ความเป็นมาของพระไตรปิฏกตอน 69

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย guawn, 1 ธันวาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ความเป็นมาของพระไตรปิฏกตอน 69

    ธรรมะใต้ธรรมาสน์

    ไต้ ตามทาง



    สังคณี หรือธรรมสังคณี แปลว่า ประมวลนับ หรือตรวจนับข้อธรรม คือ ยกหลักธรรมแม่บทขึ้นตั้งเป็นหัวข้อ ถามว่า หลักธรรมนี้ได้แก่อะไรบ้าง หรือประกอบด้วยข้อธรรมย่อยอะไรบ้าง แล้วนับคือแสดงให้ดูว่าหลักธรรมนี้ในกรณีนี้ๆ ได้แก่ธรรมข้อนี้ๆ เช่น ตั้งหัวข้อว่า ธรรมพวกไหนบ้างเป็นกุศลแล้วตอบชี้แจงว่าในกรณีนี้ ในเวลาที่จิตเป็นอย่างนี้ มีธรรมชื่อนี้ ชื่อนี้...เป็นกุศล

    คัมภีร์สังคณี แบ่งออกเป็นตอนๆ ตอนต้นเสมือนบทนำ ของอภิธรรมทั้งหมด เรียกว่า "มาติกา" ต่อจากนั้นมีตอนที่เป็นตัวแท้ของธรรมสังคณีอีก 4 ตอน

    มาติกา แปลว่า แม่บท หมายถึงหลักธรรมที่เป็นหัวข้อใหญ่ๆ ชุดหนึ่งๆ ซึ่งสามารถนำเอาข้อธรรมต่างๆ ทั้งหลายมาสรุปลงได้ทั้งหมด เช่น กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม เป็นมาติกาหนึ่ง โลกียธรรม และโล

    กุตตรธรรม เป็นมาติกาหนึ่ง เป็นต้น

    จะเห็นได้ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่เท่าใดก็ตาม ย่อมสรุปลงในมาติกาแต่ละมาติกาได้ทั้งหมด มาติกาที่มีข้อใหญ่ 3 หัวข้อเรียกว่า ติกมาติกา แปลว่า มาติกาชุดสาม (เช่น อกุศลธรรม กุศลธรรม และ อัพยากตธรรม เป็นติกมาติกาหนึ่ง)

    มาติกาอย่างนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 164 มาติกา มาติกาเหล่านี้ ยังจัดแยกได้เป็น 2 ประเภท คือแม่บทแบบอภิธรรม เรียกว่า อภิธรรมมาติกา และแม่บทแบบพระสูตรเรียกว่า สุตตันตมาติกา ขอยกตัวอย่างมาติกาที่น่าสนใจให้ดู ดังนี้ :

    ก. อภิธรรมมาติกา (112 มาติกา)

    1. ติกมาติกา (22)

    กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม

    อดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม

    ฯลฯ

    2. ทุกมาติกา (100)

    สังขตธรรม อสังขตธรรม

    รูปิธรรม อรูปิธรรม

    โลกียธรรม โลกุตตรธรรม

    สาสวธรรม อนาสวธรรม

    อุปาทินนธรรม อนุปาทินนธรรม

    ฯลฯ

    ข. สุตตันตมาติกา (42 ทุกมาติกา)

    พาลธรรม บัณฑิตธรรม

    นาม รูป

    สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ

    ขันติ โสรัจจะ

    สติ สัมปชัญญะ

    สมถะ วิปัสสนา

    ฯลฯ

    อีก 4 ตอนที่เหลือของธรรมสังคณี ก็คือคำอธิบายของมาติกาที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง โดยเฉพาะ 2 ตอนแรกเป็นคำอธิบายของมาติกาแรก (คือกุศล-อกุศล-อัพยากตะ) เพียงมาติกาเดียวเท่านั้น ตอนทั้ง 4 นั้นเรียกเป็นกัณฑ์ๆ ดังนี้

    1. จิตตุปปาทกัณฑ์ ตอนว่าด้วยจิตและเจตสิก อธิบายโดยยกมาติกาแรก (กุศล อกุศล อัพยากตะ) จับขึ้นตั้งเป็นแม่บทและตรวจนับเจตสิกต่างๆ ที่เป็นกุศล อกุศล อัพยากตะ ซึ่งเกิดขึ้นกับจิตประเภทต่างๆ ในแต่ละกรณีๆ ไปตามลำดับ

    2. รูปกัณฑ์ ตอนว่าด้วยรูป ตรวจนับรูปประเภทต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นอัพยากตธรรม อยู่ในมาติกแรกทั้งสิ้น ตรวจนับทีละประเภทๆ ไปตามลำดับ ว่าประเภทนั้นมีรูปอะไรบ้าง ประเภทนี้มีรูปอะไรบ้าง ตามลำดับจนหมด ท้ายสุดกล่าวถึงนิพพานหน่อยหนึ่ง ในฐานะที่เป็นอัพยากตธรรมอย่างหนึ่งด้วย

    3. นิกเขปกัณฑ์ อธิบายมาติกาทั้งหมดทั้ง 164 มาติกา แต่อธิบายสั้นๆ อย่างที่เรียกว่าให้คำจำกัดความ ไปตามลำดับจนครบทุกมาติกา

    4. อัตถุทธารกัณฑ์ (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอรรถกถากัณฑ์) อธิบายหรือให้คำจำกัดความแก่อภิธรรมมาติกา 122 ข้อใหญ่ อีกครั้งหนึ่งแต่ไม่อธิบายสุตตันตมาติกา วิธีการอธิบายหรือให้คำจำกัดความในอัตถุทธารกัณฑ์ เป็นอีกแนวหนึ่งต่างจากนิกเขปกัณฑ์ ตัวอย่างเช่น อธิบายมาติกาว่าด้วยสังขตธรรม และอสังขตธรรม

    นิกขปกัณฑ์ว่า : "ธรรมเหล่าไหนเป็นสังขตะ ธรรมเหล่าใดมีปัจจัย ธรรมเหล่านั้นแลเป็นสังขตะ"

    ธรรมเหล่าไหนเป็นอสังขตะ ธรรมเหล่าใดไม่มีปัจจัย ธรรมเหล่านั้นแลเป็นอสังขตะ"

    อัตถุทธารกัณฑ์ว่า : "ธรรมเหล่าไหนเป็นสังขตะ กุศลในภูมิ 4 อกุศลวิบากในภูมิ 4 กิริยา อัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปนั้นทั้งหมด, ธรรมเหล่านั้นเป็นสังขตะ

    ธรรมเหล่าไหนเป็นอสังขตะ นิพพาน ธรรมเหล่านั้นเป็นอสังขตะ"

    คัมภีร์สังคณีทั้งหมดนี้ รวมอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มเดียวกันคือเล่มที่ 34

    วิภังค์

    วิภังค์ แปลว่า แจกแจง หรือจำแนกความ คืออธิบายหลักธรรมสำคัญๆ เช่น ขันธ์ อายตนะ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น โดยแยกแยะรายละเอียด กระจายออกให้เห็นทุกแง่ จนชัดเจนจบเป็นเรื่องๆ อธิบายเรื่องใดก็เรียกว่า วิภังค์ของเรื่องนั้น เช่น อธิบายเรื่องขันธ์ 5 ก็เรียกว่า ขันธวิภังค์ อธิบายเรื่องอริยสัจ 4 ก็เรียกว่า สัจจวิภังค์ เป็นต้น

    1. ขันธวิภังค์ แจกแจงเรื่อง ขันธ์ 5

    2. อายตนวิภังค์ แจกแจงเรื่อง อายตนะ 12

    3. ธาตุวิภังค์ แจกแจงเรื่อง ธาตุ 18

    4. สัจจวิภังค์ แจกแจงเรื่อง อริยสัจ 4

    5. อินทรียวิภังค์ แจกแจงเรื่อง อินทรีย์ 22

    6. ปัจจยาการวิภังค์ แจกแจงเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท 12

    7. สติปัฏฐานวิภังค์ แจกแจงเรื่อง สติปัฏฐาน 4

    8. สัมมัปปธานวิภังค์ แจกแจงเรื่อง สัมมัปปธาน 4

    9. อิทธิปาทวิภังค์ แจกแจงเรื่อง อิทธิบาท 4

    10. โพชฌังควิภังค์ แจกแจงเรื่อง โพชฌงค์ 7

    11. มัคควิภังค์ แจกแจงเรื่อง มรรคมีองค์ 8

    12. ฌานวิภังค์ แจกแจงเรื่อง รูปฌาน อรูปฌาน

    13. อัปปมัญญาวิภังค์ แจกแจงเรื่อง อัปปมัญญา 4

    14. สิกขาปทวิภังค์ แจกแจงเรื่อง ศีล 5

    15. ปฏิสัมภิทาวิภังค์ แจกแจงเรื่อง ปฏิสัมภิทา 4

    16. ญาณวิภังค์ แจกแจงเรื่อง ญาณประเภทต่างๆ

    17. ขุททกวัตถุวิภังค์ แจกแจงเรื่อง เบ็ดเตล็ด คือ อกุศลธรรมต่างๆ มากมาย

    18. ธรรมหทัยวิภังค์ แจกแจงเรื่อง แจกแจงเรื่องหัวใจธรรม คือหลักธรรมสำคัญต่างๆ ที่ควรรู้

    วิธีอธิบายวิภังค์นี้ ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ พูดไปทีละแง่ๆ เพื่อให้ได้ความหมาย และทราบรายละเอียดต่างๆ ปรากฏออกมาชัดเจน แทบทุกเรื่องหรือแทบทุกวิภังค์จะมีการอธิบายตามลำดับขั้นตอนคล้ายคลึงกัน คือ แบ่งเป็น

    ก. สุตตันตภาชนีย์ จำแนกความแบบพระสูตรหรืออธิบายตามแนวพระสูตร

    ข. อภิธรรมภาชนีย์ จำแนกความอภิธรรมหรืออธิบายตามแนวอภิธรรม

    ค. ปัญหาปุจฉกะ ภาคถามปัญหา คือตั้งคำถามให้วินิจฉัยเรื่องนั้น ตามหลักมาติกา ที่กล่าวแล้วในสังคณี เช่น ในขันธวิภังค์ จะถามว่าในขันธ์ 5 กี่ขันธ์เป็นอกุศล กี่ขันธ์เป็นอพยากฤต กี่ขันธ์เป็นโลกียะ กี่ขันธ์เป็นโล

    กุตตระ อย่างไรก็ตาม วิภังค์ท้ายๆ มักไม่มีภาคปัญหาปุจฉกะ

    วิภังค์ทั้ง 18 อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มเดียวกันคือ เล่มที่ 35




    ref.http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud12011249&day=2006/12/01
     

แชร์หน้านี้

Loading...