมระงับ."
    "เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรเลยในกาลไหน ๆ แต่ระงับด้วยการไม่จองเวรต่างหาก ธรรมนี้ เป็นของเก่า."
    "คนอื่นย่อมไม่รู้ด้วยหรอกว่า พวกเราย่อมย่อยยับกันลงไปในการจองเวรกันนี้เอง. ในคนหล่านั้น ผู้ใดรู้ได้ แต่นั้น ความหมายมั่น จองเวรของเขาย่อมระงับไป."
    ๒๕/๑๕ ​
    <hr>๑. ความก้าวล่วง คือประพฤติผิด หรือล่วงละเมิดข้อห้าม หรือศีลธรรม
    ๒. คือสัตว์ที่เกิดก็เติบโตขึ้นทันที เช่น เทพ และสัตว์นรก
    ๓. คำว่า สัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมหรือความสมบูรณ์ ตรงกันข้ามกับความวิบัติหรือความบกพร่องวิปริต
    ๔. ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม) รูปาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือรูปฌาน) อรูปาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรืออรูปฌาน) โลกุตตรภูมิ (ภูมิที่ข้ามพ้นจากโลก)
    ๕. วิบาก คือจิตที่เป็นผลมาจากเหตุในกาลก่อน. โดยอธิบายว่า จิตมี ๔ ชนิด คือที่เป็นกุศล (ฝ่ายดี), เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว), วิบาก (ฝ่ายผล), กริยา (ฝ่ายอาการ).
    ๖. กิริยาอัพยากฤติในภูมิ ๓ คือเว้นโลกุตตรภูมิ
    ๗. เวทนา คือความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข, สัญญา คือความจำได้ เช่น จำสี จำเสียง, สังขาร คือความคิด หรือเจตนาที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง
    ๘. อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ มี ๒ ประเภท คือที่ต่อภายใน ได้แก่ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, กับที่ต่อภายนอก ได้แก่รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรมที่คู่กับที่ต่อภายในเป็นคู่ ๆ
    ๙. โผฏฐัพพะ สิ่งที่มาถูกต้องกาย
    ๑๐. กวฬิงการาหาร อาหารที่ทำให้เป็นคำ ๆ หมายถึงอาหารที่กินได้ ยังมีอาหารประเภทอื่นอีก เช่น ผัสสาหาร อาหารคือสัมผัส มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือความจงใจ หรือตั้งใจ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ
    ๑๑. ในภาษาศาสนา ชี้ไปถึงอาตนะภายใน อาตนะภายนอก ซึ่งคู่กัน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอายตนะภายใน. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ เป็นอายตนะภายนอก คำว่า โผฏฐัพพะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องได้ ธรรมะ หมายถึงเรื่องที่รู้ได้ด้วยใจ
    ๑๒. แปลเอาความจากคำบาลีว่า อโทสะ
    ๑๓. แปลเอาความจากคำบาลีว่า โทสะ แท้จริง คำว่า โกธะ(ความโกรธ) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) บางคราวก็แสดงไว้เป็นคำใช้แทนกัน บางคำก็แสดงว่าต่างกัน โดยอธิบายว่า ความคิดประทุษร้าย (โทสะ) มีความโกรธ (โกธะ) เป็นสมุฏฐาน. แต่แปลจับใจความในที่นี้ใช้แทนกัน เพื่อให้สั้น ๆ ในภาษาไทย
    ๑๔. อัพยากฤต คือที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ ว่าดี หรือชั่ว ได้แก่เป็นกลาง ๆ
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๐๐. กำลัง ๗ ประการ
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้ คือ
    ๑. กำลังคือความเชื่อ (สัทธาพละ)<sup></sup> ๒. กำลังคือความเพียร (วิริยพละ)
    ๓. กำลังคือความละอายต่อบาป (หิริพละ) ๔. กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปพละ)
    ๕. กำลังคือสติความระลึกได้ (สติพละ) ๖. กำลังคือความตั้งใจมั่น (สมาธิพละ)
    ๗. กำลังคือปัญญา (ปัญญาพละ)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้แล."
    สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒ ​
    <center>

    ๑๐๑. คำอธิบายกำลัง ๗ ประการ
    </center> (๑)"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเชื่อ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคนั้น
    ๑. เป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส) ๒. เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ๓. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ ๔. เป็นผู้เสด็จไปดี
    ๕. เป็นผู้รู้จักโลก ๖. เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างเยี่ยม
    ๗. เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ๘. เป็นผู้ตื่น (รวมทั้งปลุกผู้อื่นให้ตื่น)
    ๙. เป็นผู้มีโชค (เพราะทำเหตุที่จะให้เกิดโชคไว้)
    นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเชื่อ."
    (๒) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเพียร เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) เพื่อทำให้กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) สมบูรณ์ เป็นผู้ลงแรงบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเพียร."
    (๓) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความละอายต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกไปพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางกาย) วจีทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางวาจา) มโนทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางใจ) ละอายต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความละอายต่อบาป."
    (๔) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเกรงกลัว คือเกรงกลัวต่อกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป."
    (๕) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความระลึกได้ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันยอดเยี่ยม ย่อมระลึกได้ ย่อมนึกออกถึงสิ่งที่กระทำไว้นานแล้ว ถึงถ้อยคำที่พูดไว้นานแล้วได้. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความระลึกได้."
    (๖) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความตั้งใจมั่น เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม (ความในอารมณ์ที่น่าใคร่) สงัดจากอกุศลธรรมเข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔.<sup></sup> นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความตั้งใจมั่น."
    (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือปัญญา เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดความดับ เป็นปัญญาอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสได้ ทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือปัญญา."
    ๒๓/๓,๔ ​
    <center>

    ๑๐๒. มารย่อมข่มเหงและไม่ข่มเหงคนเช่นไร
    </center> "ผู้มักเห็นว่าสวยงาม ไม่สำรวมอินทรีย์ (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค เกียจคร้าน มีความเพียรเลว มารย่อมข่มเหงผู้นั้นแหละ เหมือนลมทำลายต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงฉะนั้น."
    "ผู้ไม่มักเห็นว่าสวยงาม สำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) รู้ประมาณในการบริโภค มีศรัทธา ปรารภความเพียร มารย่อมไม่ข่มเหงผู้นั้น เหมือนลมไม่ทำลายภูเขาอันล้วนด้วยศิลาฉะนั้น."
    ธรรมบท ๒๕/๑๖ ​
    <center>

    ๑๐๓. กาสาวพัสตร์ กับกิเลสอันเปรียบน้ำฝาด
    </center> "ผู้ใดยังไม่ปราศจากสาวะ<sup></sup> (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) ปราศจากทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ (ความจริงใจ) มานุ่งห่มกาสาวพัสตร์ ผู้นั้นหาสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์ไม่"
    "แต่ฝู้ใดคายกิเลสที่เปรียบเหมือนน้ำฝาดได้แล้ว ตั้งมั่นดีในศีล ประกอบด้วยทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ(ความจริงใจ) ผู้นั้นแล ย่อมสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์."
    ธรรมบท ๒๕/๑๖ ​
    <center>

    ๑๐๔. จะบรรลุสิ่งเป็นสาระก็ด้วยเข้าใจสาระ
    </center> "ผู้เห็นในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ มีความดำริผิดเป็นทางไป ย่อมไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นสาระ."
    "ผู้รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ สิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ มีความดำริชอบเป็นทางไป ย่อมบรรลุสิ่งเป็นสาระได้."
    <center>

    ๑๐๕. ฝนรั่งรดที่เทียบด้วยราคะ<sup></sup> (ความติดใจ)
    </center> "เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ฉันใด จิตที่อบรมไม่ดี ราคะ(ความติดใจ) ก็รั่วรดได้ฉันนั้น."
    "เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรมดีแล้ว ราคะ (ความติดใจ) ก็รั่วรดไม่ได้ฉันนั้น."
    ธรรมบท ๒๕/๑๖ ​
    <center>

    ๑๐๖. ผู้เศร้าโศก กับ ผู้บันเทิงในปัจจุบันและอนาคต
    </center> "คนทำความชั่ว ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง คือเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก เขาย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน เพราะเห็นการกระทำอันเศร้าหมองของตน."
    "คนทำบุญ ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง คือบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วก็บันเทิง เพราะเห็นความบริสุทธิ์แห่งการกระทำของตน."
    ธรรมบท ๒๕/๑๖ ​
    <center>

    ๑๐๗. พูดมากไม่ทำ กับ พูดน้อยแต่ทำ
    </center> "คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้มาก แต่เป็นผู้ประมาท ไม่ทำตามถ้อยคำนั้น ผู้นั้นย่อมไม่ได้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคให้ผู้อื่น แต่ไม่มีส่วนแห่งน้ำนมโคฉะนั้น. คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้น้อย แต่ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะ และ โมหะ ได้ รู้อยู่โดยชอบ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ไม่ถือมั่นในโลกนี้ หรือโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ."
    ธรรมบท ๒๕/๑๗ ​
    <center>

    ๑๐๘. ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย
    </center> "ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย, ผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าไม่ตาย ผู้ประมาทย่อมเหมือนคนตายแล้ว. บัณฑิตทราบข้อความนี้โดยพิเศษแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ยินดีในธรรมที่เป็นที่เที่ยวไป (แห่งจิต) ของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท. ผู้นั้นมีความเพ่ง ทำความพียรติดต่อ มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นผู้ฉลาด ย่อมได้บรรลุพระนิพพาน อันปลอดโปร่งจากโยคะ (คือกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในความเวียนว่ายตายเกิด)."
    ธรรมบท ๒๕/๑๘ ​
    <center>

    ๑๐๙. ยศเจริญแก่คนเช่นไร
    </center> "ยศย่อมเจริญแก่คนที่มีความหมั่น. มีสติ, มีการงานสะอาด, ใคร่ครวญแล้วจึงทำ, สำรวมระวังครองชีวิตอยู่โดยธรรม และเป็นผู้ไม่ประมาท."
    ธรรมบท ๒๕/๑๘ ​
    <center>

    ๑๑๐. เกาะชนิดไหนน้ำไม่ท่วม
    </center> "ห้วงน้ำย่อมไม่ท่วมทับเกาะใด ผู้มีปัญญาพึงสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) นั้นขึ้น ด้วยคุณธรรมคือความหมั่น, ความไม่ประมาท, ความสำรวมระวัง และความรู้จักข่มใจ."
    ธรรมบท ๒๕/๑๘ ​
    <center>

    ๑๑๑. คนพาล กับ คนมีปัญญา
    </center> "คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาทเนืองนิตย์ ส่วนผู้มีปัญญา ย่อมประกอบเนือง ๆ แต่ความไม่ประมาท เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น."
    ธรรมบท ๒๕/๑๘ ​
    <hr>๑. ในที่ใดสอนให้มีความเชื่อ ในที่นั้นจะสอนให้มีปัญญากำกับอยู่ด้วยเสมอ ในที่นี้สอนเรื่องความเชื่อไว้เป็นข้อแรก สอนเรื่องปัญญาไว้ข้อสุดท้าย
    ๒. คำอธิบายฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ ที่เป็นพระพุทธภาษิต มีอย่างพิสดารในสุภสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ หน้า ๒๕๙ ซึ่งจะคัดมาแปลไว้เฉพาะเรื่องข้างหน้า
    ๓. เป็นการเล่นถ้อยคำ ในบาลีว่า กาสาวะ (ผ้าย้อมน้ำฝาด หรือกาสาวพัสตร์) นั้น จะควรก็เฉพาะแก่ผู้ปราศจากกสาวะ (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) เท่านั้น
    ๔. คำว่า ราคะ ถ้าแปลว่า ความกำหนัด จะหมายความแคบเฉพาะในกามารมณ์ แต่ในความหมายที่กว้าง ความติดอกติดใจในสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่มีลักษณะเหมือนจิตใจถูกสีย้อม ก็เป็นราคะทั้งสิ้น. ราคะมี ๓ อย่าง ติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นกามราคะ ติดใจในรูปฌาน เป็นรูปราคะ ติดใจในอรูปฌาน เป็นอรูปราคะ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๑๒. พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ
    สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคท้องเสีย เธอนอนจนปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่. ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค มีท่านพระอานนท์ตามเสด็จ เที่ยวตรวจเสนาสนะไปยังที่อยู่ของภิกษุนั้น ทอดพระเนตรเห็นเธอนอนจมปัสสาวะ อุจจาระของตนอยู่ จึงเสด็จเข้าไปหา ตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุ เธออาพาธด้วยโรคอะไร?"
    ภิกษุนั้นกราบทูลว่า "โรคท้องเสีย พระเจ้าข้า"
    "ภิกษุผู้พยาบาลเธอไม่มีหรือ?"
    "ไม่มี, พระเจ้าข้า"
    "เพราะเหตุไรเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?"
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลข้าพระองค์."
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า "ดูก่อนอานนท์ เธอจงไปนำน้ำมา เรา<sup></sup>จะอาบน้ำให้ภิกษุนี้."
    พระอานนท์รับพระพุทธดำรัสแล้ว จึงไปนำน้ำมา.
    พระผู้มีพระภาคทรงรดน้ำ พระอานนท์ทำความสะอาด. พระผู้มีพระภาคทรงจับทางศีรษะ พระอานนท์ยกทางเท้าให้ภิกษุนั้นนอนบนเตียง.
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคทรงเรียกประชุมภิษุทั้งหลาย เพราะเหตุการณ์นั้น ตรัสถามว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มีภิกษุไข้อยู่ในวิหารโน้นมิใช่หรือ? "
    "มี พระเจ้าข้า"
    "เธออาพาธด้วยโรคอะไร ?"
    ด้วยโรคท้องเสีย พระเจ้าข้า."
    "มีใครพยาบาลภิกษุนั้นหรือเปล่า ?"
    "ไม่มี พระเจ้าข้า"
    "ทำไมเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลภิกษุนั้น."
    "ภิกษุทั้งหลายไม่พยาบาลเธอ เพราะเธอไม่ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอก็ไม่มี. ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพยาบาลเรา ก็พึงพยาลภิกษุไข้เถิด. ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปชฌายะ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาลเธอ. ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ<sup></sup>."
    วินัยปิฎก ๕/๒๒๖ ​
    <center>

    ๑๑๓. ผู้เช่นไร บรรลุสุขอันไพบูล
    </center> "ท่านทั้งหลายจงอย่าประกอบเนือง ๆ ซึ่งความประมาทและความเชิดเชื้อกับความยินดีในกาม เพราะวาผู้ไม่ประมาท เพ่ง(ธรรม) อยู่ ย่อมได้บรรลุความสุขอันไพบูล."
    <center>

    ๑๑๔. ขึ้นสู่ที่สูงมองดูคนข้างล่าง
    </center> "เมื่อใด บัณฑิตรุนความประมาทออกด้วยความไม่ประมาทได้ เมื่อนั้น บัณฑิตขึ้สู่ปราสาทคือปัญญา เป็นผู้ไม่เศร้าโศก ย่อมมองเห็นประชาสัตว์ผู้โศกเศร้า. ผู้มีปัญญา ย่อมมองเห็นคนพาลได้ เหมือนคนยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนที่ยืนอยู่บนพื้นดินฉะนั้น."
    <center>

    ๑๑๕. ผู้มีปัญญาเหมือนม้าฝีเท้าเร็ว
    </center> "ผู้มีปัญญา เมื่อคนทั้งหลายประมาท เป็นผู้ไม่ประมาท เมื่อคนทั้งหลายหลับ (เพราะกิเลส) เป็นผู้ตื่นอยู่โดยมาก ย่อมขึ้นหน้าคนมีปัญญาทรามไป เหมือนม้ามีฝีเท้าเร็ว ขึ้นหน้าม้าที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น."
    ธรรมบท ๒๕/๑๘ ​
    <center>

    ๑๑๖. ดีเหนือผู้อื่นด้วยความไม่ประมาท
    </center> "ท้าวมฆวา (พระอินทร์) บรรลุความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวาทั้หลายด้วยนความไม่ประมาท. บัณฑิตสรรเสริญความไม่ประมาท ติเตียนความประมาททุกเมื่อ."
    ธรรมบท ๒๕/๑๙ ​
    <hr>๑. คำว่า เรา ในที่นี้ หมายถึงพระพุทธเจ้าและพระอานนท์
    ๒. อุปัชฌายะ คือผู้บวชให้ คู่กับสัทธิวิหาริก คือผู้อยู่ด้วย หมายเอาผู้ที่เข้ามาบวช มีภิกษุใดเป็นอุปัชฌายะ ก็เป็นสัทธิวิหาริกของภิกษุนั้น. อาจารย์ คือผู้สวดประกาศสงฆ์ในขณะบวช หรือผู้สอนธรรม ผู้ปกครองคู่กับอันเตวาสิก คือผู้อยู่ในปกครอง
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๑๗. ต้องเป็นผู้รู้ ผู้เห็น จึงสิ้นอาสวะได้
    "พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ผู้เห็น ไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น. รู้อะไร? เห็นอะไรเล่า? ความสิ้นอาสวะจึงมีได้. รู้เห็นโยนิโสมนสิการ (การทำไว้ในใจโดยแยบคาย) และอโยนิโสมนสิการ (การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย). เมื่อทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย อาสวะที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น. เมื่อทำไว้ในใจโดยแยบคาย อาสวะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็จะละเสียได้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยทัสสนะ (การเห็น) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยสังวร (ความสำรวม) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยปฏิเสวนะ (การใช้สอย, การบริโภค) ก็มี, อาสวะที่พึงละได้ด้วยอธิวาสนะ (การอดทน หรือข่มไว้) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยปริวัชชนะ (การงดเว้น) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยวิโนทนะ (การบรรเทา หรือการทำให้น้อยลง) ก็มี อาสวะที่พึงละได้ด้วยภาวนา (การอบรม คือลงมือปฏิบัติให้เกิดผล) ก็มี."
    (๑) อาสวะที่พึงละได้ด้วยทัสสนะ(การเห็น)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น เป็นไฉน? ปุถุชน (คนผู้ยังมากด้วยกิเลส) ในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ ผู้มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้เห็นสัตบุรุษ (คนดี) ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรทำไว้ในใจ (ควรใส่ใจ) ไม่รู้จักธรรมที่ไม่ควรทำไว้ในใจ (ไม่ควรใส่ใจ). เมื่อไม่รู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ และไม่ควรใส่ใจ จึงใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจ ไม่ใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่เมื่อใส่ใจเข้า กามาสวะ (กิเลสที่หมักดอกสันดานคือกาม) ภวาสวะ (กิเลสที่หมักดองสันดานคือความยินดีในภพ<sup></sup>) อวิชาสวะ (กิเลสที่หมักดองสันดานคืออวิชาความไม่รู้จริง) ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาไม่ใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่ เมื่อใส่ใจเข้า กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิด ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะละเสียได้. เพราะการใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจ และการไม่ใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจของบุคคลผู้นั้น อาสวะที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น. ผู้นั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย อย่างนี้ว่า
    "๑. เราได้เคยเกิดมาแล้ว ในอดีตกาลนานไกลหรือหนอ ?
    ๒. หรือว่าเราไม่ได้เคยเกิดมาแล้ว ในอดีตกาลนานไกล ?
    ๓. เราได้เคยเกิดเป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลนานไกล ?
    ๔. เราได้เคยเกิดเป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลนานไกล ?
    ๕. เราได้เคยเกิดเป็นอะไรแล้วเกิดเป็นอะไรอีกหนอ ในอดีตกาลนานไกล ? ๖. เราจักเกิดหรือหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ?
    ๗. หรือว่าเราจักไม่เกิด ในอนาคตกาลนานไกล ?
    ๘. เราจักเกิดเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ?
    ๙. เราจักเกิดเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ?
    ๑๐. เราจักเกิดเป็นอะไรแล้วเกิดเป็นอะไรอีกหนอ ในอนาคตกาลนานไกล ? หรือปรารภปัจจุบันกาลนานไกล ก็เกิดความสงสัยภายในขึ้นว่า
    ๑๑. เราเป็นหรือหนอ ๑๒. หรือว่าเราไม่ได้เป็น
    ๑๓. เราเป็นอะไรหนอ ๑๔. เราเป็นอย่างไรหนอ
    ๑๕. สัตว์นี้มาเกิดจากที่ไหนหนอ ๑๖. เราจักไปเกิดที่ไหนหนอ ?"
    เมื่อเขาใส่ใจโดยไม่แยบคาย อย่างนี้ ทิฏฐิ(ความเห็น) ๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นคือ
    ๑. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "อัตตา (ตัวตน) ของเรามีอยู่."
    ๒. ความเห็นอย่างเป็นจริงอ่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "อัตตา (ตัวตน) ของเราไม่มี."
    ๓. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอัตตา(ตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ตัวตน) นี่เอง."
    ๔. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอนัตตา (สิ่งไม่ใช่ตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ตัวตน) นี่เอง."
    ๔. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอนัตตา (สิ่งไม่ใช่ตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ตัวตน)นี่เอง."
    ๕. ความเห็นอย่างเป็นจริงอย่างมั่นคงของผู้นั้น ย่อมเกิดขึ้นว่า "เรายอมจำอัตตา (ตัวตน) ได้ด้วยอนัตตา (สิ่งไม่ใช่ตัวตน) นี่เอง."
    ๖. หรือผู้นั้นเกิดความเห็นอย่างนี้ว่า "อัตตา (ตัวตน) ของเรา เป็นผู้พูด เป็นผู้รู้ ย่อมเสวยผลแห่งกรรมดี กรรมชั่ว ในที่นั้น ๆ อัตตา(ตัวตน)ของเรา นั้นแหละ เป็นของเที่ยง ยั่งยืน เป็นอย่างนั้น ไม่แปรผัน จักตั้งอยู่อย่างนั้น เสมอด้วยสิ่งซึ่งคงทนทั้งหลาย."
    "นี้แล ภิษุทั้งหลาย เรียกว่าทิฏฐิคตะ (ตัวทิฏฐิ) ทิฏฐิคหณะ (การยึดด้วยทิฏฐิ) ทิษฐิกันตาระ (ทางกันดารคือทิฏฐิ) ทิฏฐิวิสูกะ<sup></sup> (ความยอกย้อนแห่งทิฏฐิ) ทิฏฐิวิปผันทิตะ (ความผันผวนแห่งทิฏฐิ และทิฏฐิสังโยชนะ (เครื่องผูกคือทิฏฐิ)."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชน ผู้มิได้สดับ ผู้ถูกเครื่องผู้กคือทิฏฐิผูกมัดแล้ว เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นไปจากคยามเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ไม่พ้นไปจากทุกข์ได้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้าได้รับการแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยเจ้า ผู้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ และไม่ควรใส่ใจ. ผู้นัน เมื่อรู้จักธรรมที่ควรใส่ใจ ย่อมใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจ ย่อมใส่ใจในธรรมที่ควรใส่ใจ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาย่อมไม่ใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่เมื่อใส่ใจเข้า กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาย่อมใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจชนิดไหน ? คือชนิดที่ เมื่อใส่ใจเข้ากามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ย่อมละเสียได้. เพราะการไม่ใส่ใจธรรมที่ไม่ควรใส่ใจ เพราะการใส่ใจธรรมที่ควรใส่ใจของบุคคลนั้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ก็จะละเสียดได้ ผู้นั้นย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า นี้คือทุกข์, นี้คือเหตุให้ทุกข์เกิด, นี้คือความดับทุกข์, นี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เมื่อบุคคลนั้นใส่ใจโดยแยคายอย่างนี้ ย่อมละสังโยชน์ (กิเลสเครื่องผูกมัด) ๓ อย่างเสียได้ คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุยึดถือว่ากายของเรา) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) สีลัพตปรามาส (ความยึดถือศีลและพรต ได้แก่ความติดในลัทธิพิธีต่าง ๆ). นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น."
    (๒) อาสวะที่พึงละได้ด้วยสังวร (ความสำรวม)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยความสำรวม เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวม ระวัง อินทรีย์ (สภาพที่เป็นใหญ่) คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, และใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมระวังแล้ว อาสวะ (กิเลสที่หมักดองสันดาน) ที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อสำรวมระวังแล้ว อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อน ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ดวยความสำรวม."
    (๓) อาสวะที่พึงละได้ด้วยปฏิเสวนะ (การส้องเสพ, การใช้สอย, การบริโภค)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร (ผ้านุ่งห่ม) เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน บำบัดสัมผัส อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ให้เกิดความละอาย."
    "เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคบิณฑบาต (อาหาร) มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตกแต่ง เพียงเพื่อตั้งอยู่ได้แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังชีวิต เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการบริโภคนี้ เราจักบำบัด (ทุกข) เวทนาเก่า ไม่ทำ (ทุกข) เวทนาใหม่ ให้เกิดขึ้น เราจักดำรงชีวิตได้. ความไม่มีโทษ และความอยู่เป็นผาสุกจักเกิดขึ้น."
    "เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ (ที่นอนที่นั่ง) เพียงเพื่อบำบัดความหนาว ความร้อน บำบัดสัมผัส อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เสือกคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดูกาล และเพื่อยินดีในความหลีกเร้น."
    "เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคยารักษาโรค เพื่อบำบัดเวทนาเนื่องจากอาพาธต่าง ๆ อันเกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มีความเจ็บไข้เป็นสำคัญ."
    "เพราะเมื่อภิกษุไม่ต้องเสพปัจจัย ๔ อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น. เมื่อส้องเสพปัจจัย ๔ อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ."
    (๔) อาสวะที่พึงละได้ด้วยอธิวาสนะ (การอดทนหรือข่มไว้)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนได้ต่อหนาว ร้อน หิวระหาย ต่อสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ต่อถ้อยคำหยาบคายที่มากระทบ ต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น อันกล้าแข็งเจ็บปวด ไม่เป็นที่สำราญ ไม่เป็นที่พอใจ ขนาดจะทำลายชีวิตเสียได้."
    "เพราะเมื่อภิกษุนั้นไม่อดทน อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดทนอาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน."
    (๕) อาสวะที่พึงละได้ด้วยปริวัชชนะ (การงดเว้น)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเว้นช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู ตอไม้ ที่ที่มีหนาม บ่อน้ำ เหว น้ำครำ หลุมโสโครก ภิกษุนั่งในอาสนะอันไม่สมควร คบมิตรชั่ว ย่อมถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้รู้ เข้าใจไปในฐานะอันชั่ว เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเว้นอาสนะอันไม่สมควรนั้น ที่เที่ยวไปอันไม่สมควร และมิตรชั่วเหล่านั้น. เพราะเมื่อเธอไม่เว้น อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเว้นอาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น."
    (๖) อาสวะที่พึงละได้ด้วยวิโนทนะ (การบรรเทา)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา (การทำให้น้อยลง) เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดไป ย่อมทำให้ตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งกามวิตก (ความตรึกในกาม) พยาบาทวิตก (ความตรึกในการปองร้าย) วิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียน) ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว. เพราะเมื่อภิกษุนั้นไม่บรรเทา อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทาอาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่าอาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา (การทำให้น้อยลง)."
    (๗) อาสวะที่พึงละได้ด้วยภาวนา (การอบรม)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม (การลงมือปฏิบัติให้เกิดผล) เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอบรม (ลงมือปฏิบัติ) สัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญา เครื่องตรัสรู้) คือ (๑) สติ (ความระลึกได้) (๒) ธัมมวิจยะ (การเลือกเฟ้นธรรม) (๓) วิริยะ (ความเพียร) (๔) ปิติ (ความอิ่มใจในธรรม) (๕) ปัสสัทธิ (ความสงบใจ) (๗) อุเบกขา (ความวางเฉยในธรรม) อันอิงความสงัด อิงความคลายกำหนัด อิงความดับทุกข์ อันน้อมไปเพื่อความสละกิเลส. เพราะเมื่อภิกษุนั้น ไม่อบรม อาสวะ ที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออบรม อาสวะที่ทำความยุ่งยากเดือดร้อนให้ ก็จะไม่มี. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม."


    (สรุปความ)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนื่องจากอาสวะที่พึงละได้ด้วยการเห็น อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยความสำรวม อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการส้องเสพ อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอดทน อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการงดเว้น อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการบรรเทา อันเธอละได้แล้ว อาสวะที่พึงละได้ด้วยการอบรม อันเธอละได้แล้ว เธอจึงชื่อว่า ปิดกั้นแล้วด้วยการปิดกั้นอาสวะทั้งปวง ตัดขาดซึ่งตัณหา คลายได้ซึ่งเครื่องผูกมัด ทำที่สุดทุกข์ได้โดยชอบ เพราะตรัสรู้เรื่องของจิตใจ."
    สัพพาสวสังวรสูตร<sup></sup> ๑๒/๑๒-๒๐ ​
    <hr>๑. ได้แก่ความติดใจในฌาน หรือในสมาธิชั้นสูง
    ๒. อรรถกถาแก้ว่า สมฺมาทิฏฺฐิยา วินิวิชฺฌฏเฐน วา วิโลมนฏฺเฐน วา วิสูกํ
    ๓. สูตรนี้ ฝรั่งสนใจมาก ได้เลือกนำไปแปลไว้ในหนังสือ Sacred Books of The East เล่ม ๑๑ ด้วย
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๑๘. ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
    "ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผากิเลสที่ผูกมัดใหญ่น้อย ไปได้เหมือนไฟเผาเชื้อน้อยใหญ่ฉะนั้น."
    <center>
    ๑๑๙. ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาทอีกอย่างหนึ่ง
    </center> "ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรที่จะเสื่อม ย่อมอยู่ในที่ใกล้พระนิพพานเทียว."

    <center>
    ๑๒๐. จิตที่กวัดแกว่งดิ้นรนนั้นดัดให้ตรงได้
    </center> "ผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่กวัดแกว่ง ดิ้นรน รักษายาก ห้ามยากให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศรฉะนั้น. จิตนี้ ที่ยกขึ้นจากห้วงน้ำคือความอาลัย เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนเหมือนปลาที่ถูกโยนไปบนบก."
    <center>
    ๑๒๑. จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้
    </center> "การฝึกจิตที่ข่มได้ยาก เป็นของเบา มักตกไปในอารมณ์ตามที่ใคร่ เป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกแล้ว นำความสุขมาให้."
    <center>
    ๑๒๓. จะพ้นจากบ่วงมารได้อย่างไร
    </center> "ผู้ใดสำรวมจิต ซึ่งเที่ยวไปได้ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีร่าง มีแค่คูหา (คือตัวมนุษย์) เป็นที่อาศัยได้ ผู้นั้นย่อมพ้นจากบ่วงแห่งมาร."
    <center>
    ๑๒๔. ผู้เช่นไร ปัญญาไม่รู้จักบริบูรณ์ ผู้เช่นไรไม่มีภัย
    </center> "ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ปัญญาของเขาย่อมไม่บริบูรณ์. ผู้มีจิตอันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว มีจิตอันกิเลสตามกำจัดไม่ได้ ละบุญและบาปได้แล้ว เป็นผู้ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย."
    ธรรมบท ๒๕/๑๙ ​
    <center>
    ๑๒๕. ความจนเป็นทุกข์ในโลก
    </center> พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า"
    จึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนภิกษุทังหลาย คนจนไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง ย่อมกู้หนี้. แม้การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
    "<sup></sup>คนจนกู้หนี้ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ย. แม้การเสียดอกเบี้ย ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
    "คนจนที่จะต้องเสียดอกเบี้ย ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนด ก็ถูกเขาทวง แม้การถูกทวง ก็เป็นทุกข์ ในโลกของผู้บริโภคกาม."
    "คนจนถูกทวง ไม่ให้เขา ก็ถูกเขาตามตัว แม้การถูกตามตัว ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
    "คนจนถูกตามตัว ไม่ให้เขา ย่อมถูกจองจำ แม้การถูกจองจำ ก็เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจนก็ดี, การกู้หนี้ก็ดี, การเสียดอกเบี้ยก็ดี, การถูกทวงก็ดี, การถูกตามตัวก็ดี, การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม ด้วยประการฉะนี้.
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปไมยก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา(ความเชื่อ) ในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีความเพียรในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้ เรียกว่าเป็นคนจน ไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่งในวินัยของพระอริยเจ้า."
    "คนจน (ทางธรรม) นั้น เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีความเพียรในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ การประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ นี้ เรากล่าวว่า เป็นการกู้หนี้ของผู้นั้น."
    "คนจน (ทางธรรม) นั้น เพราะเหตุที่จะปกปิดทุจจริตทางกาย วาจา ใจนั้น จึงตั้งความปรารถนาลามก ปรารถนาว่า ดำริว่า คนทั้งหลายอย่ารู้เรื่องเราเลย ย่อมกล่าววาจา ย่อมพยายามทางกาย ด้วยคิดว่า คนทั้งหลายอย่ารู้เรื่องเราเลย. ข้อนี้ เรากล่าวว่า เป็นการเสียดอกเบี้ยของผู้นั้น."
    "เพื่อนพรหมจารี (ร่วมประพฤติพรหมจรรย์) ผู้มีศีลเป็นที่รัก ย่อมกล่าวถึงผู้นั้นว่า มีการกระทำอย่างนี้ มีความประพฤติอย่างนี้. ข้อนี้ เรากล่าวว่า เป็นการถูกทวงของผู้นั้น."
    "ความคิดที่เป็นอกุศล (กุศลวิตก) อันลามก อันประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมติดตามผู้นั้น ผู้ไปสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม. ข้อนี้ เรากล่าวว่า เป็นการถูกตามตัวของผู้นั้น."
    "คนจน (ทางธรรม) นั้น ประพฤติทุจจริตทางกาย วาจา ใจ แล้ว ภายหลังที่สิ้นชีวิตไป<sup></sup> ย่อมถูกจองจำ ด้วยการจองจำในนรกบ้าง ด้วยการจองจำในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานบ้าง."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นการถูกจองจำอย่างอื่นสักอย่างเดียว ที่ทารุณ ที่นำทุกข์มาให้ ที่ทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมะอันปลอดโปร่งจากิเลส อันเป็นธรรมยอดเยี่ยม เหมือนการถูกจองจำในนรก หรือในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนี้เลย."
    ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๓๙๒

    <hr>๑. ได้ตัดข้อความที่ซ้ำกันออก คือคำว่า ไม่มีทรัพย์ของตนเอง ไม่มั่งคั่ง แม้คำกราบทูลของภิกษุทั้งหลายที่ว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า" ซึ่งมีแทรกอยู่ทุกข้อ ก็ตัดออก
    ๒. แปลตามศัพท์ว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๒๖. ไตรลักษณ์มีอยู่แล้วโดยปกติ
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุ, ความตั้งอยู่แห่งธรรม, ทำนองแห่งธรรมอันนั้น ก็ตั้งอยู่แล้ว คือข้อที่ว่า สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง)ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ (ทนอยู่ไม่ได้) ธรรม (ทั้งสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง และไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ตถาคตตรัสรู้เข้าใจทำนองธรรมนั้น ครั้นตรัสรู้แล้ว เข้าใจชัดแล้ว ก็บอก, แสดง, บัญญัติ, ตั้งไว้, เปิดเผย, แจกแจง, ทำให้ง่ายถึงข้อที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน."
    ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๓๖๘ ​
    <center>
    ๑๒๗. ฤกษ์งามยามดี
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลาเช้า เช้าวันนั้น ย่อมเป็นเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น. สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลากลางวัน กลางวันนั้นย่อมเป็นกลางวันที่ดีของสัตว์เหล่านั้น. สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ ในเวลาเย็น เย็นวันนั้นย่อมเป็นเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น."
    ๒๐/๒๗๘ ​

    <center>
    ๑๒๘. การแสวงหา ๒ อย่าง
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหามี ๒ อย่าง คือการแสวงหาอามิส กับการแสวงหาธรรม. ในการแสวงหาทั้งสองอย่างนี้ การแสวงหาธรรมเป็นเลิศ."
    ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๑๑๖ ​
    <center>
    ๑๒๙. นักรบทางธรรม
    </center> "บุคคลรู้จักกาย ซึ่งมีอุปมาด้วยหม้อดิน (คือแตกง่าย) ปิดกั้นจิต ซึ่งมีอุปมาเหมือนพระนคร (ซึ่งมีคูและป้องเป็นเครื่องกั้น) พึงรบมาด้วยอาวุธคือปัญญา พีงรักษาชัยชนะ และไม่มุ่งแต่จะพัก (คือไม่ติดในสมาบัติจนไม่มีโอกาสทำหน้าที่สูงขึ้นไป)."
    <center>
    ๑๓๐. อนาคตของกายนี้
    </center> "ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน ถูกทอดทิ้งปราศจากวิญญาณ เหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ฉะนั้น."
    <center>
    ๑๓๑. ใครทำร้ายก็ไม่เท่าจิตของตน
    </center> "โจรต่อโจร หรือคนผูกเวรต่อคนผูกเวร พึงทำความพินาศอะไรให้แก่กัน จิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำบุคคลให้เลวร้ายยิ่งกว่านั้น."
    <center>
    ๑๓๒. ใครทำดีให้ก็ไม่เท่าจิตของตน
    </center> "มารดา บิดา หรือญาติอื่น ๆ ทำความดีบางชนิดให้ไม่ได้ จิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ทำบุคคลให้ดีได้ยิ่งกว่านั้น."
    ธรรมบท ๒๕/๒๐ ​
    <center>
    ๑๓๓. ผู้ชนะโลกทั้งสามและรู้จักเลือกเฟ้นธรรมะ
    </center> "ใครเล่าจักชนะแผ่นดินนี้ และยมโลก กับทั้งเทวโลก<sup></sup> ? ใครเล่าจักเลือกเฟ้นบทแห่งธรรม ที่ตถาคตแสดงดีแล้ว เหมือนหนึ่งช่างดอกไม้ ที่ฉลาด เลือกเฟ้นดอกไม้ฉะนั้น."
    "ผู้ศึกษา<sup></sup> จักชนะแผ่นดินนี้ และยมโลก กับทั้งเทวโลก. ผู้ศึกษา จักเลือกเฟ้นบทแห่งธรรมที่ตถาคตแสดงดีแล้ว เหมือนช่างดอกไม้ที่ฉลาด เลือกเฟ้นดอกไม้ฉะนั้น."
    <center>
    ๑๓๔. ผู้ที่มัจจุราชมองไม่เห็น
    </center> "บุคคลรู้กายนี้ว่า เป็นเสมือนฟองน้ำ<sup></sup> (คือแตกทำลายง่าย) รู้กายนี้ว่า มีธรรมดาเหมือนพยับแดด (คือมีลักษณะลวงตา) ตัดพวงดอกไม้ของพญามาร (คือความวนเวียนในภูมิทั้งสาม) พึงบรรลุสภาพที่พญามัจจุราชมองไม่เห็น."
    <center>
    ๑๓๕. ห้วงน้ำใหญ่-มฤตยู
    </center> "มฤตยูย่อมพานรชน ผู้มัวเก็บดอกไม้ (คือกามารมณ์) มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกามให้ไปสู่อำนาจ."
    ธรรมบท ๒๕/๒๑ ​
    <center>
    ๑๓๗. พระอรหันต์ไม่ก้าวล่วงฐานะ ๙ ประการ
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีฐานะอยู่ ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'สมณะ ศากยบุตร อยู่อย่างมีธรรมอันไม่ตั้งมั่น' เมื่อนักบวชเจ้าลัทธิอื่นกล่าวอย่างนี้ ท่านพึงกล่าวว่า 'ผู้มีอายุ ธรรมที่พระผู้มีพระภาค ผู้รู้ผู้เห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว มีอยู่ เป็นธรรมอันไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต เหมือนหนึ่งเสาเขื่อน เสาเหล็ก ฝังไว้ลึก ฝังไว้ดีแล้ว เป็นของไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน ฉะนั้น. ผู้มีอายุ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้มีกิจอันพึงทำได้เสร็จแล้ว วางภาระแล้ว มีความต้องการของตนอันบรรลุแล้ว สิ้นกิเลสอันเป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพนั้น เป็นผู้ไม่เป็นไปได้<sup></sup> ที่จะก้าวล่วงฐานะ ๙ ประการ คือ
    ๑. ไม่เป็นไปได้ที่จะจงใจฆ่าสัตว์มีชีวิต
    ๒. ไม่เป็นไปได้ที่จะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ อันกล่าวได้ว่า เป็นอาการของขโมย
    ๓. ไม่เป็นไปได้ที่จะเสพเมถุนธรรม
    ๔. ไม่เป็นไปได้ที่จะกล่าวเท็จโดยเจตนา
    ๕. ไม่เป็นไปได้ที่จะทำการสะสมบริโภคกาม เหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน
    ๖. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะรัก
    ๗. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะชัง
    ๘. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะหลง
    ๙. ไม่เป็นไปได้ที่จะถึงความลำเอียงเพราะกลัว."
    ปาสาทิกสูตร ๑๑/๑๔๗ ​
    <hr>๑. แผ่นดินนี้ (หมายถึงแผ่นดินภายใน คืออัตตภาพร่างกาย) ยมโลก (นรก) เทวโลก (สวรรค์)
    ๒. คำว่า ผู้ศึกษา แปลจาก คำว่า เสขะ โดยทั่วไป แปลว่า ผู้ศึกษา โดยเจาะจงในทางธรรม หมายถึง พระอริยบุคคลผู้บรรลุมรรคผลตั้งแต่ขั้นต่ำ จนถึงจวนจะบรรลุขั้นสุดท้าย คือตั้งแต่โสดาปัตติมรรคถึงอรหัตตมรรค
    ๓. หมายถึงฟองบนผิวน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแตกไป
    ๔. อภพฺโพ ที่แปลว่า ไม่เป็นไปได้ เพื่อให้ความชัด เพราะถ้าแปลว่า ไม่ควร จะหมายความว่า เป็นคำสอนว่า ไม่ควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ความหมายในที่นี้ว่า ไม่เป็นไปได้
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การรักษาสาธารณสมบัติ
    (มีข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับความรอบคอบในการทรงบัญญัติพระวินัยของพระพุทธเจ้า)
    <center>
    ๑๓๘. ผ้าเช็ดเท้า
    </center> สมัยนั้น ท่อนผ้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้าได้."
    <center>
    ๑๓๙. ห้ามเหยียบเสนาสนะทั้งที่เท้าเปื้อน
    </center> สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเหยียบเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) ด้วยเท้าที่มิได้ล้าง. เสนาสนะเสียหาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ล้างเท้า ไม่พึงเหยียบเสนาสนะ. ผู้ใดเหยียบ ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ."

    <center>
    ๑๔๐. ห้ามเหยียบเสนาสนะทั้งที่เท้าเปียก
    </center> สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเหยียบเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) ด้วยเท้าที่เปียก. เสนาสนะเสียหาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีเท้าเปียก ไม่พึงเหยียบเสนาสนะ ผู้ใดเหยียบ ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ."
    <center>
    ๑๔๑. ห้ามใส่รองเท้าเหยียบเสนาสนะ
    </center> สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใส่รองเท้า เหยียบเสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย). เสนาสนะเสียหาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใส่รองเท้า ไม่พึงเหยียบเสนาสนะ ผู้ใดเหยียบ ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ."
    วินัยปิฎก ๗/๑๔๔ ​
    <center>
    ๑๔๒. ห้ามบ้วนน้ำลายบนพื้นที่ทาสี
    </center> สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายบ้วนน้ำลายลงบนพื้นที่ทาสี. สีเสียหาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบ้วนน้ำลายลงบนพื้นที่ทาสี. ผู้ใดบ้วน ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต (ให้ใช้) กระโถน<sup></sup> (ได้)."
    <center>
    ๑๔๓. ให้ใช้ผ้าพันเท้าเตียงเท้าตั่ง
    </center> สมัยนั้น เท้าเตียงบ้าง เท้าตั่งบ้าง ครูดพื้นที่ทาสี. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พ้น (เท้าเตียง เท้าตั่ง)ด้วยท่อนผ้า."
    <center>
    ๑๔๔. ห้ามพิงฝาที่ทาสี
    </center> สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพิงฝาที่ทาสี. สีเสียหาย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ทาสี. ผู้ใดพิง ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดานสำหรับพิง." แผ่นกระดานครูดพื้นข้างล่างและครูดฝาข้างบน. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พันข้างล่าง และข้างบน (แห่งแผ่นกระดาน) ด้วยท่อนผ้า."
    <center>
    ๑๔๕. อนุญาตให้ใช้เครื่องปูนอน
    </center> สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้ว ก็ยังรังเกียจที่จะนอน. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูลาดก่อนแล้ว จึงนอน."
    วินัยปิฎก ๗/๑๔๕ ​
    <center>
    ๑๔๖. ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (คือทนอยู่ไม่ได้). สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน. สิ่งใดไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ข้อนี้ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ก็เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (คือทนอยู่ไม่ได). สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน. สิ่งใดไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ข้อนี้ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ผู้ได้สดับ เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายความกำหนัด (หมายถึงความติดใจ). เพราะคลายความกำหนัด ก็หลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้น ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ว่า ชาติ(ความเกิด) สิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ (การประพฤติเหมือนพรหม คือไม่ครองเรือน)ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ (เพื่อมาเกิดอีก) ไม่มี<sup></sup>."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๑ ​
    <center>
    ๑๔๗. ผู้ชื่นชมทุกข์
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดชื่นชมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชื่นชมรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้) ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ ผู้นั้นเรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้."
    ๑๘/๑๖-๑๗ ​
    <center>
    ๑๔๘. ความเกิด ความดับ แห่งทุกข์
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดปรากฏ แห่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้ ธรรมะ สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) คือความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความตั้งอยู่แห่งโรค ความปรากฏ แห่งความแก่และความตาย."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งตา หู เป็นต้นเหล่านั้น คือความดับแห่งทุกข์ ความระงับแห่งโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งความแก่และความตาย."
    ๑๘/๑๗ ​
    <center>
    ๑๔๙. ตา หู เป็นต้น มีที่ไหน มารมีที่นั่น
    </center> ท่านพระสมิทธิกราบทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า มาร มานั้น ด้วยเหตุเพียงเท่าไหร จึงชื่อว่ามาร หรือบัญญัติคำว่า มาร ได้."
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "ดูก่อนสมิทธิ ในที่ใดมีตา มีรูป (สิ่งที่เห็นด้วยตา) มีความรู้แจ้งทางตา<sup></sup> มีธรรมที่พึงรู้แจ้ง ด้วยความรู้แจ้งทางตา ในที่ใดมีหู มีเสียง ฯลฯ มีใจ มีธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ มีความรู้แจ้งทางใจ<sup></sup> มีธรรมที่พึงรู้แจ้ง ด้วยความรู้แจ้งทางใจ ในที่นั้น ย่อมมีมาร หรือมีการบัญญัติว่า มาร ได้."
    "ดูก่อนสมิทธิ ในที่ใดไม่มีสิ่งเหล่านั้น ในที่นั้นย่อมไม่มีมาร ไม่มีการบัญญัติว่า มาร ได้."
    ๑๘/๔๖ ​
    <center>
    ๑๕๐. นรกที่ตา หู เป็นต้น
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านได้ดีแล้ว ขณะ(กาลเวลา) เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันท่านได้รับแล้ว. นรกอันเชื่อว่าเนื่องด้วยอายตนะสำหรับถูกต้องอารมณ์ ๖ ชนิด เราได้เห็นแล้ว ในนรกนั้น บุคลย่อมเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ก็เห็นแต่รูปที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา, เห็นแต่รูปที่ไม่น่าใคร ไม่เห็นรูปที่น่าใคร, เห็นแต่รูปที่ไม่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจ."
    "เขาฟังเสียง, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องโผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้), รู้ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ก็ได้ฟัง ได้ดม ได้ลิ้ม ได้ถูกต้อง ได้รู้แต่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ดม ไม่ได้ลิ้ม ไม่ได้ถูกต้อง ไม่ได้รู้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ."
    <center>
    ๑๕๑. สวรรค์ที่ตา หู เป็นต้น
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านได้ดีแล้ว ขณะ(กาลเวลา) เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อันท่านได้รับแล้ว. สวรรค์อันเชื่อว่าเนื่องด้วยอายตนะสำหรับถูกต้องอารมณ์ ๖ ชนิด เราได้เห็นแล้ว. ในสวรรค์นั้น บุคคลย่อมเห็นรูปใด ๆ ด้วยตา ก็เห็นแต่รูปที่น่าปรารถนา ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนา. เห็นแต่รูปที่น่าใคร่ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่. เห็นแต่รูปที่น่าพอใจ ไม่เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจ."
    "เขาฟังเสียง, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, ถูกต้องโผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องได้), รู้ธรรมะ (สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ) ก็ได้ฟัง ได้ดม ได้ลิ้ม ได้ถูกต้อง ได้รู้แต่สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ไม่ได้ฟัง ไม่ได้ดม ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้ถูกต้อง ไม่ได้รู้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ."
    ๑๘/๑๕๘ ​
    <hr>๑. เขฬมลฺลก
    ๒. ข้อความต่อจากนี้ กล่าวถึงสิ่งที่คู่กันกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องได้ สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ทั้งอดีต อนาคต ว่าไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
    ๓. จักขุวิญญาณ
    ๔. มโนวิญญาณ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๕๒. เวียนว่ายตายเกิด
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเสมือนท่อนไม้ที่โยนขึ้นไปในอากาศ บางครั้งก็ตกลงทางโคน บางครั้งก็ตกลงทางกลาง บางครั้งก็ตกลงทางปลาย. สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกมัด วิ่งไป ท่องเที่ยวไปอยู่ บางครั้งก็ไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้ บางครั้งก็มาสู่โลกนี้จากโลกอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) นี้ มีที่สุดอันตามไปไม่พบ ไม่ปรากฏเงื่อนเบื้องต้น เบื้องปลาย ของสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกมัด วิ่งไป ท่องเที่ยวไปอยู่. ควรเพื่อจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในสังขารทั้งปวง ควรที่จะพ้นไปเสีย."
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ๑๖/๒๑๙ ​
    <center>
    ๑๕๓. อะไรยาวนานสำหรับใคร
    </center> "ราตรีของผู้ที่ตื่น ยาวนาน. โยชน์ของผู้เมื่อยล้า ยาว, สงสาร (การท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิด) ของคนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม ยาว."

    <center>
    ๑๕๔. ความเป็นสหายในคนพาลไม่มี
    </center> "ถ้าเที่ยวไป ไม่พบคนที่ดีกว่าตน หรือเสมอตน ก็ควรบำเพ็ญความเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวให้มั่น เพราะความเป็นสหายในคนพาลไม่มี."
    <center>
    ๑๕๕. ของเราแน่หรือ ?
    </center> "คนเขลาย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ก็ตนของตนยังไม่มี บุตรและทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน ?"
    <center>
    ๑๕๖. พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง
    </center> "คนพาลรู้จักความเป็นพาลของตน ก็เป็นบัณฑิตได้บ้าง เพราเหตุนั้น, แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต เรากล่าวว่าเป็นพาลแท้."
    <center>
    ๑๕๗. ทัพพีไม่รู้รสแกง
    </center> "ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตจนตลอดชีวิต แต่ไม่รู้แจ้งซึ่งธรรม คนพาลนั้น ก็เหมือนทัพพีที่ไม่รู้รสแกงฉะนั้น."
    <center>
    ๑๕๘. ลิ้นรู้รสแกง
    </center> "ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้เพียงครู่เดียว แต่รู้แจ้งซึ่งธรรมได้โดยพลัน วิญญูชนนั้นก็เหมือนลิ้นที่รู้รสแกงฉะนั้น."
    <center>
    ๑๕๙. มีตนเป็นอมิตร
    </center> "คนพาลย่อมเที่ยวไป กับตนที่เป็นอมิตรนั่นแหละ ทำบาปกรรมอันมีผลเป็นที่เดือดร้อน."
    ธรรมบท ๒๕/๒๓ ​
    <center>
    ๑๖๐. สะอาดด้วยน้ำ หรือ ด้วยความประพฤติ ?
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยา สมัยนั้น ชฏิล (นักบวชเกล้าผมเป็นเซิง) มากหลาย ดำผุดบ้าง ดำหัวบ้าง เอามือกวักน้ำรดตนเองบ้าง ในแม่น้ำคยา บูชาไฟบ้าง ในสมัยที่มีหิมะตกระหว่างราตรีฤดูหนาว อันเย็นเยียบ ด้วยคิดว่า ความบริสุทธิ์จะมีได้ด้วยวิธีการนี้ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นชฏิลเหล่านั้นทำอาการอย่างนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    "ความบริสุทธิ์เพราะน้ำในแม่น้ำที่คนเป็นอันมากอาบนั้น ย่อมไม่มี ผู้ใดมีสัจจะ มีธรรมะ ผู้นั้นเป็นผู้สะอาด เป็นพราหมณ์."
    อุทาน ๒๕/๘๐ ​
    <center>
    ๑๖๑. อยู่ในอำนาจของคนอื่นเป็นทุกข์
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดา<sup></sup> ในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น นางวิสาขา มิคารมารดา มีธุระบางอย่างเกี่ยวข้องในพระเจ้าปเสนทิโกศล. พระราชามิได้ทรงพิจารณาเรื่องนั้นตามความต้องการ (อรรถกถากล่าวว่า นางวิสาขาไปเฝ้า แต่ไม่พบ หลายครั้ง). นางวิสาขาจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า "ดูก่อนวิสาขา เธอไปไหนมาแต่ยังวันทีเดียว." นางวิสาขาจึงกราบทูลเรื่องนันให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    "การอยู่ในอำนาจของคนอื่น ทุกอย่าง เป็นทุกข์, การเป็นอิสสระ ทุกอย่าง เป็นสุข. คนทั้งหลายย่อมเดือดร้อนในเรื่องทุกข์สุขทั่วไป เพราะว่ากิเลสเครื่องมัดสัตว์ เป็นของก้าวล่วงได้ยาก."
    อุทาน ๒๕/๙๘ ​
    <center>
    ๑๖๒. สิ้นหลงย่อมไม่หวั่นไหว
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชนวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ท่านพระสาริบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นพระสาริบุตรเช่นนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    "ภูเขาศิลา ไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีฉันใด เพราะสิ้นความหลง ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหว ดุจภูเขาฉะนั้น."
    อุทาน ๒๕/๑๑๒ ​
    <center>
    ๑๖๓. ไม่โศกในท่ามกลางแห่งความโศก
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวนาราม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต. ขณะนั้นท่านพระอุปเสนะ วังคันตบุตร ผู้ไปสู่ที่ลับ หลีกเร้นอยู่ ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า "เป็นลาภของเรา, เราได้ดีหนอ. พระศาสดาของเรา เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และเราก็ได้ออกจากเรือน บวชไม่มีเรือนในพระธรรมวินัยที่พระศาสดาตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ของเราเล่า ก็มีศีล มีกัลยาณธรรม และทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ตัวเราก็มีจิตตั้งมั่นดี มีอารมณ์เป็นหนึ่ง และเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เราจะอยู่จะตาย ก็นับว่าเจริญ.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอุปเสนะ วังคันตบุตรแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    "ผู้ใดจะเป็นอยู่ก็ไม่เดือดร้อน จะตายก็ไม่เศร้าโศก<sup></sup> ผู้นั้นเป็นผู้เห็นบท (แห่งธรรม) ย่อมไม่เศร้าโศก ในท่ามกลางแห่งความโศก. ภิกษุผู้ถอนความทะยานอยากในความมีความเป็นได้ มีจิตสงบ สิ้นการเวียนว่ายในชาติ (ความเกิด) ความเกิดอีกของเธอย่อมไม่มี."
    อุทาน ๒๕/๑๔๒ ​
    <center>
    ๑๖๔. อกเขา อกเรา
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จสู่ชั้นบนปราสาทอันประเสริฐกับพระนางมัลลิกาเทวี. พระองค์ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวีว่า "ดูก่อนมัลลิกา ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอเองมีหรือไม่ ?" พระนางมัลลิกากราบทูลว่า "ข้าแต่มหาราช ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มี ก็ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของพระองค์เองมีหรือไม่ ?" พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า "ดูก่อนมัลลิกา ใคร ๆ คนอื่นที่เป็นที่รักยิ่งกว่าตัวของเราเองไม่มี."
    ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงปราสาท เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลข้อโต้ตอบของพระองค์กับพระนางมัลลิกาเทวี ให้ทรงทราบ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    ""บุคคลตรวจดูด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเองในที่ไหน ๆ ตนเองเป็นที่รักยิ่งของคนทั้งหลายอย่างนี้ ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น."
    อุทาน ๒๕/๑๔๕ ​
    <hr>๑. คำนี้เป็นชื่อพิเศษแสดงประวัติว่า ได้เคยต่อสู้กับมิคารเศรษฐี บิดาสามี ซึ่งบีบคั้นนางต่าง ๆ และได้อาศัยความดีต่อสู้ จนบิดาสามียอมเรียกเป็นมารดา
    ๒. เป็นการแปลหัก ถือเอาใจความ
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๖๕. ประวัติสุปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน


    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นคนเป็นโรคเรื้อนผู้มีนามว่า สุปพุทธะ เป็นคนจน คนกำพร้า คนขัดสน. สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ สุปพุทธผู้เป็นโรคเรื้อน เห็นหมู่มหาชนประชุมกันอยู่แต่ที่ไกล ครั้นเห็นดังนั้น จึงคิดว่า "เขาคงแบ่งของเคี้ยวของกินอย่างใดอย่างหนึ่งกันในที่นั้นโดยไม่ต้องสงสัย. แม้ไฉน เราพึงเข้าไปหามหาชนกลุ่มนั้น บางทีจะได้ของเคี้ยวของกินอย่างใดอย่างหนึ่งในที่นั้นบ้าง." สุทปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน จึงเข้าไปหามหาชนกลุ่มนั้น ก็ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ครั้นเห็นดังนั้น จึงคิดว่า "เขามิได้แบ่งของเคี้ยวของกินอย่างใดอย่างหนึ่งในที่นี้ พระสมณโคดมนี้กำลังแสดงธรรมในบริษัท. แม้ไฉน เราพึงฟังธรรม" จึงนั่งลง ณ ที่นัน ด้วยคิดว่า เราจักฟังธรรม.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาดูบริษัททั้งปวงโดยรอบคอบ ว่าใครในที่ประชุมนี้จะควรรู้แจ้งธรรมะ ก็ได้ทรงเห็นสุปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน ผู้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้นทรงเห็นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า สุทปพุทธะผู้นี้ ควรรู้แจ้งธรรมได้ จึงทรงปรารภสุปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน แสดงอนุบุพพิกถา (ถ้อยคำที่กล่าวตามลำดับ) คือทรงประกาศกล่าว ว่าด้วยทาน, ศีล, โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกาม และอานิสงส์ (ผลดี) ในการออกบวช.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน เป็นผู้มีจิตอันควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนีวรณ์ (กิเลสที่กั้น) มีจิตมีอารมณ์สูง จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ว่าด้วยทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิดความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงเปิดหงายขึ้นได้เอง<sup></sup>. ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทินว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา" ดังนี้ ได้เกิดขึ้นแก่สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน ณ ที่นั่งนั้นเอง เสมือนหนึ่งผ้าอันบริสุทธิ์ ปราศจากจุดด่างพร้อย ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น.
    ลำดับนั้น สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว บรรลุแล้ว รู้แจ้งแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมก้าวล่วงความสงสัยแคลงใจได้แล้ว ถึงความเป็นผู้กล้าหาญไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัย (ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น) ในเรื่องคำสอนของพระศาสดา ลุกขึ้นจากที่นั่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ไพเราะนัก พระเจ้าข้า เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด ชี้ทางแก่คนหลงทาง ตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีตาจะได้เห็นรูป พระผู้มีพระภาค ได้ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอเนก มีข้อเปรียบฉะนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต."
    ลำดับนั้น สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ชักชวน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมิกถา ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ต่อมาสุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน หลีกไปแล้วไม่ช้า ก็ถูกโครุ่นขวิด ถึงแก่ชีวิต.
    ลำดับนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว จึงกราบทูล่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนเป็นโรคเรื้อน ชื่อสุปพุทธะ ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมิกถา นั้น ทำกาละเสียแล้ว สุปพุทธะนั้น มีคติและความเป็นไปข้างหน้าเป็นอย่างไร ?" พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสิ้นกิเลสเครื่องผูกมัด ๓ ประการ<sup></sup> สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน เป็นพระโสดาบัน เป็นผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า."
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน เป็นคนจน เป็นคนกำพร้า เป็นคนขัดสน ?" พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในกาลก่อน สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อน ได้เป็นบุตรของเศรษฐีในกรุงราชคฤห์นี้. เขาเดินทางไปสู่สนามในอุทยาน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ตครสิขี กำลังเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในพระนคร ครั้นเห็นก็คิดว่า "คนขี้เรื้อนอะไรนี่เที่ยวเดินอยู่" จึงถ่มน้ำลาย แสดงอาการไม่เคารพหลีกไป. ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้ในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก สิ้นร้อยปีเป็นอันมาก สิ้นพันปีเป็นอันมาก สิ้นแสนปีเป็นอันมาก<sup></sup>. ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น เขาจึงได้เป็นคนยากจน เป็นคนกำพร้า เป็นคนขัดสนในกรุงราชคฤห์นี้. เขาอาศัยพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงสมาทาน (ถือเอา) ศรัทธา (ความเชื่อ) ศีล (ความรักษากายวาจาให้เรียบร้อย) สุตะ (การสดับตรับฟัง) จาคะ (การสละกิเลส) ปัญญา (ความรอบรู้). ครั้นเขาอาศัยพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว สมาทานศรัทธา จนถึงสมาทานปัญญาแล้ว ภายหลังที่สิ้นชีวิตแล้ว ก็เข้าถึงความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้น เขาย่อมรุ่งเรืองเหนือเทพเหล่าอื่นโดยวรรณะ โดยยศ."
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนันแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    "เมื่อยังมีความเพียร บัณฑิตพึงเว้นบาปทั้งหลายในชีวโลก (โลกแห่งสัตว์มีชีวิต) เหมือนคนมีตาดีเว้นทางไม่สม่ำเสมอฉะนั้น."
    อุทาน ๒๕/๑๔๕ ​
    <hr>๑. ค้นพบด้วยพระองค์เอง
    ๒. โดยใจความ คือความเห็น เป็นเหตุยึดว่ากายของเรา, ความสงสัย, การติดในศีลและพรต
    ๓. เป็นสำนวนให้เข้าใจว่าตกนรกอยู่นาน
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๖๖. ถ้ากลัวทุกข์ก็อย่าทำความชั่ว
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี สมัยนั้นเด็ก ๆ หลายคนจับปลาอยู่ ในระหว่างกรุงสาวัตถี กับเชตวนารม. ขณะนั้น เป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงอันตรสาวก (นุ่งผ้า) แล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต. พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็ก ๆ หลายคนเหล่านั้นกำลังจับปลาอยู่ จึงเสด็จเข้าไปหา แล้วตรัสว่า "เด็ก ๆ ทั้งหลาย พวกเธอกลัวทุกข์ ไม่รักทุกข์ ใช่หรือไม่" เมื่อเด็กทั้งหลายกราบทูลรับว่า "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายกลัวทุกข์ ไม่รักทุกข์." จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    "ถ้าท่านทั้งหลายกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็อย่าทำกรรมชั่ว ไม่ว่าในที่แจ้ง หรือในที่ลับ ถ้าท่านทั้งหลายจักกระทำ หรือกระทำความชั่วอยู่ ก็จะไม่พ้นไปจากทุกข์ได้ แม้จะตั้งหน้าหนีไปอยู่."
    อุทาน ๒๕/๑๔๙ ​
    <center>
    ๑๖๗. คนค่อม แต่มีคุณธรรมสูง
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นท่านพระภิททิยะผู้ค่อม (เรียกชื่อติดกันว่า ลกุณฏกภัททิยะ) เดินตามหลังภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระลกุณฏกภัททิยะเดินตามหลังภิกษุหลายรูปมาแต่ไกล เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยต่ำมาก อันภิกษุทั้งหลายบังเสียโดยมาก. ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้นหรือไม่ ผู้เดินตามหลังภิกษุหลายรูปมาแต่ไกล เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยต่ำมาก อันภิกษุทั้งหลายบังเสียโดยมาก." ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เห็น พระเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นแหละ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมาบัติที่ภิกษุนี้ไม่เคยเข้า หาได้ยากมาก กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริยะโดยชอบ เพื่อประโยชน์อันใด ภิกษุนี้ ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์นั้น อันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งการประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบัน."
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    "รถที่ไม่มีส่วนบกพร่อง มีหลังคาขาว มีกำข้างเดียว กำลังแล่นอยู่ ท่านจงดูรถคันนั้น อันไม่สะเทือน มีกระแสอันขาด ไม่มีเครื่องผูก กำลังมาอยู่.<sup></sup>"
    อุทาน ๒๕/๒๐๐ ​
    <center>
    ๑๖๘. ลักษณะแห่งที่สุดทุกข์
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของอนาถปิฎฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมิกถา อันปฏิสังยุต (เกี่ยวข้อง) ด้วยพระนิพพาน. และภิษุเหล่านัน ก็สนใจ ใส่ใจ ตั้งใจ เงี่ยโสต สดับพระธรรม.
    เมื่อยังมีความเพียร บัณฑิตพึงเว้นบาปทั้งหลายในชีวโลก (โลกแห่งสัตว์มีชีวิต) เหมือนคนมีตาดีเว้นทางไม่สม่ำเสมอฉะนั้น."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในอายตนะนั้นไม่มีดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ไม่มีอากาสานัญจายตนะ, วิญญาณัญจายตนะ, อกิญจัญญายตนะ, เนวสัญานาสัญญายตนะ, ไม่มีโลกนี้, ไม่มีโลกอื่น, ไม่มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ทั้งสอง, เราย่อมกล่าวถึงอายตนะนั้นว่า ไมใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การจุติ (การเคลื่อนจากที่เดิม) มิใช่การเกิดขึ้น ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีความเป็นไป ไม่มีอารมณ์ นั่นแหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์."
    อุทาน ๒๕/๒๐๖ ​
    (หมายเหตุ : คำว่า อากาสานัญจายตนะ หมายความว่า แหล่งที่มีอากาศไม่มีที่สุด วิญญาณัญจายนตะ แหล่งที่มีวิญญาณไม่มีที่สุด อากิญจัญญายตนะ แหล่งที่ไม่มีอะไรเลย เนวสัญญานาสัญญายตนะ แหล่งที่มีสัญญา (ความจำได้) ก็มิใช่ ไม่มีสัญญา ก็มิใช่ เป็นชื่อของอรูปฌานทั้งสี่ และเป็นชื่อของที่เกิดของผู้บรรลุอรูปฌานทั้งสี่นั้น).
    อุทาน ๒๕/๑๔๕ ​
    <center>
    ๑๖๙. คมิกวัตร (ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้จะเดินทางจากไป)
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้จะเดินทางจากไป พึงเก็บเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ เครื่องใช้ที่ทำด้วยดิน (หมายถึงดินเผา) ปิดประตูหน้าต่างแล้ว บอกมอบเสนาสนะ (ที่นอนที่นั่ง ถือเอาความว่าที่อยู่อาศัย). ถ้าไม่มีภิกษุ พึงบอกสามเณร. ถ้าไม่มีสามเณร พึงบอกคนดูแลวัด. ถ้าไม่มีคนดูแลวัด พึงบอกอุบาสก.<sup></sup>"
    "ถ้าไม่มีภิกษุสามเณร คนดูแลวัดหรืออุบาสก พึงวางเตียงไว้บนก้อนหิน ๔ ก้อน (เพื่อไม่ให้ปลวกขึ้น) แล้ววางเตียงซ้อนเตียง วางตั่งซ้อนตั่ง ทำเสนาสนะให้เป็นกองอยู่ข้างบน เก็บเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ เครื่องใช้ที่ทำด้วยดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วจึงหลีกไป."
    "ถ้าวิหารรั่ว ถ้าสามารถ ก็พึงมุงเสีย หรือพึงทำความขวนขวายด้วยคิดว่า ทำอย่างไร จะมุงวิหารได้. ถ้ามุงได้อย่างนี้ ก็เป็นการดี. ถ้าไม่ได ที่ใดฝนไม่รั่ว พึงวางเตียงไว้บนก้อนหิน ๔ ก้อน ในที่นั้น, วางเตียงซ้อนเตียง วางตั่งซ้อนตั่ง ทำเสนาสนะให้เป็นกองอยู่ข้างบน เก็บเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ เครื่องใช้ที่ทำด้วยดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วหลีกไป."
    "ถ้าวิหารรั่วทั้งหลัง ถ้าสามารถ พึงนำเสนาสนะ<sup></sup> ไปสู่หมู่บ้าน (ฝากชาวบ้านไว้) หรือพึงทำความขวนขวายว่า ทำอย่างไรจะนำเสนาสนะไปสู่หมู่บ้านได้. ถ้านำไปได้อย่างนี้ ก็เป็นการดี. ถ้าไม่ได้ พึงวางเตียงไว้บนก้อนหิน ๔ ก้อน วางเตียงซ้อนเตียง วางตั่งซ้อนตั่ง ทำเสนาสนะให้เป็นกองอยู่ข้างบน เก็บเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ เครื่องใช้ที่ทำด้วยดิน คลุมด้วยหญ้า หรือใบไม้ แล้วหลีกไปด้วยคิดว่า ถ้าอย่างไร แม้ส่วนประกอบทั้งหลายจะพึงเหลืออยู่."
    "นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คือวัตรของภิกษุผู้จะเดินทางจากไป ที่ภิกษุผู้จะเดินทางจากไป พึงปฏิบัติโดยชอบ."
    วินัยปิฎก ๗/๒๒๒ ​
    <hr>๑. พระพุทธภาษิตนี้ เปรียบพระอรหันต์กับรถที่ดี และดีอย่างผิดกว่ารถธรรมดา คือรถธรรมดามีซี่ล้อ (กำ) มาก แต่นี่มีกำซี่เดียว ท่านเปรียบด้วยสติ รถธรรมดา มีน้ำมันที่หยอดไว้ตามหัวเพลา ตามดุม ไหลเยิ้ม แต่รถนี้ไม่มีแระแส คือเทียบด้วยไม่มีกระแสตัณหาไหล รถธรรมดา ต้องผูกมัดรัดรึง แต่รถคันนี้ไม่ต้องมีอะไรผูก เทียบด้วยไม่มีกิเลส
    ๒. อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้ คือนั่งใกล้พระรัตนตรัย ถือเอาความว่า ผู้นับถือพระพุทธศาสนา
    ๓. คำว่า เสนาสนะ โดยทั่วไป หมายรวมทั้งที่อยู่อาศัย แต่ในที่นี้ รูปความให้หมายเพียงเครื่องปูนั่ง ปูนอน รวมทั้งเตียงตั่ง เพราะคำว่า ที่อยู่อาศัย ใช้คำว่า วิหาร แล้ว
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๗๐. เสนาสนวัตร (ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย)
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ในวิหารใด ถ้าสามารถ เธอพึงทำความสะอาด. เมื่อจะทำความสะอาดวิหาร พึงนำบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พึงนำผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอนออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พึงนำฟูก<sup></sup> และหมอนออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เตียงตั่งพึงทำให้ต่ำนำออกให้ดี อย่าให้ครูดสี กับกระโถนออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พึงนำแผ่นกระดานสำหรับพิงออกไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พึงสังเกตเครื่องปูพื้นตามที่ตั้งไว้เดิม แล้วนำออกวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. (สมัยก่อนที่อยู่ไม่ยกพื้นโดยมาก เมื่ออยู่กับพื้นดินจึงต้องใช้เตียงใช้ตั่ง และใช้เครื่องปูพื้น). ถ้าวิหารมีหยากไย่ พึงนำหยากไย่ออกจากเพดานก่อน."
    "ถ้าฝาที่ทาด้วยสีดินแดง เป็นจุดด่าง พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้ง แล้วเช็ด. ถ้าพื้นทาด้วยสีดำเป็นจุดด่าง พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้งแล้วเช็ด. ถ้าพื้นไม่ได้ทาสีไว้ พึงพรมน้ำแล้วกวาด ด้วยคิดว่า อย่าให้วิหารเปรอะเปื้อนด้วยธุลี พึงเก็บขยะไปทิ้ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
    "ไม่พึงตีเสนาสนะ (หมายถึงใช้มือทุบตีหรือใช้ไม้ตีให้ฝุ่นละอองออก) ในที่ใกล้ภิกษุ. ไม่พึงตีเสนาสนะในที่ใกล้วิหาร. ไม่พึงตีเสนาสนะใกล้น้ำดื่ม. ไม่พึงตีเสนาสนะใกล้น้ำใช้. ไม่พึงตีเสนาสนะในลานด้านทวนลม พึงตีเสนาสนะด้านใต้ลม."
    "เครื่องปูพื้น พึงตากได้ไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำความสะอาดแล้ว ดีแล้ว จึงนำไปปูไว้ ณ ที่ซึ่งปูไว้เดิม. ที่รองเตียง พึงตากไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เล้วเช็ด นำไปตั้งไว้ในที่เดิม. เตียงตั่ง พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำความสะอาดแล้ว เคาะแล้ว ทำให้ต่ำ นำไปให้ดี มิให้ครูดสีบาน และกรอบประตู แล้วพึงตั้งไว้ ณ ที่เดิม. ฟูกและหมอน พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำความสะอาดแล้ว ดีแล้ว จึงนำไปวางไว้ ณ ที่เดิม. กระโถน พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ขัดถูแล้วนำไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม. แผ่นกระดาษสำหรับพิง พึงตากแดดไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง นำไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม. พึงเก็บบาตรจีวร. (โปรดสังเกตว่า สิ่งที่นำออกก่อน เก็บเข้าทีหลังทั้งหมด)."
    "เมื่อจะเก็บบาตร พึงถือบาตรด้วยมือข้างหนึ่ง ใช้มืออีกข้างหนึ่งคลำใต้เตียง ใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บ (เพื่อไม่ให้บาตร ซึ่งโดยมากเป็นบาตรดิน กระทบอะไรแตกเสียหาย). ไม่พึงวางบาตรบนพื้นว่าง (คือที่ไม่มีอะไรบังอยู่ข้างบน). เมื่อเก็บจีวร พึงจับจีวรด้วยมือข้างหนึ่ง รูดราวจีวร หรือเชือกที่ขึงสำหรับพาดจีวรด้วยมืออีกข้างหนึ่ง พึงเก็บจีวรเอาชายด้านนอกพับเข้ามาด้านใน (คือพาดจีวรเข้ามาหาตัวผู้พาด เพื่อไม่ให้จีวรไปกระทบของแหลมคมอื่น ๆ ภิกษุที่รู้วินัยข้อนี้ เวลาตากจีวร จึงตากจีวรเข้าหาตัว)."
    "ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศตะวันออกพัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก. ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศตะวันตกพัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก. ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศเหนือพัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ. ถ้าลมมีฝุ่นทางทิศใต้พัดมา พึงปิดหน้าต่างด้านใต้."
    "ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างในเวลากลางวัน ปิดเวลากลางคืน. ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างในเวลากลางวัน เปิดในเวลากลางคืน.
    "ถ้าบริเวณรก พึงกวาดบริเวณ. ถ้าโรงเก็บของรก พึงกวาดโรงเก็บของ. ถ้าโรงประชุมรก พึงกวาดโรงประชุม. ถ้าโรงไฟ (สำหรับต้มน้ำ เป็นต้น) รก พึงกวาดโรงไฟ. ถ้าวัจจกุฎี (ส้วม) รก พึงกวาดวัจจกุฎี. ถ้าน้ำดื่มไม่มี พึงตั้งน้ำดื่มไว้. ถ้าน้ำใช้ไม่มี พึงตั้งน้ำใช้. ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ."
    "ถ้าอยู่ในวิหารเดียวกับภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ยังไม่ได้อาปุจฉา (บอกกล่าว หรือขอโอกาส) ไม่พึงให้อุทเทส (การแนะนำ) ไม่พึงให้ปริปุจฉา (การสอบถาม) ไม่พึงทำการสาธยาย (ท่องบ่น) ไม่พึงกล่าวธรรม ไม่พึงจุดไฟ ไม่พึงดับไฟ ไม่พึงเปิดปิดหน้าต่าง (ถ้าขออนุญาตแล้วทำได้) ถ้าเดินจงกรม (เดินไปเดินมา กำหนดจิตไว้ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง) ในที่จงกรมอันเดียวกับภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่าอยู่ในที่ใดพึงกลับจากที่นั้น (คือเมื่อเดินไปถึงที่นั้น แล้วให้กลับ) ด้วยคิดว่า ชายสังฆาฏิจะไม่กระทบภิกษุผู้แก่พรรษากว่า."
    "นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คือวัตรอันเกี่ยวกับเสนาสนะของภิกษุทั้งหลาย ที่ภิกษุทั้งหลายพึงปฏิบัติชอบในเรื่องเสนาสนะ.<sup></sup>"
    วินัยปิฎก ๗/๒๓๖ ​
    <center>
    ๑๗๑. ธรรมที่มีความทะยานอยากเป็นมูล ๙ อย่าง
    </center> ในข้อนั้น ธรรมที่มีความทะยานอยากเป็นมูล ๙ อย่างเป็นไฉน ?
    ๑. เพราะอาศัยความทะยานอยาก จึงมีการแสวงหา
    ๒. เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมีลาภ
    ๓. เพราะอาศัยลาภ จึงมีการวินิจฉัน
    ๔. เพราอาศัยการวินิจฉัน จึงมีความกำหนัด (หรือความคิด) ด้วยอำนาจแห่งความพอใจ
    ๕. เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ จึงมีการฝังใจ
    ๖. เพราะอาศัยการฝังใจ จึงมีการหวงแหน
    ๗. เพราะอาศัยการหวงแหน จึงมีความตระหนี่
    ๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการอารักขา
    ๙. เพราะมีการอารักขาเป็นเหตุ จึงมีการจับท่อนไม้ การจับศัสตรา การทะเลาะ การแตกแยก การกล่าวขัดแย้งกัน การชี้หน้ากัน การพูดส่อเสียด การพูดปด และธรรมที่เป็นบาปอกุศลอีกเป็นเอนก
    นี้คือธรรมที่มีความทะยานอยากเป็นมูล ๙ อย่าง.
    อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๒๗ ​
    <center>
    ๑๗๒. เรื่องของกิเลส (เครื่องใจให้เศร้าหมอง) ๑๐ อย่าง
    </center> ในข้อนั้น เรื่องของเกิเลส ๑๐ อย่างเป็นไฉน ?
    ๑. โลภะ ความโลภ ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
    ๓. โมหะ ความหลง ๔. มานะ ความถือตัว
    ๕. ทิฏฐิ ความเห็น (ผิด) ๖. วิจิกิจฉา ความลังเลสังสัย
    ๗. ถีนะ ความหดหู่ ๘. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    ๙. อหิริกะ ความเป็นผู้ไม่ละอาย ๑๐. อโนตตับปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป
    อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๒๘ ​
    <center>
    ๑๗๓. จิต มโน วิญญาณ เกิดดับ
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัดและพ้นไปในกาย อันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ได้. เพราะเหตุไร ? เพราะความก่อขึ้น ความสลายตัว การรวมตัว การแยกตัว ของกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ อันบุคคลเห็นได้. เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับจึงพึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและพ้นไปในกายนั้นได้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจ (มโน) บ้าง วิญญาณบ้าง อันใด,<sup></sup> บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และพ้นไปในธรรมชาตินั้นได้ เพราะเหตุไร ? เพราะธรรมชาตินัน อันบุถุชนผู้มิได้สดับ ฝังใจ ยึดถือ ลูบคลำ (ด้วยใจ) มานานแล้วว่า "นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา." เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และพ้นไปได้ในธรรมชาตินั้น."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงถือกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ว่า เป็นตนดีกว่า. การถือว่า จิตเป็นตนไม่ดีเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ นี้ ที่ตั้งอยู่ ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปี, ๔ ปี, ๑๐ ปี, ๒๐ ปี, ๓๐ ปี, ๔๐ ปี, ๕๐ ปี, ๑๐๐ ปี แม้ตั้งอยู่เกิน ๑๐๐ ปี ก็ยังเห็นได้. แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ในกลางคืนกับกลางวัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งก็ดับไป."
    สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๑๔ ​
    <hr>๑. ฟูก คือเบาะ มี ๒ ชนิด คือฟูกสำหรับเตียง ฟูกสำหรับตั่ง ในวินัยปิฎก เล่ม ๒ หน้า ๒๔๔ กล่าวว่า ฟูกหรือเบาะนี้ ยัดด้วยของ ๕ อย่าง คือขนสัตว์, ปอ, เศษผ้า, หญ้าและใบไม้. ของยัดที่ห้าม คือนุ่นและสำลี
    ๒. การแปลเรื่องนี้ เพื่อให้เห็นความละเอียดลออในการทรงบัญญัติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
    ๓. แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงยอมรับว่า จิต ใจ วิญญาณ ใช้เป็นไวพจน์ของกันและกันได้ แม้ในที่บางแห่งจะแสดงหน้าที่ของคำทั้งสามนี้ต่างกัน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๗๔. เข้ากันได้โดยธาตุ
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้โดยธาตุ. คนมีศรัทธา ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้กับคนมีศรัทธา. คนมีใจละอายต่อบาป ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีใจละอายต่อบาป. คนมีความเกรงกลัวต่อบาป ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีความเกรงกลัวต่อบาป. คนที่สดับตรับฟังมากก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่สดับตรับฟังมาก. คนที่ปรารภความเพียร ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่ปรารภความเพียร. คนที่มีสติตั้งมั่น ก็เข้ากันได้ ลงกันได้กับคนที่มีสติตั้งมั่น. คนที่มีปัญญา ก็เข้ากันได้ ลงกันได้ กับคนที่มีปัญญา. แม้ในอดีตกาลนานไกล ในอนาคตกาลนานไกล ในปัจจุบันกาลนานไกล ก็เป็นอย่างนี้."
    ๑๖/๑๙๑ ​
    <center>
    ๑๗๕. ตัวอย่างของผู้เข้ากันได้โดยธาตุ
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ท่านพระสาริบุตร เดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค. แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ, ท่านพระมหากัสสปะ, ท่านพระอนุรุทธ์, ท่านพระปุณณะ, ท่านพระอุบาลี, ท่านพระอานนท์ และพระเทวทัต (แต่ละท่าน) ต่างก็เดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค.
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นสาริบุตรกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีปัญญามาก. ท่านทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีฤทธิ์มาก. ท่านทั้งหลายเห็นมหากัสสปกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นธุตวาทะ (ผู้กล่าวในทางขัดเกลากิเลส คือ สรรเสริญการประพฤติธุดงค์). ท่านทั้งหลายเห็นอนุรุทธ์กำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีทิพยจักษุ. ท่านทั้งหลายเห็นปุณณะ มันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นธรรมกถึก (ผู้แสดงธรรม). ท่านทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นวินัยธร (ผู้ทรงวินัย). ท่านทั้งหลาย เห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สดับตรับฟังมาก. ท่านทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมร่วมกับภิกษุมากหลายหรือไม่ ?"
    "เห็น พระเจ้าข้า"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีความปรารถนาลามก."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้โดยธาตุ. ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเข้ากันได้ ย่อมลงกันได้กับผู้มีอัธยาศัยเลว ผู้มีอัธยาศัยดีงาม ย่อมเข้ากันได้ ลงกันได้กับผู้มีอัธยาศัยดีงาม."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายเข้ากันได้แล้ว ลงกันได้แล้วโดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอนาคตกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายจักเข้ากันได้ ลงกันได้โดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันกาลนานไกล สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้ากันได้ ลงกันได้โดยธาตุ ทั้งผู้มีอัธยาศัยเลว อัธยาศัยดีงาม."
    ๑๖/๑๘๖ ​
    <center>
    ๑๗๖. เรื่องที่มิได้ตรัสบอกมีมากกว่า
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าไม้ประดู่ลาย ใกล้กรุงโกสัมพี ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลายขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? คือใบประดูลายเล็กน้อยที่เราถือไว้ กับใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย อย่างไหนจะมากกว่ากัน ?"
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่ทรงถือไว้ มีประมาณน้อย ที่แท้ใบที่อยู่บนต้นประดู่ลายมีมากกว่า."
    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องที่เราตรัสรู้แล้ว แต่มิได้บอกแก่ท่านทั้งหลาย ก็มีมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกัน เหตุไรเล่า เราจึงมิได้บอก? ก็เพราะว่า เรื่องนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบ ระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจึงไม่บอกเพราะเหตุนั้น."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๘ ​
    <center>
    ๑๗๗. เรื่องที่ตรัสบอกคืออะไร ?
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรื่องอะไรเล่าที่เราบอก ? เราบอกว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. เหตุไรเล่า เราจึงบอกเรื่องนี้ ? ก็เพราะว่า เรื่องนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจึงบอกเพราะเหตุนั้น. เพราะเหตุนั้นแล จึงควรกระทำความเพียร (เพื่อรู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง) ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๘ ​
    <center>
    ๑๗๘. ใบไม้ขนาดเล็กที่ห่อน้ำหรือห่อใบตาลไม่ได้
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนที่กล่าวว่า ตนไม่ต้องตรัสรู้อริยสัจจ์คือทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามเป็นจริง ก็จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบได้ (พ้นทุกข์ได้) นั้นมิใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนคนที่กล่าวว่า ตนจะเอาใบตะเคียน ใบทองกวาว<sup></sup>หรือใบมะขามป้อม (ซึ่งเป็นใบไม้ขนาดเล็กมาก) มาทำเป็นกระทงใส่น้ำหรือใส่ใบตาล ย่อมมิใช่ฐานะที่มีได้ฉะนั้น."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๔๙ ​
    <center>
    ๑๗๙. ธรรมที่เป็นใหญ่คือปัญญา เทียบด้วยราชสีห์
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อ ย่อมกล่าวได้ว่า เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้นโดยกำลัง โดยฝีเท้า และโดยความกล้า. ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ (โพธิปักขิยธรรม<sup></sup>) เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ปัญญินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือปัญญา) ย่อมกล่าวได้ว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ในทางเป็นไปเพื่อความตรัสรู้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้มีอะไรบ้าง ? ธรรมที่เป็นใหญ่คือความเชื่อ (สัทธินทรีย์) เป็นธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ธรรมที่เป็นใหญ่คือ ความเพียร (วิริยินทรีย์) ความระลึกได้ (สตินทรีย์) ความตั้งใจมั่น (สมาธินทรีย์) และปัญญา (ปัญญินทรีย์) เป็นธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ย่อมเป็นไปเป็นเพื่อความตรัสรู้<sup></sup>."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๓๐๑ ​
    <hr>๑. ปลาสปตฺต ใบทองกวาว
    ๒. ในที่บางแห่งเรียกโพธิปักขิกธรรม
    ๓. ในที่อื่นทรงแสดงโพธิปักขิกธรรม หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ในที่นี้เลือกแสดงเพียง ๕ ประการ ใน ๓๗ ประการนั้น
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องของสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    (อานาปานสติ)
    <center>๑๘๐. กายไม่หวั่นไหว จิตไม่หวั่นไหว</center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอบรมทำให้มากซึ่งสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) กายย่อมไม่หวั่นไหว จิตย่อมไม่หวั่นไหว."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๐ ​
    <center>
    ๑๘๑. เมื่อก่อนตรัสรู้ ทรงเจริญอานาปานสติมาก
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวเรา ในสมัยก่อนจะตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ ก็อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายของเราก็ไม่ลำบาก ตาของเราก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็พ้นจากอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า กายของเราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก จิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เธอก็พึงทำไว้ในใจซึ่งสมาธิอันมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์นี้ให้ดี."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๐๑ ​
    <center>
    ๑๘๒. เมื่อตรัสรู้แล้ว ทรงอยู่ด้วยอานาปานสติโดยมาก
    </center> ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอออกจากที่เร้น (ในป่าอิจฉานังคละ) เมื่อล่วงเวลา ๓ เดือนแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้านักบวชเจ้าลัทธิอื่น<sup></sup> พึงถามอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก ท่านทั้งหลายพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิ มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ (อานาปานสติสมาธิ) โดยมาก."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๒ ​
    <center>
    ๑๘๓. อริยวิหาร, พรหมวิหาร, ตถาคตวิหาร
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวถึงธรรมใด ๆ โดยชอบ พึงกล่าวว่า อริยวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า) บ้าง พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) บ้าง ตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคต) บ้าง. ผู้นันเมื่อกล่าวถึงอานาปานสติสมาธิโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า อริยวิหารบ้าง พรหมวิหารบ้าง ตถาคตวิหารบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ยังเป็นเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ยังมิได้บรรลุอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมอันยอดเยี่ยม อันปลอดโปร่งจากโยคะ (เครื่องผูกมัด) อยู่ สมาธิที่มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อันภิกษุเหล่านันเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน)."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓ ​
    <center>
    ๑๘๔. พระอรหันต์เจริญอานาปานสติทำไม ?
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด ที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ<sup></sup>." อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีสิ่งควรทำอันได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีประโยชน์ส่วนตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นกิเลสเป็นเหตุมัดไว้ในภพแล้ว พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๓ ​
    <center>
    ๑๘๕. เจริญธรรมอย่างเดียว ชื่อว่าเจริญธรรมอย่างอื่นอีกมาก
    </center> "ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คืออานาปานสติสมาธิ (สมาธิ ซึ่งมีสติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์) อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน (การตั้งสติ) ๔ อย่างให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำให้โพชฌงค์ (องค์ประกอบแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้) ๗ อย่างให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชา (ความรู้) วิมุติ (ความหลุดพ้น) ให้บริบูรณ์."
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๔๑๗ ​
    <hr>๑. อญฺญติตฺถิยา ปริพฺพาชกา
    ๒. ขีณาสพมากจากคำว่า ขีณ+อาสวะ แปลว่า สิ้นกิเลสที่ดองสันดานแล้ว
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แจกหัวข้อธรรม (ธัมมหทยวิภังค์)
    <center>
    ๑๘๖. คำถามคำตอบเรื่องแจกหัวข้อธรรม
    </center> ขันธ์มีเท่าไร ? อายตนะมีเท่าไร ? ธาตุมีเท่าไร ? สัจจะมีเท่าไร ? อินทรีย์มีเท่าไหร ? เหตุมีเท่าไร ? อาหารมีเท่าไร ? ผัสสะมีเท่าไร ? เวทนามีเท่าไร ? สัญญามีเท่าไร ? เจตนามีเท่าไร ? จิตมีเท่าไร ?
    ขันธ์มี ๕. อายตนะมี ๑๒. ธาตุมี ๑๘. สัจจะมี ๔. อินทรีย์มี ๒๒. เหตุมี ๙. อาหารมี ๔. ผัสสะมี ๗. เวทนามี ๗. สัญญามี ๗. เจตนามี ๗. จิตมี ๗.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๑ ​
    <center>
    ๑๘๗. ขันธ์ (กอง) ๕ มีอะไรบ้าง ?
    </center> ขันธ์ ๕ คือ
    ๑. กองรูป (รูปขันธ์ คือธาตุทั้งสี่ประชุมกันเป็นกาย พร้อมทั้งรูปที่อาศัยธาตุทั้งสี่ปรากฏ เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย เป็นต้น)
    ๒. กองเวทนา (เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข)
    ๓. กองสัญญา (สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ เช่น จำรูป จำเสียง)
    ๔. กองสังขาร (สังขารขันธ์ คือความคิด หรือเจตนา ที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง)
    ๕. กองวิญญาณ (วิญญาณขันธ์ คือความรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น รู้สึกว่า เห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น เป็นต้น)
    นี้เรียกว่าขันธ์ ๕.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒ ​
    <center>
    ๑๘๘. อายตนะ (ที่ต่อ) ๑๒ มีอะไรบ้าง ?
    </center> อายตนะ ๑๒ คือ <table cellpadding="4" cellspacing="7" width="90%"> <tbody><tr> <td>๑. ที่ต่อคือตา (จักขายตนะ)
    ๒. ที่ต่อคือหู (โสตายตนะ)
    ๓. ที่ต่อคือจมูก (ฆานายตนะ)
    ๔. ที่ต่อคือลิ้น (ชิวหายตนะ)
    ๕. ที่ต่อคือกาย (กายายตนะ)
    ๖. ที่ต่อคือใจ (มนายตนะ) </td> <td> } </td> <td>(จัดเป็นอายตนะภายใน)</td> </tr><tr><td>๗. ที่ต่อคือรูป (รูปายตนะ)
    ๘. ที่ต่อคือเสียง (สัททายตนะ)
    ๙. ที่ต่อคือกลิ่น (คันธายตนะ)
    ๑๐. ที่ต่อคือรส (รสายตนะ)
    ๑๑. ที่ต่อคือสิ่งที่ถูกต้องได้ (โผฏฐัพพายตนะ)
    ๑๒. ที่ต่อคืออารมณ์ของใจ (ธัมมายตนะ)</td><td>} </td><td>(จัดเป็นอายตนะภายนอก)</td></tr> </tbody></table>
    นี้เรียกว่าอายตนะ ๑๒.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒ ​
    <center>
    ๑๘๙. ธาตุ ๑๘<sup></sup> มีอะไรบ้าง
    </center> ธาตุ ๑๘ คือ
    ๑. ธาตุคือตา (จักขุธาตุ)
    ๒. ธาตุคือรูป (รูปธาตุ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา)
    ๓. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางตา (จักขุวิญญาณธาตุ)
    ๔. ธาตุคือหู (โสตธาตุ)
    ๕. ธาตุคือเสียง (สัททธาตุ)
    ๖. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางหู (โสตวิญญาณธาตุ)
    ๗. ธาตุคือจมูก (ฆานธาตุ)
    ๘. ธาตุคือกลิ่น (คันธธาตุ)
    ๙. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางจมูก (ฆานวิญญาณธาตุ)
    ๑๐. ธาตุคือลิ้น (ชิวหาธาตุ)
    ๑๑. ธาตุคือรส (รสธาตุ)
    ๑๒. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณธาตุ)
    ๑๓. ธาตุคือกาย (กายธาตุ)
    ๑๔. ธาตุคือสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย (โผฏฐัพพธาตุ)
    ๑๕. ธาตุคือความรู้อารมณ์ทางกาย (กายวิญญาณธาตุ)
    ๑๖. ธาตุคือใจ (มโนธาตุ)
    ๑๗. ธาตุคือสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ (ธัมมธาตุ)
    ๑๘. ธาตุนี้ความรู้อารมณ์ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุ)
    นี้เรียกว่าธาตุ ๑๘.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒ ​
    <center>
    ๑๙๐. สัจจะ ๔ มีอะไรบ้าง ?
    </center> สัจจะ ๔ คือ
    ๑. ความจริงคือทุกข์ (ทุกขสัจจ์)
    ๒. ความจริงคือเหตุให้ทุกข์เกิด (สมุทยสัจจ์)
    ๓. ความจริงคือความดับทุกข์ (นิโรธสัจจ์)
    ๔. ความจริงคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มัคคสัจจ์)
    นี้เรียกว่าสัจจะ ๔
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๒ ​
    <center>
    ๑๙๑. อินทรีย์ ๒๒ มีอะไรบ้าง ?
    </center> อินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของ<sup></sup>ตน) ๒๒ คือ
    ๑. อินทรีย์คือตา (จักขุนทรีย์)
    ๒. อินทรีย์คือหู (โสตินทรีย์)
    ๓. อินทรีย์คือจมูก (ฆานินทรีย์)
    ๔. อินทรีย์คือลิ้น (ชิวหินทรีย์)
    ๕. อินทรีย์คือกาย (กายินทรีย์)
    ๖. อินทรีย์คือใจ (มนินทรีย์)
    ๗. อินทรีย์คือหญิง (อิตถินทรีย์)
    ๘. อินทรีย์คือชาย (ปุริสินทรีย์)
    ๙. อินทรีย์คือชีวิต (ชีวิตินทรีย์)
    ๑๐. อินทรีย์คือสุข (สุขินทรีย์-สุขกาย)
    ๑๑. อินทรีย์คือทุกข์ (ทุกขินทรีย์ - ทุกข์กาย)
    ๑๒. อินทรีย์คือโสมนัส (โสมนัสสินทรีย์-สุขใจ)
    ๑๓. อินทรีย์คือโทมนัส (โทมนัสสินทรีย์-ทุกข์ใจ)
    ๑๔. อินทรีย์คืออุเบกขา (อุเปกขินทรีย์-เฉย ๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข)
    ๑๕. อินทรีย์คือความเชื่อ (สัทธินทรีย์)
    ๑๖. อินทรีย์คือความเพียร (วิริยินทรีย์)
    ๑๗. อินทรีย์คือความระลึกได้ (สตินทรีย์)
    ๑๘. อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น (สมาธินทรีย์)
    ๑๙. อินทรีย์คือปัญญา (ปัญญินทรีย์)
    ๒๐. อินทรีย์คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์)
    ๒๑. อินทรีย์คือการตรัสรู้สัจจธรรมด้วยมรรค (อัญญินทรีย์)
    ๒๒. อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว (อัญญาตาวินทรีย์)
    นี้เรียกว่าอินทรีย์ ๒๒.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓ ​
    <hr>๑. นักวิทยาศาสตร์เมื่ออ่านเรื่องธาตุ๑๘ นี้ คงเข้าใจดีขึ้นว่า ความมุ่งหมายหรือคำนิยามคำว่า ธาตุ ซึ่งทางพระพุทธศาสนาใช้ในทีนี้ มีแนวทางธรรมะโดยเฉพาะ มิได้มุ่งหมายอย่างเดียวกับความหมายของคำว่า ธาตุ ทางวิทยาศาสตร์
    ๒. เช่น ตาก็เป็นใหญ่ในการเห็น จะใช้หูเห็นแทนตาไม่ได้ ลิ้นก็เป็นใหญ่ในการลิ้มรส จะใช้หูแทนลิ้นไม่ได้ เป็นต้น
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๙๒. เหตุ ๙ มีอะไรบ้าง ?
    เหตุ ๙ คือเหตุที่เป็นกุศล (ฝ่ายดี) ๓ ; เหตุที่เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว) ๓ ; เหตุที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่ว) ๓ คือ
    ก. เหตุทื่เป็นกุศล (ฝ่ายดี) ๓
    ๑. อโลภะ ความไม่โลภ
    ๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย
    ๓. อโมหะ ความไม่หลง
    ข. เหตุที่เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว) ๓
    ๑. โลภะ ความโลภ
    ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
    ๓. โมหะ ความหลง
    ค. เหตุที่เป็นอัพยากฤต (ไม่ชี้ลงไปว่าดีหรือชั่ว) ๓ <table cellpadding="1" cellspacing="1" width="90%"> <tbody><tr> <td> ๑. อโลภะ
    ๒. อโทสะ
    ๓. อโมหะ </td> <td> } </td> <td>ซึ่งเกิดจากวิบากคือผลของกุศลธรม
    หรือซึ่งเกิดในอัพยากฤตธรรมที่เป็นกิริยา</td> </tr> </tbody></table>
    นี้เรียกว่าเหตุ ๙.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓ ​
    <center>
    ๑๙๓. อาหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?
    </center> อาหาร ๔ คือ
    ๑. อาหารเป็นคำ ๆ (กวฬิงการาหาร อาหารที่รับประทานทั่วไป)
    ๒. อาหารคือผัสสะ (ผัสสาหาร อาหารคือการถูกต้องทางตา หู เป็นต้น เช่น อาหารตา อาหารหู ฯลฯ)
    ๓. อาหารคือความจงใจ (มโนสัญเจตนาหาร ความจงใจทำกรรมดีกรรมชั่ว ย่อมเป็นอาหารหล่อเลี้ยงให้เวียนว่ายตายเกิด)
    ๔. อาหารคือวิญญาณ (วิญญาณาหาร หมายถึงความรู้อารมณ์ว่า เห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น)
    นี้เรียกว่าอาหาร ๔.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓ ​
    <center>
    ๑๙๔. ผัสสะ (ความถูกต้อง) ๗ มีอะไรบ้าง ?
    </center> ผัสสะ<sup></sup> (ความถูกต้อง) ๗ คือ
    ๑. ความถูกต้องทางตา (จักขุสัมผัส)
    ๒. ความถูกต้องทางหู (โสตสัมผัส)
    ๓. ความถูกต้องทางจมูก (ฆานสัมผัส)
    ๔. ความถูกต้องทางลิ้น (ชิวหาสัมผัส)
    ๕. ความถูกต้องทางกาย (กายสัมผัส)
    ๖. ความถูกต้องทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัส)
    ๗. ความถูกต้องทางธาตุคือความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัส)
    นี้เรียกว่าผัสสะ ๗.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓ ​
    <center>
    ๑๙๕. เวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ) ๗ มีอะไรบ้าง ?
    </center> ๑. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา เวทนา)
    ๒. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา เวทนา)
    ๓. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา เวทนา)
    ๔. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา เวทนา)
    ๕. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา เวทนา)
    ๖. ความรู้สึกสุขทกุข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา เวทนา)
    ๗. ความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉย ๆ อันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา เวทนา)
    นี้เรียกว่าเรียกว่า เวทนา ๗.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๓ ​
    <center>
    ๑๙๖. สัญญา (ความจำ) ๗ มีอะไรบ้าง ?
    </center> สัญญา (ความจำ) ๗ คือ
    ๑. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา สัญญา)
    ๒. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา สัญญา)
    ๓. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา สัญญา)
    ๔. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา สัญญา)
    ๕. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา สัญญา)
    ๖. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา สัญญา)
    ๗. ความจำอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา สัญญา)
    นี้เรียกว่าสัญญา ๗.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔ ​
    <center>
    ๑๙๗. เจตนา (ความจงใจ) ๗ มีอะไรบ้าง ?
    </center> เจตนา (ความจงใจ) ๗ คือ
    ๑. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางตา (จักขุสัมผัสสชา เจตนา)
    ๒. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางหู (โสตสัมผัสสชา เจตนา)
    ๓. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก (ฆานสัมผัสสชา เจตนา)
    ๔. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น (ชิวหาสัมผัสสชา เจตนา)
    ๕. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางกาย (กายสัมผัสสชา เจตนา)
    ๖. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุคือใจ (มโนธาตุสัมผัสสชา เจตนา)
    ๗. ความจงใจอันเกิดจากสัมผัสทางธาตุรู้ทางใจ (มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา เจตนา)
    นี้เรียกว่าเจตนา ๗.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔ ​
    <center>
    ๑๙๘. จิต ๗ มีอะไรบ้าง ?
    </center> จิต ๗ คือ
    ๑. ความรู้อารมณ์ทางตา (จักขุวิญญาณ)
    ๒. ความรู้อารมณ์ทางหู (โสตวิญญาณ)
    ๓. ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ฆานวิญญาณ)
    ๔. ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ)
    ๕. ความรู้อารมณ์ทางกาย (กายวิญญาณ)
    ๖. ธาตุคือใจ (มโนธาตุ)
    นี้เรียกว่าจิต ๗.
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔ ​


    (หมายเหตุ : การแบ่งจำนวนหรือหัวข้อธรรมะที่นำมาแปลนี้ เป็นวิธีจัดจำนวนโดยนัยหนึ่งของอภิธัมมปิฎก ในที่อื่นอาจะแบ่งหรือจัดจำนวนแตกต่างออกไปตามความประสงค์ในการแสดงธรรมให้เหมาะสมแก่โอกาสที่ต้องการ)
    <hr>๑. พึงสังเกตว่า ผัสสะ หรือสัมผัส ใช้แทนกันได้
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๙๙. ปฏิบัติได้แค่ไหน อะไรสงบระงับ<sup></sup> ?
    "ดูก่อนภิกษุ ความสงบระงับ ๖ ประการเหล่านี้ คือ
    ๑. วาจาของผู้เข้าสู่ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) ย่อมสงบระงับ
    ๒. วิตก (ความตรึก) วิจาร (ความตรอง) ของผู้เข้าสู่ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ย่อมสงบระงับ
    ๓. ปีติ (ความอิ่มใจ) ของผู้เข้าสู่ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) ย่อมสงบระงับ
    ๔. (ลมหายใจเข้าออก) ของผู้เข้าสู่จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) ย่อมสงบระงับ
    ๕. สัญญา (ความจำได้หมายรู้) และเวทนา (ความรู้สึกสุขทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุข) ของผู้เข้าสู่สัญญาเวทนยิตนิโรธ (สมาบัติ ที่ดับ สัญญา ความจำ และเวทนา<sup></sup> ความเสวยอารมณ์) ย่อมสงบระงับ
    ๖. ราคะ (ความกำหนัดยินดีหรือความติดใจ) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง) ของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะคือกิเลสที่ดองสันดาน) ย่อมสงบระงับ."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๖๙ ​
    <center>
    ๒๐๐. ความดับแห่งเครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น
    </center> "ดูก่อนภิกษุ เรากล่าวถึงความดับแห่งอนุบุพพสังขาร (เครื่องปรุงแต่งตามลำดับชั้น) ไว้แล้ว คือ
    ๑. วาจาผู้เข้าสู่ฌานที่ ๑ ย่อมดับ
    ๒. ความตรึก (วิตก) ความตรอง (วิจาร) ของผู้เข้าสู่ฌานที่ ๒ ย่อมดับ
    ๓. ความอิ่มใจ (ปีติ) ของผู้เข้าสู่ฌานที่ ๓ ย่อมดับ
    ๔. ลมหายใจเข้าออก (อัสสาสปัสสาสะ) ของผู้เข้าสู่ฌานที่ ๔ ย่อมดับ
    ๕. ความกำหนดหมายในรูป (รูปสัญญา) ของผู้เข้าสู่อากาสานัญจายตนะ ย่อมดับ
    ๖. ความกำหนดหมายในอากาสานัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนสัญญา) ของผู้เข้าสู่วิญญาณัญจายตนะ ย่อมดับ
    ๗. ความกำหนดหมายในวิญญาณัญจายตนะ (วิญญาณัญจายตนสัญญา) ของผู้เข้าสู่อากิญจัญญายตนะ ย่อมดับ
    ๘. ความกำหนดหมายในอากิญจัญญายตนะ (อากิญจัญญายตนสัญญา) ของผู้เข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ย่อมดับ
    ๙. สัญญา (ความจำได้หมายรู้ ; ความกำหนดหมาย) และเวทนา (ความเสวยอารมณ์) ของผู้เข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมดับ
    ๑๐. ราคะ (ความกำหนัดยินดีหรือความติดใจ) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง) ของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะคือกิเลสที่ดองสันดาน) ย่อมดับ."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๖๘ ​
    (หมายเหตุ : ขอแทรกคำอธิบายศัพท์ตั้งแต่ข้อ ๕ มาในที่นี้ เพื่อความเข้าใจ คือตั้งแต่ข้อ ๕ อากาสานัญจายตนะ ถึงข้อ ๘ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวม ๔ ข้อ เป็นชื่อของอรูปฌาน หรือฌาน(การเพ่งอารมณ์) ที่มีสิ่งซึ่งมิใช่รูปเป็นจุดประสงค์ คือ อากาสานัญจายตนะ เพ่งว่าอากาศหาที่สุดมิได้, วิญญาณัญจายตนะ เพ่งว่าวิญญาณหาที่สุดมิได้, อากิญจัญญายตนะ เพ่งว่าไม่มีอะไรแม้แต่น้อย และเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพ่งว่าสัญญาคือความจำได้ หรือความกำหนดหมายเป็นของไม่ดี เมื่อเพ่งอย่างนี้ก็จะเป็นเหตุให้สัญญาหยุดทำหน้าที่ แต่ยังมีอยู่อย่างไม่เป็นข้อเป็นงอ อรูปฌานนี้แม้นักบวชนอกพระพุทธศาสนาก็บำเพ็ญกันได้ แต่ทางพระพุทธศาสนายังมีชั้นสูงสุดอีกข้อหนึ่งคือสัญญาเวทนยิตนิโรธ แปลว่า ดับสัญญา ความจำ และเวทนา ความเสวยอารมณ์ได้)
    <center>
    ๒๐๑. บุถุชนกับอริยสาวกต่างกันอย่างไร ?
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชน (คนที่ยังหนาไปด้วยกิเลส) ผู้มิได้สดับ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง อริยสาวก (ศิษย์ของพระอริยะ) ผู้ได้สดับ ก็เสวยเวทนาที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกันในบุคคลเหล่านั้น ? อะไรเป็นเครื่องทำให้อริยสาวกผู้ได้สดับต่างจากบุถุชนผู้มิได้สดับ ?"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ย่อมตีอกพิไรรำพัน ย่อมมืดมน ย่อมเสวยเวทนา ๒ ทาง คือเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ย่อมไม่ตีอกพิไรรำพัน ย่อมไม่มืดมน ย่อมเสวยเวทนาเพียงทางเดียว คือ ทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางจิต."<sup></sup>
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๕๗ ​
    <center>
    ๒๐๒. สตรีที่บุรุษไม่ชอบใจเลย
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตรี (มาตุคาม) ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่เป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่มีรูป (รูปไม่งาม) ๒. ไม่มีทรัพย์
    ๓. ไม่มีศีล ๔. เกียจคร้าน
    ๕. ไม่มีบุตรกับบุรุษนั้น
    สตรีผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมไม่เป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ."
    <center>
    ๒๐๓. สตรีที่บุรุษชอบใจแท้
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตรีที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ องค์ ๕ คือ
    ๑. มีรูป (รูปงาม) ๒. มีทรัพย์
    ๓. มีศีล ๔. ขยัน ไม่เกียจคร้าน
    ๕. มีบุตรกับบุรุษนั้น
    สตรีผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๙๖ ​
    <center>
    ๒๐๔. บุรุษที่สตรีไม่ชอบใจเลย
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่เป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของสตรี องค์ ๕ คือ
    ๑. ไม่มีรูป (รูปไม่งาม) ๒. ไม่มีทรัพย์
    ๓. ไม่มีศีล ๔. เกียจคร้าน
    ๕. ไม่มีบุตรกับสตรีนั้น
    บุรุษประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมไม่เป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของสตรี."
    วิภังค์ อภิธัมมปิฎก ๓๕/๕๔๔ ​
    <center>
    ๒๐๕. บุรุษที่สตรีชอบใจแท้
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของสตรี องค์ ๕ คือ
    ๑. มีรูป (รูปงาม)
    ๒. มีทรัพย์
    ๓. มีศีล
    ๔. ขยัน ไม่เกียจคร้าน
    ๕. มีบุตรกับสตรีนั้น
    บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของสตรี."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๙๖ ​
    <hr>๑. เรื่องนี้มีประโยชน์ในทางหลักวิชามาก ทำให้เข้าใจในหลักการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างดี
    ๒. พึงสังเกตว่า คำว่า เวทนา ได้วงเล็บความหมายไว้ ๒ อย่าง คือความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างหนึ่ง เป็นการอธิบายเต็มความหมาย อีกอย่างหนึ่งใช้คำสั้น ๆ ว่า ความเสวยอารมณ์ ซึ่งควรทราบด้วยว่า การใช้คำเต็มความหมายชัดกว่า แต่ถ้าจะต้องใช้อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะยืดยาด บางครั้งจึงต้องใช้ว่า เวทนาทับศัพท์หรือคำอธิบายสั้น ๆ
    ๓. ข้อความที่นำมาแปลนี้ คัดมาเฉพาะที่แสดงความต่างกันของบุคคล ๒ ประเภท มิได้นำข้อความตอนอื่น ๆ มาทั้งหมด
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๐๖. ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี (มาตุคาม) ๕ อย่างเหล่านี้ ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ คือ
    ๑. สตรีเมื่อเป็นสาวไปสู่สกุลแห่งสามี ย่อมพลัดพรากจากญาติทั้งหลาย นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อแรก ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๒. สตรีย่อมมีระดู (ประจำเดือน) นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะสตรีข้อที่สอง ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๓. สตรีย่อมมีครรภ์ (ตั้งครรภ์) นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่สาม ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๔. สตรีย่อมคลอดบุตร นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่สี่ ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ๕. สตรีย่อมทำหน้าที่บำเรอบุรุษ นี้เป็นทุกข์โดยเฉพาะของสตรีข้อที่ห้า ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์โดยเฉพาะของสตรี ๕ อย่างเหล่านี้แล ซึ่งสตรีได้รับต่างหากจากบุรุษ."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๙๗ ​
    <center>
    ๒๐๗. กำลัง ๕ ของสตรี
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้หลาย กำลัง ๕ ของมาตุคามเหล่านี้ คือ
    ๑. กำลังคือรูป
    ๒. กำลังคือทรัพย์
    ๓. กำลังคือญาติ
    ๔. กำลังคือบุตร
    ๕. กำลังคือศีล
    นี่แลคือกำลัง ๕ ของสตรี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตรีประกอบด้วยกำลัง ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้องอาจ ครองเรือน, ย่อมข่มสามี ครองเรือน, ย่อมครอบงำสามี ครองเรือน."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๓๐๕ ​
    <center>
    ๒๐๘. บุรุษประกอบด้วยอะไรจึงครอบงำสตรีได้
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษประกอบด้วยกำลังข้อเดียว ก็ครอบงำสตรีได้ กำลังข้อเดียว คือ อิสสริยพละ กำลังคือความเป็นใหญ่ สตรีที่ถูกกำลังคือความเป็นใหญ่ครอบงำแล้ว กำลังคือรูปก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือทรัพย์ก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือญาติก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือบุตรก็ต้านทานไม่ได้ กำลังคือศีลก็ต้านทานไม่ได้."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๓๐๕ ​
    (หมายเหตุ : พระพุทธภาษิตนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าสตรีมีกำลัง ๕ ข้อแล้ว ก็เป็นผู้ครองเรือนที่มีอำนาจเหนือสามี แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าสามีเป็นอิสสรชนคือผู้เป็นใหญ่ เช่น เป็นพระราชา กำลังคือความเป็นใหญ่ของสามีเพียงข้อเดียว ก็ครอบงำสตรีไว้ได้ พระพุทธภาษิตนี้เป็นกระจกฉายให้เห็นระบบการปกครองและสังคม ในสมัยนั้นว่า อำนาจสิทธิ์ขาดเป็นของคนชั้นปกครอง อนึ่ง บาลีพระไตรปิฎกฉบับไทยตอนนี้ตกหล่น ๒ คำ ได้สอบกับฉบับอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ และอรรถกถาฉบับอักษรไทยแล้ว ข้อความที่ตก คือที่เรียงตัวดำไว้ให้ดังต่อไปนี้
    กตเมน เอเกน พเลน. อิสฺสริยพเลน. อิสฺสริยพเลน อภิภูตํ มาตุคามํ เนว รูปพลํ ตายติ...)
    <center>
    ๒๐๙. ของแก้กันอย่างละ ๓
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ราคะ (ความกำหนัดยินดี) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) โมหะ (ความหลง) นี้แลคือธรรม ๓ อย่าง.
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญเพื่อละธรรม ๓ อย่างเหล่านี้คือ อสุภะ (ความกำหนดหมายถึงสิ่งที่ไม่งาม) ควรเจริญเพื่อละราคะ, เมตตา (ไมตรีจิตคิดจะให้ผู้อื่นเป็นสุข) ควรเจริญเพื่อละโทสะ, ปัญญา (ความรอบรู้ตามความเป็นจริง) ควรเจริญเพื่อละโมหะ. นี้แลธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญ เพื่อละธรรม ๓ อย่าง."
    ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๙๕ ​
    (หมายเหตุ : พระพุทธภาษิตแห่งเดียวกันนี้ แสดงถึงธรรม ๓ อย่างที่ควรเจริญเพื่อละธรรม ๓ อย่าง อีก ๙ ชุด คือ
    <center></center>
    ควรเจริญกายสุจริต เพื่อละ กายทุจจริต
    ควรเจริญวจีสุจริต เพื่อละ วจีทุจจริต
    ควรเจริญมโนสุจจริต เพื่อละ มโนทุจจริต. <center></center>
    ควรเจริญเนกขัมมวิตก (ความตรึกในการออกจากกาม) เพื่อละกามวิตก (ความตรึกในกาม)
    ควรเจริญอัพยาปาทวิตก (ความตรึกในการไม่ปองร้ายผู้อื่น) เพื่อละพยาปาทวิตก (ความตรึกในการปองร้ายผู้อื่น)
    ควรเจริญอวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น) เพื่อละวิหิงสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียนผู้อื่น). <center></center>
    ควรเจริญเนกขัมมสัญญา (ความกำหนดหมายในการออกจากกาม) เพื่อละกามสัญญา (ความกำหนดหมายในกาม)
    ควรเจริญอัพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในการไม่ปองร้าย) เพื่อละพยาปาทสัญญา (ความกำหนดหมายในการปองร้าย)
    ควรเจริญอวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในการไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสาสัญญา (ความกำหนดหมายในการเบียดเบียน). <center></center>
    ควรเจริญเนกขัมมธาตุ (ธาตุคือการออกจากกาม) เพื่อละกามธาตุ (ธาตุคือกาม)
    ควรเจริญอัพยาปาทธาตุ (ธาตุคือการไม่คิดปองร้าย) เพื่อละพยาปาทธาตุ (ธาตุคือการคิดปองร้าย)
    ควรเจริญอวิหิงสาธาตุ (ธาตุคือการไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสาธาตุ (ธาตุคือการเบียดเบียน). <center></center>ควรเจริญอนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ (ความเห็นด้วยความพอใจ)
    ควรเจริญอนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายว่าไม่ใช่ตัวตน) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นว่าตัวตน)
    ควรเจริญสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด). <center></center>
    ควรเจริญมุทิตา (ความพลอยยินดีเมือ่ผู้อื่นได้ดี) เพื่อละอรติ (ความไม่ยินดีหรือความคิดริษยา)
    ควรเจริญอวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสา (ความเบียดเบียน)
    ควรเจริญธัมมจริยา (การประพฤติธรรม) เพื่อละอธัมมจริยา (การประพฤติไม่เป็นธรรม). <center></center>ความเจริญสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ คือยินดีเฉพาะของของตน) เพื่อละอสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ คือไม่ยินดีเฉพาะของของตน)
    ควรเจริญสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) เพื่อละอสัมปชัญญะ (ความไม่รู้ตัว)
    ควรเจริญอัปปิจฉตา (ความปรารถนาน้อย) เพื่อละมหิจฉตา (ความปรารถนามาก). <center></center>ควรเจริญโสวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่าง่าย) เพื่อละโทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก)
    ควรเจริญกัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้คบเพื่อนดีงาม) เพ่อละปาปมิตตตา (ความเป็นผู้คบเพื่อนชั่ว)
    ควรเจริญอานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) เพื่อละเจตโส วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต). <center></center>
    ควรเจริญสมถะ (การทำใจให้ตั้งมั่น) เพื่อละอุทธัจจะ (ความคิดฟุ้งซ่าน)
    ควรเจริญสังวระ (ความสำรวมระวัง) เพื่อละอสังวระ (ความไม่สำรวมระวัง)
    ควรเจริญอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เพื่อละปมาทะ (ความประมาท).
    ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๔๙๕-๘ ​
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๑๐. สุราเป็นเหตุให้ละเมิดศีลข้ออื่น ๆ
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกแล้ว แม้เราก็ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินข้อที่ว่า บุรุษละเว้นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมาคือสุราและเมรัยแล้ว ถูกพระราชาจับฆ่า หรือจองจำ, เนรเทศ หรือลงโทษอย่างอื่นตามควรแก่เหตุ เพราะเหตุที่มีเจตนา เว้นจากที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา คือสุราและเมรัย โดยที่แท้กรรมชั่วของบุรุษนั้นต่างหาก ที่ประกาศว่า บุรุษนี้ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งที่ตั้งแห่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมาคือสุราและเมรัย จึงฆ่าหญิงบ้าง, ชายบ้าง, จึงถือเอาสิ่งที่เขาไม่ให้จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง ด้วยอาการแห่งขโมย, จึงก้าวล่วงในภริยาของผู้อื่น ในบุตรีของผู้อื่น, จึงหักรานประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง บุตรของคฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดปด. เขาย่อมถูกพระราชาจับ ฆ่า หรือจองจำ, เนรเทศ หรือลงโทษอย่างอื่นตามสมควรแก่เหตุ เพราะเหตุที่ตั้งแต่งความประมาท คือ (การดื่ม) น้ำเมา คือสุราและเมรัย ท่านทั้งหลายเคยได้เห็นได้ฟังอย่างนี้บ้างหรือเปล่า ?" "ข้าพระองค์ทั้งหลายเคยได้เห็นเคยได้ฟังและจักได้ฟัง พระเจ้าข้า"
    ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๒๓๕ ​
    <center>
    ๒๑๑. เวทนา ๒ ถึง ๑๐๘
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยาย<sup></sup> ที่เรียกว่าปริยาย ๑๐๘ แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง. ธรรมปริยายที่เรียกว่าปริยาย ๑๐๘ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เวทนา ๒ เราก็กล่าวไว้โยปริยาย , แม้เวทนา ๓ เราก็กล่าวไว้โดยปริยาย, แม้เวทนา ๕ เราก็กล่าวไว้โดยปริยาย, แม้เวทนา ๖ เราก็กล่าวไว้โดยปริยาย, แม้เวทนา ๑๘ เราก็กล่าวไว้โดยปริยาย, แม้เวทนา ๓๖ เราก็กล่าวไว้โดยปริยาย, แม้เวทนา ๑๐๘ เราก็กล่าวไว้โดยปริยาย."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๒ เป็นไฉน ? เวทนา ๒ คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางจิต นี้เรียกว่าเวทนา ๒
    "เวทนา ๓<sup></sup> คือ ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข."
    "เวทนา ๕ คือ สุขินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือความสุขกาย) , ทุกขินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือความทุกข์กาย , โสมนัสสินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือความสุขใจ), โทมนัสสินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือความทุกข์ใจ), อุเปกขินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนคือความรู้สึกเฉย ๆ)."
    "เวทนา ๖ คือ ความรู้สึก (สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดจากสัมผัสทางตา, ทางหู, ทางจมูก, ทางลิ้น, ทางกาย และทางใจ."
    "เวทนา ๑๘ คือ โสมนัสสูปวิจาร ๖ (หมายถึงอาการที่จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ ๖<sup></sup> ด้วยความสุขใจ) โทมนัสสูปวิจาร ๖ (หมายถึงอาการที่จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ ๖ ด้วยความทุกข์ใจ) อุเปกขูปวิจาร ๖ (หมายถึงอาการที่จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ ๖ ด้วยความรู้สึกเฉย ๆ)."
    เวทนา ๓๖ คือ โสมนัส (ความสุขใจ) ที่อาศัยบ้านเรือน (เคหสิตะ) ๖ อย่าง, โสมนัสที่อาศัยการออกจากกาม (เนกขัมมสิตะ) ๖ อย่าง, โทมนัส (ความทุกข์ใจ) ที่อาศัยบ้านเรือน ๖ อย่าง, โทมนัสที่อาศัยการออกจากกาม ๖ อย่าง, อุเบกขา (ความรู้สึกเฉย ๆ ในอารมณ์) ที่อาศัยบ้านเรือน ๖ อย่าง, อุเบกขาที่อาศัยการออกจากกาม ๖ อย่าง (๖ × ๖ = ๓๖)."
    เวทนา ๑๐๘ คือ เวทนา ๓๖ ที่เป็นอดีต (ล่วงแล้ว), เวทนา ๓๖ ที่เป็นอนาคต (ยังไม่มาถึง), เวทนา ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน (เกิดขึ้นเฉพาะหน้า) (๓๖ × ๓ = ๑๐๘)."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๘๖ ​
    <center>
    ๒๑๒. เน่าในคืออะไร
    </center> "ดูก่อนกิมมิละ<sup></sup> ความเป็นผู้เน่าในเป็นไฉน ? ดูก่อนกิมมิละ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติที่เศร้าหมอง<sup></sup> ข้อใดข้อหนึ่ง ไม่ออกจากอาบัติ (นั้น) ตามควรแก่รูป นี้เรียกว่าความเป็นผู้เน่าใน."
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๐๗ ​
    <hr>๑. คำว่า ปริยาย แปลว่า ไปโดยรอบ ถือเอาความว่า นัย หรือเรื่องราว คำว่า ธรรมปริยาย คือ นัยะของธรรม กล่าวไว้โดยปริยาย คือกล่าวไว้โดยนัย หรือโดยประการหนึ่ง
    ๒. ตั้งแต่เวทนา ๓ ไป ได้แปลถอดความโดยตัดคำซ้ำ ๆ ออก แต่ก็ได้แปลสำนวนบาลีให้เห็นแล้วในเวทนา ๒
    ๓. อารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย และสิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ
    ๔. เป็นชื่อของภิกษุรูปหนึ่ง
    ๕. หมายถึงอาบัติหยาบ และอาบัติหนักประเภทสังฆาทิเสส
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๑๓. การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา


    (การเลือกนำข้อความตอนนี้มาแปล ก็เพื่อชี้แจงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา ที่แสดงว่าความสุขมีเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงสุด ถึง ๑๐ ขั้น คือความสุขในกาม ความสุขในรูปฌาน ๔ ความสุขในอรูปฌาน ๔ และความสุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ในการแปลจะแปลอย่างเต็มสำนวนเพื่อให้เห็นลีลาของอารมณ์ฌานทั้งที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานอยางสมบูรณ์).
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? กามคุณ ๕ คือรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องได้) ที่พึงรู้แจ้งทางหู, จมูก, ลิ้น และกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ดูก่อนอานนท์ นี้แล คือกามคุณ ๕. ดูก่อนอานนท์ ความสุขกายสุขใจอันใด ที่เกิดขึ้นเพระอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ ความสุขกายสุขใจนี้ เรียกว่ากามสุข. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใยอันมีอยู่นั้น นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น."
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (กามสุข) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าสู่ฌานที่ ๑ อันมีความตรึก (วิตก) ความตรอง (วิจาร) มีความอิ่มใจและความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่ความสงัดอยู่. นี้แล อานนท์ คือ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น (กามสุข). ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นัน (สุขในฌานที่ ๑) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่า ความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น."
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสงบความตรึก ความตรอง (วิตก วิจาร) ได้ จึงเข้าฌานที่ ๒ อันมีความผ่องใสภายใน มีภาวะแห่งจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง มีความอิ่มใจ และความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่สมาธิอยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๒) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น."
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะคลายความอิ่มใจจึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าสู่ฌานที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้พระอริยเจ้ากล่าวถึงผู้เข้าฌานนี้ว่าเป็นผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๓) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนพระอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น."
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขละทุกข์ได้ (ละสุขกายทุกข์กายได้) เพราะสุขใจ (โสมนัส) ทุกข์ใจ (โทมนัส) ดับไปในกาลก่อน<sup></sup> จึงเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติ. อันเกิดขึ้นเพราะอุเบกขา (ความวางเฉย). นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น. คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๔) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้น."
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินนัยนี้ เพราะก้าวล่วงความกำหนดหมายในรูป (รูปสัญญา) ด้วยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งความกำหนดหมาย ความกระทบกระทั่ง (ปฏิฆสัญญา ได้แก่ความกำหนดหมายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่ออารมณ์ทั้งห้านี้ ผ่านมาทางตา หู เป็นต้น) เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ (นานัตตสัญญา-หมายความได้ ๒ อย่าง คือสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ และสัญญาต่าง ๆ ๔๔ ชนิด-ดูคำอธิบายในวิสุทธิมรรค อารุปปนิทเทส) ทำไว้ในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ (มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในเนที่ ๔) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น."
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้" เข้าสู่อรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ (มีวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่ววว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนันเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น.
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "อะไร ๆ ก็ไม่มี" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ (มีความกำหนดหมายว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข ผในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น.
    <center></center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปเนชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วเข้าสู่อรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ<sup></sup> (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌาน ชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.
    <center>๑๐</center> "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา- เป็นสมาบัติสูงสุดที่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นทำให้เกิดได้) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.


    <center>สรุปความ</center> "ดูก่อนอานนท์ มีฐานะอยู่ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธในความสุข ข้อนั้นคืออะไรกัน ? ข้อนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกัน ? (คือสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับความจำ ดับความรู้สึก แล้วจะว่ามีความสุขได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความรู้สึก) ดูก่อนอานนท์ นักบวชเจ้าลัทธิอื่น ผู้กล่าวอย่างนี้พึงเป็นผู้อันท่านชี้แจง "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงบัญญัติในความสุขหมายเอาเฉพาะสุขเวทนาอย่างเดียว ในที่ใด ๆ ย่อมหาความสุขได้ ในฐานะใด ๆ มีความสุข พระผู้มีพระภาคย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ในความสุข."<sup></sup>
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๗๘ ​
    <center>
    ๒๑๔. กายเดือดร้อน อย่าให้จิตเดือดร้อน
    </center> "ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เมื่อกายของเราเดือดร้อนอยู่ จิตของเราจักไม่เดือดร้อน. ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้แล."
    พระพุทธภาษิตตรัสสอนคฤหบดี บิดานกุลมาณพ ๑๗/๒ ​
    <center>
    ๒๑๕. พระอานนท์ตรัสรู้ธรรมเพราะฟังธรรมของใคร ?
    </center> ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคำนี้ (กะภิกษุทั้งหลาย) ว่า "ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระมันตานีบุตร (บุตรของนางมันตานี) ผู้มีนามว่าปุณณะ เป็นผู้มีอุปการะมากต่อข้าพเจ้าผู้บวชใหม่. ท่านสั่งสอนข้าพเจ้าด้วยโอวาทนี้ว่า "ดูก่อนอานนท์ผู้มีอายุ ความคิดว่าเรามีเราเป็น (คือความถือตัวว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่) ย่อมมีเพราะอุปาทาน (ความยึดถือ) หามีเพราะอนุปาทาน (ความไม่ยึดถือ) ไม่. เพราะยึดถืออะไรเล่า ? เพราะยึดถือรูป (สิ่งที่ธาตุทั้งสี่ประชุมกันเป็นกาย พร้อมทั้งลักษณะที่ปรากฏเพราะอาศัยธาตุ ๔ นั้น) เพราะยึดถือเวทนา (ความเสวยอารมณ์) เพราะยึดถือสัญญา (ความจำได้หมายรู้) เพราะยึดถือสังขาร (ความคิด) และเพราะยึดถือวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา หู เป็นต้น). ดูก่อนอานนท์ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม ผู้รักการแต่งตัว เมื่อเพ่งดูเงาหน้าของตนในกระจก<sup></sup> อันบริสุทธิ์ผ่องใส หรือในภาชนะน้ำอันใส พึงมองดูด้วยความยึดถือ หามองดูด้วยความไม่ยึดถือไม่ นี้ฉันใด. ความคิดว่าเรามีเราเป็นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีเพราะความยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หามีเพราะความไม่ยึดถือไม่."
    ครั้นแล้วทานได้ถามข้าพเจ้าว่า "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?" ข้าพเจ้าตอบว่า ไม่เที่ยง ท่านจึงถามว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุข ? ข้าพเจ้าตอบว่า เป็นทุกข์ ท่านถามว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นว่า นั่นเป็นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ? ข้าพเจ้าตอบว่า ไม่ควรที่จะตามเห็นอย่างนั้น. ท่านจึงกล่าวว่า เพราะเหตุนั้นแล รุป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือดี ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดนั้นมิใช่ของเรา เรามิใช่เป็นนั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา. ภิกษุผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดความรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เธอย่อมรู้ว่าความเกิด (ของเธอ) สิ้นแล้ว พรหมจรรย์เป็นอันเธออยู่จบแล้ว หน้าที่เป็นอันเธอทำเสร็จแล้ว ไม่มีหน้าที่อื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก."
    "ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระมันตานีบุตร ผู้มีนามว่าปุณณะ เป็นผู้มีอุปการะมากต่อข้าพเจ้าผู้บวชใหม่ ท่านสอนข้าพเจ้าด้วยโอวาทนี้. อนึ่ง ข้าพเจ้าได้สดับพระธรรมเทศนานี้ของท่านพระปุณณะ มันตานีบุตรแล้ว ก็ได้ตรัสรู้ธรรม."
    สังยุตตนิกาย ขันธวรรค ๑๗/๑๒๘ ​
    <hr>๑. คำว่า ในกาลก่อน คือสุขทุกข์ดับไปตั้งแต่ยังอยู่ในขณะแห่งอุปจาระเกือบจะถึงฌานที่ ๔ คำว่า อุปจาระ แปลว่า ใกล้เคียง หรือเฉียด ก็ได้
    ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔ วิธีเจริญอรูปฌานข้อนี้ คือออกจากอรูปเนที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ) แล้วนึกในใจว่า สัญญา (ความจำได้หมายรู้) เป็นเหตุให้ยุ่งยาก นึกตำหนิสัญญานั้นจนจิตสงบ ก็เข้าสู่อรูปฌานนี้ได้ คำว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ หมายความว่า สัญญามีอยู่ แต่ทำหน้าที่ไม่ได้ มีอย่างละเอียดมาก
    ๓. จากพระพุทธภาษิตนี้ แสดงว่า ความสุขมีเป็นชั้น ๆ พระพุทธศาสนาแสดงความสุขหมดทุกชั้นตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง แต่ก็อาจย่อความได้ว่าเป็นสุขชั้นเวทนา คือรู้สึกได้เสวยได้ (Sensational Happiness) อย่างหนึ่ง ความสุขที่อยู่เหนือเวทนา ไม่ต้องรู้สึกไม่ต้องเสวย (Happiness Beyond Sensation) อีกอย่างหนึ่ง
    ๔. กระจกในสมัยก่อนใช้ทองเหลืองขัดเงาให้ผ่องใช้ดูเงาหน้า. บางท่านจึงแปลว่า แว่น แต่สมัยนี้คำว่า แว่น มักใช่ไปอีกอย่างหนึ่ง เช่น คำว่า แว่นตา
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๒๑๖. คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน เป็นต้น
    สมัยหนึ่ง ท่านพระสาริบุตรอยู่ ณ เวฬุวนาราม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งท่านพระสาระบุตรนุ่งอันตรวาสก (สบง) แล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวไปตามลำดับตรอกในกรุงราชคฤห์แล้ว ก็นั่งพิงเชิงกำแพง<sup></sup> แห่งใดแห่งหนึ่ง ฉันบิณฑบาตนั้น ลำดับนั้น นางสูจิมุขี ปริพพชิกา (นักบวชหญิง) เข้าไปหาพระสาริบุตร แล้วถามว่า "ดูก่อนสมณะ ท่าน คว่ำหน้าบริโภคใช่หรือไม่ ?" พระสาริบุตรตอบว่า "ดูก่อนน้องหญิง เรามิได้คว่ำหน้าบริโภค"
    นางถามว่า "ดูก่อนสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านแหงนหน้าบริโภคใช่หรือไม่ ?"
    "ดูก่อนน้องหญิง เรามิได้แหงนหน้าบริโภค."
    "ดูก่อนสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านหันหน้าไปตามทิศใหญ่บริโภคใช่หรือไม่ ?"
    "ดูก่อนน้องหญิง เรามิได้หันหน้าไปตามทิศใหญ่บริโภค."
    "ดูก่อนสมณะ ถ้าอย่างนั้น ท่านหัหน้าไปตามทิศเฉียงบริโภคใช่หรือไม่ ?"
    "ดูก่อนน้องหญิง เรามิได้หันหน้าไปตาทิศเฉียงบริโภค."
    "ดูก่อนสมณะ เมื่อข้าพเจ้าถาม ท่านก็ปฏิเสธทั้งหมด ถ้าอย่างนั้น ท่านบริโภคอย่างไร ?"
    "ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์บางพวกสำเร็จความเป็นอยู่ (ครองชีวิต) ด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา คือวิชาดูที่ (ว่าตรงไหนดีเป็นมงคล) สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกว่าคว่ำหน้าบริโภค."
    "ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์บางพวกสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชา คือวิชาดูดาวฤกษ์ สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกว่าแหงนหน้าบริโภค."
    "ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์บางพวกสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยมิจฉาชีพ เพราะประกอบเนือง ๆ ซึ่งการไปชักสื่อ (ให้ชายหญิงเป็นสามีภริยากัน) สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกว่าหันหน้าไปตามทิศใหญ่บริโภค."
    "ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์บางพวกสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยมิจฉาชีพ ด้วยติรัจฉานวิชาคือวิชาดู (ลักษณะ) ร่างกาย สมณพราหมณ์เหล่านี้ เรียกว่าหันหน้าไปตามทิศเฉียงบริโภค."
    "ดูก่อนน้องหญิง เรามิได้สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยมิจฉาชีพดังกล่าวนั้น เราแสวงหาอาหารโดยธรรม ครั้นแสวงหาได้แล้วก็บริโภค."
    ลำดับนั้น นางสูจิมุขี ปริพพาชิก เข้าไปสู่ถนนจากถนน สู่ทางสี่แยก จากทางสี่แยก เที่ยวบอกกล่าวอย่างนี้ว่า "สมณศากยบุตรทั้งหลายแสวงหาอาหารโดยธรรม, แสวงหาอาหารที่ไม่มีโทษ ท่านทั้งหลาย จงถวายอาหารแก่สมณศากยบุตรทั้งหลายเถิด."<sup></sup>
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ๑๗/๒๙๕ ​
    <center>
    ๒๑๗. พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระองค์
    </center> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดา ในบุพพาราม พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ สมัยนั้นพระผู้มีพระภาค อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง เพื่อการปวารณาในวันอุโบสถ<sup></sup> วันนั้นขึ้น ๑๕ ค่ำ ขณะนั้นทรงเห็นภิกษุสงฆ์นิ่งอยู่ จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราปวารณาแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะไม่ตำหนิการกระทำใด ๆ ทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ ?"
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างนั้น ท่านพระสาริบุตรจึงลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมไม่ติเตียนการกระทำใด ๆ ทางกายหรือวาจาของพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ทำให้เกิดมรรคา เป็นผู้ฉลาดในมรรคา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในขณะนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคา เป็นผู้มารวมกันในภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอปวารณากะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงตำหนิการกระทำใด ๆ ทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ ?"
    "ดูก่อนสาริบุตร เราไม่ติดเตียนการกระทำใด ๆ ทางกายหรือทางวาจาของเธอ ดูก่อนสาริบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้มีปัญญาเป็นเหตุให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาไว เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม เป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ดูก่อนสาริบุตร เปรียบเหมือนเชษฐโอรส (บุตรคนใหญ่) ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ย่อมทำให้จักร (กงล้อ) ที่พระบิดาหมุนแล้ว ให้หมุนตามไปได้โดยชอบฉันใด เธอก็ฉันนั้น ย่อมยังธรรมจักร (กงล้อคือธรรม) อันยอดเยี่ยม ที่เราหมุนแล้ว ให้หมุนตามไปได้โดยชอบ."
    พระสาริบุตรกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตำหนิการกระทำใด ๆ ทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์ ก็ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ รูปเหล่านี้เล่า พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงตำหนิการกระทำทางกายหรือทางวาจาบ้างหรือ ? พระเจ้าข้า"
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนสาริบุตร แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ รูปได้วิชชา ๓, ภิกษุ ๖๐ รูปได้อภิญญา ๖, ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสโดย ๒ ส่วน คือพ้นเพราะสมาธิ และพ้นเพราะปัญญา), ภิกษุที่เหลือ เป็นปัญญาวิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสเพราะปัญญา).
    ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นย่อมทำให้ข้าพระองค์แจ่มแจ่ง ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นย่อมทำให้ข้าพระองค์แจ่มแจ้ง."
    "ดูก่อนวังคีสะ ข้อนั้นจงแจ่มแจ้งเถิด<sup></sup> ."
    ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาหลายคาถาโดยย่อว่า
    "ในวันนี้ซึ่งเป็นวัน (ขึ้น) ๑๕ ค่ำ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ตัดเครื่องผูกคือกิเลสอันร้อยรัดได้ ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้สิ้นความเกิดอีกแล้ว ผู้แสวงคุณอันประเสริฐ ได้มาประชุมกันแล้ว โดยความบริสุทธิ์<sup></sup> เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ์ มีอำมาตย์แวดล้อม เสด็จไปโดยรอบแผ่นดินนี้ อันมีมหาสมุทรเป็นที่สุดฉันใด พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ผู้ทำมฤตยูให้เสื่อม ย่อมนั่งล้อมพระบรมศาสดาผู้ชนะสงคราม ผู้เปรียบเหมือนนายกองเกวียนผู้ยอดเยี่ยมฉะนั้น สาวกเหล่านั้นทั้งหมด เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค. มลทินย่อมไม่มีในที่นี้. ข้าพเจ้าขอไหว้พระผู้อาทิตยวงศ์ ผู้ฆ่าเสียซึ่งลูกศรคือตัณหาพระองค์นั้น."
    ปวารณาสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ๑๕/๒๘๑ ​


    (หมายเหตุ : พระสูตรนี้แสดงตัวอย่างอันดีที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ว่ากล่าว ชี้ข้อที่ผิดพลาดของพระองค์ได้ อันเป็นวิธีการที่ไม่เปิดโอกาสให้ปกปิดความเสียหายใด ๆ ไว้ ทั้ง ๆ ที่พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ทรงทำพระองค์เป็นแบบอย่าง คำกล่าวของท่านพระวังคีสะ ในตอนหลังเป็นการกล่าวด้วยสำนวนกวี ซึ่งท่านพระวังคีสะเป็นผู้เชี่ยวชาญ).
    <center>
    ๒๑๘. ยังยึดถือจะชื่อว่าไม่มีโทษไม่มี
    </center> "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า ข้อที่ว่าเรายังยึดถืออยู่จะเป็นผู้ไม่มีโทษนั้น จะมีอยู่บ้างหรือไม่หนอในโลก อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ข้อที่ว่าเรายังยึดถืออยู่จะเป็นผู้ไม่มีโทษนั้น ไม่มีเลยในโลก.
    สังยุตตนิกาย ขันธวรรค ๑๗/๑๑๔ ​
    <center>
    ๒๑๙. ตรัสแนะนำให้สังคายนาพระธรรมวินัย
    </center> "ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุนี้แล ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ท่านทั้งหลายทั้งปวงพึงประชุมกัน มาพร้อมกัน สังคายนา (ร้อยกรอง) พิจารณาอรรถะกับอรรถะ พยัญชนะกับพยัญชนะ (คือจัดระเบียบพิจารณาทั้งโดยเนื้อความและตัวอักษร) ในธรรมเหล่านั้น โดยประการที่พรหมจรรย์นี้พึงเป็นของยั่งยืน ตั้งอยู่ตลอดกาลนาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย."
    ปาสาทิกสูตร ๑๑/๑๓๙ ​
    <hr>๑. กุฑฺฑมูลํ ฝรั่งมีความเห็นว่า เป็นไม้มีหัวชนิดหนึ่ง อรรถกถาไม่ได้อธิบายไว้
    ๒. คำว่า น้องหญิง เป็นคำที่สมณะเรียกสตรีโดยทั่วไป ถือเป็นคำเหมาะสม : อนึ่ง ในการแปลข้อความตอนนี้ ข้อความตอนใดซ้ำ ได้ตัดออกบ้าง แต่คงได้ความอย่างเดิม
    ๓. ตามปกติว้นกลางเดือนหรือปลายเดือน ถือว่าเป็นวันอุโบสถ แต่ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ไม่มีการสวดปาฏิโมกข์ ใช้ปวารณาแทน ปวารณาคือการอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
    ๔. เป็นสำนวนแสดงว่า พระวังคีสะคิดอะไรขึ้นมาได้จากพระพุทธดำรัสนั้น จึงกราบทูล พระองค์จึงตรัสเปิดโอกาสให้เล่าข้อคิดนั้น
    ๕. คำว่า โดยความบริสุทธิ์ในที่นี้ ไม่ใช่หมายความว่า เมื่อมาประชุมกันแล้วจะบริสุทธิ์ขึ้น แต่เป็นวินัยกรรมที่ภิกษุทุกรูป ทั้งพระอรหันต์ ทั้งที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ จะต้องกระทำทุกกึ่งเดือนโดยไม่มีการยกเว้น เพราะเกี่ยวด้วยการบริหารหมู่คณะ เป็นแต่ว่าถ้าภิกษุที่ประชุมกันเป็นพระอรหันต์ล้วน อุโบสถนั้น ก็เรียกวิสุทธิอุโบสถ ปวารณานั้น ก็เรียกวิสุทธิปวารณา
     

แชร์หน้านี้

Loading...