ความสุขของพระนิพพาน

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย mahaasia, 31 ตุลาคม 2007.

  1. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    ความ
    ไม่เจือทุกข์แห่งพระนิพพาน


    " ข้าแต่พระนาคเสน นิพพานมีสุขอย่างเดียว หรือมีทุกข์เจือปน? "
    " ขอถวายพระพร นิพพานมีสุขอย่างเดียว ไม่มีทุกข์เจือปนเลย "
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า
    " ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่เชื่อว่านิพพานมีสุขอย่างเดียว โยมเชื่อว่า นิพพานเจือทุกข์ ที่ ว่านิพพานเจือทุกข์เพราะมีเหตุอยู่คือ พวกแสวงหานิพพาน ย่อมเดือดร้อนกายใจ มีการกำหนด ซึ่งการยืน การเดิน การนั่ง การนอน และอาหาร อดหลับอดนอน มีการบีบคั้นอายตนะ มีการ สละทรัพย์ ญาติมิตรสหายที่รัก
    ส่วนพวกที่หาความสุขในทางโลก ย่อมได้รื่นเริงบันเทิงใจด้วยกามคุณ ๕ คือตาก็ได้เห็นรูปที่สวยงาม หูก็ได้ฟังเสียงเพราะ ๆ จมูกก็ได้สูดดมกลิ่นหอม ๆ ลิ้นก็ได้รับรสอร่อย กายก็ได้ ถูกต้องสัมผัสที่ให้เกิดความสุข ใจก็นึกถึงแต่อารมณ์ที่ให้เกิดความสุข ผู้ละสิ่งที่ชอบอย่างไรก็ ตาม จะให้เกิดความสุขทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ เสียแล้ว ย่อมได้รับแต่ความทุกข์ทางกาย ทางใจ
    มาคันทิยปริพาชก ได้ติเตียนสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " พระสมณโคดม เป็นผู้กำจัด ความเจริญ " ดังนี้ ไม่ใช่หรือ เหตุอันนี้แหละ โยมจึงกล่าวว่า นิพพานเจือทุกข์ "
    พระนาคเสนถวายพระพรว่า
    " ดูก่อนมหาบพิตร นิพพานไม่เจือทุกข์เลย นิพพานเป็นสุขอย่างเดียว ข้อที่พระองค์ตรัส ว่า นิพพานเป็นทุกข์นั้น ไม่ใช่ทุกข์ของนิพพาน เป็นทุกข์ของการจะทำให้สำเร็จนิพพาน ต่าง หาก คือการทำให้สำเร็จนิพพาน ในเบื้องต้นนั้นเป็นทุกข์ ส่วนนิพพานเป็นสุขอย่างเดียว
    ขอถามมหาบพิตรว่า ความสุขในราชสมบัติของพระราชาทั้งหลายมีอยู่หรือ ? "
    " มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ขอถวายพระพร ราชสุขนั้นเจือด้วยทุกข์ไม่ใช่หรือ ? "
    " ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า "
    " ก็พระราชาทั้งหลาย เมื่อปลายแดนพระราชอาณาเขตเกิดกำเริบขึ้น ต้องห้อมล้อมด้วย หมู่อำมาตย์ข้าราชการ พลทหารเสด็จไปปราบต้องลำบากด้วยเหลือบ ยุง ลม แดด ลำบากด้วยการเดินทาง ต้องสู้รบกัน ต้องหยั่งลงสู่ความสงสัยในชีวิต เหตุใดจึงว่าราชสุขไม่เจือทุกข์ ? "
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
    " ข้าแต่พระนาคเสน นั่นไม่ใช่ราชสุข เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการที่จะได้ราชสุขต่างหาก พระราชาทั้งหลายย่อมได้ราชสุขด้วยความทุกข์เวลาได้แล้วก็ได้เสวยราชสุข อันราชสุขไม่เจือ ทุกข์ ราชสุขอย่างหนึ่ง ทุกข์ก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน "
    พระนาคเสนจึงกล่าวต่อไปว่า
    " ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร นิพพานเป็นสุขอย่างเดียวไม่เจือทุกข์เลย ส่วนพวกแสวง หานิพพาน ย่อมทำให้กายใจเร่าร้อน ลำบากด้วยการยืน เดิน นั่ง นอน อาหาร ตัดความสุข ทางอายตนะเสีย ทำให้กายใจลำบาก แต่เมื่อได้นิพพานแล้ว ก็ได้เสวยสุขอย่างเดียว
    เหมือนพระราชาทั้งหลาย เมื่อกำจัดข้าศึกศรัตรูได้สิ้นแล้ว ก็ได้เสวยราชสุขอย่างเดียวฉะ นั้น เป็นอันว่านิพพานเป็นสุขอย่างเดียว ไม่เจือทุกข์เลย นิพพานก็อย่างหนึ่ง ทุกข์ก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน
    ขอได้ทรงสดับเหตุอย่างอื่นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก คือพวกอาจารย์ที่มีศิลปะ ย่อมมีความสุข ในศิลปะไม่ใช่หรือ? "
    " ใช่ พระผู้เป็นเจ้า "
    " สุขในศิลปะนั้น เจือทุกข์บ้างไหม ? "
    " ไม่เจือเลย พระผู้เป็นเจ้า "
    " เหตุใดพวกเรียนศิลปะจึงต้องเอาใจใส่ต่ออาจารย์ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การตัก น้ำ การปัดกวาด การให้ไม้สีฟันและน้ำบ้วนปาก การกินเดนอาจารย์ การนวดฟั้นขัดสีให้อาจารย์ การปฏิบัติเอาใจอาจารย์ นอนก็ไม่เป็นสุข กินก็ไม่เป็นสุข ทำให้กายใจเดือดร้อน ? "
    " ข้าแต่พระนาคเสน ข้อนั้นไม่ใช่สุขในศิลปะ เป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการแสวงหาศิลปะ ต่างหาก พวกอาจารย์แสวงหาศิลปะได้ด้วยความทุกข์ แต่ล้วนก็ได้เสวยสุขในศิลปะ สุขใน ศิลปะไม่เจือทุกข์เลย ทุกข์อย่างหนึ่ง สุขในศิลปะก็อีกอย่างหนึ่ง "
    " เรื่องนิพพานก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร "
    " เอาหละ พระผู้เป็นเจ้า เป็นอันโยมรับว่าเป็นจริงอย่างนั้น "
     
  2. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,711
    ค่าพลัง:
    +5,720
    อนุโมทนา สาธุ ๆๆ นิพานคือแดนที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางที่พวกเราปราถนา มิใช้หรือ
     
  3. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    อันนี้เป็นกำลังใจอย่างดีสำหรับผู้พากเพียรปฏิบัติ ไม่ให้ท้อแท้เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่แสวงหาความสุขทางโลกซึ่งเขาประมาทไปคิดว่ามันจิรังยั่งยืน มันต้องเปลี่ยนแปลงสภาพไปเสมอ เมื่อนั้นทุกข์ก็จะยิ่งใหญ่ตามปริมาณที่คิดว่าได้สุข ความวางเฉยไม่เอาใจเอากายไปเกาะเกี่ยวอะไรนั่นแหละคือความสุข
     

แชร์หน้านี้

Loading...