ความเป็นธรรมหล่นหาย?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 7 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] ผู้ที่ใคร่ในธรรมและชอบฟังพระธรรมเทศนาจากวิทยุ หรือโทรทัศน์ ย่อมคุ้นเคยกับกฎแห่งกรรม อำนาจบุญกุศล ให้กลัวบาป ให้เจริญศีล สมาธิ ปัญญา การแผ่เมตตา ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีน้ำใจ ความอ่อนน้อมในผู้ใหญ่ และความกตัญญูกตเวที

    ธรรมมะหมวดต่างๆ เหล่านี้วนเวียนกันในสื่อต่างๆ ในภาษาไทย ผลที่เกิดขึ้น คือ ชาวพุทธในประเทศไทยมีบุคลิก หัวอ่อน ว่านอนสอนง่าย พยายามสนใจในจิตตัวเอง เชื่อในกฎแห่งกรรม และไม่ชอบคิดร้ายต่อผู้อื่น
    เมื่อเทียบกับคำสอนทางจริยธรรมในศาสนาอื่น สิ่งหนึ่งที่ขาดไปจากการวัฏฏะสงสารของการสอนธรรมะของชาวพุทธในประเทศไทย คือ คำสอนในส่วนในส่วนที่ว่าด้วย "ความเป็นธรรม" หรือจะให้ชัดเจนไปกว่านั้น คือ "ความยุติธรรม"
    ความบกพร่องนี้ ทำให้ชาวพุทธไทยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ตามความเห็นในเรื่องความเป็นธรรม คือ พวกหนึ่งเห็นว่า "ความยุติธรรม" ไม่มีอยู่ในโลก ทั้งนี้ เพราะถูกฝึกให้มองโลกทั้งใบด้วยพระไตรลักษณ์ (ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง มีความทุกข์ในตัวของมันเองตลอดเวลา และไม่มีตัวตนให้ยึดมั่นถือมั่น)
    ส่วนอีกพวกหนึ่งเห็นว่า "ความยุติธรรม" มีอยู่ในโลกอยู่แล้ว เพราะมองโลกด้วย กฎแห่งกรรม และยึดมั่นในกฎแห่งกรรมเป็นสรณะ
    อีกพวกหนึ่ง ตีความคำว่า "ยุติ" แปลว่า "เลิก" เมื่อ "เลิกเอาเรื่องกันไปก็ถือว่าเป็นธรรม"
    เมื่อตีความเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการเร่งรัดให้ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรมนั้นเลิกร้องเรียน และหยุดการดิ้นรนของตน ยอมจำนนต่อผู้ได้เปรียบ หรือมีอำนาจทางสังคม กรณีความไม่เป็นธรรมจึงเกิดซ้ำซาก
    การตีความเช่นนี้ ผู้ตีความไม่มีความเข้าใจไวยากรณ์สันสกฤต
    "ยุติ" ในภาษาไทย มาจาก "ยุกฺติ" (เป็นเหตุเป็นผล หรือชอบด้วยเหตุผล) ในภาษาสันสกฤต ความยุติธรรม จึงแปลว่า ความเป็นธรรมอันชอบด้วยเหตุผล มิใช่ ความเป็นธรรมภายหลังจากที่ยุติกรณีพิพาท
    ปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่า ไม่มีการสอนเรื่องความยุติธรรมในการสอนพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรในสถานศึกษา หรือในวัด ทั้งๆ ที่ความเป็นธรรมนั้น คือ หัวใจแห่งการสมานฉันท์ ทั้งในระดับครอบครัว หมู่บ้าน สังคม หรือประเทศชาติ และเมื่อความเป็นเหตุเป็นผลไม่มี การสอนให้เข้าใจกันแล้ว ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ย่อมปะทุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
    0 เมตฺตานนฺโท ภิกฺขุ 0 www.mettanando.com
    -->
    ผู้ที่ใคร่ในธรรมและชอบฟังพระธรรมเทศนาจากวิทยุ หรือโทรทัศน์ ย่อมคุ้นเคยกับกฎแห่งกรรม อำนาจบุญกุศล ให้กลัวบาป ให้เจริญศีล สมาธิ ปัญญา การแผ่เมตตา ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีน้ำใจ ความอ่อนน้อมในผู้ใหญ่ และความกตัญญูกตเวที
    ธรรมมะหมวดต่างๆ เหล่านี้วนเวียนกันในสื่อต่างๆ ในภาษาไทย ผลที่เกิดขึ้น คือ ชาวพุทธในประเทศไทยมีบุคลิก หัวอ่อน ว่านอนสอนง่าย พยายามสนใจในจิตตัวเอง เชื่อในกฎแห่งกรรม และไม่ชอบคิดร้ายต่อผู้อื่น
    เมื่อเทียบกับคำสอนทางจริยธรรมในศาสนาอื่น สิ่งหนึ่งที่ขาดไปจากการวัฏฏะสงสารของการสอนธรรมะของชาวพุทธในประเทศไทย คือ คำสอนในส่วนในส่วนที่ว่าด้วย "ความเป็นธรรม" หรือจะให้ชัดเจนไปกว่านั้น คือ "ความยุติธรรม"
    ความบกพร่องนี้ ทำให้ชาวพุทธไทยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ตามความเห็นในเรื่องความเป็นธรรม คือ พวกหนึ่งเห็นว่า "ความยุติธรรม" ไม่มีอยู่ในโลก ทั้งนี้ เพราะถูกฝึกให้มองโลกทั้งใบด้วยพระไตรลักษณ์ (ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง มีความทุกข์ในตัวของมันเองตลอดเวลา และไม่มีตัวตนให้ยึดมั่นถือมั่น)
    ส่วนอีกพวกหนึ่งเห็นว่า "ความยุติธรรม" มีอยู่ในโลกอยู่แล้ว เพราะมองโลกด้วย กฎแห่งกรรม และยึดมั่นในกฎแห่งกรรมเป็นสรณะ
    อีกพวกหนึ่ง ตีความคำว่า "ยุติ" แปลว่า "เลิก" เมื่อ "เลิกเอาเรื่องกันไปก็ถือว่าเป็นธรรม"
    เมื่อตีความเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการเร่งรัดให้ผู้ที่ได้รับความไม่เป็นธรรมนั้นเลิกร้องเรียน และหยุดการดิ้นรนของตน ยอมจำนนต่อผู้ได้เปรียบ หรือมีอำนาจทางสังคม กรณีความไม่เป็นธรรมจึงเกิดซ้ำซาก
    การตีความเช่นนี้ ผู้ตีความไม่มีความเข้าใจไวยากรณ์สันสกฤต
    "ยุติ" ในภาษาไทย มาจาก "ยุกฺติ" (เป็นเหตุเป็นผล หรือชอบด้วยเหตุผล) ในภาษาสันสกฤต ความยุติธรรม จึงแปลว่า ความเป็นธรรมอันชอบด้วยเหตุผล มิใช่ ความเป็นธรรมภายหลังจากที่ยุติกรณีพิพาท
    ปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่า ไม่มีการสอนเรื่องความยุติธรรมในการสอนพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรในสถานศึกษา หรือในวัด ทั้งๆ ที่ความเป็นธรรมนั้น คือ หัวใจแห่งการสมานฉันท์ ทั้งในระดับครอบครัว หมู่บ้าน สังคม หรือประเทศชาติ และเมื่อความเป็นเหตุเป็นผลไม่มี การสอนให้เข้าใจกันแล้ว ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ย่อมปะทุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

    0 เมตฺตานนฺโท ภิกฺขุ 0
    www.mettanando.com



    ที่มา: คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2006/09/07/j001_44696.php?news_id=44696
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...