ความสุขคืออะไร?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 4 กันยายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    ความสุขคืออะไร?
    ความสุข คือ ความสบาย หรือความสำราญ แยกออกได้เป็นสองฝ่าย คือ ความสุขทางกาย กับความสุขทางใจ
    ความสุขทางกาย ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากประสาททั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และผิวหนัง เรียกว่า “กามคุณ 5” จัดว่าเป็นฝ่ายรูป หรือความสุขที่เกิดจากเนื้อหนังมังสา อันเป็นสิ่งสกปรก
    ความสุขทางใจ ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้ทางจิตคือ ความสบายใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ ความพอใจ อันเกิดจากจิตใจที่สงบและเย็น จัดว่าเป็นฝ่ายนาม อันเป็นความสุขที่สะอาด
    ความสุขทั้งกายและใจ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กันไม่อาจจะแยกให้ขาดจากกันได้ เพราะต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน จะขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
    การปฏิบัติให้เกิด “ความพอดี” ไม่มากและไม่น้อยเกินไปไม่ว่าในส่วนกายหรือใจก็ตาม ก็ย่อมจะเกิดความสุขโดยปราศจากความทุกข์ ที่แอบแฝงตามมา
    ในความสุขทั้งสองฝ่ายนี้ ความสุขทางใจ นับว่าเป็น “ยอดแห่งความสุข” ทั้งหมด ถ้าเรากระทำสิ่งใดแล้วจิตใจไม่มีความสุขแม้ว่าเราจะมีวัตถุมากมายครบถ้วนคอยอำนวยความสุขทุกรูปแบบก็หาได้ให้เกิดความสุขที่สมบูรณ์หรือแท้จริงไม่
    แต่ในทางตรงกันข้าม แม้ว่าทางร่างกายจะขาดแคลนวัตถุที่จะอำนวยความสุข เเต่ถ้าจิตใจมันมีปิติหล่อเลี้ยง มีความพอใจมีความสงบใจ คนก็ย่อมจะประสบความสุขได้
    ในการมีเครื่องอำนวยความสุขมากเสียอีก กลับจะเป็นมารหรืออุปสรรค คอยขัดขวางหรือบั่นทอน ไม่ให้ผู้นั้นได้พบกับความสุขที่แท้จริงเสียด้วยซ้ำไป
    ในคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ทรงพร่ำสอน ทรงย้ำให้พระมีชีวตอยู่อย่าง “สันโดษ” และ “มักน้อย” ให้มีอาหารหรือปัจจัย 4หล่อเลี้ยงชีวิต เหมือนน้ำมันหยอดเพลาเกวียนเท่านั้น
    จากพุทธปฏิปทานี้ชาวบ้านผู้ครองเรือน ก็สามารถประยุกต์เอามาใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้ นั่นคือ อย่าให้ตึงจนถึงเดือดร้อน และอย่าให้หย่อนจนตัวเป็นขน.....
    หลัก “มัซฌิมาปฏิปทา” คือ ทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนจืงเป็นแนวทางที่ควรนำมาดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดความสุขในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าใช้เป็นและใช้ให้ถูกต้องกับกาละเทศะ บุคคลและอัตภาพของตน
    รวมความว่า ความสุขก็คือความสบายกาย และสบายใจในสองอย่างนี้ ความสุขใจ นับว่าเป็นยอดแห่งความสุขในโลก และทุกคนก็สามารถที่จะบรรลุความสุขได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=306 border=0><TBODY><TR><TD width=110>เพื่อนที่ดี</TD><TD width=103>มีหนึ่ง </TD><TD width=93>ถึงจะน้อย</TD></TR><TR><TD>ดีกว่าร้อย</TD><TD>เพื่อนคิด</TD><TD>ริษยา</TD></TR><TR><TD>เหมือนเกลือดี </TD><TD>มีนิดหน่อย </TD><TD>ด้วยราคา</TD></TR><TR><TD>ยังมีค่า</TD><TD>กว่าน้ำเค็ม</TD><TD>เต็มทะเล</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>ทำอย่างไรจึงจะพบสุข
    พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงเหตุที่จะให้เกิดความสุขไว้มากมายหลายแห่ง และหลายระดับ ตั้งแต่ระดับความสุขของผู้ครองเรือนจนถึงระดับความสุข ของผู้ไม่ครองเรือน คือ นักบวชทั้งหลายในบรรดาคำสอนอันมากมาย ที่จะเป็นบันไดไปสู่ความสุขนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งที่เห็นว่ารัดกุม และสามารถครอบคลุมถึงความหมายของปัญหาข้างต้นได้ครบถ้วน ได้แก่พุทธวจนะที่มาในพระธรรมบท (25/50) ที่ว่า “เว้นเหตุทุกข์ย่อมมีสุขในที่ทั้งปวง”เมื่อท่านได้อ่านพุทธภาษิตนี้แล้ว บางท่านอาจจะร้อง“ว้า...มันกว้างเกินไป จนจับหลักไม่ได้” ก็ถูกละ...ความทุกข์นั้นมีมากมาย เราก็ควรที่จะต้องหาทางเว้น “ต้นเหตุ” ที่จะให้เกิดความทุกข์ต่าง ๆ เหล่านั้นให้มากที่สุด ถ้าเราสามารถเว้นเหตุแห่งความทุกข์ได้มากเท่าไหร่ เราก็จะได้รับความสุขมากขึ้นเท่านั้นการที่คนเราจะรู้ว่า อะไรเป็น “ต้นเหตุ” ของความทุกข์ อะไรเป็นต้นเหตุของความสุข ก็มีเพียงตัว “ปัญญา” เท่านั้นที่จะหาต้นเหตุ ได้ ในพระธรรมบท (25/50) พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า“ปัญญา พาให้บรรลุความสุข”
    ก็เป็นอันว่า ทางพระพุทธศาสนา ท่านเน้นที่ตัวปัญญูาว่าสามารถใช้ได้ทั้งดับทุกข์ และใช้สร้างความสุขได้ด้วย ที่นี้เราก็ต้องมา “ปลูกปัญญา” กันว่า ปัญญานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ในสังคีติสูตร ( 1 1 /1 99) ท่านพระสารีบุตร ได้แสดงถึงเหตุที่จะให้เกิดปัญญาได้ 3 ทาง คือ
    1. จิตตามยปัญญา ปัญญูาเกิดจากความคิด หรือพิจารณาทบทวนเหตุผล เรียกว่าต้องใช้สมอง ปัญญาจึงจะเกิด
    2. สุดมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง การอ่าน การเล่าเรียน การค้นคว้าหาความรู้ การสอบถามท่านผู้รู้
    3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฝึกฝนอบรมการลงมือกระทำหรือปฏิบัติ การทดลองปฏิบัติด้วยตนเองเนือง ๆ
    มีข้อที่ควรสังเกต ระหว่างคนที่มีความคิด กับคนที่มีปัญญานั้น อย่าได้เอาไปปะปนกัน มันจะแก้ปัญหาในทางดับทุกข์ได้ แม้ว่าความคิดจะเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญญาก็จริง แต่ถ้าคิดเพียงตื้นๆหรือผิวเผิน ก็จะไม่เกิดปัญญา คือไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาในชีวิตได้หรือใช้ดับทุกข์ไม่ได้
    ดังนั้น ความคิดกับปัญญาจึงไม่เหมือนกัน แต่ว่าความคิดนั้นอาจเป็นบ่อเกิดของปัญญาได้ เมื่อเรามีปัญญาแล้ว ก็เหมือนว่ามีดวงตา หรือมีแสงสว่างที่จะใช้ส่องนำทาง ให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต และบรรลุถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง คือความดับทุกข์ตามลำดับขั้นจนถึงพระนิพพาน อันเป็นจุดหมายปลายทางของทุกชีวิต
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=306 border=0><TBODY><TR><TD width=110>เพื่อนกิน</TD><TD width=103>สิ้นทรัพย์แล้ว </TD><TD width=93>แหนงหนี</TD></TR><TR><TD>หาง่าย</TD><TD>หลายหมื่นมี</TD><TD>มากได้</TD></TR><TR><TD>เพื่อนตาย</TD><TD>ถ่ายแทนชี </TD><TD>วาอาตม์</TD></TR><TR><TD>หายาก </TD><TD>ฝากผีไข้</TD><TD>ยากแท้ จักหา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>อย่าคบคนพาล
    บันไดขั้นแรก ที่จะก้าวขึ้นไปสู่ความสุขนั้น จะต้องตั้งต้นกันที่ “การไม่คบคนพาล” ให้ได้เสียก่อน เพราะถ้าชั้นนี้ก้าวผิดหรือทำไม่ได้ แม้ว่าจะประกอบเหตุใดๆ ที่จะให้ได้พบความสุข ก็จะพบได้ยาก หรือไม่อาจจะพบได้เลย การไม่คบคนพาล จึงเป็นด่านแรก ที่จะไขประตูไปสู่ความสุข
    คนพาล คือ คนชั่ว คนทุจริต คนหากินทางผิดกฎหมายและผิดศีลธรรม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายทั้งแก่ตนเองครอบครัวและสังคมส่วนรวม
    คนพาล มีหลักพอสังเกตได้ คือ มักคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่วอยู่เนืองนิจ แม้ว่าเราจะไม่รู้ความคิดของคนพาลแต่เราก็ย่อมจะตัดสินความเป็นพาลของคนได้ ที่การแสดงออกมาทางกายหรือวาจานอกจากนี้ เรายังสามารถดูลักษณะที่แสดงออกแห่งความเป็นคนพาล หรือคนชั่วอีกประการหนึ่ง คือ การชอบคบแต่คนชั่วด้วยกันการคบคนพาลมีทุกข์ โทษ และภัยมาก ในมงคล 38 คือทางก้าวหน้าของชีวิตนั้น ท่านได้ระบุการไม่คบคนพาลไว้เป็นอันดับแรก เปรียบเหมือนบันไดขั้นแรกของชีวิต ถ้าก้าวขั้นนี้ผิดพลาดขั้นอื่นๆ ก็ย่อมจะต้องพลาดหรือผิดตลอดไปการคบคนพาลนั้น แม้ว่าเราจะไม่คบถือสนิทสนมด้วยแต่ก็ย่อมเป็นที่ระแวง หรือรังเกียจของคนดี และการได้ใกล้ชิดกับคนพาลนั้นแม้ว่าในระยะแรก ๆ เรานึกรังเกียจเขา แต่เมื่อได้เข้าใกล้ชิดกันนานๆ ไปใจก็ย่อมจะยินดีในความเป็นพาลนั้นตามลำดับตรงกับสุภาษิต (27/408) ว่า “คบคนเช่นใด ก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น” และพุทธภาษิต (27/1 42) อีกแห่งหนึ่งว่า “ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวลง”
    ดังนั้น สูตรแห่งความสุขข้อแรก เป็นข้อที่มีความจำเป็นสุดยอด ที่จะต้องปฏิบัติให้ได้ คือต้องงดเว้นให้ห่างไกลกับคนพาลให้ใด้ ต้องตัดสัมพันธ์ให้ขาด ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ตามอย่าได้ทอดไมตรีให้เลย เพราะจะนำเอาแต่อัปมงคลมาให้ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
    ที่สำคัญสุดยอด ที่ไม่ควรจะมองข้ามไปก็คือ อย่ามัวไปเพ่งมองความพาลที่คนอื่นฝ่ายเดียว ให้ระวังใจเราเอง มันจะเป็นพาลเสียเอง เมื่อจิตของเรามันเป็นพาลเสียเองแล้ว คนหมดทั้งโลกนี้ก็ไม่มีใครจะช่วยเราได้ฉะนั้นจงหมั่นตรวจสอบ หมั่นพิจารณาดูจิตของตนเองว่ามีเชื้อสัมมาทิฐิอยู่มากน้อยเพียงใด ? สังเกตได้จากความนิยมที่จิตมันแสดงออกก็คือถ้าจิตนิยมชมชอบในคนดี ในความดี หรือคนทำดีก็แสดงว่าจิตมีเชื้อของสัมมาทิฐิควรจะหล่อเลี้ยงเอาไว้แต่ถ้าจิตเกิดนิยมชมชอบในความชั่วหรือคนชั่ว ก็ให้เร่งระวังว่าเชื้อมิจฉาทิฐิ กำลังลุกลามเข้ามาสู่ใจแล้ว จงรีบกำจัดหรือชำระล้างเสียด้วยพระธรรมโดยเร็วเถิด ขืนปล่อยไว้จะเป็นมารทำลายความสุขเสียเอง โดยที่ไม่มีคนอื่นมาทำให้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="100%"><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=282 border=0><TBODY><TR><TD width=141>คบคนดี</TD><TD width=141>ี มีแต่ความเจริญ</TD></TR><TR><TD>คบคนเช่นใด </TD><TD>ย่อมเป็นคนเช่นนั้น

    ที่มา http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=172

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...สุขเมื่อรู้ว่าพ้นจากทุกข์ภัย...
    ...ก่อนจะพ้นจากทุกข์ภัย...ต้องรู้จักวิธีที่ทำให้พ้น....ขณะที่รู้เริ่มมีหวังเริ่มมีสุข
    ...ก่อนจะรู้จักวิธี....ต้องรู้จักความทุกข์....จะได้รู้ว่าสิ่งที่ต้องการคือ ดิ้นให้หลุดจากทุกข์ ที่พบคือสุข
    ...จะรู้จักความทุกข์...ต้องทำความเข้าใจเรื่องทุกข์...ค้นหาให้พบถึงต้นตอ...เริ่มรู้ ก็เริ่มสุข ที่จะได้พ้นทุกข์

    ....ความสุข คือ ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการดิ้นให้หลุดพ้นจากความทุกข์

    ...รู้ ก็สุข
    ...เข้าใจ ก็สุข
    ...สามารถดิ้นหลุดจากทุกข์ได้ สุขยั่งยืนตลอดกาล....
     
  3. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนาสาธุในบุญกุศลแห่งธรรมทานในครั้งนี้ของทุกท่านด้วยครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. rewadee

    rewadee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2005
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +147
    ***
     
  5. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +904
    "สิ่งสำคัญ ยิ่งใหญ่ ในชีวิต คือทำจิตของตนให้ผ่องใส
    ไม่โลภโกรธหลงมัวเมาเอาสิ่งใด รักษาใจได้สุขสันต์นิรันดร"
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. Reynolds

    Reynolds เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    578
    ค่าพลัง:
    +1,501
    สุข = สวรรค์
    ทุกข์ = นรก
    สงบ = นิพพาน....

    สุขได้ สงบได้ ปนๆกันไป ทำตัวให้สบาย ทำใจให้สนุก ก็ยังเดินเข้าหาความสงบง่าย
    แต่ถ้าทุกข์ร้อนก็ยากที่จะสงบได้ แต่ถ้าทุกข์เห็นทุกข์ ก็กลับมาสงบได้

    สุขได้ สงบได้ แต่อย่าทุกข์เลย ถ้าทุกข์ก็ให้รีบเห็นทุกข์ให้ดิ้นหนีขึ้นมา อย่าจมปลักตัวเองไว้อย่างนั้น ทุกข์ให้เห็นทุกข์เอาทุกข์เป็นครูให้รู้จักทุกข์ ก็รีบหนีมันขึ้นมาจากกองทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์แล้วก็เอาให้พ้นทุกข์อย่าจมปลัก เห็นทุกข์ก็พ้นทุกข์ได้เช่นกัน
     
  7. dangcarry

    dangcarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +4,305
    อนุโมทนา สาธุ ธรรม ด้วยค่ะ
    ชอบข้อความที่แทนลายเซนต์ของท่านค่ะ
     
  8. crossis

    crossis Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +84
    สรรพสิ่งในโลกียะนี้ ล้วนเป็นทุกข์

    ไอ้ที่เราบอกว่า สุข นั้นความจริงความสุขเหล่านั้น เป็นความหลง ความไม่รู้
    เพราะทุกสิ่งใน โลกียะ ล้วนต้องเสื่อม ไม่มีอะไรมั่นคงยั่งยืนถาวร

    เราพอใจ ดีใจ หรือ ชื่นชม ยื่นดี เราปรุงแต่งไปว่านั่นคือความสุข
    สุดท้ายความสุขเหล่านั้นก็หายไป ไม่ยั่งยืน เสื่อมไป
    จิตใจของเรา ก็อยากให้ความสุขเหล่านั้นกลับมา
    ท้ายที่สุด ใจ เราก็อึดอัดขับค้องใจ ก็เป็นทุกข์

    เมื่อความสุขเหล่านั้นกลับมา
    เราก็ไม่อยากให้ความสุขเหล่านั้นจากไป
    ใจเรา เป็นทุกข์ เช่นเดิม

    ความสุข ไม่ได้เป็นไปตามที่ จขกท. ได้โพสไว้เลย
    หากแต่ ความสุขนั้นมีเพียงอย่างเดียว
    คือ ความไม่มีทุกข์

    นิพพานเท่านั้นคือ สุข นอกนั้นล้วนเป็นทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...