ความเป็นมาของพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย guawn, 15 ธันวาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ความเป็นมาของพระไตรปิฏก

    คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมมาสน์

    โดย ไต้ ตามทาง



    ยังมีตัวอย่างอื่นๆอีกมากมาย คำว่า "อภิธมฺม" ในที่นี้หมายถึงพระอภิธรรมนั้นเอง

    (3) คำว่า ธมฺโม จ วินโย จ ซึ่งแปลว่า พระธรรมและพระวินัยนั้น คำว่า ธรรม มิได้หมายเพียงพระสุตตันติปิฎกเท่านั้น แต่หมายรวมถึงพระอภิธรรมปิฎกด้วย

    (4) ถ้าปฏิเสธพระอภิธรรมปิฎก เพราะเหตุเพียงคำว่า วุตฺตญฺเหตํ ภควาตา เป็นต้น พระสูตรกับพระวินัยก็ควรปฏิเสธด้วย เพราะทั้งพระสูตรและพระวินัย ล้วนฟังมาจากพระพุทธเจ้าทั้งนั้น พระพุทธองค์มิได้ทรงขีดเขียนไว้ที่ไหน และในพระสูตรเองก็มีคำว่า "เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าสดับมาดังนี้" ในพระวินัยปิฎกก็มี คำว่า เตน โข ปน สมเยน ภาวตา โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ...เหล่านี้ล้วนเป็นคำพูดของพระสังคีติกาจารย์ทั้งสิ้น

    (5) ยอมรับว่าในอภิธรรมปิฏก มีภาษิตของพระเถระอยู่คัมภีร์หนึ่ง คือ กถาวัตถุ ซึ่งแต่งโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ แต่พระโมคคัลลีบุตร ก็แตงตามพุทธาธิบาย

    การโต้แย้งหักล้างกันในเรื่องนี้มีมานานแล้ว และคงจะมีต่อไป กากรหักล้างกันด้วยวาทะ บางครั้งก็รุนแรง ดังใน อัฎฐสาลินี อรรถกถาที่แต่งโดยพระพุทธโฆสาจารย์ พระแห่งสำนักอภิธรรมเมื่อพุทธศตวรรษที่ 10 ได้ว่าผู้ปฏิเสธอภิธรรมเสียเจ็บแสบ

    "ผู้ปฏิเสธอภิธรรม ก็ย่อมเชื่อว่าปฏิเสธสัพพัญญุญาณในชินจักร์นี้ ชื่อว่า ทำเวสารรัชชาญาณของพระศาสดาให้หมุนกลับ ทำให้บริษัทผู้ใคร่จะฟังเข้าใจผิด กั้นทำนบในอริยมรรค(กีดขวางอริยมรรค) เขาผู้ปฏิเสธพระอภิธรรม จัดอยู่ในพวกที่ก่อเหตุแตกร้าว 18 จำพวก จำพวกใดจำพวกหนึ่ง เป็นผู้ควรลง อุกเขปนียกรรม นิยสกรรมและตัชนียกรรมโดยแท้ คนเช่นนี้พวกเราควรลงปัพพาชนียกรรม เป็นต้น แล้วขับไล่ไสส่งว่า พวกเจ้าจงไปเป็นคกินเดนเสียเถิด"

    ถ้อยคำรุนแรงเช่นนี้เข้าใจว่า พระพุทธโฆสาจารย์ ท่านมุ่งเป้าไปยังพระสงค์นิกายอื่นที่ไม่นับถือพระอภิธรรม เช่น นิกายเสาตรานติก ซึ่งไม่ยอมรับว่าพระอภิธรรมเป็นพุทธวจนะ ยอมรับเฉพาะ "มาติกา" เท่านั้น

    น่าประหลาดที่นิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า นิกายอภิธรรม เพราะนับถืออภิธรรมมาก กลับมีความเชื่อว่าพระอภิธรรมปิฎกเป็นบทนิพนธ์ของพระสาวกสำคัญ 3 รูป มิใช่พระวจนะของพระพุทธเจ้า พระสาวกสำคัญ 3 รูปนั้น คือ พระมหากัจจายนะ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ

    (4) เสถียร โพธินันทะ แสดงมติในเรื่องนี้ว่า

    "อภิธรรมปิฎกนี้ไม่ใช่พระพุทธภาษิตทั้งหมด จะเป็นพระพุทธภาษิตก็เฉพาะแต่บทมาติกาและข้ออธิบายบางแห่ง นอกนั้นเป็นอาจริยภาษิต ซึ่งอรรถาธิบายมาติกาอย่างพิสดารตามพุทธมติ จึงไม่ควรถือว่าเมื่อไม่ใช่เป็นพระพุทธภาษิตทั้งหมด แล้วก็เฉยไม่นิยมนับถือ ความจริงพระอภิธรรมนั้นมิใช่อื่นไกลที่ไหน เนื้อแท้ก็เป็นธรรมะในพระสูตรนั่นเอง"

    5. พุทธทาสภิกขุ ได้ให้ความหมายของ "อภิธรรม" ว่า หมายถึงส่วนที่ยิ่งใหญ่ก็ได้ ส่วนที่เกินก็ได้ ที่ว่าส่วนที่ยิ่งใหญ่นั้น อภิธรรมยิ่งใหญ่ไปในทางสำหรับโต้เถียงกันไม่ใช่ยิ่งใหญ่ในทางปฏิบัติ ที่ว่าเกินนั้น หมายความว่าเกินความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องรู้หรือจะต้องปฏิบัติ มนุษย์เราจำเป็นต้องรู้แต่เรื่องที่ปฏิบัติเพื่อดับทุกข์

    พุทธทาสภิกขุได้อ้างคำพูดของพระนักปราชญ์ตะวันตกท่านหนึ่ง คือ ญาณดิลก ว่า "ความแตกต่างระหว่างสุตตันตปิฎกกับอภิธรรมนั้น มิได้เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่อง มันต่างกันแต่เพียงวิธีจัดคำวิธีให้คำ ส่วนใจความนั้นเพ่งเล็งถึงสิ่งเดียวกัน สุตตันตปิฎกพูดภาษาธรรมดาที่ชาวบ้านพูด ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่ถูกต้องตามปรัชญาบ้างไม่มากก็น้อย ส่วนคัมภีร์อภิธรรมปิฎกนั้นใช้ภาษาทางปรัชญาอย่างบริสุทธิ์ ในความหมายชั้นปรมัตถ์" แล้วสรุปด้วยคำพูดที่ครอบคลุมที่สุดว่า "อภิธรรมปิฎกไม่อยู่ในรูปเป็นพระพุทธพจน์"

    วิวาทะเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมาก ยกมาเป็นตัวอย่างเพียงสองสามทัศนะ สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นใครพูดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นปราชญ์ตะวันตกหรือตะวันออก ไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน ต่างก็ลงรอยกันในประเด็นสรุปข้างท้ายนี้คือ

    1. ที่พูดว่าอภิธรรมปิฎกมิใช่พุทธพจน์ทั้งหมด หรือใช่พุทธพจน์เฉพาะบทมาติกาก็ดี พระอภิธรรมไม่อยู่ในรูปพุทธพจน์ก็ดี ผู้พูดมิได้ปฏิเสธว่าพระอภิธรรมปิฎกมิใช่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพียงแค่ต้องการบอกว่าอภิธรรมปิฎกเป็นเรื่องที่ "แต่งเพิ่มเข้ามาภายหลัง"

    2. ทุกคนยอมรับว่าเนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎก เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะสอดคล้องตามหลักตัดสินพระธรรมวินัย 8 ประการแล้ว โดยประการทั้งปวง


    ที่มาhttp://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud06151249&day=2006/12/15
     

แชร์หน้านี้

Loading...