ความว่างและการดับจากการทำสมาธิเป็นอย่างไรครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย แสงอุ่น, 17 พฤศจิกายน 2010.

  1. แสงอุ่น

    แสงอุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    613
    ค่าพลัง:
    +1,036
    จากการทำสมาธิแล้วเกิดสิ่งที่เรียกว่า "ดับ" นั้นเป็นอย่างไรครับ เมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ผมขอเรียกว่าการ "ดับของจิต" ได้ใหมครับ แล้วการดับของจิตนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อเกิดแล้วจะรู้ได้อย่างไร และหลังเกิดแล้วจะเป็นอย่างไรครับ และจะมีผลต่อเราอย่างไรบ้างครับ
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    กรุณาเข้าgoogle search "สิ้นโลกเหลือธรรม" หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี คำตอบอยู่ในนั้นครับ
     
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    ขุดหลุมดักหรือเปล่านี่ ? :cool:

    การดับของจิต หากหมายถึงการดับจิตในส่วนของความวอกแวกในอวิชชาย่อมมีปัจจัยดับ
    ราวกับการปิดแก๊สที่วาล์ว ไฟก็ย่อมไม่ติด ไม่ไปไม่มา มีสภาวะนิ่งเหมือนนั่งเข้าฌานในระดับที่ท่านเคยกระทำได้และไปถึงนั้นๆ แต่จิตนั้นไม่ดับหากคำว่าดับหมายถึงสูญ ย่อมไม่ใช่การดับ แต่หากคำว่าดับหมายถึงการดับของกิเลสและอุปาทานจึงจะถูกเรียกว่าดับ และดับในที่นี้หมายถึงการไม่เกิดอีกย่อมจะไม่มีให้ดับในโอกาสหน้าแต่ไม่ได้หมายถึงการ สูญ

    จะรู้ได้อย่างไร ?
    จะรู้ได้ด้วยตัวเองและจะหมดคำถามแบบจริงๆจังๆแม้แต่การจะแอบถามตัวเองในใจ
    เช่นเดียวกับการเล่นอินเตอร์เน็ตนี่แหละ จะรู้ได้อย่างไรว่าเล่นเก่งแล้วเล่นถูกแล้ว
    พอมองเห็นกระทู้แบบนี้ บอร์ดแบบนี้ โครงสร้างของสคริปแบบนี้ การตอบโต้โดยอัตโนมัติแบบนี้ การอัพเดรทแบบนี้ ก็สามารถรู้ได้ว่าเขาเขียนกันแบบไหนถึงได้มาเป็นแบบนี้ หมวดนี้ที่เล่าหมายถึง หมายถึงการระลึกรู้ได้ว่าถึงโครงสร้างต่างๆของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงถึงแม้จะยังทำไม่ได้ก็ตาม อุปมาไว้อย่างนี้ก็แล้วกัน

    หลังจากไม่มีกิเลสแล้ว หมดสิ้นความอยาก หมดสิ้นความสงสัยใดๆแล้ว ท่านคิดว่าจะเป็นอย่างไรล่ะ ?
     
  4. a-pin-ya

    a-pin-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    314
    ค่าพลัง:
    +672
    ความดับที่ว่า น่าจะหมายถึงดับจากการปรุงแต่ง อันเกิดจากกระบวนการ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดับได้เมื่อไหร่ ก็ไปนิพพานชาตินั้น

    จะรู้ได้อย่างไงว่าดับแล้ว? ก็ตราบใดที่เรายังมีอารมณ์ต่าง ๆ รัก โลภ โกรจ หลง ตามสิ่งแวดล้อม แสดงว่ายังไม่ดับ คนส่วนใหญ่จะอยู่ในอาการหลง เช่น ทำชั่วก็ไม่รู้ตัวว่านั่นคือความชั่ว เพราะความเคยชิน เพราะขาดสติยับยั๊งชั่งใจ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2010
  5. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    ความว่างและจิตดับ อุปมาดั้ง ก้อนหินทับหญ้า เมื่อออกจากสมาธิ กิเลสก้อจะทำงานเป็น ปกติ หากไม่ใช่ ปัญญา ในการฆ่า อาสวะกิเลส รู้ได้อย่างไร คือ จิต หรือ ผู้รู้ อาศัย ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เป็นเสมือนบ้าน ปกติ จิต หากเปลี่ยน ดังน้ำ ย่อมไหลไปที่ต่ำ หากไม่มีเครื่องกลั้น คือ สติ ดังนั้น จิต ของ บุคคลที่ กำจัด สังโยช 3 จนถึง 10 ได้ หากยังมี ธาตู 4 ขันธ์ 5 อยู่ ย่อมมี กิเลส แต่ท่าน ไม่เอากับมัน คือไม่เป็น ทาส กิเลส บุคคลที่มีธาตุ 4 ขันธ์ 5 ย่อมอาศัย ปัจจัย 4
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ลงมือทำเลยของอย่างนี้ไม่ทำไม่รู้.....วิธีการก็มีอยู่.....

    คนอื่นบอกก็แค่นั้น....
     
  7. neung48

    neung48 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +457
    หิวข้าว
     
  8. แสงอุ่น

    แสงอุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    613
    ค่าพลัง:
    +1,036
    ขอบพระคุณทุกท่านที่แนะนำและให้ความคิดเห็นครับ หากมีใครเพิ่มเติม ผมรออ่านอยู่นะครับ
     
  9. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    907
    ค่าพลัง:
    +3,602
    ไม่ใช่คําตอบที่ถูกต้องนะครับ แสดงความคิดเห็นเฉยๆ

    ทีแรกพิมใส่ แพทไว้ แต่เห็นว่า คห.บนๆตอบคลุมหมดเลยมาอ่านเฉยๆแต่เห็นท่าน จขกท.ดันขึ้นมาอีก ไอ้ที่พิมพ์ใส่แพท ก็ลบไปหมดแล้วด้วย

    ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
    ความว่างแบบสมาธิเป็นความว่างแบบไม่รับรู้ เปรียบองค์ฌานก็จะเป็นว่างแบบเอกคตารมณ์(อุเบกขา)

    ไม่ใช่ว่างแบบวิปัสนาที่ไม่ว่างแต่ปล่อยแบบนี้เรียกว่าว่างแบบรู้

    เรื่องจิตดับ ผมตีความหมายคําถามไม่ออกครับ

    เดาว่าเป็นสํานวน ให้เห็นถึงสวาวะธรรมภายนอกมากระทบสภาวะภายใจ ใจไม่สั่นคือดับอารมณ์

    วิปัสนานอกสมาบัติ รับสําผัส รู้ครบทวาร 6 แล้วปล่อย เรียกว่าดับอวิชา เช่น รูปกระทบตา เกิดสัญญา เกิดเวทนา เห็นโทษภัยตามมา ความอยากไม่ได้เห็นตามมา เกิดทุกข์ เมื่อเห็นโทษภัย ก็ พิจรณาดับ

    สมถจะเป็นดับแบบทวารปิด ตาปิด ใจปิด อุปมาเหมือนหินทับหญ้าตาม ค.ห.ต้นๆกล่าวไว้ครอบคลุมแล้ว

    ซึ่งตอบตอบในส่วนของอภิธรรมเรื่องเกิดดับจิตนี้ จะแสดงไว้อีกแบบหนึ่ง
    อธิบายแบบจิตแต่ละดวง100 กว่าดวง หน้าที่ของจิต อธิบาย เจตสิก รูปนิพพาน ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจ เสียใจด้วยครับ ช่วยออกความเห็นได้แค่นี้หล่ะ
     
  10. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,443
    ค่าพลัง:
    +1,770
    -*-............................................
     
  11. kontamma

    kontamma Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +56
    แล้วในขณะนอนหลับ จิตว่าง, จิตดับหรืออุกเบกขารึป่าวครับ (eek) เพราะไม่รู้สึกตัวเลย ยกเว้นแต่ตอนฝันกับใกล้ตื่น
     
  12. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    นั่งสมาธิมานานไม่เคยเห็นจิตดับเลยครับ โดยปกติแล้วสิ่งที่ดับมันคือ
    กิเลสครับ กิเลสจะหมดไปเมื่อกิเลสหมดไป(ดับ) จิตก็จะหาที่เกาะเกี่ยวอันใหม่
    ตรงนี้เรียกนิมิตกระมังครับ ตอนที่ดับ(กิเลส)แบบชั่วควาวนั้น จิตจะโล่งมีกาย
    เหมือนไม่มีกายรู้สึกได้เลยว่ากายนี้เป็นภาระ
    ส่วนจะมีผลอย่างไรกับเราก็คงจะทำให้เราเปรียบเทียบได้ว่าจิตปราศจาก
    กิเลสเป็นแบบไหนและจิตที่มีกิเลส(เวลาไม่นั่งสมาธิ)เป็นแบบไหน จะได้มอง
    เห็นทุกข์ของมันได้ครับ แล้วเราก็ยกทุกข์นั้นมาวิปัสสนาเพื่อหมดกิเลสแบบ
    อริยะเขาทำกัน.
     
  13. อศูนย์น้อย

    อศูนย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +495
    นึกแล้วว่าต้องตั้งกระทู้ อิอิ ไม่ถึงจริงก็ไม่รู้
    ใครถึงแล้วก็ย่อมรู้ อิอิ ติดตามตอนต่อไป
     
  14. JIT_ISSARA

    JIT_ISSARA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +1,163
    สัมมาสติ กับ สัมมสมาธิต้องไปคู่กันครับ สัมมาสติ คือการ นิ่ง และ ระลึกรู้อยู่ที่จิต อะไรเกิดขึ้นที่จิต และจิตเข้าไปรู้ เขาจะมีการวางของเขาเอง เมื่อนิ่งบ่อยๆ เข้า หรือการระลึกเรื่องเดิมๆบ่อยๆเข้า จะเกิดสัมมาสมาธิ ขึ้นเองโดยอัตโนมัติ จะทำให้จิตรับรู้อะไร เขาจะวาง สิ่งนั้นได้เอง ว่างได้บ่อยๆขึ้น จะเกิดความว่างขึ้น หรือ ที่เรียกว่า จิตว่าง คือ จิตว่างจากความคิด เห็นการเกิดดับของความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ต่างๆ

    การดับจิต : ธรรมชาติของจิตคือการรู้ เมื่อ นิ่งๆ แล้วรับรู้ที่ในร่างกายตัวเอง เช่น เกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ อย่างใดอย่างหนึ่งบ่อยครับ จิตเขาจะเห็นตัวรู้ แล้วจะเห็นสภาวะการวางผู้รู้ จะเห็นทั้งผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ และ กริยาการรู้ ทำให้ปล่อยวางจิตได้ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นจิตว่าเป็นเรา เป็นของๆ เรา สรุบคือ การดับจิต คือ การไม่ยึดจิต ไม่ยึดสิ่งปรุงแต่งจิต หรือ ยีด การรู้ต่างๆ

    ผิด ถูก ประการใด ขอกราบอภัยมา ณที่นี้ครับ บอกได้ตามการปฎิบัติที่เห็นจริง เมื่องดับจิตแล้วจะมีความรู้สึก เย็น สดชื่น เบิกบาน เห็นทุกอย่างเป็นแค่กระบวนการ ไม่มีสาระ ไม่มีประโยชน์ สมควรที่จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เห็นทุกอย่างเป็นเพียงแค่มายา คือ ตั้งอยู่ชั่วครู่ ไม่ใช่ของจริง จิตจึงไม่เข้าไปยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งนั้น


    เมื่อถึงจุดของมัน จะปล่อยวางทั้งสิ้นหมด ไม่ว่าจะเป็น ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เนื่องจากทุกอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ในตัวของมันเองอยุ่แล้ว ไม่ต้องทำอะไร เพราะมีทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว มี เหมือน ไม่มี , ไม่มี เหมือน มี , มี ก้อใช่ , จะว่าไม่มี ก้อใช่ ตรงกลางของทุกสิ่ง คือการดับจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2010
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    สัตว์พวกหนึ่ง ล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า นี่สงบ นี่ประณีต
    อ่านคำตรัสก็คงเข้าใจกันแล้วว่า หมายถึง ผู้ปฏิบัติ"อรูปฌาน"ขั้นที่ ๔ แบบฤาษีนี้เองแหละ สูงขึ้นไปถึง "เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ"
    "เนวสัญญานาสัญญา" แปลว่า มีสัญญา ก็มิใช่ ไม่มีสัญญา ก็มิใช่ หรือความรู้สึกตัว ก็มิใช่ ความไม่รู้สึกตัว ก็มิใช่ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่พยายามจะดับจิตอยู่นั่นเอง แต่เป็นการฝืนสัจจะ ของความเป็นธาตุจิต ธาตุวิญญาณ อย่างถึงที่สุด ก็ฝืนได้สุดๆ จนเป็นที่สุดตรงภูมิ "เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญัง" เท่านี้
    เพราะตามสัจจะแล้ว จิตวิญญาณของคนนั้น คือ "ธาตุรู้" แม้จะสะกดจิต หรือฝึกฝน "ดับจิต" ลงไปด้วย วิธีอย่างไร เมื่อ หมดฤทธิ์หมดแรงแห่งการสะกดไว้ จิตมันก็ต้องตื่นขึ้นมาทำหน้าที่"รู้" เป็นธรรมชาติ"รู้" เมื่อคนยังไม่ตายก็ต้องยังมีจิต และต้องมี"ความรู้สึก"(เวทนา) มี"ความกำหนดรู้, ความสำคัญมั่นหมาย, ความจำได้"(สัญญา) เป็นต้น ถึงจะดับไว้ด้วย แรงกดแรงข่มเก่งปานใด จิตมันก็ต้องรู้สึกตัวขึ้นมาจนได้ ไม่วาระใดก็วาระหนึ่ง เพราะยังเป็นคนดีๆ สมองไม่ได้ชำรุด อะไร จิตก็ต้องขึ้นมาทำงาน"รู้" จะด้วยการทำงาน ในหน้าที่..ลักษณะมี"ความรู้สึกหรืออารมณ์" (เวทนา) ก็ตาม หรือจะ ทำงานในหน้าที่.. ลักษณะมี"ความกำหนดหมายรู้" (สัญญา) ก็ตาม มันก็ต้องกลับมาทำหน้าที่อีกจนได้

    แต่เพราะเชื่อสนิทว่า ทฤษฎีนี้ อันคือ"การนั่งทำสมาธิ หรือ นั่งสะกดจิตเข้าไปอยู่ในภวังค์ แล้วทำ'อารมณ์ฌาน' ให้ได้ปานฉะนี้นี่แหละ" คือวิธีที่จะพาไปนิพพาน และหลงกันนักกันหนาว่า ถ้าฝึกทำ สมาธิ อย่างนี้แล้ว ก็จะได้ "อารมณ์"อย่างนี้ๆไปเรื่อยๆ แล้วจะเกิดปัญญาเห็น "ไตรลักษณ์" บ้าง เห็น"อารมณ์ นิโรธ" (นิโรธแปลว่าความดับสนิท) บ้าง เช่น เห็น"อารมณ์อากิญจัญญายตนฌาน" นี่แหละ เป็นต้น และเห็นอะไรต่อมิอะไรสารพัด ที่แต่ละอาจารย์จะว่า กันไป

    ทีนี้..ผู้ยังพอมีไหวพริบว่า "จิต"นั้น มันคือ"ธาตุรู้" ที่ต้องทำหน้าที่ขึ้นมา"รู้" จนได้อยู่ดี แม้จะสะกดมันไว้ได้ เยี่ยมยอดสุดๆ ปานใด มันก็ยังต้องมี"ส่วนเศษแห่งการรู้" อยู่นั่นเอง ไม่มากก็น้อย แต่..เมื่อเชื่อ ปักใจใน วิธีนั่งสมาธิแบบนี้ ว่า ไม่มีวิธี อื่นดีกว่าเสียแล้ว แม้ต้องจำนนต่อความจริง ว่า "มันดับหมดถาวรไม่ได้" ดังที่ "อุทกดาบส" ซึ่งเป็นอาจารย์เจ้าสำนัก ใหญ่คนสำคัญ อีกคนในยุคนั้น ยอมจำนน

    จึงต้องยอมให้แก่ภาวะ "รู้" ซึ่งมันต้อง"เกิดมารู้"ในวาระใดวาระหนึ่งจนได้ ทว่า"เกิด"คราใด ผู้นั้นก็จัดการ"ดับ"ให้ มัน"ไม่รู้" ลงไปอีกอยู่นั่นแหละ การณ์จึงเป็นว่า"รู้ก็ไม่ได้รู้" จะว่า" ดับก็ยังมีรู้แซมปนขึ้นมาอยู่เป็นช่วงๆ" สภาพเช่นนี้เอง คือ "จะว่ารู้ก็ไม่เชิง จะว่าไม่รู้ ก็มิใช่" เพราะ "สัญญา" หรือ "ตัวรู้ที่มันจะขึ้นมาทำหน้าที่กำหนดหมายอะไรต่ออะไรไป ตามหน้าที่ของมัน" นี้นั้น ครั้นมันจะขึ้นมาทำงาน ก็สะกดมันไว้ ถ้าไม่สะกดไว้ ก็จะไม่ชื่อว่า "ดับ" แต่แม้จะดับได้นานสุด นานเท่าใด มันก็ต้องกลับฟื้นขึ้นมา"รู้"อีกอยู่ดี เพราะมันคือธรรมชาติแห่งจิตวิญญาณ ที่ยัง "ไม่ปรินิพพาน" มันก็ต้อง เป็น "ธาตุรู้" ที่มีหน้าที่ "รู้" จึงต้องทำหน้าที่ตามธรรมชาติของมัน ทว่าถูกเจ้าของ "จิตวิญญาณ" กระทำกับมัน ตามที่กล่าว มานั้น มันก็เลยตกอยู่ในสภาพ"จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็มิใช่" นี่คือ การบรรลุ "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ยังเป็น "อายตนะ" และยังมี "สัญญา"

    ฉะนี้เองคือ "สัตตาวาส" ขั้นที่ ๙ หรือ "อารมณ์อรูปฌาน" ขั้นที่ ๔ ที่เรียกว่า "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" หรือ "เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา"

    ซึ่งเป็นการ"ดับสัญญา"อย่างหนึ่ง นั่นคือ "ดับอากิญจัญญายตนสัญญา" กลายเป็นผู้ "ไม่มีสัญญา" อย่างนั้นแล้ว แล้ว ไปเป็นผู้ "มีสัญญา" อีกอย่างหนึ่ง คือ มี "เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา" นั่นเอง

    หรือจะพูดว่า "ไม่กำหนดหมายในอากิญจัญญายตนฌาน" เสียแล้ว แล้วเลื่อนออกไป "กำหนดหมาย ในเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน" แทน ก็ถูกต้อง
    "การกำหนดหมาย" ก็คือคำว่า "สัญญา" นั่นแหละ

    พฤติการเช่นนี้ คือ การล่วงพ้นสัญญาชนิดหนึ่ง หรือดับสัญญาชนิดหนึ่ง ไม่มีสัญญาชนิดนั้นแล้ว แล้วกลาย ไปเป็น ผู้มีสัญญา อีกชนิดหนึ่ง

    "อุทกดาบส"อาจารย์คนสำคัญยุคนั้น ก็จำนนด้วยสัจจะข้อนี้ เพราะเห็นว่า ขั้น"อากิญจัญญายตนฌาน"นั้น มันไม่สุด สิ้นอยู่แค่นี้ ถึงจะ"ดับ"ลงไป ไม่ให้มีการเกิดของ "ความรับรู้" ไม่ให้มีสัญญาอีกเลย ใช้ความสามารถ ดับลงไปให้สนิท ความรับรู้ใดๆแม้ "นิดหนึ่งน้อยหนึ่ง" ก็ไม่ให้มี ทำจนถึงขั้น "ความไม่มี" (อากิญจัญญ) อย่างนี้ก็ "ทำได้" ที่เรียกว่า "อากิญ จัญญายตนฌาน" นั่นแหละ แต่จะให้คงอยู่ เป็นอยู่ในสภาพ "อากิญจัญญายตนะ" ตลอดไปนั้น มันไม่ใช่ที่สุด

    นี่คือ สภาพที่อุทกดาบสพบจุดสูงสุดด้วยตนเอง จึงยอมจำนนว่า ที่สุดแห่งที่สุดนั้น มิใช่ "อากิญจัญญายตนะ" ต้องยอมรับ ลักษณะอาการของ "เนวสัญญานาสัญญายตนะ" ว่า เป็นที่สุดยิ่งกว่า "อากิญจัญญายตนะ"

    "...ล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า นี่สงบนี่ประณีต" อุทกดาบส หรือใครก็ตาม สามารถ "โยนิโส มนสิการ" (การทำใจในใจ อย่างแยบคาย) ว่า "นี่สงบ นี่ประณีต" ได้สูงสุด จบอยู่ที่ "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" ก็เป็น "สัตตาวาส" ที่ ๙

    "สัตตาวาส"ของบรรดาผู้ยังมี"ภพ"มี"ชาติ"หรือสัตว์ผู้ยังไม่สิ้นภพจบชาติ ยังมี"ที่อยู่" (อาวาส) ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ ๙ ชนิด ก็มีก็เป็นกัน ด้วยประการฉะนี้

    ผู้ที่มีปฏิภาณ เพียงได้ฟังว่า วิธีปฏิบัติที่นำพาไปสู่สภาพยังมี"สัตตาวาส" ทั้ง ๙ ก็ต้องเข้าใจแล้วว่า นี่ไม่ใช่ "แนว ทางของพุทธ" เพราะคำว่า "สัตตาวาส" ก็หมายถึง "การยังมีภพมีชาติ" อยู่ตรงๆ ก็เห็นอยู่แล้วโต้งๆว่า มันยังไม่ใช่ สภาพของ "การดับภพจบชาติ" เลย จึงชัดเจนที่สุดว่า การปฏิบัติที่ยังไม่นำพาไปสู่ "การลดละ จางคลายภพชาติ กระทั่งถึงดับภพจบชาติ" ได้สิ้นสนิทเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่ทางที่จะพาไปสู่ "นิพพาน" แน่แท้

    พระพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะที่บ่งบอกว่า สภาพ ที่ยังไม่ใช่ทาง"นิพพาน"นั้น มีอยู่ ๙ ชนิดใหญ่ๆ อย่าง ชัดเจน แจ่มแจ้งปานฉะนี้แล้ว ชาวพุทธก็ไม่น่าจะหลงผิดทางผู้ยังไม่เข้าใจก็กลับไปอ่านทบทวนดีๆ
    "สัตตาวาส ๙" จึง ไม่ใช่ทางไปนิพพาน แต่เป็นทางที่ยังนำพาไปสู่ภพสู่"ที่อยู่ของสัตว์" (สัตตาวาส) ทางที่จะนำพาไปสู่ นิพพานนั้น เป็นทางสู่ความสิ้นภพจบชาติแห่ง ความเป็นสัตว์ ตั้งแต่เป็นสัตว์ ที่อยู่ในภพอบาย (สัตว์ชั้นต่ำ) ไปจนเป็น สัตว์ที่อยู่ในภพของกัลยาณชน หรือเป็นสัตว์ที่เรียกว่า เทวดา และ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เป็นสัตวโลกที่พาตนออกจาก (เนกขัมมะ) ภพต่างๆ มาตามลำดับ ได้กระทั่งเข้าสู่โลกใหม่ ที่เรียกว่า โลกุตระ อันไปสู่นิพพานชื่อสัตว์ชนิดนี้เรียกว่า สัตว์โลกุตระ หรือ อาริยชน
     
  16. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    สังขารทั้งหลายย่อมดับไปตามลำดับตามภูมิแห่งการปฏิบัติทางจิตอย่างไร ?
    พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุ... เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับคือ
    เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
    เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตก วิจารย่อมดับ
    เมื่อตติยฌาน ปีติย่อมดับ
    เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะย่อมดับ
    เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
    เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
    เมื่อเข้าอากิญจัญญายตฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
    เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
    เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะ ของพระขีณาสพย่อมดับ"
     
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขารคืออะไร และสังขารทั้ง ๓ นี้ดับไปเมื่อใด ?
    พระกามภูตอบ "ดูก่อนคฤหบดีลมหายใจเข้าและหายใจออก ชื่อว่ากายสังขาร...ลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นของเกิดที่กายธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกายฉะนั้น...จึงชื่อว่ากายสังขาร...
    "วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร...บุคคลตรึกตรองก่อนจึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่า วจีสังขาร...
    "สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร...สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิตฉะนั้น...จึงชื่อว่าจิตตสังขาร
    "ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ..."
     
  18. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    906
    ค่าพลัง:
    +3,887
    จิตดับชั่วคราวได้ถ้าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ดับสิ้นทั้งสัญญาและเวทนา
     
  19. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +2,392
    เข้าใจว่าคงฝึกสมาธิจนเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างจึงตั้งคำถามในทำนองนี้

    วิธีเช็คง่ายๆคือ ถ้าเราบริสุทธิ์ ผ่องใส โลภ โกรธ หลง ลดลง โกรธน้อย หายเร็วขึ้น

    ขุ่นเคืองใจน้อยลง ฟุ้งซ่านน้อยลง ถือว่ามาถูกทาง

    เพราะความรู้สึกที่ได้รับขณะปฏิบัติ ไม่อาจแทนด้วยสมมุติทางตัวอักษรได้

    ขอให้พิจารณาคู่ไปกับวิปัสสนา จะก้าวหน้าเร็วขึ้นค่ะ โมทนา
     
  20. suppanatt14

    suppanatt14 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +16
    ไม่ได้กวนนะครับ ความว่างไม่ได้เกิดจากการทำอะไรทั้งนั้น ทำสมาธิก็มีตัวเข้าไปทำ มันก็ไม่ว่างแล้วครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...