ความเชื่อในเสด็จพ่อ ร.๕

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 21 ตุลาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    23 ตุลา วันปิยมหาราช

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>รายงานโดย :เรื่อง : ปู โลกเบี้ยว:



    </TD><TD>วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]


    จะเรียกว่ากำลังใจหรือแรงบันดาลใจก็ไม่ทราบค่ะ ใกล้วันปิยะมหาราชแล้ว ทำให้ปูมักจะระลึกอยู่เสมอว่าเสด็จพ่อ ร.5 เนี่ยแหละค่ะที่เป็นกำลังใจให้ปูได้มีบ้านคุ้มฟ้าคุ้มฝน



    คนเราต้องมีสิ่งและแรงจูงใจอะไรสักอย่างเอาไว้ยึดเหนี่ยว เพื่อให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ปูเชื่อว่าอย่างนั้น

    [​IMG]

    เป็นความเชื่อตั้งแต่ตอนที่ปูยังไม่ได้เรียนโหราศาสตร์เลยค่ะ ใครต่อใครเขาไปบนบาลศาลกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกัน แต่ปูมีรูปเสด็จพ่อ ร.5 ธรรมดาๆ ที่อยู่ที่บ้านนั่นแหละค่ะที่เป็นกำลังใจ

    สมัยก่อนกลัวจะผ่อนบ้านไม่ไหว ไหว้รูปท่านทุกวันเลย ไม่ขออะไรหรอก ขอให้ท่านเป็นกำลังใจให้สามารถผ่อนบ้านให้หมดไวๆ แล้วปูก็สามารถทำได้ซะด้วยซิ ภายในเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น ขยันทำงานสารพัดเพื่อเอามาผ่อนบ้าน อีกอย่างอาจเป็นผลมาจากการฟังเพื่อนๆ ในวงการสั่งสอนมาก็ได้ว่าพวกเราทำงานแบบนี้มีรายได้ไม่แน่นอน ทำให้อาจมีปัญหาในการผ่อนบ้านผ่อนรถได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีปัญญาจ่ายค่าบ้านค่ารถเท่าไรให้จ่ายไปให้หมด เพราะว่าถ้าเราหมดหนี้เมื่อไรเราก็จะสบายแล้ว เพราะเมื่อทำงานมาได้เดือนๆ หนึ่งก็ไม่ต้องมาเจียดไว้ใช้หนี้ เรียกได้ว่า ไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐยังไงล่ะคะ

    แล้วก็จริงๆ ซะด้วยซิ ปูพยายามไม่ใช้ฟุ่มเฟื่อย ไม่เที่ยวได้เงินมาเท่าไรเก็บเงินอย่างเดียว โปะหนี้โปะสินเข้าไป ณ ตอนนั้น เป็นความเหนื่อยยากลำบากแสนสาหัสนัก เหมือนคนบ้าเลยล่ะ แต่พอทุกอย่างเข้าที่ไม่มีหนี้ให้ทุกข์ใจแล้ว ถึงได้คิดได้ว่ายอมลำบากซะตั้งแต่ตอนต้นน่ะดีแล้ว ดีกว่ามาลำบากเอาตอนแก่ๆ หรือตอนที่ชื่อเสียงเริ่มหายงานเริ่มหด เพราะถ้ามัวแต่เสวยสุขซะก่อน จะลำบากทีหลังสักแค่ไหน??? ล่ะเนี่ย

    [​IMG]

    เพราะมีตัวอย่างหลายคนทีเดียว ที่ตอนมีชื่อเสียงและเงินทองกลับหลงระเริงใช้จ่ายตามใจฉัน พอตอนดวงตกขาลงต้องไปขายของข้างถนนเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ไม่มีครอบครัวก็ดีไป ถ้ามีครอบครัวต้องรับผิดชอบด้วยแล้วจะทำกันยังไงล่ะเนี่ย และมีอีกหลายรายที่ตอนมีชื่อเสียงค่าตัวค่าตอนก็มากมาย ทำงานมาก็หลายสิบปี แต่ป่านนี้ก็ยังผ่อนบ้านผ่อนรถไม่หมดเลย ด้วยความที่เรื่อยเปื่อยไม่บริหารการเงินให้ดีจึงทำให้ลำบากได้ง่ายๆ

    เหมือนคนชอบมาถามปูอยู่บ่อยๆ ว่าเมื่อไรจะหมดเวรหมดกรรมซะที ปูก็อยากจะบอกว่า โธ่! ใช้กรรมตอนที่ยังเป็นหนุ่มๆ สาวๆ ยังดีซะกว่าสบายตอนนี้แล้วต้องไปชดใช้กรรมเอาตอนแก่ๆ ที่ไม่มีปัญญาไม่มีเรี่ยวแรงจะสู้กับปัญหาใดๆ แล้ว อันนั้นน่ะหนักกว่าซะอีกแหนะ!!

    [​IMG]

    นี่ก็ใกล้วันปิยะมหาราชแล้ว เลยอยากจะให้สังเกตอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเสด็จพ่อ ร.5 มีพี่สาวคนหนึ่งเขาเคยให้ปูสังเกตเลขท้ายบัตรประชาชนของคนไทยนี่แหละว่า ภายในตัวเลข 4 ตัวหลัง ถ้าใครมีเลข 5 อยู่มักจะต้องมีเรื่องเกี่ยวข้องกับ ร.5 อยู่เนืองๆ หรือตระกูลเคยรับราชการในสมัยนั้น ถ้าลึกลับหน่อยพี่เขาก็ว่าอาจจะเคยเกิดในสมัย ร.5 มาก่อน หรือเกี่ยวพันถึง อย่างเช่น ที่บ้านอย่างไรก็ต้องมีเสด็จพ่อ ร.5 ไว้บูชาอย่างแน่นอน

    [​IMG]

    แล้วก็เป็นสถิติจริงๆ ซะด้วยซิ เพราะว่าพอปูเริ่มสังเกตบนบัตรประชาชนของคนรอบข้างดูแล้ว 4 ตัวสุดท้ายของใครที่มีเลข 5 มักจะเกี่ยวข้องกับ ร.5 จริงๆ ถ้าจะว่าเป็นความบังเอิญ แล้วทำไมเกือบแทบทุกคนเลยที่ปูขอดูเลขบัตรของพวกเขาถึงมีความสัมพันธ์ที่คล้ายๆ กันล่ะ


    คุณผู้อ่านลองไปสังเกตของเพื่อนๆ ดูซิคะ พี่สาวคนนั้นเคยบอกว่า ถ้าใครมีเลข 5 อยู่ก็ควรจะบูชาเสด็จพ่อ ร.5 แล้วชีวิตจะดีขึ้นเอง ไม่เชื่อลองดู อันนี้ก็แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคลนะจ๊ะ

    [​IMG]

    สำหรับปูแล้วก็เห็นว่าอย่างไรคนไทยส่วนใหญ่ก็มักจะมีรูปของกษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะ ร.5 และ ร.9 ในหลวงอันเป็นที่รักของเราค่ะ


    [​IMG]


    -------------
    [​IMG]
    http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=13379

    รูปภาพประกอบจากอินเตอร์เนต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2008
  2. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,159
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,349
    สาธุๆๆ

    พระสยามิน ทะโร วะโร อัตตัง พุทธะสังฆิ ทิติ อรหัง
    วะรังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปิโยเทวา มนุสานัง
    ปิโย พรหมานะ มุตตะโม ปืนัน ทริยัง นะมามิหัง
     
  3. คุณจ๋า

    คุณจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +166
    เชื่อในองค์เสด็จพ่อ ร.5 ค่ะ ได้รับความเมตตามากับตัวเอง ได้ขอให้พระองค์เมตตาแล้วก้อประสบสิ่งที่อธิษฐานด้วยค่ะ
     
  4. พระคุณที่สาม

    พระคุณที่สาม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2008
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +47
    อนุโมทนาบุญค่ะ ดิฉันก็เป็นคนนึงที่มีเลขบัตรประชาชน 4 ตัวท้าย มีเลข 5 ค่ะ

    เป็นเลขแรกซะด้วย แล้วก็เข้าเรียนที่จุฬาจริง ๆ ด้วย สาธุ..ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

    จริง ๆ บูชาเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 เสมอค่ะ แต่จะบูชาในใจ ไม่มีรูปเหมือนหรือองค์ปั้น

    เห็นทีต้องหามาบูชาบ้างแล้ว... สาธุ
     
  5. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,270
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,079
    อนุโมทนาครับ สาธุ ผมก็เคารพศรัทธาในเสด็จพ่อ ร.5 เหมือนกันครับ ส่วนใหญ่จะไปไหว้ท่านที่ จุฬา เพราะเป็นส่วนตัวและไปสะดวกครับ
     
  6. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    เห็นด้วยกับข้อความนี้อย่างแรงครับ ยอมลำบากเสียตั้งแต่ต้น
    แล้วค่อยมาเก็บสอยผลประโยชน์ในระยะยาว ดีกว่ามาลำบากทีหลัง
    เห็นแบบนี้แล้วก็นึกถึงชีวิตตัวเองในวัยเด็ก ตอนเด็กผมเข้าเรียน
    ในชั้นการศึกษาที่สูงกว่าวัยก็เลยอายุน้อยที่สุดในห้องเสมอ
    ทำให้มักจะถูกรังแกเป็นประจำและไม่มีเพื่อน ก็เลยตัดสินใจ
    มุ่งเอาแต่เรียนอย่างเดียวไม่คบใคร จนกระทั่งได้เป็นถึงดั่งเช่นทุกวันนี้
    รู้สึกขอบคุณตัวเองในวัยเด็กมากเลยครับ
     
  7. เจริญใจ

    เจริญใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    926
    ค่าพลัง:
    +127
    คนข้างเคียงมีเลข 4 ตัวหลัง เป็น เลข 5 เหมือนกัน และเกิดวันที่ 23 ตุลาคม ด้วย
    ไม่เชื่ออย่าลบหลู่..ขอนอบน้อมบูชาเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง อนุโทนาสาธุ
     
  8. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    อืม... ความรู้ใหม่... พอมาพลิกบัตรประชาชนดู เลขสุดท้าย เป็นเลข 5...
    ปกติโดยส่วนตัว จะไปไหว้ท่านที่ กรมวังบวรสถานมงคล สี่แยกเกษะโกมล เพราะมีเทพารักษ์ ที่ย้ายมาจากศาลหลักเมืองสนามหลวง มาประดิษฐานไว้ที่นี่นานหลาย 40 ปี แล้ว...
     
  9. sunan

    sunan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +35
    สิ่งศ้กดิ์สิทธิ์นั้นมีจริง แต่จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่การกระทำของตัวบุคคลว่าบุคคลคนนั้นจะหมดบุญเมื่อไรกรรมที่เค้าสร้างมาในชาตินี้ เค้าก็จะรับกรรมๆนั้นหล่ะ แต่การกระทำในสิ่งที่ดีๆหรือการทำบุญกุศลในวาระต่างหรือทำบ่อยๆ บุญกุศลที่ได้ทำมาในชาตินี้ก็จะได้รับภายในชาตินี้เลยนะ เพราะสมัยนี้การพัฒนาของท่านยมฑูตหรือเทวดานั้นท่านได้ดำเนินการติดตั้งเอ็นเตอร์เน็ตแล้วนะ ไม่ต้องรอชาติหน้าแล้วหล่ะ ชาตินี้ท่านสามารถรู้หมดว่าบุคคลไหนทำดีหรือไม่ดี เพราะฉะนั้นเกิดมาเป็นมนุษย์ควรที่จะกระทำแต่ความดีหรือความถูกต้องงดเว้นความชั่วหรือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อิอิอิ ประวิติของ ร. 5
    อิติปิยะ อิมังพุธโธปิ กาถาพ่อปู ร.5


    พระที่นั่งอนันตสมาคม

    ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>

    เมื่อการก่อสร้างพระที่นั่งอัมพรสถานในเขตพระราชวังดุสิต แล้วเสร็จพุทธศักราช ๒๔๔๙ต่อมา พุทธศักราช ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งอีกองค์หนึ่งด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่นเดียวกับ พระที่นั่งในบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงวางพระศิลาฤกษ์พระที่นั่งองค์ใหม่นี้ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๑ เนื่องในรัชมงคลสมัยที่ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาครบ ๔๐ ปีบริบูรณ์ และได้พระราชทานชื่อพระที่นั่งว่า พระที่นั่งอนันตสมาคม ตามชื่อพระที่นั่งองค์เดิม ภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมยากแก่การบูรณะ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รื้อลงและสร้างเป็นสวน
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่<O:p></O:p>
    นั่งอนันตสมาคม ดังนี้<O:p></O:p>
    เจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม ) เป็นนายกองการจัดการก่อสร้าง<O:p></O:p>
    พระยาประชากรกิจวิจารณ์ ( โอ อมาตยกุล ) เป็นผู้ช่วย<O:p></O:p>
    นาย มาริโอ ตามาโย (Mario Tamayo) เป็นนายช่างออกแบบ<O:p></O:p>
    นาย อันนิบาลเล ริกอตติ(Annibale Rigotti) เป็นสถาปนิก<O:p></O:p>
    นาย คาร์โล อาร์เลกรี(Carlo Allegri) เป็นผู้ช่วยนายช่างใหญ่<O:p></O:p>
    นาย อี.ยี. กอลโล ( Mr. E.G Gallo ) เป็นวิศวกร<O:p></O:p>
    ศาสตราจารย์ แกลิเลโอ คินี(Galileo Chini)เป็นช่างเขียนภาพ<O:p></O:p>
    นายซี.ริโกลี ( Mr. C. Riguli ) เป็นช่างเขียนภาพ<O:p></O:p>
    พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรม แบบอิตาเลียน เรอเนสซองส์ ( Italian Renaissance ) และแบบนีโอคลาสสิก ( Neo Classic ) ภายนอกประดับด้วยหินอ่อนซึ่งสั่งมาจากเมืองคารารา ( Carara ) ประเทศอิตาลี<O:p></O:p>
    องค์พระที่นั่งเป็นอาคารหินอ่อนสองชั้น มีโดมสูงใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆ โดยรอบอีก ๖ โดม รวมทั้งสิ้นมี ๗ โดม ส่วนกว้างขององค์พระที่นั่ง ประมาณ ๔๙.๕๐ ม. ส่วนยาวประมาณ ๑๑๒.๕๐ ม. และส่วนสูงประมาณ ๔๗.๕๐ ม.<O:p></O:p>
    การก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมดำเนินมาถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อตามพระราชประสงค์



    สมาชิกควรใส่ที่มาอ้างอิงบทความว่าก็อปจากที่ไหน
     
  10. จรัล

    จรัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +405
    บัตรประชาชนผมสี่ตัวสุดท้ายมีเลข 5 สองตัวเลย ผมเชื่อครับว่าร.5 ท่านเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ที่สำคัญท่านมีวิสัยทัศน์กว้างไกล แต่เรื่องที่ว่าท่านลงมาประทับทรงอะไรนั้น ผมบอกตามตรงว่าไม่เชื่อเท่าไร แต่เชื่ออยู่ว่าทำไมไม่รู้เมื่อคืนอยู่ดีๆผมเกิดนึกเกิดฝันถึงคุณปูขึ้นมา ยังแปลกๆใจอยู่ พอเปิดเน๊ตก็พบกระทู้นี้ แต่ก็เลยไปเลยมาได้แต่คิดว่าจะเข้ามาดูแต่ก็ยังไม่ได้เข้า พอเข้ามาก็เจอพบคุณปูนี่แหละแปลกๆน่ะ
     
  11. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    ขออนุโมทนากับบทความที่มีสาระประโยชน์นี้ค่ะ
    ปกติไหว้พระองค์ท่านทุกวันอังคารค่ะ
     
  12. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    [​IMG]



    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕



    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณ
    ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD vAlign=top>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ [​IMG]




    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์ มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระมเหสี และ เจ้าจอมมารดา เพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ ไม่มี พระราชโอรส ธิดา เลย สำหรับพระมเหสี ที่สำคัญ จะกล่าวถึง มีดังนี้
    ๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก) หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม เรือที่เสด็จได้ล่มลง ทำให้ต้องสิ้นพระชนม์ พร้อมกับ พระธิดา ที่มีพระชนมายุ เพียง ๒ พรรษา เท่านั้น ส่วน สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี มีพระชันษา ย่างเข้า ๒๑ พรรษา (๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน ) และกำลังทรงพระครรภ์ ๕ เดือน อุบัติเหตุ เกิดที่ บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓

    ๒. สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (อัครมเหสีองค์ที่ ๒) พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน) สิ้นพระชนม์เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา

    [​IMG] ๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงเป็น พระชนนี ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้รับพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จ ประพาสยุโรป ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระองค์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อ วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ ปี

    [​IMG] สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง ๔๒ ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา ๔๒ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคนพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้านอีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน

    [​IMG] การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด

    ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์

    ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย

    สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง

    ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ

    คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา[​IMG]

    สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย

    วันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.

    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.culture.go.th/knowledge/vid/rama5/file01.htm

    [​IMG] อนุโมทนา สาธุ กับผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีทุกๆท่านด้วยครับ


    [music]http://palungjit.org//attachment.php?attachmentid=427046&stc=1&d=1224649609[/music]

    [​IMG] รายการตามรอยพระราชวงศ์จักรี managerradio.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 ตุลาคม 2008
  13. ROJCHANA

    ROJCHANA สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2008
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +5
    ไม่อยากเชื่อเลย ของเราก็มีเลข 5 เหมือนกัน แต่บูชาท่านมานานมากแล้ว
     
  14. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    [​IMG]

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กับ เสด็จพ่อ ร.๕


    [​IMG]

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ในขณะที่พระองค์ได้บรรพชาเป็นสามเณร ได้เสด็จมาพร้อม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๔ ในคราวที่ได้ขึ้นมานมัสการ พระพุทธชินราช และ พระพุทธชินสีห์ ณ เมืองพิษณุโลก พระองค์ได้แวะนมัสการพระ ณ วัดโพธิ์ประทับช้าง ในครั้งนั้นด้วย เนื่องด้วยเป็น วัดที่สร้างโดย สมเด็จพระเจ้าเสือ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา


    [​IMG]

    เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ พระพุทธเจ้าหลวง (ร.๕)ได้เสด็จเมืองพัทลุงพร้อมพระโอรส ๗ พระองค์ ได้เสด็จฯไปยังเกาะรังนก อ.ปากพยูน(เกาะสี่ เกาะห้า) และแวะขึ้นไปประทับบนเขาชัน เพื่อจับกระจง นำไปเลี้ยงที่กรุงเทพฯ ในการเสด็จหัวเมืองพัทลุงในครั้งนี้ เกิดเรื่องราวเล่าขานตำนาน "เงาะป่า" คนังเงาะน้อยให้ได้อ่านกันในเวลาต่อมา...

    [​IMG]

    พศ. ๒๔๓๓ พระราชพิธีสรงน้ำ พระราชโอรส พระราชธิดา ที่ทรงรับพระราชทานโสกันต์ (โกนจุก) ณ เขาไกรลาส ในสวนขวา พระบรมมหาราชวัง ส่วนบุคคลที่ยืนหันหลังให้กล้องอยู่ คือ ร.๕ นะครับ


    [​IMG]

    ๒๐ มกราคม พศ. ๒๔๓๓ พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกของสยามประเทศ

    เพิ่มเติม (ขออภัยเกี่ยวกับ คำราชาศัพท์) : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ ร.๕ กับ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี, เสด็จทิวงคต ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๖ พรรษา ๖ เดือน กับ ๗ วัน

    พระองค์ทรงมีพระอนุชาแท้ๆ พระองค์หนึ่งนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ดังนั้น พระองค์จึงทรงเป็นพระปิตุลา (ลุง) ของในหลวง ร.๙ นะครับ

    ภาพนี้ ฉาย ณ เกยพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทพระบรมมหาราชวัง


    [​IMG]

    Seated from left to right, Crown Prince Maha Vajirunhis of Siam, the Tsarevich Nicholas Aleksandrovich of Russia, King Chulalongkorn (Rama V) Grand Duke George Aleksandrovich, younger brother of the Tsarevich, Prince Chaturanta Rasmi, younger brother of the King. (See close-up below) This was taken when the Tsarevich made a visit to Siam in March 1891, taken at Bang Pa-in Summer Palace.

    [​IMG]


    [​IMG]อนุโมทนา สาธุ กับข้อมูลและรูปภาพจาก Internetครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 ตุลาคม 2008
  15. นาย เอ

    นาย เอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +535
    ขอกราบบูชาระลึกถึงพระบารมีพระเมตตาขององค์ท่านด้วยเทอญ
     
  16. สัทธาธิกะ

    สัทธาธิกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +373
    อนุโมทนาครับ !!
    เลข 4 ตัวท้ายในบัตรประชาชนของผมก็มีเลข 5 ครับ

    [​IMG]

    พระสยามมินโธ วะโรอิติ พุทธสังมิ อิติอรหัง
    สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโม พุทธายะ
     
  17. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    หลวงปู่มั่นท่านกล่าวว่า "..พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ท่านเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร..."
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้และคุณปูโลกเบี้ยวด้วยนะคะ เป็นคนหนึ่งเหมือนกันค่ะที่ศรัทธาท่านมาก และตัวเองกับสามีก็มีเลขท้ายสามตัวสุดท้ายในบัตรประชาชน เป็นเลขเดียวกัน และเลขสองตัวสุดท้ายคือเลข 55 เหมือนกัน เป็นเรื่องแปลกนะคะ และก่อนที่จะเป็นแฟนกัน มีคนแนะนำให้ไปอธิษฐานที่ลานพระรูปขอสิ่งที่ปรารถนา ก็ไปค่ะไปอธิษฐานจิตต่อหน้าท่านว่า ถ้าจะเจอคนที่ใช่ก็ขอให้เป็นคนที่เราพอใจ รักเรามากและรักครอบครัวเรา ขอให้เป็นคู่ทุกข์คู่ยากของเราจนแก่ตายกันไปข้างหนึ่ง แต่ในใจตอนนั้นมีแต่เพื่อนกันหมดเลยไม่รู้คนไหนใช่ ไม่ใช่ จากนั้นไม่นาน คนที่อยู่ในกลุ่มเพื่อนนั่นแหละค่ะ ก็กลายมาเป็นสามีในปัจจุบัน วันที่พาเขาไปไหว้บูชาท่าน เขาก็งงว่าพาเขามาทำไม พอเล่าให้ฟังก็หัวเราะกันใหญ่ เขาบอกว่านี่เธอขอฉันมาเหรอ
    และทุกครั้งที่ดิฉันเห็นภาพท่าน รู้สึกได้ถึงพระเมตตาของพระองค์ที่มองมายังดิฉัน และจะมีอาการขนลุกทุกครั้งเลยค่ะ อีกอย่าง ดิฉันจะได้ ภาพ หรือ กาย หรือ เหรียญท่าน มาบ่อยๆ โดยไม่ต้องไปซื้อหาเลยค่ะ ดิฉันเชื่อและศรัทธาในพระบารมีของพระองค์มากๆ ค่ะ
     
  19. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG][​IMG] ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG][​IMG]
     
  20. wong3210

    wong3210 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    553
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,392
    พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสวยราชย์

    พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนเสวยราชย์

    [​IMG]


    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ซึ่งปรากฏพระนามโดยพระเกียรติยศต่อมาว่า สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนี พระองค์เสด็จสมภพเมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๒๑๕ พ.ศ. ๒๓๙๖ เทียบปฏิทินทางสุริยคติ ตรงกับวันที่ ๑๐ กันยายน คริสตศักราช ๑๘๕๓ พระองค์มีพระกนิษฐา พระอนุชาร่วมสมเด็จพระบรมราชชนนี ๓ พระองค์ คือ


    [​IMG] [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

    ๑. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล ประสูติเมื่อ ณ วันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๘ เมษายน) ปีเถาะสัปตศก จุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ. ๒๓๙๘ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕ พ.ศ. ๒๔๐๖ ในมารัชกาลที่ ๕ เฉลิมพระนามพระอัฐิเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงวิสุทธิกระษัตรีย์ พระองค์หนึ่ง

    ๒. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ประสูติเมื่อ ณ วันอังคาร เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑๔ มกราคม) ปีมะโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ ในรัชกาลที่ ๕ เป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง แล้วเลื่อนเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑๑ เมษายน) ปีชวดโทศก จุลศักราช ๑๒๖๒ พ.ศ. ๒๔๔๓ พระองค์หนึ่ง

    ๓. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ประสูติเมื่อ ณ วันพุธ เดือนยี่ แรม ๔ ค่ำ(ตรงกับวันที่ ๑๓ มกราคม) ปีมะแมเอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑ พ.ศ. ๒๔๐๒ ในรัชกาลที่ ๕ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงภาณุพันธูวงศ์วรเดช แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เลื่อนพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข ครั้นถึงรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาพระเกียรติยศ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ต่อมาเสด็จทิวงคตในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระองค์หนึ่ง

    พระตำหนักเดิมอันเป็นมงคลสถานที่พระบรมราชสมภพ และที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่ฝ่ายใน อยู่ตรงที่สร้างพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และท้องพระโรงกลางข้างหลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาททุกวันนี้ พระตำหนักนี้ เดิมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้นสมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคตแล้ว จึงพระราชทานแด่พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงลม่อม อันเป็นพระขนิษฐาภคินีร่วมเจ้าจอมมารดากับกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์

    ถึงปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔ สมเด็จพระชนนีทรงประชวร สวรรคตเมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ เวลานั้นสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมายุได้ ๙ พรรษา แต่นั้นพระองค์เจ้าลม่อมก็ทรงอุปการะทำนุบำรุงแทนสมเด็จพระชนนีสืบมา ตลอดจนถึงเวลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกไปประทับข้างฝ่ายหน้า พระองค์เสด็จออกไปอยู่ด้วย


    [​IMG]
    พระองค์เจ้าหญิงลม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

    ในปีระกาตรีศกนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชันษาถึงกำหนดรับพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามตามจารีตเจ้าฟ้าในโบราณราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๔แรม ๕ ค่ำ มีกระบวนแห่อย่างโสกันต์กระบวนใหญ่ ตั้งแต่พระราชมณเฑียรข้างในออกประตูราชสำราญ เดินกระบวนตามถนนริมกำแพงพระบรมมหาราชวัง มาจนประตูวิเศษไชยศรี เลี้ยวเข้าประตูพิมานไชยศรี ไปยังพระมหาปราสาท ทรงสดับพระสงฆ์สวดพระปริต

    [​IMG]

    ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้า แห่เสด็จมายังพระมหาปราสาท ครั้นได้พระฤกษ์เสด็จสู่ที่สรง ทรงเครื่องแล้วเสด็จประทับบัลลังก์ในที่มณฑลพิธี จึงพระศรีสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์อ่านประกาศพระบรมราชโอการ มีคำประกาศดังนี้


    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาลเป็นอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๐๔ พรรษา ลุศักราช ๑๒๒๓ ปัตยุบันกาลกุกุฏสังวัจฉรผคุณมาศ กาลปักษ์ ฉัฐยดิถี ศุกรวาร บริเฉทกาลกำหนด


    <CENTER>

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯลฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ เมื่อเวลาประสูติใหม่ ท่านเสนาบดีทั้งปวงได้พร้อมกันกราบทูล ขอยกย่องให้เป็นพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า เพื่อรักษาแบบอย่างบุราณราชประเพณีไว้ ไม่ให้เสื่อมสูญ แต่ยังหาได้พระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามไม่ ครั้งนี้จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้เลื่อนเฉลิมพระนามพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่นั้น ให้เป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร และให้เป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีนามกรมว่า กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ ได้ทรงศักดินา ๔๐๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า ขออาราธนาเทพยดา ผู้มีมเหศวรศักดิ์อันประเสริฐ ซึ่งสถิตดำรงอยู่ในภูมิพฤกษอากาศ กาญจนรัตนพิมานทั่วทุกแหล่งหล้าเป็นอาทิ คือเทพยอันทรงนามสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นอธิบดีได้บริรักษ์บำรุงกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยานี้ และเทพยเจ้าผู้อภิบาลรักษานพปฎลเศวตฉัตร ศิริรัตนราชราไชสวริย และเทพยอันรักษารัตนบัลลังก์พระที่นั่งบรมอาสน์ใหญ่น้อย ในพระราชนิเวศน์บรมมหาสถานทุกตำบล ทั้งเทพยเจ้าอื่นๆ ผู้มีทิพยานุภาพมหิทธิฤทธิ์ สิงสถิตในภูมิลำเนาแนวพฤกษบรรพตากาศพิมาน ทุกสถานทั่วพระราชอาณาจักร บรรดาซึ่งมีไมตรีจิตได้ผดุงบริรักษ์พระบรมราชวงศ์นี้สืบมาจนกาลบัดนี้ จงได้ทำนุบำรุงรักษาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้ ให้ทรงเจริญพระทฤฆชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลเกียรติยศอิสริยศักดิเดชานุภาพทุกประการ ทำราชการสนองพระเดชพระคุณ โดยสมควรแก่ความเป็นในพระราชตระกูลอันสูงศักดิ์ในบรมราชวงศ์นี้ ขอให้พระเกียรติคุณอดุลยยศปรากฏไปสิ้นกาลนานเทอญ.



    </CENTER><CENTER>อนึ่งเมื่อทรงพระกรุณาโปรดให้มีอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมพระองค์นึ่งแล้ว ดังนี้
    ให้ทรงตั้งเจ้ากรม เป็นหมื่นพิฆเณศวรสุรสังกาศ ถือศักดินา ๘๐๐
    ให้ทรงตั้งปลัดกรม เป็นหมื่นวรราชบุตรารักษ์ ถือศักดินา ๖๐๐
    ให้ทรงตั้งสมุหบัญชี เป็นหมื่นอนุรักษาพลสังขยา ถือศักดินา ๓๐๐
    ให้ผู้ที่ได้รับตำแหน่ง ๓ นี้ ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยผาสุกสวัสดิ์ทุกประการเทอญ</CENTER>เมื่ออาลักษณ์อ่านประกาศแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานอภิเษก ด้วยน้ำพระมหาสังข์ และทรงเจิมแล้ว จึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนาม และพระราชทานเครื่องยศทองคำลงยาราชาวดีอย่างเจ้าฟ้าต่างกรม อันเป็นพระอัครราชวโรรส คือพานพระศรี พระเต้าน้ำ พระสุพรรณศรี พระมาลากับเครื่องทรงอย่างเทศ นอกจากนั้น มีของพระขวัญซึ่งพระราชทานเป็นสิ่งพิเศษครั้งนั้น คือพระสังวาลพระนพองค์น้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จเป็นจอมพลไปเตรียมสู้พม่าที่เมืองกาญจนบุรี ๑ พระธำมรงค์นพเก้าเครื่องต้น ๑ พระแสงกระบี่ทรงเดิมเครื่องทองลงยาราชาวดีศีรษะนาคส้นปรุ เรียกกันว่ากระบี่อิเหนา ๑ พระแสงกั้นหยันฝักทองลงยาราชาวดี ๑ พระวอประเวศวังของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมื่อยังเป็นกรม ๑

    แล้วเสด็จลงมาแต่งพระองค์ที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ ทรงฉลองพระองค์กับพระมาลาสำหรับยศซึ่งได้พระราชทาน และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดพระราชทาน พระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์เครื่องต้นเฉียงซ้าย ทรงพระสังวาลเพชรของเดิมเฉียงขวา เหน็บกระบี่กั้นหยันซึ่งได้พระราชทาน แห่กลับคืนเข้าพระราชวังชั้นใน ครั้นเวลาบ่ายแต่งพระองค์ทรงเครื่องต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระมงกุฎดอกไม้ไหว และพระแสงตรีเพชรให้ทรงเหน็บแห่มาสมโภช และพระราชทานของขวัญที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทอีกเวลา ๑ จึงเป็นเสร็จพิธี

    เมื่ออาลักษณ์อ่านประกาศแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานอภิเษก ด้วยน้ำพระมหาสังข์ และทรงเจิมแล้ว จึงพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนาม และพระราชทานเครื่องยศทองคำลงยาราชาวดีอย่างเจ้าฟ้าต่างกรม อันเป็นพระอัครราชวโรรส คือพานพระศรี พระเต้าน้ำ พระสุพรรณศรี พระมาลากับเครื่องทรงอย่างเทศ นอกจากนั้น มีของพระขวัญซึ่งพระราชทานเป็นสิ่งพิเศษครั้งนั้น คือพระสังวาลพระนพองค์น้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จเป็นจอมพลไปเตรียมสู้พม่าที่เมืองกาญจนบุรี ๑ พระธำมรงค์นพเก้าเครื่องต้น ๑ พระแสงกระบี่ทรงเดิมเครื่องทองลงยาราชาวดีศีรษะนาคส้นปรุ เรียกกันว่ากระบี่อิเหนา ๑ พระแสงกั้นหยันฝักทองลงยาราชาวดี ๑ พระวอประเวศวังของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมื่อยังเป็นกรม ๑แล้วเสด็จลงมาแต่งพระองค์ที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ ทรงฉลองพระองค์กับพระมาลาสำหรับยศซึ่งได้พระราชทาน และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดพระราชทาน พระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์เครื่องต้นเฉียงซ้าย ทรงพระสังวาลเพชรของเดิมเฉียงขวา เหน็บกระบี่กั้นหยันซึ่งได้พระราชทาน แห่กลับคืนเข้าพระราชวังชั้นใน ครั้นเวลาบ่ายแต่งพระองค์ทรงเครื่องต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระมงกุฎดอกไม้ไหว และพระแสงตรีเพชรให้ทรงเหน็บแห่มาสมโภช และพระราชทานของขวัญที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทอีกเวลา ๑ จึงเป็นเสร็จพิธี


    ในปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าลูกยาเธอชายหญิงอีกหลายพระองค์ พระชันษาสมควรจะทรงเล่าเรียนความรู้ชั้นสูงขึ้นไปได้ ทรงพระราชดำริเห็นแน่ในพระราชหฤทัยว่า ความรู้ภาษาฝรั่งเป็นวิชาซึ่งจำเป็นสำหรับราชการต่อไปภายหน้า แต่ยังมิใคร่มีใครเอาใจใส่ให้ลูกหลานเล่าเรียน จึงมีรับสั่งให้สืบหาครูฝรั่งที่เมื่อสิงคโปร์ ได้หญิงอังกฤษชาวแคนาดาคนหนึ่งชื่อนางลิโอโนเวนซ์ เป็นครูสอนลูกผู้ดีอยู่ที่เมืองสิงคโปร์ รับจะเข้ามาสอนภาษาอังกฤษแก่พระเจ้าลูกเธอ จึงโปรดให้ว่าจ้าง เข้ามาถึงกรุงเทพ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๕ โปรดให้นางลิโอโนเวนซ์เข้ามาสอนที่พระที่นั่งทรงธรรม ในพระบรมมหาราชวัง สอนเฉพาะเวลาก่อนเจ้านายเสด็จขึ้นเฝ้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียนภาษาอังกฤษในสำนักนางลิโอโนเวนซ์อยู่จนทรงผนวชเป็นสามเณร ครั้นเมื่อเสด็จออกไปอยู่ฝ่ายหน้าแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หมอจันดเลอ อเมริกันมาเป็นครู ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษต่อมาจนสิ้นรัชกาล

    [​IMG]

    ถึงปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชันษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงกำหนดโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้จัดการพระราชพิธี มีเขาไกรลาสและกระบวนแห่เต็มตามตำราอย่างโสกันต์เจ้าฟ้า พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ตั้งต้น ณ วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แห่เสด็จมาสดับพระพุทธมนต์ ๓ วัน ถึงวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ เวลาเช้า โสกันต์แล้ว โปรดให้ทรงพระมาลาเพชรน้อยเครื่องต้น และพระราชยานไปยังที่สรง ณ สระอโนดาตที่เขาไกรลาส เสร็จสรงทรงเครื่องแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม เจ้าพระยาภูธราภัยที่สมุหนายก จูงพระกรขึ้นเขาไกรลาส สมมตตามพิธีพราหมณ์ว่าขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร แต่รัชกาลก่อนเคยโปรดให้พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ทรงทำพิธีเป็นพระอิศวร แต่ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสมมตเป็นพระอิศวรเอง ครั้นโสกันต์แล้ว เวลาบ่ายแห่ไปสมโภชที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทอีกสามวัน ในการแห่สมโภชนั้นโปรดให้ทรงพระที่นั่งพุดตาน และมีกลองชนะทองเงิน แห่เหมือนกระบวนเสด็จพยุหยาตรา การโสกันต์ใหญ่มีเขาไกรลาสเคยมีมาในกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๑ ทำเมื่อโสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในรัชกาลที่ ๑ ครั้งที่ ๒ เมื่อโสกันต์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ทำเมื่อโสกันต์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ทำเลย ครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่ ๔

    ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรวัณโรคเรื้อรังมาหลายปี พระอาการทรุดหนักลงเมื่อจวนงานโสกันต์คราวนี้ แต่แรกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะรองานพระราชพิธีโสกันต์ แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทูลขอให้คงงานไว้ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหลานเธอซึ่งพระองค์ทรงพระเมตตามาก กราบทูลว่าถ้างดงานโสกันต์ไว้ พระองค์จะมิได้มีโอกาสสมโภช ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้คงมีงานโสกันต์ตามกำหนดฤกษ์ เมื่อถึงวันงาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ลงมากราบทูลว่า จะเสด็จลงมาจรดพระไกรกรรประทานเอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบอยู่ว่า พระอาการเพียบคงเสด็จมาไม่ได้ แต่ก็ต้องดำรัสสั่งให้ทอดที่ราชอาสน์เตรียมไว้ ด้วยเกรงพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พอเสร็จงานถึงวันลอยพระเกศา เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็สวรรคต


    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เป็นเหตุสำคัญในเรื่องพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อก่อนเสวยราชย์ ด้วยก่อนนั้นมาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ในฐานเป็นรัชทายาท ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตลง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวคงเสด็จขึ้นครองแผ่นดินโดยไม่มีปัญหา แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงเตรียมการไว้อย่างนั้น โดยไม่ทรงประมาท

    การที่โปรดให้สร้างพระราชวังนันทอุทยาน ก็ด้วยทรงพระราชปรารภว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงครองราชสมบัติ ถ้าพระราชโอรสธิดาของพระองค์คงประทับอยู่ที่ในพระบรมมหาราชวังบางทีจะกีดขวาง จึงทรงกะแผนผังพระราชวังนันทอุทยาน ให้สร้างตึกเป็นพระที่นั่งหมู่หนึ่งต่างหาก หมายจะพระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระกนิษฐาด้วยกันต่อไป และพื้นที่ต่อออกไปในเขตนันทอุทยานโปรดให้สร้างตำหนักข้างในอีกหลายหมู่ หมู่หนึ่งหมายจะพระราชทานให้เป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกเธอในเจ้าจอมมารดาคนหนึ่ง เตรียมไว้ดังนี้

    การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนฐานะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอยู่ในที่รัชทายาท ด้วยเป็นสมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เพราะฉะนั้นบรรดาการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริเตรียมไว้แต่เดิม ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นหมด เมื่อพิเคราะห์ดูตามทางพระราชปฏิบัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งปรากฏสมัยต่อมา ดูเหมือนครั้งนั้นความที่ทรงยินดีอันย่อมบังเกิดโดยธรรมดา ด้วยสมเด็จพระปิยราชโอรสจะเป็นรัชทายาท จะไล่เลี่ยกับพระปริวิตกที่เกิดขึ้น

    เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเยาว์ และส่วนพระองค์เองพระชันษากว่า ๖๐ ปี เข้าเขตทรงพระชราแล้ว เห็นจะทรงพระราชดำริเป็นยุติมาแต่แรก ว่าถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับรัชทายาทได้โดยมั่นคง จึงจะทรงมอบเวนพระราชสมบัติพระราชทาน ถ้าหากจะไม่ทรงสามารถปกครองแผ่นดินได้มั่นคงไซร้ อย่าเพ่อให้ทรงครองราชสมบัติจะดีกว่า แต่ในเวลานั้นยังไม่จำเป็นจะต้องประกาศสถาปนาตำแหน่งรัชทายาท จึงเป็นแต่ทรงเตรียมการต่อมาโดยลำดับ

    ถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นกำหนดซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการตามแบบเจ้าฟ้าทรงผนวช เหมือนอย่างครั้งพระองค์ทรงผนวชเป็นสามเณรในรัชกาลที่ ๒ คือ เมื่อวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น๖ ค่ำ ทำพระราชพิธีสมโภชที่พระที่นั่งอนันตสมาคม และตรงที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับหน้าบายศรีนั้น ให้ทำเพดานระบายดอกไม้สดมีเสาตั้ง ๔ เสา ตั้งเครื่องยศ ๒ ข้าง และให้เชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไปประดิษฐานบนพระที่นั่งเศวตฉัตรเป็นส่วนพิเศษด้วย
    รุ่งขึ้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ โปรดให้แต่งพระองค์ทรงเครื่องต้นอย่างขัตติยราชกุมาร ทรงพระชฎาห้ายอด ทรงพระยานมาศจากพระที่นั่งอนันตสมาคมออกประตูเทวาพิทักษ์แห่ไปทางถนนเจริญกรุง ถนนเฟื่องนคร เลี้ยวกลับทางถนนบำรุงเมือง เข้าประตูสวัสดิโสภา ประทับพลับพลาเปลื้องเครื่องหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผลัดเครื่องทรงและทรงโปรยทานแล้ว เสด็จเข้าในพระอุโบสถ ทรงพระเสลี่ยงกงผูกหาม ๔ คน เข้าไปจนกำแพงแก้ว แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจูงพระกรเข้าในพระอุโบสถ ทรงสักการบูชาพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตแล้ว

    ทรงบรรพชาตามพระวินัยบัญญัติต่อคณะสงฆ์ ๓๐ รูป มีพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นรังษีสุริยพันธุ์<SUP> </SUP>เป็นพระอุปัชฌาย์ ทั้งส่วนทรงรับพระสมณาคม และรับศีล และเริ่มรับนิสัยเป็นครั้งแรกที่จะมีในการบรรพชาสามเณร อนึ่งโปรดให้ยกเพดานระบายดอกไม้สดเมื่อสมโภชนั้นมาตั้งถวายพระสงฆ์ในที่ทรงบรรพชาด้วย ครั้นทรงผนวชแล้ว โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่งพระองค์อย่างราชกุมาร แล้วเสด็จประทับอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีศาสดารามคืนหนึ่ง ด้วยเย็นวันนั้นมีการฉลองพระสงฆ์ ๓๐ รูปที่นั่งหัตถบาสสวดมนต์ที่ในพระอุโบสถ

    รุ่งขึ้น ณ วันศุกร์ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ เลี้ยงพระแล้ว จึงทรงรถพระที่นั่งกับสมเด็จพระชนกนาถ มีกระบวนแห่ไปส่งเสด็จ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดให้เสด็จประทับอยู่ที่พระปั้นหยา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประทับอยู่เมื่อครั้งทรงผนวช ทรงรับโอวาทและเล่าเรียนพระธรรมวินัยในสำนักกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ต่อมา และโปรดให้หลวงราชาภิรมย์ (ชู ซึ่งภายหลังได้เป็นพระมหาราชครูมหิธร) เป็นอาจารย์ หัดทำนองเทศน์มหาชาติกัณฑ์สักบรรพ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่โดยเฉพาะ

    [​IMG]
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัชฌาย์

    วันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำ โปรดให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ต่อมา เพื่อประโยชน์ในการทรงศึกษา จนถึงเดือนยี่ ปีขาลนั้นจึงได้ลาผนวช รวมเวลาทรงผนวชอยู่ ๖ เดือน

    ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลาผนวชมาประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฝึกหัดราชการกวดขันขึ้น คือนอกจากที่เสด็จไปเฝ้าและตามเสด็จโดยปกติ เวลากลางคืนถ้าทรงพระราชวินิจฉัยข้อราชการ หรือทรงประพฤติพระราชกรณีย์โดยลำพัง ก็มีรับสั่งให้หาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเข้าไปปฏิบัติประจำพระองค์ ให้ทรงฟังพระบรมราโชวาทและพระบรมราชาธิบายในราชการและราชประเพณีต่างๆ เสมอ เฝ้าอยู่จนราวเที่ยงคืนบ้าง บางทีก็ดึกกว่านั้น จึงได้เสด็จกลับออกมายังพระตำหนัก นอกจากนั้นมักโปรดให้เป็นผู้เชิญกระแสรับสั่งแจ้งพระราชประสงค์ หรือทรงหารือข้อราชการไปยังเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เวลาเช้าต้องทรงเสด็จข้ามไปบ้านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เนืองๆ

    ตามเรื่องพระราชประวัติแสดงมา พึงเห็นได้ว่า พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญขึ้นตามทางพระราชประสงค์แห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นอันดับมา จนไม่มีผู้ใดจะคิดเห็นว่าผู้อื่นจะเป็นรัชทายาท ถึงกระนั้นก็ดี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้สิ้นทรงพระปริวิตก เพราะเหตุซึ่งต้องทรงพระปริวิตกมีอยู่ คือ ถ้าหากพระองค์สวรรคตลงก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชันษาสมบูรณ์ ถึงจะได้ทรงรับรัชทายาท ก็จะต้องมีผู้อื่นว่าราชการแผ่นดินแทนพระองค์ การอันนี้ยังมิได้เคยมีแบบอย่างในกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ปรากฏในเรื่องพระราชพงศาวดารครองกรุงศรีอยุธยา เคยมีพระเจ้าแผ่นดินทรงพระเยาว์ต้องมีผู้ว่าราชการแทน ๕ ครั้ง พระเจ้าแผ่นดินก็ถูกปลงพระชนม์บ้าง ถูกกำจัดจากราชสมบัติบ้าง ไม่เคยอยู่ได้ยั่งยืนเลยสักพระองค์เดียว

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงประมาทต่อเหตุการณ์ ได้ทรงพระราชดำริป้องกันด้วยพระบรมราโชบายอันสุขุมคัมภีรภาพ ด้วยครั้งนั้นรู้อยู่เป็นแน่ว่า ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตลงในเวลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังหย่อนพระชันษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์คนเดียว ที่สามารถจะเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพราะเหตุนี้ถึงมีใครๆ กราบบังคมทูล แสดงความรังเกียจ ก็ไม่ทรงนำพา กับทรงปรึกษาหารือกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ตามตรง ให้ช่วยคิดอ่านรักษาความเป็นอิสระของประเทศ ในเมื่อเหตุการณ์เช่นนั้นหากจะเกิดขึ้น และได้ทรงไต่ถามทราบความคิดของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์อยู่แล้วทุกประการ เพราะฉะนั้นเมื่อใกล้จะเสด็จสวรรคต บางคราวพระราชหฤทัยหวนห่วงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดเคลือบแคลงก็ดำรัสถามว่ายังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่หรือ ครั้นทรงทราบว่ายังเสด็จอยู่ ก็ห่วงต่อไปถึงการจะทรงรับรัชทายาท เกรงจะไม่มั่นคง ดังมีพระราชดำรัสแก่พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ ในที่สุดพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้พระราชวงศ์และเสนาบดีปรึกษาพร้อมกันแล้วแต่จะเลือกเจ้านายพระองค์ใดให้รับราชสมบัติ

    เมื่อคิดวินิจฉัยดูว่า เหตุใดจึงโปรดให้เลือกรัชทายาท และมิได้ทรงมอบเวนราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่าน่าจะเป็นด้วยทรงพระราชดำริเป็น ๒ อย่าง คือ ประการที่ ๑ ทรงพระราชดำริว่า ความมั่นคงของประเทศสยามสำคัญยิ่งกว่า เพียงพระองค์จะได้ความพอพระราชหฤทัยเพราะพระราชปิโยรสได้รับรัชทายาท ประการที่ ๒ ถ้าหากให้พระราชวงศ์กับเสนาบดีพร้อมใจกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งน่าจะทรงเชื่ออยู่ว่าคงจะเป็นอย่างนั้นยิ่งกว่าอย่างอื่น) ทั้งพระราชวงศ์และเสนาบดีมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์โดยเฉพาะ จะได้รู้สึกเป็นหน้าที่และรับความผิดชอบ ที่จะต้องช่วยกันอุปถัมภ์บำรุงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเต็มกำลัง เพราะได้พร้อมกันเลือกสรรเองดังนี้

    และการที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เลือกรัชทายาทนั้น ก็ไม่ผิดราชประเพณีซึ่งเคยมีมา ตั้งแต่เมื่อจะสิ้นรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอาการประชวรไม่สามารถจะตรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติ พระราชวงศ์กับเสนาบดีก็ได้ปรึกษาพร้อมกัน ถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาครั้ง ๑ มาถึงเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรใกล้จะเสด็จสวรรคต ก็มีพระราชดำรัสสั่งแก่พระราชวงศ์และเสนาบดี ว่าแล้วแต่จะพร้อมกันถวายแก่พระราชวงศ์พระองค์ใด จึงได้ปรึกษาพร้อมกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์นับเป็นครั้งที่ ๒ จึงทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่โปรดให้เลือกรัชทายาทนั้น ไม่เป็นการแปลกประหลาดหรือฝ่าฝืนราชประเพณีอย่างหนึ่งอย่างใด


    [​IMG]

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ประทับที่พระตำหนักสวนกุหลาบนั้น มีแพเป็นที่เสด็จประพาส<SUP> </SUP>จอดไว้ที่ข้างใต้ท่าราชวรดิตถ์หลังหนึ่ง ด้วยในสมัยนั้นในกรุงเทพ ยังมีถนนใช้รถได้ไม่กี่สาย ที่สโมสรของผู้ดียังอยู่ทางแม่น้ำและมักชอบเที่ยวเตร่ทางเรือตามแบบโบราณ ผู้มีบรรดาศักดิ์มักมีแพเป็นที่พักและที่พบปะมิตรสหาย แต่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบในสมัยนั้น ก็เป็นที่ประชุมของเจ้านายและข้าราชการชั้นหนุ่มๆ คล้ายกับเป็นสโมสรสถานอันหนึ่ง ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัยโอบอ้อมอารี โปรดการสมาคมกับผู้อื่นมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว

    บรรดาพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติภายหลังสมเด็จพระบรมชนกนาถเสวยราชย์ ล้วนเคยรักใคร่นับถือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหัวหน้า มาตั้งแต่ทรงจำความได้ทุกพระองค์ พอพ้นเวลาเฝ้าสมเด็จพระบรมชนกนาถต่างก็ติดตามออกไปเฝ้าแหนเล่นหัว และโดยเสด็จประพาสไม่ขาด<SUP> </SUP>ส่วนเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์เป็นต้น ก็โปรดเสด็จไปที่พระตำหนักสวนกุหลาบ ด้วยชอบพระอัธยาศัยกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้หม่อมเจ้าต่างกรมทั้งชั้นผู้ใหญ่และชั้นที่ยังเยาว์ก็มีไปเฝ้าไม่ขาด แต่ข้าราชการที่หมั่นไปสวนกุหลาบนั้นมักเป็นพวกข้าราชการในพระราชสำนักเป็นพื้น

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จอยู่ ณ พระตำหนักสวนกุหลาบนั้น มีพระธิดากับหม่อมราชวงศ์แขพระองค์ ๑ (คือพระองค์เจ้าผ่อง) ประสูติที่วังเดิมของกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม ๘ ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๑๐ แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานคุณแพ ธิดาพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ (วอน บุนนาค) เป็นอัครบริจาริกา มีพระธิดา (เมื่อในรัชกาลที่ ๔) พระองค์ ๑ (คือพระองค์เจ้าหญิงศรีวิลัยลักษณ์ ซึ่งภายหลังทรงสถาปนาเป็น กรมขุนสุพรรณภาควดี) ประสูติที่พระราชวังนันทอุทยาน เมื่อ ณ วันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ ในสมัยนั้นยังทรงดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าทั้ง ๒ พระองค์

    [​IMG]
    เจ้าจอมมารดาแพ / เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ พระสนมเอก

    [​IMG] [​IMG]
    พระองค์เจ้าหญิงผ่องประไพ และ พระองค์เจ้าหญิงศรีวิลัยลักษณ์สุนทรศักดิ์กัลยาวดี

    [​IMG]http://mblog.manager.co.th/arunsuk/th-21813/


    ธ สถิตย์ในดวงใจไทยทั่วหล้า

    ธ ดุจฟ้าปกเกล้าไทยทั้งผอง

    น้ำพระทัยไหลหลั่งเย็นดุจธาร ทอง

    ธ ทรงครองแผ่นดินไทยให้ร่มเย็น.

    พระองค์จะอยู่หัวใจประชาชนชาวไทยและชาวโลกตลอดไปตราบนานเท่านาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ [​IMG]

    [music]http://palungjit.org/attachments/a.427125/[/music]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ตุลาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...