ความเป็นมาของพระไตรปิฏก ตอนที่ 65

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย guawn, 27 พฤศจิกายน 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ความเป็นมาของพระไตรปิฏก ตอนที่ 65

    คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์

    ไต้ ตามทาง



    21. ฉันเห็นมานักต่อนักแล้ว เหล่าอุบาสกผู้อ้างว่าทรง ธรรมปากก็พร่ำว่า "กามทั้งหลายเป็นอนิจจัง"

    แต่ก็ยังกำหนัดยินดีในแก้วมณี บุตร ภรรยา

    แน่นอน พวกเขามิรู้ธรรมจริงแท้ ถึงแม้จะกล่าวว่า

    กามเป็นอนิจจัง พลังญาณไม่กล้าแข็งพอจะตัดความใคร่

    จึงยึดมั่นอยู่ในบุตร ภรรยา และทรัพย์สิน

    22. ตาย ฉันก็ไม่คิด ชีวิต ฉันก็ไม่คำนึง

    รอกาลเวลามาถึง รู้เท่า รู้ทัน

    23. หวังเป็นสมณะที่ดี ดำรงชีวีสันติสุข

    ควรเสพเสนาสนะตามมีตามได้

    ดุจอสรพิษพอใจในโพลงพฤกษ์

    และมุสิกขุดรูลึกอาศัย

    24. ติณชาติไม่รู้ร้อนรู้หนาว ใครคิดเอาเป็นเยี่ยงอย่าง กิจที่ควรทำไม่คั่งค้าง เขาไม่เว้นว่างจากความสุข

    25. อยู่อย่างพรหมต้องอยู่เอกา อยู่อย่างเทวดาต้องมี สหาย

    อยู่อย่างชาวบ้านแสนวุ่นวาย ต้องอยู่มากมาย ตั้งสาม คน

    26. ใครไร้ซึ่งคารวะ ในผู้มีอาจาระบริสุทธิ์

    เขาห่างไกลจากความดี ดุจปฐพีห่างคัคนานต์

    27. กาลควรช้ากลับหุนหัน กาลควรด่วนพลันกลับชัก ช้า

    ไม่วางแผนด้วยปัญญา คนโง่ประสบปัญหาชีวิต

    28. สัตว์โลกถูกมฤตยูดักฆ่า ถูกชรารุมไล่ต้อน

    ยิงด้วยลูกศรคือความทะเยอทะยาน

    เผาให้เป็นถ่านด้วยความปรารถนา

    29. มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสาม คือกองไฟลามลุกไหม้

    แรงจะต้านก็ไม่มี จะหนีก็ไม่ทัน

    30. คนมิได้เป็นโจรเพราะคำคน มิได้เป็นมุนีเพราะคำ คน

    รู้ตัวว่าเป็นคนเช่นใด เหล่าเทพไทก็รู้เช่นเดียวกัน

    31. มฤคชาติอยู่ในไพรสณฑ์ หลงกลติดบ่วงพราน

    มัตสยาในชลธาร หลงกลืนเบ็ด

    วานรบนต้นไม้ หลงติดตัง

    ปุถุชนผู้มากด้วยตัณหาในดวงจิต

    หลงติดในเบญจกามคุณ

    32. มัวติดในรส ใจก็งดภิรมย์ฌาน

    มุนีควรมักน้อยสันโดษ โปรดสถานสงัด

    ไม่คลุกคลีกับพุทธบริษัท ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต

    33. ไม่ว่าใครให้เจ็บซ้ำ ไม่ทำให้ใครเคือง

    สำรวมเรื่องปาติโมกข์ บริโภคแต่พอดี

    34. หนึ่ง มีมิตรผู้ดีงาม หนึ่ง ศึกษาสัมฤทธิ์ผลไพศาล

    หนึ่ง เชื่อฟังครูอาจารย์ สามประการนี้เหมาะแก่สมณะ

    35. หนทางตรงทางลัด พระพุทธเจ้าตรัสชี้ไว้

    จงเดินไปข้างหน้า อย่าหวนกลับ จงเตือนตนด้วยตน

    มุ่งสู่ความหลุดพ้น คือพระนิพพาน

    36. ถึงคราวสุขก็เฟื่องฟูลอย ถึงคราวทุกข์ก็ถอยจม

    คนโง่ย่อมทุกข์ตรมทั้งสองสถาน เพราะไร้ญาณเห็น แจ้งจริง

    37. ภิกษุผู้ฟุ้งซ่านมักกลับกลาย คบสหายชั่วช้า

    จะถูกกระแสกิเลสตัณหาพัดพา

    จมดิ่งห้วงสังสารวัฎ

    38. เดิน สง่า ยืน สง่า นั่ง เสงี่ยม นอน สงบ

    ทุกอิริยาบถระมัด นี่คือคุณสมบัติของนาเคนทร์

    39. บุณฑริก เกิดในชลาลัย กลิ่นหอมรื่นรมย์ใจ ไม่ เปียกน้ำ

    พระพุทธเจ้าเกิดในโลก ไม่ติดในโลกีย์

    ดุจปทุมรมณีย์ ไม่เปียกน้ำ

    40. อายุยืนยาว ความหนุ่มสาวยืนนาน

    ทรัพย์ศฤงคารก็ซื้อไม่ได้

    ปราชญ์ว่าชีวิตนั้นสั้นนิด

    วิปริตผันแปรไม่แน่นอน

    41. ไม่ว่ามั่นคงหรือไร้ทรัพย์ศฤงคาร

    ไม่ว่าพาลหรือปราชญ์

    รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเหมือนกัน

    คนโง่รับรู้อย่างโง่ๆ ย่อมทุกข์ถนัด

    ผู้ฉลาดรู้เท่าทันสัมผัส ไม่หวั่นไหว

    42 กลางป่าใหญ่ ดอกไม้บานสะพรั่ง

    สมณะหนึ่ง นั่งนิ่ง สงบ พินิจ

    เกิดความคิดหลากหลาย

    43. ณ โคนต้นไม้ เงื้อมเงา และคูหา

    กลางพนาอันกว้างใหญ่

    สมณะท่านใฝ่วิเวก

    อยู่อย่างผู้มีเอกอุดมการณ์

    44. กิเลสทั้งหลายเมื่อเติบกล้า

    สนตะพายเหล่าประชาหมู่มาก

    เหมือนปิศาจชั่วร้าย สิงคน

    ทำให้โง่ บ้า สนุกสนาน

    45. กิน จนพุงกางใหญ่

    นอน หงายทอดหุ่ย

    ตื่น คุยแต่เรื่องไร้แก่นสาร

    พระศาสดาจารย์ทรงตำหนิ

    46. ภูผาไศลไม่เขยื้อน มั่นคง

    ภิกษุหมดความหลง ย่อมมั่นคงดุจภูผา

    47 ผู้ไร้กิเลสกวนใจ ใฝ่แสวงความบริสุทธิ์เป็นนิจ

    ความผิดเล็กน้อยเท่าปลายขนทราย

    มองเห็นดุจเมฆก้อนใหญ่บนท้องฟ้า

    48. ผู้เป็นพหูสูตทรงความรู้ ดูหมิ่นผู้ด้อยปัญญา

    เป็นดุจคนตาบอดสนิท ถือตะเกียงส่องทิศทางเดิน

    49. การกราบไหว้บูชา คือหล่มพาพระหลงติด

    คือ ลูกศรอาบยาพิษถอนได้ยากยิ่ง

    50. จิตเอย ชายหรือหญิงตกอยู่ใต้อำนาจของเจ้า

    โง่เขลา เสพสุขอันจอมปลอม ยินยอมอยู่ใน

    อำนาจมาร วิ่งพล่านจากภพสู่ภพ เขาสยบ

    เป็นข้าช่วงใช้ของเจ้า


    ref.http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud07171149&day=2006/11/17
     

แชร์หน้านี้

Loading...