ความเป็นมาของพระไตรปิฏก ตอน 68

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย guawn, 27 พฤศจิกายน 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ความเป็นมาของพระไตรปิฏก ตอน 68

    คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์

    ไต้ ตามทาง



    3.5 เรื่องนิพพาน อันเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต มีการถือเอาใจความจากพระสูตรคนละแห่งแล้วมาถกเถียงกัน บางท่านกล่าวว่า สอุปาทาทิเสสนิพพาน หมายถึง การดับกิเลสได้เป็นขั้นๆ ยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง ได้แก่การดับกิเลสของพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึงการดับกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ได้แก่ พระอรหันต์ มิได้หมายถึงการดับกิเลส ที่มีเบญจขันธ์เหลือ และการดับกิเลสที่ไม่มีขันธ์เหลือดังที่สอนกันมาแต่โบราณ ขอให้ศึกษาให้ดีว่า ในพระสูตรได้ให้ "นิยามความหมาย" ไว้ทั้ง 2 นัย (ขอให้ดูธาตุสูตร เล่มที่ 25 ที่ยกมานี้ และเล่มที่ 23 ข้อ 2 หน้า 6)

    3.6 นรกสวรรค์ พูดถึงบ่อยมากในพระไตรปิฎก บ่อยเสียจนไม่น่าคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือพูดผ่านๆ เท่านั้น แต่เป็นเรื่องว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องนี้จริง ยืนยันเรื่องนี้จริง แต่การพูดถึงนรกสวรรค์ของพระองค์เป็นเรื่องที่น่าวิเคราะห์ในแง่ที่ว่า พระองค์มิได้ให้รายละเอียดชัดเจนสมกับที่พูดถึงบ่อย ข้อความที่ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่าในพระสูตรก็คือ

    กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ

    หลังจากแตกกายทำลายขันธ์แล้ว เขา(ผู้ทำดีแล้ว) ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

    กายสฺสเภทา ปรมฺมรณา อปายํ ทุคฺคตึ วินิปาตํ อุปปชฺชติ

    หลังจากแตกกายทำลายขันธ์แล้ว เขา(ผู้ทำชั่ว) ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    นรกสวรรค์อยู่ที่ไหน มีสภาพอย่างไร ไม่พูดถึง จนทำให้คิดว่านรกสวรรค์นี้เป็น "สภาวะทางจิต" มากกว่านรกสวรรค์ที่เป็น "กายภาพ" แต่จะสรุปอย่างนี้โดยตรงก็ไม่ได้ เพราะมีบางสูตรที่กล่าวถึงนรกสวรรค์ พอที่จะให้คิดว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ทาง "กายภาพ" เช่น

    เล่มที่ 24 ข้อ 89 พูดถึงพระโกกาลิก สมุนพระเทวทัต ตายไปตกปทุมนรก เมื่อพระทูลถามว่า อายุของสัตว์ในปทุมนรกนี้ยาวนานเท่าไร ตรัสว่ายาวกว่านรกขุมอื่นๆ 9 ขุม แต่นานเท่าไรสุดจะนับได้ด้วยการคำนวณของมนุษย์ แล้วให้ชื่อนรกไว้ทั้งหมด 10 ขุม

    เล่มที่ 14 ข้อ 473-475 ถึงนายนิรยบาลทำโทษสัตว์นรก เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยบอกว่า นรกมี "สี่มุม สี่ประตู แบ่งส่วนเท่ากับ มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ข้างบนครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นเป็นเหล็กลุกเป็นไฟ กว้าง ยาวร้อยโยชน์"

    เล่มที่ 28 ข้อ 92 ระบุชื่อ นรกเพิ่มอีก 8 ขุม เล่มนี้ให้รายละเอียดมากกว่าในที่อื่น คือ ระบุคนทำบาปชนิดไหนจะได้รับโทษทัณฑ์ในนรกชนิดไหน

    เล่มที่ 14 ข้อ 512-523 เล่าว่าคนตายจะถูกยมบาลถามว่าเวลาเห็นคนเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วคิดว่าวันหนึ่งตนก็จะเป็นเช่นนั้น แล้วคิดทำบุญหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่ ก็จะถูกทำโทษต่างๆ ในนรก

    จากพระสูตรต่างๆ ที่ยกมาพอจะประมวลได้ว่า นรกสวรรค์น่าจะมีอยู่จริงในแง่ "กายภาพ" แต่ก็ไม่ชี้ชัดว่า มัน "ตั้งอยู่" ณ ที่ใด

    ส่วนในแง่นามธรรมหรือสภาวะทางจิตนั้น มีปรากฏในเล่มที่ 10 ข้อ 91 พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้พระดูว่า "ถ้าใครยังไม่เคยเห็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ก็ให้ดูด้วยลิจฉวีนี่แหละ" เท่ากับบอกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างหรูหราฟุ่มเฟือยมีความสุขเต็มที่ เช่นพวกเจ้าลิจฉวี นั้นก็คือสภาวะที่เรียกว่าชาวสวรรค์ หรือผู้เกิดในสวรรค์

    ข้อความนี้จะชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องตีความ ในเล่มที่ 18 ข้อ 214 พระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ทรงเห็นนรกชื่อ "ฉผัสสายตนิกะ" กับสวรรค์ชื่อ "ฉผัสสายตนิกะ" ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของคนเรานี่แหละคือ นรกและสวรรค์ ขณะใดที่เห็นรูป ได้ยินเสียง...อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ น่าเพลิดเพลินเจริญใจ ก็เรียกว่า "ขึ้นสวรรค์" ขณะใดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และมโนภาพที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ มีแต่ความทุกข์ร้อนใจ ขณะนั้นเรียกว่า "ตกนรก"

    สรุป นรกสวรรค์ในพระไตรปิฎก สามารถตีความได้ทั้ง 2 นัย คือ นรกสวรรค์ทาง "กายภาพ" และนรกสวรรค์ที่เป็น "สภาวะทางจิต" โดยนัยนี้จะพูดว่า "สวรรค์ในอก นรกในใจ" ก็ถูก หรือพูดว่า สวรรค์นรกเป็นภพภูมิหนึ่งโดยเฉพาะ ก็ถูกเช่นกัน ถ้ายังไม่เห็นด้วยตนเองก็ไม่ต้องเถียงกัน เมื่อใดประจักษ์ด้วยญาณอันเป็นปัจจัตตังแล้ว ปัญหาจะหมดไปเอง การทะเลาะทุ่มเถียงกันก็จะหมดไปโดยอัตโนมัติ

    พระอภิธรรมปิฎก

    1. โครงสร้างพระอภิธรรมปิฎก

    พระอภิธรรมปิฎก

    สังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน

    2. เนื้อหาสาระ

    อภิธรรม แปลว่า ธรรมยิ่ง ธรรมวิเศษ ธรรมเลอล้ำ หรือหัวธรรม (เหมือนพูดกันว่าหัวน้ำหอม หัวน้ำนม หัวกะทิ เป็นต้น) หมายถึง คำสอนที่เป็นข้อสำคัญเป็นหลักใหญ่ เป็นเนื้อหาแท้ๆ ของพระพุทธศาสนา

    ปิฎก แปลว่า ภาชนะที่บรรจุหรือเก็บรวบรวม (เช่น ตะกร้า กระบุง ปุ้งกี๋) คัมภีร์ ตำรา อภิธรรมปิฎกจึงแปลรวมกันว่า คัมภีร์ที่รวบรวมหลักคำสอนสำคัญที่เป็นเนื้อหาแท้ๆ ของพระพุทธศาสนา ท่านมักอธิบายโดยเทียบกับพระสูตร (สุตตันตปิฎก) ว่า

    พระสูตรเป็นคำสอนที่เกี่ยวข้องกับบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ พระพุทธเจ้าแสดงโดยปรารภบุคคลและเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทรงชี้แจง แนะนำ ให้พอเหมาะพอดีกับพื้นเพ อุปนิสัย สติปัญญา ความพร้อมของผู้ฟังและให้โอกาสนั้น เนื้อหาของพระธรรมที่ทรงอธิบายก็มักเป็นเพียงความหมายแง่ใดแง่หนึ่ง หรือบางส่วน บางด้านของข้อธรรมนั้นเท่าที่จะให้คนฟังเข้าใจและได้รับผลสำหรับคราวนั้นๆ หลักธรรมก็ปะปนอยู่กับเรื่องราว ความเป็นไปเกี่ยวข้องในการเทศน์ เช่น มีตัวอย่างแทรกอยู่บ้าง มีคำเปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมยบ้าง เป็นต้น

    ส่วนพระอภิธรรมนั้น แสดงแต่เนื้อธรรมล้วนๆ แท้ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อยกหลักธรรมใดขึ้นมาอธิบายก็อธิบายโดยสิ้นเชิง คือแจกแจงให้ละเอียดทุกแง่ทุมมุม ครบถ้วนเต็มที่ตามหลักวิชาการ ให้จบไปเป็นเรื่องๆ ไม่คำนึงว่าใครจะอ่านใครจะฟัง

    รวมความว่า อธิธรรมปิฎก เป็นคัมภีร์รวบรวมและอธิบายหลักธรรมตามแนวหลักวิชาการหรือโดยวิธีนักวิชาการ พูดอย่างง่ายๆ ว่า พระสูตรว่าด้วยหลักธรรมที่นำมาให้คนใช้ อภิธรรมว่าด้วยธรรมในตำราของนักวิชาการ

    อภิธรรมแบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์ คือ สังคณี หรือธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน

    คนโบราณกำหนดเป็นอักษรย่อ ให้จำง่าย เรียกว่า "หัวใจอภิธรรม" ได้แก่ สัง. วิ. ธา. ปุ. ก. ย. ป. และมักจะเรียกว่าพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ เพื่อแยกไว้ต่างหากมิให้สับสนกับคัมภีร์อภิธรรมรุ่นหลัง เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น

    ในพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐของไทย 45 เล่ม อภิธรรมปิฎกพิมพ์เป็นหนังสือ 12 เล่มมีสาระสำคัญโดยย่อ ดังนี้ :


    ref.http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud07271149&day=2006/11/27
     

แชร์หน้านี้

Loading...